Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สรุปรวบยอด “ค่ายเรื่องเล่า นิยายรัก ปี 4” วันที่ 27 กรกฎาคม 2557

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เมื่อวานผมมีโอกาสได้ไปอบรมการเขียนกับค่ายเรื่องเล่า นิยายรัก ปี 4 ของสนพ.แจ่มใสมา ขออนุญาตเล่าให้ฟังสั้นๆ ว่ารอบเช้าเป็นกิจกรรม Workshop จากพี่ปุ้ย (กิ่งฉัตร) กับพี่เอียด (ปิยะพร ศักดิ์เกษม) ส่วนรอบบ่ายเป็นการบรรยายของคุณหมอพงศกร (ที่เขียนนิยายผีผ้า เช่น สาปภูษา รอยไหม ฯลฯ) และมีพี่ๆ นักเขียนประจำสนพ.แจ่มใสเป็นคนคอมเม้นงานเขียนของผู้เข้ารอบทั้ง 20 คนที่ส่งไป (ค่ายเรื่องเล่า คนละอย่างกับ นักเขียนหน้าใส นะครับ ดูรายละเอียดได้ที่นี่ http://www.dek-d.com/writer/34720/)

 

ต่อจากนี้เป็นคำแนะนำของนักเขียนมืออาชีพหลายท่านแนะนำมา ซึ่งผมนำมาปรับสำนวนใหม่ และอาจมีเติมเสริมแต่งไปบ้างตามความเข้าใจของผมเอง (อาจจะดูเป็นเลกเชอร์นิดหนึ่ง โปรดอภัย)

 

เริ่มกันที่วางพล็อตนิยาย นิยายที่ดีต้องวางพล็อตเป็น “พล็อตหลัก-พล็อตรอง” คือมีแกนๆ เดียวแต่สามารถแตกออกมาเป็นกิ่งก้านหลายๆ สาขาได้ แต่ปัญหาที่พบในนักเขียนมือใหม่คือวางพล็อตแล้วไม่มีพล็อตหลัก มีแต่พล็อตรองเยอะๆ นำมาเรียงต่อร้อยกันเป็นเรื่องเดียว สังเกตได้ว่าถ้าเรื่องไหนไม่มีพล็อตหลักคือเมื่อลองพิจารณาดูทั้งเรื่องแล้วกลับพบว่าไม่มีส่วนไหนเด่นออกมาเลย อ่านดูแล้วเหมือนไม่มีธีมหลักของเรื่อง นั่นแหละแสดงว่าเราวางพล็อตแบบเอาพล็อตรองมาต่อกัน แต่ไม่ใช่วิธีการแบบสร้างพล็อตหลักแล้วมีพล็อตรองซับเซตอยู่ในนั้น (อันนี้ผมขยายความเอง จริงๆ ข้อความเขาจบตั้งแต่สามบรรทัดแรก)

 

ปัญหาอีกเรื่องของนักเขียนมือใหม่คือชอบไปนำฉากเด่นๆ ที่เป็นภาพจำจากนิยาย (หรือหนัง การ์ตูน) เรื่องดังๆ มาใส่ไว้ในนิยายตัวเอง คือมันอ่านแล้วจะรู้เลยว่ามาจากเรื่องไหน เช่น หนังเรื่องเดอะแมททริกซ์ ภาพจำของหนังเรื่องนี้คือฉากตัวร้ายยิงแล้วพระเอกเอนตัวหลบกระสุน ถ้าเราใส่ฉากคล้ายๆ ทำนองนี้ลงไปปุ๊บ เขาจะจำได้ทันทีว่าเราเอามาจากเรื่องไหน เพราะฉะนั้นอย่าไปเอาภาพจำจากเรื่องอื่นมาใส่ในนิยายตัวเองเด็ดขาด

 

นอกจากพล็อตแล้ว เรื่องตัวละครก็สำคัญมากเช่นกัน การสร้างตัวละครที่มีเสน่ห์จะนำพาผู้อ่านติดตามไปจนถึงตอนจบของเรื่องได้ บางคนวางพล็อตดี คาแรกเตอร์ตัวละครแม่น แต่อ่านแล้วกลับไม่รู้สึกอยากเอาใจช่วยตามตัวละคร นั่นเป็นเพราะตัวละครยังไม่มีเสน่ห์พอ และคนเขียนก็ยังไม่ได้ทำให้คนอ่านรู้สึกผูกพันกับตัวละครเหล่านั้น

 

ให้ความสำคัญกับบรรยากาศรอบด้านบ้าง บรรยายสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวละครให้คนอ่านเห็นภาพชัดในมุมกว้าง และบรรยายความรู้สึกของตัวละครให้รู้บ้างว่าตัวละครคิดเห็นหรือรู้สึกอย่างไร ไม่ใช่มาถึงก็ให้ตัวละครพูดๆๆ อย่างเดียว

 

การบรรยายความรู้สึกตัวละครไม่ควรบรรยายว่า “เธอโกรธ” “เขาเสียใจ” เพราะความรู้สึกมันจบอยู่แค่นั้น มันต่อไม่ได้ นักอ่านก็ไม่อิน แทนที่จะใช้คำตรงๆ ว่าโกรธเกลียดหรือเสียใจ ควรบรรยายว่า “เธอกำหมัดแน่นจนมือเริ่มสั่น เล็บจิกลงบนเนื้อจนแทบเรียกเลือดออกมา” คือบรรยายอ้อมๆ ให้รู้ว่าตัวละครโกรธ โดยไม่ใช่คำว่าโกรธตรงๆ (ขออภัยในสำนวนการยกตัวอย่างของผม -_-)

 

การเขียนนิยายต้องมองในรากฐานความเป็นจริง เพราะฉะนั้นความสมจริง (หรือสมเหตุสมผล) ในนิยายจึงสำคัญมาก ความสมจริงสร้างได้จากประสบการณ์ ถ้าประสบการณ์มีไม่เยอะให้สร้างประสบการณ์เทียมด้วยการอ่านหนังสือเยอะๆ แทน

 

ไม่ควรนำพล็อตเรื่องสั้นมาต่อเป็นพล็อตเรื่องยาว มันจะกลายเป็นการบรรยายยืดเยื้อมากขึ้น อันนี้ผมขอเสริมนิดหนึ่ง “พล็อตเรื่องสั้น” มันคือมีแก่นเรื่องเดียวจบ แต่พอมาทำเป็นนิยายซึ่งมีหลายแก่นในเรื่องเดียว มันก็จะกลายเป็นยืดเยื้อขึ้นไง หยิบเอานั่นเอานี่มาใส่ ยัดๆ เข้าไป พอยัดเข้าไปมากๆ ก็กลายเป็นเละ ออกทะเล ซึ่งไม่ควร ดังนั้นพล็อตที่คิดไว้ว่าจะเป็นเรื่องสั้นก็ต้องเป็นเรื่องสั้น มาทำเป็นพล็อตเรื่องยาวแบบนิยายไม่คุ้มหรอก

แสดงความคิดเห็น

>

23 ความคิดเห็น

Quantum 28 ก.ค. 57 เวลา 15:59 น. 1
 
 ต่อครับ

ส่วนตรงนี้เป็นข้อคิดที่ได้จากการไปอบรม

 

เป็นนักเขียนต้องรับผิดชอบ 3 อย่าง

1.รับผิดชอบต่องานตนเอง

2.รับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมงาน (กรณีที่ต้องร่วมงานกับสนพ.)

3.รับผิดชอบต่อสังคม (ข้อนี้สำคัญมาก เพราะงานเราเราไม่ได้เก็บไว้อ่านคนเดียว ในเมื่อมันถูกส่งต่อไปให้คนอีกกี่ร้อยกี่พันคนอ่าน เราต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมด้วย)

 

เป็นนักเขียนมือใหม่ต้องคิดนอกกรอบ เพราะปัจจุบันหนังสือมีมาก นักเขียนก็มีมากขึ้น หากเราไม่สร้างจุดเด่นให้ตัวเองขึ้นมา เราก็จะถูกกลืนหายไปกับนักเขียนคนอื่นๆ

 

สุดท้าย...นักเขียนก็เหมือนนักกีฬา นักกีฬาต้องซ้อมทุกวันถึงจะเก่ง นักเขียนก็เช่นกัน ต้องเขียนนิยายทุกวันถึงจะเก่งได้

  
0
K.W.E. 28 ก.ค. 57 เวลา 16:15 น. 3

แหม่... แอบเดจาวูนิดๆ

เป็นนักเขียนต้องรับผิดชอบ 3 อย่าง

1.รับผิดชอบต่องานตนเอง

2.รับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมงาน (กรณีที่ต้องร่วมงานกับสนพ.)

3.รับ ผิดชอบต่อสังคม (ข้อนี้สำคัญมาก เพราะงานเราเราไม่ได้เก็บไว้อ่านคนเดียว ในเมื่อมันถูกส่งต่อไปให้คนอีกกี่ร้อยกี่พันคนอ่าน เราต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมด้วย)


พอดีเพิ่งตอบกระทู้ข้างล่างแบบนี้มาหยกๆ
ข้อห้ามที่นักเขียนไม่ควรปฏิบัติมีอะไรบ้างค่ะ
ก็ออกมาคล้ายกันโดยมิได้ฮั้วกันมาก่อนแต่อย่างใด ผมตอบไปว่า

ถ้าจะเอาเป็นจริงเป็นจังล่ะก็ ขอหลักๆแค่....
- รับผิดชอบต่อผู้อ่าน (ไม่ดอง ไม่ทิ้งกันโดยไม่บอกกล่าว ไม่กราดนักอ่านเงา)
- รับผิดชอบต่อสังคม (ไม่นำนิยายประเภทสนองความนี๊ดมาแพร่หลายในบอร์ดเปิด หรือบอร์ดที่มีเด็กเยอะๆ ควรมีข้อคิดสอนใจบ้าง)
- เป็นแบบอย่างที่ดีกับนักเขียนรุ่นหลังที่จะก้าวขึ้นมา (ใช้ภาษาให้ถูก ลดการใช้อิโมในการเขียนนิยาย รักษาจรรยาบรรณนักเขียนเช่นการไม่ลอกคนอื่น)

ไม่เป๊ะแต่คล้ายๆ

แต่ข้อคิดอื่นๆที่ว่ามาผมว่าดีทั้งนั้นเลยครับ เพราะมือใหม่พลาดแบบนี้กันเยอะมาก

0
Death With Love 28 ก.ค. 57 เวลา 16:26 น. 7

เพิ่งจะตอบเรื่องความรับผิดชอบไปในอีกกระทู้ ที่ถามข้อควรปฏิบัติของนักเขียน

ต้องรับผิดชอบต่องานเขียนของตัวเองและต่อสังคม (ผมไม่ได้บอกว่าต้องรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมงาน เพราะยังไม่เคยร่วมงานกับใคร ฮา)

ทีจริงมันเป็นจรรยาบรรณในทุกอาชีพอยู่แล้ว
การเผยแพร่อะไรออกไป อย่างไรก็ไม่พ้นความรับผิดชอบของผู้สร้าง
สนองนิ๊ดตัวเอง แต่ไม่รับผลลัพธ์ที่ทำลงไป มันเป็นไปไม่ได้

0
Yukina [K : Viscountess] 28 ก.ค. 57 เวลา 17:26 น. 10

ขอบคุณมากนะคะสำหรับความรู้ดีๆ ><

ท่านคว้าน... // ปิ๊บบบบบบบบ สัญญาณขาดหาย...

// โดนท่านควอนตั้มตบปลิวออกนอกกระทู้ 

0
Lucia 28 ก.ค. 57 เวลา 17:53 น. 11

อุก..../จุกเบาๆ


คิดจะเอาพล็อตเรื่องสั้นมาทำเรื่องยาวอยู่พอดี เพราะทำให้มันจบสั้นไม่ได้จริงๆ  



//คงได้เริ่มเขียนชาติหน้าตอนบ่ายๆ 5555+

0
Ciel En Roseジン 28 ก.ค. 57 เวลา 21:42 น. 14

ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้ดีๆ ท่านยังต้องมีอบรบอีกครั้งใช่ไหมครับ ผมรอฟังความรู้ดีๆจากท่านอยู่นะครับ^^//มาช่วยดันกระทู้(ฮา)

0
นางแก้ว [Aksara] 28 ก.ค. 57 เวลา 21:48 น. 15

สะอึกตรงคำว่าพลอตหลัก - พลอตรอง

ข้าพเจ้าทำบ่ได้ พลอตมันตีกันไม่มีอะไรเด่นขึ้นมาเลย สุดท้ายก็จับๆ มาเขย่าๆๆ รวมกันเทออกมาเป็นนิยายทั้งเรื่อง หึๆ

ซึ้ง ซึ้ง ซึ้ง ซึ้ง

0
Quantum 28 ก.ค. 57 เวลา 21:52 น. 16

ใช่ครับ อบรมอีกทีวันที่ 2 ซึ่งรอบหน้าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับสำนักพิมพ์ซะส่วนใหญ่ (แต่ก็ยังมีเกี่ยวกับงานเขียนอยู่ดี) เอาเป็นว่ารอบหน้าผมจะเก็บตกที่เหลือให้หมดละกัน ฮาา

0
Quantum 28 ก.ค. 57 เวลา 21:58 น. 17

พยายามต่อไปครับ งานชิ้นแรกของผมก็จับหลายๆ พล็อตมาใส่รวมกันเหมือนกัน แต่พอชิ้นต่อมาผมจะกำหนดไว้เลยว่าจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับอะไร แล้วค่อยแตกพล็อตออกมา (ที่ผมต้องคิดแบบนี้เพราะมันมีผลเวลาตั้งชื่อเรื่องครับ ถ้าไม่มีธีมเด่นออกมาจะตั้งชื่อเรื่องลำบากมาก)

0