Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

(หนังสือความรู้ประวัติศาสตร์) ผู้บัญชาการโมเอะแห่งศตวรรษที่ 20

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

g.e. เว็บที่พักทางใจของใครบางคน

ยังจำเผด็จการโมเอะได้หรือเปล่าครับ http://www.dek-d.com/board/view/2642391/ ล่าสุดญี่ปุ่นได้วางจำหน่ายหนังสือความรู้ประวัตติศาสตร์ “ผู้บัญชาการโมเอะ” ที่มีชื่อเสียงในศตวรรษที่ 20 ในชื่อ Nyotaika!! General Biographies in the World -20 century-” ราคาประมาท £19.99 แน่นอนภายในเล่มมีการเล่าประวัติผู้บัญชาการที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์มากมายหลายคน ตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2, สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเวียดนาม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนาซี, จักรวรรดิญี่ปุ่น และพันธมิตร พร้อมกับอธิบายกลยุทธ์เอาไว้ แน่นอนสิ่งที่ขาดไม่ได้คือภาพผู้บัญชาถูกเปลี่ยนเป็นสาวน้อย โมเอะ ไปจนถึงสาวเซ็กซี่ในเชิงล้อเลียน เอจจิ และขบขัน เช่นเดิม

ปล. ปีรับราชการทหารอาจคาดเคลื่อนครับ ผมยึดจากหนังสือประวัติศาสตร์โมเอะนะครับ)

ปล. ขอเริ่มจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อน ส่วนก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นเดี๋ยวออกทีหลัง

ปล. ข้อมูลจากวิกิพีเดีย และหนักชิบ เพราะใช้เวลา 3 วันยังไม่เสร็จเลย (เสียเวลาว่าใครเป็นใคร)

 

 

หน้าปกเป็นจอมพลเออร์วิน รอมเมล

แสดงความคิดเห็น

>

78 ความคิดเห็น

cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 11:57 น. 1

 

ไฮนซ์ กูเดอเรียน (Heinz Guderian)

1888-1954

ปีที่รับราชการทหาร 1907-1945

 

ไฮนซ์ กูเดอเรียน เป็นนายพลแห่งกองทัพบกนาซีเยอรมันที่โด่งดังจนได้รับการยกย่องจากคนทั้งโลกว่าเป็น "บิดาแห่งยานเกราะ] เขาเป็นผู้คิดค้นยุทธการสายฟ้าแลบ (บลิทซครีก-โจมตีอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วยการทิ้งระเบิดโดยเครื่องบินรบก่อนที่จะใช้ยานเกราะบุกเข้าโจมตีตามอย่างรวดเร็ว และสร้างความประหลาดใจให้กับฝ่ายข้าศึก ทำให้ฝ่ายตั้งรับไม่มีเวลาที่จะเตรียมการป้องกันใด ๆ เลย) ที่ทำให้สามารถเข้ายึดโปแลนด์ได้สำเร็จ และต่อมาก็ทำให้ฝรั่งเศสยอมแพ้ต่อฝ่ายอักษะในการรุกที่แม่น้ำเมิซ และเป็นผู้สร้างรถถังที่มีชื่อเสียง เช่น แพนเธอร์ คิงไทเกอร์ ที่สร้างความหวาดกลัวต่อพันธมิตร เป็นต้น

หลังสงครามสงบ เขายอมจำนนต่อกองกำลังของอเมริกา และอยู่ในฐานะนักโทษอาชญากรสงครามจนได้รับอิสระ และยังคงมีบทบาทกับกองกำลังทหารในเยอรมนีตะวันตก และได้รับเชิญประชุมการวางแผนยุทธการกับอังกฤษที่เคยเป็นศัตรูของเขา 

0
cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 11:58 น. 2


จอมพลเออร์วิน รอมเมล (Erwin Rommel)

1891-1944

ปีที่รับราชการทหาร 1911-1944

 

จอมพลเออร์วิน รอมเมล หนี่งในจอมพลที่หลายคนรู้จักจากฉายา “จิ้งจอกทะเลทราย” ซึ่งได้รับมาจากการบัญชาการกองกำลังผสมเยอรมันและอิตาลีในการทัพแอฟริกาเหนือ ไล่ตอนกองทัพอังกฤษ จนกลายเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการสงครามทะเลทรายที่เก่งกาจที่สุด นอกจากนี้เขายังเป็นผู้บัญชาการที่มีมนุษยธรรมสูง เพราะเขาปฏิบัติต่อเชลยอย่างมีมนุษยธรรม และเป็นคนรักลูกน้อง มักปรากฏกายอยู่ในแนวหน้าเคียงข้างกับกำลังพลของเขาอยู่เสมอ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสงครามเขาถูกโยงกับแผนลับลอบสังหารฮิตเลอร์ ทำให้ฮิตเลอร์ต้องบีบให้รอลเมลฆ่าตัวตาย ด้วยการกินยาไซยาไนท์ และเป็นหนึ่งสิ่งที่ฮิตเลอร์ตัดสินใจพลาดอย่างใหญ่หลวง 

0
cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 11:59 น. 3


จอมพล อีริค ฟอน แมนสไตน์ (Erich Von Manstein)

1887-1973

ปีที่รับราชการทหาร1906-1945

 

จอมพล อีริค ฟอน แมนสไตน์ ได้รับขนานนามว่าอัจฉริยะการสงครามในสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้จะอยู่ฝั่งนาซี แต่ฝ่ายตรงข้ามต่างยอมรับถึงความเก่งกาจ มีหัวคิดที่ทันสมัย ด้วยผลงานการรบสุดแสนน่ากลัว อย่างการรบในป่าอาร์เดนส์ที่ทำให้เยอรมันชนะฝรั่งเศส และผลักดันทหารอังกฤษจนมุมที่ดังเคิร์ก ก่อนที่จะรับหน้าที่เป็นจอมพลบัญชาการเนอรมันบุกรัสเซีย มีส่วนในการล้มเลนินกราด และชนะเรื่อยมา ก่อนที่จะพ่ายแพ้จากกำลังรบมหาศาลของฝ่ายรัสเซีย

จอมพลผู้นี้ถูกมองว่าเป็น “อัจฉริยะผู้สร้างปัญหา” ทำให้ไม่เป็นถูกใจมากนัก เขาเป็นเพียงไม่กี่คนที่กล้าต่อปากต่อคำกับฮิตเลอร์ที่ไม่ยอมทำตามคำสั่งของฮิตเลอร์ที่ว่า “ให้รักษาที่มั่นแม้จะเหลือทหารคนสุดท้ายก็ตาม” หลังสงครามโลกสิ้นสุดลงเขาถูกตั้งข้อหาเป็นอาชญากรสงครามของอังกฤษและถูกตัดสินจำคุก 18 ปี แต่ถูกปล่อยตัวหลังจำคุกได้เพียง 3 ปี และเสียชีวิตอย่างสงบ 

0
cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 12:00 น. 4
         
                

จอมพลเรือคาร์ล เดอนิตซ์ (Karl Dönitz)

1891-1980

ปีที่รับราชการทหาร1910-1945

 

 

จอมพลเรือคนสุดท้ายของเยอรมนี เป็นผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำอูที่เลื่องชื่อของเยอรมัน ซึ่งเรืออูเยอรมันเป็นเรือที่มักออกปฏิบัติการยุทธวิธี “ฝูงหมาป่า” หรือใช้เรือดำน้ำรุมเล่นงานกองเรือลำเลียงและขนส่งได้หลายลำ

 หากแต่หลังจากฮิตเลอร์ฆ่าตัวตายในบังเกอร์แล้ว  ฮิตเลอร์ได้ระบุในพินัยกรรมให้จอมพลเรือรับตำแหน่งประธานาธิบดีเยอรมัน ก่อนที่เขาจะสละอำนาจให้กับกองทัพสัมพันธมิตรเมื่อ 23 พฤษภาคม 2488 หลังสงคราม และถูกพิจารณาคดีคนแรก (ในฐานะผู้นำนาซีเยอรมันก่อนล่มสลาย) เขาถูกตั้งข้อหาเป็นอาชญากรสงครามและถูกจำคุกสิบ ต่อมาก็ถูกปล่อยตัวเป็นอิสระ   และได้รับยกย่องว่าเป็น “รัฐบุรุษ” ของเยอรมันตะวันตกซึ่งปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย

 

0
cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 12:02 น. 5

 

จอมพล แฮร์มันน์ เกอริง (Hermann Göring)

1893 - 1946

ปีที่รับราชการทหาร 1912-1918, 1923-1945

 

จอมพล แฮร์มันน์ เกอริง เป็นนายทหารและนักการเมืองคนสำคัญของพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมันหรือพรรคนาซี เขามีบทบาทสำคัญในการขยายระบบเผด็จการของพรรคนาซีให้ครอบคลุมทั่วเยอรมนี รวมทั้งสร้างเสริมแสนยานุภาพทางทหารของเยอรมนีโดยเฉพาะกองทัพอากาศให้มีความแข็งแกร่ง ด้วยการสร้างเครื่องบินและฝึกเครื่องบินอย่างลับๆ

นอกจากนี้เกอริงยังเก่งเรื่องการเมือง ถึงขนาดได้รับว่าจะดำรงตำแหน่งต่อจากฮิตเลอร์  อีกทั้งยังเป็นคนจัดตั้งตำรวจลับเกาตาโบ และการสร้างค่ายกักกัน

ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 เกอริงเสนอให้มีการเจรจาสงบศึกกับฝ่ายพันธมิตร แต่การกระทำดังกล่าวทำให้ฮิตเลอร์ออกคำสั่งจับเขาในฐานะผู้ทรยศ ขี้ขลาดและยอมแพ้ อย่างไรก็ตามหลังสงครามโลกยุติ เขาก็จำนนต่อกองทัพสหรัฐ และถูกศาลพิเศษพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามแห่งนูเรมเบิร์ก ตัดสินประหารชีวิต แต่เขาก็จบชีวิตตนเองด้วยยาพิษก่อนหน้าการประหารชีวิตไม่กี่ชั่วโมง

0
cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 12:03 น. 6

 

นายพลโรดอลโฟ กราเซียนี (Rodolfo Graziani)

1882-1955

ปีที่รับราชการทหาร 1903-1945

 

จอมพลโรดอลโฟ กราซีอานี, มาร์ควิสแห่งเนเกลลีที่ 1 เป็นนายทหารสังกัดกองทัพแห่งราชอาณาจักรอิตาลี ผู้นำในการขยายแสนยานุภาพทางทหารของอิตาลีเข้าไปในทวีปแอฟริกา ทั้งในช่วงก่อนและในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเขาทำเรื่องร้ายๆ หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสังหารหมู่ในประเทศเอธิโอเปีย และลิเบีย และรุกรานอิยิปต์ซึ่งอังกฤษปกครองอยู่ แต่แพ้เป็นท่า หลังจากมุสโสลินีถูกโค่นล้ม เขาถูกจับได้และถูกปล่อยตัว และตายในปี 1995 โดยที่ไม่ได้ถูกฟ้องในข้อหาอาชญากรสงครามแม้แต่น้อย

0
cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 12:04 น. 8

 

จอมพล คาร์ล กุฟตาฟ อีมิล แมนเนอร์ไฮลม์ (Field Marshal Carl Gustaf Emil
Mannerheim)

1867-1951

ปีที่รับราชการทหาร 1887-1917,  1918-1946

 

จอมพล คาร์ล กุฟตาฟ อีมิล แมนเนอร์ไฮลม์ จอมพลผู้นำทางการทหารและรัฐบุรุษผู้โด่งดังของฟินแลนด์ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากเป็นพันธมิตรกับนาซี ทำสงครามกับโซเวียต และบัญชาการรบป้องกันประเทศในสงคราม “สงครามฤดูหนาว”, สงครามต่อเนื่อง (Continuation War) , สงครามแลปแลนด์ (Lapland war-สงครามนี้ฟินแลนด์ร่วมมือโซเวียตเล่นงานนาซี)

ในสงครามต่อเนื่อง ฟินแลนด์เข้าร่วมเป็นพันธมิตรนาซี ทำให้โซเวียตทำสงครามกับฟินแลนด์ โดยกองทัพโซเวียตพยายามฝ่าทะลวงแนวรบของนายพลแมนเนอร์ไฮลม์ เพื่อเข้าสู่เมืองหลวงของฟินแลนด์ สงครามครั้งนั้นฟินแลนด์แม้จะมีจำนวนทหารและอาวุธด้อยกว่าแต่ด้วยกำลังใจ ทหารรักชาติชำนาญสงครามฤดูหนาว การใช้สกีเคลื่อน การใช้ภูมิศาสตร์ที่มีปราการธรรมชาติที่ได้เปรียบ และสนามเพลาะ ทำให้กว่าที่โซเวียตจะชนะก็หืดขึ้นคอ และหลังจากที่โซเวียตโต้เยอรมัน ฟินแลนด์ก็แตกพ่ายไปด้วย ฟินแลนด์ต้องยอมสงบสุข เสียดินแดนบางส่วนให้ และผลักดันให้ทหารเยอรมันออกจากฟินแลนด์

0
cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 12:05 น. 9

พลอากาศเอก ฮิวจ์ ดาวดิง (Hugh Dowding)

1882-1970

ปีที่รับราชการทหาร 1900-1942

 

พลอากาศเอก ฮิวจ์ ดาวดิง ผู้บัญชาการกองทัพอากาศอังกฤษ มีผลงานที่โดดเด่นจากสงคราม ยุทธการที่เกาะอังกฤษ  (Battle of Britain) มีนิสัยอ่อนน้อมถ่อมตน เชื่อเรื่องเวทย์มนต์ นางฟ้า  ถึงขั้นที่ว่าหลังสงครามสงบได้เข้าร่วมสมาคมเทวญาณวิทยา (Theosophical Society) ที่สนับสนุนเรื่องวิญญาณ

ในยุทธการที่เกาะอังกฤษนั้นเป็นการรบทางอากาศระหว่างกองทัพอากาศอังกฤษและกองทัพอากาศเยอรมัน โดยเยอรมันใช้กำลังทางอากาศโจมตีอังกฤษแบบสายฟ้าฟาด เพื่อหวังให้อังกฤษยอมจำนน แต่กลายเป็นว่ากองทัพอากาศอังกฤษมีนักบินที่เก่งกาจสามารถสกัดกั้นการจู่โจมและป้องกัน ประกอบกับเวลานั้นอังกฤษสามารคิดค้นระบบรับส่งสัญญาณด้วยวิทยุและเรดาร์ที่มีประสิทธิภาพได้ รวมทั้งนายพลได้ระดมหน่วยรบจากทกเขตมาป้องกันลอนดอน โดยยอมเสี่ยงปล่อยพื้นที่อื่นๆ ขาดกำลังป้องกันตนเอง ทำให้เยอรมันไม่สามารถยึดครองอังกฤษไม่สำเร็จ เยอรมนีพลาดและเสียหายอย่างหนักเป็นครั้งแรกในสงคราม

 

0
cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 12:06 น. 10

 

พลเรือเอกแอนดรูว์ คันนิงแฮม (Andrew Cunningham)

1883 –1963

ปีที่รับราชการทหาร 1897-1946

 

พลเรือเอกแอนดรูว์ คันนิงแฮมแห่งกองทัพเรืออังกฤษ มีชื่อเล่นว่า “เอบีซี” ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้นำกองทัพอังกฤษนำชัยชนะจากการรบเมดิเตอร์เรเนียนจากการรุกรานของกองทัพเรืออิตาลี และเขาเป็นคนคิดแผนการใช้เครื่องบินโจมตีเรือจนสำเร็จ ในการรบตารันโต (Battle of Taranto)

ภายใต้การบัญชาการของพลเรือเอกคันนิงแฮมสามารถยันการรุกรานของอิตาลีในทะเลเมดิเตอร์เรเนียม โดยใช้แผนการส่งเครื่องบินข้ามทะเลไปทิ้งตอร์ปิโดเข้าใส่กองเรืออิตาลีที่จอดอยู่ในท่าเรือ ทำให้อิตาลีสูญเสีอกองเรือผิวน้ำเป็นจำนวนมาก ทำให้กองทัพเรืออิตาลีอ่อนด้อยทันที

0
cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 12:07 น. 11

 

เบอร์นาร์ด  มอนต์โกเมอรี่ (Bernard  Montgomery)

1887-1976

ปีที่รับราชการทหาร 1908-1958

 

นายพลเบอร์นาร์ด  มอนต์โกเมอรี่ หนึ่งในนายพลผู้คิดแผน “มาร์เก็ต การ์เด้น” (Market Garden) ปฏิบัติการเคลื่อนพลครั้งใหญ่ของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่รองจาก ดีเดย์ และเป็นแผนการประสบความล้มเหลวในประวัติศาสตร์

โดยแผนการนี้ มอนต์โกเมอรี่หวังว่าจะพิชิตเยอรมันอย่างราบคาบ ยุติสงครามเร็วก่อนวันคริสต์มาส โดยส่งพลร่มเคลื่อนพลผ่านฮอลแลนด์และข้ามแม่น้ำไรน์ เข้าสู่เยอรมัน แต่กลายเป็นว่าแผนการปฏิบัติการล้มเหลว เพราะกองทัพเยอรมันยังคงเข้มแข็งสามารถทำการรบได้อย่างดุเดือดอยู่ ทำให้พลร่มอังกฤษต้องตายเป็นจำนวนมาก ที่เหลือถูกจับเป็นเชลย มีเพียงบางส่วนรอดชีวิตมาได้ ทำให้สงครามยาวนานขึ้นอีก

0
cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 12:08 น. 12

ดไวน์ ไอเซนเฮาร์ ( Dwight Eisenhower)

1890-1969

ปีที่รับราชการทหาร 1915-1952

 


ดไวน์ ไอเซนเฮาร์ เป็นผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรป มีบทบาทในการบัญชาการการรบในแอฟริกาเหนือ, ประสบสำเร็จในการรบที่นอร์มังดี ปลดปล่อยฝรั่งเศสจากนาซี  และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของนาโต้

หลังสงครามในปี 1948 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งในกองทัพ และลงเล่นการเมือง จนได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 34 ของประเทศอเมริกา มีนโยบายเน้นในเรื่องของการสร้างสันติภาพ  ไม่เลือกปฏิบัติทางการเมือง

0
cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 12:09 น. 13

 

นายพลจอร์จ แพตตัน (George  Patton)

1885-1945

ปีที่รับราชการทหาร 1909-1945

 

นายพลอเมริกันจอมมุทะลุ ชอบบัญชาการรบในรถจิ๊ป ชอบแต่งตัวโดดเด่นในสนามรบ ที่นำทหารสหรัฐตีตะลุยจากแอฟริกา แล้วยกขึ้นตอนใต้ของอิตาลี รุกเข้าไปในยุโรป ตามแผนการยุทธ์บรรจบของชาติพันธมิตร

นายพลแพตตันเชื่อว่าตนเองคือยอดนักรบโรมัน (ไม่ก็สมัยนโปเลียน) ในชาติก่อน ค่อนข้างเป็นคนมุทะลุ บ้าคลั่งและดื้อรั้นซ่อนอยู่ แต่ที่เขาเป็นคนเก่งเพราะเป็นนักอ่านตัวยง ชอบอ่านตำรายุทธวิธีการรบด้วยรถถัง โดยเฉพาะหนังสือที่เออร์วิง รอมเมลเขียน และเมื่อทำสงครามเขาก็ได้เผชิญกับกองทัพจอมพลเออร์วิง รอมเมล ซึ่งเขารู้จุดอ่อน-จุดแข็ของรอมเมล เลยสามารถใช้กลยุทธ์แก้ทาง จนทำให้กองทัพของนายพลรอมเมลต้องร่นถอยจากดินแดนแอฟริกา และมีกองทัพนายพลแพตตันไล่ติดตาม

0
cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 12:12 น. 14

ชาร์ล เดอ โกล  (Charles de Gaulle) 

1890-1970

ปีที่รับราชการทหาร 1912-1944

 

ชาร์ล อ็องเดร โฌแซ็ฟ มารี เดอ โกล หรือ ชาร์ล เดอ โกลเป็นนายทหารและรัฐบุรุษชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเป็นที่รู้จักในนาม นายพลเดอ โกล ซึ่งมีเชื่อสายเป็นผู้ดีมีตระกูลเพราะบรรพบุรษเป็นขุนนาง (แม้ว่าชาติตระกูลครั้งแรกจะเป็นผู้ติดตามอัศวินก็ตาม)  และมีฐานะร่ำรวย

ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักยุทธวิธีการรบด้วยรถถัง และผู้นิยมการรบด้วยการใช้ยานเกราะและกองกำลังทางอากาศ โดยมีแนวคิดคือ แนวกำแพงมาชิโนต์ (Maginot Line) คือการสร้างการปราการป้อมปืนป้องกันหนาแน่นแนวพรมแดนฝรั่งเศส –เยอรมัน หลังจากนาซีเข้ายึดฝรั่งเศส เขาก็เป็นผู้นำการปลดปล่อยฝรั่งเศส จนสำเร็จ เขาได้กลับมารปารีสพร้อมกับทหารของเขา และเป็นผู้นำรัฐบาลชั่วคราวในช่วงปี 1944 - 1946

0
cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 12:13 น. 15

จอมพล เกออร์กี จูคอฟ (Georgy Zhukov)

1896-1974

ปีที่รับราชการทหาร 1915-1957

 

จอมพล เกออร์กี จูคอฟ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหภาพโซเวียต และผู้บัญชาการทหารคนสำคัญของโซเวียต ที่ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นผู้บัญชาการกองทัพแดงในการปลดปล่อยสหภาพโซเวียต จากการรุกรานของนาซีเยอรมนี, ปลดปล่อยยุโรปตะวันออกส่วนใหญ่ และเข้ายึดกรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของนาซีเยอรมนี ดับฝันฮิตเลอร์ได้ในที่สุด

จอมพลจูคอฟเป็นคนไม่อ่อนข้อให้กับใคร แม้แต่สตาลินก็เคยท้องติง จนโดนปลดมาแล้ว  หากแต่เมื่อนาซีรุกประชิดมอสโก เขาเลยถูกเรียกตัวปกป้องมอสโก และสามารถผลักดันข้าศึกให้ถอยจนมอสโกพ้นขีดอันตราย และช่วยเหลือสตาลินกราดแม้จะเสียทหารนับล้านก็ตาม จากนั้นก็บุกตีฝ่าการปิดล้อมเลนินกราด แต่ผลงานที่สุดคือการนำกองทัพโซเวียตในการรุกที่มีชื่อรหัสว่า “ปฏิบัติการเบรเกรชั่น” (Operaion Bagration) ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นปฏิบัติการณ์ทางทหารที่สุดยอดที่สุดของสงครามโลกครั้งที่สอง  และ

0
cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 12:14 น. 16

 

 

 จอมพลอีวาน โคเนฟ (Ivan Koniev)

1897-1973

ปีที่รับราชการทหาร 1916-1962

 

จอมพลอีวาน โคเนฟผู้นำกองทัพแดงในแนวรบด้านตะวันออก ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และยึดยุโรปตะวันออกจากการยึดครองของนาซี  โคเนฟทำหน้าที่บุกกรุงเบอร์ลินทางทิศใต้ด้วยกองทัพรถถังแดง และแข่งกับจูคอฟว่าใครจะไปเบอร์ลินกอนก่อน แต่สุดท้ายสตาลินให้เกียรติชูคอฟชูธงโซเวียที่รัฐสภาของเยอรมนี โดยจอมพลโคเนฟได้แต่แมองจอมพลจูคอฟได้ไปชูธงโซเวียตแบบอิจฉา

(Deutschland-หมายถึงเยอรมัน ส่วน Cesko-Slovensko ก็คือประเทศเชโกสโลวาเกีย ซึ่งที่นั้นเขาไปยึดกรุงปราก แทนที่จะได้ไปเบอร์ลินนั้นเอง แม้ว่าจะได้รับการต้อนรับอย่างล้าหลาม แต่ในใจของแอบเซ็งมิใช่น้อย) 

 
0
cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 12:15 น. 17

พลเรือเอก อิโซโรกุ ยามาโมโต้  (Yamamoto Isoroku)

1884 1943

ปีที่รับราชการทหาร 1901-1943

 

 พลเรือเอก อิโซโรกุ ยามาโมโต้  แห่งกองทัพเรือจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น และผู้บัญชาการทัพเรือผสมผสมระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นคนวางแผนสงครามที่ อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ และมิดเวย์

โดยเฉพาะการวางแผนโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาเบอร์นั้นเขาเป็นคนวางแผนการทั้งหมด ด้วยการนำฝูงบินนับร้อยลอบโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐแบบไม่ทันตั้งตัว ส่งผลทำให้กองทัพเรือสหรัฐในแปซิฟิกพังยับเยิน และทำให้สหรัฐประกาศทำสงครามกับฝ่ายญี่ปุ่นและนาซี

อย่างไรก็ตาม ยุทธการมิดเวย์นั้น ที่เขานำเรือรบไปโจมตีฐานทัพในมิดเวย์นั้น ต้องประสบความล้มเหลว ทำให้กองเรือผสมพังยับเยิน อันเนื่องมาจากทหารสหรัฐสามารถถอดรหัสได้ จนถูกซ้อนแผน และโต้กลับจนพ่ายแพ้ไป

นายพลยามาโมโต้ เป็นนักพนันตัวยง เป็นคนชอบเสี่ยง เคยพูดไว้ว่าหากสงครามสงบจะไปเล่นพนันที่โมนาโก แต่ความฝันก็พังทลายลง เพรา เขาเสียชีวิตระหว่างไปให้กำลังใจทหารที่หมู่เกาะโซโลมอน เมื่อถูกเครื่องบินที่นายพลโดยสารถูกยิงตกโดยเครื่องบินขับไล่ของฝ่ายศัตรู   

0
cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 12:16 น. 18

พลเรือเอก ชูอิชิ นากูโมะ (Chuichi Nagumo)

1887-1944

ปีที่รับราชการทหาร 1908-1944

 

ดูจากภาพช่างน่าสงสารซะเหลือเกิน  นายพลชูอิชิ นากูโมะ แห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น เขาบัญชาการกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ซึ่งตามแผนแล้วต้องการให้กองทัพเรืออเมริกาเสียหายยับเยินจนไม่สามารถทำการรบได้ แต่อย่างไรก็ตาม ขณะปฏิบัติการนายพลชูอิชิสั่งให้เครื่องบินกลับ ด้วยเหตุผลว่าไม่มีน้ำมันเรือเหลือพอที่จะยื้อเวลาต่อกรข้าศึกจนค่ำ และนั่นเองทำให้อเมริกามีเรือรบพอที่จะต่อกรญี่ปุ่น

ในยุทธการมิดเวย์ เขาก็พลาดถูกกับดักของฝ่ายศัตรู เพราะความผิดพลาดของข่าวกรองทำให้ฝ่ายอเมริการู้ตัวและวางแผนรับมือโต้ตอบอยู่แล้ว  จากนั้นนากูโมะพยายามจะใช้เครื่องบินสำรองออกโจมตี แต่เครื่องบินสำรองที่เขาเตรียมดันติดตั้งแค่ตอร์บีโดที่ใช้เตรียมเรือบรรทุกเครื่องบินเท่านั้น  แต่ไม่ได้ติดตั้งระเบิดโจมตีมิดเวย์ ทำให้เขาต้องใช้เวลาในการเปลี่ยน แถมต่อมามีการพบเรือบรรทุกเครื่องบินข้าศึกเข้าใกล้ ทำให้เขากลับไปเปลี่ยนตอร์บีโดอีกทำให้ล่าช้า เปลี่ยนกลับไปกลับมาจนกลายเป็นเป้านิ่ง และนั้นเป็นสาเหตุให้แพ้สงคราม

ในการ “การต่อสู้ไซปัน” แม้เขาจะปกป้องเกาะสนามบินของจักรวรรดิญี่ปุ่น  แต่ก็ไม่สามารถต้านทานกองกำลังของพันธมิตรได้ ผลสุดท้ายเขาฆ่าตัวตายไม่กี่วันก่อนที่ทหารสหรัฐจะยึดเกาะได้สำเร็จ 

0
cammy 4 ก.ค. 57 เวลา 12:18 น. 19

  ลเรือตรีทาม่อน ยามากูชิ  (Tamon Yamaguchi)

1892-1942

ปีที่รับราชการทหาร 1912-1942

 

พลเรือตรีทาม่อน ยามากุชิ เป็นนายพลแห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นส่วนร่วมในสมรภูมิสำคัญอย่าง การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ และการจู่โจมในมหาสมุทรอินเดีย ก่อนที่จะพบจุดจบในยุทธภูมิมิดเวย์ ซึ่งทั้งสองสมรภูมิล้วนประสบความสำเร็จและมีส่วนร่วมในการวางแผนการทั้งสิ้น

กล่าวกันว่ายามากูชินั้นเป็นพลเรือเอกที่มีความชาญฉลาด แต่มีความก้าวร้าวและมีความทะเยอทะยาน แต่ในยุทธภูมิมิดเวย์ถือว่าเป็นศึกทางหน้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2 ยามากุชิได้เป็นผู้บังคับบัญชาเรือบรรทุกเครื่องบินฮิโรยุ (ฮิริว) และทำการรบกับเรือยอร์ค ทาวน์ด้วยเครื่องบินซิโณ่ซึ่งเวลานั้นเป็นเครื่องบินที่แข็งแกร่ง จนเกือบได้รับชัยชนะ แต่ยามากุชิกลับได้ตัดสินใจผิดพลาด เพราะคิดว่าฝ่ายอเมริกาไม่โจมตีทางอากาศ เขาเลยให้นักบินของเขาพักผ่อนและให้กินข้าว หากแต่กลายเป็นว่าอเมริกาส่งเครื่องบินถล่มเรือธงของยามากูชิจนพังยับเยิน และในขณะที่เรือกำลังจะจม ยามากูชิไม่สละเรือ ขออยู่จนตายที่นี้ และประโยคสุดท้ายที่เขากล่าวลูกเรือก็คือ ขอไปชมความงามของดวงจันทร์อย่างเพลิดเพลินดีกว่า 

 
0
Red Hood 4 ก.ค. 57 เวลา 12:18 น. 20

อุ๊ต๊ะ  แม่เจ้า!!   แต่ละรูป!  เลื่อนลงมาเม้นแทบไม่ทัน

ที่ทำงานมีเด็ก ๆ อยู่กันเยอะ  มองกันตาแป๋วเลยคร๊าา!


หมดกันภาพพจน์ที่สั่งสมมา  กลายเป็น ลุงหื่น  ตามคุณแคมมี่ไปในพริบตา  

0