Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เตือน ปวช.สายช่างที่จะต่อวิศวะ ให้หาเรียนคณิต ฟิสิกส์ เคมี อังกฤษ ของม. ปลายไว้ด้วย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ทั้งนี้ หลักสูตร วศ.บ. ทุก ม. ที่สภาวิศวกรรับรอง (นั่นคือจบแล้ว สมัครสอบใบ กว.ได้) ต้องร่างหลักสุตรตามที่สภาวิศวกรกำหนด ดังนั้นไม่ว่า จุฬา หรือ ราชมงคล หลักสูตรก็เหมือนกัน วิชาพื้นฐานววิศวกรรม วิชาวิศวกรรมเฉพาะ ถูกบังคัยเหมือนกันหมด

แม้แต่วิชาพื้นฐาน แคลคูลัส ฟิสิกส์ เคมี สภาวิศวกรจะกำหนดเนื้อหาให้โดยทุก ม. ต้องสอนไม่น้อยกว่าเนื้อหาที่สภาวิศวกรกำหนด

ซึ่งการจะเรียนเนื้อหาเหล่านี้ "ต้อง" มีพื้นฐานจาก คณิต ฟิสิกส์ เคมี อังกฤษ ของ ม.ปลาย วิทย์-คณิต เท่านั้น

หลาย ม. โดยเฉพาะ ราชมงคล ที่ยังรับ ปวช.อยู่นั้น ในหลักสูตรเขียนว่า ปวช.เทียบเท่า ม.6 แต่ความเป็นจริงแล้ว ตัวเด็ก ปวช.จะรู้ตัวเองดีว่า มันเทียบเท่าจริงหรือไม่

วิชาทางช่างที่เรียนใน ปวช. นำมาใช้ในวิศวะได้ไหม คำตอบคือ "ไม่ได้เลย" เพราะปรัชญามันต่างกัน อาจมีประโยชน์อยู่นิดนึงตอนเข้า Lab และใช้เครื่องมือ แต่อุปกรณ์ใน Lab ในระดับปริญญาตรีก็ไม่ใช่แบบในโรงฝึกงานของ ปวช. ซึ่งผู้เรียนต้องรู้ลึกซึ้งถึงคุณสมบัติ(จากสมการคำนวณ) จึงจะใช้งานและวิเคราะห์ผลได้

สรุปแล้ว ปวช.สายช่างที่อยากเรียนวิศวะ ควรหาที่เรียน คณิต ฟิสิกส์ เคมี อังกฤษ ของ ม.ปลายด้วย

แสดงความคิดเห็น

>

17 ความคิดเห็น

พี่พิราบขาว 26 ก.พ. 57 เวลา 09:54 น. 1

วิชาทางช่างที่เรียนใน ปวช. นำมาใช้ในวิศวะได้ไหม คำตอบคือ "ไม่ได้เลย" เพราะปรัชญามันต่างกัน อาจมีประโยชน์อยู่นิดนึงตอนเข้า Lab และใช้เครื่องมือ แต่อุปกรณ์ใน Lab ในระดับปริญญาตรีก็ไม่ใช่แบบในโรงฝึกงานของ ปวช. ซึ่งผู้เรียนต้องรู้ลึกซึ้งถึงคุณสมบัติ(จากสมการคำนวณ) จึงจะใช้งานและวิเคราะห์ผลได้

ตรงนี้อยากจะเถียงมากเลย ไม่ใช่ว่าไม่ได้เลยแต่เป็นพื้นฐานของวิชาวิศวะนั้นๆ
ถึงอาจจะไม่เต็ม 100 % แต่ในภาคของปฏิบัติสายอาชีพเคยชินและมีประสบการณ์มากกว่า

และสายอาชีพมีความรู้เสริมในการฝึกงาน (ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าจะเรียนรู้แค่ไหน)
ผมได้เรียนรู้การทำแล็ปของวิศวะโยธาในระดับ ป ตรี การคำนวนและอื่นๆอีกมาก
ถึงอาจไม่เก่งวิชาเท่าสามัญ แต่วิชาเฉพาะของเราสามัญทำได้ไหม
อย่าพูดเหมือนดูถูก ปวช สิ

0
Kwangep Iwantwilldie 26 ก.พ. 57 เวลา 10:51 น. 2

ขออนุญาตนะคะ 

มันไม่ได้มีประโยชน์แค่นั้น มันมีผลต่อการทำงาน การได้งานทำด้วย อย่าดูถูกเด็กปวช. เลยค่ะ เวลาทำงานจริง มันไม่ได้มานั่งคิดฟิสิกส์เคมีอะไรหรอกค่ะ จากประสบการณ์ทำงานของหลายคนที่รู้จัก เช่นพี่สาว พี่เขย พี่ที่โตชิบาคอนซูมเมอร์ หลายๆคน

เวลาเรียนเนื้อหา คำนวณวิชาภาค มันลงลึกกว่าจริง แต่ก็ไม่ใช่ว่าพื้นปวช.จะไม่มีความหมาย มันมีนะคะ ยกตัวอย่าง ม.ปลายบางคนที่เจอมา ยังหาค่ากระแสไฟฟ้าไม่เป็น

เพราะฉะนั้น ทั้งสายสามัญ สายอาชีพ ล้วยมีข้อดีข้อเสียด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครดีกว่าใคร แล้วจะรู้ได้ยังไง รู้ตอนสมัครงาน บริษัทที่ทำงาน หน้าที่การงาน หน้าที่รับผิดชอบ ความสามารถในการทำงานที่นอกเหนือการนั่งหน้าคอมไง


0
tery-vip 27 ก.พ. 57 เวลา 10:35 น. 3

แล้วหนูจะเรียนต่อเตรียมวิศวะ มจพ.มันต่างกันมั้ยคะ
คือสอบติดแล้ว จ่ายตังแล้ว อยากเป็นวิศวะมากๆเลย
ตอบทีคะว่าหนูจะต้องเรียนเพิ่มมั้ย รบกวนด้วยคะ

0
อ.วิศวะไฟฟ้า 28 ก.พ. 57 เวลา 16:59 น. 6

ตามหัวข้อข้างต้น ไม่ได้ดูถูกใคร

แต่
1. เพราะพื้นฐาน ปวช.ช่างอุตสาหกรรม หลักสูตร สอศ.(สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) มันไม่ได้สอดรับกับหลักสูตร วศ.บ. ของมหาวิทยาลัยในสังกัด สกอ.เลย

2. ผู้เรียน ปวช.สายช่างอุตสาหกรรม ที่มุ่งเข็มมาเรียน คณะวิศวะ 4 ปี มีส่วนน้อยที่เตรียมตัวเรียน คณิต ฟิสิกส์ เคมี อังกฤษ ของ ม.ปลาย เมื่อเรียนอยู่ ปวช. ส่วนมากเข้าใจผิดว่า วิศวะ ราชมงคล พระจอม ที่รับ ปวช.ด้วยนั้น เป็นวิศวะปฏิบัติ ไม่ต้องคำนวณก็ได้

นี่คือประสบการณ์แท้ ๆ ที่สอน นศ.มาหลายสิบปี ปัจจุบัน ปวช.ที่สอบเข้ามาเรียน จะอ่อนคำนวณ มาก ๆ หลายคน หา ค.ร.น. ยังไม่เป็น มีสมการแล้วแทนค่าจากนั้นกดเครื่องคิดเลขไม่ถูก นั่นคือ ไม่รู้จะทำอะไรก่อนหลัง ดังนั้นเรื่องประยุกต์-ออกแบบ ก้จบไป สอนได้ แต่เด็กพวกนี้ รับไม่ได้ แล้วผลสอบใบ กว. กับสภาวิศวกร ก็จะกลายเป็นตัวฉุดมาตรฐานของมหาวิทยาลัยฯ

สรุปคือ คณิตศาสตร์ "ม.ต้น" ที่จบ ๆ กันมา ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ผลก้คือ วิชาพื้นฐานวิศวกรรม F กระจาย รวมทั้ง Drop หนีแคลคูลัสกัน วุ่นวาย

ส่วนพวก ม.6 แม้ไม่เคยปฏิบัติ แต่เมื่อได้รับการฝึกฝน และมีพื้นฐาน ม.ปลาย เดิมอยู่แล้ว จะสามารถประยุกต์ได้ดีกว่าพวก ปวช. (นับภาพรวม ม.6 ที่เน่าก็มี แต่น้อยกว่าเยอะ)

ทุกวันนี้ แม้จบ ปวช. เวลาสอน ฝึกฝีมือไฟฟ้า ผลงานมันไม่ได้เลวน้อยไปกว่าเด็ก ม.ปลายเลย จ่ายงานฝึกเดินสาย ตอนตรวจงาน มันเน่าพอ ๆ กัน แล้วจะบอกว่า ปวช.มีฝีมือดีกว่าได้อย่างไร

อยากรู้ มาพิสูจน์ ได้ที่ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวะ มทร.พระนคร พระราม 7

มีข้อสอบที่เด็กพื้น ม. 6 กับพื้น ปวช. ทำไว้ให้ดูเยอะ

เอือมระดากับพื้นฐานเด็ก ปวช. มา 5-6 ปี

เมื่อก่อน ก็สอน ปวช. สมัยที่ราชมงคลพระนครเหนือ ยังไม่ขยายขึ้นมาสอนระดับปริญญา ตอนนั้นเด็ก ปวช.3 ของพระนครเหนือ ที่อยากข้ามไปเรียม สจพ. (ชื่อเดิมของ มจพ.) จะไปเรียนกวดวิชา วิชา ม.ปลาย กันมากมาย เรียกว่า เตรียมเข้าวิศวะโดยการปรับปรุงพื้นฐานตัวเอง ทั้งฟิสิกส์ เคมี math เรียกว่า น้อง ๆ ม.6 วิทย์-คณิต

แต่จากการสอนเด็กที่จบจาก ปวช.(ที่มาจากที่อื่น ๆ) ในปัจจุบัน ไม่มีพื้นฐานพร้อมจะเรียนวิศวะเลย พวกเขาควรไปทำงาน "เป็นช่าง" นั่นเหมาะสมกว่า ไปเป็นแรงงานชั้นกลาง ซึ่งปัจจุบันกำลังขาดแคลน เพราะ "ทุกคน" ดันทะลึ่งหวังจะเป้นวิสวกร โดยที่มิได้มองตนเองว่า ได้เตรียมพื้นฐานให้ตนเองไว้พร้อมหรือไม่

ดังนั้นกระทู้นี้จึงมีวัตถุประสงค๋ ให้ เด้ก ปวช.สายช่างอุตสาหกรรมที่คิดอยากเป้นวิสวกร ได้เตรียมตัวตั้งแต่ยังเรียน ปวช. 1-2-3 โดยไปเรียน คณิต ฟิสิกส์ เคมี อังกฤษ ร่วมกับเด็ก ม.ปลาย ส่วนที่เรียนเดี่ยวนี้มีมากมาย ทุกภูมิภาค เพื่อให้สามารถเรียนในระดับปริญญาตรีได้ดีเหมือน ปวช.รุ่นก่อน ๆ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว


0
อ.วิศวะไฟฟ้า 28 ก.พ. 57 เวลา 17:27 น. 7

สมัยก่อน ปี 2523-2537 ผมเอาเนื้อหา Electronics circuits design ของระดับปริญญาตรี มาลดระดับในบางหัวข้อเพื่อใช้สอนเด็ก ปวช. ซึ่งในช่วง 15 รุ่นนั้น เด็ก ปวช. ไฟฟ้าของราชมงคล วิทยาเขตพระนครเหนือ(ในขณะนั้น) สามารถเรียนรู้ได้อย่างดี คะแนนสอบก็ใช้ได้ มีตกบ้าง ไม่เกิน 10-15 % ของจำนวนทั้งหมด

เวลาผ่านไป ได้ยกฐานะเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.พระนคร ปวช.และ ปวส.ปิดหมดแล้ว รับแต่ ปวช.กับ ม.6 เข้ามาเรียนวิศวะ ใช้เนื้อหาเดิมที่เคยสอน ปวช.เมื่อ ครั้งกระโน้น ปรากฏว่าปัจจุบันนี้ วิศวกรรมไฟฟ้าได้ F วิชานี้ประมาณ 35+40 % D และ D+ 25-30% A ถึง C ประมาณ 30 - 35 % เท่านั้น วัดผลอิงเกณฑ์ ตามระเบียบวัดผลของมหาวิทยาลัย

ลองดูความเสื่อมถอยของเด็ก ปวช.สายช่างอุตสาหกรรม วึ่งเด้กที่เรียน ไม่มีใครกล้วเถียงเพราะให้ตรวจดูกระดาษคำตอบได้ทุกคนว่าทำผิดตรงไหน

นอกจากนี้ยังมีกระดาษคำตอบของเด็ก ปวช.สมัยโน้น ถ่ายเอกสารไว้ให้เด็ก วศ.บ. ปัจจบันดุด้วยว่า ข้อสอบเดียวกัน เนื้อหาเดียวกัน เด็ก วิศวะ แพ้เด็ก ปวช. ชนิด Out class

ทั้งหมดนี้ ต้องสรุปว่า แม้แต่พื้นความรู้คณิตศาสตร์ ม.ต้น ของผู้จบ ปวช.ในปัจจุบัน ยังถือว่า ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

1
มีนา 8 มี.ค. 60 เวลา 01:16 น. 7-1

อ.ค่ะมีปัญหาค่ะลูกเรียนวิศวะไฟฟ้าราชมงคลธัญญะค่ะปีสองเขาอยากย้ายคณะสาเหตุมาจากเรียนคำนวนยากไม่เข้าใจอยากทราบ อ.รับสอนพิเศษไหมค่ะ ลูกชายจบ ปวช.ไฟฟ้า จึงไม่มีคำนวน พอเจอแกเลยว่าไม่ไหวไม่ค่อยเข้าใจค่ะ ช่วยด้วยนะค่ะไม่อยากให้มาเลิกหรือเปลี่ยนคณะตอนนี้เสียเวลาค่ะ รบกวนด้วยค่ะ 0851698358 ถ้ารับสอนติดต่อมาด้วยนะค่ะ

0
Kwangep Iwantwilldie 28 ก.พ. 57 เวลา 23:23 น. 8

หนูอยู่พระจอม ปี3 ค่ะ หนูไม่เคยเข้าใจเช่นนั้นเลยค่ะ แต่หนูคิดแค่ว่า สอบติดแล้วก็ต้องเต็มที่กับมัน จากประสบการณ์นะคะอาจารย์ วิชาที่อาจารย์เตือนมันน้อยมาก และไม่ได้สำคัญเท่าวิชาชีพนะคะ ปวช.หลายแห่งก็ไม่ได้เน้นแค่ปฏิบัติ นะคะ แค่สนใจ มันไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไรเลยนะคะอาจารย์ และปวช.โง่ๆอย่างหนูไม่เคยติดFเลยค่ะ แต่ดรอปเคมี1วิชานะคะ ยอมรับไม่ถนัดและไม่ชอบเลยค่ะ ไว้เก็บก่อนจบก็ได้นี่คะ อีกอย่าง อย่างปวช.ไฟฟ้า ล้วนแต่ผ่านความอดทนกับงานปฏิบัติมา นั้นเป็นเหตุที่ทำให้เข้ากับลูกน้องได้ง่ายนะคะอาจารย์ พี่เขยของหนู จบวิศวเครื่องกล มจพ. พี่สาวหนูจบวิศวเครื่องกลม.เกษตร แต่พี่สาวหนูเข้าไม่ถึงลูกน้องเท่าไหร่นัก เนื่องจาก งานที่คุม บางครั้งก็ต้องถึงหน้างาน และวิศวกรจากม.ปลายไม่เคยลุยมากเท่าปวช. ปวส. นะคะ ฝากไว้เท่านี้ค่ะ 

0
เอกราช 28 ก.ค. 63 เวลา 08:00 น. 9-1

สายอาชีพฟิสิกส์กับคณิตกระจอกมากครับแค่พื้นๆสอบสายสามัญวิทย์คณิตให้ติดแล้วจะรู้ว่ามันยากกว่าสายอาชีพเยอะทั้งฟิสิกส์เคมีชีวะวิทย์กายแล้วอีกอย่างวิศวกรส่วนใหญ่มาจากสามัญทั้งนั้น

0
'fdd 1 มี.ค. 57 เวลา 13:39 น. 10

ยอมรับว่าปวชสมัยนี้อาจจะด้อยกว่าก่อนเพราะว่าหลักสูตรอาชีวะมันเปลี่ยนบ่อยมากๆสองสามปีครั้ง

0
Cool74 1 มี.ค. 57 เวลา 19:03 น. 11

กระทู้นี้น่าสนใจครับ ยังไม่มีคนใช้อารมณ์ ยังเถียงกันด้วยหลักฐานเหตุผลข้อเท็จจริงอยู่ ซึ่งปัจจุบันหาได้ยากมาากกกก 555

มา ผมเป็นกรรมการให้ดีกว่า

ก่อนที่จะเม้นอะไรต่อจากผม แนะนำให้อ่านเม้นผมก่อนนะครับ ผมจะสรุปให้ฟัง

ฝ่ายอาจารย์
ตอนนี้อาจารย์บอกว่า สำหรับคนที่จะต่อวิศวะ ปวช.สู้สายสามัญไม่ได้ เพราะ
1.ปวช.พื้นฐานทางวิชาการอ่อนกว่าสายสามัญ และไม่สามารถตามสายสามัญทันได้
2.สายสามัญพื้นฐานทางวิชาชีพอ่อนกว่าปวช.ก็จริง แต่สามารถตามทันได้ แม้จะไม่เทียบเท่า แต่ก็อยู่ในขั้น"รับได้" ของอาจารย์

ฝ่ายแย้งอาจารย์
ตอนนี้ฝ่ายแย้งอาจารย์ จากเม้นบนๆ ได้ใจความว่า
1.ปวช.ไม่ถึงกับไม่สามารถตามสายสามัญทันในด้านวิชาการได้
2.สายสามัญไม่สามารถทำวิชาเฉพาะได้เทียบเท่าปวช. เพราะปวช.มีประสบการณ์มากกว่า
3.เมื่อจบไปแล้ว วิชาการไม่ค่อยได้ใช้ทำงานเท่าใดนัก วิชาเฉพาะจะได้ใช้มากกว่า

โดยส่วนตัวนะครับ ผมคิดว่าตอนนี้ยังไม่มีใครแย้งความคิดอาจารย์ที่ว่า"ปวช.สมควรเรียนวิชาการเพิ่มก่อนเรียนวิศวะ"ได้ลงครับ เพราะ
1.ที่ว่าด้านวิชาการปวช.สู้สายสามัญไม่ได้ จากที่อาจารย์อ้างมานั้นดูมีน้ำหนักมากกว่าฝ่ายแย้งครับ จากเม้นบนๆนะ
2.ที่ แย้งว่าสายสามัญในแง่วิชาชีพสู้ปวช.ไม่ได้ อันนี้นอกจากจะมีน้ำหนักไม่พอเพราะอาจารย์แย้งว่าสายสามัญ"พอไหว"แล้ว ยังเป็นการยอมรับกลายๆด้วยครับ ว่าปวช.สู้สายสามัญด้านวิชาการไม่ได้จริงๆ
3.ที่ ว่าจบไปแล้ววิชาเฉพาะจะได้ใช้มากกว่า อันนี้ถือว่านอกประเด็นนะครับ(ไม่โกรธกันนะ) เพราะเรากำลังคุยกันเรื่องการเรียนปริญญาตรี และอีกครั้งครับ ที่มันย้ำกลายๆว่าวิชาการปวช.สู้ไม่ได้จริงๆ - -"

ฉะนั้นนะครับ ถ้าจะแย้งอาจารย์ ต้องยืนยันให้ได้ในหัวข้อเหล่านี้ครับคือ

1.จริงๆแล้วปวช.สู้วิชาการสายสามัญได้ หลักฐานคือ....
2.ที่ว่าสายสามัญวิชาเฉพาะสู้ปวช.ได้ จริงๆแล้วไม่ได้ หลักฐานคือ...

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนะครับ ผมว่าการเรียนรู้ไม่เคยเสียหายครับ ถ้าคิดว่าเรียนไว้แล้วจะดีต่อตัวเองมากกว่า ก็เรียนไปเถอะครับ

ปล.ผมเรียนคณะพวกสังคมศาสตร์ครับ ไม่เชียร์ใครทั้งนั้น แต่สนับสนุนการปะทะกันทางความคิดครับ ^ ^

0
พี่พิราบขาว 1 มี.ค. 57 เวลา 21:18 น. 12

ขอตอบคำถามนะครับ ผมเด็ก ปวช.3 โยธา วิทยาลัยเทคนิคอุดร
1.เด็กปวช.สู้วิชาการเด็กสามัญไม่ได้เพราะหลักสูตรไม่ได้เน้นเจาะลึกในด้านวิชาามัญมากนัก แค่พอรู้และใช้ในงานราชการหรือธุรกิจได้ถูกต้อง วิทย์เรียนแค่พื้นฐานของ ม.ปลาย อังกฤษเรียนแค่เพื่อพูดคุยหรือเขียนเอกสารติดต่อสมัครงาน วิชาสามัญแพ้ขาดจริง
(ส่วนเรื่องการประยุกต์ใช้เรื่องที่อาจารณ์ได้พูดไว้นั้นอยู่ที่ตัวบุคคลหรืออาจารณ์สถาบันการสอนของวิลัยนั้นๆว่าจะสอนเด็กได้ดีแค่ไหน ผมเรียนด้านโครงสร้างสูตรเน้นประยุกต์ใช้ทั้งหมด ไม่มีสอนหรือสอบเป็นตัวเลือกง่ายๆเลย)

2.สายสามัญสู้ ปวช ไม่ได้คือ ด้านประสบการณ์ในการทำงานในโรงงาน ด้านการฝึกงาน การทำงานในองค์กร หน้างานจริง ความรับผิดชอบ ฯลฯ ส่วนใหญ่ปฏิบัติสายอาชีพไม่กลัวอยู่แล้ว กล้าทำกล้าลุย (มีบ้างคนที่ไม่ได้เรื่อง)

อาจมีบ้างที่มาตรฐานของอาชีวะเดี่ยวนี้ตกต่ำลงแต่เด็กที่ขยันและเรียนดีก็มีอยู่ เพราะอาจารณ์และผู้ใหญ่หลายๆท่านคิดอย่างนั้นทำให้สังคมมองเด็กอาชีวะเป็นพวกไม่ได้เรื่องไม่ดีไปซะหมด ทำให้เด็กอาชีวะเหลือที่ยืนในสังคมน้อยลงมีมหาลัยน้อยมากที่เปิดรับสายอาชีพ ปวช.ไม่ได้เทียบเท่าม 6 อย่างแท้จริง ไม่แปลกใจเลยทำไมตลาดขาดแรงงานสายอาชีพ(ปีของผมจบ20กว่าๆจาก 120)

1
ทำนาอยู่บ้าน 26 ม.ค. 60 เวลา 18:31 น. 12-1

ก่อนอิ่นขอชื่นชมความคิดเด็ก ปวช.ปี3 คิดได้เกือบดีมากแล้ว ขอแก้ไขให้นะน้อง คำว่า หน้างานจริง กับ ความรับผิดชอบ สองคำนี้มันต่อพ่วงมาจากคำว่าความรู้ด้ายวิชาการ ยกตัวอย่าง เช่น พี่ให้น้องออกแบบโครงสร้างอะไรสักอย่างพร้อมกับวางเครื่องจักร ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบไฟฟ้าคอนโทรล โดยเครื่องจักรทั้งหมดเป็นของออสเตรเลีย ผู้รับเหมาจากประเทศจีน โปรเจคนี้จะจบลงได้ต้องมีการรับส่งมอบงาน โอเครนะครับจบและมาลงมือทำกันเลยดีกว่า .....
1.คำนวณออกแบบโครงสร้าง ฐานราก
2.เขียนแบบโครงสร้าง วางเครื่องจักรตามแบบ
3.คำนวณโหลดของไฟฟ้าที่เพียงพอและประหยัดที่สุดสำหรับเครื่องจักรที่ไม่ก่อเกิดความเสียหายต่อการผลิต
4.คำนวณความพอดีของสายไฟที่เพียงพอและประหยัดที่สุด
5.เขียนแบบระบบไฟฟ้ากำลัง
6.ระบบคอนโทรลส่วนใหญ่จ้างฝรั่งมาทำให้ ซื้อ know how เขามา ข้อนี้ไม่ได้ทำไรมาก แค่คุยกับฝรั่งให้รู้เรื่อง ให้เขาทำตามสัญญา(contact) เรียนรู้การใช้งานชอฟแวร์กับฝรั่งให้รู้เรื่องเพื่อมาสอนคนอื่นต่อ
7.ควบคุมการก่อสร้าง และติดตั้งเครื่องจักร ให้ถูกต้องตามแบบ ตามหลักวิศวกรรม(แบบที่น้องเขียนนั่นแหละ)ทำงานร่วมกับฝรั่ง แลคนจีน
8.ส่งมอบงานระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง
8.1 ทำรายงานการก่อสร้างโครงสร้าง งานเหล็ก งานปูน
8.2 ทำงายงานการติดตั้งเครื่องจักร
8.3 ทำรายงานการติดตั้งระบบไฟฟ้ากำลัง งานหม้อแปลง งานสายไฟ
8.4 ทำงานรายการติดตั้งและทดลองใช้งานระบบของซอฟแวร์
8.5 ทำรายงานสรุปผลการลองเครื่องจักรทั้งหมด (Test run)
9.สบายใจรับเงินเดือนรับโบนัสเจ้านายชม ลูกน้องยอมรับ ถ้าน้องทำได้ตามที่พี่พูดมา
จะเห็นได้ว่าทุกอย่างก่อนจะมีความรับผิดชอบต้องมีความรู้ก่อนเสมอ ...หน้างานจริง....หน้างานจริงก็ต่อยอดจากความรู้ที่น้องมีที่ได้ออกแบบไปแล้วนั้น มาควบคุมให้ถูกต้องตามแบบ

0
Kwangep Iwantwilldie 1 มี.ค. 57 เวลา 22:07 น. 13

เอาเป็นว่า ปีหน้าจะเป็นอาจารย์ที่ดี จะทำให้เด็กมีความรู้เท่าเด็กม.ปลายแล้วกันค่ะ ขอโทษนะคะ ที่มันไม่มีความหนักแน่นและไม่มีหลักฐานพอ เพราะทั้งหมดนี้ มาจากสิ่งที่สัมผัสได้จากเพื่อนๆในคณะและในเครือญาติเท่านั้นเอง ขอโทษจริงๆค่ะ 

0
ช่างยนต์คนโก้ 7 มี.ค. 57 เวลา 19:09 น. 14

ถ้าเรียนปวช.ไปต่อวิศวะอาจจะเรียนไม่ไหวเพราะพื้นฐานคณิตวิทยไม่แน่น
แต่ถ้าลองไปต่อไป ปวส.แล้วจะรู้เลยครับวิชาพื้นฐานวิศวะก็ได้เรียนครับ
แคลคูลัส กลศาสตร์วิศวกรรม กลศาสตร์ของไหล เทอโมไดนามิกส์ วิทยาศาสตร์7 วิชาพวกนี้เป็นวิชาพื้นฐานของวิศวะทั้งนั้นน่ะ หลักสูตร ปวส ผมว่ามันเหมือนหลักสูตรเร่งรัด เอาวิชาช่างกับวิศวะเรียนด้วย
ตอนนี้ผมเรียน ช่างยนต์ ปวส. ตอนปี1เรียนวิชาเกี่ยวกับช่างยนต์ พอปี2ก็จะเรียนพวกวิชาพื้นฐานวิศวะ คำนวณ ทั้งนั้น

0
ภาคร้อยเมีย 8 มี.ค. 57 เวลา 15:25 น. 15

ผมขอแสดงความคิดเห็นบ้างว่าที่อาจารย์กล่าวมานั้นคือสิ่งที่ผมเตรียมตัวก่อนจะสอบเข้ามจพ.เลย ทีเดียว
ถามว่าวิชาการเด็กช่างสู้ม.ปลายได้ไหม ปัจจุบันผมปวช.นอก อยู่มจพ.เกรดก็2.97 PE เทอม2นี่ดรอปฟิสิกส์ฺ2ไปตัวนึงเพราะคะแนนน้อยไปหน่อย ผมก็ยังถือว่าสู้ไหวนะ ถ้าเป็นคนที่รู้จักเตรียมตัวเรียนวิศวะอย่างทีั่อาจารย์ว่า ส่วน-ที่ว่าฝีมือการปฎิบัติ อันนี้แล้วแต่บุคคล แต่ผมมองแล้วส่วนใหญ่ปวช.จะทำงานดีกว่ามาก แต่โดยรวมม.ปลายด้อยกว่าไม่มาก แต่ผมว่าที่อาจารย์มาบ่นที่นี้คงเพราะมาจากเด็กที่ชกพ.มากกว่า ส่วนตัวแล้วผมมีเพื่อนอยู่ชกพ.20กว่าคนได้ ผมว่าที่มันเกิดแบบอาจารย์พูดมาเพราะการคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนไม่เข้มข้นพอ เพื่อนผมบางคนมั่วข้อสอบแทบหมด เกิน50%ของคนเข้าวิศวะชกพ. อยากเข้ารับระบบ มาจากเด็กสายช่้างจ๋าขาบู๊ทั้งนั้น ผมว่าปรับเกณฑ์การรับ ข้อสอบเข้าดู หรือไม่ก็จัดติวสอบเข้าเองเลย เพื่อปรับเด็ก พอเด็กมาเรียนก็มีติวปรับพื้นหน่อย จ

0
ดีดี 23 ก.ค. 58 เวลา 14:23 น. 16

กูอยากวัด กับ พวกเด็กวิศวะ ในเรื่อง บรอสคาส ซิสเต็ม จังเลยวะ กูเอง จบแค่ปวช วัดกับอาจารย คนที่สอนก็ได้มา ออกแบบ ระบบ ภาพระบบเสียง ระบบ ออกอากาศสถานีโทรทัศแข่งกับกูเอาไหมครับ

2
ดีดีดั 23 ก.ค. 58 เวลา 14:33 น. 16-2

อ้าว เม้นไม้ได้ดูหัวข้อเลยกูสัส แย่จัง
จบมาเรียนเก่งๆทำงานจริงให้ได้ก็ดีนะเด็กวิศวะ แม่งมาสัมภาสงานกับกู ถามเรื่อง ถามเรื่องสายดิจิตอล กับอนาลอก ต่างกันบังไง แม่งตอบไม่ได้ -จบ วิศวะมาทำมัยครับ เพื่อ??

0
เด็กช่าง ปวช 16 พ.ค. 61 เวลา 15:09 น. 17

มาเล่าประสพการณ์ครับ


ผมเรียน ปวช ช่างอิเล็คครับ มีความคิดอยากเข้าวิศวะมากๆ ที่เข้า ปวช บอกตรงๆเพราะเลือกผิดสาย แต่เข้ามาแล้วที่บ้านเลยบอกให้เรียนต่อไป แล้วหาทางสอบเข้าเอา มาหาข้อมูลในเน็ตว่ามีใครสอนติวตัวต่อตัวบ้างที่อยู่ผม ชลบุรี คงไม่สะดวกเข้า กทม พอดีไปเจอ"ครูเป็ด" หาจากในเว็บ dek-d สอนอยู่ที่ชลบุรี

จึงเริ่มต้นวางแผนการเรียนเสริมแบบกวดวิชาเหมือนเด็ก ม.ปลายสายวิทย์ครับ ต่างกันตรงที่ เด็กสายวิชาเค้าเรียนในห้องแล้วมากวดวิชาซ้ำ แต่ของผมถือว่าเป็นของใหม่เลย เริ่มตั้งแต่ปี 1 เทอม 2 มีเวลา 5 เทอม บอกตรงๆมันยากมากครับ คณิต ฟิสิกส์ หึมมมมมม....

เคมีไม่เน้น เอาแค่พื้นๆพอ บอกเลยถ้าอ่านเองไม่ได้แน่นอนครับเพราะมันยาก สูตรเยอะมาก วิธีการแต่ละเรื่องก็ต่างๆกัน แรกๆก็ท้อบ้างครับ แต่ครูแกสอนๆๆๆๆ เออแกทำให้ดูง่ายไปเลย คณิตบทนึงเค้าเรียนกัน 1 เดือน สอน 6-8 ชม. เผลอแปบเดียวเวลาผ่าน 5 เทอม จบปี3 คณิต 17 บท ฟิสิกส์ 8 บท เรียนมาต่อเนื่อง ส-อา ปิดเทอม แทบวันเว้นวัน ..... ปัจจุบันผมสอบติด "ม.พระจอมเกล้าพระนครเหนือ" ครับ ที่ได้มาจากการไปสอบแข่งกับเด็ก ม.ปลายครับ คือมันภูมิใจมากๆเลยครับได้ทุ่มเทจึงมีวันนี้


ขอให้เพื่อนๆสู้ๆนะครับ

1
MOD 25 ธ.ค. 63 เวลา 11:54 น. 17-1

สอบเข้าคณะอะไรครับ สาขาอะไรครับ พอดีผมจบอิเล็ก ผมอยากเข้าวิศวะคอม แล้วจะสอบเข้าเหมือนกันครับ อยากรู้แนวข้อสอบ พื้นฐานตอนเรียนม.ต้นอยู่ห้องพิเศษ แต่ที่เลือกสายอาชีพ เพราะขาดแคลนเงินครับ เพราะพี่สาวก็ขึ้นมหาลัยพอดี เลยตัดสินใจเรียนสายอาชีพ แต่ตอนนี้อยากเข้าวิศวะมากๆครับบ

0