Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อยากเรียนวิศวะ แต่สอบติดหมอ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คือปีนี้ผมสอบติดแพทย์ศิริราช สัมภาษณ์แล้วเรียบร้อย แต่จริงๆอยากเป็นวิศวกรมากกว่า
จะทำยังไงดีครับ รับตรงจุฬายังสมัครได้มั้ยอะครับ T^T
ที่สำคัญ จะคุยกับพ่อแม่ยังไงดีครับ ท่านอยากให้เรียนหมอมาก
เศร้าจัง

แสดงความคิดเห็น

>

36 ความคิดเห็น

สู้ๆครับ 20 มี.ค. 57 เวลา 21:05 น. 2

ลองไปหาข้อมูลที่คิดว่า วิศวะ จะดีกว่าหมอ
วิศวะ จุฬา ดีกว่าแพทย์ ศิริราชยังไง
เงินเดือนดีกว่ามั้ย มั่นคงมั้ย
ไม่ตกงานแน่ๆใช่ปะถ้า ฬ
ถ้าเข้าไปแล้ว จะเอาภาคที่เงินดีชัวร์ๆ
อย่าง ปิโตรเลียม ยานยนต์ เคมี ให้พ่อแม่ได้ใช่มั้ย
ลองหาข้อมูล แล้วลองคุยกับพ่อแม่ครับ

สู้ๆครับ เด็กเก่งอย่างน้องพี่ว่าถ้าตั้งใจเรียนอันไหน
ก็รุ่งครับ

0
noo-na 20 มี.ค. 57 เวลา 22:09 น. 6

  สัมภาษณ์แล้ว?

  ..ไม่แน่ใจเรื่องกระบวนการตัดชื่อนะ ว่าจะตัดชื่อออกจากการสมัครปกติเมื่อไหร่ (ลองไปอ่านในระเบียบการดูอีกที)

  แต่ที่แน่ๆ ถามใจตัวเองว่าอยากเรียนอะไรดีกว่านะ ถ้าชอบวิศวะมากกว่า ก็อยากให้ลองคุยกับพ่อแม่ดูอีกครั้ง ถ้าจำเป็นต้องซิ่วปีนี้ ก็ดีกว่าเรียนหมอไปจนปี 4 ขึ้นชั้นคลินิกแล้วค่อยรู้ว่ามันไม่ใช่จริงๆ ถ้าไปต่อไม่ไหวจะถอยตอนนี้มันจะทั้งเสียเวลาและคุยกับพ่อแม่ยากขึ้นเพราะอุตส่าห์เรียนมาครึ่งทางแล้ว (โดยส่วนตัวรู้สึกว่าชีวิตนักศึกษาแพทย์จะรู้ว่าใช่หรือไม่ใช่ตัวเราจริงๆก็ปี 4 โน่นแหละ ปี 1 แทบจะบอกอะไรไม่ได้เลย ปี 2-3 ก็ยังจัดอยู่เป็นลักษณะการเรียนในห้องเรียนอยู่) 

  เรื่องงาน เรื่องเงินเดือน เรื่องอนาคตก็ลองหาข้อมูลไปคุยกับพ่อแม่ดู เพราะแต่ละอาชีพก็จะมีเส้นทางของตัวเอง สุดท้ายแล้วคนที่ต้องทำงานนี้ทั้งชีวิตก็คือตัวเราเอง พ่อกับแม่จะทำให้แค่เป็นกำลังใจให้เราเรียน (+/- เส้นสายการสมัครเข้างาน/เรียนต่อ (ถ้ามี))   

ปล. แต่ถ้าอยากเรียนหมอ คิดว่าไม่ลำบากใจอะไรมากนัก ก็ลองเรียนได้นะ ถึงเวลาเราอาจจะมีความสุขไปกับอาชีพนี้ก็ได้

  

0
มมมมม 20 มี.ค. 57 เวลา 23:43 น. 7

เรียนในสิ่งที่เราชอบดีกว่านะ
เวลาเรียนมันจะแฮปปี้กว่ามากๆ(เราซิ่ว รู้เลย)
คือเราเป็นคนเรียน เราต้องอยู่กับมันจนกว่าจะจบ จนกว่าจะหางานทำ

พูดแล้วเหมือนตัดสินง่ายๆ แต่จริงๆโคตรยากเลย
รู้อยู่ว่าพ่อแม่เป็นห่วง อยากให้มีงานที่มั่นคง
แต่ถ้ามันเป็นความฝันของเรามาตลอดล่ะ

ยังไงก็ปรึกษากันดูนะ เพื่อนเราติดหมอ แต่สละเอาวิศวะ ฬ เหมือนกัน
ตอนนี้มันก็มีความสุขดี

0
Quiescent 21 มี.ค. 57 เวลา 00:17 น. 8

ถ้าอยากทรมานตลอดชีวิตจงเลือกแพทย์

ถ้าอยากเดินตามฝันจงเลือกวิศวะ

หากพ่อแม่ขยั๊นขยอ ให้เรียนหมอ ลองถามพ่อแม่ว่า ตกลงนี่ชีวิตผม หรือชีวิตพ่อแม่กันแน่ ผมต้องอยู่กับมันไปตลอดชีวิตนะ

ถ้าผมเรียนไปเกิดไม่ชอบเครียดมากผมฆ่าตัวตายทำไง (กรณีนี้เกิดขึ้นจริงเพราะพ่อแม่บังคับเรียน)

ตกลงนี่ผมจะได้ทำตามฝันของผม หรือ ผมต้องทำตามฝันของพ่อแม่

0
อยากเป็นหมีฟัน 21 มี.ค. 57 เวลา 00:50 น. 10

เอาจริงปัญหาหมอ วิศวะมันมีทุกปี มันก็มีทั้งคนที่ยอมสละหมอไปวิศวะ(ในที่นี้ขอเน้นว่า ฬ) และคนที่ยอมทนเรียนหมอ ก็ลองคิดดูว่าถ้าเราเรียนหมอจริงๆเราจะไหวไหม? ยิ่งถ้าเราไม่เก่งทางด้านท่องจำจะไปเป็นฐานให้คณะรึเปล่า? เรียนแล้วจะชอบจริงๆไหม ส่วนที่ถามว่ายื่นคะแนนรับตรงวิศวะ ฬ แล้วจะตัดสิทธิ์ไหม ขอบอกว่าไม่ตัด สามารถสอบติดทั้งหมอและวิศวะได้แล้วค่อยไปเลือกคณะที่เรียนตอนเคลียร์ริ่งเฮ้าส์อีกที ไม่ว่าจะตัดสินใจยังไงก็ขอให้คุยกับพ่อแม่ให้ดีๆ เพราะเราจะต้องอยู่กับมันอีกทั้งชีวิต ขอให้เป็นคนที่ไดืตัดสินใจกำหนดอนาคตของตัวเอง โชคดีครับ

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาไม่เหมาะสม ผิดลิขสิทธิ์ ขัดต่อหลักกฎหมาย หรือศีลธรรม

lumsu 21 มี.ค. 57 เวลา 08:09 น. 12

เมื่อ 4 ปีที่แล้วมีเด็กคนหนึ่งอยากเป็นวิศวกรมาก แสดงตัวตนว่าจะเข้าวิศวะแน่นอน
และเจ้าตัวก็ติดรับตรงวิศวะ แต่ทางบ้านให้สอบ กสพท ด้วย ซึ่งก็ติดหมอ

เด็กถามผู้ปกครองว่าจะให้เรียนอะไร ผู้ปกครองบอกว่าตามใจ เด็กเลือกวิศวะตามชอบ
ผู้ปกครองบอกให้เด็กไปตัดสินใจใหม่ คงไม่ต้องบอกว่าสุดท้ายแล้วเด็กคนนี้ต้องเรียนอะไร

ซึ่งปีนี้เด็กคนนี้น่าจะจบหมอปี 4 อีก 2 ปีก็จะสำเร็จเป็นแพทย์
แต่ปีนี้เด็กคนนี้กำลังจะขึ้นวิศวะปี 3

ถ้าเด็กคนนี้ได้เรียนตามความฝันก็จะจบปีนี้แล้ว เวลาที่เสียไปกับการทรมาณ
เรียนในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ (ซึ่งตลอดเวลาที่เรียนหมอเด็กเรียนโดยไม่มีความสุขเลย)
นี่คือเรื่องจริง

คิดอยู่นานว่าจะเขียนเรื่องนี้ดีหรือเปล่า ในกรณีหมอกับวิศวะ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จะให้เลือกหมอเพราะไม่ตกงานแน่นอน ฝากผีฝากไข้ได้ยามแก่ ถ้า จขกท คิดว่าตัวเองก็สามารถเรียนหมอได้
ก็เลือกหมอเถิดครับ เพราะอย่างน้อยตอนเราเรียน หรือจบแล้วคนที่มีความสุขที่สุด คือ พ่อกับแม่เรา

เราพร้อมที่จะทำให้ท่านมีความสุขสมหวัง โดยยอมทนทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ ผมว่าอย่างน้อย
ก็คงทดแทนให้เรามีความสุขได้ตอนที่เราเห็นท่านสมหวัง

แต่ถ้าคิดว่าตัวเรารับไม่ได้จริงๆ กับการเรียนหมอ ไม่ใช่ตัวตนเรา ตัวตนเราคือวิศวกร ก็คุยกับท่านดู
เอาเรื่องนี้เล่าให้ท่านฟังก็ได้ครับ หวังว่าเหตุการณ์แบบเรื่องนี้คงไม่เกิดซ้ำกับ จขกท นะครับ
ทำทุกอย่างด้วยสติ ขอให้โชคดีครับ

0
เห็นต่างเล็กน้อย 21 มี.ค. 57 เวลา 09:58 น. 13

ในความเป็นจริง หมอปีหนึ่งนี่เห็นยังไม่ได้เรียนวิชาสายแพทย์เลยไม่ใช่หรือครับ เนื้อหาวิชาผมว่าแทบไม่ต่างจาก วิศวะปีหนึ่งเท่าใหร่ ตรรกระที่ว่าเรียนปีนึงแล้วทรมานจนทนไม่ไหวนี่ผมว่ามันไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าที่ควร

ผมว่าอันที่จริงน่าจะมีเหตุผลอื่นที่แฝงอยู่ร่วมด้วยมากกว่า

0
เห็นต่างเล็กน้อย 21 มี.ค. 57 เวลา 12:29 น. 15

ผมคงอธิบายไม่ละเอียดพอ ประเด็นคือเรียนในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบแล้วทรมานใจ

เชื่อมโยงมาต่อว่า ปี 1 เรียนอะไรบ้าง เนื้อหาวิชาที่เรียนของ วิศวะ แพทย์ เรียนอะไร

ทั้งคณะแพทย์ และ วิศวะ หรือวิทยาศาสตร์ หลักๆก้อคือเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ขั้นสูงขึ้นไป เพื่อเป็นพื้นฐานไปต่อยอด เนื่อหาวิชาในชั้นปีอื่น

จึงไปสู่ข้อสงสัยที่ผมตั้งข้อสังเกตว่าแล้วผู้เรียนไปทรมาณในจุดไหน ซึ่งวิเคราะห์ว่าไม่น่าใช่ เนื้อหาวิชาที่เรียนแน่ ดังข้อความที่เขียนข้างต้น

ลองอ่านทวนๆไปมาดูครับ น่าจะพอเข้าใจประเด็นที่ผมจะสื่อถึงได้ไม่ยากแล้ว

0
Intaneer 21 มี.ค. 57 เวลา 12:33 น. 16

ปัญหานี้ควรตัดสินใจได้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้
ดู จขกท ตัดสินใจช้าไปหน่อยจะเรียนหมอ วิศว ได้หรือ

หลับดีกว่า

0
อุอุอิอิ 21 มี.ค. 57 เวลา 16:33 น. 17

ขอไม่พูดถึงหมอละกันคงรู้ๆกันอยู่ มาดูด้านวิศวะกันมั้งว่า เค้าทำงานกันเป็นวิศวกรตลอดทั้งชีวิตมั้ย ผมขอหยิบข้อมูลของ 2 ปีที่แล้วมานะครับเพราะตอนนี้ก็ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่ (เห็นว่า จขทก จะเข้าจุฬาเลยหยิบของจุฬามาให้)


หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับประจำวันที่ 28 มิถุนายน 2554

80% ของมาร์เกตแคปตลาดหุ้นไทย
และ 50% ของบริษัทจดทะเบียน อยู่ภายใต้การบริหารของ “ซีอีโอ” พะยี่ห้อ วิศวะจุฬา

กลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนประเทศไม่ว่าจะเป็น ภาคพลังงาน สาธารณูปโภคพื้นฐาน คมนาคม ธนาคารพาณิชย์ ตลาดทุน อสังหาริมทรัพย์ โทรคมนาคม ฯลฯ ต่างอยู่ภายใต้การบริหารของ CEO ส่งตรงจากค่าย “วิศวะจุฬาฯ” แทบทั้งสิ้นและพวกเขาเหล่านั้นเป็นผู้กำหนดทิศทางเศรษฐกิจไทยไว้ในกำมือ

"ศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์คือกระบวนการคิดและตัดสินใจอย่างเป็นขั้นตอนและมีเหตุมีผล" หลักปรัชญาที่ถูกสั่งสอนในชั้นเรียน เป็นเสมือนเบ้าหลอมทางความคิดและเป็นแรงผลักดันให้นักศึกษาวิศวะฯ ต้องก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดขององค์กรธุรกิจ หรือ “CEO” ในอนาคต

จากนโยบายการพัฒนาประเทศให้ก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ก่อให้เกิดการเรียนการสอนวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาตรี ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ 95 ปีที่แล้ว และหลังจากนั้นเป็นต้นมา ศิษย์เก่าจากรั้วสีชมพูแห่งนี้ก็ได้จบออกไปเป็นผู้บริหารในองค์กรชั้นนำของประเทศอย่างต่อเนื่อง

ถ้าจะกล่าวว่า 80%ของมาร์เกตแคปตลาดหุ้นไทย อยู่ภายใต้การบริหารของ "ซีอีโอ" พะยี่ห้อ วิศวะจุฬาฯ ก็คงไม่ผิดนัก

ยังรวมถึงตำแหน่งบริหารใน “รัฐวิสาหกิจ” สำคัญของประเทศตั้งแต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน), บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน), การบินไทย, การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย, ปตท. ฯลฯ องค์กรเหล่านี้ล้วนขับเคลื่อนด้วยศิษย์เก่าวิศวะจุฬาฯ

แม้แต่ผู้มีตำแหน่งทาง “การเมือง” ในอดีตและปัจจุบันก็ยังไม่เคยขาดช่วงเหล่าศิษย์เก่าวิศวะ จุฬาฯ ตั้งแต่ "วิเศษ จูภิบาล" อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในยุครัฐบาล “ไทยรักไทย” "พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล" อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ "อดิศัย โพธารามิก" อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย

มีข้อสังเกตว่า ในช่วงที่ "วิเศษ จูภิบาล" ควบคุมนโยบายพลังงานของประเทศ ก็เป็นช่วงที่ บมจ.ปตท และหุ้น PTT อยู่ในจังหวะ “ขาขึ้น” เป็นหุ้นมาร์เกตแคปสูงสุดของตลาดหุ้นไทย และก้าวขึ้นเป็นองค์กรพลังงานชั้นนำของภูมิภาคได้ในที่สุด

สายงานอุตสาหกรรมและก่อสร้าง ชื่อของ บมจ.เหมราชพัฒนาที่ดิน,บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสครัคชั่นบมจ.คริสเตียนี่และนีลเส็น (ไทย) บุญถาวรเซรามิก, กรุงไทยการไฟฟ้า, โตโยต้า ประเทศไทย องค์กรทั้งหมดนี้ก็ถูกขับเคลื่อนด้วยบุคลากรจากรั้วจามจุรี เช่นกัน

นอกเหนือจากภาคอุตสาหกรรมพลังงาน ก่อสร้าง อุตสาหกรรม และวิศวกรรม ซึ่งเป็นอาชีพโดยตรงตามหลักสูตรแล้ว เหล่าศิษย์เก่าวิศวะจุฬาฯ ยังได้ออกไปสร้างชื่อเสียงในภาคธุรกิจการเงินของประเทศ ตามกระแสเศรษฐกิจขาขึ้นช่วงหนึ่งของประเทศ

แทนที่จะเป็นวิศวกรผู้รังสรรค์สิ่งปลูกสร้าง พวกเขาเหล่านี้กลับเลือกที่จะผันตัวเองมาเป็น "มนุษย์ทองคำ" ปั้นแต่งความเฟื่องฟูให้กับตลาดเงินตลาดทุนไทยแทน

ฝั่งอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ "วิชิต สุรพงษ์ชัย" ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์และอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย และ "อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์" กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ทั้งสามคนนี้นั่งตำแหน่งบริหารในธนาคาร “บิ๊กโฟร์” ของประเทศ มีสินทรัพย์ในการบริหารรวมกว่า 3,400,000 ล้านบาท

รวมถึงนักการเงินรุ่นเก๋า "ปลิว มังกรกนก" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทิสโก้ และ "ทวี บุตรสุนทร" ประธานกรรมการ ไทยธนาคาร

ทางฝากตลาดทุน ต่างคับคั่งไปด้วยอดีตว่าที่วิศวกรที่ผันตัวเองเข้าสู่แวดวงตลาดหุ้น "มนตรี ศรไพศาล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.กิมเอ็ง , "ก้องเกียรติ โอภาสวงการ" ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเซียพลัส ควบตำแหน่งประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย, "ญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์" ประธานกรรมการบริหาร บล.บัวหลวง บุคคลเหล่านี้นั่งตำแหน่งผู้บริหาร บริษัทหลักทรัพย์มาร์เกตแชร์ TOP5 ของประเทศ

ล่าสุด "บุญชัย ศรีปรัชญาอนันต์" เพื่อนร่วมรุ่น วศ.24 รุ่นเดียวกับมนตรีและญาณศักดิ์ เป็นวิศวกรคนล่าสุดที่เข้ารับตำแหน่งซีอีโอคนใหม่ของ บล.ไทยพาณิชย์ บริษัทลูกของธนาคารไทยพาณิชย์ ภายหลังจากที่ตอบรับคำชวนของมนตรีให้เข้ามารับผิดชอบงานวาณิชธนกิจที่ บล.กิมเอ็ง ได้เพียงสามเดือนเท่านั้น

แม้เจ้าตัวจะเอ่ยปากว่า การตัดสินใจรับตำแหน่งครั้งนี้เป็นเพราะต้องการพิสูจน์ตัวเองในองค์กรขนาดใหญ่ แต่การที่ "วิชิต สุรพงษ์ชัย" ประธานกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ ในฐานะ “รุ่นพี่” ร่วมคณะเป็นผู้ติดต่อเชื้อเชิญด้วยตัวเองสะท้อนให้เห็นว่า สายสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและรุ่นพี่รุ่นน้องร่วมคณะ มีความเกี่ยวพันกับการ "โปรโมท" ตำแหน่งหน้าที่การงาน ไม่ใช่น้อย

แผนธุรกิจ วาณิชธนกิจ ของ บล.ไทยพาณิชย์ จากนี้เป็นต้นไปจึงน่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง เพราะผลงานของ บุญชัย ที่ผ่านมาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการนำ “รัฐวิสาหกิจ” เข้าตลาดหุ้นมาแล้วทั้งสิ้น เช่น ปตท.(PTT) การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (AOT) อสมท.(MCOT) ฯลฯ

ด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ วิศวกรจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะเป็น “นายตัวเอง” ด้วยการเป็นทั้งเจ้าของและบริหารงานเอง สำหรับศิษย์เก่าคนดังย่อมหนีไม่พ้นบุคคลที่ “รวย” หุ้นที่สุดและเจ้าของอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย "อนันต์ อัศวโภคิณ" ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

ลำดับรองลงมา น้องชายของ “เสี่ยตึ๋ง” "อนุพงศ์ อัศวโภคิณ" กรรมการผู้จัดการ บมจ.เอเชี่ยนพร๊อพเพอร์ตี้, "ทองมา วิจิตรพงศ์พันธ์" กรรมการผู้จัดการและเจ้าของ บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท, ทิฆัมพร เปล่งศรีสุข ประธานกรรมการ บมจ.แอลพีเอ็นดีเวลลอปเมนท์ และ "ชนะชัย ลีนะบรรจง" ประธานกรรมการ บมจ.อีเอ็มซีควบตำแหน่งเซียนหุ้นชื่อดัง ต่างก็ก้าวขึ้นมาเป็น “เถ้าแก่” ที่มีผืนดินในแลนด์แบงก์จำนวนมหาศาล

แต่ถ้าถามว่า ใครคือซีอีโอในร่างวิศวกรที่ทรงอิทธิพลที่สุด ตำแหน่งนี้ น่าจะเป็นของ "บุญคลี ปลั่งศิริ" แม้ว่าวันนี้จะเป็นเพียงอดีตประธานกรรมการบริหาร ชินคอร์ป แล้วก็ตาม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเบื้องหลังการเติบโตของธุรกิจเครือชินฯในเวลานั้น (เอไอเอส, ชินแซทเทลไลท์, แคปปิตอลโอเค, ไทยแอร์เอเชีย และไอทีวี) และมีมาร์เกตแคปขยายตัวอย่างก้าวกระโดดก็มาจากมันสมองของสุดยอดซีอีโอ “มือขวา” ของอดีตนายกทักษิณฯ นี่เอง

การที่ศิษย์เก่าวิศวะจุฬาฯ กระจายตัวออกไปในทุกภาคธุรกิจ ทั้งที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารระดับสูงและเป็นเจ้าของกิจการของตัวเอง ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายธุรกิจที่มีการเอื้อหนุนซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นงานประมูลโครงการก่อสร้าง โปรเจคพิเศษทางด้านวิศวกรรม ที่ปรึกษาทางการเงิน ตลอดจนสินเชื่อธุรกิจจากธนาคารพาณิชย์

จะไปบังคับให้หลีกเลี่ยงไม่ต้องเจอกันก็เป็นไปได้ยาก เพราะเกือบ 50% ของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และตลาดเอ็มเอไอ โดยเฉพาะสายอุตสาหกรรม พลังงาน ก่อสร้าง เทคโนโลยี และการเงิน ล้วนจบวิศวะ จุฬาฯ !!

บมจ.ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น (TRC) แม้เป็นเพียงบริษัทขนาดกลางซึ่งมีมาร์เกตแคปไม่สูง แต่ด้วย “คอนเนคชั่น” ระดับเอบวกของ "สมัย ลี้สกุล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ "ไพฑูรย์ โกสียรักษ์วงศ์" กรรมการผู้จัดการ สองศิษย์เก่ารั้วจามจุรี ทำให้บริษัทขนาดกลางแห่งนี้ ได้รับงานโครงการประมูลจากบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ กลุ่มปตท.ทั้งเครือ, บางจากปิโตรเลียม, ปูนซิเมนต์ไทย และบริษัทจดทะเบียนในตลาดเอ็มเอไอหลายต่อหลายราย ต่างมีรายได้หลักจากงานประมูลขององค์กรขนาดใหญ่เช่นกัน

แม้จะอยู่กันต่างองค์กร แต่ทุกๆ ปี พวกเขาเหล่าบรรดาซีอีโอในชุดชอปก็จะกลับมาพบกันสักครั้งในงาน Engineer Talk ของสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันสัมมนาชี้ทิศทางเศรษฐกิจไทยในปีนั้นๆ

ที่อาจหมายถึงแผนธุรกิจองค์กรของพวกเขาไปในตัวด้วย !!

0
แม่หมอ 21 มี.ค. 57 เวลา 17:55 น. 18

อยากเรียนอะไรก็เรียนอันนั้นค่ะ..... อย่ายึดติดว่าต้องเป็นหมอ ลองคุยกับคุณพ่อ คุณแม่ดีๆ.... ป้าเป็นแม่ นศพ. เห็นลูกเรียนหนักมากๆๆๆๆเพื่อนลูกหลายคนบอกว่าคิดผิดที่เรียนหมอ......... แต่ลูกป้าเลือกที่จะเป็นหมอเองค่ะ ซึ่งป้าก็ทั้งคุย และอธิบายว่าคิดดีๆนะ ว่าเรียนหนัก ทำงานก็หนัก ต้องเสียสละความสุขส่วนตัว เกือบทั้งชีวิตการเรียนและทำงานค่ะ

0
Monkey - ninja - No.4 21 มี.ค. 57 เวลา 18:00 น. 19

จริงคั้บ ...หมูคือผู้อุทิศ ...ใครคิดจะสูบ แล้วเลือกหมอ มันไม่ถูกต้อง ...คุณคิดผิด ...และคุณพลาดแล้ว

0
lumsu 21 มี.ค. 57 เวลา 19:58 น. 20

ลองอ่านใหม่นะครับ ช้าๆ ว่าเด็กในเรื่องที่ผมเล่าเรียนหมอกี่ปีครับ ไม่ต้องรีบครับ

0