Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เรื่องควรรู้ของคนปั่นจักรยาน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


การตรวจเช็คจักรยานหลังอุบัติเหตุ
ตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา มีผู้ใช้จักรยานในชีวิตประจำวันมากขึ้นหลายเท่าตัว ไม่ว่าจะเป็นด้านการออกกำลังกาย การปั่นจักรยานไปทำงานในย่านตัวเมือง และปั่นท่องเที่ยว แต่เช่นเดียวกับยานพาหนะอื่นๆ อุบัติเหตระหว่างการใช้จักรยานนั้นเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ถ้าเราประสบอุบัติเหต จักรยานชนหรือล้ม ความเสียหายเล็กๆ น้อยๆ ที่เราไม่ได้ตรวจสอบอาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่หรือส่งผลร้ายแรงในอุบัติเหตครั้งหน้าได้ เราจะเช็คความเสียหายจักรยานเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง? วันนี้เรามีคำแนะนำการสำรวจจุดสำคัญต่างๆ ของจักรยานมาฝากกันค่ะ
1. หมวกกันน๊อค: หมวกกันน๊อคจักรยานส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้รับแรงกระแทกได้ครั้งเดียว หมวกที่คุณภาพดีจะแตกเวลาล้มเมื่อหมวกแตกมันจะช่วยกระจายแรงกระแทกออกจากศีรษะ ในขณะที่หมวกราคาถูก ที่ราคาไม่สูงมากจะไม่แตก เนื้อโฟมจะไม่ให้ตัวส่งผลให้แรงกระแทกกลับมาที่ศีรษะของผู้ใช้ และอาจจะได้รับความกระเทือนมากกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าล้มจนหมวกกระแทกให้เช็คความเสียหายว่ามีรอยร้าวหรือเปล่า ถ้ากระแทกแรงก็ไม่ควรใส่หมวกกันน๊อคซ้ำ
2. เฟรม: เช็คหารอยร้าว และรอยบุบ โดยเฉพาะบริเวณท่อคอ กระโหลก ตะเกียบหน้า ตะเกียบ หลัง ดรอปเอาท์ และรอยเชื่อมต่างๆ ถ้าพบจุดไหนผิดปกติควรปรึกษาร้านจักรยาน ร่องรอยเสียหายบางจุด หากใช้ซ้ำๆ โดยไม่ตรวจสอบก่อนอาจทำให้เฟรมเสียหายหนักกว่าเดิม 
3. ล้อและเบรค: หลังจากการล้มให้ลองยกจักรยานขึ้นแล้วหมุนทั้งล้อหน้าและหลัง เช็คดูว่าล้อหมุนตรงได้ศูนย์ดีหรือเปล่า ลองจับล้อส่ายซ้ายขวาเพื่อดูอาการดุมล้อ ซี่ล้อก็สำคัญซึ่งหลังการล้มและชนอาจทำให้ซี่ล้อหย่อนคลายตัวได้ ลองกำเบรคดูว่าเบรคนั้นตั้งตรงศูนย์ ไม่เบี้ยวไปติดของล้อหรือเปล่า
4. แฮนด์และสเต็ม: จุดที่ปะทะได้ง่ายกว่าส่วนอื่นๆ ของจักรยานก็คือบริเวณจุดบังคับรถอย่างแฮนด์และสเต็ม เช็ครอยบุบ (กรณีแฮนด์อลูมินัม) หรือรอยร้าวหากใช้แฮนด์ที่ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ กำเบรคหน้าแล้วลองยกหน้ารถเพื่อส่ายหน้ารถซ้าย-ขวา เช็คว่า headset มีปัญหาหรือเปล่า ถ้าจุดบังคับรถได้รับความเสียหายจะทำให้เราบังคับจักรยานได้ไม่ตรง 
5.  อะไหล่ส่วนอื่นๆ: เบาะ หลักอาน ชุดเกียร์ ตีนผี บางชิ้นส่วนอาจซ่อมได้ แต่จุดที่ละเอียดอ่อนอย่างตีนผี ถ้าเสียหายหนักก็เปลี่ยนเลยจะดีกว่า 
ได้ทราบเทคนิคการตรวจเช็คจักรยานกันไปแล้ว ขอให้ทุกคนปลอดภัยจากการปั่นนะค่ะ ทางที่ดีทำประกันจักรยานเอาไว้ อุ่นใจกว่าเยอะ เพราะนอกจากจักรยานเกิดหายขึ้นมา ก็ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะประกันจ่ายให้แล้ว กรณีเกิดออุบัติเหตุบาดเจ็บจากการขี่ ตัวนักปั่น และคู่กรณีก็ยังได้รับความคุ้มครองอีกด้วย

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น