Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อยากอ่านน้อยแต่ได้มาก? 3เทคนิคสำคัญ เพิ่มผลลัพธ์ด้วยการอ่านที่น้อยกว่า !

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ทำยังไงให้อ่านน้อยแต่ได้มาก ?
ตอนที่1 รู้เขารู้เรา สอบ100ครั้งชนะ100ครั้ง !

.
เรียกว่าเรื่องนึงที่อาจจะเป็นความลับระดับจักรวาลเลยก็ว่าได้
คือทำไมบางคนมันอ่านน้อยแต่เก่ง
บางคนอ่านเยอะแต่แพ้คนอ่านน้อยซะงั้น
'อ่านน้อยแต่ได้มากเนี่ยนะ มันเป็นไปได้ยังไงกัน !?'
คนฉลาดนี่โกงไปมั้งงง
.
พี่คนนึงแหละที่เคยคิดแบบนี้
แล้วก็รู้สึกว่าชีวิตมันไม่แฟร์เอาซะเลย 5555
.
แต่พอโตมาหน่อยก็คิดได้ว่า
พวกคนฉลาดจะอัจฉริยะขนาดไหนก็ปล่อยเค้าเถอะ
ทำไมเราไม่มาลองพยายามให้ตัวเรา
'อ่านน้อยแต่ได้มาก'กันบ้างล่ะ
.
และซีรี่ส์นี้พี่จะแชร์conceptที่พี่ใช้
เพื่อให้ อ่านน้อยแต่ได้มาก
ให้น้องๆที่อยากพัฒนาตัวเองเอาไปลองใช้กันนะครับ
.
อย่างแรกที่สำคัญที่สุด
ต้องมาทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อน
ว่า 'อ่านน้อย แต่ได้มาก'
สำหรับพี่คือ
'ใช้เวลาอ่านน้อย แต่ได้ผลลัพธ์ที่มาก'
คือใช้เวลาอ่านไม่ต้องเยอะ
ไม่ต้องซดกระทิงแดง อดตาหลับขับตานอนแข่งกะคนอื่น
แต่ก็สอบได้ผลลัพธ์ที่น่าประทับใจ
.
นั่นไม่ได้หมายความว่า อ่านน้อยคืออ่านชีทน้อย
หรืออ่านหนังสือน้อยนะครับ
เราไม่สามารถฝันความรู้ใหม่ๆ(knowledge)ขึ้นมาได้เอง
ทำได้แค่เอามันมาประยุกต์และคิดต่อยอดเท่านั้น
.
เพราะฉะนั้นสิ่งที่คนอ่านน้อยแล้วได้มากเค้าทำกันก็คือ
เขมือบความรู้มากมายแบบประหยัดเวลาที่สุด
แล้วเอาความรู้นั้นออกมาใช้ได้มากที่สุดไงล่ะ !
(ขอเรียกแบบง่ายๆว่า "ประสิทธิภาพสูง"
ในทางฟิสิกส์ก็คือ ใส่แรงน้อยที่สุด
แต่ผลผลิตมากที่สุดใช่ม้าา )
.
แล้วที่นี้ เราจะเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนได้ยังไงล่ะ?
เราก็ต้องสร้างผลลัพธ์ที่มากขึ้นในเวลาที่น้อยลงใช่ป้ะ
เพราะงั้นน้องๆก็ต้องมาดูแล้วว่า
***1ผลลัพธ์ที่น้องอยากได้มันคืออะไร ? [What]
(ลองตอบคำถามในใจเองนะครับ)
.
ผลลัพธ์ที่อยากได้เช่น
สอบติด, คะแนนสูงๆ, เกรด4.00, อันดับที่1,
อ่านเพื่อประดับความรู้ หรืออ่านไปสอนเพื่อน
อะไรก็ว่ากันไป
.
ทำไมต้องถามตัวเองแบบนั้น
เพราะมันจะช่วยมาตอบคำถามที่2ได้ว่า
***ต้องอ่านแบบไหน ถึงจะได้ตามเป้านั้น? [How]
เนื่องจากการอ่านเพื่อผลลัพธ์แต่ละแบบ
วิธีอ่านก็อาจจะต่างกันราวฟ้ากับดินเลยก็ว่าได้
.
เปรียบเทียบง่ายๆถ้าการสอบเหมือนเกม
น้องก็ต้องรู้ว่าเกมนี้จะชนะต้องทำยังไง(how)
เกมแข่งรถก็ต้องชนะจากการเข้าเส้นชัยใช่ป่ะ
ไม่ใช่มัวเสียเวลาตีมอนสเตอร์เก็บเลเวลข้างทาง
(ใครจะบ้าทำแบบนั้นล่ะเนอะ 5555)
.
ในชีวิตจริงลองนึกภาพว่า อ่านเพื่อไปเขียนตอบเป็นสิบๆบรรทัด
(แบบข้อสอบวิชาสังคมของทุนกพ.)
กับอ่านเพื่อไปกาช้อยส์สอบปลายภาควิชาสังคม
ต่อให้ออกเรื่องเดียวกันเป๊ะๆ
วิธีอ่าน 2แบบในเวลาที่เท่ากันก็ให้ผลลัพธ์คนละขั้ว !
.
สอบเขียนตอบ ถ้าอ่านแบบพอคุ้นๆเหมือนไปกาช้อยส์ก็ตายสิครับ
นั่งตื้อ นึกอะไรไม่ออกแน่นอน
.
หรือถ้าจะอ่านแบบจำทุกเม็ด เก็บทุกพ้อย เพื่อไปสอบกาช้อยส์
ก็จะเสียเวลาสุดๆ แทนที่จะเอาเวลาไปอ่านให้เก็บเนื้อหาได้กว้างๆ
.
เพราะงั้นน้องต้องตอบ How ให้ได้ก่อนนะ
ว่าถ้าจะสร้างผลลัพธ์แบบที่เป็นเป้าหมายของเราเนี่ย
ต้องทำยังไงบ้าง
และสำหรับน้องๆที่ยังไม่มีประสบการณ์หรือเซ้นส์ในการวิเคราะห์
ว่าสอบแบบไหน ต้องใช้ How ยังไง
พี่มีguildแบบคร่าวๆ ให้ลองใช้ดูครับ
.
3เทคนิคประเมินศัตรู (การสอบของน้องนั่นแหละ 555)

1)เนื้อหาที่ออกมีอะไรบ้าง?
เราต้องรู้ขอบเขตที่ชัดเจนก่อน
เพื่อที่เราจะได้อ่านมากพอที่จะเก็บข้อยากได้
และไม่เสียเวลาไปกับอะไรที่มันไม่ค่อยออก
เรียกง่ายๆว่า อ่านน้อยกว่า แต่ตรงจุดมากกว่า !
อย่าไปกราดยิงมั่วซั่ว มันเปลืองกระสุน 555
(คนที่ไม่รู้ก็จะต้องกินหนังสือทั้งเล่มครับ
ทั้งเหนื่อยทั้งเสียเปรียบ)
อีกอย่างคือข้อมูลที่เรารู้มาต้องเป็นของจริงเท่านั้นนะ
ไม่ใช่อาจารย์บอกว่าจะออกตื้นๆ ก็เชื่ออาจารย์ไปง่ายๆซะงั้น
.
[tips1] แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
อย่างแรก ข้อสอบปีเก่าๆ (การสอบสนามใหญ่ๆน่าจะมีขายเพียบ)
อย่างที่2คือ คนที่มีประสบการณ์สอบมาก่อน ซึ่งก็มักจะเป็นรุ่นพี่
พอเราได้ขอบเขตว่าอะไรควรอ่าน ไม่ควรอ่านแล้วก็จัดไปครับ !
อย่าลืมนะว่า ใช้สมองไปกับเรื่องที่มันจะออกเท่านั้น
รายละเอียดบางอย่างมันไม่ค่อยออกก็อย่าไปเปลืองสมองกับมัน!
นั่นเป็นสาเหตุที่คนดูแนวจากข้อสอบหรือโจทย์เก่าๆมาหลายปี
ก่อนที่จะเริ่มอ่านมักได้เปรียบ
เพราะเค้ารู้ว่าอะไรมั่งที่จะไปโผล่ในข้อสอบของเค้า
.
2)ระดับความยาก?
ต่อให้เนื้อหาหัวข้อเดียวกัน
แต่ความลึกตื้นหนาบางต่างๆก็ไม่เท่ากัน
สอบมิดเทอมที่รร.
กับสอบเข้าก็ใช้ระดับความยากที่ต่างกันแน่ๆ
ต้องเลือกอ่านหนังสือและทำโจทย์ให้เหมาะสมกับความยากด้วย
ถ้าอ่านในระดับที่มันง่ายเกินไป ต่อให้อ่าน50ล้านรอบก็แพ้เขาครับ 555
สรุปคือ ต้องรู้ให้ได้ว่าถ้า ต้องคำนวณ มันซับซ้อนขนาดไหน ?
ถ้าต้องจำ ต้องจำละเอียดขนาดไหน ?
.
[tips2] วิธีที่จะทำให้เราแยกแยะความยากง่ายในแต่ละเลเวลได้ง่ายที่สุด
คือต้องลองดูโจทย์จากหลายค่ายหลายเล่มครับ
อาจจะไปลองยืนเปิดๆดูก่อนในร้านหนังสือก็ได้ 555
ยืนอ่านนานหน่อย เพื่อดูว่าเล่มไหนยากจริง แล้วซื้อมาทำ
จะทำให้เรารู้ว่าความยากความลึกแต่ละระดับมันเป็นยังไง
จุดที่พลาดของคนส่วนใหญ่คือ ไม่เคยเจอว่าระดับที่ยากจริงเป็นยังไง
เลยคิดว่าที่ทำอยู่ เนื้อหามันลึกพอแล้วครับ
ต้องดูโจทย์ หาข้อสอบเก่าให้เยอะพอ แล้วเราจะรู้เอง
(ไม่จำต้องซื้อมาทำให้หมดทั้งตลาดนะ แต่ต้องเคยได้ลองทำบ้างจะได้รู้)
.
3)วิชาที่ออกเป็นแนวไหน?
คือวิชาที่เราเรียนมันใช้สกิลอะไรเป็นหลัก
พี่แบ่งใหญ่ๆของพี่เองเป็น 3 แบบ
1คือเน้นคิด
2คือเน้นจำ
3คือทักษะ
.
วิชาเลข กับ ฟิสิกส์ พี่ให้อยู่ในพวกเน้นคิดครับ
คือใช้แค่ความเข้าใจรู้ที่มาที่ไป+จำสูตรนิดหน่อยๆ
ที่เหลือก็คือคิดคำนวณครับ
คำแนะนำก็คือวิชาพวกนี้ทำโจทย์เยอะๆครับ
บางทีทำโจทย์ไปอ่านเฉลยไป ทำไปเรื่อยๆก็เก่งแล้ว
แทบจะไม่ต้องอ่านเนื้อหาด้วยซ้ำ! 555
.
ส่วนวิชาชีวะ กับ สังคม ขอให้อยู่ในหมวดเน้นจำ
เพราะต้องเน้นอัดเนื้อหาเข้าหัว
ต้องจำให้ดีๆเป็นหลัก ถ้าทำโจทย์ได้ด้วยก็โอเค
.
และสุดท้ายคือวิชาทักษะ
พี่ขอจัดให้พวกภาษาต่างๆอยู่ในหมวดนี้
เพราะมันจะว่าจำก็ต้องจำ
แต่ก็ต้องผ่านการใช้จนเชี่ยวชาญด้วยถึงจะทำได้ดี
เรียกว่ายิ่งใครเรียนรู้มายาวนานก็จะยิ่งได้เปรียบ
.
และสุดท้ายวิชาเคมี
พี่คิดว่าเป็นกึ่งๆระหว่างจำกับคิดครับ
คือส่วนที่ต้องจำเยอะก็มี แต่ที่ต้องคิดก็มาก
ควรอ่านและทำโจทย์ให้สมดุลกันครับ
(อันนี้พี่แบ่งโดยยึดตัวเองเป็นหลักนะครับ
ถ้าน้องคนไหนไม่เห็นด้วยก็ขออภัย)
.
จะเห็นได้ว่าแต่ละวิชาก็มีwayของตัวมันเอง
ถ้าน้องๆทำตามวิธีของมันก็จะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าแน่นอนน
.
[example]
ตัวอย่างการใช้3เทคนิคที่ว่ามา เช่น
ถ้าเราอยากสอบปลายภาคชีวะให้ได้ท๊อปของห้อง
เราก็ต้องดูscopeเนื้อหาที่ออกทั้งหมดก่อน
ซึ่งวิชาชีวะบางโรงเรียนออกใจดีก็จะออกแค่หนังสือหลักสูตร
(ซึ่งต้องยอมรับว่าเนื้อหาค่อนข้างตื้น 555)
ถ้าบางโรงเรียนโหดหน่อย แค่นั้นก็อาจจะไม่พอ
.
เทคนิคในข้อ1)ควรใช้เพื่อรู้ว่าเนื้อหาที่มันออกเนี่ย
เราอ่านแค่ของรร.พอมั้ย หรือต้องซื้อของข้างนอกมาอ่าน
และถ้าซื้อหนังสือข้างนอกมา เนื้อหาก็จะทั้งลึกและเยอะ
การที่เราเปิดโจทย์ดูเยอะๆ จะรู้เลยว่าอันไหนมันไม่ค่อยออก
และจะลดภาระเราได้เพียบ !
ทีนี้ก็เอาเนื้อหามาดูเลยว่า "ต้องอ่านทั้งหมดกี่เล่มกี่หน้า ?"
นั่นคือ"ผลลัพธ์"ที่เราจะเอา
.
ใช้ข้อ2)กับ3) เราก็จะรู้แล้วว่า
ชีวะเป็นวิชาแนวจำเป็นหลักจริงมั้ย
แต่ก็ต้องมาประเมินลักษณะการสอบด้วย
ถ้ากาช้อย เราก็อ่านแค่ให้พอเจอช้อยแล้วคุ้นๆว่าใช่
กาถูกก็จบ
แต่ถ้าเขียนตอบ มันต้องจำได้แม่นกว่า
ถ้าถามยากบางทีอาจต้องจำทุกพ้อย
ถ้ารร.ซีเรียสกับ technical term (หรือภาษาสากล)
เราก็ต้องท่องและฝึกสะกดtechnical termให้ได้อีก
โอ้ ชีวิต 555
ความลึกและความยากนี่แหละ
ที่จะเป็นตัวบอกว่า "ต้องอ่านแบบไหนและอ่านกี่รอบ?"
.
คิดว่าตัวอย่างพี่ที่ให้ไปจะทำให้เห็นภาพมากขึ้น
น้องๆลองเอาไปใช้กันดูได้นะครับ 3วิธีง่ายๆของพี่
ที่จะทำให้เรารู้ไส้รู้พุงศัตรู(ข้อสอบ)ของเรา
อย่าลืมว่า รู้เขารู้เรา สอบ100ครั้งชนะ100ครั้งนะครับ :)
.
>>อ่านต่อตอนที่ 2 "เปลี่ยนให้ 'เวลา' มาเป็นทีมเรา"เพื่อการอ่านน้อยที่ได้มาก
ได้ที่เพจBRAIN HACKING by P'Mink<<คลิกได้เลย
อย่าลืมlikeเพจและตั้งsee firstเพื่อไม่ให้พลาดทุกโอกาสการเรียนรู้นะครับ
.
น้องๆคนไหนมีคำถาม อยากปรึกษา อยากแนะนำให้พี่เขียนcontentเรื่องอะไร
Add มาพูดคุยกันได้ที่ line ID : @pzn5147f (ต้องใส่@นะครับ ไม่งั้นจะไม่เจอ 555)

แสดงความคิดเห็น

>