Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เก่งภาษาอังกฤษได้โดยไม่ต้องง้อโรงเรียนกวดวิชา

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
บทความนี้ดัดแปลงมาจาก วิธีสอบ TOEIC ให้เกิน 800 โดยไม่ต้องเข้าคอร์สให้เสียตัง ที่พี่เขียนไว้ให้คนที่จะสอบภาษาอังกฤษเพื่อเข้าทำงานครับ แต่หลักการในการพัฒนาทักษาภาษานั้นใช้ได้เหมือนกันเลย

ขอเกริ่นก่อนว่า

ตัวพี่เองไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษอะไรมากมายตั้งแต่แรก และตั้งแต่เด็กก็รู้สึกว่าตัวเองไม่ชอบวิชาภาษาอังกฤษเท่าไหร่ โดยเฉพาะ Grammar เกลียดมาก แต่จุดเปลี่ยนคือได้เจอ อ.ฝรั่ง สมัยเรียน ป.ตรี บวกกับตัวเองเป็นคนไม่กลัวที่จะพูดกับฝรั่ง (ถึงแม้จะพูดผิดพูดถูกไปเรื่อยก็ตาม) เลยรู้สึกตั้งแต่นั้นว่าภาษาอังกฤษไม่ใช่อะไรที่น่าเบื่อเหมือนเมื่อก่อน เพราะ อ. แกจะสอนแบบง่ายๆ Grammar หลวมๆ เน้นเจอบ่อยๆ แล้วฝังเข้าหัวเอง ไม่ใช่มานั่งท่อง ต่อมาพอจะต้องเรียนภาษาอังกฤษ พี่ก็มักจะเลือกเรียนกับ อ.ฝรั่ง เท่านั้น (คงเพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาเจอแต่ อ.ไทย บ้า Grammar)

ทัศนคติเลยเปลี่ยนไปนับตั้งแต่ตอนนั้น

แต่การเรียนในห้องอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ นึกดูว่า 3 หน่วยกิต หนึ่งสัปดาห์ 3 ช.ม. ไม่น่าจะทำให้เราเก่งขึ้นมาได้ ก็เลยเริ่มทำอะไรที่ต่างจากชาวบ้าน ในช่วงนั้น แฮรรี่ พอตเตอร์ ฮิตมาก แทนที่จะไปอ่านฉบับภาษาไทยที่คนส่วนใหญ่เค้าอ่านกัน พี่ก็เลือกซื้อเล่มภาษาอังกฤษมา เจอศัพท์ที่ไม่รู้เต็มไปหมด เปิดดิกเป็นว่าเล่น แต่ไม่เบื่อ เพราะอ่านแล้วสนุก เลยยอมทนเปิด เพราะถ้าเราไม่รู้ความหมาย ก็จะไม่เข้าใจเนื่อเรื่อง ก็เลยทำให้เราอดทนกับ Reading ได้มากขึ้น


และหลังจากนั้น พอมีหนังสือที่น่าสนใจ พี่ก็มักจะเลือกเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษมาอ่านเสมอ (ถึงแม้จะแพงกว่าก็ตาม) ยิ่งช่วงหลังมี iPad กับ Kindle ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ ดิกก็ไม่ต้องเปิด ใช้จิ้มดูความหมายศัพท์กันตรงนั้นเลย

และผลจากการเปลี่ยนพฤติกรรมการอ่านหนังสือของตัวเอง ย้ำ! เปลี่ยนพฤติกรรม > พยายาม เพราะความพยายามทำให้เราเหนื่อย แต่พฤติกรรมจะทำให้เราเคยชิน และเมื่อเราเคยชินกับการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษแล้ว Reading Paragraph ในข้อสอบก็ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป แถมทำได้เร็วขึ้นมาก เพราะจับใจความได้เร็ว

Listening Skill

สำหรับเด็กไทย นี่เป็นปัญหาใหญ่ยิ่งกว่า Reading แต่ข่าวดีคือถ้าเราผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ Listening จะง่ายกว่า Reading และช่วยต่อยอดการ Speaking ไปในตัวเลย

คำแนะนำของคนส่วนใหญ่คือ การดูหนังฝรั่ง แต่ปัญหาคือ ถ้าเราดูหนัง soundtrack แต่เปิด sub thai เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่ฝรั่งพูดคือ คำว่าอะไร และหลายๆ ครั้ง มันแปลไม่ตรงตัวเสียด้วยสิ

ไม่เป็นไร เรามีตัวช่วย




KMPlayer เป็นโปรแกรมฟรีที่ดูหนังที่สามารถเปิด 2 subtitles ได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้คุณสามารถจำ accent ของฝรั่งได้จาก sub eng และรู้ความหมายของสิ่งที่เค้าพูดได้จาก sub thai (แต่การติดตั้ง KMPlayer โปรดระวัง baidu นะเออ อย่าเอาแต่ Next ๆๆๆๆ)

นอกจากนี้ในยุคปัจจุบันเราก็ยังมีตัวช่วยอีกมากมายซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้เราเก่งภาษามากขึ้น แต่ยังทำให้เรา “เก่งทางความคิด” มากขึ้นด้วย

สิ่งนั้นคือ TED Talk



TED Talk เป็นการรวมการ Talk หรือจะเรียกว่าเดี่ยวไมโครโฟนที่มีสาระกว่าโน๊ส อุดม ก็ได้ครับ เพราะคนที่ขึ้นมาพูดนั้นนอกเหนือจากจะมีประสบการณ์และความรู้จริงในสิ่งที่พูดแล้ว ยังมีการนำเสนอที่ไม่น่าเบื่อด้วย โดยคุณสามารถดู TED ได้ทั้งจากหน้าจอคอมและ App บน Mobile เลยครับ

แต่ปัญหาของ TED Talk เวอร์ชั่นปกติคือ เราจะเปิดได้เพียง sub เดียว ซึ่งก็ไม่เป็นไร เพราะเรามีทางเลือกที่จะทำให้เราเปิด 2 sub ได้ นั่นคือ TEDiSUB




ซึ่งหลังจากที่ทั้งดูและฟังทั้งหนังและ TED Talk ไปซักพัก พี่การันตีว่าการฟังน้องจะพัฒนาขึ้นอย่างมาก และพี่จะบอกว่า Listening ในข้อสอบในอนาคตที่น้องจะเจอโดยเฉพาะ TOEFL (ย้ำว่า TOEFL ไม่ใช่ TOEIC) จะประมาณนี้แหละครับ

ได้เวลาเตรียมสอบ

ก่อนสอบก็ควรจะไปหาซื้อหนังสือซักเล่มเพื่อดูว่าแนวข้อสอบเป็นอย่างไร และถ้าเราฝึกทำข้อสอบก็จะทำให้เรารู้จุดบกพร่องของตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ

และแล้วพี่ก็ไปสอบ TOEIC (เต็ม 990) บ.ดังๆ ส่วนใหญ่ 700 ขึ้นไปก็สวยแล้วครับ



โดยสอบได้เกิน 800 ในครั้งเดียว (ประหยัดค่าสอบไหมล่ะ) ซึ่งเพียงพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์ของพี่ ณ เวลานั้นแล้ว

สิ่งที่พี่อยากจะเน้นก่อนจบบทความคือ ไม่ต้องออกแรงพยายามมาก แต่ให้ค่อยๆ เปลี่ยนพฤติกรรม ให้ไปโยงกับสิ่งที่เรารู้สึกสบายกับมัน อย่างของพี่ก็คือ หนังสือที่ชอบ หนังที่ชอบ และ TED Talk และสิ่งที่ได้กลับมาจะมากกว่าแค่ผลสอบที่น้องจะไปสอบด้วยครับ

แสดงความคิดเห็น

2 ความคิดเห็น