Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ของจริงมาเอง! สทศ.ตั้งโต๊ะแถลงข่าว #ONET ที่ทีวีบางรายการพูดถึงเป็นข้อสอบเก่า พร้อมเฉลยข้อกฏหมาย ถูกต้องตอบข้อ 5

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
วันนี้เวลา 12.00 ที่ผ่านมา ทางสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้แถลงข่าว “ชี้แจงข้อสอบ O-NET” โดย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์) และ รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ. ณ ห้องปฏิบัติการกระทรวงศึกษาธิการ (MOC) อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีประเด็นในการแถลงข่าวดังนี้

ท้ายงานแถลงข่าว ในช่วงที่ให้สื่อมวลชนซักถามข้อสงสัย ทาง ดร.ทรายทอง พวกสันเทียะ รองผู้อำนวยการ สทศ. ได้มีการตอบข้อซักถามของสื่อมวลชน เกี่ยวกับข้อสอบ "ข้อใดไม่ใช้กฏหมายไทย" ซึ่งเปิดเผยว่าคำถามที่ถูกต้องคือ "ข้อใดต่อไปนี้ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมายไทย" และได้เปิดเผยเพียงสั้นๆ ว่า "คำตอบข้อนี้คือ ตัวเลือกที่ 5"

โดยพูดเพิ่มเติมว่า ข้อสอบข้อนี้ต้องการวัดในสาระที่ 2 ในวิชาสังคมฯ หน้าที่พลเมืองและวัฒนธรรม และการเมืองชีวิตในสังคม โดยมาตรฐานการเรียนรู้ที่ต้องการจะวัด คือ เข้าใจและปฏิบัติตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี มีค่านิยมที่ดี และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรม ดำรงชีวิตในสังคมไทยอย่างมีความสุข ซึ่งข้อสอบดังกล่าว ยังลงลึกไปถึงตัวชี้วัดสำคัญ ที่เป็นการวิเคราะห์และปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลก และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.กระทรวงศึกษาธิการได้แนะนำว่าข้อนี้ต้องอาศัยการมองในแง่มุมของอาณาเขตของกฎหมาย

แสดงความคิดเห็น

>

12 ความคิดเห็น

ยังไงแน่ 10 ก.พ. 59 เวลา 14:53 น. 2

งั้นช่วยคิดต่อกันหน่อยครับ ถ้าโจทย์เป็นตามนี้จริงๆและเฉลยว่าข้อ5ถูกคือไม่ใช้กฎหมายไทย แสดงว่าทุกข้อต้องใช้กฎหมายไทย แต่ข้อ1กับ4 มันขัดแย้งกันนี่ครับ ถ้าข้อ1เป็นเครื่องบินสิงคโปร์จอดในไทย ใช้กฎหมายไทยตามราชอาณาจักร งั้นข้อ4ก็เป็นเครื่องบินไทยจอดอยู่ฮ่องกงซึ่งต้องใช้กฎหมายฮ่องกงด้วยใช่มั้ย? สรุปถ้าข้อ5ไม่ใช้กฎหมายไทย ข้อ1ใช้กฎหมายไทย ข้อ4ก็จะไม่ใช้กฎหมายไทยเช่นกันนะครับ อธิบายให้ชัดๆหน่อยได้มั้ยครับ ผู้รู้ทั้งหลาย

8
seesnodd 10 ก.พ. 59 เวลา 15:53 น. 2-1

คิดแบบนี้เหมือนกัน ข้อ 1 กับ 4 มันแย้งกัน
ถ้าข้อ 5 ถูก ฉะนั้นข้อ 4 ก็ต้องถูกด้วยสิ เพราะเครื่องไม่ได้จอดในไทย น่าจะเป็นกฎหมายฮ่องกง

0
พี่เองค่ะ 10 ก.พ. 59 เวลา 16:30 น. 2-2

เป็นไปตามป.อ. มาตรา4ค่ะ "(ว.1)ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร(ไทย) ต้องรับโทษทางกฎหมาย(ไทย)
(ว.2)การการะทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทยไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด(เช่น บินอยู่เหนือน่านน้ำมาเลย์) ให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร(ไทย)" >>วนลูปไปที่วรรคแรก>>ต้องรับโทษทางกฎหมาย(ไทย)

0
คุคุ 10 ก.พ. 59 เวลา 16:40 น. 2-3

คือเค้าถามกฎหมายไทยไง ตามคห.บน ข้อ4มันแล้วแต่ว่าฮ่องกงระบุไว้ยังไง ไม่ขัดกัน แล้วแต่กฎหมายแต่ละประเทศ

0
ฮุฮิ 10 ก.พ. 59 เวลา 17:12 น. 2-4

ตามที่ผมอ่านมาการทำผิดในเรือไทยหรืออากาศยานของไทย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดถือว่าเป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักรครับ

0
Tofeiana 10 ก.พ. 59 เวลา 21:14 น. 2-5

ข้อ 1 ใช้หลักดินแดน
ข้อ 4 กฎหมายวางหลักไว้ว่า ทำผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ให้ถือว่าทำผิดในราชอาณา

ทั้งสองข้อมันใช้กฎหมายไทยได้ แล้วมันแย้งกันตรงไหนเนี้ย

0
The-WorLd 10 ก.พ. 59 เวลา 21:22 น. 2-6

ถึง 2-4 ข้อ1 เค้าบอกว่าเป็นอากาศยานของสิงคโปร์นะครับ

0
thesis 10 ก.พ. 59 เวลา 21:51 น. 2-7

เป็นไปตามป.อ. มาตรา4ค่ะ "(ว.1)ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร(ไทย) ต้องรับโทษทางกฎหมาย(ไทย) อ้างอิงคำตอบจากความเห็นี่ 2-1 ครับ **ข้อ 1 เหตุเกิดในไทย สู้สู้

0
Wellington 11 ก.พ. 59 เวลา 10:22 น. 2-8

กรณีตามข้อ 1 กับ ข้อ 4 ในมุมมองของกฎหมายไทย ไม่ขัดกันนะครับ
เพราะข้อ 1 โดยสภาพเป็นการกระทำผิดในราชอาณาจักรโดยแท้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 4 วรรคหนึ่งครับ แต่จะผิดตามกฎหมายสิงคโปร์ เนื่องจากถือว่าเป็นการกระทำผิดบนอากาศยานสิงคโปร์หรือไม่ หากผิดตามกฎหมายสิงคโปร์ด้วย ก็ถือว่าเป็นเรื่องกฎหมายขัดกัน ซึ่งเป็นอีกประเด็นหนึ่งแยกต่างหากครับ
ส่วนข้อ 4 เป็นการกระทำผิดที่ "ถือว่า" ได้กระทำในราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 4 วรรคสอง หมายความว่าโดยสภาพของการกระทำ หาได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทยโดยแท้ไม่ แต่ทว่าประมวลกฎหมายอาญามุ่งหมายให้ผู้กระทำผิดรับโทษในราชอาณาจักร ส่วนจะผิดกฎหมายประเทศฮ่องกงอันเป็นท้องถิ่นที่กระทำผิดหรือไม่ หากผิด ก็ถือว่าเป็นเรื่องกฎหมายขัดกัน ซึ่งเป็นอีกประเด็นหนึ่งแยกต่างหากเช่นกันครับ
ส่วนข้อ 5 เป็นเรื่องที่โดยสภาพแห่งการกระทำเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร และไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะ "ถือว่า" ได้กระทำผิดในราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา โดยหลักจึงไม่อาจรับโทษในราชอาณาจักรได้ครับ ทั้งไม่เข้าข้อยกเว้นที่ถึงแม้จะกระทำนอกราชอาณาจักร แต่ต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา ม.6, 7, 8 ด้วย

สรุป ข้อ 5 จึงเป็นคำตอบถูกต้องที่สุดครับ

0
The-WorLd 10 ก.พ. 59 เวลา 21:22 น. 4
ถ้าเฉลย 5 จริง ไม่1ก็4 ต้องถูกด้วย แต่ถ้า เฉลย 4 ข้อ 5 จะผิดอย่างไร 
แล้วถ้าข้อ 1 ยกกฎหมายของสิงคโปร์มาด้วย ไม่ถือว่าออกเกินหลักสูตรหรอครับ?
ปล.ข้อนี้ควรให้ฟรี
1
.... 11 ก.พ. 59 เวลา 12:18 น. 4-1

จะถูกได้ไง นี่มันเรื่องอาณาเขตครับ ข้อ1มันกฎหมายเรื่องอากาศยาน ข้อ5น่ะถูกแล้ว

0
KrissadaSarahey! Programmer 11 ก.พ. 59 เวลา 10:14 น. 6

ข้อ 1 ที่หลายคนสงสัย ว่าถ้าข้อ 4 ใช้กฏหมายไทย ข้อ 1 ก็ต้องใช้สิงคโปร์สิ
คืองี้ครับ ในบริบทของข้อนี้ เค้าถามแค่กฏหมายไทยเท่านั้น ซึ่งเราก็ต้องดูที่บทบัญญัติของกฏหมายไทย

ข้อ 1 ดูจากหลักดินแดน ม.4 วรรค1 อันนี้คือที่ไทยระบุไว้ สิงคโปร์เค้าจะระบุยังไงก็ตาม แต่ไทยระบุไว้แบบนี้ครับ

ข้อ 4 ในกรณีนี้ก็เช่นกัน เราระบุไว้ว่า อากาศยานของไทย ให้ถือว่ามีความผิดตามกฏหมายไทยด้วย แต่ประเทศอื่น ที่เครื่องบินเราไปอยู่จะเป็นที่ไหน เค้าจะมีการบังคับใช้กฏหมายแบบใด ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศครับ

เข้าใจว่าคิดในหลักประมาณว่า ถ้าข้อ 4 เราใช้ ข้อ 1 สิงคโปร์ก็ใช้ได้สิ ซึ่งไม่เกี่ยวกันครับ เค้าถามแค่กฏหมายไทย เราก็ดูที่กฏหมายไทย ซึ่งข้อ 5 นี้ ชัดเจนกว่า ว่าไม่มีกฏหมายไทยรองรับไว้ (หรืออาจจะมี) ตอบข้อ 5 ก็สมควรแล้วครับ

0
....... 11 ก.พ. 59 เวลา 10:29 น. 7

เราว่าข้อนี้ไม่ได้เกินหลักสูตรนะคะ เพราะเหมือนมีเรียนแล้วว่ากฎหมายไทยจะใช้บังคับได้ที่ใดบ้าง เพียงแต่มันอาจจะซับซ้อนไปหน่อยเท่านั้นเอง

อย่างข้อที่อยู่บนเรือ เครื่องบินของไทย ก็ยังถือว่าอยู่บนราชอาณาจักรไทย ใช้กฎหมายไทย แต่ข้อห้าเมื่อคุณเหยียบเข้าแผ่นดินประเทศญี่ปุ่นแล้วกฎหมายญี่ปุ่นก็จะมีผลบังคับใช้กับคุณทันทีต่อให้คุณเป็นคนไทย ตามที่เราเข้าใจนะ เราว่าข้อนี้ค่อนข้างเคลียร์ ไม่ย้อนแย้ง ไม่คลุมเครือเลยแหละ

0
อมยิ้ม 11 ก.พ. 59 เวลา 18:10 น. 10

ไม่เกินหลักสูตรคร๊าาา
เรียนมาๆ กฎหมายไทยใช้บังคับในดินแดนไทย
เรือและอากาศยานไทยถือว่าเป็นดินแดนไทย

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น