Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

Question creates answer - ศาสตร์แห่งการตั้งคำถาม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
How to be a professional duck ?: Question creates answer

ศาสตร์แห่งการตั้งคำถาม ?

นิทานเรื่องนึงที่น่าสนใจกล่าวกันว่า ในยุคสมัยสงครามเย็น ที่สองมหาอำนาจกำลัง อวดแสนยานุภาพของตัวเองด้วยการส่งจรวดไปในอวกาศระหว่าง สหภาพโซเวียตกับอเมริกา หลังจากที่อเมริกาสามารถส่งคนไปโคจรรอบโลกได้แล้ว นายทหารที่อยู่บนกระสวยอวกาศก็พยายามจะจดบันทึก เลยหยิบปากกาขึ้นมา ปรากฏว่าเขียนไม่ได้เพราะอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก หมึกปากกาเลยลอยคว้างอยู่ในอวกาศ ภายหลังชายคนนั้นกลับมายังโลก จึงเล่าเรื่องนี้ให้ทุกคนฟัง องค์กรอวกาศก็พยายามคิดค้นเร่งพัฒนาปากกาที่สามารถเขียนในอวกาศได้ จนในที่สุด ครบรอบ 10 ปีเขาก็สามารถคิดค้นมันได้สำเร็จ สหภาพโซเวียตได้ยินข่าวก็ถึงกับหัวเราะก๊าก เพราะเขาสามารถจดบันทึกในอวกาศได้ตั้งแต่ 8 ปีที่แล้วด้วยการใช้ดินสอ

เรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิดได้ดีแก่คนทำงาน ทำกิจกรรม ไม่สิ ทุกคนเลย เพราะการหาคำตอบที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สำคัญ แบบที่อเมริกาหาว่าทำยังไงให้ปากกาเขียนบนอวกาศได้ แต่การหาคำถามที่เหมาะสมก่อนจะตอบนั้นเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ในภาษาอังกฤษเรียกว่า "Reframe question" แบบที่สหภาพโซเวียตปรับโจทย์ให้เหมาะคือมีอะไรบนโลกที่สามารถใช้จดบันทึกในอวกาศได้

ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารความรู้มีให้เราเลือกใช้ได้อย่างหลากหลาย การหาคำตอบที่ดีไม่ใช่เรื่องยาก เราสามารถหาคำตอบได้ด้วยแค่เข้าไปหาใน google แต่กลายเป็นว่าในปัจจุบันสิ่งที่เรามักติดปัญหา และเป็นหลุมพรางคือการถามคำถามที่ไม่ถูกต้อง เช่น โจทย์คือการหางานทำ

ปกติเรามักจะตั้งคำถามว่า
A: ทำงานที่บริษัทไหนดี คำตอบจะเป็นชื่อบริษัท
แต่หากเราลองปรับคำถามเป็นว่า
B: ความสามารถแบบเราควรประกอบอาชีพอะไรดี คำตอบเป็นได้ตั้งแต่ นักกีฬา นักธุรกิจ นักบัญชี
หรือ C: เราอยากทำงานใกล้ๆบ้าน
จุดประสงค์เหมือนกันคือหางานทำแต่ถามคำถามต่างกัน คำตอบไปคนละแนวเลย

ข้อดีของการปรับเปลี่ยนคำถาม
ทำให้เราจะได้คำตอบใหม่ ที่อาจจะดีกว่า อาจจะใช้ต้นทุนน้อยกว่า เราจะได้คำตอบใหม่ที่สร้างสรรค์ และแก้ปัญหาได้ตรงจุด นี่ก็เป็นต้นกำเนิดของความคิ
ดสร้างสรรค์ได้นะ เพราะความคิดสร้างสรรค์คือความคิดทางเลือกที่มันดีไม่น้อยกว่า ความคิดที่เรามักใช้ประจำ การปรับเปลี่ยนคำถามก็จะเหนี่ยวนำไปสู่คำตอบทางเลือกอื่น

การตั้งคำถามนับได้ว่าเป็นหัวใจที่สำคัญของการเรียนที่โครงการ DBTM การตีโจทย์หรือตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ และจากหลากหลายมุมมอง เป็นแรงผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพราะหากไม่ปรับบริบทของโจทย์เลย มุ่งไปหาวิธีแก้ปัญหาหรือนำเสนออย่างเดียว บางทีเราอาจจะติดกรอบมากเกินไป จนคิดอะไรไม่ออก มีวิธีสังเกตว่าเราตั้งคำถามแคบไปรึป่าว ถ้าคำถามหรือโจทย์แคบเกินไป เรามักจะคิดคำตอบได้แค่ 1-2 อย่าง ซึ่งปกติควรจะได้สัก 5-8 คำตอบ แล้วเราถึงค่อยมาเลือกอันที่เหมาะสมมากที่สุด

อัลเบิร์ต ไอน์สไตล์เคยบอกว่า ถ้าเขาต้องแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สักอย่างนึก เขาจะใช้เวลากว่า 90% ในการปรับบริบทของคำถาม และใช้เวลาอีก 10%ในการหาคำตอบ

ในครั้งนี้ก็หวังว่าเพื่อนๆ จะสามารถพลิกแพลงแนวคิดนี้เอาไปปรับใช้กันได้ และติดตามพวกเราได้ที่ www.facebook.com/DBTMprogram นะครับ !

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น