Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แชร์ความรู้ เรื่องแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 
ในปัจจุบันนี้แพทย์ก็เป็นอาชีพที่สำคัญอยู่ไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ เพราะคนเราทุกคนก็ต้องมีการเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นเรื่องปกติ และอาชีพแพทย์ก็เป็นอาชีพในฝันของใครหลายๆคน ไม่ว่าจะเป็นทันตแพทย์ จักษุแพทย์ สูตินารีแพทย์ หรือแพทย์เฉพาะทางอื่นๆ แต่ก็มีแพทย์เฉพาะอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ค่อยมีคนจะรู้จักมากนัก แต่ก็เป็นแพทย์เฉพาะทางที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย นั่นก็คือ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
 
แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินคืออะไร
แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน (emergency medicine physician) หรือที่เรียกสั้นๆกันว่า แพทย์ ER คือแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการอบรมสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินหลักสูตร 3 ปี 
มีวุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตร เทียบเท่าสาขาเฉพาะทางอื่นๆ ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน รวมถึงการออกไปรับส่งคนไข้กับรถพยาบาลหรือยานพาหนะอื่น ๆ เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงที 
 
ลักษณะการทำงาน
-จำเป็นดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งหมด ตั้งแต่ที่จุดเริ่มต้นของการเกิดภาวะฉุกเฉิน ทั้งทางศัลยกรรม อายุรกรรม ตั้งแต่นอกโรงพยาบาล (pre-hospital care) จนถึงในโรงพยาบาล (in-hospital care)
- เมื่อผู้ป่วยฉุกเฉินมาถึงห้องฉุกเฉิน ก็ต้องดูแลจำแนกผู้ป่วยตามความฉุกเฉิน เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้คุ้มค่า
- เนื่องจากผู้ป่วยฉุกเฉิน เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่า เขาจะเป็นอะไรมา ความรู้ด้านภาวะฉุกเฉินของทุกๆสาขาวิชาจึงมีความจำเป็นมาก จึงจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ เรื่อง clinical Emergency medicine หรือมีความรู้ในเรื่องศาสตร์ต่างๆของแพทย์
- นอกจากนี้ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ยังมีความรับผิดชอบในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยจำนวนมากๆจากการเกิดเหตุครั้งเดียว
 

 

คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมกับอาชีพ
1. สำเร็จการศึกษาทางสาขาวิชาแพทย์ศาสตร์ 
2. ขยันสนใจในการศึกษาหาความรู้ทางวิทยาการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี 
3. มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย และจิตใจไม่พิการหรือทุพพลภาพ ปราศจากโรค 
4. สามารถอุทิศตนยอมเสียสละเวลา และความสุขส่วนตัว เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่เดือดร้อนจากการ เจ็บป่วย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วย มีความเมตตา และมีความรักในเพื่อนมนุษย์มีความเสียสละที่จะเดินทางไปรักษาพยาบาลผู้คนในชุมชนทั่วประเทศ 
5. มีมารยาทดี สามารถเข้ากับบุคคลอื่นได้ทุกระดับมีความอดทน อดกลั้น และมีความกล้าหาญ 
6. มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพของตน มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ ไม่ใช้ความรู้ทางวิชาการของตนไปหลอกลวงหรือทำลายผู้อื่น 
                                                              
แนวทางการศึกษาต่อเพื่อเข้าสู่อาชีพ
  • เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมปลาย
  • เข้าศึกษาต่อคณะแพทย์ศาสตร์ในมหาวิทยาลัย โดยศึกษาในสถาบันที่มีการเปิดสอนเวชศาสตร์ฉุกเฉิน เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล
 
ความก้าวหน้าในงานอาชีพ รายได้และสวัสดิการ
ผู้ประกอบอาชีพแพทย์ที่มีความชำนาญและประสบการณ์ จะได้เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง จนถึงระดับผู้บริหาร หากมีความสามารถในการบริหาร หรืออาจประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยเปิดคลินิกรับรักษาคนไข้ทั่วไป นอกเวลาทำงานเป็นรายได้พิเศษ สำหรับผู้ที่มีความชำนาญและมีทีมงานที่มีความสามารถ รวมทั้งมีเงินทุนจำนวนมากก็สามารถเปิดโรงพยาบาลได้
ในเรื่องของระบบเงินเดือนนั้นหากเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ จะมีระดับเงินเดือนตามขั้นโดยข้าราชการพลเรือนมีระดับขั้นตั้งแต่ ซี 1 ถึง ซี 11 ซึ่งแต่ละระดับก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน   โดยแพทย์เริ่มต้นจะได้รับบรรจุเป็น ซี 4 ซึ่งมีขั้นเงินเดือน 8,190 บาท ในแต่ละซี จะมีขั้นเงินเดือนหลายๆขั้นเป็น 10 ขั้น เช่น ซี 1 มีขึ้นเงินเดือนต่ำสุดคือ 4,100 บาท สูงสุดคือ 7,260 บาท ซี 11 ขั้นต่ำสุดคือ 29,690บาท สูงสุดคือ 57,190 บาท ซึ่งตัวเลขต่างๆเหล่านี้เปลี่ยนแปลงได้ตลอด  ขึ้นอยู่กับระเบียบของก.พ. หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำหรับคุณหมอถ้าไม่มีปัญหาอะไรทุกๆปีก็จะได้เลื่อนขึ้นเงินเดือน 1 ขั้น หรือ 2 ขั้นถ้ามีความสามารถ นอกจะนี้ยังมีการเลื่อนซีด้วย บรรจุครั้งแรกเป็นซี 4 แต่เป็นขั้นควบคือควบซี 5 และซี 6 ด้วย ถ้าทำงานครบ 2 ปีเต็ม จะถูกเลื่อนให้เป็นซี 5 โดยอัตโนมัติและถ้าทำงานต่อไปอีก 4 ปีก็จะได้เลื่อนไปเป็นซี  6 เห็นได้ว่าจะเลื่อนตำแหน่งและฐานเงินเดือนขึ้นไปเรื่อยๆตามอายุการทำงาน 
 
ปัญหาและอุปสรรคที่อาจพบในการประกอบอาชีพ
  • อาจมีหน้าที่นอกเหนือจากการเป็นหมอคือดูแลสิ่งที่ขาดเหลือในโรงพยาบาล ... เพราะจะมีปัญหาในเรื่องของเครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่เพียงพอ
 
แนวโน้มของต้องการอาชีพในอนาคต
เป็นสาขาใหม่ยังไม่คุ้นเคยกับคนไทยมากนัก แต่เป็นสาขาวิชาที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดในบ้านเรา ปัจจุบัน ในประเทศไทย มีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินอยู่ประมาณ 300-400 คน กระจายตัวตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน มีสถาบันฝึกอบรมหลายแห่งในประเทศไทยทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
แต่ก็ยังถือว่าขาดแคลนอย่างมากสำหรับประเทศไทย ภาครัฐจึงเล็งเห็นความสำคัญจัดลำดับให้เป็นสาขาขาดแคลน
 
 
คุณค่าอาชีพต่อการพัฒนาสังคม
อาชีพหมอกำเนิดขึ้นเป็นวิชาชีพแรกๆและมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นการเกิด   แก่ เจ็บ และ ตาย ต่างต้องอาศัยความรู้ความสามารถทางการแพทย์ทั้งสิ้นและวิชาชีพหมอก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆทั้งในเรื่องความรู้ความสามารถ เทคโนโลยีทางการแพทย์  การค้นคว้าวิธีการรักษาใหม่ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยหายขาดจากอาการ เจ็บน้อยลง และย่อระยะเวลาในการรักษาให้สั้นลง วิธีการต่างๆก็เพื่อให้คนในสังคมไม่ทุกข์จากการมีโรคภัยไข้เจ็บ สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติจากการได้รับการรักษา โรคภัยเกิดขึ้นได้ทุกวันและเกิดขึ้นได้กับทุกคน อาชีพหมอจึงถือว่าเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อสังคมเป็นอย่างมาก 
 
 
บรรณานุกรม
http://www.a-chieve.org/information/detail/92
http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/guidance/21198
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=emergentologist&month=06-2008&date=18&group=1&gblog=1
http://www.oknation.net/blog/EPandaman/2013/09/10/entry-1
https://sites.google.com/site/tonnaam60014/1-phaethy
 
สรุป
แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน รวมถึงการออกไปรับส่งคนไข้กับรถพยาบาลหรือยานพาหนะอื่น ๆ เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงที  และมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเชื่อว่าหาก ผู้ป่วยฉุกเฉิน ได้รับการดูแลที่ถูกต้องยิ่งเร็วเท่าไหร่ ยิ่งเป็นผลดีกับผู้ป่วยมากขึ้นเท่านั้น ทีมแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินจึงมีบทบาทตรงจุดนี้ บางครั้งผลการรักษาดีหรือไม่ดีขึ้นกับการรักษาเบื้องต้นเป็นสำคัญ
 
 

 

 
 
 

แสดงความคิดเห็น

2 ความคิดเห็น

วัยใส 30 พ.ค. 64 เวลา 19:54 น. 1-1

แพทย์เฉพาะทางเหมือนจะเรียนไปทำงานไปนะคะ แต่อันนี้ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ

0
น้ำฝน 18 ก.พ. 65 เวลา 23:37 น. 2

ERกับEMTต่างกันยังไงคะ แล้วหมอที่ปฏิบัติการในห้องฉุกเฉินเรียกว่าอะไร เรียนกี่ปีคะ

0