Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ภัยจากสังคมออนไลน์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ภัยอันตรายจากออนไลน์
 เริ่มด้วย -การสั่งของทางอินเตอร์เน็ต
จขกท.เป็นคนนึงที่สั่งของทางอินเตอร์เน็ต เคยสั่งของไปในราคาที่สูงมากเป็นพันขึ้น ตอนนั้นก็ไม่รู้หรอกว่าจะได้ของหรือเปล่า เพราะพี่ที่สั่งของบอกว่าขอเลื่อนการส่ง ตอนนั้นคือใจหายเลยว่าจะได้ของหรือเปล่า แต่ก็ได้มา จขกท.รู้จักกับพี่เค้าทางไลน์ และมีรุ่นพี่ที่โรงเรียนสั่งของทางเน็ต(สั่งเสื้อผ้า) ราคาก็แพงอยู่พอสมควร พี่เค้าโอนตังค์ ผ่านไป2สัปดาห์พี่เค้าก็ยังไม่ได้ของ เลยโทรไปหาทางร้าน สรุปร้านไม่มีของให้ แล้วร้านก็คืนเงินให้ไม่ขอโทษด้วย
 -การดาว์โหลดไฟล์ต่างๆ
การดาว์โหลดไฟล์ต่างๆจากอินเตอร์เน็ต อาจจะมีไวรัสเข้ามาในเครื่องแล้วทำให้เครื่องพังได้ และข้อมูลในเคื่องไม่ว่าจะเป็นรหัสบัญชี รหัสอีเมล์ต่างๆอาจจะหายไปเพราะคนที่มาเอาเป็นพวกมิจฉาชีพ อาจจะเอารหัสบัญชีธนาคารของเราไปถอนตังค์ออกมาหมด
 -การติดต่อกับคนแปลกหน้า ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด เพราะการติดต่อกันบนอินเทอร์เน็ตอาศัยเพียงการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันเป็นหลัก จึงอยู่บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ การเชื่อในข้อความหรือรูปภาพที่ได้รับ ซึ่งอาจนำไปสู่ผลลัพธ์หรืออันตรายที่คาดไม่ถึง เป็นต้นว่า เพื่อนแช็ตของเราแทนที่จะเป็นเด็กรุ่นเดียวกัน เมื่อนัดพบจริงๆ กลับกลายเป็นคนแก่รุ่นพ่อเราจึงควรระมัดระวังเรื่องของการให้ข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า อย่าเชื่อข้อมูลหรือสิ่งที่ได้อ่านหรือได้เห็นบนอินเทอร์เน็ตง่ายๆ และที่สำคัญคืออย่านัดพบกับคนแปลกหน้าโดยเด็ดขาด หลายกรณีที่เกิดขึ้นคือเด็กสาวหลงเชื่อเพื่อนแช็ตแล้วนัดพบกันจึงโดนข่มขืนทำร้าย ในบางกรณีแม้เด็กสาวไม่ยอมให้นัดพบ แต่คนร้ายมาดักรอที่หน้าสถานศึกษา เนื่องจากมีการแลกเปลี่ยนรูปถ่าย บอกชื่อสถานศึกษา และให้เบอร์โทรศัพท์ไประหว่างการแช็ต
 -เนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต มีทั้งที่สร้างสรรค์และตรงกันข้าม ข้อมูลบางอย่างขัดต่อกฎหมาย วัฒนธรรม ศีลธรรม และมาตรฐานอันดีงามของสังคม บนอินเทอร์เน็ตมีเว็บไซต์ลามก ภาพความรุนแรง มีการเล่นพนัน โฆษณาชวนเชื่อ ข้อมูลโน้มน้าวชักจูง หรือกระทู้วิพากวิจารณ์แรงๆ การรู้จักเลือกบริโภคในสิ่งที่เป็นประโยชน์ย่อมทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ในขณะเดียวกัน การแสดงออกทางความคิดก็ควรกระทำด้วยความสุภาพ รู้จักเปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพให้เกียรติผู้อื่นด้วยเช่นกัน
 -การกระทำผิดกฎหมาย เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาบนอินเทอร์เน็ต บางครั้งผู้ใช้กระทำความผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น ดาวน์โหลดเพลงมาฟัง ส่งต่อคลิปวิดีโอ โพสต์กระทู้วิจารณ์ดาราดัง ประกาศขายไต ฯลฯ หากเพลงที่ดาวน์โหลดมาฟังนั้นเป็นเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์มาก็เท่ากับเราทำผิดกฎหมายด้วย การส่งต่อคลิปวิดีโอหรือเขียนกระทู้ที่ทำให้มีผู้เสียหายก็เป็นความผิด การประกาศขายไตของเราเองก็ผิดกฎหมายห้ามซื้อขายอวัยวะ มิจฉาชีพยังใช้อินเทอร์เน็ตในการฉ้อโกงเราด้วย เช่น การเปิดเว็บไซต์ปลอมเพื่อลวงเอาหมายเลขบัตรเครดิต โพสต์กระทู้เชิญชวนให้ซื้อโทรศัพท์มือถือราคาถูกซึ่งไม่มีอยู่จริง การส่งโปรแกรมโจมตีระบบคอมพิวเตอร์หรือขโมยข้อมูลผู้อื่น เหล่านี้เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
 -การใช้เวลามากเกินไปบนโลกออนไลน์ ย่อมทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย จิตใจ หน้าที่การงาน และผลเสียทางด้วย
 วิธีป้องกันภัยออนไลน์
  1.ให้รู้ตัวเสมอว่าเราอยู่ที่ไหน – ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่สาธารณะ – และระมัดระวังการใช้งานคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่เริ่มเปิดเครื่อง ดังนี 
ก่อน Login เข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ ต้องมั่นใจว่าไม่มีใครแอบดู Password ของเราได้

เมื่อไม่ได้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ควรล็อคหน้าจอให้อยู่ในสถานะที่ต้องใส่ค่า Login ป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้อย่างสะดวก

อย่าประมาทในการใช้งานอินเตอร์เน็ต ตระหนักไว้ว่าข้อมูลความลับและความเป็นส่วนตัวของเราอาจถูกเปิดเผยได้เสมอใน โลกออนไลน์ แม้เราจะระมัดระวังมากเพียงใดก็ตาม

2. กำหนด Password ที่ยากแก่การคาดเดา ควรมีความยาวไม่ต่ำกว่า 8 ตัวอักษร และใช้อักขระพิเศษ ไม่ตรงกับความหมายในพจนานุกรม เพื่อให้เดาได้ยากมากขึ้น และการใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วไป เช่น การ Login ระบบ e-mail , ระบบสนทนาออนไลน์ (chat) ระบบเว็บไซต์ที่เราเป็นสมาชิกอยู่ ทางที่ดีควรใช้ password ที่ต่างกันบ้างพอให้จำได้ หรือมีเครื่องมือช่วยจำ password เข้ามาช่วย

3. สังเกตขณะเปิดเครื่อง ว่ามีโปรแกรมไม่พึงประสงค์รันมาพร้อมๆ กับการเปิดเครื่องหรือไม่ ถ้าดูไม่ทัน ให้สังเกตระยะเวลาบูตเครื่อง หากนานผิดปกติ อาจเป็นไปได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ติดปัญหาจากไวรัส หรืออื่นๆได้

 4.ไม่ควรเข้าเว็บไซต์เสี่ยงภัย เว็บไซต์ประเภทนี้ ได้แก่

เว็บไซต์ลามกอนาจาร

เว็บไซต์การพนัน

เว็บไซต์ที่มีหัวเรื่อง “Free” แม้กระทั่ง Free Wi-Fi ที่เราคิดว่าได้เล่นอินเตอร์เน็ตฟรี แต่อาจเป็นแผนของ Hacker ให้เรามาใช้ระบบ Wi-Fi ก็เป็นได้ ให้คิดเสมอว่า “ไม่มีของฟรีในโลก” หากมีการให้ฟรีก็ต้องของต่างตอบแทน เช่น โฆษณาแฝง เป็นต้น

เว็บไซต์ที่ให้โหลดโปรแกรม ซึ่งมีการแนบ file พร้อมทำงานในเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ไฟล์นามสกุล .exe .dll .vbs เป็นต้น

เว็บไซต์ที่แจก Serial Number เพื่อใช้ crack โปรแกรม

เว็บไซต์ที่ให้ download เครื่องมือในการเจาะระบบ (Hacking Tools)

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

เว็บไซต์ที่มี Link ไม่ตรงกับชื่อ โดย Redirect ไปอีกหน้าเพจหนึ่งที่ชื่อไม่ตรงกับ domain ที่ต้องการใช้งาน

เว็บไซต์ที่มีหน้าต่าง pop-up ขึ้นหลายเพจ

เว็บไซต์ที่มีชื่อ domain ยาวและมีเครื่องหมายมากเกินปกติ ไม่ใช่ชื่อที่เหมาะแก่การตั้ง เช่น www.abc-xyz-xxx.com มีเครื่องหมาย “–” มากเกินไป

เว็บที่ทำตัวเองเป็น Proxy อนุญาตให้เราใช้งานแบบไม่ระบุชื่อ (anonymous) เนื่องจากผู้ใช้ Free proxy มักประมาทและคิดถึงแต่ผลประโยชน์ จนลืมคิดไปว่าการได้ IP Address ปลอม จากการใช้ Anonymous Proxy อาจจะถูกสร้างมาเพื่อดักข้อมูลของเราเสียเองก็ได้

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นข้อสังเกตเว็บไซต์เสี่ยงภัย หากหลีกเลี่ยงการเข้าเว็บที่มีลักษณะดังกล่าวไม่ได้ ก็ควรตั้งสติ รอบคอบ และระมัดระวังในการใช้งานเว็บไซต์ข้างต้นเป็นพิเศษ


แสดงความคิดเห็น

>