Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โต้วาที : รับตรง VS แอดมิชชั่น เพื่อพัฒนาการศึกษาไทย สิ่งไหนที่ควรยกเลิก ?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

โต้วาที : รับตรง VS แอดมิชชั่น เพื่อพัฒนาการศึกษาไทย สิ่งไหนที่ควรยกเลิก ?

มาแสดงความคิดเห็นกันได้เลยครับ
ยกเลิกรับตรง
ยกเลิกแอดมิชชั่น
ต้นเหตุวิ่งรอกสอบ เสียเงินเยอะ รวยก็ได้เปรียบ
ข้อสอบไร้คุณภาพ สอบถี่ สอบทั้งปี เครียด
199 โหวต
2,334 โหวต

แสดงความคิดเห็น

203 ความคิดเห็น

Guri-2 16 ก.ย. 56 เวลา 16:53 น. 1

ก่อนหน้านี้มหาลัยมีระบบเอนทรานซ์ ไม่เห็นเป็นเดือดเป็นร้อนเลย
พอมีรับตรง จะกลับไปใช้แบบเอนทรานซ์เดิมทำเป็นโวยวายกัน #ทำไมละ?

0
Pongsatorn Padthayaruk 16 ก.ย. 56 เวลา 17:00 น. 2

ใช่ๆ เพิ่งมีรับตรงไม่กี่ปีเอง ก่อนหน้านี้เป็นสิบๆปีเค้าก็เอนทรานซ์กันทั้งนั้นไม่เห็นมีใครเดือดร้อนเลย ยังไงก็ต้องอ่านหนังสือเหมือนกันและ ไม่ใช่ว่าเปลี่ยนแล้วอ่านหนังสือเพิ่มแปลกใหม่พิศดาร ก็ต้องอ่านเท่าเดิม หรือจะบอกว่ารับตรงไม่ต้องอ่าน???? แล้วจะเดือนร้อนทำไม อย่าคิดถึงส่วนตัว บางคนเค้าไม่มีโอกาศสอบได้หลายๆทีเสียเปรียบ บางคนสอบได้หลายๆที่ไม่เอากั๊กที่คนอื่นๆเค้า คนเค้าจะเข้าไม่ได้เข้าเพราะคนพวกนี้แหละ 

0
อิค*คิว!ZanG 16 ก.ย. 56 เวลา 17:01 น. 3

คุณภาพ ต้องมาก่อนครับ ถ้ามันไร้คุณภาพก็ควรจะเปลี่ยน รับตรงก็ไม่ควรตามเหตุผล แต่อย่างที่บอกไปแล้ว คุณภาพต้องมาเป็นอันดับแรก

0
Phattarajidtra Prabwarin 16 ก.ย. 56 เวลา 17:04 น. 5

เราว่าแอดฯ ดีนะ แต่ว่า ข้อสอบ -_-" 

#เราว่าเราคอมเม้ต์ผิดนะ - -" เครียดมั้ง 55555

แก้ไข

เราว่า แอด น่าเอาออก เพราะเด็กบางคนไม่มีตังจ่ายค่าสอบนี่ - -"

##น่าจะถูกแล้วนะ

0
Nammon Kids 16 ก.ย. 56 เวลา 17:07 น. 6

ยกเลิกแอดมิดชั่น รับตรงดีอยู่แล้วหนิ เด็กที่ติดตามข่าวสารข้อมูล พยายามหาทางให้ตัวเองได้ศึกษาเล่าเรียนไม่ดีตรงไหน เงินหาได้จากpart-time เขารับตั้งแต่เริ่ม ม.4 แล้วค่ะ เด็กที่กระ-กระสน สมควรได้รับโอกาศทางการศึกษา ถ้าหาเงินไม่ได้จริงๆ ก็รัฐช่วยลดราคาค่าสอบได้มั้ยค่ะ 200-300 ไม่ใช่ 600 แพงเกินไปรับไม่ไหวเหมือนกันค่ะ แต่เด็กที่รอแอดมิดชั่นหรือไม่มีเงินจริงๆ ถ้าเกิดไม่พยายาม ก็ไม่สมควรจะได้พัฒนาไปเป็นนักศึกษาเพราะไม่มีความพยายามใดๆเลย ก็เสียใจด้วยนะคะ!  
ปล. ไม่ได้มีเจตนาดูถูกใครแต่อย่างใด พูดถึงความพยายามของแต่ละบุคคลค่ะ ใครพยายามกว่าก็น่าจะแสดงถึงการใฝ่รู้ใฝ่เรียน ส่วนใครที่ไม่พยายามก็ไม่สมควรจะได้รับสิ่งที่ตัวเองไม่ได้คว้าเช่นกัน.
                                       

0
πr²... 16 ก.ย. 56 เวลา 17:07 น. 7

 ที่เลือกแอดมิดชั่นก็เพราะว่าเห็นข่าวที่ข้อสอบพลาดเยอะมากก
ไอเราก็กลัวเหมือนกันนะถ้าจะมีแอดมิดชั่นอย่างเดียว อย่างน้อยรับตรงก็ช่วยให้เราโล่งใจได้บ้าง เพราะว่าเราสามารถสอบได้หลายที่ด้วย(ถึงจะต้องเสียเงินเยอะก็เหอะ)


0
Pongsatorn Padthayaruk 16 ก.ย. 56 เวลา 17:07 น. 8

จะบอกว่าที่ผ่านมาเป็นสิบๆปีไม่มีคุณภาพ แล้วหมอที่รักษาพวกคุณหนะจบมาจากเอนทรานซ์ทั้งนั้นแหละบ้านที่พวกคุณอยู่ตึกที่พวกคุณไปเที่ยวและอื่นๆ ก็มาจากคนที่สอบเอนทรานซ์ทั้งนั้น ถ้าคุณบอกไม่มีคุณภาพคุณก็ไม่ต้องไปรักษา ไม่ต้องไปอยู่บ้านซื้อบ้านจากที่พวกวิศวะพวกนี้สร้างสิ อาชีพอื่นๆก็ด้วย พวกคุณนั่นแหละเห็นแก่ได้ รับตรง ม. ดังๆเค้าก็ใช้ gat pat ที่มาจากรัฐบาลออกส่วนใหญ่ งั้นคุณก็ไม่ต้องไปเข้า จุฬา ลาดกระบัง เกษตร ธรรมศาสตร์ มหิดลดิถ้าบอกไม่ได้คุณภาพ

0
rR-'BI-ISs 16 ก.ย. 56 เวลา 17:10 น. 10

-_- ... ถ้าข้อสอบแอดมันดีไม่มีปัญหาจริงๆ ใครจะอยากยกเลิกละ 

รับตรงเสียตังค์เยอก้จริง แต่อย่างน้อยข้อสอบนั้นมหาลัยก้ออกสอบ แล้วอย่าวคณะศิลปะเงี้ย ไปนั่งสอบแพท6รวม แต่ไม่มีสอบวาดรูป  แล้วจะวาดได้หรอเวลาเข้าไปเรียน 

0
อิค*คิว!ZanG 16 ก.ย. 56 เวลา 17:10 น. 11

ผมสงสัยว่า เปลี่ยนมาใช้ระบบเอนทรานซ์เดิมนี่มัน"ยาก"ขนาดนั้นเลยหรอ งงมากครับ ในเมื่อเด็กเขาก็เห็นว่าการสอบแบบนี้มันยุติธรรมและมีคุณภาพมากที่สุดสำหรับเค้า


0
brition 16 ก.ย. 56 เวลา 17:13 น. 13

รับตรง เป็นข้อสอบที่ตรงกับคณะที่จะเรียน ถ้าทำไม่ได้ก็แสดงว่าเราไม่เหมาะกับคณะนั้นๆ  แม้ว่าอาจต้องเสียเงินเยอะ แต่มันก็คุ้มที่จะเสี่ยง
แอดมิดชั่น เป็นการรวมข้อสอบมาสอบๆ ซึ่งมาตรฐานข้อสอบ ถือว่าแย่มาก วััดอะไรไม่ได้เท่าที่ควร เด็กส่วนใหญ่ก็มั่วกันทั้งนั้น พอตอนเลือกคณะก็เลือกที่คะแนนถึง หรือที่เราอยากจะเป็น ซึ่งมันอาจทำให้เรามีที่เรียนก็จริงแต่มันก็ใช่ว่าจะตรงกับความถนัดเรา และอาจจะทำให้ต้องซิ่วอีก เสียทั้งเงิน ทั้งเวลา

0
Nammon Kids 16 ก.ย. 56 เวลา 17:14 น. 14

รับตรงใช้ GAT-PAT มาเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินเพราะว่า GPAX ของแต่ละ รร ให้ต่างกันนะคะ ปล่อยเกรดก็มี ไม่ปล่อยก็มี ไม่มีมหาลัยที่ไร้คุณภาพหรอกค่ะ แต่คนที่เรียนมากกว่า ถ้าคุณบอกว่า งั้นก็ไม่ต้องไปเข้า จุฬา เกษตร ธรรมศาสตร์ งั้นฉันก็ขอบอกว่า คุณก็ไม่ต้องไปสมัครรับตรงนะคะ รอแอดมิดชั่นไป

0
FilmKKStudio 16 ก.ย. 56 เวลา 17:15 น. 16

ไม่มียกเลิกกระทรวงบ้างเหรอ #ขำๆนะ #ต้องแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุมากกว่าปลายเหตุนะ

0
Fareena 16 ก.ย. 56 เวลา 17:15 น. 17

เรา ว่า ไม่ต้องยกเลิก อะไร ทั้งนั้นหรอก เเค่ เปลี่ยนให้ลด ค่าสอบก็พอ จาก 1000 เป็น 500 จาก300 เหลือ 150 ครึ่งต่อครึ่งแค่นี้ก็จบแล้ว พวกทุนยากจนทุนเรียนดี ก็ไม่ต้องไปเอาค่าสมัคร  แล้วก็แค่ไขปัญหา ข้อสอบกลาง แค่นี้ก็จบ 

0
อิค*คิว!ZanG 16 ก.ย. 56 เวลา 17:17 น. 18

ตลก คห.8 มากเลยครับ ลองอ่านดูดีๆ ตรรกกะ ตลกมากครับ 
เรากำลังพูดถึงระบบแอดมิชชั่นอยู่ไม่ใช่หรอครับ

0
Guri-2 16 ก.ย. 56 เวลา 17:19 น. 19

คห. 9 clearing house คือการนำระบบเอนทรานซ์เก่ามาใช้

7 วิชาสามัญคุณไปถามพ่อถามแม่คุณดูสิคะตอนเข้ามหาลัยระบบนี้สอบ 7 วิชาสามัญเหมือนกัน
แค่ตอนนั้นมีวิชาวิศวะ วิชาความถนัดครู
คุณมีเงินแล้วคนอื่นเค้ามีเหมือนคุณมั้ย?
จริงอยู่ที่ว่าวุฒิม.3 ทำงาน Past-time ได้
ถ้าคุณไม่ได้เรียนอาชีวะ พาณิชย์คุณก็ต้องอายุ 18 นะคะ เข้าเซเว่นไม่ได้อ่านใบประกาศรับสมัครพนักงานหรอ
เด็กต่างจังหวัดมาสอบไกลๆ ค่าสอบไม่ใช่ 100 200 ไหนจะค่ารถ ค่ากิน ค่าที่พัก ไปสอบไกลๆ ถ้าเกิดไม่ติดเงินพวกนี้ศูนย์ปล่าวนะั
ไม่ใช่เค้าไม่เกิดความพยายาม เค้าอยากไปสอบแต่ทุนทรัพย์เค้ามีเท่าที่ไปได้
คุณนึกถึงพ่อแม่ที่ทำงานหาเงินมั่งนะ รายจ่ายพ่อแม่เค้ามีเท่าไหร่ พ่อแม่คุณมีเท่าไหร่ บ้านคุณผลิตแบงค์หรอคะ ถึงเอาเงินมาโปรยเล่นเป็นเศษกระดาษแบบนี้?

เด็กในเมือง ในกทม. ไม่เดือดร้อนหรอก ลองมาเป็นเด็กต่างจังหวัด วิ่งสอบไกลๆ แล้วจะเข้าใจ
ใครก็อยากเรียนมหาลัยดีๆทั้งแหละ การศึกษายกระดับมันสมองคุณขึ้นมาหรือปล่าวคะ?

พอดีที่บ้านส่งเรามีเรียนค่ะ ไม่ส่งให้มาแบ่งชนชั้นสมอง!!
0
แมง จี ซอน 16 ก.ย. 56 เวลา 17:22 น. 21

ททางที่ดีอย่ายกเลิกมันทั้ง2อย่างแหละครับดีที่สุด สอบตรงถ้าไม่มีสาย ศิลป์ภาษาแบบผมจะแย่ แต่ถ้าไม่มีแอดกลางสายวิทย์ที่อยากเข้าแผนศิลป์ ก้อจะเข้าไม่ได้ ทางที่ดี เอา รมต.กระทรวงออกอะครับดีที่สุดเห็นคิดมาแต่ละอันอะไรมะรุ้ตามใจเด็กเกิน

0
dokoly.belli---* 16 ก.ย. 56 เวลา 17:23 น. 22

การวัดภาษาไทยสังคม เพื่อเข้านิเทศ ดิฉันไม่เห็นด้วย 
สมมุติยื่นคะแนนไม่ผ่าน ก็ต้องมาเข้าคณะที่ตนเองไม่ชอบ ทำให้เกิดปัญหาเด็กที่อยากเรียนในคณะนั้นจริงๆ ไม่ได้เรียน 

ถ้าคุณจะเข้านิเทศการแสดง ถ้าเขาไม่ได้เก่งสังคม ภาษาไทย อะไรสักเท่าไหร่ แต่เขามีหัวคิดที่ดีมาก เช่น การคิดเรื่อง การกำกับ การเขียนบท องค์ประกอบ แสง สี การแสดง ... 

แล้วเมื่อไหร่หล่ะค่ะ จะมีคนเก่ง คนมีคุณภาพ เติบโตขึ้นมาในสังคมของเรา

เด็กบางคนเห็นเรียนเก่งมาก สอบโอเน็ต gat-pat คะแนนอย่างมากได้รัฐศาสตร์ แต่เด็กคนนั้นไม่สามารถตอบได้เลยว่า ตอนนี้สถานการณ์ของอียิปเป็นอย่างไร กับเด็กที่เรียนวิชาอื่นๆไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่ แต่รอบรู้เรื่องการต่างประเทศและใฝ่หาข้อมูลตลอด.. ลองคิดดูนะค่ะ ใครควรจะได้เข้าเรียนมากกว่ากัน

ให้โอกาสเด็กที่มีความรู้ ความสามารถ ด้านนั้น จริงๆเถอะค่ะ
ใครอยากเป็นหมอ อยากเป็นนักวิศวะ คนที่มีความสามารถด้านต่างๆ อยากเป็นนักการทูต อยากเรียนโฆษณา 

ถ้าคุณเรียนวิชาหลักได้ไม่เก่งเท่าคนอื่นๆ 
แต่คุณมีพรสวรรค์ด้านนั้นๆ แต่คุณไม่ได้รับเลือก
ก็คงจะเสียดายเช่นกัน

0
Pongsatorn Padthayaruk 16 ก.ย. 56 เวลา 17:26 น. 23

ถูกครับถึงทำงานได้จริงกว่าจะกลับบ้านแล้วกี่โมงถึงจะได้อ่านหนังสือ ที่เค้าบอกว่าการศึกษาไทยอยู่อันดับที่ 8 เค้าก็วัดจากปัจจุบันที่มีการรับตรงนะครับไม่ใช่ 7-8 ปีที่แล้ว แล้วเวลาที่พวกคุณทำข้อสอบย้อนหลังมันต่างจากเดิมขนาดพิศดารพันธุ์ลึกป่ะ ก้อไม่ได้ต่างขนาดนั้น ถ้าพวกคุณบอกที่รัฐออกสอบมันแย่ งั้นอย่าไปสอบ GAT PAT 7 วิชาสามัญดิ เพราะเป็นข้อสอบที่รัฐออก

0
Pongsatorn Padthayaruk 16 ก.ย. 56 เวลา 17:28 น. 24

ถ้าไม่ได้คณะที่ชอบแสดงว่าเด็กไม่ได้เลือกคณะนั้นไง เค้าให้เราเลือกไม่ใช่เค้าเลือกให้เรา ถ้าได้คณะที่ไม่ชอบก็คุณนั่นแหละที่เลือกเอง

0
~LightOnTheFloor~ 16 ก.ย. 56 เวลา 17:29 น. 25

โดยส่วนตัวผมมีความเห็นว่า 
การวิ่งรอกสอบมันไม่ใช่ปัญหา ทุนทรัพย์มันไม่ใช่ปัญหา
//ผมก็จน ประเทศเราจน แต่มอปลายก็ใช้เงินไม่น้อย  มหาลัยผมก็ว่าใช้เท่าเดิมนะ บางท่าน แค่เราไม่ได้กินอยู่กับครอบครัวทางบ้านเลยเห็นเป็นตัวเลขเยอะหน่อย

.....
แต่ประเด็น มันอยู่ที่ คุณภาพตัวชี้วัด คือ มันเยอะไป มันมากไป
 GAT เอย PAT เอย 7 วิชาสามัญ เอย รับตรงโดยข้อสอบมหาลัยเอย มากไปแล้วครับ
ถ้าจะให้เหตุผลว่า "เราไม่มั่นใจการตัดเกรดของโรงเรียน"
เหตุผลนี้แสดงให้ถึงความล่าหลัง และความไม่มีมาตรฐานในการจัดการศึกษาในระดับประเทศ หมายถึง ทรานสคริปต์และ GPA ในการศึกษาภาคบังคับของกระทรวงศึกษาธิการ ใช้ไม่ได้ เพราะแม้แต่คนกำหนดมาตรฐานยังทำเหมือนว่า "มันเชื่อไม่ได้"
....

นี่เป็นที่มา ของการสอบโน่นนั่นนี่ เยอะแยะไปหมด ซึ่งผมถือว่า นี่ละปัญหามัน
โอเค ถ้าจะบอกว่า ให้เราลงไปแก้ๆ โรงเรียนในระบบการศึกษาภาคบังคับ ที่ละโรงเหรอ เรื่องนั้นผมไม่ขอกล่าว มันยืดยาว และต้องใช้เวลานาน รวมทั้งนโยบายการแก้ปัญหาที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน(ไม่ว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนไปยังไง) ถ้าเปลี่ยนผู้บริหารประเทศปุ๊บ นโยบายก็เปลี่ยนตาม มันก็เลยแก้ตรงที่ โรงเรียน ไม่ได้
.....
ในเมื่อแก้ไม่ได้ เชื่อไม่ได้ แล้วจะทำไงละทีนี้?
คำตอบคือ
ใช้การทดสอบเพียงครั้งเดียว มาตรฐานเดียว ผมแนะนำว่าเป็น "๗ วิชาสามัญ" หรือคลายคลึงกัน
โดยแต่ละคณะ มีการกำหนดคะแนนขั้นต่ำเช่น
ศึกษาฯ ผู้สอบได้คะแนนร้อยละ ๗๐ (ของการทดสอบแห่งชาติ) มีสิทธิ์เลือก
วิศวฯ"............................." ๗๐ (คณิต/วิทย์ไม่น้อยกว่า ๖๐)(ของการทดสอบแห่งชาติ) 
แบบนี้เป็นต้น

....
ขั้นต่อไป เราจะได้จำนวนผู้เข้าสอบมหาศาลในแต่ละคณะ เราจะคัดเลือกขั้นนี้ โดยใช้
1) การสัมภาษณ์
2) การทดสอบเฉพาะ
จากนี้ข้อนี้ อาจมีคนตกสัมภาษณ์มากขึ้นแน่ๆ แต่อย่างไรก็ตามเราอนุญาตให้เลือกได้ ไม่จำกัดอันดับ ขอแค่วันสอบสัมภาษณ์ไม่ตรงกันก็พอ

ทำไม ผมถึงอยากให้สัมภาษณ์เยอะๆ หรือทดสอบเฉพาะเยอะๆ คือ บอกตรงๆว่าส่วนมาก คนที่จบมอปลาย ไม่ค่อยรู้ว่าตัวเองถนัดอะไร จะไปด้านไหน ขอแค่ลงไว้ก่อน ผมถึงใช้เกณฑ์กว้าง(ข้อสอบระดับชาติชุดเดียวที่กล่าวไปช้างต้น) วัด minimum requestment ก่อน  แล้วค่อยมาทดสอบด้วยการทดสอบเฉพาะและสัมภาษณ์อีกที เพื่อยืนยันว่า ว่าที่นักศึกษานั้นมีคุณสมบัติพร้อมที่จะเข้าศึกษาจริงๆ ไม่แค่ตัวเลขคะแนนสูงเท่านั้นครับ

....
แล้วก็อีกปัญหาหนึ่ง ระบบการรับเข้าศึกษาในมหาลัยทุกวันนี้ ไม่ใช่ทุกที่ ที่ใช้ระบบนี้ ผมเห็นควรอย่างยิ่งว่า ถ้าจะใช้แพทเทิร์น ที่ผมกล่าวมา ทุกมหาวิทยาลัย จะต้องกำหนดเป็นมาตรฐานเดียวทั้งประเทศ ไม่ว่ามีชื่อเสียงหรือไม่ อย่างไร ล้วนช้ระบบนี้ เกณฑ์คะแนนจะเป็นตัวชี้วัดว่า มหาวิทยาลัยไหน ได้รับความนิยมสูงกว่ามหาวิทยาลัยไหน เองครับ

....
เรื่องความไม่เท่าเทียมและค่าใช้จ่าย
อนึ่ง ผมเองนี่ จบจากโรงเรียนพระปริยัติธรรม รู้ไหม ก่อนจะจบ ปัญหาแรกที่ผมคิดคืออะไร ค่าเทอมครับ ค่าเทอม ที่มันไม่มีมาตรฐานเอาซะเลย แต่ละที่ไม่เท่ากัน ส่วนการที่แต่ละคณะไม่เท่ากันนี่ผมเข้าใจ เพราะระบบการสอนและหลักสูตรที่ต่าง แต่คณะเดียวกัน สาขาวิชาเดียวกัน แต่แค่ต่ามหาลัย บางทีต่างกันเป็นหมื่นๆเลยอะนะครับ

....
จะบอกว่า ถ้าจะให้การศึกษาเป็นเรื่องของทุกคนจริงๆ ก็อย่าใช้ค่าเทอมมาเป็นตัวชี้วัดเลยนะครับ ใครดีกว่า ใครหรูกว่า เลิศกว่า เพียงเพราะตัวเลข ตัวเงิน เท่านั้นนะครับ

"ตัวเลขมันบอกอะไรไม่ได้จริงๆนะครับ"

0
อิค*คิว!ZanG 16 ก.ย. 56 เวลา 17:31 น. 26

ทำไมถึงมีระบบรับตรง??

มีไว้เพื่ออะไร หากมีระบบแอดกลางที่ดีอยู่แล้ว??

มหาลัยที่เปิดรับตรงไม่ชอบระบบรับกลางหรืออย่างไร??

มหาลัยคิดว่าเด็กรับตรงมันดีกว่าเด็กแอดกลางหรอ??

ไม่ชอบแล้วแบ่งส่วนใช้แอดกลางทำไม??

หรือว่าต้องการงบประมาณกลางจากเด็กรับตรง??


0
Nammon Kids 16 ก.ย. 56 เวลา 17:38 น. 27

มันคือความพยายามไงค่ะ  ไม่ได้แบ่งชนชั้น ไม่ได้ดูถูกใครค่ะ อย่ากล่าวหา แค่แสดงความคิดเห็นว่า ถ้าคนที่เค้าอยากจะเรียน อยากจะมีการศึกษาจริงๆ ไม่มีอะไรที่คนทำไม่ได้ เหมือนกัน ที่บ้านไม่ได้ผลิตเงินเหมือนกันค่ะ มีกินมีใช้เหมือนๆกันค่ะ พ่อแม่สอนให้รู้จักใช้เงินอย่างประหยัด เวลาจะสอบตรงที่ไหน คิดแล้วค่ะว่าราคามันไม่เกินไป มีคณะที่อยากจะเข้า เข้าใจใหม่ด้วยนะค่ะ อย่าพึ่งมโนไปเองว่าฉันจะมีมันสมองที่เหมือนกับคุณ 

0
Phurinat Sriam 16 ก.ย. 56 เวลา 17:39 น. 28

รับตรง มันก้ดีอยู่แล้ว ประเด็นคือโอกาสที่เก๊าจะติดมันเยอะกว่า 555555 ดีกว่าที่จะมาวัดกันทีเดียว เชื่อเก๊าเต่ออ!!

0
pimlony 16 ก.ย. 56 เวลา 17:40 น. 29

ถ้ามันดีจริงก็ควรไปแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อสอบ

ที่มักจะมีปัญหาทุกปีด้วยนะคะ อย่าดีแต่เอามานั่ง

พูดเหตุผลที่คิดเองล้วนๆไม่ถามเด็ก โดยที่มาฟ่งออก

รายการทีวี ลองฟังความเห็นของตัวเด็กหรือผู้ปกครอง

ของเค้าบ้าง มี 2 อย่างก็ไม่ได้เดือดร้อนนี่คะ?

แล้วตอนนี้ทำไมถึง.... เอิ่มมม 

อย่างที่บอกเปลี่ยนคนในกระทรวงดีกว่าค่ะง่ายสุด

เดือดร้อนไม่กี่คนด้วย 5555555555


0
The Pussycat Dolls ღ 16 ก.ย. 56 เวลา 17:43 น. 30

ที่ม.เค้ารับตรงเพราะอยากได้เด็กเก่งที่มีคุณภาพ ไม่ใช่อยากได้เด็กที่เก่งด้วยเกรดเฉลี่ย เพราะบางโรงเรียนเค้าปล่อยเกรดอ่ะ


0
้ความฝัน 16 ก.ย. 56 เวลา 17:46 น. 31

ใจจริงก้อยากกดทั้งสองนะคะ555 ขำๆ เพราะรับตรงก้กินเงินเยอะมากๆค่าสมัครก็ขึ้นทุกๆปี...สอบได้ก้ดีไปสอบไม่ได้นี่สิ่ เงินที่เสียไปมันโคตรเสียดาย...ไหนคนจะสอบก้เยอะอีกรับตรงเนี่ยยรับแค่15,20เองอะ แงๆจะรอดไหม...
ส่วนแอดมิชชั่นนี่ข้อสอบจะยากไปไหน เรียนที่รร.ไห้มาแค่เนี้ย*ออกข้อสอบทีเท่าโน้นน ต้องเสียเงินเรียนพิเศษหาความรู้เพิ่มอีก คิดอีกทีก้ไม่อยากเรียน..เห็นใจพ่อแม่ที่ทุ่มเทให้กับเรา เครียดคะเครียดคะ ชีวิตม.6ไม่สวยหรูเลย อีกอย่างกว่าจะแอดก้เสียค่าสมัครสอบเยอะแยะมากมาย แต่ยังไงก้ถือว่าแอดเนี่ยดูยุติธรรม+เท่าเทียมกันทุกคน   ปล.แสดงความเห็นและความรู้สึกTT #เด็ก57

0
Pongsatorn Padthayaruk 16 ก.ย. 56 เวลา 17:51 น. 32

เค้าบอกจะแก้ทุกอย่างไม่ได้ยกเลิกรับตรงอย่างเดียว ข้อสอบและระบบทั้งหมด เมื่อกี้ฟังมา และก็ไม่ได้ประกาศปุ๊บแก้เลยด้วย 

0
OFFooKAZuma 16 ก.ย. 56 เวลา 17:54 น. 33

แอดมิชชั่นที่ราคาถูกกว่า แล้วไม่ต้องเหนื่อยนักเรียนเป็นวิธีดีที่สุดนะเราว่า

แต่ก็อย่างที่หลายคนคิด คือข้อสอบแอดมิชชั่นดูยังไงก็ไม่ได้มาตรฐาน

เราว่ายกเลิกรับตรงน่ะถูกแล้ว แล้วให้เอาครูมหาลัยคัดสรรโดยการสอบมาส่วนนึงมาช่วยกันระดมความคิดออกข้อสอบแอดมิชชั่น แล้วก็ให้ค่าแรงครูเหล่านี้ไป

พ่อแม่เราเป็นอาจารย์มหาลัยเลยได้ทราบมาว่าแต่ละปีมศว.รับตรงแต่ละครั้งได้เงินเข้ามากถึง 50-60 ล้านต่อครั้ง แล้วรวมๆแต่ละม.ที่มีรับตรงเข้าไปก็หลายร้อยล้าน เราว่าแทนที่จะเข้ามหาลัยใดมหาลัยหนึ่ง ให้ไปเข้ากับกระทรวงศึกษาฯเลยดีกว่า จะได้มีเงินไปให้กับทุนต่างๆหรือพัฒนาการศึกษาส่วนอื่นๆ ไม่ก็ไม่ต้องเก็บเงิน เด็กยากดีมีจนจะได้สอบเหมือนๆกันหมด

คหสต.อ่ะนะ อ่านไม่รู้เรื่องก็ขอโทษด้วย เพราะรีบพิมพ์จะไปว่ายน้ำ 55555

0
My lovelove 16 ก.ย. 56 เวลา 17:55 น. 34

ถ้าเทียบกับเมืองนอก...  
คือเมืองนอกเขามีวิชาเลือกไงคะ  เลือกเพราะมันคือความถนัด
แล้วส่งผลให้เกรดออกมาดี
ประเทศไทยในบางโรงเรียนแบ่งสายการเรียนอย่างเห็นได้ชัด   
ถึงแม้ในสายวิทย์จะสามารถสอบคณะในสายศิลป์ได้  แต่ถ้ามีแอดมิดชั่นความหวังก็แทบเป็นศูนย์  
เพราะอะไร?   เพราะคนที่เขาสายวิทย์ที่อยากเข้าคณะสายศิลป์เขามักจะปล่อยวิชาที่ไม่ชอบ อาทิ  ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ หรือคณิตอย่างใดอย่างหนึ่ง  อยู่ๆก็มาเปลี่ยนแบบนี้(ถึงจะอีกสามปีก็เหอะ) 
แหม...

0
Pongsatorn Padthayaruk 16 ก.ย. 56 เวลา 18:03 น. 35

บ้านเราไม่ใช่เมืองนอกไง เราต้องพัฒนาให้ทันเค้าจะทำยังไงก็ต้องพัฒนาการศึกษาให้ทัดเทียมกันส่วนคุณภาพด้านวิชาชีพก็ให้มหาลัยพัฒนาต่อ เห็นด้วยกับ คห 33 นะ ก็ให้อาจารย์แต่ล่ะมหาลัยมาช่วยกันออกข้อสอบ ไม่งั้นมหาลัยก็ได้เงินส่วนนี้เยอะเกินไป ส่วนเกรดเดี๋ยวเค้าก็เอาออกถ้ามีปัญหา แค่

0
Guri-2 16 ก.ย. 56 เวลา 18:05 น. 36

คห. 27
ใครก็มีความพยายามทั้งนั้น แต่ทุนทรัพย์เรามันมีเท่ากันมั้ย?

ทำไมคุณไม่คิดส่วนนี้คะ ??? คิดแค่ว่าไม่มีเงินก็ต้องพยายาม
พ่อแม่บางคนหาเช้ากินค่ำ ไหนจะค่าน้ำค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน (เพราะบางคนไม่มีบ้านส่วนตัว) ค่าเทอมคุณ ค่าเทอมพี่ - น้อง ค่าโปรไอโฟน จิปาถะ 

มันตัดโอกาศเด็กต่างจังหวัดที่เค้าอยากมาเรียนที่ดีๆ แต่มันมีค่าใช่จ่ายเยอะ



อย่างค่าสอบ มศว . 600 เด็กต่างจังหวัดเสียค่าเดินทาง ค่ารถ ค่าที่พัก ถ้าเกิดไม่ติดละ

เกิดวันนึงไปสอบที่อื่นไกลๆ ภาคเหนือ ค่าสมัครสอบ ค่ารถ ค่าที่พัก ค่ากิน

ต้องวิ่งรอกสอบหลายๆที่ 

สมมุตินะพ่อคุณทำงานหาเงินคนเดียว แม่พิการทำงานไม่ได้
รายได้พ่อแค่วันละ 300 เดือนนึงก็ 9000 
ค่าน้ำ 300 ค่าไฟ 500 ให้เงินคุณไป รร. วันละ 100 ค่าโทรศัพท์อีกตีไปซัก 200 (บางคนใช้ไอโฟนค่าโทรศัพท์แพงกว่านั้นอีก)
ค่าเช่าบ้าน 4500 ค่าเน็ต 600 ค่าเทอม 2000 ค่ารักษาพยาบาลแม่ยังไม่นับ

ครอบคุณคุณมีเงินเก็บเหลือเท่าไหร่ต่อเดือนเพื่อให้คุณแบมือไปขอสมัครสอบหลายๆมหาลัย ?

ใจเค้าใจเราหน่อยเหอะบางที

0
FishFail 16 ก.ย. 56 เวลา 18:07 น. 37
เยี่ยม ชอบรับตรงครับ สอบวิชาที่ใช้จริง แล้วได้รู้ว่าเราเหมาะสมกับคณะนั้นๆ รึป่าว
เสียใจไม่ชอบแอด เพราะบางวิชามันมาดึงคะแนนครับ
0
Pongsatorn Padthayaruk 16 ก.ย. 56 เวลา 18:10 น. 38

(คห 27 )จริงคิดแต่พยายาม เห็นแก่ตัวชัดๆ ใครๆก็อยากมีที่เรียนทั้งนั้นแหละคู้นนนนน รู้ใจเค้าใจเราบ้าง 

0
Soso Eakky\'y 16 ก.ย. 56 เวลา 18:15 น. 39

เลือกยกเลิกแอดมินชั่น เพรา่ะว่า คิดว่าการรับตรงหรือสอบตรง ใช้ข้อสอบทางด้านเฉพาะวิชาสาขาที่นักเรียนเป็นคนเลือกเอง ข้อสอบเฉพาะวิชาสาขาไม่เกี่ยวเลยที่ต้องอยู่ในบทเรียน ซึ่งข้อสอบของรับตรงหรือสอบตรง สามารถคัดเลือกเด็กที่มีคุณภาพทางวิชาสาขานั้นได้ ผมคิดเช่นนั้น คหสต 

0
Ton rapee 16 ก.ย. 56 เวลา 18:19 น. 40

อยากขออนุญาติเพิ่มทางเลือกครับ คือการยกเลิกทั้ง2ระบบเลย แล้วหยุดการยัดเยียดค่านิยมการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยด้วย ควรหันมาสนุบสนุนการทำงานให้เป็นตั้งแต่ระดับมัธยมเมื่อจบแล้วจะได้สามารถสร้างอาชีพได้เลย ส่วนการเข้ามหาวิทยาลัยนั้นควรเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลไปคือคนที่มีอาชีพอยู่แล้วอยากพัฒนาความรู้ต่อไปจึงเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยอย่างนี้จะช่วยพัฒนาทั้งด้านคุณภาพแรงงานที่มีอยู่ ลดปัญหาการทำงานไม่เป็นของบัณฑิตจบใหม่ได้ด้วยและยังทำให้เด็กไทยรู้จัดรับผิดชอบตัวเองให้เป็นตั้งแต่เด็ก การทำให้การเข้ามหาวิทยาลัยไม่ใช่เรื่องจำเป็นอย่างนี้จะช่วยให้ชาติพัฒนาไปได้มากครับ การเข้าเรียนมหาวิทยาลัยทุกวันนี้มันเป็นการโปรแกรมเด็ก ในเมื่อเด็กยังไม่มีประสบการณ์การทำงานว่าตนชอบสาขานั้นๆจริงหรือไม่ทำให้เลือกคณะที่ไม่เหมาะกับความถนัดของตนเองก็เป็นเหตุให้ประเทศชาติได้แรงงานที่ไม่มีคุณภาพ  เช่น ได้หมอมาก็ได้หมอที่ไม่ได้อยากช่วยคนไข้จริงๆแต่เป็นหมอเพราะเงินดี อย่างนี้ก็ไม่มีประโยชน์ ทุกวันนี้เด็กเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยเหมือนการศึกษาภาคบังคับทั้งที่ไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำมัย ทั้งๆที่ทำงานเองได้แล้วแต่ก็ยังขอเงินพ่อแม่อยู่ สังคมไทยถึงได้เน่าเฟะอยู่อย่างนี้ไงครับ

0
เอ็กซ์โซซิสน้อยserinia Columnist 16 ก.ย. 56 เวลา 18:32 น. 41

ชอบความเห็นบนคะ คุณพูดได้ตรงประเด็นมากคะ  แต่อยากจะตอบความคิดเห็นที่หนึ่งว่า อย่าเอารุ่นคุณมาเทียบกับรุ่นฉันแล้วบอกว่าอยู่ได้สิคะ การศึกษาคือการพัฒนาคน นะคะ ถ้ามันไม่ดีเราก็ควรเปลี่ยนใหม่สิคะ ไม่ใช่ย่ำอยู่กับที่โดยเอาเหตุผลมาอ้างว่าคนรุ่นก่อนเขาทนมาได้ เราก็ต้องทนได้ ทุกคนไม่ใช่คุณนะคะ อย่าเอาเราไปเหมารวมสิคะ ก็จริงที่ค่าสอบมันแพง มหาลัยเองก็น่าจะลดบ้าง แต่เราถามหน่อยสิคะว่า ถ้าเราไม่ไปสมัครสอบไว้หลายที่ เราอะไรจะมารับประกันเราละคะ รัฐเหรอ? สามารถรับประกันเราได้เหรอคะ ว่าเราจะสอบได้ที่ีนี่แน่นอน 

0
meenwisuttida 16 ก.ย. 56 เวลา 18:37 น. 42

ถ้าเปลี่ยนจริงก็คงเป็นปีหน้า หึหึ รุ่นเราอีกล่ะ เราไม่รู้น่ะว่ารับตรงกับแอดมันดีเสียต่างกันยังไงเพราะไม่เคยสอบ แต่ที่แน่่ๆเลยเด็กรุ่นเราต้องเจอคือการปรับตัวอย่างจัง ดูดีๆเด็กก็เหมือนเป็นหนูทดลองเพื่อให้รัฐบาลให้บริหาร พอเปลี่ยนรัฐบาลก็เปลี่ยนนโยบาย พวกเราก็โดนผู้ใหญ่ทดลองวิธีโน้นนี่ไปเรื่อยๆ ทางที่ดีแยกระบการศึกษาออกจากการเมื่องดิ่ จะได้เห็นชัดๆไปเลยยโนบายอะไรต่างๆจะได้ถูกสานต่อมันจะได้เห็นเป็นรูปธรรมไม่ใช่พอว่าเด็กกำลังจจะพํฒนาตัวกับแบบนี้ มาล่ะเปลี่ยนกีกล่ะ เปลี่ยน เริ่มใหม่ เรื่อยๆสุดท้ายก็อยู่ที่เดิม ไม่ได้มีไรเป็นชิ้นเป็นอัน

0
choidamnit 16 ก.ย. 56 เวลา 18:37 น. 43
ค่าสอบแกทแพท วิชาละ 140 บาท
ค่าสอบ7วิชาสามัญ วิชาละ 100 บาท
แอดกลาง อันดับแรก 100 ต่อไป 50 บาท

#ถูกกว่าตรงไหนเหรอ

เด็กวิทย์เรียนฟิสิกส์เคมีชีวะ
ศิลป์เรียนวิทย์กาย ดาราศาสตร์
แต่โอเน็ตออกแม่งทุกอย่างแล้วบอกตรงหลักสูตร ?

อนาคตเด็กไทยทั้งประเทศ อยู่ในกำมือคนๆ เดียวเหรอ ..


โรงเรียนไหนบ้างเรียนวิชาวิศวะ เรียนวิชาสถาปัตย์ เรียนแกทเชื่อมโยง
0
เอ็กซ์โซซิสน้อยserinia Columnist 16 ก.ย. 56 เวลา 18:39 น. 44

แล้วคนที่บอกว่าแอดดีกว่า คุณจะให้คนสอบ ศิลปกรรมศาสตร์สอบแค่ข้อเขียนงั้นสิ แล้วเวลาเขาไปเรียน คุณคิดบ้างไหมว่าเขาวาดรูปได้รึเปล่าไม่ได้สักแต่ว่าเอาทฤษฏีนะ !!!!!!!!!!!!

0
อิค*คิว!ZanG 16 ก.ย. 56 เวลา 18:40 น. 45

รับตรงมันเกิดจากระบบแอดมิชชั่นที่เฮงซวยไม่ใช่หรือไง มหาลัยถึงต้องมาเปิดรับเองเนี่ย  ซึ่งแต่ก่อนใช้ระบบเอนทรานซ์มันก้ไม่มีปัญหาไรนิ ดังนั้นผมจึงคิดว่า ถ้าระบบรับกลางมันมีคุณภาพดีเลิศ มหาลัยเองก้ไม่ต้องมาเปิดรับตรงให้เสียเวลานะครับ

อ่อแล้วถามว่าทำไมถึงปล่อยให้ยึดเยื้อมาถึงป่านนี้ เห็นจะโทษมหาลัยเองก็คงไม่ได้ ต้องถามกระทรวง...ว่าทำไมถึงปล่อยให้ยืดมาถึงปัจจุบัน ทั้งๆที่ควรจะแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ก้ไม่ทำ แถมยังทำอะไรที่ พิศดารๆจนผมยังปวดหัวกะมันอยู่เลย

ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายจากการสอบตรงที่ต้องเสียเยอะเพราะ มหาลัยต้องเตรียมการสอบเองโดยที่ รัฐไม่ได้ช่วยเหลืออะไร ค่าจ้างเด็ก นศ หรือบุคลากรมาคุมนี้ไม่ถูกนะครับ รวมถึงค่าจิปาถะอื่นๆด้วย

สรุปผมคิดว่าถ้าระบบรับกลางมันลงตัวเมื่อไหร่ มหาลัยเองก็ไม่จำเป็นต้องเปิดรับตรงนะครับ มันเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายด้วย มหาลัยมีช่องทางหาเงินมาอุดหนุนได้กว่าเอาเงินจากรับตรงนะครับ ดังนั้นมันไม่มีประโยชน์อันใดที่จะใช้ช่องทางนี้หากินนะครับ

0
Pongsatorn Padthayaruk 16 ก.ย. 56 เวลา 18:49 น. 46

ก็เสียครั้งเดียวไง สอบตรงเสียค่าสมัครต่งหากอย่าง มศว 600 แค่ที่เดียวก็แพงกว่าและ เห็นๆเลย แล้วถ้าสอบตรงหลายๆที่หละรวมกันแล้วกี่บาท ค่ากินค่าอะไรอีกยังไม่นับ แอด 250 รวมแกทแพทยังไงก็ถูกกว่าเยอะเพราะสมัครครั้งเดียว 7 วิชาสามัญสอบกันทุกคนที่ไหน  

0
Pongsatorn Padthayaruk 16 ก.ย. 56 เวลา 18:53 น. 47

มหาลัยอยากเอาเงินเด็กมากกว่า ยกตัวอย่าง
ม..ว ก็ได้ไป 50 กว่าล้านและค่าเช่า + สถานที่ยังไงก็ไม่ถึง มหาลัยอื่นๆก็เหมือนกันอยากได้เงินเข้ามหาลัยมากกว่า ถ้าแอดเดี๋ยวไม่ได้เงิน ทำไมไม่เอาเงินส่วนนี้มาช่วยกันปรับปรุงข้อสอบ และอีกอย่างถ้าเค้าไม่มั่นใจข้อสอบจริงทำไมยอมให้ใช้คะแนน GAT PAT และอื่นๆของสทศ ????/ ถ้างั้นทำไมไม่ออกข้อสอบเอง

0
yasaza 16 ก.ย. 56 เวลา 19:08 น. 48

อยากโหวดทั้งสอง หัวข้อเลยอ่า...


...อย่างที่ใครๆเค้าก็พูดกันอ่ะนะ ...ในดีมีเสีย ในเสียมีดี

0
Ray_Sama 16 ก.ย. 56 เวลา 19:15 น. 49

ขอนอกเรื่องหน่อยล่ะกันเราว่าระบบเอ็นทรานก็ดีนะ
ถึงจะยากก็เหอะแต่อย่างน้อยก็มีคุณภาพนะ

เอาแบบพูดกันตรงๆเลยเรากับเพื่อนๆก็มีบางครั้งที่คิดนะว่า
"เออ สอบรับตรงไม่ รอแอดก็ได้"ด้วยส่วนนี้ไงเพราะระบบแอดมิดชั่นไม่ต้องสอบแค่ทำคะแนนสอบพวก gat pat o-net 7วิชาสามัญ ให้ดีแค่นั้นเอง



เราว่ารับตรงดีกว่าอ่ะ ถึงแข่งกับคนหลายๆคนดูยากแต่ก็ทำให้รู้ป่ะว่าเราจะสามารถพัฒนาได้หรือไม่ได้ ถ้าคนที่พยายามมาเต็มที่ก็สอบติดส่วนคนที่พยายามมาไม่ดีก็ไม่ติด เป็นการพลักดันอีกวิธีที่ทำให้เด็กพยายามนะ


เอาเหอะเราปลงกับระบบแล้วล่ะเราเองก็เด็กแอดปีนี้เหมือนกัน
ตามยถากรรม

0
`Ce|estial 16 ก.ย. 56 เวลา 19:21 น. 50
บางคนนี่พูดดี้ดี
มีเส้นบางๆคั่นระหว่างคำว่า แอดมิชชั่น กับ เอนทรานซ์ ครับ อย่าเอา 2คำนี้มาบอกว่ามันเหมือนกัน หรือบอกว่าเมื่อก่อนมีเอนทรานซ์ แต่ตอนนี้จะกลับไปใช้เหมือนเดิมไม่เห็นเป็นไร ... คนโง่เท่านั้นที่แยก2อย่างนี้ไม่ออก  ศึกษามาไม่ดีอย่าอวดฉลาดนครับ
 


อโทษที่ดันเป็นคนตรงๆนะครับ แต่เสียอารมณ์นะ จะศึกก็ได้นะครับ??
0
ユキネ 16 ก.ย. 56 เวลา 19:41 น. 51
อยากให้เปลี่ยนเรื่องค่าใช้จ่ายกับปรับแก้ข้อสอบดีกว่านะ.
ให้เรื่องข้อสอบผิดพลาดน้อยลง
ให้เรื่องค่าใช้จ่ายในการสอบ ทุกๆ อย่าง ลดลง
จาก 600 เงี่ย เหลือ 300 ก็ดีนะ บางทีก็เเพงไป
ถ้าอยากลดเรื่องค่าใช้จ่ายจริงๆ ทำไมไม่ลดที่ตรงเหตุ
ทำไมต้องไปลดทางเลือกของการสอบเข้าด้วย?

ไม่ทางไหนเราก็ไม่อยากให้ถูกยกเลิก
เพราะมันคือทางเลือก
เเต่ถ้าเป็นไปได้เราชอบรับตรงกว่าหน่อยๆ
0
punyeon 16 ก.ย. 56 เวลา 19:46 น. 52

ไปเรียนต่างประเทศ จบ ง่ายดี ในเมื่ออยู่ไทยแล้วมันเรื่องมากขนาดนี้นะ

คหสต คะ

0
TheGoddess Cryssariosasion 16 ก.ย. 56 เวลา 20:10 น. 55

เอ่อ แล้วไม่ทราบว่าคนที่เค้ารอแอดมิชชั่น แปลว่า ไม่มีความพยายามเหรอ  อันที่จริงก็อยู่้ที่แต่ละคนจะคิด บางคนได้รอบรับตรงเค้าก็บอกว่าง่าย บางคนได้แอดมิชชั่นเค้าก็บอกว่าง่าย 
คิดว่า ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรอก มีไปทั้ง 2 อย่างนั่นแหละ เพราะ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละคน ว่าจะเหมาะกับแบบไหนมากกว่ากัน แต่ถ้าหากจะยกเลิกจริงน่าจะยกเลิกทั้งรับตรงและแอดมิชชั่น แล้วไปใช้ระบบ A-Level แทน

0
CiiChalone 16 ก.ย. 56 เวลา 20:19 น. 56

ข้อสอบของสทศ.เองก้อเห็นมีปัญหาทุกปี อย่าไปว่าข้อสอบของแต่ละมหาลัยเลยค่ะ

มันผิดตรงไหนที่จะออกข้อสอบตามรูปแบบคณะที่คุณจะเข้า

อยากถามว่าเปอร์เซ็นต์คะแนนแกทแพทเงี้ย บางอันยังดูไม่สมเหตุสมผลเลยค่ะ แพท 2 ก้อสอบมันทั้งฟิสิกส์ ชีวะ เคมีรวมกันถ้าอยากเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ จะเรียนฟิสิกส์ไปเพื่อ แต่คะแนนก้อมาถูกรั้งเพราะต้องสอบฟิสิกส์ด้วย ไม่ใช่ทุกคนจะเก่งวิทย์หมดทั้ง 3 ตัวถูกมั๊ยคะ

แล้วถามว่าทำไมมหาลัยต้องจัดสอบตรง?
ส่วนตัวคิดว่าเหตุผลเยอะแยะค่ะ ไม่มีความมั่นใจในข้อสอบแกนกลาง ข้อสอบแกนกลางวัดความสามารถที่แท้จริงของเด็กไม่ได้ แล้วถามว่ามหาลัยเก็บเงินเยอะแยะไปทำไม มหาลัยเองก้อมีค่าใช่จ่าย เครื่องมือ เครื่องใช้ของนักศึกษาราคาก้อไม่หยอกนะคะ  ถ้าเทียบกับเอกชนแล้วค่าเทอมต่างกันมากเลยนะในความคิดเรา

สุดท้ายแล้ว เราคิดว่า อย่ายกเลิกสอบตรงเลยค่ะ
สอบตรงมันก้อมีโควต้าเด็กต่างจังหวัดเยอะแยะ 
เด็กในเมืองก้อไม่ได้ได้เปรียบอะไรขนาดนั้นหรอกค่ะบอกเลย

0
DK.Pencil 16 ก.ย. 56 เวลา 20:20 น. 57

แอดออกไป!!!  สอบได้เลอะเทอะจริง หลายรอบ ใช้คะแนนก็มั่วไปหมด  ระบบเก่าๆก็ดีอยู่แล้ว ไม่น่าเอามา เหมือนไปลอกต่างประเทศมาอ่ะ  มันยังง๊ายยย สอบอะไรซ้ำซาก น่าเบื่อ  
คะแนน G-Pax นี่ก็นะ แต่ละโรงเรียนมาตรฐานเดียวกันที่ไหนล่ะ
ขนาดโรงเรียนเดียวกัน ครูวิชาเดียวกัน ให้คะแนนยังไม่เหมือนกันเล้ยยย   แย่ๆๆ
เอนท์ + รับตรง  จบกลับมา  สอบรอบเดียวจบดีที่สุด

รับตรงดีมากมาย   ใช้ข้อสอบดีมีมาตรฐาน   ผมว่าเหตุผลในโหวตก็ไม่ถูกหมดหรอก  คนรวยได้เปรียบที่ไหนล่ะ  ความรู้มันก็หาได้เหมือนๆกัน  เพราะฉะนั้น คนไม่มีเงิน  ถ้าเก่งจริง รอบเดียวคุณก็ติดได้  หรือไม่เก่งล่ะ เลยมาอ้างวิ่งรอกสอบ ==

0
อิค*คิว!ZanG 16 ก.ย. 56 เวลา 20:32 น. 58
เมื่อวานมีข่าวว่า จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาฯ มีไอเดียจะให้ยกเลิกการสอบตรง โดยให้เหตุผลว่า 

"ที่ผ่านมาการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยมีปัญหามาก โดยเฉพาะการรับตรง ที่มหาวิทยาลัยต่างคนต่างรับ จัดสอบกันหลายครั้งตามอัธยาศัย ทำให้ผู้ปกครองและนักเรียนเสียค่าใช้จ่ายในการสอบจำนวนมาก บางคนต้องเสียค่าสมัครสอบเป็นแสน โดยที่ยังไม่รวมค่ากวดวิชา ขณะที่มหาวิทยาลัยบางแห่งก็ได้รับเงินจากการเปิดรับตรงหลายสิบล้านบาท ซึ่งคนรวยจะได้เปรียบที่จะเลือกสอบหลายที่ แต่คนจนสอบได้เพียง 1-2 แห่งก็มากเกินพอแล้ว"

ผมขอคัดค้านคุณจาตุรนต์ในเรื่องนี้ ขอพูดด้วยประสบการณ์ส่วนตัว ผมเป็นเด็กที่เข้าเรียนได้ด้วยระบบสอบตรง การสอบตรงคณะอื่นเป็นไงไม่รู้ แต่ในคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เราสอบแค่สองวิชา คือ ความรู้ทั่วไปทางรัฐศาสตร์ (การเมือง การระหว่างประเทศ บริหารรัฐกิจ ประวัติศาสตร์ ข่าว ฯลฯ) และวิชาเรียงความ ซึ่งทั้งสองวิชานี้ไม่ต้องติวเลย แค่อ่านหนังสือ และมีความสนใจติดตามข่าวให้รอบรู้สักหน่อย คุณก็ทำได้ 

ในขณะที่ระบบแอดมิชชั่นปกติ จะเข้ามาคณะรัฐศาสตร์ ผมจะต้องสอบทั้งคณิตศาสตร์ อังกฤษ ภาษาไทย สังคม ฝรั่งเศส (จำไม่ได้ว่าโอเน็ต ต้องสอบวิทย์ไหม) ประมาณ 4-5 วิชา ซึ่งเป็นภาระในเรื่องกวดวิชาแน่ๆ คือสมมุติว่าทั้งสอบตรงและแอดมิชชั่นต้องใช้การติว แอดมิชชั่นปกตินี่ติวมากกว่าเยอะครับ หลายวิชามากๆ ที่สำคัญระบบแอดมิชชั่น ยังมีความไม่แฟร์ในเรื่องเกรด บางโรงเรียนเกรดโหด บางโรงเรียนเกรดเฟ้อ แต่ระบบสอบตรงวัดกันที่พื้นความรู้เฉพาะทางล้วนๆ 

ที่สำคัญคือ ระบบสอบตรง เป็นระบบที่คัดเลือกเด็กที่มีความสนใจเฉพาะทางได้เป็นอย่างดี ผมชอบการเมือง อยากเรียนรัฐศาสตร์ ผมมีความรู้ ศึกษาเรื่องนี้มา ก็มาสอบรัฐศาสตร์ คุณชอบนิติ ลองอ่าน ลองศึกษา ชอบ ทำการบ้านอ่านหนังสือ ก็ไปสอบนิติ คุณอยากเรียนบริหาร วิชาเลขคุณดี ภาษาอังกฤษคุณดี ก็ไปสอบบัญชี ไม่ต้องไปวัดเอาจากคะแนนสอบวิชาอื่นๆ เพราะบางครั้ง เราชอบเรื่องนี้ สนใจทางนี้ มีความรู้เรื่องนี้ แต่เราอาจจะทำวิชาภาษาไทยได้ไม่ดี ทำคณิตศาสตร์ได้ไม่เยอะ เป็นต้น

ส่วนเรื่องค่าสมัครสอบรวมๆกันเป็นแสน นี่คณะอะไรครับ? ผมว่าแพงสุดก็น่าจะราวๆ 500-600 บาทต่อคณะ และหลายๆมหาลัย ก็มักมีวันสอบตรงวันเดียวกัน ไม่ก็ให้สอบได้แค่ 1 คณะเท่านั้น ถ้าเห็นว่าค่าสมัครแพงจริง มหาลัยเอากำไรเกินไป ทำไมไม่แก้เรื่องค่าธรรมเนียมการสมัคร ให้เหลือสัก 100-200 ตามต้นทุนจริงละครับ? 

แล้วเรื่องความเหลื่อมล้ำ ที่บอกว่าต้องเดินทางไปสอบหลายๆที่เนี่ย มันก็มีบ้างแต่คงไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรง หรือเกินกำลังจนเกินไป หรือถ้าอยากจะแก้จริงๆ เพื่อให้ผู้ปกครองประหยัดค่าใช้จ่าย ทำไมไม่ลองจัดให้เด็กคนนึงสอบได้คณะเดียว(ที่สนใจ)เท่านั้น และกำหนดวันสอบของคณะนั้นๆในแต่ละมหาลัย เป็นวันเดียวกัน เพื่อให้เด็กเลือกคณะที่สนใจ และมหาลัยที่อยากเรียนได้เลย ไม่ต้องเทียวไปเทียวมา หรือปรับปรุงการสอบตรง เพื่อตอบสนองให้เด็กที่มีความสนใจเฉพาะทาง ได้เรียนในสาขาที่เขาชอบจริงๆ มันน่าจะเป็นประโยชน์กับการศึกษาโดยรวมมากกว่า 

สรุปว่าลองคิดดีๆเถอะครับ ชั่งน้ำหนักผลดีผลเสียหน่อย เพราะตอนนี้เท่าที่อ่านเหตุผลมา มันฟังไม่ขึ้นเลย ออกจะไม่เข้าท่าด้วยซ้ำ เอาเป็นว่าเรื่องนี้ผมคนนึงละที่คัดค้าน ไม่เห็นด้วยครับ ไม่เห็นด้วยจริงๆ ขอคัดค้านครับ 

ศาสดา
0
IYqueenOK 16 ก.ย. 56 เวลา 20:48 น. 60
อันที่จริงมหาวิทยาลัยน่าจะจัดศูนย์สอบที่หลากหลาย เอาแบบว่ากระจายไปทุกภาคเลยก็ได้นะคะ จะได้ไม่มีปัญหาด้านการเดินทางว่าต้องเดินทางไปสอบไกล เสียค่าใช้จ่ายเยอะ


0