Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การค้ามนุษย์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
การค้ามนุษย์
              การ ค้ามนุษย์เป็นปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติที่สำคัญในระดับสากล เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และวิถีชีวิตของผู้คนและสังคมในหลายระดับ เกิดขึ้นและมีความเกี่ยวพันกับหลายประเทศทั่วภูมิภาคของโลก มีผู้คนนับแสนนับล้านคนโดยเฉพาะเด็กและสตรี ต้องถูกแสวงหาประโยชน์และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมาย สูญเสียและได้รับความเสียหายทั้งร่างกายและจิตใจ โอกาสและอนาคต ความปลอดภัยและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงเกิดความสูญเสียและเสียหายต่อบุคคลรอบข้าง ชุมชน และสังคม ซึ่งอาจไม่สามารถประเมินมูลค่าได้เป็นตัวเงิน โดยการค้ามนุษย์นั้นโดยมากปรากฎให้เห็นในรูปแบบที่ผ่านนายหน้าหรือเอเย่นต์ และผ่านการบริการทางอินเตอร์เน็ต เพื่อการค้าประเวณีและเพื่อการค้าแรงงาน
              ปัจจุบันพัฒนาการด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เกื้อหนุนให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นเพื่อแสวงหาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยประเทศไทย เป็นทั้งต้นทาง ทางผ่าน และปลายทาง ปัจจัยนี้ส่งผลให้สถานการณ์การค้ามนุษย์ในภูมิภาคเอเชียมีความซับซ้อน มีประชาชนของแทบทุกประเทศล้วนตกเป็นเหยื่อ โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ LPN พบว่า แนวโน้มจำนวนของแรงงานข้ามชาติที่ถูกหลอกนั้น มากขึ้นทุกที
              สถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์มีความซับซ้อน หลากหลายมิติ อาทิ การบังคับใช้แรงงานทาสในสถานประกอบการ บนเรือประมง การแสวงหาประโยชน์ บังคับขอทาน กักขังหน่วงเหนี่ยว ทำร้ายทุบตี ข่มขืน บังคับให้ขายบริการทางเพศ หลายกรณีมักพบเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องและแสวงหาประโยชน์ เปิดบริสุทธิ์เด็ก รับสินบน มีส่วนร่วมในการปลอมแปลงเอกสาร ปกปิดพยานหลักฐานและมีลักษณะการกระทำที่เป็นการสนับสนุนกระบวนการค้ามนุษย์จนยากต่อการบังคับใช้กฎหมาย
               ปัญหาการค้ามนุษย์มีขอบข่ายกว้างขวางและเป็นปัญหาที่รุนแรง ดังนั้นการพัฒนางานในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะการคัดแยกผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อ โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ การสัมภาษณ์ผู้เสียหายที่ต้องใช้นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา เข้าร่วม เพื่อสืบหาที่มาของปัญหา และดำเนินการกับผู้กระทำผิดตามกฎหมาย  ก่อนที่จะผลักดันกลุ่มคนเหล่านี้กลับประเทศ และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศนั้นๆ ในการดูแล คุ้มครอง และฟื้นฟู ผู้เสียหายอย่างเป็นระบบ
สถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทย
           ในปัจจุบันปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะต่อกลุ่มเด็กและหญิง เป็นปัญหาระดับโลกและได้แพร่ขยายมากขึ้น ซึ่งในระยะแรก ๆ มุ่งไปที่การเอารัดเอาเปรียบทางเพศและการล่วงละเมิดทางเพศ ที่มีต่อเด็ก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจบริการทางเพศ ต่อมาปัญหาได้ขยายตัวเป็นการใช้แรงงานรูปแบบอื่น ๆ ที่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน การบังคับขู่เข็ญ การทำร้ายร่างกาย จิตใจ การทำให้เสียอิสระภาพและศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์ ลักษณะเหล่านี้ถือเป็นการ "ค้าทาส" ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งในระดับนานาชาติ ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น
           ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ที่ประสบปัญหาการค้ามนุษย์และตกอยู่ในสถานะ 3 สถานะ คือ
           -เป็นประเทศต้นทาง มีการนำคนจากพื้นที่ชนบทชุมชนชาวไทยภูเขา หรืออื่น ๆ ส่งไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
           -เป็นประเทศทางผ่าน ขบวนการค้ามนุษย์ใช้เป็นทางผ่านพาคนจากประเทศพม่า ลาว จีน เขมรฯลฯ ไปยังประเทศอื่น ๆ 
            -เป็นประเทศปลายทาง มีการนำคนจากที่อื่นเข้ามาพักและแสวงหาประโยชน์ 
ซึ่งในปี2547  มีนโยบายรัฐบาล   โดยนายกรัฐมนตรี ประกาศเจตนารมณ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2547 ให้การค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ และมอบนโยบายด้านการค้ามนุษย์ 6 ข้อ คือ
                        -การเสริมสร้างศักยภาพ
                        -การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
                        -การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายด้านการค้ามนุษย์
                        -การรณรงค์เพื่อให้สังคมเห็นปัญหาอย่างแท้จริง
                        -การฟื้นฟูและเยียวยาผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
                        -การปรับระบบความคิด ทัศนคติของคนในสังคม
และประเทศไทยบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มาตั้งแต่ปี 2551 แต่ประเทศไทยถูกลดระดับความน่าเชื่อถือในสถานการณ์การค้ามนุษย์จาก Tier II เป็น Tier II Watch List  หรือบัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ ในรายงานระบุว่า แม้กระบวนการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จะพัฒนาขึ้นอย่างมีลำดับ แต่กระบวนการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยยังคงล้มเหลว มีการดำเนินการอย่างมีข้อจำกัด เกิดจากสาเหตุหลายประการ ทั้งความรู้ความเข้าใจในตัวบทกฎหมาย การเพิกเฉยต่อการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง มีการแสวงหาผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับกระบวนการค้ามนุษย์ได้อย่างจริงจัง ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2549  ที่ผ่านมา ก็มีคดีฐานความผิดค้ามนุษย์หลายกรณีที่ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐ อาทิ  คดีสุไหโกลก คดีรัญญาแพ้ว คดีประภาสนาวี คดีอโนมา คดีแสมสาร คดีกันตัง คดีลพบุรี และคดีย่อยๆ อีกจำนวนมาก  ซึ่งคดีเหล่านี้บางคดียังไม่สามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้

แสดงความคิดเห็น

16 ความคิดเห็น

malismile 17 ก.ย. 56 เวลา 19:49 น. 6

น่ากลัวจริง ๆ น่าสงสารมากอ้ะ คนชั่ว ๆ จิตใจโหดเ-ยม ไม่มีศิลธรรม 
เกรียดจริงจริ๊งงงงงงงงงงง......

0