Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ประโยชน์ของการทำ สมาธิ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ประโยชน์ของการทำ สมาธิ 

๑.  ทำให้หลับสบายคลายกังวล
๒.  กำจัดโรคภัยไข้เจ็บ
๓.  ทำให้สมองปัญญาดี
๔.  ทำให้มีความรอบคอบ
๕.  ทำให้ระงับความร้ายกาจ
๖.   บรรเทาความเครียด
๗.  มีความสุขพิเศษ
๘.  ทำให้จิตใจอ่อนโยน
๙.  กลับใจได้
๑๐.  เวลาสิ้นลม สิ้นใจ  ( ตาย )พบทางดี
๑๑.  เจริญวาสนาบารมี
๑๒.  เป็นกุศล

โปรดสังเกตุ ประโยชน์ในข้อ ๑๐ นั้น คนเราเวลาหายใจไม่ออกจะสิ้นลมนั้นความทุกข์จะรุมเร้าขนาดไหน คิดดู แค่ใครมาปิดจมูกเราแค่ 20 วิ ช่วงนั้นเราจะดิ้นรนเอาตัวรอดขนาดไหน หากเรามีสติรู้ทัน จะช่วยเราได้ไหม


แสดงความคิดเห็น

>

10 ความคิดเห็น

einherjar 5 ก.ย. 57 เวลา 23:53 น. 1

สติ กับ สมาธิ ไม่เหมือนและไม่ใช่ตัวเดียวกันนะครับ กรุณาอธิบายให้ถูกด้วย

ยังไงช่วยอธิบายประโยชน์ข้อที่ 1 2 3 5 6 7 8 9 10 11 12 ให้ชัดเจนด้วยได้ไหมครับ
เพราะผมคิดว่ามันไม่ได้เกี่ยวกับสมาธิเท่าไหร่เลย


0
๛ไหลฤา๛ 6 ก.ย. 57 เวลา 12:09 น. 2

ข้อ 1 ทำให้หลับสบายได้จริงครับ

ก่อนหลับตานอน ท่องบทสวดมนต์ที่เราชอบสัก 2-3 รอบ แล้วหลับสบายเลยครับ 

0
einherjar 6 ก.ย. 57 เวลา 20:01 น. 3

ขอโทษนะครับ แต่ช่วยอธิบายคำว่าสมาธิในความเข้าใจของคุณหน่อย เพราะผมรู้สึกว่าเราจะมีนิยามของคำว่าสมาธิไม่ตรงกันน่ะครับ

สำหรับผม สมาธิ คือการจดจ่อตั้งมั่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งการมีสมาธิเนี่ย มันทำให้ผมหลับไม่ลงครับ เวลาผมจะนอน ผมใช้วิธี "คลาย"สมาธิ จะหลับง่ายและสบายกว่า

แล้วสมาธิของคุณ คืออาการแบบไหนเหรอครับ?

1
วุฒิ 20 ก.ค. 59 เวลา 10:27 น. 3-1

คือการทำสมาธิไม่ว่าวิธีการใดๆ คือการลดการทำงานของคลื่นสมองครับ อย่างที่บอกว่าจดจ่ออยู่กับสิ่งเดียวก็คือการลดการทำงานของสมอง ให้เหลือเพียงสิ่งเดียว(ผมเรียกว่าลดอารมณ์) เมื่อเราออกจากสมาธิสมองจะผ่อนคลาย กิจกรรมต่อจากการนั่งสมาธิในครั้งนั้นๆ ไม่ว่าจะไปทำอะไรก็จะปลอดโปร่งครับ และถ้าออกจากสมาธิแล้วไปนอนจะทำให้การนอนหลับดีมากขึ้น ในวงการแพทย์นำไปใช้ประโยชน์แล้วครับ รพ.ชื่อดังในประเทศจะเป็นศูนย์รักษาผู้ป่วยด้วยการทำสมาธิ

การทำสมาธิคือในโลกใบในนี้มีหลายวิธีครับ แต่จุดประสงค์คือ ละความคิดอันมากมายทั้งปวงในเวลานั้นให้เหลือเพียงความคิดเดียว และการทำอย่างนี้ไปสุดท้ายจะเข้าไปสู่ ภวังค์ สู่ ฌาน ลำดับต่อไปครับ
ขอแสดงความคิดเห็นเพียงเท่านี้ก่อนครับ

0
Big Snake 6 ก.ย. 57 เวลา 21:03 น. 4
สวัสดีครับคุณ einherjar ต้องขออภัยด้วยครับที่ตอบช้า เพราะยุ่งอยู่กับการทำงานทั้งวัน และต้องขอขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจติดตามกระทู้พร้อมทั้งชักถามด้วยความสงสัยในรายละเอียดของกระทู้มาว่า....  สติ กับ สมาธิ ไม่เหมือนและไม่ใช่ตัวเดียวกันนะครับ กรุณาอธิบายให้ถูกด้วย
จริงของคุณครับ  สติ กับ สมาธิ มันไม่เหมือนกัน  แต่มีความเกี่ยวพันกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ
คนเราเมื่อจะทำสมาธิให้ได้ดีนั้น ต้องอาศัยสติเป็นตัวควบคุม และเมื่อบุคคลนั้นได้ปฎิบัติสมาธิดีแล้ว ชำนาญแล้วก็จะกลายเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะ
ดีเยี่ยม ถ้าจะให้ดีให้ครบองค์ ต้องมี ศีล สมาธิ และปัญญา   สติมาปัญญาเกิด
สติจะมาได้ต้องฝึกสมาธิ  เพราะกริยา สมาธิเป็นเครื่องมือ  ทำให้สติวิ่งมาได้เร็ว
  ผมขออธิบายหัวข้อในกระทู้ดังนี้ครับ



๑.  ทำให้หลับสบายคลายกังวล
ผู้ฝึกสมาธิดีแล้ว และฝึกเป็นประจำ ทำให้นอนหลับง่าย  หลับสบาย  หลับได้เต็มอิ่ม
เพราะเมื่ออารมณ์ดี ใจเบา โดยธรรมชาติกายจะเบาไปด้วยโดยปริยายจึงหลับได้โดยง่ายและมักไม่ฝันร้าย บางที่แม้นอนน้อยชั่วโมงก็รู้สึกเต็มอิ่ม



๒.  กำจัดโรคภัยไข้เจ็บ
ผู้ฝึกสมาธิดีแล้ว และฝึกเป็นประจำจะส่งผลทางร่างกาย  อัตราการหายใจลดลง คาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง เป็นผลดีต่อปอด อัตราเต้นของหัวใจน้อยลงเป็นผลดีต่อหัวใจ  ปริมาณ กรดแลคเตท ในเลือด ซึ่งเกี่ยวกับความคิด ความวิตกกังวล จะลดลงเป็นลำดับทำให้คิดรอบคอบมากขึ้นก่อนที่จะทำอะไรลงไป เลือดจะมีความเป็นกรดสูงขึ้นเล็กน้อย แสดงถึงสุขภาพที่ดี คลื่นสมองของผู้นั่งสมาธิ จะมีความราบเรียบ และทิ้งช่วงห่างมากกว่าผู้ที่นอนหลับปกติ ความต้านทานของผิวหนังสูงขึ้นทันทีที่เริ่มมีสมาธิ 


ช่วยเสริมสุขภาพกายและให้แก้ไขโรคได้ ร่างกายกับจิตใจอาศัยกันและมีอิทธิพลต่อกัน ปุถุชนทั่วไป เมื่อกายไม่สบายจิตใจก็พลอยอ่อนแอเศร้าหมองขุ่นมัว  ครั้นเสียใจ ไม่มีกำลังใจ ก็ยิ่งซ้ำให้โรคทางกายนั้นทรุดหนักลงไปอีก  แม้ในเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ พอประสบเรื่องราวให้เศร้าเสียใจรุนแรง ก็ล้มป่วยเจ็บไข้ไปได้  ส่วนผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งสมบูรณ์ (โดยเฉพาะท่านที่มีจิตหลุดพ้นเป็นอิสระแล้ว) เมื่อเจ็บป่วยกาย ก็ไม่สบายอยู่แค่กายเท่านั้นจิตใจไม่พลอยป่วยไปด้วย ยิ่งกว่านั้นกลับใช้ใจที่สบายมีกำลังจิตเข็มแข็งนั้นหันกลับมา ส่งอิทธิพลบรรเทาหรือผ่อนเบาโรคทางกายได้อีกด้วย อาจทำให้โรคหายง่ายและไวขึ้น  หรือแม้แต่ใช้กำลังสมาธิระงับ ทุกขเวทนาทางกายไว้ก็ได้  



๓.  ทำให้สมองปัญญาดี
ผู้ฝึกสมาธิดีแล้ว และฝึกเป็นประจำทำใหเกิดปัญญาทำให้เกิดประสิทธิภาพ
ในการศึกษาเล่าเรียนและในการทำงานต่าง ๆ ทำให้เป็นผู้มีปัญญา คือ รอบรู้ในสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษภัยต่าง ๆ 
การทำสมาธินั้นไม่เพียงแต่จะสร้างความสงบให้แก่จิตใจเท่านั้น ผลการวิจัยชิ้นใหม่ที่ศึกษาเกี่ยวกับการฝึกทำสมาธิในแบบของพุทธศาสนิกชนนั้นอาจจะทำให้สมองเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างถาวรอีกด้วย นักวิจัยได้ค้นพบว่า พระสงฆ์หลายรูปผู้ซึ่งฝึกสมาธิมาเป็นเวลาหลายปีนั้น สมองส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับการเรียนรู้ และส่วนรับความรู้สึกมีกระบวนการทำงานที่ดีกว่าหลายๆคนที่ไม่เคยทำสมาธิมาก่อน
 ผลการวิจัยยังบอกอีกว่า การฝึกการทำสมาธิ เช่น การฝึกทำสมาธิในแบบของพุทธศาสนิกชนนั้นสามารถเปลี่ยนการทำงานของสมองได้ทั้งในการฝึกระยะยาวหรือระยะสั้น 



๔.  ทำให้มีความรอบคอบ
ผู้ฝึกสมาธิดีแล้ว และฝึกเป็นประจำ จะทำให้จิตใจมั่นคงไม่คลอนแคลน สุขุม มีความใจเย็น เป็นผู้มีสติ มีความรอบครอบในเรื่องต่างๆไม่หลงลืม มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามก็จะ มีสติสัมปชัญญะมากขึ้น คือ รู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาว่ากำลังทำสิ่งใด มีความรอบคอบมากขึ้น คิดก่อนทำมากขึ้น ทำงานไม่ผิดพลาด ไม่ประมาท



๕.  ทำให้ระงับความร้ายกาจ
ทำให้เป็นผู้มีความเมตตากรุณา และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทำให้ลดทิฐิ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตนเอง 



๖.   บรรเทาความเครียด
ผู้ฝึกสมาธิดีแล้ว และฝึกเป็นประจำสามารถรักษาสุขภาพได้ดี ไม่มีความเครียด 
โดยปกติสุขภาพร่างกายมักเสื่อมถอยเร็วกว่าปกติด้วยสภาพความเครียดของอารมณ์ และจิตใจ ในรูปของอาหารไม่ย่อยมีลมในช่องท้อง ปวดศรีษะ  ความดันโลหิตไม่ปกติ การหมุนเวียนของเลือดไม่สมบูรณ์ ครั้นเมื่อความเครียดหลีกหนีไป
 อาการของร่างที่เป็นผลต่อเนื่องจากความเครียดจะพลอยหายไปด้วย ผลติดตามของร่างกายจึงทำให้กลายเป็นผู้มีสุขภาพดี ผิวพรรณวรรณผ่องใสไปโดยปริยาย



๗.  มีความสุขพิเศษ
ผู้ฝึกสมาธิดีแล้ว และฝึกเป็นประจำ จะมีอยู่ช่วงหนึ่งขณะทำสมาธิรู้สึกตัวเบาสบาย มีความสุขอย่างบอกไม่ถูก
เหมือนได้อยู่ในอีกโลกหนึ่ง ที่ไม่สามารถอธิบายได้ ถ้าอยากรู้ต้องลองปฎิบัติเอาเอง รู้ได้เฉพาะตน




๘.  ทำให้จิตใจอ่อนโยน 
ผู้ฝึกสมาธิดีแล้ว และฝึกเป็นประจำ ก็ไม่ต่างจากข้อ 5 ครับ ทำให้เป็นผู้มีจิตใจละเอียดอ่อน  มีจิตใจอ่อนโยน เมตตากรุณาและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 



๙.  กลับใจได้
ผู้ฝึกสมาธิดีแล้ว และฝึกเป็นประจำ จะเป็นผู้ที่มีคุณธรรม  มีความรับผิดชอบชั่วดีมากขึ้นจากการที่ได้กระทำความผิดมา จะส่งผลทำให้สังคมสงบสุขปราศจากปัญหาอาชญากรรม และปัญหาสังคมอื่นๆ เพราะปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการฆ่า การข่มขืน โจรผู้ร้าย การทุจริตคอรัปชั่น ล้วนเกิดขึ้นมาจากคนที่ขาดคุณธรรม ผู้ที่มีจิตใจอ่อนแอ หวั่นไหวต่ออำนาจสิ่งยั่วยวน หรือกิเลสได้ง่าย 
ผู้ที่ฝึกสมาธิย่อมมีจิตใจเข้มแข็ง มีคุณธรรมในใจสูง




๑๐.  เวลาสิ้นลม สิ้นใจ  ( ตาย )พบทางดี
อันนี้สำคัญ ผู้ฝึกสมาธิดีแล้ว และฝึกเป็นประจำ จะทำให้มีสติสัมปชัญญะมากขึ้น คือ รู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาว่ากำลังทำสิ่งใด หรือไม่ว่าจะอยูในเหตุการณ์ไหน  ผู้ฝึกสมาธิดีแล้วย่อมมีสติควบคุมได้ทุกเหตุการณ์ พุทธศาสนาสอนว่าถ้าเผชิญความตายด้วยใจสงบหรือวางจิตให้เป็นกุศล จิตก็จะไปสู่สุคติได้ มีตัวอย่างมากมายในพระไตรปิฎก มีคนที่ทุกข์ทรมานมาก แต่ในจังหวะสุดท้ายก่อนที่จะตาย ได้เห็นธรรมจากความเจ็บความปวด เข้าใจแจ่มชัดถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นความไม่เที่ยงของสังขารว่าไม่น่ายึดถือ จิตก็หลุดพ้นได้ 



๑๑.  เจริญวาสนาบารมี  
ผู้ฝึกสมาธิดีแล้ว และฝึกเป็นประจำ จะเป็นการสร้างบุญสร้างบารมีไปในตัวชีวิตจะเจริญ รุ่งเรืองไม่มีวันอับจน ( คำตอบไม่ต่างจากข้อ  12  ครับ)



๑๒.  เป็นกุศล หรือเรียกอีกอย่างก็คือ บุญ
  การที่นั่งสมาธิแล้วได้บุญได้กุศล เพราะเวลานั้นเราไม่มีความคิดอกุศลใดๆเกิดขึ้นเลย
ความคิดอกุศลคืออะไร? 
ความคิดอกุศลไม่ใช่ความคิดมุ่งร้ายกับคนอื่นเสมอไป ถึงเรียกว่าอกุศล แต่จริงๆแล้วทุกๆความอยากที่เกี่ยวข้องกับตนเอง คืออกุศล บางทีเราก็เรียกอีกอย่างว่ากิเลส เช่น ตื่นมาแล้ว คิดในใจว่าเดี๋ยวจะอาบน้ำรีบไปทำงานดีกว่า นั่นก็คืออกุศลแล้ว เพราะคุณคิดถึงสิ่งที่คุณต้องการจะทำ 

ถ้าหากทุกๆสิ่งที่เราทำในชีวิตประจำวันคือความคิดอกุศล แล้วความคิดแบบกุศลคืออะไร?คิดแบบกุศลคือความคิดที่ไม่อยากได้ใคร่มี ไม่มีกิเลสใดๆ คิดแต่จะเป็นผู้ให้ คิดแต่จะทำเพื่อคนอื่น อย่างพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทุกๆพระองค์ ที่คิดแต่จะเผยแผ่หนทางดับทุกข์ให้แก่ทุกคน 

ดังนั้น การกระทำใดๆที่มีความอยากอยู่ ยังไม่ใช่กุศลกรรมแท้จริง 
แม้กระทั่งคิดว่า อยากไปทำบุญจัง อยากไปนั่งสมาธิในวัดเงียบๆให้ใจสงบ อันนี้ก็ไม่ใช่กุศลแท้ๆถามว่าทำแล้วได้บุญไหมถ้าทำไปเพื่ออยากจะได้ผลบุญ ตอบว่า ได้ แต่ว่าบุญถูลดทอนไปมาก เพราะไม่ได้ให้จากใจที่เป็นกุศลจริงๆ
0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

Big Snake 6 ก.ย. 57 เวลา 21:13 น. 6

ความหมายของสมาธิ
สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึง ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง หรือการที่จิตแนบแน่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน ๆ การฝึกสมาธิก็คือกรรมวิธีในการฝึกฝนจิตให้แน่วแน่ ฝึกรวมพลังจิต และฝึกจัดระเบียบความคิดของตน เพ่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การศึกษาเล่าเรียน การทำงานให้มีประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลิกภาพ และอย่างสูงก็เพื่อใช้เป็นฐานของปัญญาการรู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนสามารถลดละหรือเลิกกิเลสได้ตามลำดับ อันเป็นเป้าหมายทางพระพุทธศาสนา
สมาธิ เป็นภาวะกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่วในตัวเอง สุดแต่จะนำไปใช้ในทางใด ถ้าใช้ในทางผิด เช่น เพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นก็เป็น มิจฉาสมาธิ ถ้าใช้ในทางถูก ก็เป็น สัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิที่พึ่งประสงค์ในที่นี้
สมาธิอย่างไหนเป็นมิจฉาสมาธิ อย่างไหนเป็นสัมมาสมาธิ วินิจฉัยได้จากหลักเกณฑ์ดังนี้
๑.๑ ดูจากเป้าหมายที่ใช้ ถ้าใช้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ตั้งจิตแน่วแน่นั่งตกปลาหรือเล็งปืนด้วยจิตเป็นสมาธิเพื่อยิงสัตว์หรือศัตรูไม่ให้ผิดพลาด ตั้งใจแน่วแน่ขณะโจรกรรมกล่าวเท็จด้วยจิตที่เป็นสมาธิ หรือเอาใจจดจ่ออย่างแน่นแฟ้นกับแก้วสุราที่ถือดื่มอยู่ อย่างนี้เป็นมิจฉาสมาธิ ถ้าใช้เพื่อเป้าหมายตรงข้ามจากที่กล่าวนี้เป็นสัมมาสมาธิ
๑.๒ ดูจากสภาวะของสมาธิ ถ้าเป็นความแน่วแน่แห่งจิตที่ไม่แท้ ไม่บริสุทธิ์ เช่น เจือด้วยกิเลสอกุศลบางอย่าง เป็นความแน่วแน่ที่ทำให้เกาะยึดไม่นำจิตสู่การสลัดออกจากแรงดึงของกิเลส หรือสู่ความเป็นอิสระจากพันธะของกิเลส เป็นมิจฉาสมาธิ ถ้าเป็นสภาวะตรงกันข้ามเป็นสัมมาสมาธิ

0
Big Snake 6 ก.ย. 57 เวลา 21:20 น. 7

ประโยชน์จากการทำสมาธิ
โดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย


ความประสงค์ของผู้ทำสมาธิว่าจะทำสมาธิเพื่ออะไร แยกตามกิเลสของคน บางท่านทำสมาธิเพื่อให้เกิดอิทธิฤทธิ์ บางท่านทำสมาธิไม่ต้องการอะไร ขอให้จิตสงบ ให้รู้ความจริงของจิตเมื่อประสบกับอารมณ์อะไรเกิดขึ้น เพื่อจะอ่านจริตของเราให้รู้ว่าเราเป็น ราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต วิตกจริต พุทธจริต ศรัทธาจริต อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจะดูให้รู้แจ้ง เพื่อจะเป็นพื้นฐานที่เราจะแก้ไขดัดแปลงจิตของเรา เมื่อเรารู้ชัดลงไปแล้ว เรามีกิเลสตัวไหน เป็นจริตประเภทไหน เราจะได้แก้ไขดัดแปลงตัดทอนสิ่งที่เกินแล้ว เพิ่มสิ่งที่หย่อนให้อยู่ในระดับพอดีพองาม เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา
สมาธิอย่างหนึ่ง เราฝึกเพื่อให้มีสติสัมปชัญญะรู้ทันเหตุการณ์นั้นๆ ในขณะปัจจุบัน สมาธิบางอย่าง เราปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้ความเห็นภายในจิต เช่น รู้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆ รู้เรื่องอดีต อนาคต รู้อดีตหมายถึงรู้ชาติในอดีตว่าเราเกิดเป็นอะไร รู้อนาคตหมายถึงว่าเมื่อเราตายไปแล้วเราจะไปเป็นอะไร อันนี้เป็นการปฏิบัติเพื่อรู้
ทีนี้เมื่อมาพิจารณากันจริงๆ อดีตเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้ว อนาคตก็เป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ดังนั้นเรามาสนใจอยู่ในสิ่งที่เป็นปัจจุบันดีไหม
ในการปฏิบัติ ถ้าจะว่ากันโดยสรุปแล้ว เราต้องการสร้างสติให้เป็นมหาสติ เป็นสติพละ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติวินโย ไม่ได้มุ่งถึงสิ่งที่เราจะรู้เห็นในสมาธิ ที่ครูบาอาจารย์สอนว่า ทำกรรมฐานไปโน่นเห็นนี่ นี่มันใช้ไม่ได้ ให้มันเห็นใจเราเองซิ อย่าไปเข้าใจว่าทำสมาธิแล้วต้องเห็นนรก ต้องเห็นสวรรค์ ต้องเห็นอะไรต่อมิอะไร สิ่งที่เราเห็นในสมาธิมันไม่ผิดกันกับที่เรานอนหลับแล้วฝันไป แต่สิ่งที่เราจำเป็นต้องรู้ต้องเห็นนี่ คือเห็นกายของเรา เห็นใจของเรา
การภาวนาแม้จะเห็นนิมิตต่างๆ ในสมาธิ หรือรู้ธรรมะซึ่งผุดขึ้นเป็นอุทานธรรม สิ่งนั้นไม่ใช่เป็นเปอร์เซ็นต์ที่เราเอาเก็บเอาผลงานที่เราปฏิบัติได้ เพราะสิ่งนั้น เป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ เป็นอารมณ์กรรมฐานที่เกิดขึ้นในสมาธิ และเป็นสัญลักษณ์ของปัญญาที่เกิดขึ้นในสมาธิ ซึ่งเรียกว่า สมาธิปัญญา
พลังของสมาธิสามารถทำให้เกิดปัญญา เกิดความรู้เห็นอะไรต่างๆ แปลกๆ สิ่งที่ไม่เคยรู้ก็รู้ สิ่งที่ไม่เคยเห็นก็เห็น แต่สิ่งนั้นพึงทำความเข้าใจว่าไม่ใช่ของดีที่จะเก็บเอาไว้เป็นสมบัติ ให้กำหนดเป็นเพียงแต่ว่า สิ่งนั้นเป็นเพียงเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ เป็นอารมณ์กรรมฐานที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เป็นอุบายสร้างสติให้เป็นมหาสติ
หลักของพระพุทธศาสนา เราจะสรุปลงสั้นๆ ว่า เราทำสมาธิเพื่ออะไร


๑. เราทำสมาธิเพื่อให้จิตของเราสงบเป็นสมาธิ เกิดความมั่นคง สามารถที่จะต้านทานต่ออารมณ์ที่มากระทบไม่ให้เกิดความหวั่นไหว


๒. เมื่อจิตของเราสงบเป็นสมาธิปราศจากอารมณ์ เราจะได้รู้สภาพความเป็นจริงของจิตของเราที่ไม่มีอารมณ์นั้นเป็นอย่างไร เมื่อมันออกมารับรู้อารมณ์แล้ว
เมื่อเรารู้ความเป็นจริงของจิตของเรา เมื่อจิตอยู่ว่างๆ ไม่มีอารมณ์ มันสบายหรือไม่ มีความสุขหรือไม่ รู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น เราทุกข์หรือไม่ เราเดือดร้อนหรือไม่ ต้องอ่านจิตของเราก่อน
ในขั้นตอนต่อไป เราสามารถที่จะทำจิตของเรานี้ให้ดำรงอยู่ในความอิสระ ไม่ตกอยู่ในอำนาจของสิ่งอื่นใด เมื่อเราได้ทำไปเรื่อยๆ ถ้าหากว่าเรายังมีความคิดว่า การทำสมาธิต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือผู้วิเศษเข้ามาช่วยดลจิตให้ดำเนินเข้าไปสู่ความสงบสุข เข้าไปสู่พระนิพพาน ก็เป็นการเข้าใจผิด และผิดหลักของพระพุทธศาสนา
ดังนั้น ที่เรามาฝึกสมาธินี่ เพื่อให้จิตมีสมาธิ และจิตมีพลังเข้มแข็งมีสติขึ้นโดยลำดับ และเรายังมีภาระที่จะต้องฝึกสติและสมาธินี้ขึ้นไปเรื่อยๆ ตามลำดับๆ จนกว่าเราจะจบการศึกษา เมื่อจบการศึกษาแล้ว เรายังจะได้ใช้กำลังสมาธิและพลังสติไปประกอบการงานตามหน้าที่ของตนๆ เราจะต้องใช้สมาธิและสติทั้งนั้น
ทีนี้ สติ แปลว่า ความระลึก เมื่อเราตั้งใจนึกถึงสิ่งใดอย่างแน่วแน่ ความระลึกเป็นอาการของสติ ความแน่วแน่เป็นกำลังของสมาธิ มันไปพร้อมๆ กัน ทีนี้เราจะมีสมาธิและสติเข้มแข็ง เราต้องใช้การฝึก เพราะครูบาอาจารย์ทั้งหลายมองเห็นผลประโยชน์ดังที่กล่าวมา ท่านจึงได้นำพวกเรามาฝึกอบรมสมาธิ

0
๛ไหลฤา๛ 6 ก.ย. 57 เวลา 23:17 น. 8

เวลาจะนอนนั้นหากเกิดความคิด-ส่ายสับสน คิดไปต่างๆนานา ทำให้จิตใจไม่สงบ  ก็จะรวบรวมสมาธิมาอยู่ที่การสวดมนต์เรื่องเดียว ให้จิตเราไปเกาะที่การสวดมนต์ คือ มีการสวดมนต์นั้นเป็นอารมณ์ ใจก็เริ่มสงบ สักพักก็จะง่วง เพราะนิวรณ์เข้า ก็ปล่อยให้หลับไปเลย แบบนี้แหละครับ 

0
สมพิท 14 ก.พ. 61 เวลา 11:01 น. 9

ประโยชน์ 12ข้อคือผลพลอยได้จากการทำสมาธิ ถ้ายากได้ความกระจ่างเพิ่มเติมให้ลงเรียนหลักสูตรครูสมาธิ

0