Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ชื่อผลงาน การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา นางสาวภัทราภรณ์ แก้วเจริญ
สังกัด โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2557

บทคัดย่อ

การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง สังกัดเทศบาลเมืองพังงา ซึ่งได้มาแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 20 คน ซึ่งเป็นนักเรียนที่เขียนและอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ไม่คล่อง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 4 ชนิด ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 4 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา จำนวน 20 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา จำนวน 20 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา จำนวน 10 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาดำเนินการสอนด้วยตนเองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 1 ชั่วโมง ใช้เวลาทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ การหาค่าความเที่ยงตรงของเครื่องมือ โดยคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (item objective congruence index : IOC) ค่าความยาก (P) ค่าอำนาจ จำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยวิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (KR-20) สถิติที่ใช้หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะที่สร้างขึ้นใช้การหาค่า E1 และ E2 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย


ผลการวิจัยพบว่า

1) แบบฝึกทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.23/84.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ผู้ศึกษากำหนดไว้ 80/80
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนร้อยละ 38.50 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนร้อยละ 80.25 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ที่โรงเรียนกำหนดไว้ และนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ทุกคน
3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.34 หมายถึง นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะ เรื่องมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก

แสดงความคิดเห็น

>