Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ย้อนรอยปฎิรูปกฎหมายประมงไทย ทำไมเรือเล็กควร (ได้) ออกจากฝั่ง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
Blogpost โดย อัญชลี พิพัฒนวัฒนากุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การขับเคลื่อนเพื่อปฎิรูปกฎหมายประมงเริ่มมีความเข้มข้นมากขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยการปรับเปลี่ยนกฎหมายที่ผ่านมาอยู่ภายใต้แรงกดดันทั้งในระดับประเทศและในระดับสากลในเวลาที่จำกัด ที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดผลกระทบกับหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดวันหยุดการทำประมงส่งผลให้เกิดผลกระทบธุรกิจต่อเนื่องในอุตสาหกรรมประมงพานิชย์ เป็นต้น และผลกระทบล่าสุดที่เกิดขึ้น คือ ประมงพื้นบ้านถูกจำกัดเขตการทำประมงให้อยู่ภาย 3ไมล์ทะเล ตามพระราชกำหนด การประมง พ.ศ. 2558 มาตราที่ 34

หลายท่านคงสงสัยว่าเหตุใดจึงสร้างความเดือดร้อน ทั้งที่ชาวประมงพื้นบ้านน่าจะได้ประโยชน์เนื่องจากมีเขตของตนเอง เรือประมงพานิชย์ไม่สามารถเข้ามาทำการประมงหรือทำการใดๆได้ แต่กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น  เขต 3 ไมล์ทะเลจากชายฝั่งเป็นเขตรักษาระบบนิเวศ แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน การทำประมงในบริเวณนี้มีเพียงบางเครื่องมือประมงพื้นบ้านเท่านั้นที่สามารถทำประมงได้โดยไม่ส่งผลกระทบโดยจะมีข้อตกลงกันแต่ละพื้นที่และต้องอยู่ในอัตราส่วนที่เหมาะสม

คำถามคือ-ส่วนชาวประมงพื้นบ้านในประเทศไทยมีถึง 80% ของชาวประมงทั้งประเทศ เรือราวกว่า 50,000 ลำ ต้องแออัดกันอยู่ในเขต 3ไมล์ทะเล ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อฐานทรัพยากรโดยรวมตามมา  อีกทั้งไม่สอดคล้องกับการทำประมงในแต่ละพื้นที่ โดยการทำประมงพื้นบ้านบางประเภทต้องออกไปไกลกว่า 3 ไมล์ทะเล เช่น การ-ปลาอินทรีย์ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต้องออกไปไกลกว่า 10 ไมล์ทะเล เป็นต้น สร้างความเดือดร้อนต่อชาวประมงพื้นบ้านโดยรวมเป็นอย่างมาก การเคลื่อนไหวเพื่อปฎิรูปกฎหมายมาตรานี้จึงเริ่มขึ้น

ย้อนรอยการปฎิรูปกฎหมายประมงไทย 

เนื่องจากกฎหมายประมง พ.ศ.2490 มีการใช้มากว่า 50 ปี  หลายภาคส่วนมีความเห็นตรงกันว่าเนื้อหาและข้อบังคับค่อนข้างล้าสมัยไม่ทันต่อเทคโนโลยีการประมงในปัจจุบัน  จึงมีการร่วมกันปรับปรุงแก้ไขและให้ใช้กฎหมายประมงใหม่ คือ พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเริ่มจากกระบวนการมีส่วนร่วมจึงมีการตั้งคณะกรรมาธิการจากทุกภาคส่วน โดยประกอบด้วย  ประมงพื้นบ้าน ประมงพานิชย์  ผู้ประกอบการ นักการเมือง นักวิชาการ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร แต่เนื้อหากฎหมายประมงฉบับนั้นค่อนข้างเป็นการจัดการในภาพกว้างที่กล่าวถึงการบริหารการจัดการ แต่ไม่ได้มีการลงรายละเอียดในเรื่องการบังคับใช้ และการพื้นฟูด้านทรัพยากร ตลอดจนบทลงโทษยังคงน้อยไป นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยอยู่ในสถานะประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือต่อต้านการประมงผิดกฎหมาย ไร้การรายงาน ขาดการควบคุม (IUU) กฎหมายฉบับนี้จึงมีข้อทวงติงจากสหภาพยุโรปในด้านการตรวจสอบย้อนกลับ(Traceability)ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตอาหารทะเล  จึงนำไปสู่การปรับปรุงกฎหมายฉบับใหม่ คือ พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 โดยเพิ่มเนื้อหาดังที่กล่าวไป และมีการแก้ไขและปรับปรุงเพิ่มเติมให้มีมาตรา 34 ขึ้น โดยในใจความสำคัญคือ  “ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทําการประมงพื้นบ้าน ทําการประมงในเขตทะเลนอกชายฝั่ง”

แต่เดิมในขณะที่ พรบ. การประมง 2558 ที่ถูกยกเลิกไป ได้ระบุในมาตรา 43  ว่า  “ให้ผู้ทําการประมงด้วยเครื่องมือทําการประมงที่มีใบอนุญาตตามมาตรา ๔๒ หรือเครื่องมือทําการประมงพื้นบ้านตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด ทําการประมงในเขตประมงทะเลนอกชายฝั่งได้ โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง”

ภาพโดย อัญชลี พิพัฒนวัฒนากุล

ดังนั้น ชาวประมงพื้นบ้านในจังหวัดติดชายฝั่งทะเล จึงได้ร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อเรียกร้องให้ภาครัฐทบทวนพระราชกำหนดประมงฉบับใหม่ โดยมาตราหลักที่ต้องปรับปรุงแก้ไข คือ  มาตรา 34 ว่าด้วยเรื่อง “การห้ามเรือเล็กออกนอกเขตชายฝั่ง” โดยที่ผ่านมามีการยื่นจดหมายและแถลงการณ์ร่วมต่อผู้ว่าราชการจังหวัดที่ศาลากลางจังหวัดในแต่ละพื้นที่ กว่า 18 จังหวัด และมีการยื่นหนังสือและเข้าหารือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก คือ กรมประมงและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

การขับเคลื่อนมีเป้าหมายหลักเพื่อต้องการให้ผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศได้ตื่นรู้และแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเริ่มจากโจทย์สำคัญว่าด้วยความเท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากร เหตุใดชาวประมงพื้นบ้านผู้ที่มีศักยภาพในการปกป้องรักษาชายฝั่งทะเลต้องถูกจำกัดสิทธิในการทำกินอยู่ในเขต 3 ไมล์ทะเลหรือ 5.56 กิโลเมตรจากชายฝั่ง  ทั้งที่เรือประมงพื้นบ้านบางลำมีศักภาพในการออกไปนอกเขตได้ โดยเครื่องมือที่ใช้นั้นมีความเหมาะสมไม่ทำลายความสมดุลของทรัพยากรสัตว์น้ำ 

ผลจากการขับเคลื่อนจุดประเด็นในสังคมวงกว้าง สอดคล้องกับสถานการณ์ความร้อนแรงของใบเหลืองอียูที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และส่งผลให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติขึ้นอย่างเร่งด่วน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีผู้ชำนาญการประมง ผู้ประกอบการประมงพานิชย์ ประมงพื้นบ้าน นักวิชาการและตัวแทนประมงพื้นบ้าน อย่างไรก็ตาม -ส่วนของคณะกรรมการประกอบด้วยประมงชายฝั่ง (ประมงพื้นบ้าน)เพียง 1 ท่าน และนักวิชาการผู้ชำนาญการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกเพียง 1 ท่าน  ส่วนอีก 8 ท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประมงในด้านต่าง ๆ คือ  ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  ผู้แปรรูป ประมงนอกน่าน้ำ ประมงชายฝั่ง  ประมงน้ำจืด  และได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณามาตรา 34 โดยเฉพาะ แต่กลับไม่มี-ส่วนของประมงชายฝั่งและผู้ชำนาญการด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายประมงพื้นบ้านจึงมีข้อกังวลว่า การที่ไม่มีประมงพื้นบ้านเข้าไปให้ความเห็นในคณะอนุกรรมการ การแก้ไขปัญหาอาจไม่ตรงจุดและล่าช้า

 ภาพโดย อัญชลี พิพัฒนวัฒนากุล

เรือเล็กเรือใหญ่ไม่สำคัญ…สำคัญที่เครื่องมือ

เป้าหมายในการแก้ไขมาตรา 34 ในพระราชกำหนดประมง พ.ศ.2558 คือการสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรและการบริหารจัดการโดยคำนึงถึงพื้นฐานของทรัพยากรเป็นหลัก

“เดิม พรบ การประมง พ.ศ.  2558 ได้กำหนดเครื่องมือประมงที่มีการทำลายล้างสูง เช่น อวนลากไม่ให้เข้ามาทำการประมงในพื้นที่ใกล้ชายฝั่ง 3 ไมล์ทะเล  และต้องสามารถขยายพื้นที่ให้เป็นเขตบริหารจัดการโดยไม่เกิน 12 ไมล์ทะเลจากชายฝั่งตามข้อตกลงของคณะกรรมการประมงในแต่ละจังหวัด แต่ไม่ใช่การแบ่งเขตว่านี่เป็นเขตเรือใหญ่ของประมงพานิชย์หรือเรือเล็กประมงพื้นบ้าน ตัวอย่างเช่น หากเป็นเรือเล็กแต่มีเครื่องมือประมงที่มีการทำลายล้างสูงก็ไม่สามารถเข้ามาทำประมงบริเวณชายฝั่งได้" ปิยะ เทศแย้ม รองนายกสมาคมประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย กล่าว

แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

“เราอาจจะไม่ต้องรออียูหรือใครมาตัดสินหรือกำหนดทิศทางการแก้ไขการจัดการประมงในบ้านเรา แต่คนไทยทั้งประเทศไม่ว่าจะเป็นชาวประมง ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมประมง  นักวิชาการ และผู้บริโภค ล้วนมีส่วนช่วยให้การประมงของไทยมีความยั่งยืนและรอดพ้นจากวิกฤตนี้ เพื่อกอบกู้ทรัพยากรที่กำลังจะลดน้อยลงทุกทีหากไม่มีการจัดการอย่างถูกต้อง นี่คือความท้าทายของภาครัฐและคนไทยทุกคน” คุณปิยะ กล่าวเสริม

ทางออกจากวิกฤต คือ จะต้องอาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือในการจัดการหลัก รัฐที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย ต้องรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ บนฐานทางวิชาการที่ถูกต้อง รับฟังความคิดเห็นจากกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และผลกระทบต่าง ๆ ในทุกภาคส่วน ตลอดจนประยุกต์หลักการจัดการอันเป็นที่ยอมรับในทางสากล มาแก้ไขปัญหาโดยยึดหลักความเป็นธรรม และคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน และเคารพวิถีชิวิตการทำกินของทุกคนอย่างเท่าเทียม

การรับประกันถึงความมั่นคงทางอาหารทะเลและการบริหารจัดการประมงอย่างยั่งยืนของไทยเป็นเส้นทางที่ยาวไกล แต่ก็ยังมีแสงสว่างที่รออยู่ที่ปลายอุโมงค์ หากทุกภาคส่วนร่วมมือและมีเป้าหมายเดียวกัน คือการส่งมอบทรัพยากรให้ถึงมือคนรุ่นต่อไป


 ที่มา: www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/55667

แสดงความคิดเห็น

>