Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

นักปฏิบัติมี ๔ ประเภท

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ผู้ปฏิบัติมี ๔ ประเภท คือ


                  ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑
                  ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ๑
                  ผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑
                  ไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑.


               บรรดาผู้ปฏิบัติเหล่านั้น ผู้ใดได้กถาวัตถุ ๑๐ เอง ไม่กล่าวไม่สอนผู้อื่นในกถาวัตถุ ๑๐ นั้น เหมือนอย่างท่านพากุละ ผู้นี้ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ถามภิกษุเช่นนี้. เพราะเหตุไร. เพราะภิกษุนั้นไม่ตั้งอยู่ในฝ่ายเจริญแห่งศาสนาของเรา.
               ส่วนผู้ไม่ได้กถาวัตถุ ๑๐ สอนภิกษุอื่นด้วยกถาวัตถุ ๑๐ นั้น เพื่อยินดีข้อวัตรที่ภิกษุนั้นกระทำแล้ว เหมือนท่านอุปนันทสักยบุตร ผู้นี้ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสถามแม้ภิกษุเช่นนั้น. เพราะเหตุไร. เพราะภิกษุนั้นละตัณหาไม่ได้ เหมือนกระเช้าใหญ่.
               ผู้ใดไม่ได้กถาวัตถุ ๑๐ แม้ด้วยตนเอง ไม่ชักชวน ไม่สอนผู้อื่นด้วยกถาวัตถุ ๑๐ นั้น เหมือน
พระโลฬุทายีผู้นี้ ชื่อว่าไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น. ไม่ตรัสถามภิกษุเห็นปานนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะกิเลสทั้งหลายในภายในของเธอมีมาก เหมือนจะต้องตัดทิ้งด้วยขวาน.
               ส่วนภิกษุใด ตนเองได้กถาวัตถุ ๑๐ ทั้งสอนผู้อื่นด้วยกถาวัตถุ ๑๐ นั้น ภิกษุนี้ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นเหมือนพระอสีติมหาเถระมีพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะและพระมหากัสสปะเป็นต้น. ตรัสถามภิกษุเห็นปานนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะภิกษุนั้นตั้งอยู่ในฝ่ายเจริญแห่งศาสนาของเรา.
               พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสถามเฉพาะภิกษุเห็นปานนั้น แม้ในที่นี้ จึงตรัสว่า โก นุ โข ภิกฺเว เป็นต้น.
               ก็เมื่อภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ทั้งสองฝ่ายในชาติภูมิของตน. ได้มีความคิดหรือปรึกษากันและกันว่า ในภิกษุเหล่านั้นรูปไหนจะเป็นเช่นนั้น.
               เพราะเหตุไร.
               เพราะท่านมันตานีบุตรปรากฏมีชื่อเสียงในชนบทนั้น เหมือนพระจันทร์และพระอาทิตย์ลอยเด่นอยู่ในท่ามกลางอากาศ. เพราะฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้นเป็นประดุจฝูงนกยูง ได้ฟังเสียงเมฆก็เกาะกลุ่มประชุมกัน และเป็นดุจภิกษุผู้เริ่มทำคณะสาธยาย.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

ทสกะ - หมวด 10
Groups of Ten
(including related groups)
[314] กถาวัตถุ 10 (เรื่องที่ควรพูด, เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ — Subjects for talk among the monks)
       1. อัปปิจฉกถา (เรื่องความมักน้อย, ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย ไม่มักมากอยากเด่น — talk about or favorable to contentment)
       2. สันตุฏฐิกถา (เรื่องความสันโดษ, ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ ไม่ชอบฟุ้งเฟ้อหรือปรนปรือ — talk about or favorable to contentment)
       3. ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด, ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายใจ — talk about or favorable to seclusion)
       4. อสังสัคคกถา (เรื่องความไม่คลุกคลี, ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ — talk about or favorable to not mingling together)
       5. วิริยารัมภกถา (เรื่องการปรารภความเพียร, ถ้อยคำที่ชักนำให้มุ่งมั่นทำความเพียร — talk about or favorable to strenuousness)
       6. สีลกถา (เรื่องศีล, ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล — talk about or favorable to virtue or good conduct)
       7. สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ, ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น — talk about or favorable to concentration)
       8. ปัญญากถา (เรื่องปัญญา, ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา — talk about or favorable to deliverance)
       9. วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ, ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์ — talk about or favorable to deliverance)
       10. วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องความรู้ความเห็นในวิมุตติ, ถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจและเข้าใจเรื่องความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจาก กิเลสและความทุกข์ — talk about or favorable to the knowledge and vision of deliverance)

+++ มีต่ออีกเยอะ

+++.. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ โอปัมมวรรค รถวินีตสูตร ภิกษุชาวชาติภูมิยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=292

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น