Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

นักจิตวิทยากล่าวว่า! สภาวะ ‘PMS‘ อาการของผู้หญิงที่ผู้ชายควรเข้าใจ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


ภาวะ PMS (Premenstrual syndrome) เป็นกลุ่มอาการทางกาย-พฤติกรรม-และอารมณ์ ที่เกิดขึ้น "ก่อนมีประจําเดือน" อาจมีอาการได้ถึง 2 สัปดาห์ก่อนมีประจําเดือน (luteal phase) อาการจะดีขึ้นและหมดไปเมื่อประจําเดือนมา หรือ 2 – 3 วันหลังมีประจําเดือน

PSM นั้นจัดอยู่ในระดับไม่รุนแรงถึงรุนแรงปานกลาง โดยทั่วไปแล้วจะไม่ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน อาการที่พบบ่อยได้แก่ บวม เจ็บเต้านม ปวด ศีรษะ น้ําหนักเพิ่ม นอนไม่หลับ รับประทานมากขึ้น สมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน โดยข้อมูลทางสถิติพบว่า 75% ของสตรีวัยเจริญพันธุ์มีอาการ PMS นี้

อย่างไรก็ตาม ในผู้หญิงบางคนจะกลับพบว่า ภาวะ PMS ของตนมีอาการขั้น "รุนแรง" ในกรณีนี้ทางจิตวิทยาคลินิกจัดว่าเป็นโรค PMDD (Premenstrual Dysphoric disorder) อันนี้จัดเป็นอาการทางจิตเวชซึ่งถือเป็นความผิดปรกติและควรเข้ารับการบำบัด

กลุ่มอาการของ PMS ที่รุนแรง (หรือ PMDD) มักเกิดขึ้น 1-2 สัปดาห์ก่อนมีประจําเดือน (luteal phase) และอาการหายไปภายใน 3 วันหลังมีประจําเดือน (follicular phase) โดยอาการจะเป็นรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการงาน สังคม และความสัมพันธ์ต่อบุคคลอื่นๆ

อาการสําคัญของ PMDD ได้แก่ Marked depress , appreciable anxiety , lability , decrease interest activity มีการศึกษาในเชิง prospective, longitudinal study และ clinical evidence พบว่า PMDD มีแนวโน้มจะมีอาการรุนแรงขึ้น และมีอาการไปจนถึงวัยหมดประจําเดือน (menopause) และอาการจะดีขึ้นหากมีการตั้งครรภ์ อุบัติการณ์นี้พบได้ 3-8% ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ (อายุที่เริ่มมีอาการประมาณ 20 ปี) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการรักษาในระยะแรก (อาจใช้เวลาประมาณ 10 ปี) ดังนั้นอายุที่เริ่มมารับการรักษาประมาณ 35 ปี

แหล่งที่มา = https://www.facebook.com/PsychologistCafe ตั้งใจ

แสดงความคิดเห็น

>