Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

+++ มาร +++

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ชื่อว่า มาร เพราะกำจัด ขัดขวาง หรือปิดกั้น กลั่นแกล้ง และหน่วงเหนี่ยว มิให้บุคคลกระทำความดี 

ที่ว่า กำจัด คือทำให้ตาย เรียกว่า มัจจุมาร

ที่ว่า ขัดขวาง คือทำให้พิการ เจ็บป่วย เดินไม่ได้ มองไม่เห็น ฯลฯ เรียกว่า ขันธมาร

ที่ว่า ปิดกั้น คือ ทำให้ไปเกิดในภูมิที่ปฏิบัติธรรมไม่ได้ คือ ไปเกิดอยู่ในอบายภูมิ ฯลฯ เรียกว่า อภิสังขารมาร

ทีีว่า กลั่นแกล้ง คือ ใช้อำนาจสร้างอุปสรรค คือ พวกสัมภเวสี และเทวดาชั้นต่ำ ที่ชอบกลั่นแกล้งมนุษย์อย่างหนึ่ง

อีกอย่างหนึ่งคือ มีกิจด่วน มีเหตุจำเป็น มีคำสั่งด่วน เกิดจราจล ฯลฯ เรียกว่า เทวบุตรมาร

ที่ว่าหน่วงเหนี่ยว คือ ทำให้ลุ่มหลง ติดพัน ไม่อาจสละได้ เรียกว่า กิเลสมาร

****************

มาร มีหน้าที่ ล่อลวง เอาอกเอาใจ ปิดบังความจริงมิให้มนุษย์มองเห็น ฉะนั้น มาร จึงมิได้มาในรูปของความน่ากลัว ตรงข้าม มาร มักมาในรูปของ ความน่ารักน่าชอบใจ
มาร คือผู้สร้างความพึงพอใจ เพื่อให้มนุษย์ห็นดีเห็นงามไปกับกระแสโลก
มารสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินในโลก มาหลอกล่อเอาใจ เรียกว่ามารดักบ่วงเอาไว้ (บ่วงมาร) เพราะเมื่อมนุษย์หลงเพลิดเพลินไปแล้วก็ยากที่จะได้ดวงตาเห็นสัจจธรรมตามเป็นจริง ยากที่จะเข้าใจพระธรรม คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
มารคือผู้อำนวยความสะดวก เพื่อให้ชาวโลกติดอยู่ในความสุขสบาย  แล้วครอบงำหมู่สัตว์ไว้ให้เป็นไปตามอำนาจ จนต้องหลงวนเวียนอยู่ในวัฏฏะทุกข์ ทุกข์ซ้ำแล้วซ้ำอีก ร้องให้น้ำตานองเป็นเอนกชาติ อย่างไม่มีทางหลุดพ้นไปได้ กระนั้นมนุษย์ก็ยังพอใจคบหากับหมู่มารมากกว่าคบหากับพระอริยะ พระพุทธเจ้าจึงตรัส ภาษิตว่า



เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา

ผู้ใดสำรวมระวังจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงมาร








แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

๛ไหลฤา๛ 2 พ.ค. 58 เวลา 11:51 น. 1
จากโอวาสสี่ท่านเหลี่ยวฝาน
ความดีที่ทำผิดหรือทำถูก ในแคว้นหลู่สมัยชุนชิวนั้น 
เป็นแคว้นเล็กๆ ไม่ค่อยจะมีกำลังไปสู้รบกับใคร จึงมักถูกแคว้นอื่น บุกเข้ามาจับราษฎรไปเป็นทาสเสมอหากราษฎรในแคว้นหลู่ ถูกจับไปเป็นเชลยในแคว้นอื่น หากมีคนไถ่ออกมาได้ ส่งคืนแคว้นหลู่ จะได้รับเงินจำนวนหนึ่งเป็นการตอบแทน  ใครใจบุญอยากทำความดี ก็นำเงินไปไถ่มาคืนเจ้าผู้ครองแคว้นหลู่ ก็จะได้รับเงินรางวัลทันที

ต่อมา ท่านจื่อก้ง ซึ่งเป็นศิษย์เอกของท่านขงจื๊อ ก็ไปไถ่เชลยศึกมาให้แคว้นหลู่ โดยไม่ยอมรับเงินรางวัล เพราะท่านมีฐานะดีอยู่แล้ว ทำไปโดยมิหวังผลตอบแทนใดๆ แต่เมื่อท่านขงจื๊อทราบเรื่องเข้า ท่านก็โกรธลูกศิษย์ของท่านมาก ท่านบอกว่า แคว้นหลู่นั้นคนจนมีมาก คนรวยมีน้อย ต่อนี้ไป คงจะไม่มีใครกล้าไปไถ่เชลยศึกอีกแล้ว เพราะท่านจื่อก้งไปทำตัวอย่างเอาไว้เช่นนี้ ก็มีแต่คนที่มีฐานะดี จึงจะกล้าเอาอย่างท่านจื่อก้งได้ ส่วนคนที่ไม่ค่อยจะมีเงินนัก ต่างก็ไม่ทำความดีอีกต่อไป 

****************

ปรารถนาดี

ผู้หญิงท้องแก่คนหนึ่งเดินอุ้ยอ้ายขึ้นมาบนรถเมล์ พอเดินพ้นบันได
เด็กนักเรียนอายุเจ็ดขวบก็รีบลุกขึ้น

หญิงมีครรภ์เห็นว่านักเรียนอายุยังน้อย แถมถือกระเป๋าใบใหญ่
จึงสั่นหัวให้เด็กและพูดยิ้ม ๆ ว่า

"ไม่ต้องดอก หนูนั่งเถอะ"

เด็กน้อยจึงนั่งลงใหม่

พอผ่านไปสักครู่ เด็กนักเรียนก็ลุกขึ้นอีก หญิงมีครรภ์จึงพูดขึ้นว่า

"น้าบอกว่าไม่ต้อง น้ายืนได้ อีกไม่นานก็ลงแล้ว"

พูดพลางเอื้อมมือกดไหล่เด็กเบา ๆ เด็กน้อยจึงนั่งลงอีกครั้งหนึ่ง

ผ่านไปสักพัก เด็กน้อยลุกขึ้นมาอีก หญิงมีครรภ์ซาบซึ้งน้ำใจเด็กน้อย
ที่อุตสาห์สละที่นั่งให้

"หนูน่ารักจริง ๆ หนูนั่งเถอะ" เธอกล่าวซ้ำ แล้วกดหัวไหล่เด็กนักเรียนให้นั่งลงอีก

คราวนี้เด็กนักเรียนทำตาละห้อย แล้วพูดว่า

"คุณน้าครับ ขอผมลงรถได้ไหมครับ บ้านผมเลยมาสามป้ายแล้วครับ"

'คุณน้า' ปรารถนาดีต่อเด็กน้อย ไม่อยากให้เด็กน้อยลำบากเพราะเธอ
แต่ความปรารถนาดีต่อเธอกลับสร้างปัญหาให้เด็กน้อย
ความเมตตาและกรุณาบางครั้งก็อาจทำความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นได้
ดังนั้น ในทางพุทธศาสนา กรุณาจึงต้องมีปัญญาควบคู่ด้วย
เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างแท้จริง





0