Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

T.U. Top Secret | รวมเรื่องลับสุดยอดใน ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งคุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ไว้ที่นี่!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เรื่องทั่วไป

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 2 ของประเทศ สถาปนาโดยท่านผู้ประศาสน์การ ดร.ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสอดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หัวหน้าขบวนการเสรีไทย อดีตนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศและ กระทรวงมหาดไทยและปัจจุบันองค์การยูเนสโกได้ประกาศว่าท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลกอีกด้วย

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีชื่อเดิมว่า มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ม.ธ.ก.) ที่ต้องตัดคำว่า "และการเมือง" ออกนั้นเพื่อไม่ให้น.ศ.ฝักใฝ่การเมืองมากไป รวมระยะเวลาที่ใช้ชื่อนี้ 18 ปี

เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ใช้ตำแหน่งผู้ประศาสน์การ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอธิการบดี) และตำแหน่งผู้ประศาสน์การมีเพียงท่านเดียว คือ ดร.ปรีดี พนมยงค์เพื่อยกย่องท่านในฐานะที่เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย

อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเป็นนายกรัฐมนตรี คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

จอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรีก็เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกฯ ด้วย

วันสถาปนามหาวิทยาลัย คือ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 (ตรงกับวันคล้ายวันพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว)

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เสด็จมาเป็นประธานในพิธีเปิดมหาวิทยาลัย เพราะขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ

ที่ตั้งเดิมของมหาวิทยาลัยก่อนจะย้ายไปที่ท่าพระจันทร์คือ ตึก ร.ร.กฎหมาย กระทรวงยุติธรรม เชิงสะพานผ่านพิภพภพลีลา ปัจจุบันเป็นที่ขายสลากกินแบ่งรัฐบาล

นายจิตรเสน (หมิว) อภัยวงศ์ สถาปนิกผู้มีชื่อเสียงเป็นผู้ออกแบบ ตึกโดม โดยความหมายของตึกโดม คือ ตัวโดมที่เป็นรูป 6 เหลี่ยม เพราะจะได้สะท้อนถึงหลักที่ 6 ในหลัก 6 ประการของคณะราษฎรคือจะต้องให้การศึกษาเต็มที่แก่ราษฎร และ ที่ยอดตัวโดมแหลมขึ้นฟ้า เปรียบโดมเสมือนดินสอ ที่จดบันทึกวิชาความรู้และเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่รู้จักจบสิ้นเอาไว้บนผืนฟ้าอันกว้างใหญ่

จุดประสงค์ในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงที่ให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นวิทยาการสมัยใหม่แก่ประชาชนทุกชนชั้นโดยเก็บค่าเล่าเรียนให้น้อยที่สุด

ตราประจำมหาวิทยาลัย คือ พระธรรมจักร เกิดขึ้นในปี 2479 มีความหมายว่าสถาบันแห่งนี้ยึดถือคติธรรมของพระพุทธศาสนาในการกล่อมเกลาบัณฑิตสิ่งที่อยู่กลางธรรมจักรคือพานรัฐธรรมนูญ หมายถึงการยึดมั่นเชิดชูรัฐธรรมนูญ

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นยูงทอง มีอยู่ 5 ต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเพาะชำเอง และเสด็จฯมาทรงปลูกด้วยพระองค์เอง

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เคยมีร.ร.เตรียม เรียกว่า ชั้นเตรียมปริญญาชื่อ ร.ร.เตรียม ม.ธ.ก. (ต.ม.ธ.ก.) เพื่อผลิตนักเรียนเข้าเรียนต่อใน ม.ธ.ก. มีแค่ 8 รุ่นเท่านั้น แล้วก็ยุบไป

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เคยเป็นเจ้าของธนาคารเอเชียด้วย เพราะตอนแรกไม่ได้ขึ้นตรงต่อรัฐบาล จึงไม่ได้รับงบฯ และเป็นสถานที่ฝึกงานของนักศึกษาบัญชี

คณะเริ่มแรกตั้งแต่สถาปนามหาวิทยาลัย มี 4 คณะ คือ นิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์

เพลงประจำมหาวิทยาลัยมี 2 เพลง เพลงแรกที่ใช้ คือ เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว แต่งโดยขุนวิจิตรมาตรา และเพลงที่ 2 คือเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เคยจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เพื่อจะได้ดูเป็นกลาง แต่ไม่สำเร็จ และอีกครั้งในปี 2507 มีมติจากสภาการศึกษาแห่งชาติให้เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยเป็น มหาวิทยาลัยภูมิพล โดยให้โอนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปรวมกับมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลปัจจุบัน) และมหาวิทยาลัยศิลปากร แต่สมาคมธรรมศาสตร์มีมติคัดค้าน จึงไม่มีการเปลี่ยนแต่อย่างใด

งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ - จุฬาฯครั้งแรก มีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ณ ทุ่งพระสุเมรุ สนามหลวง ผลคือเสมอกัน 1-1 โดยครั้งนั้นยังไม่มีขบวนพาเหรด แปรอักษรหรือเชียร์ อย่างในปัจจุบัน

งานฟุตบอลประเพณีปีใดที่ไหนเป็นเจ้าภาพ ก็จะเอาชื่อของที่นั่นขึ้นก่อนซึ่งการเป็นเจ้าภาพ ธรรมศาสตร์จะเป็นครั้งที่เป็นเลขคี่ จะใช้ว่า ธรรมศาสตร์ - จุฬาฯ ส่วนจุฬาฯจะเป็นครั้งที่เป็นเลขคู่ จะใช้ว่า จุฬาฯ - ธรรมศาสตร์

งิ้วธรรมศาสตร์ เป็นงิ้วล้อการเมืองโดยมีต้นกำเนิดจาก คณะนิติศาสตร์ แต่ปัจจุบันเรียกว่า งิ้วสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงเคยเป็นหัวหน้าภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะศิลปศาสตร์

พระองค์ภาฯ ทรงเคยเข้าศึกษาในคณะนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ โดยทรงจบการศึกษาด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับ 2

ในอดีตหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นหอประชุมที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในเอเชียอาคเนย์

คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ได้แยกตัวออกไปเป็นสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

มหาวิทยาลัยถูกปิดความเป็นตลาดวิชาลงเมื่อ พ.ศ. 2503 เป็นระบบสอบเข้าแทน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถเคยเสด็จมาทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์กับนักศึกษา มธ.

อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยควบกับตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ แต่ตามระเบียบ ก.พ. นั้นข้าราชการจะทำงานพร้อมกันทีเดียว 2 แห่งได้ แต่จะได้รับเงินเดือนอีกแห่งเพียงครึ่งเดียวโดย อ.ป๋วยเลือกรับเงินเดือนคณบดีเต็มอัตรา 8,000 บาทและรับเงินเดือนผู้ว่าแบงค์ชาติครึ่งอัตราคือ 25,000 บาทแทน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่มีผู้อัญเชิญธรรมจักรบนเสลี่ยงอย่างเช่นจุฬาฯ ในงานฟุตบอลประเพณี เพราะถือว่า ธรรมจักรอยู่ในหัวใจของนักศึกษาทุกคน โดยผู้ที่เดินนำขบวนอัญเชิญธรรมจักร เรียกว่า ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ฯ มีหน้าที่เชิญป้ายนามมหาวิทยาลัย ป้ายประกอบ และดรัมเมเยอร์ ผู้ที่ได้รับหน้าที่เดินนำขบวนอัญเชิญธรรมจักรคนแรก คือ นายชวน หลีกภัย

จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นผู้ก่อตั้ง คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี นอกจากจะเป็นวันรัฐธรรมนูญแล้ว ยังเป็นวันธรรมศาสตร์อีกด้วย

โขนธรรมศาสตร์ เคยใช้เป็นการแสดงในการสมโภชน์การสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร

ลานโพ (เป็นชื่อเฉพาะไม่มี ธ์) เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของธรรมศาสตร์และสังคมไทยนับตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ที่ขบวนการนิสิตนักศึกษาประชาชนร่วมกันต่อสู้เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย

ผู้มีพระคุณในเหตุการณ์ 14 ตุลา คือแม่ค้าย่านท่าพระจันทร์และปากคลองตลาด ที่จัดทำเสบียงส่งให้ตลอด

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เช่าที่ดินของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เนื้อที่ 1,110 ไร่เป็นเวลา 30 ปี รวมค่าเช่า 3,000 บาท

รถโดยสารใน มธ.รังสิต คือ รถราง รอนานมากๆ บางทีไม่จอดด้วย แถมคนขับก็ดุยังกะแมว

หอเอเชี่ยนเกมส์ เป็นหอมหาวิทยาลัยรัฐฯที่หรูที่สุด มีแอร์ เครื่องทำน้ำอุ่นยูบีซี ลิฟท์ แล้วก็เบอร์โทรศัพท์ 02 ส่วนตัวทุกห้อง ต่อเนตได้สบายๆ ค่าไฟแพงหูฉี่เลย เปิดแอร์อย่างเดียวตกช.ม.ละ 6 บาท หอเอเชี่ยนเกมส์จะมีโซน A-E แต่หอน.ศ.จะอยู่ที่โซน B C E โซน B เป็นโซนห้องละ 4 คน มี 8 หลังๆละ 8 ชั้น โซน C เป็นโซนห้องละ 2 คน มี 11 หลังๆละ 8 ชั้น เช่นกัน ส่วนโซน E มี 2 หลังๆละ 4 ชั้น
หอในเป็นหอพัดลม อาบน้ำรวม จะมีอะไรที่เหมือนๆกับหอมหาวิทยาลัยอื่นทั่วๆไป

ลักษณะของโดมแต่ละที่
โดมไม้เมืองพี่ ท่าพระจันทร์
โดมเปลือยขวัญ รังสิตทรงศรี
โดมแก้ว ลำปางธานี
โดมน้องพี่ เชิดชูธรรม นำผองชน

คลื่น PCT จะมีที่หอเอฯ โซนซี อินเตอร์โซน แล้วก็บ.ร.1-บ.ร.4 แต่เดี๋ยวนี้มีเกือบทุกที่ ยกเว้นตึก SC หรือเกาะ SC ซึ่งไร้คลื่นอย่างมากกกก
ที่ศูนย์รังสิตมีโชว์รูมรถยุโรปด้วย ไม่ว่าจะเป็น S-class, BMWseries5, เฟอรารี่ ฯลฯจะสามารถหาดูได้ที่ SIIT แต่ถ้าเป็นรถญี่ปุ่นจะเป็นของอาจารย์

SIIT กับ วิศวะ ภาคอินเตอร์ คือคนละอย่างกัน เพราะ SIIT เป็นอีกสถาบัน แต่สังกัดม.ธรรมศาสตร์

ธรรมศาสตร์ มี 4 ศูนย์ คือท่าพระจันทร์ รังสิต พัทยา และลำปาง

แต่แปลกที่ "ท่าพระจันทร์" ไม่มีคำว่า ศูนย์ นำหน้าเหมือนศูนย์อื่นๆ

ในสมัยที่คุณหญิงนงเยาว์ เป็นอธิการบดี เคยมีการปิดโรงอาหารกลางตอนกลางคืนเพื่อเป็นเธค ให้ความผ่อนคลายแก่ น.ศ.ด้วย
ธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่มีห้องสมุด อยู่ชั้นใต้ดิน ชื่อหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ที่ท่าพระจันทร์

มีการขุดพบปืนใหญ่หลายกระบอกเมื่อครั้งก่อสร้างประตูใหม่ ที่ต่อจากกำแพงโบราณ ด้านถ.พระจันทร์

มีการขุดพบแนวกำแพงเมืองเก่า ในขณะสร้างอาคาร 60 ปี และลานจอดรถใต้ดิน หน้าคณะรัฐศาสตร์

ชื่อของโรงพยาบาลประจำมหาวิทยาลัย เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในปี 2550 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนโดยใช้ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นสถานที่หลักจัดการแข่งขัน
ที่จะลืมไม่ได้เลย ในปี 2541 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 ก็ใช้ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นสถานที่จัดการแข่งขันด้วย

อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ฉายาคนของแผ่นดินผู้เป็นตัวอย่างของการใช้ชีวิตอย่างสมถะ และสันโดษ ก็เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดี

สามอนุสาวรีย์คนดีศรีธรรมศาสตร์ และประเทศไทย อยู่ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ได้แก่ อาจารย์ปรีดีอยู่ที่หน้าตึกยิม 2 อาจารย์ป๋วยหน้าตึกเรียนรวม (SC) และอาจารย์สัญญาอยู่หน้าตึกคณะนิติศาสตร์-คณะรัฐศาสตร์

ธรรมศาสตร์ เป็นดินแดนแห่งเสรีภาพทุกตารางนิ้ว

คำขวัญอมตะของธรรมศาสตร์ คือ ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน

นักศึกษาไม่จำเป็นต้องใส่ชุดนักศึกษามาเรียนก็ได้ แต่อาจจะยกเว้นบางวิชาแต่ตอนนี้ได้มีการรณรงค์ให้แต่งชุดนักศึกษา

มีผู้เคยกล่าวไว้ว่า ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ก็คือประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร

ธรรมศาสตร์ เป็นที่เรียนที่มีตั้งแต่อนุบาล-ปริญญาเอก << ตั้งแต่เกิดจนตายเลยเหอะ โรงพยาบาล-วัด ก็มีให้พร้อมสรรพ เป็นมหาอาณาจักร

ธรรมศาสตร์ ไม่เรียกผู้ที่ศึกษาที่นี่ว่า นิสิต เพราะถือว่าการเป็นนิสิตเป็นการถูกกำหนดขอบเขต

ธรรมศาสตร์ ยังไม่มีคณะเภสัชศาสตร์, สัตวแพทยศาสตร์ และครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์

ค่าไฟแต่ละเดือนของธรรมศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 8 ล้านบาท จึงต้องมีโครงการธรรมศาสตร์ หาร 2

หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ อยู่ตรงข้ามหอสมุดปรีดี ที่ท่าพระจันทร์ถ้าต้องการศึกษาประวัติมหาวิทยาลัยตั้งแต่ ปี 2477 ก็สามารถดูได้จากที่นี่

ศาลเจ้าแม่สิงโตทอง ซึ่งเป็นที่เคารพ สักการะของน.ศ.คณะรัฐศาสตร์และคณะอื่นๆ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณอาคาร 60 ปี

น.ศ.ที่อยู่หอพักที่ศูนย์รังสิต จะต้องทำการย้ายทะเบียนบ้านเข้าหอเพื่อที่ธรรมศาสตร์ จะได้ทำคุณประโยชน์ให้กับชุมชนคลองหลวงบ้าง
สำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ มีอีกชื่อหนึ่งคือ สำนักงานดูดทรัพย์สิน ยิ่งตอนบิลค่าไฟมานี่ยิ่งดูดหนัก

อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่ของธรรมศาสตร์ รังสิต

แฟนพันธุ์แท้โขนไทย อยู่ปี 1 คณะรัฐศาสตร์ สาขาการระหว่างประเทศ และแฟนพันธุ์แท้ห้างสรรพสินค้า ก็เพิ่งจบคณะรัฐศาสตร์ สาขาบริหารรัฐกิจ และแฟนพันธุ์แท้โลกของเรา อยู่คณะนิติศาสตร์ ปี 2(รหัส 50)

ตึกเรียนที่หรูที่สุดในศูนย์รังสิต คือ ตึกคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (ตึก 4 ชั้น) หน้ามหาวิทยาลัย (ตอนนี้ย้ายมาอยู่กลุ่มอาคารเรียนทางสังคมศาสตร์แล้วนี่)

ตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีโครงเสาเหล็กมาตั้งแต่พี่ปี 5 อยู่ปี1จนปัจจุบันโครงเสานี้ก็ยังอยู่เหมือนเดิม (ตอนนี้เสร็จแล้ว เปิดใช้มาปีกว่าแล้ว)

หอเอฯ โซนบี มักจะมีเริ่องเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติมาโดยตลอด

นาฬิกาลูกตุ้มบนตึกโดม มีชื่อว่า นาฬิกาปารีส ได้รับบริจาคจาก ห้างเอส.เอ.บี

เหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519 มีผู้เสียชีวิตมากมายและนับว่าเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่า 14 ตุลาคม 2516มากเนื่องมาจากท่านอธิการบดีในขณะนั้น คือ อาจารย์ป๋วย ถูกกล่าวหาโจมตีว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ จนตัวท่านต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ

ลงทะเบียนเรียนทางเทเลแบงค์ 1551 เป็นอะไรที่ต้องใช้ความอดทนสูงในการกดโทรศัพท์พอๆ กับลงทะเบียนเรียนเพิ่มกับเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียน (ที่แสนจะใจดี๊ใจดี)

การเดินขบวนเรียกร้องดินแดนอินโดจีน จากฝรั่งเศสคืน เป็นการเดินขบวนครั้งแรกของน.ศ.ธรรมศาสตร์

อาจารย์ป๋วย เป็นศิษย์เก่าม.ธรรมศาสตร์ คนแรก ที่ได้เป็นอธิการบดีม.ธรรมศาสตร์

8 ธ.ค. 2484 ธรรมศาสตร์ แพ้ฟุตบอลประเพณีกับจุฬาฯเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการแข่งขันมาตั้งแต่ปี 2477 ทำให้อาจารย์ผู้คุมทีมถึงกับหัวใจวายถึงแก่กรรม

ปลายเดือน ก.ย. 2545 เกิดฝนตกหนัก ลมกรรโชกแรง ทำให้ต้นโพธิ์ธรรมศาสตร์ ที่ลานโพ ท่าพระจันทร์ ฉีกกลางลำต้น

ถึงแม้ว่านักศึกษาบางคณะจะไม่ได้ศึกษาที่ท่าพระจันทร์แต่ความเป็นจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ ก็ได้รับการถ่ายทอดและหล่อหลอมให้กับนักศึกษาทุกคนเสมอมา

นกเพนกวินกับหมีขาวสามารถมีชีวิตในห้องสมุดป๋วยได้ เพราะแอร์เย็นเหลือเกิน

คณะเศรษฐศาสตร์ที่ท่าพระจันทร์เมื่อหลายปีก่อน มีตึกเรียนเพียงตึกเดียว มี5 ชั้น ที่ใช้เรียนได้มีแค่ ห้องใหญ่ชั้น 1 กับห้องบนชั้น 2ประมาณ5-6ห้องเท่านั้น แต่นักศึกษาตั้งแต่ปี2ถึงปี4รวมถึงนักศึกษานอกคณะ สามารถยัดกันไปหมุนเวียนเรียนกันได้ครบ สมแล้วๆกับนิยามของเศรษฐศาสตร์"ใช้สิ่งที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด"

ห้องสมุดคณะ SIIT เสียงดังกว่าตลาดนัด เป็นหนึ่งในห้องสมุดที่เสียงดังที่สุดในไทย .... จิงๆ เหรอ ไม่จริงหรอก แอบเข้าไป นอนได้ตลอด

มิเตอร์ไฟของหอพักเอเชียนเกมส์ หมุนเร็วเหมือนพายุทอร์นาโด (พอมีคนไปร้องเรียน มันก็ล็อคห้องไม่ให้ดูได้ซะงั้น)

จำนวนผู้เข้าหอป๋วยในยามปกติประมาณ 6-7 ร้อยคนต่อวัน ในขณะที่ช่วงใกล้สอบประมาณ 4 พันกว่าคน มากกว่ากัน 6-7 เท่า!!!

7-11 ใน มธ.ศูนย์รังสิต มี 7 ที่ (8แล้ว) คือ
7-11 โรงกลาง โดยอยู่ข้างๆ โรงอาหารกลางของมหา'ลัย (คนเยอะมากกก ทุกเวลาจนหอปิด)
7-11 โซน B อยู่หน้าหอพัก B7
7-11 โซน C ซึ่งอยู่ตรงหอพัก C4 (ตอนที่คนเยอะสุดๆ พนักงานจะรูดปุ่มโชว์)
7-11 ปั้มน้ำมัน ซึ่งอยู่ตรงปั้มน้ำมันใกล้ๆเชียงราก
7-11 อินเตอร์พาร์ค อยู่ตรงหอทรงพิเชษฐ์ด้านนอกมหา'ลัย
7-11 บริเวณคณะแพทยศาสตร์ หน้ามหา'ลัย
7-11 หน้าลานอินเตอร์โซน ที่เพิ่งเปิดใหม่ปี 2553
7-11 โรงอาหารSC พึ่งเปิดได้ไม่กี่เดือน มิย 2554

SIIT ไม่สามารถไปจอดรถที่ วิศวะไทยได้ เพราะ ยาม วิศวะไทยจะไม่ให้ แต่...เด็กคณะวิศวะสามารถเอารถมาจอดที่ SIIT ได้ ไม่รู้ทำไมเนอะ-

อ. คณะสายวิทย์ ต้องจบ Dr. เท่านั้น

ชุดนักศีกษา เป็นเครื่องหมายว่า เรามีสอบ

นักศีกษา SIIT และ MUIC มักจะ แลกเปลียนกันแต่สุดท้าย มักจะไปจบที่ ABAC

UFM จะมีที่ คณะนิติศาสตร์และ SIIT และอีกที่นึงก็ข้างๆหอป๋วย (U หอป๋วยตอนนี้ปิดไปแระ เพระหอป๋วยซ่อมหลังคา เมื่อไหร่จะเปิดแว๊..ขอโทษที่วิบัติ)

ธรรมศาสตร์จะมีทะเบียนรถป็อบเป็นของตัวเองและสามารถนำไปใช้ข้างนอกได้

ยำมาม่ากลมเกียว ไม่มีสาขา มีแต่เรียนแบบ ===> ที่ไหนอ่ะ อยากรู้จัก

มธ. ศูนย์พัทยา เป็นสถามที่ ที่นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เคยไป

แสดงความคิดเห็น

36 ความคิดเห็น

cu@TU 23 พ.ค. 58 เวลา 10:14 น. 1

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

มธ. ไม่มีระบบรุ่นพี่รุ่นน้อง แต่จะเรียกว่าเพื่อนใหม่ เพราะถือว่าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน

ในอดีตนักศึกษาสามารถใส่ชุดนอนไปเรียนได้ในบางวิชา

มธ. หอเอเชี่ยนเกมส์จะมีวันเปิดหอ ซึ่งผู้หญิงสามารถขึ้นหอชายได้ซึ่งวันนี้มีคนตั้งฉายาให้ว่าวันปล่อยผีเพราะว่าหอผู้ชายมักจะมีผู้หญิงมาต่อคิวลงชื่อขึ้นหอผู้ชายยาวเป็นกิโล ส่วนหอผู้หญิงผู้ชายไม่ค่อยขึ้นกันมีแต่หอผู้ชายที่มีผู้หญิงจะมาขึ้นหอกันแถมผู้หญิงที่มาสวยซะด้วย

ที่อาคารเรียนรวม (SC) เคยมีป้ายแปะไว้ว่า "สายเดี่ยวห้ามขึ้นลิฟท์!"

ที่ท่าพระจันทร์ โรงอาหารริมน้ำใต้ตึก 60 ปี เด็กรัฐศาสตร์จะเรียกโรงอาหารรัฐศาสตร์ เด็กเศรษฐศาสตร์ก็เรียกว่าโรงอาหารเศรษฐศาสตร์ ผู้ที่ไม่เคยมาจงเข้าใจไว้ว่าเป็นอันเดียวกัน

ห้องสมุดรัฐศาสตร์ เสียงดังมากกก ส่วนใหญ่ใช้ประชุมงานกัน เพราะเป็นห้องแอร์เดียวที่เปิดตลอด

ยามทางเข้าฝั่งถนนพระอาทิตย์โหดมากกกกก แต่ความโหดลดลงได้ด้วยน้ำสีชาหนึ่งขวด

เค้าเล่ากันว่า ความจริงมีแนวโน้มจะทำที่จอดรถได้ตินตรงสนามบอล แต่กลัวขุดไปแล้วเจอซากเมืองเก่า แล้วจะโดนกรมศิลป์สงวนไว้ เหมือนหน้าคณะรัฐศาสตร์ เลยไม่ขุดดีกว่า

ตึกบัญชี เรียกกันว่า ตึกตู้ปลา จริงๆแล้วเด็กบัญชีเรียกกันว่า ตึกรังผึ้ง ต่างหาก

ป้ายชื่อคณะรัฐศาสตร์บนยอดตึกมองจากฝั่งศิริราช ใหญ่กว่าชื่อมหาวิทยาลัยมากมาย

ผนังตึกคณะศิลปศาสตร์ลอกข้อความในหลักศิลาจารึกพ่อขุนหลักที่หนึ่งมาสลักไว้ ซึ่ง อ.ชาญวิทย์ เกษรศิริ อดีตคณบดีคณะศิลปศาสตร์เคยบอกว่าเขียนผิดไป 2 ตัว

ใครคุ้นเคยกะราคาอาหารที่จุฬา มาเจอที่โรงอาหาร SC ที่รังสิตอาจช็อกตายได้

บนดาดฟ้าตึกศูนย์ภาษาเป็นมุมที่มองเห็นตึกโดมได้สวย ติดอันดับต้นๆของมุมอื่นๆในมหาลัย ไม่เชื่อลองขึ้นไปดู
ลีดธรรมศาสตร์ผู้ชายจะหน้าตาเห่ยๆ ทั้งที่ตอนคัดตัวมีหล่อๆเพียบ แต่ไม่เคยเข้าตากรรมการ เพราะที่นี่เค้าคัดตัวด้วยวิธี "พิเศษ" ถ้าตาสีตาสาเดินเข้ามาสมัครให้ซ้อมแทบตายก็ไม่ได้หรอก

ลีดธรรมศาสตร์ คนไหนที่ผ่านงานถ่าบแบบ ถ่ายโฆษณามาก่อน จะมีโอกาสได้เป็นลีดสูงมาก

หอสมุดกลางที่ท่าพระจันทร์เป็นหอสมุดชั้นใต้ดินที่ดูดีมีคลาส แถมอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา เลยใช้เป็นเรื่องโจ๊กหลอกเพื่อนๆต่างมหาลัยว่า ผนังด้านหนึ่งของหอสมุดจะเป็นกระจกสามารถมองเห็นโลกใต้เจ้าพระยาได้ด้วย พวกมันก็ตื่นเต้นกันใหญ่

สมัยเปิดใหม่ๆเป็นหอเชื้อรามากกว่าหอสมุด แต่ยังก็มีหนอนหนังสือเสี่ยงตายเข้าไปอ่านหนังสือ หยิบหนังสือมาอ่านเชื้อราพุ่งมาถีบหน้าทีเดียว ใช้เวลาอยู่นานโคตรกว่าจะปราบได้

ครั้งหนึ่ง สมัยเรียนภาษาอังกฤษที่ตึกโดม (รังสิต) ใครใส่ชุดไปรเวทจะโดนจับ ถึงขนาดไล่ต้อนกันอุตลุต

คาบที่ต้องไปเรียนที่ บร. (อาคารบรรยายรวม หรือเรียกว่า บรรทมรวม) ใครมาก่อนมักจะวางหนังสือ สมุด จองที่ให้เพื่อนในกลุ่มของตัวเอง น่าเบื่อมาก

ถ้าคุณพบเห็นนักศึกษาจำนวนมาก ใส่ชุดนักศึกษาในช่วงปิดเทอม จนรู้ไว้เลย ว่านั่นคือคณะแพทย์ ที่ยังคงเรียนอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าคณะอื่นจะปิดเทอมไปกันหมดแล้วก็ตาม

อาคารเรียนรวม SC มีที่มาจาก Sleeping Class

บร.4 ครั้งหนึ่งคือโรงหนังชั้นดี ที่มีหนังซูมใหม่ๆมาฉายให้เด็กหอดูทุกอาทิตย์

ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต มีค่าเท่ากับเซ็นเตอร์พอยด์ ของธรรมศาสตร์ แต่ถ้าอยากอวดคนอื่นต้องบอกว่า มหาลัยอยู่ติดกับตลาดผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (ตลาดไท)

การสัญจรระหว่างการไปเรียนท่าพระจันทร์ รังสิต ครั้งหนึ่งยุ่งยาก ลำบาก ถึงขั้นต้องไปขึ้นรถไฟที่หัวลำโพง แล้วไปลงที่สถานีเชียงรากน้อย วันไหนมีเรียนทั้งสองที่ในวันเดียว วันนั้นคือวันนรกมาก เพราะเวลาชีวิตหมดไปกับการนั่งรถ

เวลาไปเรียนที่ศูนย์รังสิต ต่อให้คุณหลับลืมโลกแค่ไหน จะมีสัญญาณเตือนคุณว่าใกล้ถึงจุดหมายแล้ว ด้วยด้วยกลิ่นหอมจรุงใจ ที่ไม่มีวันลืมเลือนแถวๆ ม.กรุงเทพ (ซึ่งมีโรงงานไก่แช่แข็งอยู่ตรงข้าม)

คณะวิทยาศาสตร์ เป็นคณะเดียวในมหาลัยที่ไม่มีตึกคณะเป็นของตัวเอง ปัจจุบันยึด บร.2 - 5 เป็นตึกคณะ

ป้ายคณะวิทยาศาสตร์ ได้มาจากเงินเรี่ยไรของรุ่นพี่ที่จบไปแล้วรุ่นแรกๆ มิฉะนั้นก็ยังไม่มีอยู่

คณะวิทยาศาสตร์ได้เงินจัดสรรในแต่ละปีเพื่อทำกิจกรรม ได้ปีละ 3 หมื่นบาท หรือตกคนละ 5 บาท ในขณะที่คณะนิติศาสตร์ได้ปีละ 2 ล้าน

7-11 ใน มธ. ไม่มีเหล้า บุหรี่ และถุงยาง แต่มีชุดทดสอบการตั้งครรภ์

ปัจจุบันมีขายถุงยางแล้ว แต่จะมีใครหน้าไหนกล้าซื้อ แต่ก็เห็นขายหมดทุกที

คณะถาปัดของมธ.มีชื่อเต็มๆว่า คณะสถาปัยกรรมศาตร์และการผังเมือง โดยผู้ยื่นขอก่อตั้งคณะถาปัดจบถาปัดจุฬา สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์

คณะถาปัดรุ่นแรกๆเคยเป็นสาขาหนึ่งของคณะวิดวะ แต่ต่อมาในภายหลังจึงแยกคณะออกมาต่างหาก จบจนมีรุ่นที่ 8 แล้ว ตึกคณะก็ยังสร้างไม่เสร็จ คาดว่าสร้างเสร็จแล้วเปิดใช้ได้ในรุ่นที่9 รุ่นที่เก้าจุดห้า เพราะเริ่มใช้ตอนเทอมที่สอง

คณะถาปัดเรียนหกปี (4 ตรี +2) แต่จบแล้วได้ปริญญาโท ส่วนสาขาใหม่อื่นๆเช่นออกแบบภายในเรียน 4 ปี

คณะแพทยศาสตร์ มีหลักสูตรปกติ 6 ปี แต่สามารถยื๊อได้ถึง 12 ปี ถ้าติด F หลายวิชา

คณะแพทย์ จะมีโครงการแพทย์ชนบท ที่เรียนจบแล้ว ต้องไปใช้ทุนในชนบท 12 ปี !!

คณะสังคมสงเคราะห์ ที่ มธ.เรียกว่า สังเคราะห์ เป็นคณะสังคมสงเคราะห์แห่งแรกของประเทศ ที่อื่นมีสอนที่เป็นคณะแล้วคือหัวเฉียว ส่วนมหาลัยอื่นๆจะเป็นวิชาหรือภาควิชาเท่านั้น (เป็นคณะสังคมสงเคราะห์ที่ดีที่สุดในอาเซียนด้วย) มีการแลกเปลี่ยน นศ.ภาคฤดูร้อนไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นทุกปี ที่ Japan College of Social Work

การเลือกตั้งของมหาลัยที่เกี่ยวกับนักศึกษามี 3 งานคือ การเลือกกตั้งองค์การนักศึกษา (อมธ.) เลือกตั้งสภานักศึกษา และคณะกรรมการนศ.หอพัก(คพน.)

การเลือกตั้ง อมธ. เป็นการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันมากสุด เปรียบก็คล้ายๆเลือกรัฐบาลมาบริหารเงิน 7 ล้านของ นศ. ส่วนสภามีการเลือกแบบปาร์ตี้ลิสและผู้แทนจากคณะเพื่อพิจารณาเงินงบประมาณ คล้ายๆสภาผู้แทนพิจารณางบฯ ส่วน คพน. เป็นงานที่เล็กลงมาหน่อยดูแล นศ. หอพักในของมหาลัยและสวัสดิการหอพัก

ที่จริงการเลือกตั้ง อมธ. คือการเลือกคณะกรรมการบริหาร อม. แต่คนจะเรียกว่าเลือก อมธ. ทั้งที่ อมธ.คือชุมนุม ชมรม กลุ่มอิสระ กน.ของทุกคณะรวมกันเป็น อมธ.

และการเลือกตั้ง อมธ.ส่วนใหญ่ของมีอยู่พรรคเดียวที่ได้มานานแล้วคือ "ธรรมเพื่อโดม" 10 ปีได้มั้ง มีครั้งหนึ่งแพ้คะแนนเสียงพรรคเคียงโดม ได้เป็น อมธ.เป็นหนึ่งปี

การเลือกตั้ง อมธ.จะเลือกพร้อมกันทั้ง ท่าพระจันทร์ รังสิต ลำปาง การหาเสียงก็ต้องหาทั้ง 3 ที่ และรวมคะแนนทั้ง 3 ที่ว่าใครได้มาสุดจะได้เป็น อมธ.

ตึกของคณะวิดวะ ออกแบบโดยอาจารย์ในคณะถาปัด

ตลาดนัดที่มีทุกวันจันทร์ และพฤหัส มักจะมีแขกรับเชิญจากมหาลัยอื่นเช่น ม.กรุงเทพ เกษตร จุฬาฯมาแวะเวียน
ตึกของคณะวิดวะมีเคสการวิบัติของตึกครบทุกเคส (ผนังร้าว เพดานรั่ว คานหัก ฯลฯ) ตั้งแต่เริ่มสร้างตึกเสร็จใหม่ๆ ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะผลจากผู้ออกแบบหรือผู้ก่อสร้าง แต่ก็ทำให้นักศึกษาคณะวิดวะไม่ต้องไปหาเคสการวิบัติของตึกจากสถานที่อื่นเลย

ลูกคลื่นชะลอความเร็วที่เห็นกันเยอะๆในมหาลัย แล้วทำให้บรรดาผู้ขับขี่จักรยานยนต์ต้องไปนอนเล่นบนพื้นคอนกรีต แต่ถ้านักศึกษาท่าใดชอบโชว์หล่อ เอารถไปโหลดมา ต้องขอบอกว่า "กรุณาไปซื้อรถใหม่เข้ามาวิ่ง ไม่งั้นจะหาว่าไม่เตือน" เพราะช่วงล่างกระจุยมาหลายคันแระ

เจ้าของร้านอาหาร วชิรปราการใน มธ. รังสิต คือผู้ก่อตั้ง ร่วมด้วยช่วยกัน

คำขวัญ "ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์ มีคนที่ฉันรัก"

BBA ธรรมศาสตร์ เป็นคณะเดียวในมหาวิทยาลัยที่ใส่กระโปรงพีสยาวเป็นชุดพิธีการ

BBA ธรรมศาสตร์ เป็นคณะเดียวในมหาวิทยาลัย (อีกแล้ว) ที่ต้องใส่ชุดนักศึกษาไปเรียนหรือสอบทุกครั้ง

ปัจจุบันมีเพิ่มมาอีกคณะหนึ่ง คือ BJM (JC inter) ที่ต้องใส่ชุดนักศึกษาไปเรียนหรือสอบทุกครั้ง

ยุงที่ ธรรมศาสตร์รังสิต เยอะมาก เด็กขี้เกียจออกจากหอตอนเย็นๆก็เพราะกลัวยุงกัด มันเยอะจริงๆ กัดเจ็บด้วย ว่ากันว่ามันหลุดมาจาก Lab ของ สวทช. ยุงไรไม่รู้กัดทะลุกางเกงยีนได้

ห้อง บร. ย่อมาจาก บรรทมรวม โดยเฉพาะ บร.4 ห้องพันคน

กองสันทนาการธรรมศาสตร์ มันส์สุดๆการแต่งตัวอลังการมาก โดยที่เราไม่ต้องไปดูอัลคาซ่าที่พัทยา

ตึกศิลปศาสตร์ท่าพระจันทร์ หากมองจากบนฟ้าลงมาจะเห็นเป็นตัวอักษร TและUตัดไขว้กันอยู่ซึ่งเป็นตัวย่อของมหาลัย

เดี๋ยวนี้เบอร์นาร์ดไม่ได้ขายแค่ถั่วแต่มี มะขามไว้บริการทุกท่าน

รับน้องของศิลปกรรมฯ มธ.จะเรียกว่า ไป "ลงลาน" เพราะสมัยก่อนจะรับน้องกันที่ลานบริเวณหน้าเรือนไทย

นศ.ชาย หรือหญิง ที่นี่เราจะแยกกันไม่ออกเพราะเค้าแปลงมาได้เนียนมั่กๆ

ถ้าอยากเดินทางจากสยามมาที่ธรรมศาสตร์ มีหลายทางให้เลือก

นั่งรถไฟฟ้า BTS ลงที่หมอชิตแล้วต่อรถ NGV ก็ตกอยู่ที่คนละ 65 บาท

นั่งรถไฟฟ้ามาที่อนุเสาวรียชัยสมรภูมิแล้วนั่งรถตู้ ก็คนละ 50 บาท

ถ้านั่งแท็กซี่จะอยู่ที่ 300 บาท

ถ้าอยากประหยัดโคตรๆจริงๆ นั่งรถเมล์ ปอ.29 หน้าฝั่งมาบุญครอง ลง มธ.รังสิต ก็แค่คนละ 19 บาท แต่ต้องเสียเวลาอย่างน้อย สองชั่วโมง หรือ สองชั่วโมงครึ่ง ถ้าเงินพอก็นั่งรถไฟฟ้าเหอะ

หรือหากอยากประหยัดยิ่งกว่านั้นอีก ก็ 29 ที่ไม่ใช่ ปอ. และไม่ใช่ ขสมก. (ซึ่งก็คือรถร่วมนั้นเอง) 8 บาทตลอดสาย แต่ท่านจะประสบอะไรบ้างนั้นก็สุดจะคาดเดา (อย่าลืมกลิ่นกระดูก ม.กรุงเทพ)

แถวๆ ประตูท่าพระจันทร์ จะมีอาบังขายถั่วอยู่คนชื่อ "เบอร์นาร์ด" ขายมานานมากกกกกกแล้ว อุดหนุนกันด้วยเด้อ แม้ว่าบางทีแกจะทำเหรียญตกลงไปในถุงถั่ว แล้วนักศึกษาบางคนก็ทะลึ่งเอามือจกลงไปเก็บก็ตาม ว่ากันว่าเบอร์นาร์ดขายจนส่งลูกเรียนจบเอแบคได้เรย บางครั้งไปฉี่แล้วก็มานั่งขายถั่วต่อโดยไม่ล้างมือ แถมเวลาคันตาตุ่มก็เกาด้วยช้อนที่ตักถั่วนั่นแหละ กร๊ากกกกกกกกกกกก

เอกภาษาญี่ปุ่นในคณะศิลปศาสตร์ ที่ท่าพระจันทร์ ไม่จำเป็นต้องใส่ชุดนักศึกษาไปสอบก็ได้ แต่งตัวเปรี้ยวสไตล์ญี่ปุ่นเกือบทุกคนทั้งหญิงชายตุ๊ดเกย์ทอมดี้ หัวมีทุกสีให้เห็น อย่างกับอยู่ฮาราจูกุ (เมื่อก่อนนะ) เด๋วนี้ไม่รู้ว่าเปลี่ยนไปแค่ไหนแล้ว

ร้านเกี๊ยวฟรี ข้างร้านซเวนเซ่น ต้องสั่ง บะหมี่ต้มยำ ถึงจะอร่อย กินกับเกี๊ยวทอด อู้ว์ ซี้ด แซ่บหลาย

หมอดูเยอะมากที่ฝั่งท่าพระจันทร์ แข่งกันแม่นมีคนไปดูเยอะตลอด แต่ว่ามีคุณลุงคนนึง แกดูลายมือ ไม่มีร้าน ไม่มีอะไรเลย นั่งอยู่ใต้ต้นลั่นทมหน้า ร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นเนื้อ ขาแกพิการแกดูแม่นมาก เมื่อก่อนเสียค่าดูแค่ 29 บาท ปัจจุบัน 39 บาท
ข้าวหน้าเม็ด ร้านหน้าท่าพระจันทร์ อาแปะจุดบุหรี่สูบแค่ทีเดียว ที่เหลือแกจะปล่อยให้มันร่นจนหมดตัว เสียดายของว่ะ

No Uniform No Service!!!!!

ร้านอาหารที่เด็ก ม.ธ. นิยมกันมากกก ที่โรงกลาง คือ ร้าน น้องแอม น้ำลายสอด้วย อยู่ที่ โรงอาหารทิวสนโดม
ปัจจุบัน หอพักใน ของมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกกันติดปากว่า หอใน นั้น มีการปรับปรุงหลังจาก การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก โดยมีแอร์ และ เครื่องทำน้ำอุ่น (ที่เปิดเฉพาะวันแรกที่เข้าหอ (และร้อนมากอย่างแรงๆ)) & ค่าไฟก็ปรับเป็นอัตราเดียวกับ หอเอเชี่ยนเกมแล้วด้วย

มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์ เสรีภาพทุกตารางนิ้ว แต่ที่ทางออกเชียงราก ติดรั้วอย่างกับคุก

เมื่อก่อนที่นี่จะทำบันไดที่ติดกับรั้วไว้ให้นักศึกษาออกไปข้างนอกง่ายๆ แม้ประตูทางออกจริงๆจะอยู่ถัดไปอีกไม่กี่สิบเมตร!
ตอนที่เริ่มใช้รั้วและประตูคุกทางออกเชียงรากใหม่ๆ เคยมีรถยนต์วิ่งเข้ามาชนประตูเพราะไม่รู้ว่าประตูปิดอยู่ด้วย
น้องหมี น้องหลง น้องเบี้ยว คือชื่อสุนัขสามตัวหน้าตึกคณะรัฐศาสตร์ท่าพระจันทร์ แม้จะชอบเห่าโวยวายใส่คนแต่งตัวไม่ดี คนที่ดูน่าสงสัย และะคนที่มีทีท่าว่าจะเป็นพิษเป็นภัยต่อคณะรัฐศาสตร์อยู่เสมอ แต่ก็เป็นที่รักของเจ้าหน้าที่ อาจารย์ และนักศึกษารัฐศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง

น้องหลง น้องเบี้ยว เป็นตัวเมีย น้องหมีเป็นตัวเดียวที่เป็นตัวผู้ (ปัจจุบันน้องหมีตายไปแล้ว)

ตึก SC ชั้นสี่แอร์เย็นยังกับขั้วโลกใต้ โดยเฉพาะห้อง 4020 เพราะมันอยู่ใต้คอมเมนเฟรม ถ้าไปขยับแผงคอนโทรลแอร์ไฟมันจะดับทั้งตึก เพราะงั้นพวกที่เรียนห้องนี้ก็จำต้องเสียสละรับกรรมแทนชาว SC ทั้งหมดทั้งมวล

ชาวหอ C1 มีความชำนาญและเชี่ยวชาญกว่าชาวหออื่นๆเรื่องการหนีไฟ ไม่รู้ทำไมมีธรรมเนียมซ้อมหนีไฟอยู่หอเดียว
รถ NGV สาย 1 ตอนเย็นๆโหดมาก เคยนั่งทีแล้วมันดริฟฟ์หัวทิ่มตรงโค้งอาคาร 14 ชั้น ตื่นเต้นยังกะเล่นรถไฟเหาะ
ใครเคยเรียน TU 120 ห้องสด ถ้านั่งแถวหน้าๆจะซึ้งเลยว่า "1059 หนาวมาก"

NGV สาย 1-3 นั้นที่จริงแล้วเรียงตามลำดับความ Rare ในการหา

เวลาอยากจะไป บร. ไม่รู้ทำไมสาย 1 กับ 3 แห่กันมาเป็นขบวน บางทีมาติดกันสามคัน แต่เวลาอยากจะไป SC ดันมีแต่สาย 2 วิ่งกันสนุกสนาน

เวลาที่หอพักไฟดับ จะมีบางห้องโผล่ออกมาเล่นไฟเย็นที่ระเบียงอวดตึกข้างๆ (เหมือนมันจะรู้แฮะว่าไฟจะดับ) แถมตอนไฟดับยามทั่วมหาลัยจะแห่แหนกันมาราวยกกองทัพตีกรุงศรี เสียงวิ่งงี้ดังขึ้นไปถึงชั้นสี่

คณะศิลปศาสตร์จะมีกิจกรรมแปลกเช่น Back to school คือ ให้ใส่ชุดนักเรียนมาเรียน (อาจารย์ถามเลยว่า "นักศึกษาค่ะวันนี้มีอะไรหรือค่ะ" ) ล่าสุดตอนนี้คณะบัญชีและคณะเศรษฐศาสตร์ก็มีกิจกรรมนี้แล้ว โดยเริ่มจากท่าพระจันทร์ และหลังจากนั้นไม่นานรังสิตก็จัดตาม

แม้ว่าธรรมศาสตร์จะถูกสถาปนาขึ้นด้วยอุดมการณ์ประชาธิปไตย แต่ปัจจุบันหลายๆคณะกลับรับเอาระบบ SOTUS การว๊ากน้อง ประชุมเชียร์มาใช้ แต่อย่างไรก็ตาม คณะนิติฯ ยังคงใช้ระบบ spirit อยู่ในกิจกรรมคณะ ส่งผลให้กิจกรรมคณะบางอย่างเด็กหายไปกว่าครึ่ง

กิจกรรม Crazy Week เป้นของคณะศิลปสาสตร์ ซึ่งเเต่ละวันจะมีการกำหนดหัวข้อการเเต่งกายมาเรียน เช่น Back To School,ฟุตบอลโลก,เซเล็บ วึ่งเป็นที่สนุกสนานของคณะศิลปสาสตร์ เเต่ปี54นี้ มีชุดเเต่งกายประจำชาติมาด้วยเลยมีคนใส่กิโมโน ยูยูกาตะเดินให้ว่อนเลย เเต่แปลกทีสุดคือมีคนใส่ชุดดำนาซีมา

"ฝั่งโน้น" ในความหมายของเด็กธรรมศาสตร์ คือ ร้านเหล้าทั้งหลายแหล่ ที่อยู่ฝั่งประตูเชียงราก ในอดีตมีทั้งสวีทดั้ก ซี - เซมอร์ กระฉ่อน i-animal และนี่คือเด็ดสุด สละโสต เจ๋งพอกับผับในกรุงเทพจิงๆนะ แต่เจ๊งไปหมดแล้ว ปัจจุบันมี เวอร์จิ้น ที่เปิดได้ถึงตี 5 และมีโรงเหล้าเฌอแตมเพิ่มมา

7-11 ที่หอทรงฯ เคยขายเหล้า บุหรี่ แต่ปัจจุบันเลิกขาย หากไปถามว่าทำไมเลิกขาย จะได้รับคำตอบว่า เพราะติดมหาวิทยาลัย แต่จริงๆแล้ว เพราะว่าเคยขายเหล้าให้ลูกค้า เกินเวลาที่กำหนด เลยถูกสั่งห้าม (ที่รู้เพราะผู้เขียนเคยทำงานใน Book Smile ที่ 7-11 แห่งนี้...) แต่ในปัจจุบันนี้

ปัจจุบันหอพักใน (หอราคาถูกของมหาลัย) เหลือหอชายเพียงสองหอ ทั้งที่หอหญิงมีถึง 7 หอ

คณะที่เป็นขวัญใจของสาวๆ คือ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร หรือ SIIT แบบว่ารูปหล่อ บ้านรวย เรียนเก่ง (คือถ้าขึ้นปี2ได้ ถือว่านายแน่มาก) เข้าง่าย ออกง่าย (โดนไทล์) แต่จบยาก

ศิลปศาสตร์ เป็นคณะหนุ่มหล่อและสวยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ยังไง)

บัญชี เป็นคณะรวมสาวสวยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เด็ก self จัดต้องสถาปัตย์ฯ กับ ศิลปกรรมฯ

ถ้าใครเล่น msn หรือเกมส์ ในห้องคอม หอสมุดป๋วยจะโดนขึ้นประจานให้ทุกเครื่องทราบว่าคุณกำลังทำผิดกฎห้องสมุดแล้วทุกคนก็จะหันมาทางคุณกันหมด (เป็นเรื่องที่น่าอับอายมากๆ)

สะพานที่คู่รักมักจะไปนั่งจู๋จี๋ให้อาหารปลากัน คือ สะพานปลา

สะพานหน้าตึกวิศวะมีคำล่ำลือว่า ถ้าคู่รักขี้จักรยานซ่อนไปด้วยกันแล้วปั่นจักรยานขึ้นสะพานโดยไม่ยืนจะรักกันไปตลอด

โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ มีอีกชื่อว่า โรงพยาบาลซาร่าเพราะถึงแม้ว่าจะเจ็บปางตาย ถ้าไปขอยาจากที่นี่ก็จะได้แต่ ซาร่า (หรืออาจจะมีอย่างอื่นด้วยไม่แน่ใจ) ปัจจุบันเป็นตัวยาพาราเซตามอนเหมือนเดิมแต่ชื่อ PAT

ตลาดนัดที่นี่มีฉายาว่า ตลาดนัดดูตัว เพราะจะมีคนหน้าตาดีมาเดินเยอะมากจะมีทุกวันจันทร์ กับ พฤหัสบดี ของกินอร่อยๆก็เยอะ ของใช้ก็เยอะเด็กม.อื่นก็มาเดินตลาดนัดที่นี่กันเยอะเช่นกัน แม้แต่จุฬาก็ยังมีเลย

สะพานดาวอยู่หน้ามหาวิทยาลัย ที่ศูนย์รังสิต เอาไว้พาแฟนไปชมดาวกันตอนกลางคืนทางที่ดีควรปั่นจักรยานไป ถ้าเดิน ขาลากแน่นอน เพราะไกลมากๆ
0
ว่าที่นศ.มธ. 23 พ.ค. 58 เวลา 14:05 น. 2

ขอบคุณพี่ๆมากฮับ กำลังรอว่าจะได้เป็นเฟรชชี่มธ.มั้ยT^T

อยากเข้ามากกกกๆๆๆๆ ถึงที่สุด

ขอให้เป็นลูกแม่โดมด้วยเทอญ เพี้ยง!!! -/l\-
สู้สู้

0
เด็กค่ายเหลา11 23 พ.ค. 58 เวลา 16:59 น. 3

เพิ่มให้อีกข้อค่ะ
*ตึกวิดวะมีห่านฝูงนึง และมีขี้ห่านกระจายเป็นหย่อมๆ55555
ประสบการณ์จากค่านเหลา11 ขอเตือนว่า
"ระวังห่า(น)จิก"5555555
ยิ้มฟันขาว

0
AtanLa_SouL 23 พ.ค. 58 เวลา 17:35 น. 4

มีแต่ของท่าพระจันทร์กับศูนย์รังสิตเนอะ ขอลงของลำปางหน่อย

เซเว่นในมอปิดหกโมง

ตีสามเป็นเวลาที่รู้กันของเด็กหอในคือไก่ทอดป้าลี ที่ในไก่มีแต่มันเยิ้มไปหมด แต่ก็ยังจะกิน

ตัวมอห่างไกลจากตัวเมืืือง แลดูกันดารมาก

สมัยก่อนนศ.ต้องไปช่วยกันดับไฟป่า เพราะไม่งั้นมันจะลามขึ้นตึก

รั้วมอยังสร้างไม่เสร็จ แต่กำลังสร้างตึกใหม่เพิ่ม

เพลงที่ลุงตี๋ชอบเปิดมีทุกแนว ทุกอารมณ์ มีแม้กระทั่งเพลงกาโวและlet it go

0
ชายนิรนาม 23 พ.ค. 58 เวลา 19:09 น. 6

เพื่มเติมครับ
สัตว์ประจำมธ.ศูนย์รังสิตตัวเ-้....มีเยอะมากครับบอกเลย
*มีคำล่ำลือว่าหากเด็กคนใดได้เห็นจะสอบติด(ต้องลองๆ)

4
Princess♣Sorane 23 พ.ค. 58 เวลา 21:03 น. 6-1

งี้เห็นมาแล้วสองตัวในศูนย์รังสิต ขอให้สอบติดตามนั้นค่ะ 555

0
Puak 23 พ.ค. 58 เวลา 23:56 น. 6-3

เห็นทุกครั้งที่เข้าไปเลยค่ะ แต่ไม่ติดเศร้าจัง

0
maduza 24 พ.ค. 58 เวลา 02:20 น. 6-4

นี่เห็นครั้งแรกตั้งแต่เคยเข้ามอ ทุกวันนี้ก็ติดแล้ว
พี่เห้เค้าศักสิทธิ์จริง ตลกจัง

0
MOO mOO 23 พ.ค. 58 เวลา 19:20 น. 8

siit จอดทุกที่ๆ มีหลืบครับ มันไม่พอ คณะวิดวะกับสถาปัตข้างๆ ก้มีแต่เด็ก siit ฮ่ะตลกจัง

0
ผีบ้า 23 พ.ค. 58 เวลา 20:42 น. 13

มันเคยเป็นเรื่องลับ แต่ตอนนี้ไม่ลับแล้ว ฮุฮุ
เพราะจขกท.ตั้งกระทู้ทำให้คนอื่นรู้แล้ว

0
PongsapornC 23 พ.ค. 58 เวลา 21:32 น. 14

น่าอยู่มากเลยครับ555555
ผมเพิ่งติดคณะเศรษฐศาสตร์ครับ อ่านแล้วอยากเปิดเทอมเร็วๆเลย

0
miii 24 พ.ค. 58 เวลา 23:16 น. 15-1

ร้านขายพวกขนมปัง เบเกอรี่ ครับรักเลย

0
VZN &#039;yuu 23 พ.ค. 58 เวลา 22:12 น. 17

แอร์ที่ศูนย์การเรียนรู้เย็นกว่าหอป๋วยครับ
แล้วก็ ช่วงสอบเป็นทั้งที่สิงสถิต ที่ติว ที่กิน ที่นอน ตลอด24ชม.

0
AllBoon SasiWatee 23 พ.ค. 58 เวลา 22:25 น. 18
เก่าไปนะบางที ขออัพเดทหน่อย
หอเอเชี่ยนเกมส์ เป็นหอมหาวิทยาลัยรัฐฯที่หรูที่สุด มีแอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น ยูบีซี ลิฟท์ แล้วก็เบอร์โทรศัพท์ 02 ส่วนตัวทุกห้อง ต่อเนตได้สบายๆ ค่าไฟแพงหูฉี่เลย เปิดแอร์อย่างเดียวตกช.ม.ละ 6 บาท 

ตั้งแต่รุ่นUBC เก่ามั้ยล่ะ 555 ตอนนี้ มีแอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น ลิฟท์ มีไวไฟฟรีที่ๆไม่ค่อยถึงห้อง ไม่มีโทรศัพท์แล้ว แต่หอเอเชี่ยนเกมส์กำลังโดนบังคับติดทีวี ตู้เย็นเพิ่ม เน็ตในห้องเพิ่ม (ไม่ถงไม่ถามหนูซ้ากคำ) ค่าไฟตอนนี้ แพงขึ้นแต่ถูกกว่าหอนอกอยู่นะ


คลื่น PCT จะมีที่หอเอฯ โซนซี อินเตอร์โซน แล้วก็บ.ร.1-บ.ร.4 แต่เดี๋ยวนี้มีเกือบทุกที่ ยกเว้นตึก SC หรือเกาะ SC ซึ่งไร้คลื่นอย่างมากกกก

PCTคือไรรร แต่ตอนนี้ มีไวไฟฟรีเป็นบริเวณกว้าง อย่างน้อยๆก็scกับหอป๋วย สัญญาณแรงใช้ได้ ชอบยกคอมมานั่งเล่น แต่ไม่รู้ทำไม เข้าไปในห้องเรียนแล้วไวไฟชอบหาย (สงสัยอยากให้ตั้งใจเรียน) ส่วนไวไฟฟรีที่หอ แยกเป็นอีกอัน

ธรรมศาสตร์ เป็นดินแดนแห่งเสรีภาพทุกตารางนิ้ว
บางที เสรีภาพจนไร้ขอบเขต จนต้องมีการรณรงค์ "เสรีภาพบนความรับผิดชอบ" แต่ก็รู้สึกจะไม่ค่อยได้ผลซักเท่าไร


แต่เสรีภาพจริงๆก็ตรงที่ แสดงความคิดเห็นกันได้ แม้คิดต่างก็รับฟังกัน เถียงกันด้วยเหตุผล แม้บางทีจะโจมตีกันรุนแรง เช่น ดราม่าชุดนศ. แต่พอนอกรอบ ก็คุยกันลั้ลล้า วันดีคืนดี มีโปสเตอร์แปะอยู่ที่โถงSC ถามว่า นิยามความสุขของคุณคืออะไร>>>ถ้าเขียนตอบจะโดนเรียกไปปรับทัศนคติมั้ย 5555 นอกจากนี้ ยังเป็นมหาลัยที่ด่าอธิบดีบ่อยที่สุดไล่ตั้งแต่ออกนอกระบบจนถึงแอร์เสีย นับว่านักศึกษารู้จักสิทธิหน้าที่และเสรีภาพของตนเองอย่างเต็มที่ (ควรภูมิใจมั้ยเนี่ย = =) 

คำขวัญอมตะของธรรมศาสตร์ คือ ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน
เป็นmotto ขายของและขายเด็กที่อยากเข้า แต่ความจริง นักศึกษากลายเป็นวัยรุ่นธรรมดา กิน เที่ยว ใช้ชีวิตชิคๆ (ที่ไม่ได้เน้นเรียน) เป็นยุคสายลมแสงแดด ไม่สนใจภายนอกอีกต่อไป

ทางมหาลัยเลยพยายามสร้าง"จิตวิญญาณธรรมศาสตร์" โดยมีวิชาTU100 เป็นวิชาที่ถูกขนานนามว่า "วิชาโลกสวย" สอนตั้งแต่การแยกขยะ ขี่จักรยาน ประชาธิปไตย มีออกชุมชนไปช่วยชาวบ้านหรือทำโครงการในมหาลัย ซึ่งบางทีก็ไม่รู้ว่าช่วยหรือทำให้ลำบากขึ้นกันแน่ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีอะไรดีเลย
ได้เพื่อนต่างคณะ ได้แนวคิดดี ติดนิสัยแยกขยะเพราะโดนกล่อมทุกสัปดาห์ และได้ความภูมิใจเล็กๆที่เคยได้ทำประโยชน์บ้าง (ก่อนไปใช้ชีวิตสำมะเลเทเมาต่อไป)

แต่ๆก็มีบางส่วน ที่น่าชื่นชม ออกทำประโยชน์ช่วยเหลือคนอยู่เสมอๆ อย่างเช่นช่วงน้ำท่วม จัดตั้งศูนย์พักพิง (ที่สุดท้ายก่อนโดนท่วมเหมือนกัน - -")หรือชุมนุมจิตอาสา ค่ายนู่นนี่ออกพัฒนาชนบท (ที่ไม่รู้ว่าไปช่วยชาวบ้านได้จริงๆหรือแค่สนองนีดคนอยากไป อุ้ย ลืมมมม ช่วงนี้ต้องชม ไม่จิกค่ะ 555) เอาเป็นว่า ความเป็นธรรมศาสตร์ที่รักประชาชนมันก็ไม่ได้หายไปซะทีเดียว แต่แค่หายาก มากกกก เท่านั้นแหละ

1
AllBoon SasiWatee 23 พ.ค. 58 เวลา 23:02 น. 18-1

นักศึกษาไม่จำเป็นต้องใส่ชุดนักศึกษามาเรียนก็ได้ แต่อาจจะยกเว้นบางวิชาแต่ตอนนี้ได้มีการรณรงค์ให้แต่งชุดนักศึกษา

ถ้าเป็นสายสังคม จะชิลๆ บังคับเฉพาะตอนสอบ ถ้าเป็นฝั่งวิทย์ ก็ไม่บังคับ แต่"รณรงค์"ให้แต่งชุดนักศึกษา ส่วนใหญ่ก็เห็นใส่กัน

ตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ "ไม่บังคับใส่ชุดนศ."แต่ให้ใส่ชุดสุภาพ
ที่ว่าใส่ชุดนอนไปเรียน เดี๋ยวนี้น้อยลง ค่อนข้างแต่งตัวดีกันขึ้น ประมาณเป็นเสื้อยืด กางเกงเล รองเท้าแตะ เอ๊ะ หรือมันก็คือชุดนอน 555 แต่บางคนก็จัดเต็ม เหมือนพึ่งออกมาจากแคทวอล์ก (ตื่นมาแต่งตัวตัั้งแต่ตีห้าเพื่อเรียนแปดโมงป้ะเนี่ย 555)
แต่เรื่องนี้บังเกิดดรามา จนถึงขั้นแบ่งฝั่งมธ.ตะวันออกกับตะวันตก เพราะมีวิชาบังคับที่ทุกคนต้องเรียนตัวนึง (ไม่บอกว่าเป็นTU130นะ) แหกกฎมหาลัยโดยการไม่แจกควิซ ถ้าไม่ใส่ชุดนศ. (ก็ไม่บังคับนิจ้ะ ไม่ใส่ก็ไม่แจกแค่นั้ลลล) จริงๆก็มีหลายวิชาทำอย่างงี้ แต่บังเอิญวิชานี้เป็นวิชาบังคับทั้งมหาลัย คนได้รับผลกระทบเยอะ เสียงเลยดังไปหน่อย จนมีการทำโปสเตอร์อันอื้อฉาว (ไปหาดูเอง)
เกิดการโต้เถียงอย่างดุเด็ดเผ็ดมันส์ว่า นักศึกษาควรใส่เครื่องแบบหรือไม่? กลายเป็นประเด็นออกข่าวหนังสือพิมพ์ สุดท้าย ทางวิชาก็ยอมแจกควิซให้ทุกคน (ไม่รู้ตอนนี้เป็นยังไงแล้ว) แต่ที่น่าตลกก็ขณะที่โลกภายนอกกำลังเครียด เด็กมธ.ก็กลับมาเฮฮา ปาจิงโกะ แบ่งเป็นมธ.ฝั่งตะวันออกกับตะวันตก ไม่แน่ใจว่าฝั่งไหนสนับสนุนการใส่ชุด มีเขตลี้ภัย เขตปกครองพิเศษ รัฐบาลพลัดถิ่น กลายเป็๋นสนุกสนานกันไปซะงั้น นี่เรียนกันเครียดไปใช่ม้ายยยย 555

ธรรมศาสตร์ ไม่เรียกผู้ที่ศึกษาที่นี่ว่า นิสิต เพราะถือว่าการเป็นนิสิตเป็นการถูกกำหนดขอบเขต
ดูจะดราม่ายังไงไม่รู้ แต่มี่เคยได้ยินมา มธ.เรียกว่านักศึกษา ก็เพราะ นิสิตใช้สำหรับที่ๆมีหอในให้พัก แต่ตอนนั้นมธ.เป็นมหาลัยเปิด (เทียบได้กับราม) เลยไม่มีที่พักให้ และนักศึกษาก็สื่อถึง การศึกษา ที่มากกว่าการเป็นนักเรียน เพราะการศึกษาจะต้องเรียนและรู้ รวมถึงศึกษาค้นคว้าตั้งคำถามเพิ่มด้วย

ธรรมศาสตร์ ยังไม่มีคณะเภสัชศาสตร์, สัตวแพทยศาสตร์ และครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์
เภสัช เปิดมา2ปีแล้วนะจ้ะ ส่วนครุ-ศึกษา เตรียมเปิดหลักสูตรตรีควบโท "คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์" ปี59นี้จ้าาาา

ถึงแม้ว่านักศึกษาบางคณะจะไม่ได้ศึกษาที่ท่าพระจันทร์แต่ความเป็นจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ ก็ได้รับการถ่ายทอดและหล่อหลอมให้กับนักศึกษาทุกคนเสมอมา
จ้ะ เอาที่สบายใจ เอ้ย ล้อเล่นๆ ไม่ว่าศูนย์ไหนๆเราก็ได้รับการปลูกฝังถึงความเป็นธรรมศาสตร์อย่างเต็มเปี่ยมและรู้สึกถึงความเป็นลูกแม่โดมในสายเลือด (พูดจริงๆ ไม่ได้ประชด)

นกเพนกวินกับหมีขาวสามารถมีชีวิตในห้องสมุดป๋วยได้ เพราะแอร์เย็นเหลือเกิน
เป็นแอร์ที่ไม่ว่าหน้าร้อน หน้าฝน หน้าหนาว ไม่เคยย่อนประสิทธิภาพในการทำงาน ตอนนี้ มีผู้ท้าชิงคือ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตัวเอง (บางคนย่อว่าศูนย์ช่วยตัวเอง = =)

UFM จะมีที่ คณะนิติศาสตร์และ SIIT และอีกที่นึงก็ข้างๆหอป๋วย
มันคืออะไร คาดว่าเป็นร้านขนม ตอนนี้ที่นิติเป็น LAW TU SNACK มีตั้งแต่ชองเบาๆ เช่น ขนมปัง กาแฟ ไอติม จนถึงของหนักท้องอย่างข้าวกล่อง ขนมจีน ส่วนข้างหอป๋วยมีกาแฟอินทนิลทั้งข้างในข้างนอกสองร้านและร้านกาแฟที่ขายขนมจีบและยำด้วยอีกหนึ่ง มีีร้านนึงใต้ตึกSC ตรงทางไปตึกนิติ ที่น่าจะเป็นUFM

0
::+[[E-Nu.View]]+:: 24 พ.ค. 58 เวลา 00:46 น. 20

ข้อมูลหลายๆ อย่างค่อนข้างเก่าจ้า
update หน่อยก็ดีโนะ
เพราะมีหลายๆเรื่องก็เปลี่ยนไปเยอะแล้ว
เช่น เรื่องสัญญาณ PCT นี่รู้ยุคเลย ฮาๆๆๆ

และตอนนี้ตึกบัญชี (ถึงแม้จะย้ายตึกแล้ว) ก็ยังหรูสุดอยู่ดี อิอิ

1
ร.ด. 24 พ.ค. 58 เวลา 10:50 น. 20-1

เขาอุตส่าห์รวบรวมมาให้ก็ดีแล้ว จะได้รู้ประวัติศาสตร์เก่าๆ ด้วยไง

ถ้าไม่มีคนเล่า บางเรื่องเด็กรุ่นหลังก็คงไม่รู้ ว่าเราเคยผ่านอะไรมา

0