Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ข่าวร้าย สำหรับเด็กนิติศาสตร์ที่ต้องการเป็นผู้พิพากษา

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เด็กนิติศาสตร์ที่มีความใฝ่ฝันต้องการเป็นผู้พิพากษา มีข่าวว่า
จะมีการแก้ไขคุณสมบัติผู้ที่จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษา
โดยกำหนดให้มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
แต่ขณะนี้เป็นเพียงร่าง ก.ม. ยังไม่ผ่านสภา จึงยังไม่มีผลใช้บังคับ

ลองติดตามรายละเอียดเว็บ http://pantip.com/topic/32942959

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

แสดงความคิดเห็น

>

12 ความคิดเห็น

ตามนั้นV8 8 ธ.ค. 57 เวลา 09:04 น. 1

ยังไม่ได้อ่านนะ แต่ข่าวร้ายตรงไหน ในมุมคนนอก การกำหนดอายุเอาไว้แบบนี้ ทำให้เราเชื่อมั่นได้ว่าผู้พิพากษาจะมีประสบการณ์เพียงพอ และมากพอในการตัดสินใจต่างๆ ที่ต้องอ้างอิงวิจารณญานหรือบทตัดสินเก่ามากขึ้น


อนุมานเอาว่า เมื่อกำหนดอายุสูงขึ้น ชีวิตย่อผ่านอะไรมามากกว่าด้วย

0
กัลย์ 8 ธ.ค. 57 เวลา 09:37 น. 2

หัวเรื่อง ขอเน้น ข่าวร้ายสำหรับเด็กนิติฯที่ต้องการเป็นผู้พิพากษา

เพราะเดิม จบนิติฯ ทำงานมีประสบเกี่ยวกับกฎหมาย 2 ปี จบเนติฯ
อายุถึง 25 ปี ก็มีสิทธิ์สอบผู้ช่วยผู้พิพากษาได้แล้ว ถ้าเปลี่ยนเป็นอายุ 35 ปี
จะเป็นข่าวดีสำหรับเด็กนิติฯได้อย่างไร ยังงงอยู่ หรือใช้เงินพ่อแม่นานๆ
เพิ่มกว่า 10 ปี ดีกว่าจะดีกว่าเดิม

เดี๋ยวขอฟังเสียงเด็กนิติฯดีกว่า

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
กัลย์ 8 ธ.ค. 57 เวลา 09:52 น. 3

ถ้าเด็กนิติฯส่วนมากบอกว่า เป็นข่าวดี
จะแก้ไข หัวเรื่อง จากข่าวร้าย เป็นข่าวดีให้

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
ตามนั้นV8 8 ธ.ค. 57 เวลา 10:07 น. 4

เด็กจบนิติ ถ้ายังสอบผู้พิพากษาไม่ได้ จะทำมาหากินอย่างอื่นในสายงานที่เกี่ยวข้องไม่เป็นหรือไง ทำไมถึงคิดว่าต้องขอเงินพ่อแม่ไปตลอดสิบปีก่อนสอบได้

ในเมื่อมีโอกาสกว่า 10 ปีก่อนได้สอบ ทำไมไม่ไปทำงานในสายกฎหมายอย่างอื่นเอาประสบการณ์ก่อนล่ะ ทนายไง ไม่ต้องเป็นทนายกันรึ? นิติกรองค์กรอีก? Lawfirm งี้ (ถึงจะเอกชนก็เถอะ แต่ดีไม่ดีรวยกว่า เลิกหวังสอบผู้พิพากเลยมั้ง)


เอาเถอะ ไม่ไดเ้ขอความเห็นคนนอกนี่นะ

0
กัลย์ 8 ธ.ค. 57 เวลา 18:05 น. 6

ถ้าอายุ 35 ปีถึงจะสอบผู้พิพากษาได้ เป็นหมอง่ายกว่าเป็นผู้พิพากษา เพราะ
1.จบ ม.6 สอบติดแพทย์ รู้ว่าเรียน 6 ปี จบมามีงานทำแน่นอน ไม่ตกงาน
2.จบปริญญาตรีนิติศาสตร์ ไม่รู้ว่าจะจบเนติบัณฑิตเมื่อใด สอบติดผู้พิพากษา อัยการเมื่อใด อาจจะตกงานกินเงินกงสีอีกนานหลายปี หรือไม่ติดเลย การแข่งขันสูงมาก
3.ในตลาดแรงงาน งานราชการ มีแพทย์ อัยการ ผู้พิพากษาที่เงินเดือนค่าตอบแทนสูง
4.รู้อนาคตแน่นอนตั้งแต่จบ ม.6 ส่วนจบปริญญาตรีนิติศาสตร์ หรือปริญญาตรีอื่นๆ ยังไม่รู้อนาคตแน่นอนว่า จะได้ทำงานอะไรหรือไม่
5.เมื่อปีที่แล้ว มีคนสอบติดผู้ช่วยผู้พิพากษารวม 15 คน รามคำแหง 5 คน ธรรมศาสตร์ 4 คน จุฬา 3 คน นเรศวร 1 คน พะเยา 1 คน ธุรกิจบัณฑิตย์ 1 คน จากผู้เข้าสอบเกือบ 8,000 คน(7,642 คน) อัตราเสี่ยง 0.25 หรือ 500 คน สอบติด 1 คน
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=885101
6.ข้อมูลมีอีกมากมาย หาในกูเกิ้ลดูแล้วจะรู้

ลองดูเส้นทางเดินทางก่อนเป็นผู้พิพากษา
ผู้ที่มีสิทธิสมัครสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาต้องอายุ 25 – 60 ปี(อาจจะมีการแก้ไขเพิ่มอายุจาก 25 ปีเป็น 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในอนาคต)
จะต้องเรียนจบปริญญาตรีกฎหมาย นิติศาสตร์บัณฑิต และจบเนติบัณฑิตด้วย นอกจากนี้ ยังต้องมีประสบการณ์ทำงาน รับราชการที่เกี่ยวกับกฎหมาย ไม่ต่ำกว่า 2 ปี
หรือไม่ก็ต้องมีอายุงานเก็บคดีทางกฎหมาย เช่น ทนายความ ไม่ต่ำกว่า 2 ปี เก็บคดีได้ 20 คดี(คดีแพ่ง 5 คดี) เป็นต้น
จึงเห็นได้ว่า กว่าที่จะผ่านด่านต่างๆมาได้ จนมีคุณสมบัติครบมีสิทธิเข้าสอบผู้ช่วยผู้พิพากษานั้น ก็ไม่ใช่ได้ง่ายๆเลย และแม้ว่าโอกาสสมหวัง อาจมีไม่ถึง 1% (0.25%) แต่ก็ยังมีคนสนใจเข้าสอบกันมากมายทุกปี บางคนครั้งเดียวติด(ส่วนใหญ่พวกปริญญาตรีเกียรตินิยม) บางคนต้องสอบหลายครั้ง หรือบางคนอดทน รอสอบทุกปีไม่ไหว ต้องเบนเข็มไปทำอาชีพอื่น ไม่เอาแล้วผู้พิพากษา อัยการ
อุตส่าห์เรียนปริญญาตรี 4 ปีจบ เรียนเนติฯไม่รู้ 1 ปีหรือกี่ปีจบ มีประสบการณ์งานกฎหมาย 2 ปี

สรุปตอนนี้จบปริญญาตรีมาแล้ว 4-5 ปี ยังไม่รู้จะสอบติดผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือไม่ หรือจบ ม.6 มาแล้ว 8-9 ปี ยังไม่รู้จะสอบติดผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือไม่

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
PlanaRia 9 ธ.ค. 57 เวลา 08:04 น. 7

ก็ถูกแล้ว วัยวุฒิไม่พอ ประสบการณ์ชีวิตไม่พอ รู้แต่ข้อกฎหมาย จะไปตัดสินชีวิตคนอื่นนี่นะครับ คุณลองนึกภาพว่าเวลามีคดีความ ไปขึ้นศาลแล้วเจอผู้พิพากษาอายุยี่สิบต้นๆ ประมาณว่าเกาหลีไอดอลมาเลยดูสิครับ

0
Oneway 10 ธ.ค. 57 เวลา 14:55 น. 8

ผมว่ามันไม่เป็นผลดีนะครับ

ถ้าแบบนั้นผู้พิพากษากับพนักงานอัยการประสบการณ์จะไม่เท่ากันแล้วล่ะครับ แล้วมันจะถ่วงดุลกนได้อย่างไร เพราะจะเท่ากับว่าพนักงานอัยการได้เริ่มงานก่อน ทำให้มีประสบการณ์ในชั้นศาลมากกว่าผู้พิพากษาอีกครับ อีกอย่างนะครับ ถ้าผู้พิพากษาต้องรอถึงอายุ 35 ถามจริงใครจะไปรอครับ แล้วถ้าไม่รอก็ต้องทำงานอื่นก่อน พออายุครบ 35 ทั้งตำแหน่งทั้งเงินเดือนก็ไปไกลแล้วครับ และใครจะอยากออกจากงานที่กำลังรุ่งมาเป็นผู้พิพากษาครับ นอกจะจะต้องปรับขึ้นเงินเดือนผู้พิากษาครับ ไม่งั้นผมคิดว่าผู้พิพากษาจะขาดแคลนแน่

0
newyear_new 13 ธ.ค. 57 เวลา 13:14 น. 9

ไม่เห็นเกี่ยวกับวุฒิเลยนี้ค้ะ ประสบการณ์ชีวิต เด็กบางคนอาจมีประสบการณ์ชีวิตมากว่าผู้ใหญ่บางคนอีกค้ะ เด็กบางคนอาจตัดสินใจดีกว่าผู้ใหญ่บางคนอีกค้ะ
แค่ความเห็นส่วนหนึ่งค้ะ
อาจจะดูก้าวร้าวขออภัยน้ะค้ะ เหนื่อยจุง

0
คนมีความฝัน 10 ม.ค. 58 เวลา 18:02 น. 10

เป็นข่าวร้ายจริงๆ
เพราะกว่าจะเป็นท่าน ก็อายุมากแล้ว >> 35 นี่สาวๆนิติไม่ลูกสองแล้วเรอะ!!

กว่าจะเก็บอายุงานให้ขึ้นเป็นศาลสูง ก็แก่จะเกษียณอีกล่ะ >> เผลอๆไม่ได้เป็น! เป็นท่านชั้นผู้น้อยตลอดไป ไม่มีโอกาสได้สะสม ฝึกฝนงานเก๋าๆเหมือนท่านประธานศาลฎีกานะ

วัยวุฒิสูงใช่ว่าจะดี แก่แล้วโชว์กากมีถมไป
ถ้าไม่ใช่คดีขี้หมูราขี้หมาแห้งแบบศาลแขวง ซึ่งมีเยอะสุดๆและใช้ผพพ.นายเดียวล่ะก็
ศาลอื่นเขาใช้มากกว่าสองนายจ้ะ แล้วมันจะไม่ยุติธรรมได้ยังไง

ที่สำคัญ คดีแบบที่ศาลแขวงรับน่ะนะ ถ้าใครคิดว่าให้ผพพ.อายุมากพิพากษาแล้วจะยุติธรรมน่ะ
เราว่าไม่จำเป็น อุตส่าห์รอมาตั้งนาน แก่ซะขนาดนั้น ก็ควรขึ้นไปทำของยากนู่น ระดับอธิบดีศาลชั้นต้นตัดสินเลยไป
คดีง่ายๆ ไฉนมันจะคณามือท่านเล่า ถถถ
เยี่ยม

0
ชาญ ศรีดี 1 พ.ย. 58 เวลา 14:15 น. 11

ผมเห็นด้วยครับ เพราะผู้พิพากษาจะต้องมีประสบการณฺ์ชีวิตในหลายด้านรวมทั้งความรู้ทางด้านกฎหมายนำมาใช้ประกอบกันจึงจะส่งผลดีในการตัดสินคดีต่างๆ (30 ปี) น่าจะเหมาะสม

1
ภาสกร 1 มิ.ย. 60 เวลา 11:08 น. 11-1

การตัดสินคดีความต้องใช้หลักกฏหมาย อย่าใช้ความรู้สึกครับ ดูคำฟ้องคำแก้ฟ้อง เราไม่สามารถไต่สวนนอกสำนวนได้ครับ ฉะนั้นใช้หลักกฏหมายครับ ประเทศไทยใช้ (Civil Law) เป็นหลักนะครับ

0
รอรถไฟที่ป้ายรถเมล์ 19 ก.ค. 60 เวลา 19:32 น. 12

ตามนันv8 ทุกอาชีพต้องการความก้าวหน้าไม่มีใครอยากก้าวหน้าตอนใกล้เกษียณหรอกจริงไหม ที่บอกเป็นทนาย10ปี 10ปีนี้มันนานนะเว้ย

0