Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ทำไมพ่อแม่อยากให้ลูกเป็นหมอ??

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ทำไมพ่อแม่ส่วนใหญ่ถึงอยากให้ลูกเป็นหมอ?? 

แสดงความคิดเห็น

>

20 ความคิดเห็น

maplesr. 19 ส.ค. 57 เวลา 22:52 น. 2

ไม่ทุกคนหรอก พ่อแม่บางคนยังไม่อยากให้เรียนเลย
เราว่าหมองานหนักนะ ยังต้องเรียนเก่งมากๆอีก

0
Juthamas Sukkeaw 19 ส.ค. 57 เวลา 23:26 น. 3

1 คงอยากให้ลูกมีงานดีๆ มีกินมีใช้
2 สามารถทำให้พ่อแม่สบายทั้งกายและใจได้คะ
3 จะได้มีชีวิตที่มั่นคงไปตลอดไงคะ

0
Rainbow Banana 20 ส.ค. 57 เวลา 01:50 น. 4

สมัยยุค 20-30 ปีที่แล้วเศรษฐกิจมันอยู่ในช่วงเหวี่ยง ฟองสบู่แตก อาชีพเดียวที่มีการงานมั่นคงที่สุดก็มีแต่หมอ (ไม่รวย แต่ไม่ตกงาน) เพราะไม่ว่าเศรษฐกิจจะแย่ยังไง คนป่วยก็ยังต้องไปหาหมอ จึงเป็นความเชื่อฝังใจจาก Gen X ว่าเป็นอาชีพที่มั่นคงที่สุด (แต่ด้วยเศรษฐกิจสมัยนี้ อาชีพอื่นที่มีความมั่นคงก็ยังมีให้เลือกอีกเยอะ)

และพ่อแม่ที่เป็นหมอน่ะ จะไม่อยากให้ลูกเป็นหมอนะ ;p เพราะท่านรู้ว่างานมันเหนื่อยและลำบาก

0
TUX-TIX 20 ส.ค. 57 เวลา 07:55 น. 5

ในฐานะ พ่อ-แม่ ก็แค่อยากมีลูกสักคนไว้ดูแลตัวเองได้ยามแก่ (ด้านสุขภาพ) และตัวลูกมีความมั่นคงในหน้าที่การงาน 

แต่ก็ต้องดูด้วยว่า ลูกชอบไหม ใช่ไหม ถ้าไม่ใช่ก็ไม่อยากไปบังคับเค้า

จริงอย่างกระทู้ บนค่ะ ที่ว่า คนไหนที่พ่อ-แม่เป็นหมอก็ไม่อยากให้ลูกเป็นหรอก
แต่อย่างว่านะ ลูกไม้ก็หล่นไม่ค่อยจะไกลต้นหรอก เป็นหมอกันส่วนมาก ตามรอย พ่อแม่ นั่นหล่ะ 

ส่วนที่ถามว่า ทำไมพ่อแม่ ส่วนใหญ่ ถึงอยากให้ลูกเป็นหมอ 
ก็คงเพราะตัวเองไม่ได้เป็น มั้ง ทำไม่ได้ เลยอยากให้ลูกมาแบกความฝันตัวเอง แหะๆ 

เคยถามลูก ว่าเป็นหมอไหม ลูกบอกไม่เอาเหนื่อย ไม่ชอบ อิแม่จบค่า เลิกเชียร์
แล้วลูกก็บอกขำๆ ว่า เอาไหมหล่ะ เดี๋ยวหนูกับน้องส่งแม่เรียนหมอ // เย้ย 555

0
แม่ นศพ. 20 ส.ค. 57 เวลา 10:16 น. 6

1. แน่นอน ไม่ปฏิเสธ คนส่วนใหญ่รักความมั่นคง แต่ต้องอยู่ในพื้นฐานของความเป็นไปได้ คือ รักและชอบที่จะเรียน
2. เรียนได้ ไม่จำเป็นต้องเก่งยอด แต่สามารถที่จะเรียนได้
3. พ่อแม่ คือส่วนหนึ่ง แต่ส่วนที่สำคัญคือตัวผู้เรียน พ่อแม่ไม่สามารถจะไปบังคับลูกได้ทุกอย่างหรอกค่ะ
ในฐานะที่เป็นแม่ ผู้เรียนน่ะ สำคัญที่สุด ให้เก่งแต่ไม่ชอบ ก็คงไม่บังคับจิตใจลูกที่เรารักที่สุดไปทุกข์ทรมานกับสิ่งที่ไม่ใช่และไม่ชอบได้หรอกค่ะ

0
กัลย์ 20 ส.ค. 57 เวลา 10:31 น. 7

พ่อแม่ส่วนใหญ่มีประสบการณ์มามาก อยากให้ลูกเป็นหมอ เพราะ
1.จบ ม.6 สอบติดแพทย์ รู้ว่ามีงานทำแน่นอน ไม่ตกงาน
2.จบปริญญาตรีนิติศาสตร์ ไม่รู้ว่าจะจบเนติบัณฑิตเมื่อใด สอบติดผู้พิพากษา อัยการเมื่อใด อาจจะตกงานกินเงินกงสีอีกนานหลายปี หรือไม่ติดเลย การแข่งขันสูงมาก
3.ในตลาดแรงงาน งานราชการ มีแพทย์ อัยการ ผู้พิพากษาที่เงินเดือนค่าตอบแทนสูง
4.รู้อนาคตแน่นอนตั้งแต่จบ ม.6 ส่วนจบปริญญาตรีอื่นๆ ยังไม่รู้อนาคตแน่นอนว่า จะได้ทำงานอะไร
5.เมื่อปีที่แล้ว มีคนสอบติดผู้ช่วยผู้พิพากษารวม 15 คน รามคำแหง 5 คน ธรรมศาสตร์ 4 คน จุฬา 3 คน นเรศวร 1 คน พะเยา 1 คน ธุรกิจบัณฑิตย์ 1 คน จากผู้เข้าสอบเกือบ 8,000 คน(7,642 คน) อัตราเสี่ยง 0.25 หรือ 500 คน สอบติด 1 คน http://www.oknation.net/blog/print.php?id=885101
6.ข้อมูลมีอีกมากมาย หาในกูเกิ้ลดูแล้วจะรู้ ว่าทำไม

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
กัลย์ 20 ส.ค. 57 เวลา 12:07 น. 8

ผู้ที่มีสิทธิสมัครสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาต้องอายุ 25 – 60 ปี จะต้องเรียนจบปริญญาตรีกฎหมาย นิติศาสตร์บัณฑิต และจบเนติบัณฑิตด้วย นอกจากนี้ ยังต้องมีประสบการณ์ทำงาน รับราชการที่เกี่ยวกับกฎหมาย ไม่ต่ำกว่า 2 ปี หรือไม่ก็ต้องมีอายุงานเก็บคดีทางกฎหมาย เช่น ทนายความ ไม่ต่ำกว่า 2 ปี เก็บคดีได้ 20 คดี(คดีแพ่ง 5 คดี) เป็นต้น
จึงเห็นได้ว่า กว่าที่จะผ่านด่านต่างๆมาได้ จนมีคุณสมบัติครบมีสิทธิเข้าสอบผู้ช่วยผู้พิพากษานั้น ก็ไม่ใช่ได้ง่ายๆเลย และแม้ว่าโอกาสสมหวัง อาจมีไม่ถึง 1% (ปีนี้ 0.25%) แต่ก็ยังมีคนสนใจเข้าสอบกันมากมายทุกปี บางคนครั้งเดียวติด(ปริญญาตรีเกียรตินิยม) บางคนต้องสอบหลายครั้ง หรือบางคนอดทนรอสอบทุกปีไม่ไหว ต้องเบนเข็มไปทำอาชีพอื่น ไม่เอาแล้ว ผู้พิพากษา อัยการ เรียนปริญญาตรี 4 ปีจบ เรียนเนติฯ ไม่รู้ 1 ปีหรือกี่ปีจบ มีประสบการณ์งานกฎหมาย 2 ปี สรุปจบปริญญาตรีมาแล้ว 4-5 ปี ยังไม่รู้จะสอบติดผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือไม่ หรือจบ ม.6 มาแล้ว 8-9 ปี ยังไม่รู้จะสอบติดผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือไม่

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
ชญานัน 20 ส.ค. 57 เวลา 14:11 น. 9

ผู้พิพากษา อัยการ เขากำหนด คุณสมบัติไว้เยอะ จบนิติ จบเน มีประสบการณ์ทางกฎหมายที่กำหนด อายุ แล้วคณะนิติศาสตร์ เปิดสอนเกือบทุกมหาลัย เอกชน ม.ราม มีหมด คนเรียนเยอะมาก แต่ตำแหน่งงานน้อยมาก เรียกว่า 500เอา1คน ต้องสุดยอดจริง ถึงฝ่าเข้าไปได้
หมอ คนที่จะฝ่าเข้าไปได้ ก็ต้องเก่งพอตัว ทุกสนามสอบ โคว้ต้าต่างๆ กสพท. แค่เด็กเก่งหัวกะทิ แข่งกันเอง ก็เกินจำนวนรับไปมากเหมือนกัน เช่น กสพท. สมัครเป็นหลายหมื่น รับเอาหมอ อย่างเดียว(ไม่รวมทันตะ) ไม่ถึงพันคน
พ่อแม่ ทุกคน ถ้าเห็นว่าลูกตัวเองเรียนเก่ง ส่วนมากก็จะสนับสนุน ให้สอบเกือบทั้งนั้น
แต่คงไม่หวังเต็มร้อย ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ถ้าลูกเขาไม่ชอบเรียนหมอ ก็คงแล้วแต่แหละ ข้างบ้านเรา ลูกเขาเรียนเก่ง แต่ชอบวิศวะ เขาก็สอบได้ วิศวะจุฬา ก็เรียนอย่างที่เขาชอบมากกว่า แต่ในกลุ่มเพื่อนๆ เขาก็ติด กสพท.หลายคน เพราะเขาอยากเรียนหมอตลกจัง

0
เก่งหรือโง่หละ 20 ส.ค. 57 เวลา 18:17 น. 10

ตอบ ก็เพราะ มีลูกเรียนเก่งไง ก็เลยจุดประกายความหวังขึ้นมา
พ่อแม่บางคน แม้แต่จะคิด ยังไม่กล้าคิดเลย เพราะลูกเรียนโง่ 2กว่าทุกเทอม สอบทีไร
ต้องมาลุ้นว่า เทอมนี้จะตกเลขอีกอะเปล่า พ่อแม่ต้องคอยหาข้อมูล มหาลัย คณะ ที่คนสมัครน้อยที่สุดที่ไม่มีเด็กเก่งสนใจมาแข่ง ท้ายสุด ก็ได้เรียนแค่ ศิลปกรรม เอกพวกออกแบบฉากละครเวทีการแสดง เท่านั้น บางคนอยากเรียน การแสดง แต่ก็ไม่กล้าสมัคร เพราะสาขานี้คนที่อยากเป็นนักแสดง จะสนใจ

0
.... 20 ส.ค. 57 เวลา 18:23 น. 11

จริง พ่อเเม่เรานี่ก็ไม่อยากให้เราเรียนนะ
ไม่อยากให้ลูกเหนื่อย ไม่อยากให้ลำบาก
เเต่เรายืนกรานจะเรียน ก็ใจมันรักเน๊าะ

0
Oorlieveazel 20 ส.ค. 57 เวลา 21:21 น. 12

แต่ละครอบครัวต่างตั้งความหวังไว้กับลูกต่างกันค่ะ เหตุผลของครอบครัวนั้น อาจจะไม่เหมือนกับครอบครัวนี้

แต่สิ่งที่เราคิดว่าทุกครอบครัวต้องการที่สุดคือการที่ลูกสามารถช่วยเหลือตัวเอง และดูแลพ่อแม่ยามเจ็บป่วยได้ในอนาคต และอาชีพหมอก็ค่อนข้างตอบโจทย์ได้ดีเลย เพราะเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาสุขภาพโดยตรง

แต่อย่าลืมว่า .. ความสุขของลูกก็มีค่าไม่ต่างอะไรจากความสุขของพ่อแม่ 

อยากให้นึกถึงใจเขาใจเราด้วยค่ะ :)

0
แม่ นศพ. 21 ส.ค. 57 เวลา 08:01 น. 15

จริงค่ะ เพราะแม่มีลูกสองประเภท ทั้งที่เป็น นศพ. และ อีกคนต้องลุ้นทุกเทอมว่าจะผ่านหมดรึเปล่า มันเป็นธรรมดาแหละค่ะ ถ้ามีลูกเก่งและสนใจทางด้านนี้ เราก็ต้องส่งเสริม ส่วนอีกคน เราก็ต้องศึกษาและถามตัวเค้าว่า เค้าเรียนขนาดนี้ เค้าจะเลือกจะเป็นอะไร ต่างคนต่างจิตต่างใจกันค่ะ คนเก่งก็ใช่ว่าจะชอบหมอทุุกคนเมื่อไร เพื่อลูกชายติดหมอ แต่เค้าก็ยังตัดสินใจเลือกวิศวะ ฬ ซึ่งครอบครัวของเค้าก็ไม่ว่าอะไร

0
ดูเหมือนจะดี 21 ส.ค. 57 เวลา 17:15 น. 16

ดูจากนิสัยลูก ชอบอยู่กับตำรา ชอบค้นหาคำตอบ ชอบสังคมที่มีแบบแผน ชอบเห็นความเป็นความตายของมนุษย์ มีมนุษยสัมพันธ์ไม่มาก ใจเย็น อดนอนเก่ง

ที่สำคัญ มันดันเรียนเก่ง และไม่มีเป้าหมายอะไรมากในใจ พอ ยุให้เรียนแพทย์ได้

ส่วนเรื่อง รายได้ ความมั่นคง การมีหน้ามีตาในสังคม ก็เป็นประเด็นรองๆลงไป

ป.ล. เชื่อป่ะละ

0
จริงๆไม่ง่ายนะ 21 ส.ค. 57 เวลา 18:25 น. 17

ถ้าเก่ง ก็ลุยเลยครับ กสพท.กำลังรับสมัครอยู่ ยังมีที่อื่นๆอีกจะตามมา หมอรับตรงจุฬา ม.บู มช. ให้ไปสอบเลย ยังไงถ้าสอบเข้าได้ จบมายังไง ก็มั่นคงในชีวิตตัวเอง
คำว่าเก่ง ทุกรร.ก็มีเด็กเก่ง ต้องดูหลายๆอย่างประกอบ ถ้าเรียนอยู่เตรียม หรือรร.ดังๆ
สอบโอกาสติดก็มาก แต่ถ้าเก่งแต่ไม่มีใครสอบหมอติดเลยหรือนานหลายๆปีจะมีซักคน
อันนี้ถึงเก่งก็เพราะในรร.ตัวเอง ที่กล้าบอกก็เพราะ ที่รร.ผม ไม่ดังอะไร อยู่ชานเมือง พวกเด็กห้องคิง ห้องกิฟ ก็ไปลองสอบหมอทั้งนั้น แต่ไม่มีใครติดกันซักคน
ป.ล. ก็อยากเชื่อนะ ถ้าไม่มีข้อมูลมาก่อน

0
ค่านิยมคนเก่งไทย 22 ส.ค. 57 เวลา 08:39 น. 19

เรื่องค่านิยม ของคนเก่ง ที่เกือบทั้งนั้น จะเลือกสอบหมอ แล้วสอบได้ จะมีไปอีกนาน
พวกเก่งเลือกได้ จะให้ไปเรียนศิลปกรรม สังคมสงเคราะห์คงยาก ก็ขนาดคณะวิทยาศาสตร์ ยังไม่มีใครสนใจ ทั้งที่พวกนี้น่าจะเรียน เพื่อเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เท็คโนโลยี่ต่างๆมาพัฒนาประเทศ แต่ก็เมินกันทั้งนั้น เวลานี้ พวกเก่งเลือกได้เขานิยมเรียนก็พวก หมอของรัฐ ทันตะของรัฐ และวิศวะจุฬา เป็นหลักเลย เคยชวนเพื่อนที่เก่งเรียน การแสดง เขามองว่าถ้าไปเต้นกินรำกิน อายุซัก30 ก็ไม่มีใครจ้างแล้ว แต่เรียนหมอ วิศวะ ยิ่งมีประสบการณืมาก เงินยิ่งเยอะ ก็จริงอย่างที่เขาบอก

0
เก็บเงิน 22 ส.ค. 57 เวลา 16:27 น. 20

เพิ่มอีกข้อ หมอเงินเยอะ มีค่าตอบแทนอื่นๆ ค่าอยู่เวร บางคนไฟแรง ทำนอกเวลาอีกต่างหาก แต่ไม่ค่อยมีเวลาใช้เงินเท่าไหร่ งานเยอะต้องอยู่เวรบ่อยๆ
แตก็มั่นคง มีเกียรติแก่วงศ์ตระกูล ถ้าขยันมากๆ ก็มีเงินมาก แต่อีกหน่อยใช้ไม่ทัน ไปแบ่งให้สาวๆใช้โดยสิเหน่หา สรรพากร เขาจะเก็บภาษีจากผู้รับแล้วนะ

0