Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อย่าตัดสินนิสัยของใครจากสถานะที่เขาโพสต์ลงบนโลกออนไลน์ ???

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
หลายๆ คนคงเคยพูดว่า "อย่าตัดสินนิสัยของใครจากสถานะที่เขาโพสต์ลงบนโลกออนไลน์"

แต่นักจิตวิทยาที่ทำงานวิจัยทางภาษาศาสตร์-จิตวิทยา (Psycholinguistics) กลับมีความคิดต่างออกไปว่า "คำที่มนุษย์โพสต์บนโลกออนไลน์ มันก็คือตัวแทนของความคิดเขาเองนั่นแหละ!" (แถมมันยังจะเผยถึงบุคลิก, เพศ, และอายุของเจ้าของประโยคนั้นอีกด้วย — ซึ่ง 3 สิ่งนี้คือประเด็นที่ผู้วิจัยนำมาศึกษากัน ผมจะนำมาอธิบายในอีกไม่กี่ย่อหน้าถัดไปจากนี้ครับ)

จากประโยคตัวหนาข้างบน สามารถกล่าวอีกนัยนึงก็คือ ไม่มีใครที่ไหนมาบอกหรือบังคับว่าคนไหนต้องพิมพ์อะไรหรอก ดังนั้นข้อความต่างๆที่ปรากฏอยู่บนในเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ในบัญชีของบุคคลนั้นมันก็ต้องเกิดมาจากความคิดของคนคนนั้นเองสิ (คงไม่ใช่แมวตัวไหนมาพิมพ์อย่างที่หลายคนชอบโยนบาปไปให้มันเป็นแน่)... ทั้งนี้การศึกษาวิจัยฉบับก่อนๆ ที่ผู้วิจัยเรื่องนี้นำมาอ้างอิง คือมีการค้นพบว่า "ภาษา" (language) ที่เราใช้พูดและเขียนกันมาตั้งแต่อดีตมาจนถึง ณ ปัจจุบันนี้ ถือเป็นตัวกลางในการสื่อสาร โดยแปรสภาพจากสิ่งที่อยู่ในหัวสมองของเราว่า "เราคิดอะไรอยู่" ให้มันออกมาอยู่ในรูปแบบที่เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นมา (เพื่อให้ผู้อื่นสามารถจับต้องความคิดนั้นได้) นั่นก็คือภาษาหรือข้อความที่เราใช้อยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นตอนนี้เราเข้าใจตรงกันแล้วนะครับว่า "มนุษย์ใช้ภาษามาบรรยายความคิดของตนเอง"

เอาล่ะสิ... งานวิจัยฉบับนี้แลดูน่าสนใจขึ้นมาทันที เพราะนอกจากจะศึกษาเรื่องการใช้คำของมนุษย์บนโลกโซเชี่ยลมีเดียแล้ว เขายังปักหมุดชื่อหัวข้อวิจัยของเขาไว้เลยว่า "Personality, Gender, and Age in the Language of Social Media: The Open-Vocabulary Approach" ก็คือศึกษาถึง Personality, Gender และ Age ด้วย

สำหรับรายละเอียดก็มีอยู่ว่างานวิจัยทางจิตวิทยาฉบับนี้ ศึกษาข้อมูลจากการเก็บพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีเครือข่ายสังคมออนไลน์ของตัวเอง หรือที่นักข่าวชอบเรียกพวกนี้แบบติดตลกว่า "ชาวเน็ต" นั่นแหละครับ (ปกติเคยได้ยินแต่ชาวไทย ชาวสิงคโปร์ ชาวอเมริกัน ฯลฯ แต่สมัยนี้มี "ชาวเน็ต" เกิดขึ้นมาด้วยนะครับ ฮา) ผู้วิจัยได้ใช้ความรู้ทาง Psycholinguistics มาวิเคราะห์ว่าคำแต่ละคำที่คนเราเลือกใช้มาสื่อสารกันผ่านคอมพิวเตอร์ เป็นกระบวนการที่ผ่านการคิด แล้วจรดนิ้วจิ้มคีย์บอร์ดพิมพ์แต้กๆๆ ระบายออกมาเป็นชุดข้อความอันยาวเหยียดหรือสั้นๆก็ตามแต่ (ซึ่งมันประกอบด้วยกลุ่มคำต่างๆ) จากนั้นก็กดเผยแพร่ให้คนอื่นได้รับรู้กันทั้งบางนั้น มันสามารถเป็นตัวแทนที่สะท้อนบอกถึง "อะไรบางอย่าง" ที่อยู่ในจิตหรือความคิด (mind) ของคนคนนั้นได้ไหม Laughing

ซึ่งผลก็คือ ได้จริงๆ ครับ เพราะถ้าหากคุณไม่คิดแล้ว คุณก็คงไม่พิมพ์ออกมาเป็นคำๆให้เห็นได้แน่นอน (อ่านได้ในกรอบสีฟ้าในรูปด้านล่างนี้) โดยมีงานวิจัยฉบับก่อนหน้ามารองรับทฤษฎีพื้นฐานอยู่ก่อนแล้วด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ แหล่งข้อมูลจาก : http://folkswaken.exteen.com/20140607/entry

เยี่ยม

แสดงความคิดเห็น

>