Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ความเเตกต่างของทรัพย์สินทางปัญญาของไทย เเละต่างประเทศ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัดดีค่ะเพื่อน dek d ทุกๆคน นี่เป็นกระทู้ที่นำประสบการจากที่เคยเห็นมาพูดให้รู้กันนะคะ
ตามเรื่องเลยคือมเเตกต่างของทรัพย์สินทางปัญญาของไทย เเละต่างประเทศ ค่ะ
เเล้วทรัพย์สินทางปัญญามันคืออะไรนะหรอ ทรัพย์สินทางปัญญาคือ สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ" มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ โดยอาจแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลัก คือ (1) ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมและ (2) ลิขสิทธิ์ สำหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังแบ่งออกได้อีก 5 ประเภท ได้แก่ (1) สิทธิบัตร (2) อนุสิทธิบัตร (3) เครื่องหมายการค้า (4) ความลับทางการค้า และ (5) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (6) แบบผังภูมิของวงจรรวม (7) คุ้มครองพันธุ์พืช (8) ภูมิปัญญาท้องถิ่น

รัพย์สินทางทางปัญญานั้นคล้ายๆกับของส่วนตัวของพวกเรา คนอื่นๆไม่มีสิทธิจะเอาไปใช้เเล้วเเอบอ้างเป็นของตัวเอง หรือเอาไปใช้โดยไม่ได้ขออนุญาติหรือใส่เครดิดไว้ ก็เท่ากับว่าการโขมยทางอ้อมนั่นเอง หรือก่อนที่เราจะดูหนังเเผ่น เราจะเห็นใช่ไหม ผู้ชายที่ขี่มอเตอร์ไซนั้นเเหละที่เขาบอกว่า "อย่าซื้อของก๊อป เพราะจะเป็นการสนับสนุนพวกที่โขมยทรัพสินทางปัญญาของคนอื่น คุณอาจจะไม่โขยของ ไม่หยิบของคนอื่น เเต่คุณก็ถูกจับได้" อะไรประมาณนี้ 
                                ...เอาหละมาเข้าเรื่องกันเลย...
ขอพูดก่อนเลยนะคะว่าทรัพย์สินทางปัญญาไทยเป็นอย่างไร 

ทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย

ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาสำคัญ ๆ ว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเกือบทุกประเทศในโลกเป็นสมาชิก เช่น อนุสัญญากรุงเบิร์น (Berne Convention) ความตกลง TRIPs (Agreement on Trade - Related Aspects of Intellectual Property Rights) WTO และ GATT เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยได้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องและเป็นไปตามอนุสัญญาหรือความตกลงดังกล่าวเรื่อยมา

ประเทศไทยมีกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินปัญญาหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วสองครั้งโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2543 เป็นต้น
         จาก  www.
wikipedia.com
 ค่ะ ตามนี้ค่ะ เเล้วหลายคนถามว่า เเล้วต่างประเทศล่ะ บอกไว้ก่อนว่าคล้ายๆกันค่ะ เเต่บทลงโทษของทางเขาโหดกว่ามาก เเต่ทางเราจะนำเสนอเเค่ของไทย เเล้วให้คุณผู้อ่านคิดเป็น 2 เท่าของที่บอกมานะคะ

ตามประวัติศาสตร์กฏหมายไทยนั้น กฏหมายเก่าไม่ได้มีการแยกแยะความรับผิดทางแพ่งและอาญาออกจากกันอย่างชัดเจน อีกทั้งความหนักเบาของโทษนั้นก็พิจารณาจากตัวผู้ถูกกระทำผิดเป็นเกณฑ์โดยการกำหนดคุณค่าของบุคคลดังกล่าวเข้าไปแล้วจึงกำหนดโทษโดยมีเหตุผลว่าความสำคัญของแต่ละคนในบ้านเมืองนั้นไม่เท่ากันดังนั้นการกำหนดโทษจึงไม่ได้พิจารณาจากความผิดที่แท้จริง(Dégrée réel de criminalité) หลักการดังกล่าวได้เปลี่ยนไปเมื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ (Modern State) ประเทศไทยต้องเปลี่ยนแปลงกฏหมายที่ใช้อยู่เดิมเพื่อให้อารยประเทศยอมรับจึงได้มีการบัญญัติกฏหมายอาญาสมัยใหม่ขึ้นเป็นครั้งแรกในประมวลกฏหมายอาญาของไทย
โทษอาญาที่เกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเริ่มต้นที่ ประกาศหอสมุดวชิรญาณ รศ ๑๑๑ (คศ ๑๘๙๒) ซึ่งมีสภาพบังคับเป็นกฏหมายแล้ว[1]เพราะได้มีการบัญญัติว่า “ผู้ที่ฝ่าฝืนเป็นการขัดต่อพระบรมราชองค์การ”[2] ต่อมาเนื่องจากไทยเข้าเป็นภาคีของ BERNE Convention (Berlin Act 1908) ได้มีการบัญญัติโทษทางอาญาไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.๒๔๗๔ มาตรา ๒๕ (คศ ๑๙๓๑) แต่ก็มีเพียงแค่โทษปรับและริบหนังสือเท่านั้น
ต่อมาได้มีการประกาศใช้ประมวลกฏหมายอาญา พศ ๒๔๙๙(๑๙๕๖) ซึ่งมีการบัญญัติถึงโทษทางอาญาสำหรับเครื่องหมายการค้าขึ้นเป็นครั้งแรกในกฏหมายไทย ดังปรากฏตาม“รายงานการประชุมอนุกรรมการตรวจสอบพิจารณาแก้ไขประมวลกฏหมายอาญา”, ครั้งที่ ๒๖๙/๘๔๘๕[3] อันเนื่องมาจากรัฐบาลไทยได้ทำสนธิสัญญากับต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐบาลต้องแก้ไขกฏหมายในเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้าและการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม จึงได้ตกลงร่างกฏหมายใหม่ในสามเรื่องดังกล่าวและออกเป็นกฏหมายพิเศษและเห็นควรบัญญัติโทษเอาไว้ด้วยแต่บัญญัติในประมวลกฏหมายอาญาของไทยแทน
ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าว ร่องรอยของการบัญญัติโทษอันเกี่ยวด้วยเครื่องหมายการค้าตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา ๒๗๒ อันเป็นโทษหลักนั้นมาจากร่างกฏหมายฝรั่งเศสในเรื่องการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม(La concurrence déloyale)โดยที่ ณ เวลานั้นนายพิชาญ บุญยง ได้เสนอเป็นร่างมาตรา ๒๓๕ ไว้ในหมวดความผิดเกี่ยวกับการค้า

ภายหลังจากนั้น ๒๒ ปี ได้มีการปรับแก้กฏหมายลิขสิทธิ์อีกครั้งใน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พศ.๒๕๒๑(๑๙๗๘) ด้วยเหตุผลที่ว่า “บทบัญญัติต่างๆได้ใช้มานานแล้วจึงล้าสมัยและไม่ให้ความคุ้มครองได้กว้างขวางเพียงพอ นอกจากนั้นอัตราโทษที่กำหนดไว้เดิมก็ต่ำมาก” ดังนั้นตามกฏหมายดังกล่าวจึงได้ระวางโทษปรับสูงสุดถึง ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือ จำคุกสูงสุดไม่เกิน ๑ ปี โดยเป็นความผิดยอมความได้
ในที่สุดไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลก และได้แก้ไขกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหมดให้เป็นไปตามมาตราฐานขั้นต่ำของ TRIPs โดยให้เหตุผลในการแก้ไขไว้ว่า “กฎหมายที่บังคับใช้มานานไม่สอดคล้องกับสถานะการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาและขยายตัวทางเศรษฐกิจ การค้า อุตสาหกรรมของประเทศและระหว่างประเทศ” ดังที่ปรากฏใน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พศ.๒๕๓๗ (๑๙๙๔) ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน
ดังนั้นพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พศ.๒๕๓๗ จึงมีการวางโทษที่ค่อนข้างรุนแรง เช่น การจ่ายค่าปรับที่ได้ชำระตามคำพิพากษาให้จ่ายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นจำนวนกึ่งหนึ่ง (ซึ่งมีรูปแบบเหมือนกฏหมายโบราณของไทยเรื่องสินไหมกึ่ง พินัยกึ่ง) และในส่วนของโทษจำคุกกำหนดไว้ไม่เกิน ๔ ปี แต่วางโทษปรับไว้ขั้นสูงถึง ๘๐๐,๐๐๐ บาท และขั้นต่ำถึง ๒๐๐,๐๐๐ บาท
           


ก็พูดสั้นๆเลยนlะคะคือ ของเราจำคุกเเค่ 1 ปีหรือปรับ เเต่ทางนั้นเขาอาจจะจำคุก 5 ปีขึ้นหรือปรับซะหมดเนื้อหมดตัวเลยหละค่ะ
                         
      เเต่ว่าถ้าใครขี้เกียจอ่าน ขอนำเสนอคริปของ Christy Mastar เลยค่ะ คัดลอกตามลิ้ง เเล้วเข้าไปฟังเลยนะคะ     
https://www.youtube.com/watch?v=PQojVc5nRcY

                        @  ..................................................................................  @
ปลล. มีอะไรถามที่คอมเม็นนะคะ >w</

        

แสดงความคิดเห็น

>