Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โรคที่มาจากกรรม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
พระพุทธเจ้าตรัสถึงสาเหตุของการป่วย มีอยู่ ๔ ประการ
หนึ่ง คือเรื่องของดินฟ้าอากาศ เรื่องของอุตุ คือ หนาวไป ร้อนไป ชื้นไป ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ก็ป่วยได้

ข้อสองคือใช้กำลังงานมากเกินไป คือ ฝืนร่างกาย เช่น ยกของหนักเกินไป เดินมากเกินไป รวมถึงโหมงานหนัก และ เครียดหนักด้วย

ข้อสามคือไม่บริหารร่างกาย เอาแต่นั่ง นอน มากเกินไป กินๆนอนๆ หรือ นั่งทำงานอยู่ท่าเดียวไม่เปลี่ยนอิริยาบท ก็ป่วยได้

ข้อสี่ ข้อสุดท้ายพระพุทธเจ้าตรัสว่า ป่วยจากเวรกรรมที่ทำไว้
ตรงนี้นี่แหละ ที่วิทยาศาสตร์อธิบายไม่ได้ 
พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าเป็นไปได้ที่กรรมจะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมา 

ดังตัวอย่างเช่น มีคนหนึ่งที่เอากาวแห้งเร็วไปหยดใส่ก้นไก่ แล้วเอามือบีบให้ช่องทวารที่ก้นไก่ติดกัน ผลปรากฏว่าไก่ไม่สามารถถ่านอุจจาระได้  ไม่นานหลายวันไก่ก็ตายลงในที่สุด     ต่อมาไม่นานกรรมนี้ส่งผลให้  คนผู้ทำกรรมนั้นเกิดอาการถ่ายอุจจาระไม่ออกหลายวัน แล้วก็ตายตามไก่ไปในที่สุด นี่คือตัวอย่างจริงของโรคที่เกิดจากรรมเป็นเหตุ


แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

๛ไหลฤา๛ 25 พ.ย. 57 เวลา 21:05 น. 1

กรรมนั้นแบ่งตามความหนักเบา 4 ระดับ คือ
 1.กรรมหนัก ชื่อ ครุกกรรม ได้แก่การทำกับผู้มีคุณ เช่น พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ มารดาบิดา ครูบาอาจารย์ รวมถึงบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ เช่น พระเจ้าอยู่หัว  
ถ้ายิ่งบุคคลนั้นมีคุณมาก เราก็ยิ่งบาปมาก และถือว่าเป็นกรรมหนัก เป็นกรรมที่จะส่งผลก่อนกรรมอื่นๆ

2.กรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย ชื่อ อาสันนกรรม เพราะเราจะหน่วงเอาการกระทำเมื่อตอนนั้นมาเป็นอารมณ์ มาใส่ใจระลึกนึกถึง จึงส่งผลให้ไปเกิดที่ดีหรือไม่ดี แต่ถ้ามีครุกกรรมที่ทำไว้ ตัวครุกกรรมจะส่งผลก่อนโดยที่กรรมใกล้ตายนั้นต้านไม่ได้ ต้องเปิดทางให้ครุกกรรมก่อนเสมอ

3.กรรมที่ทำเสมอๆ ชื่อ อาจิณณกรรม คือทำเป็นประจำ ทำเป็นอาชีพ เช่นหยิบฉวยลักเล็กขโมยน้อย พูดปดตลบแตลง พูดคำหยาบ เสพของมึนเมา เล่นการพนัน ถ้ากรรม 2 ข้อแรกไม่มี กรรมนี้จะส่งผล

4.กรรมที่ไม่ได้ตั้งใจทำ ชื่อ กฏัตตากรรม คือ เดินไปชนของเขาแตก ขว้างของไปโดนหัวคนอื่น ทำของหล่นใส่เท้าคนอื่น ฯลฯ ถ้ากรรม 3 ข้อบนไม่มี กรรมนี้ถึงจะส่งผล 

************************************

(ขตสูตรที่ ๒ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ 
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ข้อ ๔)
“นรชนใด ปฏิบัติผิดในมารดา บิดา พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระตถาคต นรชนเช่นนั้นย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียนนรชนนั้นในโลกนี้ทีเดียว เพราะเหตุที่ไม่ประพฤติธรรมในมารดาบิดา และเขาละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไปสู่อบาย
ส่วนนรชนใดปฏิบัติชอบในมารดาบิดา ในพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระตถาคตนรชนเช่นนั้น ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญนรชนนั้นในโลกนี้ทีเดียว เพราะเหตุที่ประพฤติธรรมในมารดาบิดา และเขาละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ฯ”
ผู้ที่ปฏิบัติตนไม่ดีต่อ พ่อ แม่ พระพุทธเจ้า และ พระที่มีศีล จะถูกติเตียน ได้บาปมาก และต้องตกนรก
ส่วนผู้ที่ปฏิบัติตนต่อ พ่อ แม่ พระพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดี ย่อมได้รับการสรรเสริญ ได้บุญมากและได้ขึ้นสวรรค์


0
White Frangipani 26 พ.ย. 57 เวลา 18:43 น. 2

สวัสดีค่ะ


เข้ามาอ่านเรียบร้อยค่ะ

ช่วยเม้นต์ด้วยนิดหนึ่งนะคะ...

"โรคที่มาจากกรรม"...
ดัง ตัวอย่างเช่น มีคนหนึ่งที่เอากาวแห้งเร็วไปหยดใส่ก้นไก่ แล้วเอามือบีบให้ช่องทวารที่ก้นไก่ติดกัน ผลปรากฏว่าไก่ไม่สามารถถ่านอุจจาระได้  ไม่นานหลายวันไก่ก็ตายลงในที่สุด     ต่อมาไม่นานกรรมนี้ส่งผลให้  คนผู้ทำกรรมนั้นเกิดอาการถ่ายอุจจาระไม่ออกหลายวัน แล้วก็ตายตามไก่ไปในที่สุด นี่คือตัวอย่างจริงของโรคที่เกิดจากรรมเป็นเหตุ

กรรมคือการกระทำหรือผลที่ได้รับจากการกระทำจะด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม จะอย่างไรเสียอาการที่เกิดขึ้นของ กรรม นั้นก็เป็นเพียงความเชื่อ หรือเราๆจะเรียกอีกความเชื่ออีกความรู้สึกคือความ ศรัทธา และความเชื่อและความศรัทธานี้ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตาเปล่า แต่พิสูจน์ได้ด้วยความรู้สึกของส่วนตนเท่านั้น ความรู้สึกส่วนตนเกิดขึ้นได้นั้นจะเกิดเป็นความเกรง(แต่ไม่ไช่ความกลัวนะ เพราะกลัวกับเกรงนั้นคนละความรู้สึกกัน)

เมื่อเกิดความเกรง จะเกิดความรู้สึกสังวรณ์ เมื่อเกิดความรู้สึกสังวรณ์ก็จะการพินิจ พิจารณา เพื่อหยุดยั้งการกระทำ(เกิดเป็นสติ)ที่จะนำมาซึ่ง เหตุที่จะกระทำในเหตุที่จะพามาซึ่ง "กรรมที่ไม่ดี" กรรมที่ไม่ดีในที่นี้คือ ตัวอย่างของการทารุณ(สัตว์)ไก่เช่นที่เจ้าของกระทู้ยกมานี้ นั้นคือการกระทำที่นำมาซึ่ง บาปกรรม จริงแล้วการกระทำต่างๆนั้นสามารถนำมาซึ่งกรรมที่ดีและไม่ดี และเราๆชาวพุทธเรียกว่า ผลบุญและผลกรรม และแน่นอนสองเหตุนี้มาจากการกระทำของเราๆนั้นเอง ความเชื่อความศรัทธายังจะเป็นคล้ายตัวเซ็นเซ่อร์และเตือนภัยให้กับจิตใจและจิตวิญญาณได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ความเชื่อความศรัทธาที่เราๆมีอยู่นั้นเปรียบได้ดังหลักยึดเป็นที่พึ่งพาของจิตใจผู้ที่มีความศรัทธาในความดีและถูกต้องนั้นจะเป็นตัวนำไปทำในสิ่งที่ดีๆและจะนำผลที่ดีกลับมาและแน่นอนคนที่เชื่อในด้านลบนั้นก็มีและเกิดขึ้นได้เช่นกันและนั้นก็นำมาซึ่งผลด้านลบนั้นเองเพียงแต่ความเชื่อและความศรัทธานั้นต่างกัน ใครเชื่ออย่างไรกระทำอย่างไรก็จะได้อย่างนั้น

เช่นที่นักวิทยาศาสตร์ค้นบนว่าโลกนี้มีแรงดึงดูด ทุกอย่างบนโลกนี้มีแรงถ่วง เช่นหากเราโยนอะไรๆขึ้นไปบนอากาศนั้นแน่นอนจะต้องตกลงมาบนพื้นดินในที่สุดและนี่คือกฎแห่งโลกนี้นี่คือธรรมชาติของที่นี่ (ยกเว้นหากสามารถโยนออกรัศมีแรงดึงดูดนั้นก็จะหลุดไปในอวกาศนั้นคนละประเด็นในที่นี้  นั้นขอยกไปนะคะ)

เพราะฉนั้น ความเชื่อความศรัทธาเหล่านี้สามารถวัดได้ที่จิตใจของตน ทุกๆมีความรู้สึกนั้นอยู่เป็นธรรมชาติอีกด้วย ความรู้สึกว่าจะได้รับผลอย่างไรก็อยู่ที่ความเชื่อความศรัทธาของส่วนบุคคลนั้น และเช่นกันในทางกลับกันหากจะเป็นได้เช่นจะเปรียบได้กับคนที่ไม่เชื่อหรือไม่ศรัทธาอะไรเลยนั้นก็อาจจะเปรียบได้คล้ายกับคำที่ว่า "คนที่หลุดโลก"(ไปแล้ว)นั้นเอง ไม่สามารถรับรู้สิ่งใดๆได้ในการกระทำ ไม่มีตัวคอยเตือนภัย ไม่มีเซ็นเซ่อร์ ไม่กลัวหรือไม่เกรงต่อสิ่งใดๆนั้นเอง

นี่คือความเชื่อ และศรัทธา ในรูปแบบของเจ้าของเม้นต์นี้ค่ะ (ความเชื่อแบบเด็กอนุบาลล่ะ ขอให้เจ้าของกระทู้ช่วยแนะนำต่อเติมด้วยค่ะ หากเห็นว่าไม่ถูกต้อง ชอบคิด เป็นคนคิดมากค่ะเรื่องแบบนี้ เปรียบเทียบไปเรื่องเปื่อยล่ะ คุณมีอะไรที่เปรียบให้เห็นชัดเจน หรือคิดได้ง่ายๆกว่านี้หรือเปล่า หากมีนำมาแนะนำเพิ่มเติมนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ)

นับถือ ในวิธีของพุทธค่ะ คือ "ธรรมะคือธรรมชาติ การเกิดขึ้นและเป็นไป คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ เปลี่ยนแปลง และดับไปในที่สุดคือแก่นสาร นั้นเป็นกฎของที่นี่" เชื่อและศรัทธาค่ะ

เม้นต์ยาวๆเพราะชอบอ่านและคิดตามและก็ชอบพิมพ์ค่ะ

ขอบคุณสำหรับกระทู้ธรรม คอยกระทู้ต่อๆไปด้วยค่ะ^___^

0
๛ไหลฤา๛ 28 พ.ย. 57 เวลา 21:21 น. 3

สวัสดีครับ คุณลีลาวดี ผู้มีจิตใจอันงดงาม

ขอบคุณที่ให้คอมมเ้นท์อันทรงคุณค่าเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมาตลอดเวลา เรื่องศรัทธา เป็นพลังอย่างหนึ่ง ใน สี่อย่าง ที่พระพุทธองค์กล่าวไว้ พลังทั้งสี่คือ

1.พลังกรรม   2.พลังจิต  3.พลังอุตุ   4.พลังอาหาร

พลังกรรม เป็นคำตอบที่ว่า ทำไมบางคนเกิดมาร่ำรวย บางคนยากจน  บางคนสวย บางคนสูง บางคนผอม บางคนฉลาด บางคนแข็งแรง  เพราะในศาสนาพุทธไม่มีคำว่า บังเอิญ  หรือคำว่า ไม่มีเหตุ  พุทธดำรัสมีแต่บอกว่า ทุกอย่างเกิดจากเหตุ 

พลังจิต อันนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ยอมรับกันทั่วโลก  จิตสามารถสั่งกายได้ แม้แต่การเจ็บป่วยก็รักษาได้ด้วยพลังจิต ซึ่งพิสูจน์ได้  เรื่องของการทำจิตให้เป็นสมาธิ ซึ่งในศาสนาพุทธก้าวไปไกลกว่านั้นมาก 

พลังอุตุ คือ ความร้อน เย็น ก็คือ บรรยากาศโลก หรือก็คือ พลังธรรมชาตินั่นเอง เช่น พายุทอร์นาโด ไต้ฝุ่น สึนามิ  ตลอดจนภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ล้วนเกิดจากอุตุ คือความร้อนเย็นที่ไม่สมดุลย์กัน ฤดูกาลที่หมุนเวียน กระแสลม แม้แต่ในร่างกายคนก็ต้องรักษาอุณภูมิตัวเองเอาไว้ที่ 37.5 องศา

พลังสุดท้าย คือ พลังอาหาร เป็นตัวหล่อเลี้ยงให้สรรพสิ่งทั้งหลายคงดำรงอยู่ ไม่ใช่แต่สิ่งมีชีวิตเท่านั้น แม้สิ่งไม่มีชีวืตเช่นก้อนหินก็มีพลังอาหารหล่อเลี้ยงอยู่  พลังนี้อาจเข้าใจยาก เพราะวิทยาศาสตร์ยังก้าวไปไม่ลึกพอ ยกตัวอย่างเช่น นำ้ หรือเขียนเป็น องค์ประกอบเคมี คือ H2O ประกอบด้วย อะตอมของไฮโดรเจน 2 อะตอม และ ออกซิเจน 1 อะตอม  และการที่มันเกาะกันอยู่เช่นนั้นได้ก็เพราะมีพลังอาหารหล่อเลี้ยงให้ดำรงอยู่นั่นเอง

*****************************

ศรัทธา เป็นพลังของ จิต ที่สำคัญมาก เพราะ ศรัทธาตั้งต้นแล้ว พลังอื่นๆของจิตก็จะถูกปลุกขึ้นมาเป็นทอดๆ  ดังปรากฎอยู่เสมอๆ ซึ่งเรามักเห็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตมากมายล้วนมาจากพลังศรัทธาเป็นจุดเริ่มแรก

ศรัทธาถูกมนุษย์นำไปใช้ไปในทุกทิศทุกทาง จนเราไม่รู้ว่าทิศทางที่ถูกต้องที่สุดนั้นคืออะไร คำตอบดูช่างมืดมน ----------- 


...พัก 







0
White Frangipani 28 พ.ย. 57 เวลา 22:41 น. 4

สวัสดีค่ะ คุณไหลฤา

ก่อนอื่นขอเม้นท์ตรงนี้นิดหนึ่งค่ะ..."สวัสดีครับ คุณลีลาวดี ผู้มีจิตใจอันงดงาม" (ลอยแล้วลอยแล้วค่ะ  5555) ดิฉันก็เป็นคนปรกติธรรมดาเช่นคุณเช่นทุกๆคนนะคะ อาจจะมีจิตใจงดงามบ้างในบางครั้ง และก็ มีโกรธ มีเศร้า มีโมโห  มีเคืองมีน้อยใจ  เสียใจฯลฯ อะไรๆอีกมากมายหลายๆอารมณ์เช่นทุกๆคนค่ะ เพียงแต่ชอบอ่าน ชอบคิดตามชอบใช้ความคิดแกะปรัชญาธรรมเมื่อได้เห็นและรู้หรือได้อ่าน สนุกค่ะ (ชอบมาก  ชอบถาม ชอบแบ่งปัน) และยังพยายามที่จะเอาธรรมะมาเป็นที่ยึดเหนี่ยวให้อารมณ์ดีๆคงอยู่และสงบหรือเสมอต้นเสมอปลาย(อยากเป็นสุขค่ะ^ ^) ก็เท่านั้นค่ะ แต่ไม่ง่ายเลยนะ แต่ก็ขอบคุณสำหรับคำชมค่ะ

ขออนุญาตช่วยต่อเติมอีกหนึ่งพลังนะคะ นั้นคือ "พลังแห่งธรรม" พลังนี้นำมาซึ่ง อาการรู้ได้ อาการเห็นได้ อาการเข้าใจได้ อาการที่สามารถสัมผัสอะไรๆได้ด้วยจิตสำนึก อาการสดใสและเบิกบานสว่างใสวเกิดขึ้นได้ เกิดเป็นคนที่มีความเมตตา ปรานี หรือมีการให้อภัยในจิตใจ หรือแม้แต่จะนำมาซึ่งความสงบสุขส่วนตนและสังคมรอบด้านได้อย่างมหัศรรย์เมื่อเราๆเข้าถึงธรรม เช่นพระพุทธเจ้าค่ะ

พลังนี้ก็สำคัญมากๆเช่นกันในการดำรงไปในวันนี้หรือทุกๆวันตลอดไปบนโลกนี้ในภพนี้ เข้าใจเช่นนั้นค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งสำหรับกระทู้ดีๆ ขออนุโมทนาด้วยกับการให้ธรรมเป็นทานของคุณค่ะ

รอกระทู้ต่อๆไปด้วยค่ะ^___^




0