Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

วิธีการรักษาบาดแผล

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ชนิดของบาดแผล บาดแผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

1. บาดแผลปิด เป็นบาดแผลที่ไม่มีรอยแยกของผิวหนังปรากฏให้เห็นเกิดจากแรงกระแทกของของแข็งที่ไม่มีคม แต่อาจมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อและเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนัง ซึ่งมองจากภายนอกจะเห็นเป็นลักษณะฟกช้ำ โดยอาจมีอาการปวดร่วมด้วยแผลประเภทนี้ที่พบเห็นได้บ่อยในชีวิตประจำวันก็คือฟกช้ำจากการมีสิ่งของตกหล่นใส่บริเวณร่างกาย 2. บาดแผลเปิด เป็นบาดแผลที่ทำให้เกิดรอยแยกของผิวหนัง แบ่งออกเป็น 2.1 แผลถลอก เป็นแผลตื้น มีผิวหนังถลอกและมีเลือดออกเล็กน้อย ไม่มีอันตรายรุนแรง พบบ่อยในชีวิตประจำวัน เช่นการหกล้ม การถูกขีดข่วน 2.2 แผลฉีกขาด เป็นแผลที่เกิดจากวัตถุที่ไม่มีคม แต่มีแรงพอที่จะทำให้ ผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังฉีกขาดได้ ขอบแผลมักจะขาดกระรุ่งกระริ่ง หรือมีการชอกช้ำของแผลมาก ผู้บาดเจ็บจะเจ็บปวดมากเพราะถูกบริเวณปลายประสาทเช่น บาดแผลจากการถูกรถชน 2.3 แผลตัด เป็นแผลที่เกิดจากอาวุธหรือเครื่องมือที่มีคมเรียบตัด เช่น มีด ขวาน ปากแผลจะแคบ เรียบ ยาว และชิดกัน ถ้าบาดแผลลึกจะมีเลือดออกมาก แผลชนิดนี้มักจะหายได้เร็วประมาณ 3-7 วัน เนื่องจากขอบแผลอยู่ชิดกัน 2.4 แผลถูกแทง เป็นแผลที่เกิดจากวัตถุที่มีปลายแหลมแทงเข้าไป เช่น มีดปลายแหลม ตะปู ปากแผลมักจะเล็กแต่ลึก ถ้าลึกมากมีโอกาสจะ ถูกอวัยวะที่สำคัญมักจะมีเลือดออกมา ทำให้ตกเลือกภายในได้ 2.5 บาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นแผลที่เกิดจากความร้อนแห้ง เช่น ไฟไหม้ ความร้อนเปียก เช่น น้ำร้อนลวก

การปฐมพยาบาลบาดแผลชนิดต่างๆชนิดของแผล การปฐมพยาบาล

แผลฟกช้ำ - ใน 24 ชั่วโมงแรกประคบด้วย ความเย็น เพื่อไม่ให้เลือดออกอีกและช่วยระงับปวด

- หลัง 24 ชั่วโมงควรประคบด้วยความร้อนในบริเวณที่เกิดรอยฟกช้ำ หรือทายาที่ทำให้เกิดความร้อน เช่น ขี้ผึ้ง บาล์ม ยาหม่องหรือทายาบาดแผล ฟกช้ำเพื่อช่วยละลายลิ่มเลือด   ---ข้อควรระวังถ้าการกระแทกรุนแรงจนทำให้เกิดการตกเลือดของอวัยวภายในควรสังเกต--- แผลถลอก  - ล้างแผลและทำความสะอาดแผลด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด ใช้ผ้าสะอาดซับแผล ถ้าแผลไม่สกปรก ไม่มีเลือดซึม อาจปล่อยให้แห้งและหายเองโดยไม่ต้องปิดแผล อาจใช้แอลกอฮอล์เช็ดรอบแผล ทาหรือใส่แผลด้วยยาฆ่าเชื้ออ่อน ๆ เช่น เบต้าดีน แผลฉีกขาด  - ทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่ เพื่อล้างสิ่งแปลกปลอม ถ้าฉีกขาดไม่มากอาจติดเองภายหลัง เพียงใช้ผ้าปิดแผลและพันผ้าให้ขอบแผลติดกัน   ถ้าแผลรุ่งริ่งมากควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด แผลตัด - ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำและสบู่ เช็ดรอบแผลด้วยแอลกอฮอล์และใส่ยาฆ่าเชื้อในแผลก่อนปิดแผล - ถ้าแผลลึกมากควรห้ามเลือดและ ส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการเย็บแผล แผลถูกแทง - ถ้าไม่มีสิ่งหักคาและแผลเล็กให้ล้างแผล และแนะนำส่งโรงพยาบาลเพื่อฉีดยาป้องกันบาดทะยัก - ถ้ามีสิ่งหักคาห้ามดึงออก เพราะเลือดจะไหลมากขึ้น ควรห้ามเลือดและรีบนำส่งโรงพยาบาล

แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก 1. เปลื้องเสื้อผ้าออกจากบริเวณที่ถูกไฟไหม้ ถ้าเสื้อผ้าติดกับแผลไฟไหม้จะดึงออกยากเพราะจะเจ็บมากหรือถ้าถอดลำบากก็ควรตัดออกเป็นชิ้น ๆ 2. ไม่ควรลดอาการปวดแสบปวดร้อนโดยการทาด้วยยาหม่อง ราดด้วยน้ำปลาหรือยาด้วยยาสีฟัน ซึ่งไม่ควรทำเพราะจะทำให้แผลติดเชื้อได้ง่ายขึ้น 3. ถ้าผู้บาดเจ็บสวมกำไลหรือแหวนให้ถอดออก เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้นิ้วหรือข้อมือบวมจะถอดไม่ออก 4. ให้นอนยกส่วนที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวกสูงขึ้นเล็กน้อย 5. ถ้าผู้บาดเจ็บกระหายน้ำให้ดื่มน้ำได้แต่น้อยไม่ควรให้น้ำอัดลม เพราะท้องจะอืดและอาเจียน 6. ควรใช้ผ้าสะอาดบาง ๆ คลุมแผล ไม่ควรใช้ผ้าห่มหนาคลุม เพราะผ้าห่มเป็นแหล่งเพาะเชื้อ 7. รีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล


แสดงความคิดเห็น

>