Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
โครงเรื่อง
เรื่อง การปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕
๑. การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
๒. การจัดตั้งการปกครองในส่วนภูมิภาค
๓. การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ ๕
๔. การเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ ๕
๕. การปฏิรูปภาษีอากรในสมัยรัชกาลที่ ๕

เรื่อง การปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕
การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ระยะต้น ระบอบการปกครองยังเป็นรูปแบบเดียวกัน กับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ระยะที่สอง การวางรากฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
สาระที่สำคัญในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการเมือง การปกครองในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้แก่
๑. การจัดตั้งที่ปรึกษาในพระองค์ สืบต่อมาจนปัจจุบัน คือ “คณะองคมนตรี”
๒. การจัดตั้งที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน เพื่อทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาและเสนอความคิดเห็นในการปรับปรุง
๓. การปฏิรูประเบียบราชกาลส่วนกลาง ได้แก่ ยกเลิกตำแหน่งจตุสดมภ์ สมุหนายก สมุหกลาโหม ที่ใช้มาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

จัดตั้งส่วนราชการขึ้นเป็นกระทรวง ๑๒ กระทรวง
๑.กระทรวงมหาดไทย ๕.กระทรวงธรรมการ ๙.กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
๒.กระทรวงกลาโหม ๖.กระทรวงโยธาธิการ ๑๐.กระทรวงเมือง
๓.กระทรวงเกษตราธิการ ๗.กระทรวงยุธนาธิการ ๑๑.กระทรวงคลัง
๔.กระทรวงยุติธรรม ๘.กระทรวงมุรธาธิการ ๑๒.กระทรวงต่างประเทศ

การจัดตั้งการปกครองในส่วนภูมิภาค
รัชกาลที่ ๕ เริ่มดำเนินการปฏิรูปอย่างจริงจังใน พ.ศ.๒๔๓๗ โดยจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลให้กระทรวงมหาดไทย
การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล แบ่งออกเป็น ๑๘ มณฑล และเป็นเมืองต่างรวมเป็น ๘๓ เมือง
ผลของการปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค ส่งผลดังนี้
๑. หัวเมืองทั้งหลายมีฐานะและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน
๒. ตำแหน่งหัวเมืองให้เรียกว่า “ผู้ว่าราชกาลเมือง”
๓. ยกเลิกประเพณีการ “กินเมือง”
๔. เลิกหัวเมืองประเทศราชทั้งหมด
๕. การปกครองทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย

การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ ๕
๑. การตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์
๒. เก็บผลประโยชน์และตรวจตราการเก็บภาษีอากร
๓. การตั้งกระทรวงพระคลังสมบัติ
๔. การตั้งธนาคาร
๕. การทำงบประมาณแผ่นดิน
๖. การปรับปรุงด้านการชลประทาน
๗. ด้านการเกษตร
๘. ด้านการคมนาคม
๙. ด้านการสื่อสาร
๑๐. การสร้างทางรถไฟ
การเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ ๕
- การสร้างเครื่องอิสริยาภรณ์
รัชกาลที่ ๕ โปรดได้ตรากฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรก ให้เรียกว่า “เครื่องราชอิสริยาภรณ์” เมืองไทยนับว่าเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- การเลิกทาส
สาเหตุสำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงมาจากจุดอ่อนภายในระบบเสื่อม ผู้นำประเทศเป็นจุดบกพร่องจึงหาทางแก้ไขในสังคม
- นายไพร่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้น มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การยกเลิกทาส
- การปฏิรูปภาษีอากรในสมัยรัชกาลที่ ๕
เนื่องด้วยระบบภาษีอากรของไทยในระยะเวลาที่ผ่านมายังไม่มีระเบียบแบบแผน ทำให้รายได้ของแผ่นดินมีการรั่วไหลมาก จึงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๑๖ ทำหน้าที่รับผิดชอบรวบรวมเวินภาษีอากรทุกชนิด



แสดงความคิดเห็น

>