Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ระหว่างอักษรศิลปากร กับ ศิลปศาสตร์มหิดล

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คือตอนนี้ลังเลระหว่าง อักษรศิลปากร กับ ศิลปศาสตร์มหิดล (เอกอิ้งทั้งคู่) ไม่รู้ว่าจะเลือกอะไรดีค่ะ 
อยากรู้ว่าที่ไหนเรียนเข้มกว่ากัน
เพื่อนๆพี่ๆ ใครมีข้อมูลมาแชร์กันหน่อยนะคะ

แสดงความคิดเห็น

>

22 ความคิดเห็น

Noreiko Lawrence 29 ม.ค. 58 เวลา 23:45 น. 2

พี่ชื่อแสตมป์นะครับ เรียนอยู่ปีสอง ศิลปศาสตร์ มหิดล นะครับ

ถ้าถามว่าคณะไหนในสองทางเลือกของน้องที่เข้มข้นกว่า คำถามคือมันจะเป็นความเข้มข้นคนละแบบกันนะครับ อย่างคณะพี่เอง จะเรียนในทุกๆสายๆเข้มข้นอย่างทัดเทียมกัน ก็คือเรียนทั้งภาษาศาสตร์ (Phonetics, Morphology and Syntax, Phonology, Sociolinguistics) / การแปล (English <--> Thai) / วรรณคดีตะวันตก (ทั้งอังกฤษและอเมริกัน)  / วิชาทักษะ (Research Writing, Advanced Conversation, College Writing 1 & 2) และ พวกภาษอังกฤษเฉพาะทาง (English for Specific Purposes) เช่น English for Hotel, English for Business, English for Science ect. แต่จะออกเด่นไปในทางแบบท้ายสุดเสียมากกว่านะครับ

สำหรับข้อมูลที่ละเอียดกว่านี้ สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่กลุ่มนี้นะครับ 
http://www.facebook.com/groups/wannabelamu


0
มมทท 30 ม.ค. 58 เวลา 11:27 น. 3

อักษรศิลปากรมีชื่อมายาวนานกว่าการยอมรับดีกว่าคณาจารย์อาวุโสกว่า

ศิลปศาสตร์มหิดลยังต้องสั่งสมบารมีอีกเยอะค่ะ

0
PointIsiiz 31 ม.ค. 58 เวลา 18:32 น. 4

ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับเรื่องว่าที่ไหนเปิดมานานกว่าแล้วจะดีกว่าที่ที่เปิดทีหลังนะ ผมว่ามันไม่เกี่ยวกันเลย (รวมถึงคะแนนสอบเข้าด้วย มันไม่ได้วัดระดับมหาวิทยาลัย แต่มันวัดระดับคนสมัครเท่านั้นแหละ แล้วเชื่อเถอะ ร้อยละ 95 ของเด็กที่สมัคร มันก็ดูแค่ชื่อมหาวิทยาลัยเท่านั้นแหละ ไม่ได้สนหรอกว่ามหาลัยมันจะดีจริงรึเปล่า หรือหลักสูตรเป็นยังไง) ทีนี้โดยส่วนตัวเราไม่ได้มองว่าอักษรศิลปากรหรือศิลปศาสตร์มหิดลดีกว่าหรือแย่กว่า เพราะเรื่องระยะเวลาที่เปิด เพราะจริงๆอะ มหาลัยมันดีไม่ดีมันอยู่ที่บุคลากร ไม่ใช่ระยะเวลาที่เปิด (ยกตัวอย่างเช่น สมมติคณะ A มหาวิทยาลัย A เปิดมา 20 ปี มีคนจบมหาวิทยาลัยระดับกลางๆมาสอน กับคณะ A มหาวิทยาลัย B เปิดมา 5 ปี แต่มีคนจบมหาลัยอันดับต้นๆมาสอน แค่นี้ก็ต่างกันแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายถึง 2 มหาวิทยาลัยนี้นะ แต่แค่จะบอกว่ามันเป็น fallacy หรือการใช้เหตุผลที่ผิดไปนิด) แล้วนอกจากนี้ก็ไม่เกี่ยวกับคะแนนสอบที่เด็กยื่นเข้าไปด้วย จบการพรรณนา เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า สำหรับสองที่นี้ถือว่าดังทั้งคู่ อักษรศิลปากรก็อยู่มานาน ส่วนมหิดลก็ไม่ใช่มหาวิทยาลัยกระจอกๆ ดังนั้นอยากให้ชั่งน้ำหนักในปัจจัยดังต่อไปนี้
1. สถานที่ ศิลปากรรู้สึกจะเรียนแถวๆท่าพระจันทร์ (ไม่รู้ชื่อวิทยาเขต ถ้าผิดก็ขออภัย) ส่วนมหิดลเรียนที่ศาลายา นครปฐม อันนี้คือเอาความสะดวกในการเดินทางล้วนๆ รวมถึงบรรยากาศมหาวิทยาลัย (ซึ่งจริงๆแล้วปัจจัยนี้ไม่ได้สำคัญมาก และถ้ามองข้ามได้ก็จะดี เพราะมันไม่ใช่ปัจจัยที่แท้จริงในการเลือกมหาวิทยาลัย)
2. ข้อนี้สำคัญมาก คือ หลักสูตรของมหาวิทยาลัย แน่นอนว่าอักษรศิลปากรจะเน้นไปทางด้านวรรณคดีเป็นหลัก (หลักสูตรจะคล้ายๆอักษรจุฬา) ส่วนศิลปศาสตร์มหิดลจะเน้นไปในทาง Practical หรือเน้นใช้จริง (หลักสูตรจะคล้ายๆศิลปศาสตร์ มธ.) ไม่หนักวรรณคดี แต่ก็จะมีวรรณคดีให้เลือกเรียนได้ด้วย ถ้าสนใจ แต่ถ้าไม่ชอบ ก็สามารถเลือกอย่างอื่นได้ เขาไม่บังคับเหมือนศิลปากร (แต่ถ้าเข้าใจไม่ผิด ยังไงคณะเอกอิ้งทั้งหลาย ก็ต้องมีบังคับวรรณคดีบ้างอย่างน้อยที่สุดก็ตัวสองตัว เพราะขนาด มธ. ก็มีบังคับ 2 ตัว) เพราะฉะนั้น ถ้าน้องไม่ชอบวรรณคดี น้องกดปุ่ม reject ศิลปากรได้เลย แต่ถ้าน้องชอบวรรณคดี น้องก็อาจจะให้น้ำหนักศิลปากรมากกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คือ มหิดลมันก็มีวรรณคดีให้น้องเลือกอีกหลายตัว ก็อาจจะตัดสินใจลำบากหน่อย ว่าน้องอยากไปแนวๆไหน แต่ถ้าชอบความขลัง (อาศัยความรู้สึกล้วนๆ) ก็อาจจะชั่งน้ำหนักไปที่ศิลปากรมากกว่า เพราะตรงสายกว่าด้วย
3. จาก ข้อ 2 น้องอาจจะงงว่า เอ๊ะ แล้วเรียนต่างกันแบบนี้ จบไปมันจะเก่งเหมือนกันไหม ตอบเลยว่า เก่งไม่เหมือนกันแน่นอน (ไม่นับว่าไปอ่านเองจนเทพนะ เอาเฉพาะ "ตัวมหาวิทยาลัย" เพราะถ้าจะอ้างเรื่องอ่านเอง จะไปเรียนที่ไหน มหาลัยอะไรมันก็ใช้เหตุผลนี้ได้เหมือนกันหมดแหละ) ทีนี้เก่งไม่เหมือนกันในที่นี้ไม่ได้หมายถึง เก่งกว่าไม่เก่งกว่า แต่หมายถึง เก่งคนละด้าน ถ้าน้องเรียนอักษร เน้นวรรณคดี น้องจะสามารถใช้ภาษาได้ลึกซึ้ง เข้าใจแก่นของภาษา เขียนได้ดี วิเคราะห์ได้ดี อ่านได้ดี รวมถึงแปลได้ดี แต่ถ้าน้องเรียนศิลปศาสตร์ เน้นใช้จริง ก็จะประมาณว่า ฟัง-พูด-อ่าน-เขียน ได้ดี แต่อาจจะไม่ได้ซาบซึ้งเว่อร์เหมือนคนเรียนอักษร (แต่ที่แน่ๆจะได้เปรียบเรื่องฟังพูดแน่นอน อ่านเขียนอาจจะเป็นรอง) แต่ก็แข็งในระดับหนึ่งแหละ แต่สิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดน่าจะเป็นเรื่องของการใช้ภาษาในชีวิตจริงมากกว่า เพราะสุดท้ายแล้ว เป้าหมายของเราก็คือการที่เราต้องมี fluency กับ proficiency ในภาษามากพอที่จะทำงานได้อยู่ดี (ไม่นับเรียนจบไปเปิดร้านเบเกอรี่ นวดสปา บริหารโรงแรม 5 ดาว เอาเฉพาะทำงานสายตรงที่ใช้ภาษาอังกฤษ)
4. ทีนี้ก็มาดูว่าเป้าหมายที่เราต้องการอย่างแท้จริงคืออะไรหลังจากเรียนจบไป สมมติเราอยากจบไปเป็นอาจารย์ เป็นนักวิชาการ โดยส่วนตัวพี่ พี่มองว่าจบอักษรค่อนข้างแน่นกว่าในเรื่องหลักการที่มันเป็น Academic แต่ถ้าจบไปเพื่อทำงานบริษัท ติดต่อธุรกิจ แปลนิยาย เป็นล่ามไรงี้ พี่ค่อนข้างเชียร์ศิลปศาสตร์มากกว่า
5. อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยปูพื้นมาให้น้องได้ระดับนึง (แต่ปูไปคนละทางแล้วแต่หลักสูตร เช่น อักษร/ศิลปศาสตร์) แต่ที่เหลือน้องต้องไขว่คว้าเอาเอง แม้พี่จะไม่ใช้ตรรกะว่า คนขยันเรียนที่ไหนมันก็เก่ง เพราะพี่มองว่าถ้าคนขยันได้ไปอยู่ในมหาวิทยาลัยดีๆ ก็จะยิ่งเก่งกว่าอยู่ในมหาวิทยาลัยปลายแถว(ไม่งั้นคนมันไม่เรียนกันหรอก Oxford, Cambridge จริงปะ) **ไม่ได้หมายถึงศิลปากรและมหิดล แค่ต้องการยกตัวอย่างให้ชัดเจน** เพราะหลายสิ่งหลายอย่างมันไม่ได้อ่านเองได้ อย่างสมมติ วิจารณ์วรรณคดีงี้ น้องจะไปหาใครสอน หรืออย่างภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพงี้ ถ้าไม่ใช่มหาวิทยาลัย ก็ไม่รู้จะไปหาเรียนที่ไหน เพราะฉะนั้นมหาวิทยาลัยมีผลต่อตัวน้องแน่ๆ ทีนี้ที่พี่จะพูดก็คือ อย่างไรเสีย แม้มหาวิทยาลัยจะมีผลต่อตัวน้องมากน้อยแค่ไหน สุดท้ายแล้ว น้องก็ต้องเป็นคนถีบตัวเองอยู่ดี โดยการอ่านหนังสือหนักๆ อ่านหนังสือเยอะๆ เติมเต็มสิ่งที่มหาวิทยาลัยไม่ได้ให้ หรือเรียนรู้ต่อยอดจากสิ่งที่มหาวิทยาลัยให้ ยกตัวอย่างง่ายๆ มหาวิทยาลัยไม่ได้มาสอนให้น้องแตกศัพท์แบบครูพี่แนน Enconcept ละนะ หรือ Grammar เค้าก็ไม่มาปูให้น้องละนะ (ยกเว้นวิชา English Structure เห็นมีทุกมหาวิทยาลัย เรียนเกี่ยวกับ word phrase clause sentence...) เพราะฉะนั้นน้องอยากรู้ศัพท์เยอะน้องก็ต้องอ่านเอง ท่อง dictionary เองประมาณนี้
6. ถึงแม้พี่จะบอกว่าเป็นอาจารย์ไปอักษรดีกว่า แต่ก็ใช่ว่าจบมหิดลจะเป็นอาจารย์ไม่ได้นะ หรือไม่ใช่ว่าจบอักษรจะไปเป็นล่าม ไปเป็นไกด์ไม่ได้ เพราะจริงๆจบมาก็ได้ อ.บ. (อักษรศาสตร์บัณฑิต) ศศ.บ. (ศิลปศาสตร์บัณฑิต) เหมือนกัน ซึ่งพี่เห็นหลายคนบ้าบอกับชื่อวุฒิพวกนี้มาก จริงๆแล้วมันก็คือวุฒิเดียวกันแต่กระแดะแยกชื่อเท่านั้นแหละ (เหมือนชื่อคณะอะ แยกทำไมก็ไม่รู้) เพราะภาษาอังกฤษก็ Bachelor of Arts เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ฟันธงว่าสมัครงานได้เหมือนกันแน่นอน ที่เหลือก็ไปไฝว้เรื่องที่ว่าเราจะ eligible รึเปล่า (แข่งความสามารถนั้นเอง) แต่แน่นอนว่า ที่พี่พูดไปมันมีส่วน จากที่พี่เคยสอบถามอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยมาเรื่องอยากไปเป็นอาจารย์งี้ ปัจจุบันเค้าต้องการคนจบวุฒิสายที่เป็นเนื้อหา (เช่น Literature, Applied Linguistics, etc.) มากกว่าวุฒิ TESOL (Teaching English as a second language) *วุฒิ ป.โทนะ เพราะฉะนั้นถ้าน้องจบตรีสายวรรณคดีมา แล้วไปต่อโทวรรณคดี น้องก็จะสบายหน่อยและได้เปรียบกว่าคนที่ไม่ได้จบสายวรรณคดีมา แต่ถึงจบมาคนละสายก็เรียน ป.โท สาขาเดียวกันได้เหมือนกัน แต่มันอาจจะเหนื่อยกว่าหน่อยไรงี้ (เดวนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยเค้าไม่รับ ป.ตรี แล้วนะ จบโทอย่างเดียวขั้นต่ำ)
7. สมมติครุ่นคิดแล้วสุดท้ายตัดสินใจไม่ได้ มันดีทั้งคู่เลย เลือกไม่ถูก ให้น้องไปชั่งน้ำหนักที่วิชาโทแทน ต้องยอมรับว่า ศิลปากร มีสาขาวิชาเยอะกว่ามหิดลมาก แค่คณะอักษรก็ปาไปไม่รู้กี่เอก แต่มหิดลจะสามารถโทได้แค่ ไทย และญี่ปุ่น หรือไม่ก็อิ้งเพียวไปเลย เพราะมันมีแค่ 2 เอก (พวก จีน เยอรมัน เท่าที่ถามเพื่อนศิลปศาสตร์มหิดลมา รู้สึกจะเป็นเสรี)
8. เอาหลักสูตรมาให้เทียบ อักษรศิลปากร เอกภาษาอังกฤษ คลิก! ศิลปศาสตร์มหิดล เอกภาษาอังกฤษ คลิก! 

**หมายเหตุ** หากมีข้อมูลบางอย่างผิดพลาดไป ก็ต้องขอโทษด้วย และรบกวนช่วยแก้ไขให้ด้วยนะ เพราะเราไม่ได้อยู่ทั้งสองที่ (อยู่ มธ.) เพราะฉะนั้นข้อมูลเราอาจจะไม่ได้ถูกทั้งหมด แต่ข้อมูลเราเราให้อย่างเป็นกลางนะ ไม่อวยมหาวิทยาลัยใดทั้งสิ้น เพราะทั้งสองที่ก็ดีทั้งคู่ แต่ดีคนละแบบ ยังไงก็สู้ๆนะ

2
Kiatisak Witthaya 25 มี.ค. 60 เวลา 01:51 น. 4-1

คือผมอยากเข้า ศิลปศาสตร์ มธ.อะครับ พอจะมีข้อมูลเป็นไกด์ให้ไหมครับ

0
Sandrine_SKN 16 เม.ย. 60 เวลา 23:29 น. 4-2

ขอตอบข้อ1 นะคะ

คณะอักษรศาสตร์ ศิลปากร เรียนที่วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ (ทับแก้ว) จ.นครปฐม เป็นคณะที่5 ของมหาลัย แต่เป็นคณะแรกของวิทยาเขตนี้ ส่วนอีกคณะที่จะขอกล่าวถึง เพราะมีสาขาวิชาทางภาษาด้วยเรียนเน้นการใช้ภาษาแบบศิลปศาสตร์ แต่เปิดสอนแค่3ภาษา และคนส่วนมากไม่รู้ว่าคณะนี้สอนภาษาด้วย เผื่อจะมีใครสนใจค่ะ คณะนี้คือ คณะโบราณคดี ศิลปากร สาขาวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส เรียนที่ม.ศิลปากร วังท่าพระ อยู่ติดกับกรมศิลปากรกับวัดมหาธาตุท่าพระจันทร์ ตรงข้ามสนามหลวง นั่นเองค่ะ ซึ่งสาขาวิชาภาษาที่นี่ก็ดัง และสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสคณะนี้ติดท็อป5 เช่นเดียวกันกับคณะอักษรศิลปากรด้วยค่ะ

0
pameria 31 ม.ค. 58 เวลา 22:48 น. 5

สวัสดีค่ะ พี่เรียนอักษรศาสตร์ ศิลปากร เอกภาษาอังกฤษ คณะอักษรจะเน้นวรรณคดีมากกว่า แต่ก็สามารถเลือกได้ว่าจะหนักไปทางวรรณคดี ภาษาศาสตร์ หรือทางทักษะ (การฟัง การพูดในที่ประชุม การพูดเพื่อธุรกิจ การเขียนธุรกิจ การท่องเที่ยว แต่จะไม่เน้นมากเท่าศิลปาศาสตร์) ตามความเห็นเรา ถ้าคิดว่าตัวเองไม่ค่อยเก่งภาษาอังกฤษ เราว่าเรียนศิลปศาสตร์ มหิดลดีกว่าค่ะ เพราะเข้าอักษรไปก็ไม่ใช่ว่าจะได้เอกภาษาอังกฤษง่ายๆ แต่ถ้าใจรักวรรณคดี ก็แนะนำอักษร ศิลปการค่ะ สู้ๆนะ รักเลย

0
Lina3001 1 ก.พ. 58 เวลา 21:05 น. 9

โหหห คอมเม้นท์นี้สุดยอดมากๆๆๆ ขอบคุณมากๆเลยนะคะที่อธิบายละเอียดมาก ช่วยในการตัดสินใจได้มากๆเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ


เยี่ยม

0
Noreiko Lawrence 3 ก.พ. 58 เวลา 23:02 น. 11

แทรกความเห็นนี้เพิ่มนะครับ
วิชาสายวรรณคดีที่มหิดลนี่บังคับ 5 ตัว ได้แก่ ปริทัศน์วรรณคดี (Perspective on Literature) เรียนปีหนึ่งเทอมสอง , Mythological and Biblical Background to Literature (เรียกสั้นๆว่ามิตโตและไบเบิ้ล) เรียนปีสองเทอมหนึ่ง และเป็นไฮไลท์ของเอกเลย, Introduction to (British and American) Literature เรียนตอนปีสองเทอมสอง , British Literature เรียนตอนปีสามเทอมสองและ American Literature เรียนปีสี่เทอมหนึ่ง ส่วนตัวเลือกตัวเสริมก็มีราวๆ 10+ วิชาได้นะครับ

ปล. ชอบคอมเม้นต์นี้นะ ตอบละเอียดดีมาก ขนาดไม่ได้เรียนด้วยนะ

0
พี่อักษร 4 ก.พ. 58 เวลา 21:39 น. 12

อืม พี่ว่าถ้าน้องอยากได้เอก eng จริง พี่เเนะนำ มหิดลนะเพราะ อักษรต้องไปเเย่งเอกกันอีกที่สำคัญต้องได้เกรด b หรือ bบวก ถึงได้เข้า(ไม่มั่นใจว่า บี หรือ บีบวกนะ เเต่ บี เเน่นนอน) เเละที่สำคัญรับเพียง 50 คน คือเป็นเอกที่ จำกัดคนรับ ส่วน ก็กำหนดเกรดเช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นเอกฮอต ของคณะเเละเป็นเอกฮอตเลยก็ก็ว่าได้ถอนกันเเบบกระจาย เพื่อนพี่มั่นก็มานี้ก็เอก eng เต็มที่ สุดท้ายวิ่วออกไปตอนปี สอง เสียเวลาไปสองปี เพราะมันรัก eng มาก เเต่ถ้าน้อยจะเข้าอักษร พี่ขอพูดกันเเบบตรงๆเลยนะ ต้องเผื่อใจไว้บ้าง คือ ปะมานว่า ถ้าได้เอก eng พี่ก็ดีใจด้วยเเต่ถ้า เรียนไปๆมาๆมีลางบอกว่าไม่น่าจะโอขณะเดียวกันน้องก็ต้องเผื่อใจเอกอื่นเสมอนะต้องนี้สำคัญมาก ส่วนอักษร เน้น วรรณคดีจิง เเต่ ถ้าชอบประยุกต์ใช้บลาๆๆ ก็มหิดล คืออยู่ที่ว่าน้องจะชอบเเบบไหนอ่ะ ทุกอย่างมีข้อดีเเละข้อเสียเสมอล่ะ อย่างก้ตัดสินใจดีๆล่ะ กัน สู้ๆๆ มีไรทิ้งคำถามไว้ได้เดียวมาตอบให้ โชคดีน้า

0
เวอร์ริเดียน 4 ก.พ. 58 เวลา 23:04 น. 13

เสริมจากคห.บน ยืนยันครับว่าจริงเลยที่น้องต้องแย่งเอก คือถ้าน้องอยบากได้เอกอิ้งน้องเลือกเอกอิ้งตั้งแต่ตอนเข้าเลยจะดีกว่า เพราะอักษรจะยังไม่ได้เอก ต้องแย่งเอก ทำเกรด เก็บขาอยู่ดี แต่ถามว่าเอกอิ้งที่ไหนดีกว่าก็ต้องศิลปากรอย่างไม่ต้องสงสัย

แต่ทีนี้อย่างที่บอกว่าอักษรต้องแย่งเอก แต่ก็จะมีอีกคณะและเอกของศิลปากรที่น่าสนใจมากๆสำหรับน้องที่อยากเข้าเอกอิ้ง ก็คือ โบราณคดี เอกอิ้ง หรือที่เรียกกันว่าโบราณอิ้ง เรียนที่วังท่าพระตรงข้ามวัดพระแก้ว อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเรียนขุดหรืออะไรนะครับ เอกนี้เน้นภาษาล้วนๆ หลักสูตรจะเหมือนของมหิดลมากกว่าอักษร คือเน้นอังกฤษเชิงทักษะมากกว่าAcademic ไม่หนักวรรณคดีเหมือนอักษร ซึ่งความเจ๋งของมันก็คือน้องสามารถเลือกวิชาโทที่ไม่มีที่ไหนเปิดสอนในไทยนอกจากศิลปากร เช่น โบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาษาฮินดี ซึ่งถ้าพี่แนะนำก็ขอแนะนำโบราณอิ้งมากกว่าอักษร ศิลปากรหรือ ศิลปศาสตร์ อิ้งเสียอีก เพราะไม่ต้องแย่งเอก และเรื่องภาษาพี่มองว่าศิลปากรเหนือกว่ามหิดลอยู่ดี หวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจนะครับ

0
PointIsiiz 10 ก.พ. 58 เวลา 10:06 น. 15

อยากรู้จังครับว่า เอาอะไรเป็นเกณฑ์ในการบอกว่าที่ไหนดีกว่าที่ไหนครับ ปีที่เปิด? คะแนนสอบเข้า? คุณภาพอาจารย์? (อันหลังสุดถ้าคุณไม่ได้เรียนทั้งสองที่คุณก็ตัดสินไม่ได้แล้วครับ)
ปล. ผมยุศิลปศาสตร์ มธ. เอกอิ้งนะครับ เพราะฉะนั้นไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไร แค่อยากได้ข้อมูลที่มีหลักฐานอ้างอิงครับ ไม่ใช่พูดแต่ว่าที่นั่นดีกว่าที่นี่ดีกว่า อย่างผมก็ไม่มานั่งอวย ม. ตัวเองนะครับ ถึงแม้ว่าคะแนนจะสูงกว่าที่อื่น (ในบรรดา GAT ล้วน) ผมก็ไม่มานั่งข่มมหาวิทยาลัยอื่น ว่าที่ไหนดีกว่าไม่ดีกว่า ในเมื่อผมไม่เคยไปเรียนที่อื่น แล้วผมจะวัดด้วยอะไรครับ?? ถ้าพูดถึงเรื่องชื่อเสียงนี่จะดูเป็นรูปธรรมมากกว่าดีกว่าไม่ดีกว่านะครับ

1
เวอร์ริเดียน 12 ก.พ. 58 เวลา 22:57 น. 16

ตัววัดก็จากหลายข้อครับ 1. คุณภาพของบัณฑิตที่จบไป อัตราการได้งาน เงินเดือน 2. คุณภาพจากการประเมิน 3. ปีที่เปิดและโครงสร้างหลักสูตร คณะเปิดนานหลักสูตรย่อมแข็งแรงและแน่นอนกว่าเป็นธรรมดา และ4. คำบอกเล่าของเพื่อนร่วมคณะต่างมหาลัย รวมไปถึงประสบการณ์ตรงที่พบเจอและสามารถนำมาบอกต่อกันได้

ก็ต้องขอออกตัวก่อนว่าไม่มีเจตนาข่มม.อื่นและอวยม. ตัวเองหรอกนะครับ เพราะก็จบมาละ แต่ที่กล้าพูดเพราะประสบการณ์ตรงของตัวเองและคำบอกเล่าจากเพื่อนๆ เริ่มต้นการทำงานก็พบเจอกับเพื่อนร่วมงานที่มาจากคณะเดียวกัน ต่างมหาลัย ไอเราก็สามารถสังเกตได้ว่าคนไหนคือตัวท็อป และพวกตัวท็อปก็จะมาจากสถาบันที่โด่งดังเรื่องภาษาอยู่แล้ว ก็คือจุฬา มธ. มก. ศิลปากร การทำงานเราก็พบเจอเพื่อนร่วมงานจากหลายม. ด้วยกันครับ บอกตรงๆว่าจากประสบการณ์ตรง นอกจากสี่ม. ที่กล่าวไปข้างต้น คนจบมาคุณภาพยังเป็นรองครับ นอกจากนี้ก็ย่อมได้ยินคำบอกเล่าจากเพื่อนๆทั้งจากม. เราและม. อื่น จบมาใช่ว่าจะตัดขาด ก็ยังติดต่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอยู่

ที่กล่าวไปข้างต้นก็ไม่อาจสามารถสรุปได้ครับ แต่ที่ผมได้พูดไปเป็นคำแนะนำจากประสบการณ์ตรง ซึ่งความเชื่อถืออาจไม่มากแต่ก็ประมาณหนึ่ง จึงพอจะอนุมานเอาเองได้ แต่ก็ต้องพูดอีกว่าไม่มีเจตนาดิสเครดิตม. ใดหรือยกม. ใดข่ม ทั้งหมดเป็นเพียงแค่ความคิดเห็น มุมมอง ส่วนตัวที่ได้มาจากทั้ง4ข้อที่กล่าวไปในตอนแรกครับ เพราะฉะนั้น คุณอาจไม่ได้คำตอบจากผมว่าทำไมผมถึงคิกว่าที่ไหนดีกว่า แต่คิดซะว่าเป็นมุมมองและประสบการณ์ที่พบเจอนำมาบอกเล่าละกันครับ แต่ทั้งหมดที่พูดมาเราพูดกันแค่องค์รวมครับในการแยกคุณภาพ ซึ่งถามว่าแน่นอนไหมก็คงไม่ เพราะยังไงก็ต้องมีคนหัวกะทิจากม. อื่นที่เก่งกว่าคนกลางๆหรือปลายๆของ4ม. อยู่แล้ว

ปล. ก็หวังว่าผมอาจพอได้ตอบอะไรที่พอเป็นรูปธรรมไปบ้างนะครับ สุดท้ายก็ขอให้น้องตั้งใจเรียนครับ จากหลายๆคอมเม้น ดูน้องเป็นคนที่มุ่งมั่นดี มีอะไรสงสัยก็ทิ้งข้อความไว้ได้ครับ ว่างๆผมก็จะมาตอบให้

0
เอก ภาษาไทย มศก. 16 ก.พ. 58 เวลา 05:03 น. 17

พี่เรียนอักษรปี 2 ค่ะ คือ พี่ว่าน้องตั้งพร้อมที่จะรับจุดข่มเเละจุดหวานของสิ่งที่น้องเลือกให้ได้นะค่ะ คืออย่างอักษร มศก. เนี่ยคือต้องเเข่งขันกันทำเกรดให้ได้ตามภาควิชานั้นๆตั้งไว้ค่ะ อย่าง eng นี้คือขอยืนยันอีกเสียงค่ะ ว่าเป็นสาขาที่โหดจิงๆ คือตอนปฐมนิเทสรุ่นพี่ถามว่าใครอยากเรียนเอก eng บ้างยกมือเเบบเเทบหมดรุ่นค่ะซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีพี่ด้วนเเล่ะ 5555 เเต่เรียนไปๆๆมาๆๆรู้สึกเเบบล้าๆๆก็เลยเปลี่ยนเอกไปเก็บเอกอื่นค่ะ พี่ว่าตรงนี้ก็คือจุดหวานของมศกนะ บอกตามตรงตินที่พี่เข้าอยากเรียน eng เหมือนกันเเต่พอเข้าไปก็เริ่มเปลี่ยนความคิด 55555 เพราะ eng นี้คือเเบบ ตอนเรียนโรงเรียนนี้คือ เกรดโอเค เเกท อังกฤษก็ไม่ได้เลวร้ายอเจอ เเค่ เบสิก eng 1 ที่เด็กอักษรต้องเรียนถึงกับกระอักเลือดเลย นี่จุดข่มของที่นี่ส่วนจุดหวานก็มีนะ คือ ไม่ชอบเปลี่ยนเอกโท ไม่ได้ เรียกได้ว่าเปลี่ยนกันมันกันเลยที่เดียว ได้ค้นพบตัวเองที่ไม่เคยรู้ว่าเราอาจจะชอบอะไร พี่ว่าตรงนี้ก็ดีไปอีกเเบบ แต่เท่าที่อ่านนี้น้องดูมุ่งมั่น eng มาก พี่เเนะนำมหิดลดีกว่า เพราะยื่นไปได้เอกเลย เเต่อย่างที่บอกไปถ้าน้องอยากได้ eng อักษร มศก. อยากเรียนที่นี้พี่ก็ยินต้อนรับน่ะค่ะ เเต่น้องก็ต้องพร้อมที่จะเสี่ยงกับเอกเเละโทที่น้องอยากได้เเละทำใจได้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นข้างหน้าก็ตาม พี่ว่าสิ่งนี้คนที่จะเรียนที่นี้ต้องมีค่ะ
ปล.พูดจากประสบการณ์จริงที่เคยสัมผัสมานะค่ะ ขอพูดเเบบตรงๆเลย ส่วนทางมหิดลพี่ไม่ทราบข้อมูลอะไรรอให้พี่มหิดลมาตอบเนอะ
อย่างไงก็ เป็นกำลังใจให้ค่ะ อักษร มศก. ยินดีต้อนรับเสมอ เเต่ต้องมาพร้อมกับความปล่อยวางนะ

0
อัลไล 27 ก.พ. 58 เวลา 23:36 น. 19

เข้าใจที่คนพยายามอธิบายว่า ศิลปศาสตร์ มหิดล ก็ดีไม่แพ้สถาบันอื่นนะ

แต่คุณต้องยอมรับจริงๆ ว่าคณะที่เพิ่งก่อตั้งได้ไม่นาน กับคณะที่ก่อตั้งกันชนิดวางรากฐานมายาวนาน มันต่างกันเหมือนต้นไม้เพิ่งโตกับต้นไทรที่รากมันหยั่งลึกอ่ะ

ดังนั้นถ้าเทียบสองเจ้านี้ เราให้ภาษี ศิลปากร ดีกว่า เพราะเคยเจอและเคยร่วมงานกับคนจบอักษร ศิลปากร ส่วนมหิดลสายศิลป์นั้นไม่เคยเจอเลยไม่รู้ว่าเป็นไง

0
ซื่อสัตย์ 28 ก.พ. 58 เวลา 19:22 น. 20

ถ้าจะพูดว่ามหาวิทยาลัยไม่มีส่วนสำคัญในการเข้าทำงาน ผมว่ามันค่อนข้างไม่จริงนะครับ เพราะ ส่วนใหญ่ประเทศไทยจะดูชื่อสถาบันและคณะ อย่างเช่น ถ้าเทียบระหว่าง ม A กับ ม B ซึ่งสมมุติว่าคณะ ม A ที่มีการแข่งขันสูงกว่า คณะ ม B เด็ก ม เอ ที่เข้ามาได้มีคะแนนสูงมาก แต่อยู่มหาวิทยาลัยที่ไม่ดังระดับประเทศแต่ดังเฉพาะคณะ แต่ ม บี เป็นมหาวิทยาลัยที่ดังกว่า ม เอ มีคณะเดียวกันกับ ม เอ แต่ความมีชื่อเสียงคณะด้อยกว่ามเอที่เป็นมหาวิทยาลัยที่ระดับล่างกว่า เพราะ ฉะนั้น มหาวิทยาลัยที่ดังกว่า ใช่ว่าจะดังเด่นทุกสาขาวิชา งั้นคงไม่มีคำว่า เรียนครู ไป มศว เรียน อักษร ไป ฬ เรียน นิติ ไป มธ เรียน มนุษ ไป เกษตร เรียนแพทย์ ไป มหิดล หรอกครับ เพราะ ว่าแต่ละที่มีความโดดเด่นไม่เหมือนกัน แต่ผมเชื่อว่าเรียนที่ไหน จบมา เริ่มต้น 0 เท่ากันหมด คนที่จบม ดังๆ ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จหมดทุกอย่าง ส่วนคนที่จบ ม ล่างๆ ใช่ว่าเขาจะด้อยกว่าคนที่จบ มดังๆ เพราะ แต่ละคนมีทางเดินที่ต่างกันครับ เช่น มีรุ่นพี่ผมคนนึง แกสอบติด ธรรมศาสตร์ ครับ แกสอบติดนิติ แต่แกต้องสละหน้าที่ มาดูแลแม่ที่ป่วย แกเลยเลือกเรียน มหาวิทยาลัยใกล้บ้านที่ไม่ได้มีชื่อเสียงทางด้านิติเลย แต่แกก็เก่งได้ครับ ผมจึงเชื่อ มหาวิทยาลัย มันก็คือใบเบิกทางใบแรก แต่หลังจากที่คุณจบมาต่างหาก นั้นแหละคือ ของจริง
เป็นกำลังใจให้เจ้าของ กระทู้ครับ

0