Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

หูฟัง ภัยร้ายใกล้ตัว

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
หูฟัง คืออุปกรณ์ที่ใช้ต่อเชื่อมระหว่างเครื่องบันทึกเสียงชนิดต่างๆ มาสู่หูของผู้ที่ต้องการฟังเสียง ซึ่งส่วนใหญ่คือเสียงเพลง โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ป้องกันไม่ให้เสียงเพลงไปรบกวนผู้อื่นที่อยู่ในรัศมีของเสียง แต่ผู้ใช้ในปัจจุบันนี้ต่างใช้งานด้วยวัตถุประสงค์ที่สวนทาง กล่าวคือ มักจะใช้เพื่อป้องกันไม่ให้มีเสียงอื่นๆจากภายนอก เข้ามารบกวนการฟังเพลงของตนเองมากกว่า หูฟัง ได้รับความนิยมแพร่หลายมากในยุคเดียวกันกับเครื่องบันทึกเสียงแบบพกพา โดยเฉพาะในยุคที่โด่งดังของเครื่องบันทึกเสียงและได้รับความนิยมมากขึ้นใน ยุคของเครื่องบันทึกเสียงขนาดเล็กแบบดิจิตอล
จากยุคนั้นมาจนถึงยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ครองโลก หูฟังจึงแทบจะกลายเป็นอวัยวะเพิ่มเสริมจากอวัยวะปกติของคนทั่วไป เพราะไม่ว่าจะนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์, ระหว่างการเดินทางด้วยพาหนะในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการเดินเท้าบนท้องถนน หรือแม้แต่ขณะที่ออกกำลังกายอยู่ก็จะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังมีอุปกรณ์ที่ เรียกว่า "หูฟัง" เสียบจุกติดรูหูอยู่ตลอดเวลา ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะบอกว่าเป็นการทำให้เพลิดเพลินและคลายเครียดได้ดี

หูฟังในปัจจุบันนี้มีประสิทธิภาพดีมาก ทั้งในด้านของประสิทธิภาพการกระจายเสียง และมีขีดความสามารถในการป้องกันไม่ให้เสียงจากภายนอกเข้ามารบกวนการฟังได้ดี แต่คนที่ใช้หูฟัง ไม่ว่าจะเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความบันเทิงอื่นใด ก็ควรศึกษาวิธีการใช้หูฟังที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยแก่ประสาทหู และแก่ร่างกาย รวมทั้งทรัพย์สินของตัวเองด้วย
ศ.พญ.สุจิตรา ประสานสุข แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยิน การพูด และการทรงตัว กล่าวว่า ปัจจุบันวัยรุ่นนิยมฟังเพลงโดยใช้หูฟังจากเครื่องเอ็มพี 3 หรือ ไอพอด รวมไปถึงการใช้หูฟังของเครื่องโทรศัพท์มือถือ ทั้งระบบธรรมดา และบลูทูธ ส่งผลให้การได้ยินของเด็กไทยขณะนี้มีปัญหาค่อนข้างมาก

การสำรวจโดยการสุ่มตรวจการได้ยินของนักเรียนวัยรุ่นในเขต กทม. จำนวนประมาณ 400 คน โดยกรมควบคุมมลพิษ ล่าสุด พบว่า 25% มีความผิดปกติในการรับฟังเสียง สังเกตได้ง่ายๆ ว่า เด็กและวัยรุ่นปัจจุบันจะพูดเสียงดังมาก เพราะเคยชินกับการได้ยินเสียงที่ดังๆ อยู่ตลอดเวลา

ศ.พญ.สุจิตรา กล่าวว่า การใช้หูฟังประเภทนี้นอกจากจะส่งผลต่อสภาวการณ์ได้ยินแล้ว สมองก็มีโอกาสที่จะได้รับรังสีคลื่นวิทยุด้วย เด็กบางคนใส่หูฟังทั้งวัน บางคนฟังจนกระทั่งหลับไปพร้อมกับหูฟัง เคยมีการทดลองว่า หากใช้หูฟังในสถานที่ที่มีเสียงรบกวนดังมากๆ เช่น ในรถไฟฟ้า หรือ ศูนย์การค้า ต้องเปิดหูฟังให้เสียงดังจนเกือบสุดจึงจะได้ยินชัด ซึ่งการเปิดหูฟังในระดับดังกล่าว ทำให้หูได้รับเสียงถึงระดับ 105 เดซิเบล ขณะที่โดยปกติหูคนเราสามารถรับเสียงได้ประมาณ 80 เดซิเบลเท่านั้น นอกจากนี้ ยังอาจเกิดอาการทรงตัวผิดปกติ เช่น ตื่นนอนแล้วมีอาการมึนงง ทรงตัวไม่ได้ ฯลฯ ถ้าเริ่มมีอาการเหล่านี้ติดต่อกัน 2 - 3 วัน ไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ ที่สำคัญที่สุด คือ การปรับพฤติกรรมการฟังที่เหมาะสม ในการฟังเพลงหรือคุยโทรศัพท์ผ่านหูฟังเหล่านี้ มากที่สุดไม่ควรฟังติดต่อกันนานเกิน 2 ชั่วโมง เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพหูของตัวคุณเอง

แหล่งที่มา : http://www.thaihealth.or.th/

เรียบเรียงโดย นางสาวอรยา ทองพล

แสดงความคิดเห็น

>

12 ความคิดเห็น

yo-ghurt- 14 ก.ย. 56 เวลา 22:08 น. 6

ขอบคุณค่ะ =w=
แถวบ้านเราชอบมีเสียงดัง เลยชอบใส่หูฟังแล้วเปิดเพลงดังๆกลบ

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของ