Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ประเพณีไทยที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ในภาคเหนือ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ประเพณี หมายถึง ขนบธรรมเนียม แบบแผน (พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน, 2493 : 569)
  ประเพณีในประเทศไทยนั้นมีหลายประเพณีมาก ซึ่งแต่ละภาคก็จะมีรูปแบบของประเพณีที่แตกต่างกันไป ซึ่งในที่นี้เราก็จะมายกตัวอย่างประเพณีสงกรานต์และประเพณีตั้งธรรมหลวงในภาคเหนือกันนะคะ^-^
ประเพณีสงกรานต์
      เริ่มต้นด้วยกิจกรรมวันสงกรานต์ล้านนาในภาคเหนือ ที่เรียกว่า "ประเพณีปี๋ใหม่เมือง" กันเลยจ้า  ในวันที่ 13 เมษายน  "วันสังขานต์ล่อง" วันนี้ถือเป็นวันสิ้นสุดศักราชเก่าของชาวภาคเหนือ ซึ่งจะมีการจุดประทัดในช่วงเช้า เพราะมีความเชื่อแต่โบราณว่า เป็นการขับไล่สิ่งเลวร้ายในปีก่อนให้พ้นไป และในช่วงเย็นจะมีงานบุญขนาดใหญ่ นั่นคือการแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองด้วย ในช่วงนี้จะมีทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติ มารวมตัวกันอย่างหนาแน่น แต่ก็ได้ทั้งบุญและความสนุกสนานกันเลยทีเดียว จากนั้นในวันที่  14 เมษายน  ที่เรียกกันว่า "วันเนา"  หรือ "วันเน่า" จะเป็นวันที่ห้ามด่าทอ ว่าร้ายผู้อื่น ไม่เช่นนั้นจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี ส่วนในวันที่ 15 เมษายน "วันพญาวัน" หรือ "วันเถลิงศก" เป็นวันที่ชาวบ้านตื่นตั้งแต่ไก่โห่เพื่อไปทำบุญตักบาตร เข้าวัดฟังธรรม จากนั้นจะมีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในช่วงบ่าย พอถึงวันที่วันที่ 16 เมษายน "วันปากปี"  ทุกคนก็จะพากันไปรดน้ำเจ้าอาวาสตามวัดต่าง ๆ และรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เพื่อขอขมา โดยในวันที่  17 เมษายน  "วันปากเดือน"  ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ ชาวบ้านจะทำการปัดตัว เพื่อส่งเคราะห์ต่าง ๆ ออกไป เพื่อเป็นการปิดฉากประเพณีสงกรานต์ล้านนา

ที่มา:
http://hilight.kapook.com/view/21052
ประเพณีตั้งธรรมหลวง

ความสำคัญ

      การตั้งธรรมหลวง  คือ  การฟังเทศน์ครั้งใหญ่ โดยประชาชนจะมาร่วมกันฟังเทศน์กันมาก
เป็นพิเศษ   เป็นการฟังเทศน์แบบธรรมวัตร   และฟังมหาเวสสันดรด้วยการเทศน์มหาชาติ
เริ่มตั้งแต่กัณฑ์ทศพรเป็นกัณฑ์แรกในตอนเช้ามืด และเทศน์ต่อกันไปโดยลำดับ เจ้าของ
กัณฑ์เทศน์เตรียมเครื่องกัณฑ์ของตนมาวางไว้ และนิมนต์พระภิกษุที่จะมาเทศน์มารออยู่
จนถึงเวลาเทศน์ของตน กัณฑ์สุดท้าย คือ นครกัณฑ์จะสิ้นสุดลงเวลาใกล้สว่าง

      ชาวล้านนานิยมจัดให้มีการเทศน์มหาชาติในเดือนยี่เหนือเพ็ญ (วันเพ็ญเดือน 12) โดยจัด
หาผู้เป็นเจ้าของกัณฑ์้ทั้ง 13 กัณฑ์  เจ้าของกัณฑ์เทศน์ต้องหาเครื่องกัณฑ์  ซึ่งส่วนใหญ่
จะเป็นดอกไม้  ธูปเทียน  และเงิน และต้องจัดให้เข้ากับกัณฑ์เทศน์ด้วย เช่น กัณฑ์กุมาร
หรือกัณฑ์มัทรีมักเตรียมเครื่องกัณฑ์ที่มีมะพร้าวอ่อน กล้วย อ้อย เพราะเนื้อเรื่องในเกี่ยว
กับพระนางมัทรีเข้าป่าเพื่อหาผลไม้    เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้จำนวนธูปเทียนตามจำนวน
คาถาในแต่ละกัณฑ์ด้วย เช่น กัณฑ์ชูชกมีคาถาอยู่ 79 คาถา ก็ต้องถวายธูปเทียนตามนั้น 
เป็นต้น

ที่มา:
http://chm-thai.onep.go.th/chm/tk/tungtum_N.html

ถ้าใครรู้ประเพณีในภาคไหน ก็นำมาแชร์ต่อๆกันได้น้าาาา^-^


แสดงความคิดเห็น

>