Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ถามเด็กๆ เลิกสอบตรงจะดีไหม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ผมแก่แล้ว สมัยที่เข้ามหาวิทยาลัย การสอบใช้ระบบเอ็นทร้านซ์ เลือกคณะก่อนห้าอันดับ แล้วประกาศผล

ตอนนี้ระบบเปลี่ยนเป็นแอดมิสชั่น รู้คะแนนก่อน แล้วค่อยยื่นคะแนนเพื่อเลือกคณะ ซึ่งผมคิดว่าดีกว่า

พอดีตอนนี้มีข่าวว่า รมต.ศึกษาจะยกเลิกการสอบตรง
เพราะเห็นว่าเป็นการสอบที่ไม่ยุติธรรมต่อผู้ที่ขาดทุนทรัพย์

แต่ผมคิดว่า จะเปลี่ยนระบบทั้งทีน่าจะถามเด็กๆก่อน
น้องๆคิดว่ายังไงกันบ้างครับ 

เลยขอทำโพลล์ขอความเห็นหน่อย เผื่อว่าจะส่งข้อมูลและความเห็นไปถึงผู้เกี่ยวข้องได้บ้าง

กรณีที่ท่านใดเลือกอื่นๆ ช่วยเสนอแนะ วิธีที่เหมาะสมด้วยก็ดีครับ
ที่ท่านคิดว่า เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

ขออนุญาตให้สมาชิกโหวตนะครับ เพื่อผลโพลล์ที่น่าเชื่อถือขึ้นระดับหนึ่ง

(จำนวนคนโหวต 19 คน)
ควรยกเลิกสอบตรง
1 โหวต
ไม่ควรยกเลิกสอบตรง
15 โหวต
อื่นๆ
3 โหวต

แสดงความคิดเห็น

27 ความคิดเห็น

ต.แทนฉัน 15 ก.ย. 56 เวลา 18:13 น. 3

จริงก็เห็นด้วยกับการสอบตรงนะเพราะระบบแอดมินชั่นมันใช้ไม่ค่อยได้กับคณะเฉพาะเท่าไร (ตามความรู้สึกเรา)

จึงอยากเสนอว่า คณะที่มีการรับตรงของแต่ละมหาวิทยาสามารถจัดสอบรวมพร้อมกันเป็นทีเดียวเลยได้ไหม เช่นคณะแพทย์ 

แต่ละมหาลัยจัดทำข้อสอบรวมจะยาก จะง่าย จะหินยังไงก็แล้วแต่ แล้วเปิดสอบรวมแต่เฉพาะของคณะแพทย์ จัดสอบไปทีเดียวเลย แล้วจัดเทียบอันดับคะแนนเแบบแอดมิชั่นเพื่อน้องๆจะได้ประเมินความสามารถของตัวเองได้แล้วค่อยเลือก

อย่างน้อยก็น่าจะดีกว่าไล่สอบไปทีละมหาลัยล่ะนะ

ปล. พออ่านดีๆ เฮ้ย ท่านถามเด็กๆนี่นาลืมไปว่าเราแก่แล้ว (- -')

0
The Eye Master: จ้าวแห่งตาทิพย์ 15 ก.ย. 56 เวลา 18:32 น. 4

คิดว่าไม่ควรยกเลิกค่ะ = = เพราะเราเองก็ได้เข้ามหา'ลัยเพราะรับตรง ระบบแอดมิดชั่นมันห่วยมากเลยนะ ถ้ายกเลิกไปแล้วเราว่าเด็กไม่มีที่เรียนเยอะแน่ๆ...

0
polarbee 15 ก.ย. 56 เวลา 19:48 น. 5

ถามต่อได้ไหมครับ

ว่าแอดมิชชั่นมันแย่ตรงไหนเอ่ย
ข้อสอบห่วย
สอบถี่
อะไรทำนองนี้น่ะครับ

จะได้ให้คนที่เกี่ยวข้องรู้ว่าเด็กๆเห็นความบกพร่องของระบบแอดมิชชั่นตรงไหน

0
polarbee 15 ก.ย. 56 เวลา 19:49 น. 6

อย่างมีอารมณ์เพศให้ไปเตะบอลใช่ป่าว
มีอะไรอีกบ้างช่วยชี้แจงด้วยเน้อ
แล้วควรปรับปรุงตรงไหน
เพื่อไม่ให้กลายเป็นภาระลูกหลาน

0
valerie[วิฬารี] 15 ก.ย. 56 เวลา 20:04 น. 8

ไม่ใช่แค่การแอดมิชชัน..แต่ระบบการศึกษาไทยมันก็ห่วย
(อ้าว แล้วเดี๊ยนก็เป็นผลผลิตนึงของมันด้วยนะเนี่ย)

เชื่อว่าต่อให้กระทรวงยกเลิก
แต่มหา'ลัยบางแห่งเขาก็ยังรับตรงของเขาเองอยู่ดี



0
polarbee 15 ก.ย. 56 เวลา 20:04 น. 9

ไม่เป็นไรครับ เป็นความผิดของผมเอง จริงนอกเหนือจากเด็กๆก็ยังมีผู้รู้อีกเยอะนิ
เห็นด้วยกับความคิดที่ว่าสอบตรงเฉพาะคณะเป้นข้อสอบกลางที่ทุกมหาวิทยาลัยร่วมกันออกก็ดีครับ

แต่ผมก็ยังรู้สึกแปลกๆ เหมือนกับว่ากระทรวงกับมหาวิทยาลัยทำงานไม่สัมพันธ์กันเลย
มหาวิทยาลัยต้องการอย่างหนึ่งแต่กระทรวงให้การศึกษาเด็กอีกอย่างหนึ่ง

ตอนที่ผมเรียนคณะวิทย์ยังแอบคิดเลยว่า รู้งี้ตูเรียนอาชีวะมาก่อนเข้าคณะสายวิทยื หรือวศวะจะดีมากทีเดียว

0
polarbee 15 ก.ย. 56 เวลา 20:06 น. 10

แล้วมันก็แตกหน่อความคิดไปอีกว่า ระบบการสอบและข้อสอบที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไรด้วยนิ

O-NET : ออกข้อสอบโดยอาจารย์ระดับมัธยมปลายที่มีความเชี่ยวชาญในการออกข้อสอบ (อาจจะเป็นคุณครูของน้องๆ ก็ได้ แต่เค้าปิดเป็นความลับขั้นสุดยอดว่าใครเป็นคนออก) โดยมี สทศ.เป็นหน่วยงานจัดสอบ
GAT-PAT : ออกข้อสอบโดยอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย

สทศ. คือ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ถ้าข้อสอบมีปัญหาทำไงดี

0
polarbee 15 ก.ย. 56 เวลา 20:15 น. 11

แต่ดูๆไปเหมือนจะเป้นการสอบซ้ำซ้อนนะครับ ถ้าผมเป็นเด็กสอบบ่อยๆ เครียดตายเลย
มีวิธีที่สอบแล้วเครียดน้อยที่สุดหรือเปล่าเนี่ย

0
polarbee 15 ก.ย. 56 เวลา 20:19 น. 12

แล้วเราควรแก้ที่ไหนล่ะครับ ผมไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับระบบนัก
ถามคนที่เป็นนักเรียนอยู่ ย่อมจะรู้ดีที่สุด

ผมเชื่อว่ามีผุ้ใหญ่หลายคนที่รอฟังแนวคิดของพวกเราอยู่

อีกอย่างดูเหมือนผมจะมาตั้งผิดบอร์ด

แต่ผมเชื่อว่าคนในบอร์ดนี้ มีความคิด และพร้อมจะแสดงออกได้หลากหลายและมีประโยชน์ครับ

อ่อ ได้โหวตหรือยังครับ

0
ต.แทนฉัน 15 ก.ย. 56 เวลา 20:46 น. 13

บ้างครั้งเราก็งงๆกับมุมมองของปัญหาของพวกผู้บิหารประเทศเหมือนกันนะ
อย่างที่บอกว่าการสอบตรงเป็นการสิ้นเปลืองไม่เป็นธรรมต่อผู้ที่ขาดทุนทรัพย์ แต่กลับผลักดันให้มหาลัยออกนอกระบบเพื่อจะผลักภาระงบประมาณช่วยเหลือสนับสนุนออกไป ส่งผลให้ค่าหน่วยกิตหรือค่าเล่าเรียนแพงขึ้น (เอ...หรือว่าถึงแม้มหาลัยจะออกนอกระบบเพื่ออิสระการบริหาร แต่ท่าน รมต. จะเสนอให้มีนโยบายอนุมัติสนับสนุนเงินช่วยเหลือ อันนี้น่าจะมีคนสนับสนุนท่านเป็นจำนวนมาก)

จริงการสอบตรงก็ซ้ำซ้อนเหมือนกันนะท่าน หลายคณะหลายมหาลัยนั้นสอบตรง คิดดูสิกว่าจะสอบคณะที่ใช่ในมหาลัยที่ฝันได้ต้องสอบกี่รอบกี่ที่ ทั้งเหนื่อยทั้งเครียด (สงสารน้องๆเขาเหมือนกัน)

นึกถึงสมัยก่อนเอนสะท้านเปรี้ยงเดียวรู้ผล คงน่าจะเหนื่อยน้อยที่สุดแล้วล่ะท่าน (แต่เครียดน้อยเครียดมากคงอยู่แต่ละบุคคลนะท่าน)

0
polarbee 15 ก.ย. 56 เวลา 21:14 น. 15

ไม่รู้ยุคนี้ ผู้ปกครองยังกดดันและเลือกทางชีวิตให้เด็กๆอยู่หรือเปล่า
แต่รุ่นผมน่ะ โดนหนักเลย ตอ้งตามใจผู้ปกครองเท่านั้น

0
ต.แทนฉัน 15 ก.ย. 56 เวลา 21:26 น. 18

เราว่าไม่นะ สังคมสมัยนี้ออกจะเปิดกว้างมากขึ้น มันน่าจะปรึกษาหารือพูดคุยกันได้นะ ถึงจะมีก็เป็นส่วนน้อย เพราะฉะนั้นไม่น่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับถูกผู้ปกครองกดดันให้เลือกว่าต้องสอบคณะที่ยากจนเกินกำลังหรือว่าไม่ชอบ (แต่ก็ไม่แน่ พอเข้าระบบเดิม ปัญหาเดิมๆอาจจะวนเข้ามาอีกก็ได้ - -')

0
polarbee 15 ก.ย. 56 เวลา 21:26 น. 19

เข้าใจเลยครับ เหมือนกับว่า หลักสูตรการศึกษาไม่นิ่ง เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เด็กๆเป็นเครื่องทดลองของผู้ใหญ่ เปลี่ยนผุ้บริหารทีก็เปลี่ยนโน่นนี่ที

ดูแล้วมาตรฐานไม่มีเลยแฮะ

0
ซ่อนนาม 16 ก.ย. 56 เวลา 01:19 น. 20

ปัญหาข้อสอบของไทยคือ
...มันไม่เมคเซ้นส์ อย่างเช่นข้อสอบผ้าปูโต๊ะ
ต่อมาคือ ข้อสอบผิดกระจาย และต้องท้วงนะ ไม่เคยยอมรับเอง
บางครั้งแม้ท้วงยังไม่ยอมรับอีก เช่นข้อสอบชีวะ ? หรืออะไรพวกนี้ที่มีคำตอบ 2 อย่างในหนังสือเรียน แต่ข้อสอบดันให้ถูกแค่ตัวเดียว ด้วยข้ออ้างว่า "ถูกที่สุด"
ไม่เพียงเท่านั้น ยังกระจายคะแนนอย่างไม่ยุติธรรม เช่นข้อนี้ผิดเสีย 1 อีกข้อ เสีย 10 เป็นต้น
ซ้ำร้าย ข้อสอบยังไม่เหมาะสมกับเวลา เช่นข้อสอบเลข... ถ้าทำได้และทันหมดเนี่ย ไปแข่งโอลิมปิกส์วิชาการเหอะ

กระนั้น... มันก็ยังไม่พอ
ข้อสอบที่ดีควรจะแบ่งระดับเด็กได้ ว่าไม่รู้เรื่อง 0 แย่ 20 พอใช้ 50 ดี 75 เก่ง 100
ทว่าของไทย ไม่รู้เรื่อง แย่ กับพอใช้ อยู่ที่ 25 ดีกับเก่ง 50 เทพ 100
มันเป็นการกระจายตัวของคะแนนที่ไม่เหมาะสม แบบนี้กลายเป็นดวงดีจะได้คะแนนมากกว่า

ซึ่งเหมือนคนออกข้อสอบจะไม่ได้นึกถึง ความจริงมันต้องออกข้อสอบที่ง่าย ๆ ขอแค่รู้พื้นฐานก็ตอบถูกได้
ทว่าในปัจจุบัน รู้พื้นฐานตอบไม่ได้ ต้องชำนาญถึงจะตอบได้เท่านั้น มันเลยมีปัญหา

นี่พูดถึงข้อสอบกลางนะ ถ้าข้อสอบตรงจะเอายากไปเลยก็ไม่เป็นไร
เพราะคนสอบน้อยกว่าเยอะ และไม่จำเป็นต้องแบ่งระดับตามความเก่ง
ขอแค่คนเก่งจริง ๆ ที่ต้องการเข้าคณะนั้นก็พอ

0