Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อยากรู้อะไรเกี่ยวกับอาชีพแพทย์กันบ้าง ลองถามกันมาได้ครับ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
พี่เรียนจบแล้ว เรียนต่อจนจบสาขาเฉพาะทางแล้ว และเรียนต่อจนจบสาขาเฉพาะทางของเฉพาะทางแล้วอีกด้วย ไม่ได้เข้า Dek-D มานานมากละ ตอนนี้เป็นหมออยู่ ช่วงนี้พอมีเวลา เลยมาคุยกับน้องๆ ละกัน

* กระทู้นี้ตั้งขึ้นมา เผื่อมีน้องๆคนไหนอยากถามว่า อาชีพหมอเป็นอย่างไร ทำงานแบบไหน เงินเดือนเท่าไหร่ ทางเลือกหลังเรียนจบเป็นยังไง และอื่นๆเท่าที่อยากจะถาม เพราะพี่มองว่า ก่อนที่น้องจะเลือกคณะ น้องน่าจะต้องรู้ก่อนว่า ชีวิตหลังเรียนจบมหาวิทยาลัยเป็นยังไง ชีวิตตัวเองจะเป็นยังไงต่อไป และคงยากที่น้องจะนึกภาพอาชีพ แพทย์ ออก ว่าเราทำงานกันยังไง

** พี่สอบตอนยังเป็นสมัยเอนทรานซ์อยู่ สมัยนั้นไม่มี กสพท ไม่มีข้อสอบความถนัดแพทย์ ไม่มีอะไรทั้งสิ้น มีให้วัดฝีมือ 2 รอบ จบ รู้ผล ดังนั้น ห้ามถามเกี่ยวกับว่าสอบยังไง ข้อสอบสมัยนี้ยากมั้ย สมัครสอบยังไง เพราะตอบไม่ได้

*** ถามเรื่องขณะเรียนอยู่พอได้ แต่กรุณาพึงระลึกไว้ว่า หลักสูตรเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขณะพี่เรียนกับตอนที่หนูกำลังจะเข้าไปเรียนอาจจะไม่เหมือนกัน

แสดงความคิดเห็น

>

66 ความคิดเห็น

PanglinGYup 17 ก.ย. 59 เวลา 16:47 น. 1

ตอนเรียนหนักมากถึงมากที่สุดจนไม่ไหวเลยมีมั้ยคะ ? 
แล้วจบมา ได้มีเวลาว่างบ้างรึเปล่า 

3
จขกท 17 ก.ย. 59 เวลา 17:39 น. 1-1

ตอนเรียนมีช่วงที่หนักมากบ้างเหมือนกันครับ

ช่วงปีที่ 1-3 จะหนักที่ปริมาณเนื้อหาที่เยอะและยากขึ้นเรื่อยๆ เยอะจนบางทีอ่านไม่จบก็ต้องไปเข้าห้องสอบแล้วก็มี วิชาส่วนใหญ่อาศัยความจำเป็นหลัก แต่ก็ต้องใช้ความเข้าใจเข้ามาด้วยเช่นตอนเรียน สรีรวิทยาเป็นต้น (Physiology - เกี่ยวกับการทำงานของร่างกายปรกติ เช่น ปอดแลกเปลี่ยนก๊าซได้อย่างไร) และมีการทำ Lab เป็นระยะๆ

แต่พี่เชื่อว่า ถ้าน้องสอบเข้าแพทย์ได้ ก็น่าจะผ่านมันไปได้ อีกอย่าง ถึงหนักแค่ไหน เราก็จะมีเวลาว่างช่วงเย็นและก็เสาร์อาทิตย์ ก็จะผ่อนคลายไปได้พอสมควร ไปเที่ยวได้บ้าง (เวลาว่างอาจจะมากกว่าตอนม.ปลายเพราะเราไม่มีที่เรียนพิเศษแล้ว)

ช่วงปี 4-6 นอกจากปริมาณเนื้อหาที่หนักขึ้น *กว่า* ตอนปี 1-3 แล้ว (เนื่องจากต้องอ่านโรคจริงมากขึ้น และรูปแบบการเรียนจะเปลี่ยนไป อ.จะสอนในห้องเรียนน้อยลง ส่วนใหญ่อ.จะสอนกันที่ข้างเตียงคนไข้นั่นแหละ) น้องก็จะเริ่มได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมดูแลคนไข้ และเริ่มมีการเข้าเวร โดยปรกติส่วนใหญ่ปี 4-5 จะให้อยู่ถึงเที่ยงคืนแล้วกลับหอได้ แต่ปี 6 (Extern) จะอยู่ถึงเช้า *แล้วทำงานต่อในวันต่อมาจนถึงเวลาเลิกงานจึงกลับหอได้* ลองนึกภาพการทำงานในวันต่อมาดูว่าจะเป็นศพขนาดไหน แต่ก็นั่นแหละ เราก็ผ่านกันมา อาศัยแอบกินข้าวเที่ยงเร็วๆ แล้วแอบหลับช่วงกลางวันได้บ้าง (บางคนก็ไม่กินข้าวก็มี เพื่อเอาเวลาไปนอน)

ดังนั้น น้องหลายคนจะไม่ได้นอนเลยก็มี บางคนได้นอนบ้าง บางคนหลับทั้งคืน ขึ้นกับสภาพและจำนวนคนไข้ในคืนนั้น และขึ้นกับดวงของหมอแต่ละคน เราทำนายล่วงหน้าไม่ได้ เสาร์อาทิตย์ก็ต้องมีตารางเวรอีก ดังนั้น เวลาว่างจะน้อยลงจริงจังมาก และเวลาว่างก็ต้องมาเขียนรายงานคนไข้ส่งอาจารย์

ตอบคำถามที่ 1
จากสถาบันที่พี่จบมา ทุกรุ่นมีคนลาออก แต่รุ่นละไม่เยอะ (รวมเวลา 6 ปีไม่น่าเกิน 4-5 คน ถ้าจำไม่ผิด) โดยปรกติ ถ้าไม่ไหวก็จะเห็นกันตอนปี 2 (เนื่องจากปี 1 โดยมากเรียนวิชาทั่วไปเช่น เคมีเป็นต้น ก็จะไม่ต่างจากม.ปลายมากนัก พอปี 2 จะเริ่มเข้าวิชาเฉพาะแพทย์ เช่นการผ่าอ.ใหญ่เป็นต้น ประกอบกับการเรียนที่หนักขึ้น) และอีกทีตอนปี 4 (เนื่องจากต้องขึ้นคลินิกไปตรวจคนไข้จริง บางคนเพิ่งเข้าใจว่านี่ไม่ใช่เส้นทางของฉัน)

มีหนักมากจนไม่ไหวมั้ย - มี และมีเป็นระยะๆ แต่ก็ยังไหว ยิ่งปีโตขึ้นก็จะหนักมากขึ้น ตอนพี่เรียนต่อเฉพาะทาง ก็หนักกว่าตอนเรียนนสพ./นศพ. คนที่เก่งหน่อยหรือหัวดีก็จะเครียดน้อยกว่า อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา อย่าเอาตัวเองไปเทียบกับคนอื่น

ทำอย่างไรถึงไหว - มีวินัยกับตัวเอง หาเวลาให้ตัวเองบ้าง อยู่กับเพื่อนๆช่วนกันเรียนกับเพื่อนๆ การติวกันเป็นเรื่องปรกติในการเรียนมหาวิทยาลัย เพราะเราไม่มีที่เรียนพิเศษแล้ว ต้องเอาด้วยตัวเอง + นึกถึงวันแรกที่เราก้าวเข้ามา นึกถึงเหตุผลที่เราอยากมาเป็นแพทย์ + ถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็ปรึกษาอาจารย์ อย่าปล่อยไว้นาน เด๊๋ยวจะแก้ไม่ทัน อ.ทุกคนพร้อมเข้าช่วยให้หนูเรียนไปจนจบ 6 ปี ไม่มีใครอยากให้หนู drop ระหว่างทาง

คำถาม 2 เดี๋ยวมาตอบให้ครับ

0
จขกท 17 ก.ย. 59 เวลา 19:01 น. 1-2

จบมา มีเวลาว่างบ้างหรือเปล่า - มีครับ ว่างแค่ไหน ขึ้นกับสายงานและที่ทำงานที่น้องเลือก ถ้าอยู่รัฐบาลก็จะหนักกว่าเอกชนบ้าง ถ้าอยู่โรงพยาบาลใหญ่ๆ ก็มักจะหนักกว่าโรงพยาบาลเล็กๆ แต่โดยทั่วไป ช่วงที่หนักที่สุดคือช่วงเรียนปี 6 หรือใช้ทุนปีที่ 1 ครับ หลังจากนั้นก็จะสบายขึ้น (ถ้าน้องไม่ใช่คนดวงซวยจนเกินไปอะนะ)

สมัยพี่ใช้ทุนอยู่โรงพยาบาล 30 เตียง (ถือว่าเล็กมาก) พี่ถักผ้าพันคอเสร็จเป็นผืนๆ และมีเวลาฝึกอบเค้กด้วยนะเออ

ปล แต่มายืนยันว่า ช่วงเรียนต่อเฉพาะทางเนี่ย เหนื่อยสุดๆของสุดๆแล้ว

0
PanglinGYup 23 ก.ย. 59 เวลา 20:00 น. 1-3

เอ่ออ มีแต่คำว่าเหนื่อยเนอะ หน้าเหว่อเลย ถามต่อได้ไหมคะ เรื่องค่าตอบแทนคงคุ้มกับที่เราได้จบมาใช่ไหม?

0
c3po 17 ก.ย. 59 เวลา 17:02 น. 2

เป็นผู้ปกครองครับ อยากสอบถามว่าในกรณีที่เรียนจบแล้ว อยากต่อเฉพาะทาง ต้องเตรียมตัวยังไงและควรเตรียมตัวตั้งแต่เรียนปีไหนครับ

ขอบคุณครับ

5
จขกท 17 ก.ย. 59 เวลา 18:19 น. 2-1

สวัสดีครับ เข้าใจว่าบุตรของคุณ C3PO น่าจะกำลังเรียนหมออยู่ใช่ไหมครับ

ในกรณีที่เรียนจบแล้ว อยากต่อเฉพาะทาง ขึ้นอยู่กับว่าน้องอยากเรียนสาขาอะไร ซึ่งกว่าน้องจะได้ผ่านครบทุกสาขาจริงๆ (ทั้งสาขาหลักและสาขารอง) จะเป็นช่วงจบปี 5 แล้ว ดังนั้นกว่าจะเริ่มเตรียมตัวได้ก็อาจเป็นช่วงปลายปี 5 ครับ (ซึ่งจัดว่าเร็วมาก เนื่องจากในความเป็นจริง นสพ./นศพ. ส่วนใหญ่จะยังไม่แน่ใจในตัวเอง บางคนจนกระทั่งจบปี 6 ยังไม่ได้คำตอบก็มี)

สมมติน้องสามารถรู้ว่าตนเองอยากเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านไหนแล้ว การเตรียมตัวก็จะง่ายขึ้น

หากเป็นสาขาหลัก (major ward - หมายรวมถึง อายุรกรรม กุมารเวชกรรม ศัลยกรรม สูติกรรม บางครั้งนับรวม ศัลยกรรมกระดูกด้วย) เมื่อจบ 6 ปี จะมีทางลัดพิเศษเรียกว่า แพทย์พี่เลี้ยง ซึ่งจะทำงาน / เรียนอยู่ที่โรงพยาบาลศูนย์ต่างๆ เช่น ชลบุรี จันทบุรี เป็นต้น แต่จะขอกล่าวถึงโครงการนี้ในภายหลังครับ

โดยทัวไปแล้ว เมื่อแพทย์เรียนจบ 6 ปี เราก็จะออกไปตามต่างจังหวัด (หรือที่เรียกว่าใช้ทุนนั่นล่ะครับ) เป็นเวลา 3 ปี ก่อนที่เราจะกลับเข้ามาเรียนได้ ยกเว้นในสาขาขาดแคลนบางสาขา ที่กระทรวงอนุญาตว่าไม่ต้องอยู่ครบ 3 ปีก็สามารถเรียนได้ แต่มีไม่มากนัก ในที่นี้ขอยกตัวอย่างอายุรกรรม

- A เรียนจบ 6 ปีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สมมติว่า A ไม่ได้อยู่โครงการพิเศษต่างๆ เช่น ODOD) จับสลากใช้ทุนไปอยู่ที่ลำปาง (โดยทั่วไปแล้วเค้าจะจัดให้อยู่โรงพยาบาลจังหวัด 1 ปี แลัวออกโรงพยาบาลชุมชน 2 ปี รวมเป็น 3 ปีครับ)

- ขณะอยู่เป็น Intern 2 (Int.2 หมายถึง เรียนจบแล้ว กำลังใช้ทุนอยู่เป็นปีที่ 2) - A อยากเรียนอายุรกรรม แต่เนื่องจากอายุรกรรมไม่ใช่สาขาขาดแคลน A จึงต้องใช้ทุนให้ครบก่อนจึงจะสมัครได้ (ในความเป็นจริง ใช้ทุนไม่ครบก็พอมีลู่ทางให้สมัครได้ครับ แต่โอกาสที่ได้จะยากกว่าพอสมควร ส่วนใหญ่มันเป็นเด็กที่มีผลการเรียนในระดับดีมากๆ หรือเป็นคนที่อ.เล็งตัวไว้แล้ว)

- เมื่อเป็น Int.3 A ก็จะมีทางเลือกว่าจะขอทุนไปเรียนต่อ หรือไม่ขอทุนไปเรียนต่อ (การขอทุน เหมือนเป็นสัญญาว่า หลังจากเรียนอายุรกรรมจบแล้ว เราจะกลับมาทำงานให้จังหวัดที่เราขอทุนไป - หากมีทุนแล้วไปสมัคร ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะได้รับการคัดเลือก เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีทุน) หลังจากนั้น A ถึงจะยื่นใบสมัครไปที่มหาวิทยาลัยต่างๆ (ในที่นี้ ถ้าเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็จะมีโอกาสดีกว่า เพราะ A จบมาจากที่นี่ อ.หลายๆท่านอาจจะพอจำ A ได้ หาก A ไม่เคยทำอะไรแย่ๆทิ้งไว้ตอนเรียน นสพ/นศพ) หลังจากนั้นก็รอเรียกสัมภาษณ์ครับ

- อายุรกรรมเรียน 3 ปี หลังจากเรียนจบก็แล้วแต่ว่าขอทุนมาหรือไม่ หากขอทุนมา ก็ต้องกลับไปตามที่ๆตนขอทุนมา หลังจากทุกอย่างเรียบร้อย ก็เลือกว่า จะเป็น อายุรกรรมทั่วไป หรือจะเรียนต่อเฉพาะทางของอายุรกรรมอีกทีหนึ่ง (เช่น อายุรกรรมโรคปอด หรือ อายุรกรรมโรคไต เป็นต้น - ส่วนใหญ่จะเรียนอีก 2 ปีจบครับ)

- A จะเพิ่มโอกาสอะไรได้บ้าง
1 มั่นใจในสาขาที่เราเลือกว่าเราชอบสาขานั้นจริงๆ และพร้อมจะอยู่กับมันไปตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะเรียนจบโดยไม่ลาออกเสียก่อน
2 ในขณะที่เราเป็น Int.2 - 3 เราสามารถทำเรื่องขอไปดูงาน / วิชาเลือก / Elective ที่สาขาที่เราอยากเรียน ที่มหาวิทยาลัยที่เราอยากเรียนได้ครับ จะทำให้เรามั่นใจมากขึ้น และทำให้อ. เห็นภาพของเรามากขึ้น คล้ายๆการโฆษณาตนเองไปในตัว
3 ผลงานขณะที่เรียนอยู่ เกรดต้องไม่แย่เกินไปนัก เกรดดีได้ก็เป็นส่วนช่วย
4 ใบ Recommend - ก่อนการเรียนต่อ ทุกที่จะขอใบ Recommend ว่าเราเป็นคนอย่างไร พยายามหาคนเขียนที่มี Power และรู้จักเรามากพอที่จะเขียนอะไรดีๆให้ได้ครับ
5 เส้นสาย - ขอข้ามไป ไม่พูดถึงเรื่องกำลังภายในครับ
6 Attitude - เช่นศํลยแพทย์ก็จะต้องการคนที่สู้งานหนัก อดหลับอดนอน อึดๆหน่อย กุมารแพทย์ก็จะต้องการคนที่สามารถสื่อสารกับพ่อแม่ผู้ปกครองได้ สามารถอดทนอยู่กับเด็กได้เป็นต้นครับ
7 คุณสมบัติทั่วไป - ความรับผิดชอบ ความตรงต่อเวลา และอื่นๆต้องทีเสมอครับ บางสาขาวิชา บางสถาบัน หลังจากเรายื่นใบสมัครไปแล้ว เขาโทรถามพยาบาล ถามผู้ร่วมงานเลยนะครับ ว่าหมอชื่อนี้เป็นอย่างไร
8 งานวิจัยครับ ถ้ามีงานวิจัยเป็นของตัวเอง บางสถาบันจะรักมากๆๆๆๆ

ซึ่งแต่ละที่ก็จะใส่ใจในแต่ละข้อไม่เท่ากันครับ ศัลยกรรมอาจจะไมได้เน้นเกรดมากนัก (แต่ก็ต้องไม่น่าเกลียด) เป็นต้น

ดังนั้น A จะใช้เวลารวม 6 (เรียนแพทย์)+ 3 (ใช้ทุน)+ 3 (เรียนต่อเฉพาะทาง) = 12 ปี (ไม่รวมเรียนต่อเฉพาะทางของเฉพาะทางอีกทีหนึ่งครับ)

ต่อด้านล่างครับ

0
จขกท 17 ก.ย. 59 เวลา 18:32 น. 2-2

แพทย์พี่เลี้ยง ต่อไปจะขอเรียกย่อว่า พพล.

สำหรับ นสพ/นศพ ที่รู้จักตัวเองว่าอยากเรียนต่อในสาขา major หลังจบ 6 ปีจะมีอีกทางเลือกหนึ่งให้เลือก คือสายของ พพล. ครับ

โดยหลักๆแล้ว พพล จะมีเฉพาะ อายุรกรรม กุมารเวชกรรม ศัลยกรรม สูติกรรม ศัลยกรรมกระดูก และ เวชศาสตร์ฉุกเฉินครับ ซึ่งเส้นทางนี้หลังเรียนจบ 6 ปี เราจะเอา เวลาใช้ทุน 3 ปี กับเวลาเรียนต่อ 3 ปี มารวบ รวมเหลือ ใช้ทุน + เรียนต่อ 4 ปีครับ (ประหยัดเวลาไปได้ 2 ปี) โดยเราจะอยู่ประจำโรงพยาบาลนั้นๆเลย ไม่ต้องออกไปอยู่โรงพยาบาลชุมชนเหมือน A

อันนี้เป็นตัวอย่าง พพล. ของแต่ละโรงพยาบาลของปีที่แล้วครับ (ปีนี้น่าจะเริ่มทยอยเปิดในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า) ถ้าเรียนปี 6 อยู่แล้วสนใจทางนี้ต้องรีบเตรียมตัวแล้วครับ
http://www.cpird.in.th/index.php/homepl.html

หลังจบ พพล มา (สมมติว่าเลือกโรงพยาบาลที่สามารถสอบใบวุฒิบัตรได้เลย) ก็จะมีศักดิเท่ากับสายที่เรียน 6 ปีครับ สามารถเรียนต่อเฉพาะทางของเฉพาะทางได้เหมือนกัน สามารถไปทำงานในที่ต่างได้เหมือนกัน

โครงการ พพล ทั้งก็มีข้อดีข้อเสียครับ อาจต้องลองค่อยๆคิดดู

จริงๆในโรงพยาบาลใหญ่ๆอย่าง รามาธิบดีหรือ จุฬาลงกรณ์ ก็มีเปิดเส้นทางนี้บ้างเป็นบางปีเหมือนกัน แต่รับน้อยมากๆ รับเฉพาะเด็กที่โดดเด่นมากๆ และไม่ได้เปิดทุกปี และมักจะไม่ได้เรียกว่า พพล. ต้องติดตามข่าวสารเองครับ ปีนี้เข้าใจว่าเสร็จไปแล้ว

0
จขกท 17 ก.ย. 59 เวลา 18:34 น. 2-3

นอนจากนั้น ก็จะมีสายย่อยๆอีกบ้างครับ เช่น การไปเป็นอาจารย์สอนวิชาพรีคลินิก (หมายถึงวิชาที่สอนในชั้นปีที่ 1-3) หรือการเรียนต่อต่างประเทศ เป็นต้น คงไม่ได้กล่าวรายละเอียดในที่นี้ครับ หากสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ครับ

0
c3po 17 ก.ย. 59 เวลา 19:10 น. 2-4

ขอบคุณมากครับคุณหมอ ตอบได้ละเอียดเรียบร้อย ครอบคลุมดีมากๆครับ ตอนนี้ลูกผมกำลังเรียนปี2อยู่ครับ ก็เลยจะหาข้อมูลไว้ก่อนนะครับ เยี่ยม

0
จขกท 17 ก.ย. 59 เวลา 19:13 น. 2-5

ขอบคุณครับ
แนะนำว่ารอให้กลางๆปี 5 หรือปลายๆปี 5 ค่อยลองสอบถามดูครับ ว่าสนใจสาขาไหนเป็นพิเศษหรือยัง ถ้าเค้ายังเลือกไม่ได้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปรกติอะไรครับ เพราะเด็กบางคนก็จะยังไม่รู้ตัวเองจริงๆครับ

0
Sumikko 17 ก.ย. 59 เวลา 17:36 น. 3

สงสัยว่าถ้าจบแล้วจะเข้าทำงานยังไงหรอคะ จะมีรพ.มาเรียกตัวรึเปล่าคะ

1
จขกท 17 ก.ย. 59 เวลา 18:45 น. 3-1

หลังจากเรียนจบ ในกรณีที่ไม่ได้เข้ามาด้วยโครงการพิเศษ (เช่น ODOD เป็นต้น) ก็จะมีการจับสลากครับ เป็นการออกไปทำงานต่างจังหวัด 3 ปี (หรือที่เรียกว่าใช้ทุนครับ) โดยทั่วไปจะให้อยู่โรงพยาบาลใหญ่ๆปีแรก แล้วออกไปโรงพยาบาลเล็กๆอีก 2 ปีครับ

หลังจากที่ใช้ทุนเสร็จแล้ว น้องอาจจะอยู่ต่อที่โรงพยาบาลเดิมต่อก็ได้ หรือจะออกไปที่ใหม่ก็ได้ครับ (ถ้าจะออกก่อนใช้ทุนเสร็จ ต้องจ่ายเงินชดเชย เท่าไหร่ขึ้นกับรายละเอียดสัญญาน้องว่าเท่าไหร่ สมัยพี่ 400,000 บาท)

แต่ถ้าน้องเรียนต่อขึ้นไปสูงขึ้น โดยเฉพาะหากถึงขั้นเฉพาะทางของเฉพาะทางอีกทีนึง และไม่ติดพันธะว่าขอทุนมาเรียนต่อ (อ่านเพิ่มเติมที่ 2-1 ครับ) ก็จะมีโรงพยาบาลทั้งหลาย ทั้งเอกชนและรัฐบาล มายื่นข้อเสนอให้น้องเลือกได้เลยครับ

ปล ตอบตรงคำถามหรือเปล่าครับ

0
curious 17 ก.ย. 59 เวลา 21:03 น. 4

สวัสดีครับ ผมเป็น นศพ. ชั้นพรีคลีนิคเข้าศึกษาในโครงการปกติ ถ้าหากสนใจที่จะศึกษาต่อเฉพาะทางในต่างประเทศเช่น อังกฤษ หรือออสเตรเลีย จะต้องทำอย่างไรบ้างหรอครับมีขั้นตอนอย่างไร แล้วเค้ารับเข้าพิจารณาโดยดูจุดใดบ้างหรอครับ ? ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้านะครับ

1
จขกท 17 ก.ย. 59 เวลา 22:15 น. 4-1

สมมติว่าน้องเลือกแล้วว่าจะไปต่างประเทศแน่ๆ ไม่คุยเรื่องข้อดีช้อเสียละกันนะ

พี่ออกตัวก่อนว่า พี่ไม่เคยเดินสายนี้ และไม่เคยคิดจะเดินสายนี้ อาศัยแค่มีเพื่อนเคยเลือกมาก่อน อาจตอบได้ไม่ตรงคำถามหรือตอบได้ไม่ดีนะ

เพื่อนพี่ทุกคนเท่าที่รู้ไปสายอเมริกาหมด ไม่มีใครไป EU / AUS เลย

ถ้าเป็นของฝั่ง US ที่แน่ๆ น้องต้องเตรียมสอบ USMLE 3 ครั้ง (ซึ่งค่าสอบแพงมหาโหดมาก รวม 3 ครั้งน่าจะ 1500$ ขึ้นไป) ระดับความยากในแต่ละครั้ง ถ้าตัดประเด็นเรื่องภาษาอังกฤษออกไป ก็ไม่ได้ยากมากนัก เรียนแพทย์ที่ไทยดีๆ + อ่านหนังสือกะแนวข้อสอบก็พอจะทำคะแนนดีๆได้

พยายามจัดเวลาให้สอบ USMLE ครั้งแรก ประมาณช่วงจบปี 3 หรือก่อนขึ้นปี 4 เพราะเนื้อหาจะไม่ต่างกันเท่าไหร่ เน้นเรื่องพื้นฐานเช่น Anatomy, Physiology, Pathology, Pharmacology Etc. เป็นหลัก ไม่เน้นคลินิกมากนัก (อาจมี Clinical correlation บ้าง แต่ไม่เน้น) อีกอย่าง ยังไงน้องตอนจบปี 3 ก็ต้องสอบ สรว. อยู่แล้ว จะได้อ่านไปทีเดียวเลย หนังสือที่อ่านหลักๆก็เห็นจะมี First aids กะ Kaplan
ปล ของแท้ราคาแพง ของถูกหาตามร้านซีรอกซ์ใต้หอแพทย์สถาบันชั้นนำหรือสั่งร้านธเนศก็น่าจะมี

ส่วนสอบครั้งสองกะสาม พยายามให้อยู่ช่วงจบปี 5 - จบปี 6 แล้ว เนื้อหาของฝั่งเราก็จะครบ พร้อมสอบได้ ครั้งสองจริงๆก็ไม่ยากหรอก ไปยากที่ครั้งสุดท้ายที่เป็น OSCE เพราะเราต้องซักประวัติภาษาอังกฤษ ตรวจร่างกายและให้คำแนะนำเป็นภาษาอังกฤษหมด แต่ก็ไม่ได้ยากเกินไปนักหรอก เพื่อนพี่ได้คะแนนสูงมากๆ matching ที่ดีๆกันเกือบทุกคนเลยมั้ง

รู้สึกตอบไม่ตรงคำถาม อันนี้ยากละ เพราะไม่เคยเดินเส้นทางนี้มาก่อน

0
อยากเรียนหมอ 17 ก.ย. 59 เวลา 22:05 น. 5

ถ้าเรียนจบทั่วไป 6 ปี แล้วไม่เรียนต่อเฉพาะทาง จะได้เป็นหมอแบบไหนในโรงพยาบาลคะ แบบว่าผ่าตัดอะไรแบบนี้ได้มั้ย

สถาบันที่จบป.ตรีมา มีผลต่อการคัดเลือกเข้าเรียนต่อเฉพาะทางด้วยใช่มั้ยคะ

ขอบคุณค่ะ

2
จขกท 17 ก.ย. 59 เวลา 22:55 น. 5-1

จบ 6 ปีเราเรียกว่า GP (General practitioner) ครับ น่าจะเป็นหมอที่มีมากที่สุดในประเทศเพราะปัจจุบันการเรียนต่อยากขึ้นเรื่อยๆ

ลักษณะการทำงานน้องก็จะได้ตรวจโรคทั่วไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับสถานที่ๆน้องอยู่อีกทีหนึ่ง

**** เช่น อยู่ที่โรงพยาบาล 30 เตียง (โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก ซึ่งในบางครั้งน้องก็จะเป็นหมอคนเดียวในโรงพยาบาล อันนี้ไม่แปลก เป็นมาแล้ว ตอนอยู่รพ. 30 เตียง อยู่เวรคนเดียว 21 วันรวด) น้องมีหน้าที่ตรวจทุกอย่าง ตั้งแต่คลินิกเบาหวาน คลินิกความดัน ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว ตรวจเด็กเป็นหวัด ทำคลอด ส่งตัวคนไข้หนัก (ดังนั้น ความรู้ที่น้องต้องมีคือ การจัดการเคส Emergency / Urgency ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น สู ศัลย์ med เด็ก ortho + ความรู้พื้นฐานทั้งหมด + เมื่อไหร่ต้องส่งตัวคนไข้)

สำหรับการผ่าตัด หลังจากคดีไส้ติ่งเมื่อราว 10 กว่าปีที่แล้ว โรงพยาบาลชุมชนเกือบทั้งประเทศปิดห้องผ่าตัดไปแล้ว การผ่าตัดหลายอย่างถูกเอาออกจากหลักสูตรแพทย์ไปแล้วเช่นกัน น้องคงไม่ได้ผ่าตัดอีกที่โรงพยาบาลชุมชน และพี่ก็ไม่แนะนำให้น้องทำการผ่าตัดที่โรงพยาบาลชุมชนเช่นกัน

ถ้าน้องเลือกมาสายนี้ น้องอาจมีทางเลือกไปต่อเช่น เดินสายบริหารเพื่อขึ้นตำแหน่งเป็น ผอ. โรงพยาบาล หมอหลายคนก็มาทางนี้ต่อด้วยการไปเรียนทางหลักสูตรการบริหารเพิ่ม หรือบางโรงพยาบาล ส่งเสริมให้เรียนต่อหลักสูตรเวชศาสตร์ครอบครัวได้ก็มี หรือไม่น้องก็อาจจะเลือกไปเปิดคลินิกตามต่างจังหวัดใกล้ๆโรงพยาบาลชุมชนที่ตัวเองอยู่ก็ได้ครับ (ในกทม.อาจจะยากหน่อย เพราะมีแพทย์เฉพาะทางเต็มไปหมด)

ปล 1 อยู่เวรคนเดียว 21 วันรวด ฟังดูหนักแต่ก็ไม่ได้หนักมากนะ โรงพยาบาล 30 เตียงไม่ได้มีคนไข้มากเหมือนโรงเรียนแพทย์ ไม่ได้ยากมากนัก และมีพยาบาลช่วยแบ่งเบาภาระไปให้

**** ถ้าน้องคิดว่าจะอยู่โรงพยาบาลใหญ่สักหน่อย ในระยะหลังๆ โรงพยาบาลใหญ่เช่น รพศ มักจะเน้นไปที่แพทย์เฉพาะทางมากกว่า การเป็น GP ก็ลดความต้องการลง แต่ก็ยังมีตำแหน่งให้ลงอยู่ น้องก็จะได้ตรวจเคสทั่วไปเช่นกัน แต่จะมีระดับความยากมากกว่าโรงพยาบาลชุมชน มักจะงานหนักกว่า คนไข้เยอะกว่า แต่มีข้อดีที่สามารถปรึกษาแพทย์เฉพาะทางได้ทันที

**** อย่าคิดว่า GP อยู่เอกชนในกรุงเทพไม่ได้นะ เพื่อนพี่อีกจำนวนหนึ่งก็เป็น GP full time เอกชนใจกลาง กทม นี่แหละ เงิดเดือนก็ 6 หลักเหมือนกันนะ ส่วนใหญ่น้องจะได้งานพวกตรวจประกันสังคมหรือตรวจคัดกรองทั่วไป หรืออาจจะรับเหมาเวร ER กลางคืนก็ได้

**** นอกจากนี้ แพทย์หลายคนก็ทำคลินิกความสวยความงามในกทม. ส่วนหนึ่งก็เป็น GP นี่แหละ ก็ประกาศรับกับเรื่อยๆอยู่นะ ลองหาข่าวด็ก็ได้

แต่ไม่ว่าจะเป็นที่ไหน ถ้าน้องจบ GP แล้วไม่ได้เรียนต่อ อย่างดีก็อาจจะได้แค่ทำผ่าตัดเล็กเช่น กรีดหนอง เย็บแผล เท่านั้น

และไม่ว่าจะที่เอกชนหรือรัฐบาล เทรนด์ในระยะหลังเราเน้นไปที่แพทย์เฉพาะทางมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าน้องไม่ได้เลือกว่าจะต้องทำงานกลางกรุงเทพ หรือต้องอยู่ใกล้บ้านเท่านั้น ประเทศไทยยังต้องการหมอ GP มาเติมในส่วนของโรงพยาบาลชุมชนอีกเยอะครับ ถ้าน้องเป็นคนต่างจังหวัดอยู่แล้ว นี้ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดูโอเคอันนึง

อนึ่ง อย่าคิดว่า GP จะมีความรู้น้อยกว่า Specialist - ตอนนี้ให้พี่ไปทำคลอดพี่ก็ทำไม่เป็น เนื่องจากไม่ได้ทำมานานมากแล้ว - GP ทำคลอดเก่งกว่าพี่แน่นอน

0
จขกท 17 ก.ย. 59 เวลา 22:59 น. 5-2

สถาบันที่จบป.ตรีมา มีผลต่อการคัดเลือกเข้าเรียนต่อเฉพาะทางด้วยใช่มั้ยคะ - จะว่ามีมันก็มีนะ เราเรียกลูกหม้อ เพราะว่าอ.ส่วนหนึ่งก็จะจำได้ว่าเด็กคนนี้สมัยเรียนอยู่เป็นยังไง ขยัน เอาใจใส่ได้มากน้อยแค่ไหน

น้องต้องเข้าใจอย่างหนึ่งก่อนว่า -การสัมภาษณ์ resident 15-30 นาทีน่ะ มันไม่ได้ช่วยให้อ.เห็นภาพทั้งหมดได้ดีนักหรอก ไม่เหมือนกับการที่อ.เคยเห็นเด็กคนนี้ทำงานในวอร์ด หรือยกมือขึ้น Discuss case ในห้องประชุม แบบนั้นมันทำให้อ.มั่นใจในตัวน้องมากกว่ากันเยอะ

ถ้างั้น แก้ยังไงได้บ้าง ถ้าพอมีเวลา ลองหาเวลาไปเลือกวิชาเลือกหรือ Elective ดู ให้อ.ได้เห็น Performance เห็นความแน่วแน่ที่จะเรียนต่อของเรา เห็นความรู้และความรับผิดชอบของเรา อันนี้ห็พอจะช่วยได้ครับ

แต่สุดท้าย การที่เราเป็นลูกหม้อ หรือเราเคยไปวิชาเลือก ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะได้หรือจะไม่ได้แน่ๆ ยังมีปัจจัยอีกมากครับ

0
คิดหนัก 17 ก.ย. 59 เวลา 23:17 น. 6

ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากๆค่ะ มีประโยชน์มากทำให้เห็นภาพรวมของชีวิตแพทย์ได้ดีเลยค่ะ

เนื่องจากตอนนี้อายุค่อนข้างเยอะแล้ว 20 กลางๆ มีความคิดที่อยากเรียนต่อแพทย์

อย่าทราบความคิดเห็นของผู้มีประสบการณ์ค่ะ ว่าคิดยังไงหากจะมาเรียนตอนอายุมากแล้ว กว่าจะจบก็ 30 กว่าๆ มีปัญหาในการทำงานหรือเรียนต่อหรือไม่คะ โอกาสก้าวหน้าเป็นยังไงบ้าง เพราะดูแล้วเป็นงานที่ค่อนข้างต้องใช้แรงกายและแรงใจมากพอสมควร

หากมีประสบการณ์ของคนรู้จัก ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ

ขอบคุณมากค่ะ

3
จขกท 17 ก.ย. 59 เวลา 23:36 น. 6-1

เป็นคำถามที่น่าสนใจมากครับ ผมมีเพื่อนเป็นตัวอย่างที่ดีหลายคนทีเดียว

สมัยที่ผมเรียนปี 2 นั้น เรายังมีโครงการที่เรียกว่า New tract อยู่ ซึ่งเป็นโครงการที่รับคนที่จบปริญญาตรีจากสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพแล้ว มาเรียนต่อเพื่อเป็นหมอ เช่น เพื่อนผมบางคนจบเภสัชแล้ว บางคนจบพยาบาลแล้ว บางคนจบเทคนิกการแพทย์เป็นต้น ซึ่งโครงการนี้จะเรียนแพทย์ 5 ปีโดยเว้นปี 1 ให้ (คือเข้ามาก็เริ่มปี 2 เลย)

ปัจจุบันยกเลิกไปหลายสถาบันแล้ว เท่าที่ทราบที่เหลืออยู่ตอนนีี้มีที่ ม.นเรศวรและม.พะเยา อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่ารายละเอียดลึกๆผมไม่ทราบเพราะห่างหายจากการสมัครไปหลายปีแล้ว และตอนผมเรียน มหาวิทยาลัยทั้งสองนั้นยังไม่มีการก่อตั้งคณะแพทย์เลยด้วยซ้ำ

ตัวอย่างที่ลองหามาให้ครับ
http://www.acad.nu.ac.th/acad_admission/DATA/2560/DOCNEW/Annouce_docnew_2560.pdf
ลองเข้าไปอ่านดูก่อนก็ได้ครับ ว่าถ้าเราอยู่ในเกณฑ์ของเขา ก็จะได้ประหยัดไปปีนึง และก็จะมีเพื่อนที่อยู่ในช่วงใกล้กันหลายคนอยู่ครับ

ต่อด้านล่างนะครับ มีธุระด่วนเล็กน้อยครับ ต้องขอโทษด้วยครับ

0
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 00:19 น. 6-2

เท่าที่ไปอ่านคร่าวๆ เข้าใจว่าเกณฑ์ของแต่ละมหาวิทยาลัยไม่เหมือนกันนะครับ อาจต้องลองไปดูในรายละเอียดกันอีกครั้งหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม กลับมาที่คำถามครับ

1 เข้าเริ่มเรียนแพทย์ตอนอายุ 20 กลางๆ จะมีปัญหาหรือไม่

ดังกล่าวไว้ว่ารุ่นผมมีแพทย์ New tract หลายคนมาก (20+) แต่ละคนเรียนจบปริญญาตรีมาแล้ว ดังนั้นแต่ละคนอายุ 20+ แน่นอน 24-25 นี่ไม่แปลกเลย ทุกคนเรียนจนจบแพทย์ได้ครับ หลายคนเรียนต่อเฉพาะทางเลย เพื่อนผมก็จบเภสัชมาก่อน เรียนแพทย์ New tract และปัจจุบันเรียนต่อเฉพาะทางด้านกุมารเวชศาสตร์จบแล้วด้วยครับ

และยิ่งไปกว่านั้น เพื่อนผมอีกท่าน ผู้หญิง เรียนโครงการ New tract เช่นกัน ปัจจุบันเรียนต่อเฉพาะทางด้านกุมารเวชศาสตร์จบแล้ว และเรียนต่อเฉพาะทางลงลึกของกุมารเวชศาสตร์จบแล้วอีกด้วยครับ

ส่วนหนึ่งผมเชื่อว่า ทุกคนที่มาเข้าหมอในอายุขนาดนี้ ทุกคนมาด้วยใจ ครับ ทุกคนแน่ใจแล้วว่าตนจะมาทางนี้ จึงไม่มีใครถอยง่ายๆครับ ผมเชื่อว่า ถ้าน้องไม่ถอยซะอย่าง จบแน่นอนครับ จะต่อเฉพาะทางก็ย่อมได้ครับ

2 มีปัญหาในการทำงานหรือเรียนต่อหรือไม่คะ โอกาสก้าวหน้าเป็นยังไงบ้าง

ตอบไปด้านบนแล้วครับ ว่าน้องเรียนต่อได้แน่นอน จะลงลึกไปที่เฉพาะทางของเฉพาะทางก็ทำได้ครับ

อย่างไรก็ตาม ปัญหาในการเรียนมีแน่นอนครับ อย่างที่ได้กล่าวไปในความเห็นข้างบนของท่านอื่นๆ และอย่างที่น้องทราบว่า เป็นงานที่ค่อนข้างต้องใช้แรงกายและแรงใจมากพอสมควร ในขณะที่เรียนอยู่ เราอยู่เวรแบบไม่ค่อยได้นอนกันเป็นเรื่องปรกติ พี่เชื่อว่า ใจน้องยังไหว แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ร่างกายก็มีผลเช่นกัน ไม่มากก็น้อย เพื่อนผมพูดมาเองเลยว่า เมื่ออายุมากเข้า พลังสมาธิในการอ่านหนังสือก้ลดลงไปตามอายุ เทียบกับเด็กๆก็อาจเป็นข้อเสียเปรียบบ้าง แต่ถ้าอยากได้ตัวอย่างคนที่เริ่มเรียนแพทย์ตอนอายุ 20 กลางๆ ผมรู้จักหลายสิบคนอยู่ครับ เกียรตินิยมอันดับหนึ่งอันดับสองก็หลายคนนะครับ

อนึ่ง แพทย์ที่มาเรียนต่อเฉพาะทางบางคนอายุ 40 แล้วก็มีนะครับ แก่กว่าอาจารย์ที่เพิ่งจบอีก ตอนราวนด์ (แปลว่าเดินเรียนข้างเตียงคนไข้) นี่ ลำดับความอาวุโสกันสับสนมากครับ

ดังนั้น ขอสรุปว่า อายุไม่เป็นข้อจำกัดแน่นอนครับ ทำได้แน่ๆ อาจมีข้อเสียเปรียบบ้าง แต่ถ้าใจเราไปถึง เราอึดพอ เค้าอ่านสองรอบเราอ่านสามรอบ รับรองว่าจบแน่นอนครับ

อ้อ ตอนเราเรียนเราไ่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกกันนะครับ สบายใจได้ เราไม่เคยเกี่ยงว่าใครซิ่วมาหรือใครอายุมากกว่า (อาจโดนแซวกันบ้างแบบน่ารักๆ กวนๆ แต่เราเรียนไปด้วยกันและติวกันแน่นอนครับ อย่างน้อยก็ในสถาบันที่ผมจบมา)

0
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 23:54 น. 6-3

ลองอ่านคามเห็นนี้ดูนะครับ บังเอิญไปเจอมา - สู้เพื่อฝัน จนทำได้! "พี่โอ๋" เบรคอนาคตหลังจบ ป.โท เพื่อตามฝัน จนสอบติดแพทย์ในวัย 32 ปี

http://www.dek-d.com/admission/40507/

0
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 00:55 น. 7-1

โอ น้องเอ๋ย พี่สอบตอนยังเป็นสมัยเอนทรานซ์อยู่ สมัยนั้นไม่มี กสพท ไม่มีข้อสอบความถนัดแพทย์ ไม่มีอะไรทั้งสิ้น มีให้วัดฝีมือ 2 รอบ จบ รู้ผล ตอนนั้นไม่มี GAT PAT เลยด้วยซ้า

พี่ไม่รู้แล้วล่ะครับว่าสมัยนี้ เรื่องสมัครสอบเค้าไปถึงไหนกันแล้ว พี่แนะนำว่า โทร ฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลยครับ โทร.043-363407 คำตอบชัดเจนและแน่นอนที่สุด

แต่ถ้าคำถามของหนูคือเรียนไหวหรือเปล่า พี่คิดว่า ถ้าสอบเข้าไปได้ น้องก็น่าจะมีศักยภาพในระดับหนึ่งครับ ก้น่าจะเรียนไหวนะครับ

0
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 00:57 น. 7-2

ปล โทรวันเวลาราชการนะครับ วันอาทิตย์อย่าเพิ่งโทร

ถ้าโทรไม่ติด พี่มีให้อีกเบอร์ครับ 0-4336-3429

0
น้องจิน 18 ก.ย. 59 เวลา 09:05 น. 8

พี่หมอคะ ที่เขาบอกว่า แพทย์ งานหนักมากต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับชีวิตคนด้วย ข่าวที่ว่า เงินเดือนหมอ+ค่าตอบแทนต่างๆที่ได้รับ ทำไมน้อยคะ ถ้าต้องอยู่เวรถีง21คืนต่อเดือน น่าเห็นใจพวกคุณหมอมากนะคะ มิน่าได้ข่าวมีแพทย์ในระบบราชการลาออกในแต่ละปีมากพอควรไปทำเอกชนหรือส่วนตัว ลูกอาของหนูเขาเรียนหมอ คนโตเรียนปี6จะจบปีนี้แล้ว คนน้องเรียนปี2 เล่าให้ฟังว่า เงินเดือนหมอจบใหม่+ค่าตอบแทนต่างๆต่อเดือน ราวๆ 5-6หมื่นบาทเองถ้าจับสลากไปอยู่รพช.อาจได้มากกว่านิดหน่อยจริงหรือคะ ช่วยอธิบายเรื่องค่าตอบแทนต่างๆให้ฟังได้ไหมคะ

5
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 12:27 น. 8-1

พี่กำลังจะออกจากบ้าน เดี๋ยวดึกๆพี่มาตอบให้นะครับ

0
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 20:29 น. 8-2

มาต่อให้ครับ
งานหนักมากต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับชีวิตคนด้วย - อันนี้ถูกต้องตามนั้น

เงินเดือนกับค่าตอบแทนที่ได้รับน้อย - อันนี้พูดลำบาก เรามาไล่ให้ฟังทีละอันละกัน
เงินเดือนหมอจบมาจริงๆก็พอๆกับอาชีพรับราชการอื่นๆล่ะครับ คืออยู่ที่ประมาณ 15000+ ก็ไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่ แต่โดยรวมแล้วจะเป็นอย่างที่พี่ชายของน้องเล่าให้ฟังครั้บ จบมาทำงานปีแรก (Intern 1) ก็จะมีรายได้รวมประมาณเดือนละ 40000-60000 บาท ขึ้นกับนโยบายของแต่ละโรงพยาบาล จำนวนเวรที่น้องต้องอยู่ ระดับความเยินและดวงของน้อง ราคาขายเวรและจำนวนเวรที่น้องรับซื้อมา

อ้าวๆ อย่าเพิ่งงงครับ สิ่งที่น้องจะได้แน่ๆคือ
1 เงินเดือน - ประมาณ 15000 +
2 เงิน พตส (เงินเพิ่มพิเศษสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุข) ประมาณ 5000-15000
3 เงินค่าไม่ทำเวช (หมายถึงให้ตอบแทนในกรณีที่น้องไม่ไปทำเวชปฏิบัติส่วนตัว พูดง่ายๆคือ ถ้าน้องเปิดคลินิกของตัวเองเมื่อไหร่ เงินก้อนนี้อดครับ) ประมาณ 10000

ทั้งสามอันนี้รวมกันจะได้ประมาณ 30000 - 40000 แล้วครับ ที่เหลือจะมาจากเงินค่าเวร เงินค่าทำงานอื่นๆ ซึ่งแล้วแต่ว่าแต่ละโรงพยาบาลจะให้น้องเวรละเท่าไหร่ โดยทั่วไป 8 ชม. จะให้ 550 บาท (ราคาเมื่อ 6 ปีที่แล้ว ปัจจุบันอาจมีการเปลี่ยนแปลง) แต่ถ้าอยู่ทั้งคืนทั้งคืน 16 ชม จะให้ 1100 บาท และอยู่วันหยุดคิิด 24 ชม. = 1650 บาท เป็นต้น (บางโรงพยาบาลให้มากกว่านี้ เช่น 8 ชม. ให้ 1100 เป็นต้น)

สำหรับ Intern 1 โดยทั่วไปมักจะอยู่เวรประจำหอผู้ป่วยประมาณ 8-15 เวรต่อเดือน แต่ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่น จำนวนเพื่อนแพทย์ที่อยู่ด้วย (พูดง่ายๆคือถ้ามีคนเยอะ ก็มีตัวหารเยอะ ก็อยู่เวรน้อยหน่อย) และปริมาณงานของโรงพยาบาลหรือแผนกหรือหอผู้ป่วยนั้นๆ

นอกจากนั้นก็จะมีเวรกองกลางที่เองแพทย์ทั้งโรงพยาบาลมาช่วยกันอยู่ เช่น เวรห้องฉุกเฉิน เวรออกชันสูตรศพ เป็นต้น ซึ่งเวรพวกนี้ หมอที่มีอายุมากๆหรือหมอที่เรียนต่อเฉพาะทางไปแล้วมักจะไม่อยากอยู่ (น้องลองนึกภาพหมอเด็ก แต่ต้องไปตรวจผู้ป่วยขาหัก - ก็ไม่มีหมอเด็กคนไหนอยากตรวจเพราะไม่ใช่สาขางานของตัวเอง) ซึ่งบรรดาเวรพวกนี้ก็จะเอามาขายกัน ส่วนใหญ่ก็ขาย Intern 1 นั่นแหละครับ เพราะเพิ่งจบ มีความรู้ทุกแขนง (แบบตื้นๆ) และยังไม่แก่มาก สามารถอยู่เวรหลายๆวันติดกันได้ โดยส่วนใหญ่ก็จะเพิ่มราคาให้เป็น 2 เท่าหรือ 3 เท่าก็ว่าไป ถ้าน้องรับเวรพวกนี้เยอะ รายได้ต่อเดือนก็จะเยอะตามครับ

รวมทั้งหมด เงินเดือนหมอจบใหม่ ในกรณีที่ออกไปใช้ทุนในโรงพยาบาลรัฐบาล (Intern 1) ก็ประมาณ 50000+ ต่อเดือนครับ

0
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 20:34 น. 8-3

ถ้าจับสลากไปอยู่รพช.อาจได้มากกว่านิดหน่อยจริงหรือคะ

แก้ประโยคของน้องหน่อยนะครับ โดยปรกติ Intern 1 เค้าจะจัดให้อยู่โรงพยาบาลใหญ่ๆครับ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดนั้นๆ แล้วเมื่อผ่านไปเป็น Intern 2, Intern 3 ก็จะต้องออกโรงพยาบาลชุมชนครับ

คือยังไงถ้าน้องใช้ทุนครบ 3 ปี แล้วไม่ได้มาตามเส้นทางพิเศษใดๆ ยังไงน้องก็ได้ออก รพช. โดยที่ไม่ต้องจับสลากครับ (อ้อ อาจต้องจับถ้าตกลงกับเพื่อนไม่ลงตัวว่าใครจะไปโรพยาบาลชุมชนอะไร เพราะแต่ละโรงพยาบาลก็มีระดับความน่าอยู่ไม่เท่ากัน) ส่วนใหญ่ รพช. จะได้เงินมากกว่าเล็กน้อยครับ เฉลี่ยก็ประมาณ 50000 - 70000+ ขึ้นกับแต่ละโรงพยาบาลเช่นกัน

ปล เดือนที่พี่อยู่ 21 เวรนั้น พี่ได้เกือบแสนครับ

0
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 20:47 น. 8-4

คราวนี้ กลับมาประเด็นที่พี่อยากพูดกัน

"เงินเดือนหมอ+ค่าตอบแทนต่างๆที่ได้รับ ทำไมน้อยคะ"

50000 ต่อเดือนนี่ จะว่าน้อยก็อาจจะไม่ถูกซะทีเดียวครับ น้องลองคิดดูว่า จะมีซักกี่อาชีพที่ ตอนอายุ 24 ปี สามารถได้เงินเดือนเดือนละ 50000 โดยที่ไม่ถูกไล่ออกแน่ๆ (พี่รับรองเลยครับ ว่า ถ้าน้องไม่ไปพี้กัญชาหน้าห้องผอ. ยังไงก็ไม่ถูกไล่ออก) พี่ว่า ถ้าน้องเก็บเงินดีๆ และเรียนรู้วิธีการลงทุนก่อนอายุ 30 ได้หลายล้านแน่นอนครับ

แน่นอนว่า ในกรณีที่ทำงาน จำนวนชั่วโมงเท่ากัน อยู่โรงพยาบาลเอกชน ได้เงิน ** มากกว่า ** อยู่โรงพยาบาลรัฐบาลแน่นอน อย่างน้อยก็ 2-3 เท่าหรืออาจจะมากกว่านั้นถ้าน้องเรียนจบเฉพาะทางมาแล้ว จำนวนคนไข้ที่ต้องตรวจก็น้อยกว่าด้วย

แต่น้องเชื่อหรือไม่ครับว่า เงินไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้แพทย์ลาออกจากระบบราชการ มันมีอะไรอีกเยอะนอกจากนั้นเช่น ความสบายใจในการทำงาน การเอาเปรียบกันของเพื่อนร่วมงานหรือรุ่นพี่ เป็นต้น

ชีวิตการอยู่ในโรงพยาบาลต่างจังหวัด หรือในโรงพยาบาลชุมชน ยังมีคนไข้น่ารักๆอีกมากมาย ถึงหน้าผลไม่ พี่ไม่เคยต้องซื้อผลไม้กิน เพราะคนไข้เก็นกันมาฝากตลอด เงาะ ทุเรียน และอื่นๆตามฤดูกาล และพี่จะเล่าให้ฟังว่า ของที่ชาวบ้านเอามาให้นี่ เป็นของที่ดีที่สุด เป็นผลที่สวยของสวนของเขาเลยนะ เขาไม่เอาไปขายหรอก เก็บเอามาให้แพทย์นั่นแหละ

พี่เคยได้ หัวหมู จากชาวบ้าน ตอนแรกๆก็งงว่า จะเอาไปทำไมนะ พอถามไปถามมาเค้าก็บอกว่า เป็นของที่ดีที่สุดที่เค้ามีตอนนี้ อยากให้คุณหมอเอาไปกิน

โอย พิมพ์แล้วน้ำตาจะไหล 555+

เพื่อนพี่บางคนได้ปลาเผา ได้พวงมาลัย ได้อะไรอีกหลายอย่าง เพื่อนพี่บางคนไปเดินตลาด ได้กินฟรีตลอดเพราะเคยช่วยลูกเค้าจากจมน้ำ โคม่า นอนไอซียู จนตื่นดีเล่นได้ปรกติ ของพวกนี้มันตีเป็นตัวเงินไม่ได้ครับ

พิมพ์ไปพิมพ์มาเริ่มนอกเรื่อง 555 พี่ตอบคำถามน้องครบทุกประเด็นหรือยังนะ

0
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 21:59 น. 8-5

พี่เพิ่งนึกออกว่า พี่ลืมบอกเรื่องเบี้ยกันดาล ในปีที่ 2-3 ถ้าน้องออกไปอยู่โรงพยาบาลชุมชนที่กันดาลหรือห่างไกลตัวเมืองมากๆ น้อลจะได้รับเบี้ยกันดาลเพิ่มอีก 10000 - 20000 บาทต่อเดือนครับ ตามระดับความกันดาล

ปล. เบี้ยกันดาล บางที่ไม่มี 7-11 อยู่ในรัศมี 10 กิโลเมตรนะ 555

0
nata 18 ก.ย. 59 เวลา 13:56 น. 9

อยากทราบรายละเอียดแพทย์cpirdค่ะ ได้ไปใช้ทุนที่จังหวัดในสำเนาทะเบียนบ้านตามที่เขากำหนดเลยรึป่าวคะ หรือว่าต้องจับฉลาก ขอบคุณค่ะ

2
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 16:53 น. 9-1

ตอบผ่านมือถือนะครับ ขออนุญาตพิมพ์สั้นๆก่อน เดี๋ยวกลับบ้านไปจะตอบละเอียดอีกทีหนึ่ง

จริงๆ ถ้าน้องมาในโครงการ CPIRD ก็ไม่ต้องจับสลากเเล้วครับ ไปใช้ทุนในจังหวัดที่น้องลงทะเบียนมาเลยครับ

0
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 20:56 น. 9-2

มาต่อครับ

ถ้าน้องอยู่ในโครงการ CPIRD ก็ไม่ต้องจับสลากเเล้วครับ ไปใช้ทุนในจังหวัดที่น้องลงทะเบียนมาเลยครับ จะต้องอยู่นานแค่ไหนก็ขึ้นกับลักษณะของสัญญาในแต่ละโครงการ บางทีก็แค่ 3 ปี บางทีก็มากกว่านั้น

แต่ๆๆๆ ตอน Intern 2 - 3 (หมายถึงใช้ทุนเป็นปีที่ 2 - 3) น้องจะต้องออกไปโรงพยาบาลชุมชนไหน อันนี้บอกไม่ได้ครับ

คืองี้ โดยปรกติ Intern 1 เค้าจะจัดให้อยู่โรงพยาบาลใหญ่ๆครับ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดนั้นๆ ถ้าน้องเป็น CPIRD จังหวัดจันทบุรี น้องจะได้ไปอยู่ที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี (โรงพยาบาลรัฐที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัด) หลังจากนั้นเมื่อผ่านไปเป็น Intern 2, Intern 3 น้องก็จะต้องออกโรงพยาบาลชุมชนครับ

ครวาวนี้ โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัด มันไม่ได้มีที่เดียวครับ แล้วแต่ละโรงพยาบาล บางทีห่างจากตัวจังหวัดเกือบ 100 กิโลเมตรก็มี นั่นแปลว่า น้องอาจจะไม่ได้อยู่โรงพยาบาลใกล้บ้านครับ

ส่วนใครจะได้ไปโรงพยาบาลไหน อันนี้ต้องตกลงกับเพื่อน Intern 1 ด้วยกันว่า ใครจะไปไหน ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็ต้องจับสลากครับ - แต่อย่างไรก็ตาม เรามักให้เกียรติเด็ก CPIRD เลือกอำเภอใกล้บ้านก่อนครับ

0
อยากทราบด้วยครับ 18 ก.ย. 59 เวลา 14:24 น. 10

สวัสดีครับ คุณอาหมอ คือผมเป็นเด็กม.6รร.ดังแถวสะพานพุทธในกรุงเทพ ได้สมัครกสพท.ไว้ และได้เลือก แพทยรังสิตไว้ด้วย
ที่บ้านอยากให้เรียนหมอรัฐหรือม.รังสิตก็ไม่เป็นไร เวลานี้ก็พยายามสุดกำลังครับ ถ้าสมมุติเกิดติดแพทย์รังสิต เรียนจบอยากรับราชการ ได้เลยหรือไม่ครับ อ.แนะแนวเขาบอก ต้องเข้าโครงการเพิ่มพูนทักษะ แล้วจะมีสิทธิจับสลากไปรับราชการได้พร้อมกันกับพวกที่เรียนแพทย์รัฐที่ต้องจับสลากไปใช้ทุน
ช่วยอธิบายคำว่า เพิ่มพูนทักษะ ให้ด้วยครับคุณอาหมอ เพิ่มเติมนะครับ ถ้าเพิ่มพูนแล้วจะมีสิทธิเรียนต่อเฉพาะทาง เหมือนคุณอาได้ไหมครับ ขอชมว่าคุณอาเป็นคนเก่งที่น่าเอาอย่างเลยครับ
และกระทู้นี้นับว่าเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการหาข้อมูล เกี่ยวกับอาชีพแพทย์มากเลยครับ

2
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 16:56 น. 10-1

ตอบผ่านมือถือนะครับ ขออนุญาตพิมพ์สั้นๆก่อน เดี๋ยวกลับบ้านไปจะตอบละเอียดอีกทีหนึ่ง

ถ้าน้องเรียนจบรังสิต โดยปรกติน้องจะไม่ต้องจับสลากครับ เเต่น้องสามารถเลือกเข้ามาในระบบโดยสมัครใจได้ ทางคณะจะเปิดให้เลือกตอนปี 6 ครับ

รายละเอียดเดี๋ยวเล่าให้ฟังยาวๆตอนดึกนิดนึงนะครับ พิมพ์ไม่สะดวก

0
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 21:44 น. 10-2

อาหมอมาเล่าต่อครับ เอ้ย ไม่เอา เอาแค่พี่หมอละกันนะ

ขั้นแรก สิ่งแรกที่อยากจะบอกนะครับ ** อย่าดูถูกหมอที่จบจากรังสิต **

ผมไม่ได้จบจากรังสิต และผมก็ยอมรับว่า สมัยผมเรียน ผมก็เคยดูถูกหมอที่เรียนที่รังสิตเหมือนกัน จนกระทั่งผมเรียนจบออกไปเห็นโลกกว้าง ได้เจอคุณหมอที่จบจากรังสิตจริงๆ (ที่สอบ National license ผ่านแล้วนะครับ) ได้ทำงานร่วมกัน หลายๆท่านมีความรู้ดีกว่าผมเสียอีก ทั้งๆที่อยู่รุ่นเดียวกัน คุณหมอที่จบจากรังสิตบางท่านก็เรียนต่อเฉพาะทาง ปัจจุบันยังทำงานอยู่ในโรงพยาบาลรัฐบาลก็มีครับ

แพทย์ที่จบแล้ว 99% ไม่เคยแบ่งแยกว่า ใครจบจากสถาบันไหน (เพราะเราไม่เคยจำ 555)

จนกระทั่งเวลาผ่านมา ผมทำงานมาจนได้มีโอกาสสอนแพทย์ที่จบใหม่ (Intern 1) ก็ได้เห็นอีกว่า ไม่ว่ามันจะจบจากจุฬา รามา ศิริราช หรือรังสิต ก็ไม่เห็นมันจะตอบคำถามผมได้ซักคนนี้หว่า 555+ ไม่ได้แตกต่างอะไรกันเลย

แน่นอนว่าในรังสิตก็มีทั้งคนเก่งและคนไม่เก่งคละๆกันไป แต่ที่อื่นๆก็ไม่ต่างครับ บางคนเก่งแค่ตอนสอบเข้า หลังจากนั้นไม่สนใจอ่านหนังสือหรือฝึกดูคนไข้ เค้าก็จบไปเป็นหมอกากๆได้เหมือนกัน

กลับมาตอบคำถามต่อ

เดิมทีหมอรังสิตไม่ต้องจับสลากครับ แต่ผมไม่แน่ใจว่า ตั้งแต่รุ่นไหนหรือมีการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้น ปัจจุบันหมอรังสิตสามารถเข้าร่วมในระบบจับสลากได้ โดยทางคณะจะเปิดให้เลือกตอนปี 6 ครับ นศพ ที่เรียนปี 6 ในปัจจุบันนี้ปีนี้น่าจะลงกันไปเรียบร้อยหมดแล้ว น้องมีสิทธิจับสลากไปรับราชการได้พร้อมกันกับพวกที่เรียนแพทย์รัฐที่ต้องจับสลากไปใช้ทุน (แต่อีก 6 ปี รัฐบาลจะมีที่ให้บรรจุหรือเปล่านั่นอาจจะเป็นอีกเรื่องนึงนะ) หลังจากจับสลากเสร็จก็จะเข้ามาอยู่ในระบบเหมือนกันครับ

ปล โทรยืนยันกับรุ่นน้องที่อยู่รังสิตให้แล้วครับ
ปปล อ.แนะแนวโรงเรียนน้องให้คำแนะนำได้ดีมากเลยครับ

แพทย์เพิ่มพูนทักษะ เป็นคำเรียกเท่ห์ๆของแพทย์ใช้ทุนครับ ถ้าไม่ได้คุยกันเป็นทางการ เราใช้คำว่าแพทย์ใช้ทุนครับ - พี่ไม่เคยพูดคำว่าแพทย์เพิ่มพูนทักษะเลย 555

ดังนั้น ถ้าน้องเข้ามาในระบบแพทย์ใช้ทุน น้องก็จะมีสิทธิสมัครเรียนต่อเฉพาะทางตามปรกติครับ

0
Gift 18 ก.ย. 59 เวลา 14:25 น. 11

พี่คะ หนูอยากเป็นหมอห้องฉุกเฉิน ER อ่ะค่ะ ถ้าเรียยจบหกปีแล้ว ก็สามารถไปต่อเฉพาะทางทางด้านนี้โดยตรงได้ใช่ไหมคะ

2
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 16:59 น. 11-1

ตอบผ่านมือถือนะครับ ขออนุญาตพิมพ์สั้นๆก่อน เดี๋ยวกลับบ้านไปจะตอบละเอียดอีกทีหนึ่ง

ได้ครับ เป็นสาขาที่ค่อนข้างใหม่ในประเทศไทย มีความน่าสนใจทีเดียว

รายละเอียดของนุญาตตอบตอนกลางคืนนะครับ พิมพ์ผ่านมือถือไม่สะดวกครับ

0
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 21:52 น. 11-2

มาต่อครับ

หลังเรียนจบ 6 ปีแล้ว ถ้าน้องอยากเรียนเป็นหมอห้องฉุกเฉิน ER น้องมีทางเลือก 2 ทางครับ

รบกวนน้องขึ้นไปดูที่ความเห็น 2-1 กับ 2-2 ที่พี่ตอบไว้นะครับ เป็นทางเลือก 2 ทางเลือกนั้น

แบบแรกคือไปใช้ทุนก่อน 3 ปี แล้วจึงกลับมาเรียนต่อ ER อีก 3 ปี รวมเป็น 6 ปี (แบบความเห็น 2-1) ซึ่งถ้าเลือกทางนี้ น้องก็เลือกได้ว่าจะสมัครที่โรงเรียนแพทย์ไหน เช่น จุฬา รามา พระมงกุฏ เป็นต้น

แต่สาขา ER เป็นสาขาที่มีการเปิดแพทย์พี่เลี้ยงครับ (แพทย์พี่เลี้ยงคืออะไร ดูที่ความเห็น 2-2) ซึ่งจะเรียนเร็วกว่าแบบแรกประมาณ 2 ปี แต่ทางเลือกนี้จะเรียนที่โรงพยาบาลศูนย์ครับ ปัจจุบันโรงพยาบาลศูนย์ที่สามารถเรียนเวชศาสตร์ฉุกเฉิน (ชื่อเท่ห์ของหมอ ER ครับ) มีตาม link ที่แนบมาให้ครับ อนาคตมีแนวโน้มจะเปิดที่อื่นขึ้นอีกเรื่อยๆครับ

http://www.cpird.in.th/index.php/hospitalpl.html

ทั้ง 2 เส้นทางต่างก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน ถ้าน้องเรียนอยู่ปี 6 ตอนนี้น้องอาจจะต้องรีบตัดสินใจนิดนึงเพราะทางเลือกแบบที่สองกำลังจะเปิดรับสมัครในอีก 1-2 เดือนข้างหน้าครับ

0
I-cha 18 ก.ย. 59 เวลา 14:30 น. 12

พี่คะคือหนูสงสัยเรื่องทุนไปเรียนต่างประเทศค่ะ ถ้าอยากไปเรียนแพทย์ที่ต่างประเทศมีทุนหรือโครงการอะไรแนะนำมั้ยคะ ตอนนี้หนูอยู่ ม.5 ค่ะ

2
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 17:05 น. 12-1

ตอบผ่านมือถือนะครับ ขออนุญาตพิมพ์สั้นๆก่อน เดี๋ยวกลับบ้านไปจะตอบละเอียดอีกทีหนึ่ง

น้อง I-cha หมายถึงไปเรียนตั้งเเต่ปี 1 เลยหรือเรียนจบเเพทย์ 6ปีเเล้วไปต่อเมืองนอกครับ

0
มุ้งมิ้ง 18 ก.ย. 59 เวลา 18:49 น. 13

แล้วเงินเดือนหมอเท่าไหร่คะ หมอธรรดา กับหมอเฉพาะทาง แล้วแตกต่างกับทันตะมากน้อยแค่ไหนคะ #ขอบคุณค่ะ^\\^

1
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 22:07 น. 13-1

หมอธรรมดา เราเรียกว่าหมอ GP ครับ ย่อมาจาก General practitioner ก็คือหมอที่ไม่ได้เรียนต่อเฉพาะทางนั่นล่ะครับ

เรื่องรายได้ของหมอ GP ในการ ** เริ่ม ** ทำงานในโรงพยาบาลรัฐบาลช่วง 1-3 ปีแรก รบกวนขึ้นไปอ่านความเห็นที่ 8-2, 8-3, 8-4, 8-5 ที่พี่พิมพ์เอาไว้ครับ คร่าวก็ประมาร 40000 - 70000 บาทครับ

ถ้า GP ไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชน ส่วนใหญ่ถ้าทำ full time เลยจะเริ่มที่ 100000+ ต่อเดือนครับ

ส่วนหมอเฉพาะทางนั้น แล้วแต่ว่าน้องต่อเฉพาะทางด้านไหน แต่ละด้านก็ไม่เท่ากัน เช่น ศัลยแพทย์ก็มักจะได้มากกว่าอายุรแพทย์หรือกุมารแพทย์เป็นต้นครับ และเช่นกันที่ทำงานเอกชนก็จะได้มากกว่าโรงพยาบาลรัฐบาลประมาณ 2-3 เท่าหรือมากกว่านั้น (ศัลยแพทย์อาจได้มากกว่า 3-5 เท่า เนื่องจากเอกชนบางที่ต้องการตัวมาก)

ส่วนทันตกรรม พี่ไม่มีข้อมูลเลยครับ 555 อันนี้ตอบไม่ได้ครับ แต่ในโรวพยาบาลรัฐบาล ทันตแพทย์จะได้น้อยกว่าแพทย์ เพราะไม่มีเงินค่าเวรเข้ามาเกี่ยวข้องครับ (ทันตแพทย์ไม่ต้องอยู่เวรครับ)

0
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 22:40 น. 14-1

พี่สอบตอนยังเป็นสมัยเอนทรานซ์อยู่ สมัยนั้นไม่มี กสพท ไม่มีข้อสอบความถนัดแพทย์ ไม่มีอะไรทั้งสิ้น มีให้วัดฝีมือ 2 รอบ จบ รู้ผล (สมัยนั้นสอบแค่ 7 วิชาจ้า)

ดังนั้นพี่จำได้ว่า ข้อสอบเอ็นทรานซ์ 7 วิชา ย้อนหลัง 15 ปี พี่ทำครบทุกชุด จับเวลา เทียบคะแนนกับเพื่อน แบบทดสอบที่ไม่ใช่ข้อสอบมีกี่ชุดพี่ทำครบทั้งหมด บางชุดทำซ้ำจนกว่าจะเข้าใจ

ถ้าน้องสงสัย พี่ใช้เวลาเตรียมตัวก่อนสอบครั้งแรกประมาณ 6 เดือน สมัยนั้นสอบครั้งแรกตอนประมาณตุลาคม พี่เตรียมตัวตั้งแต่ตอนปิดเทอมม.5 ขึ้น ม.6 (แต่ก่อนหน้านั้นผลการเรียนพี่ก็ดีมาตลอดนะ)

แต่เนื่องจากสมัยนี้มีการสอบอะไรก็ไม่รู้เยอะขึ้น สอบตรง สอบ GAT PAT สอบความถนัดแพทย์ สอบห่าสอบเหวอะไรก็ไม่รู้เต็มไปหมด พี่ให้คำแนะนำไม่ถูกละ 555+ แต่ในภาพรวมน่าจะเหมือนกัน ถ้าให้พี่แนะนำนะ

1. Check ก่อนว่า การสอบเข้าแพทย์มีโครงการอะไรบ้าง CPIRD คืออะไร ฯลฯ และเรามีสิทธิสอบในโครงการไหนได้บ้าง ** สอบทุกอันที่สอบได้ เพิ่มโอกาสให้ตัวเองให้มากที่สุด ถ้าไม่ติดก็ถือว่าไปลองสนามสอบก็ยังดี **

2. วางแผนอ่านหนังสือล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน นั่นเป็นเวลาที่พี่ใช้ แต่ขออนุญาตพูดแบบไม่กระดากปากนะ พี่ว่าพี่โชคดีที่เป็นคนอ่านหนังสือเร็วและหัวดีพอสมควร น้องอาจต้องปรับเวลาให้เหมาะกับตัวเองว่าจะเริ่มต้นเมื่อไหร่

3. จับกลุ่มเพื่อน อันนี้สำคัญมาก ช่วยกันอ่านหนังสือ แข่งกันทำข้อสอบ หรือแม้กระทั่งโทรปลุกตอนเช้าพี่ก็ทำมาหมดแล้ว

4. ข้อสอบ ทำเข้าไป แบบฝึกหัด มีกี่ชุดทำให้หมด จับเวลาจริง ข้อไหนทำผิดให้ดูว่าผิดเพราะเราสะเพร่าหรือเราไม่เข้าใจ แล้วแก้ซะ วงปากกาแดงไว้ ครั้งหน้าเอาใหม่ - แนะนำให้ทำ Answer sheet แบบใช้ Excel ง่ายๆก็ได้ครับ เวลามาทำใหม่จะได้ไม่เห็นที่เราทำไว้ก่อนหน้านี้ หนังสือจะได้ไม่เลอะมาก

อื่นๆ พี่ยังนึกไม่ออกตอนนี้ แต่ว่าอย่างไรก็ตาม การสอบมันเปลี่ยนไปเยอะมาก อย่างการสอบเชื่อมโยงอะไรนี่ สมัยพี่ไม่มีนะ 555+ พี่ทำไม่เป็นหรอก

สำคัญสุดก็คือใจ ทำไมถึงอยากเรียนหมอ ท่องไว้

ท้อก็เป็นได้แค่ถ่าน ถ้าผ่านถึงจะเป็นเพชร

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

1234 18 ก.ย. 59 เวลา 20:02 น. 16

พี่คะหนูอยากรู้ว่าถ้าอยากป็นจิตเเพทย์นี่ต้องต่ออะไรยังไงบ้างคะ..

1
จขกท 18 ก.ย. 59 เวลา 23:48 น. 16-1

ขั้นแรกเลย เรียนแพทย์ให้จบ 6 ปีก่อนครับ และเมื่อผ่านวอร์ดจิตเวชตอนปี 5 ให้กลับมาถามตัวเองอีกครั้งว่า ยังอยากเป็นจิตแพทย์จริงหรือไม่

ปัจจุบันหลายสถาบันมีการเปิดวิชา elective ให้เลือก น้องเลือกตัวที่เกียวกับจิตเวชไปให้หมดเลยครับ ทั้งหาความรู้เพิ่ม สร้างความมั่นใจให้กับตนเองและเป็นการเปิดตัวให้อาจารย์เห็นว่า หนูอยากมาเรียนต่อนะคะ

จิตเวชศาสตร์ล่าสุดเท่าที่ตามข่าวยังเป็นสาขาขาดแคลนอยู่ เป็นสาขาที่แพทยสภาต้องการส่งเสริมให้มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผู้สมัครสามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้โดย ไม่จำเป็นต้องผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ 1 ปี และไม่จำเป็นต้องปฏิบัติงานชดใช้ทุนก่อน (อ่านเข้าใจมั้ยเนีย 555)

คืองี้ครับ โดยสรุปคือ หลังจบ 6 ปี น้องสามารถมาเรียนได้เลยโดยไม่ต้องไปใช้ทุน 3 ปีที่ต่างจังหวัดข้างนอกมาก่อน (แต่พี่แนะนำว่า อาจจะไปเก็บประสบการณ์ชีวิตก่อนสักปีก็ไม่เลวนะ แล้วอีกอย่าง เผื่อน้องเรียนจิตเวชไม่ไหว แล้วไม่ได้ผ่านการใช้ทุนมาเลย มันจะเลือกเรียนสาขาอื่นๆลำบาก) อัตราการแข่งขันไม่สูงมากนัก

สาขานี้ใช้เวลาฝึกอบรมสามปีเท่ากับสาขาส่วนมากครับ

สู้ๆครับ

0
Leteriral 18 ก.ย. 59 เวลา 20:13 น. 17

-เงินเดือนหลังจบ 6 ปีเท่าไร และหลังจบเฉพาะทางแต่ละครั้ง เท่าไรบ้างครับ 
-คุณหมอเลือกอาชีพนี้เพราะอยากรักษาคนอยากช่วยเหลือคนจริงๆ หรือเพราะเหตุผลอื่นครับ
-เรียนจบแล้วต้องทำงานหนักมากๆหรือเปล่า มีเวลาให้ครอบครัวมั้ย มีเวลาว่างทำในสิ่งที่เราอยากทำมั้ยครับ

2
จขกท 19 ก.ย. 59 เวลา 00:12 น. 17-1

เรื่องรายได้ของหมอหลังเรียนจบ 6 ปี (หรือที่เรียกว่าหมอ GP) ในการ ** เริ่ม ** ทำงานในโรงพยาบาลรัฐบาลช่วง 1-3 ปีแรก รบกวนขึ้นไปอ่านความเห็นที่ 8-2, 8-3, 8-4, 8-5 ที่ผมพิมพ์เอาไว้ครับ คร่าวก็ประมาณ 40000 - 70000 บาทครับ

ถ้า GP ไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชน ส่วนใหญ่ถ้าทำ full time เลยจะเริ่มที่ 100000+ ต่อเดือนครับ

ส่วนหมอเฉพาะทางนั้น แล้วแต่ว่าต่อเฉพาะทางด้านไหน แต่ละด้านก็ไม่เท่ากัน เช่น ศัลยแพทย์ก็มักจะได้มากกว่าอายุรแพทย์หรือกุมารแพทย์เป็นต้นครับ และเช่นกันที่ทำงานเอกชนก็จะได้มากกว่าโรงพยาบาลรัฐบาลประมาณ 2-3 เท่าหรือมากกว่านั้น (ศัลยแพทย์อาจได้มากกว่า 3-5 เท่า เนื่องจากเอกชนบางที่ต้องการตัวมาก)

สาเหตุที่เข้ามาเรียนหมอ แรกๆเข้าเพราะคะแนนถึงกับเพื่อนเรียนเยอะ ก็เลยเรียน ตอนนั้นยังเป็นวัยรุ่นไม่เคยกลัวอยู่แล้วว่าจะเรียนไม่ไหวหรือไม่ชอบ ตอนนั้นมั่นใจในตัวเองมากว่าทำได้ ตอนนั้นไม่รู้จักหรอกครับว่าหมอต้องทำงานอะไรยังไงบ้าง

ไม่เข้าวิศวะเพราะไม่อยากรับน้องกับไม่อยากกินเหล้า เหตุผลในตอนนั้นก็มีแค่นั้น พอโตขึ้นมาก็ได้เห็นว่ามันไม่ใช่ 555

ผ่านมาเรื่อยๆก็รู้สึกว่าตนเองโชคดีที่มีความสุขกับการเรียนหมอพอสมควร มีความสุขในการรักษาคนให้หายจากโรค ได้เห็นอะไรในชีวิตมากขึ้น (ลองอ่าน 8-5 ดูนะครับ) เพื่อนบางคนรับไม่ได้กับการเรียน เลิกเรียนไปก่อนก็มีบ้างเหมือนกันครับ

ตอนนี้ถ้าให้ย้อนเวลากลับไปก็คงเลือกเรียนหมอเหมือนเดิมครับ

เพื่อนบางคนเรียนหมอด้วยปัญหาด้านที่อยู่อาศัย เนื่องจากถ้าไม่เลือกหมอแม่จะไม่ให้กลับเข้าบ้านก็มี
เพื่อนบางคนเรียนหมอเพราะใจที่อยากช่วยคนไข้จริงๆก็มี

0
จขกท 19 ก.ย. 59 เวลา 00:17 น. 17-2

ถ้าสมมติว่าไม่เรียนต่อนะครับ

ช่วงที่หนักที่สุดคือช่วงเรียนปี 6 กับใช้ทุนปีที่ 1 ครับ (Extern กับ Intern 1) หลังจากนั้นก็จะเริ่มสบายขึ้นและมีเวลามากขึ้น

แต่หมอส่วนใหญ่ก็ยังต้องอยู่เวรกลางคืนนะครับ เวลาว่างโดยรวมก็น่าจะน้อยกว่าอาชีพอื่นๆอยู่ดี แต่ถ้าเราจัดเวลาดีๆ เตรียมแลกเวรออก ใส่วันลาพักร้อนเข้าไป ก็สามารถหาช่วงหยุดยาวไปยุโรปหรืออเมริกาได้ครับ (ลองอ่านความเห็น 1-2 ดูนะครับ ผมมีเวลามากพอที่จะสามารถหัดถักผ้าพันคอได้ด้วยนะ)

เพื่อนผมหลายคนก็เข้าตลาดหุ้นเป็นงานอดิเรก บางคนเล่นอสังหาริมทรัพย์ บางคนทำอาหาร บางคนเรียนภาษาจีน บางคนแค่เป็นหมอกับเลี้ยงลูกก็ไม่มีเวลาทำอย่างอื่นแล้วก็มีครับ

0
จขกท 19 ก.ย. 59 เวลา 10:47 น. 18-1

ศัพท์ลำดับขั้นของสิ่งมีชีวิตสายแพทย์ในโรงพยาบาล
Extern - นสพ. / นศพ.ที่กำลังเรียนอยู่ปี 6
Resident 1 - แพทย์ที่เรียนจบแล้ว กำลังเรียนต่อเฉพาะทางปีที่ 1
Resident 2 - แพทย์ที่เรียนจบแล้ว กำลังเรียนต่อเฉพาะทางปีที่ 2
Resident 3 - แพทย์ที่เรียนจบแล้ว กำลังเรียนต่อเฉพาะทางปีที่ 3
Fellow 1 - แพทย์ที่เรียนเฉพาะทางจบแล้ว กำลังเรียนต่อเฉพาะทางของเฉพาะทางอีกทีปีที่ 1
Fellow 2 - แพทย์ที่เรียนเฉพาะทางจบแล้ว กำลังเรียนต่อเฉพาะทางของเฉพาะทางอีกทีปีที่ 2
Young staff - อาจารย์แพทย์ที่เริ่มทำงานได้ไม่นานนัก
Senior staff - อาจารย์แพทย์อาวุโส
Staff - คำเรียกรวมๆถึงอาจารย์แพทย์

ยกตัวอย่างตารางเรียนปี 6 ในขณะที่อยู่อายุรกรรมให้แล้วกันนะครับ (Extern rotate MED) แต่ละสถาบันอาจจะมีการแตกต่างในรายละเอียดบ้าง แต่โดยรวมอาจจะไม่ต่างกันสักเท่าไหร่

ชีวิตน้องต้องพร้อมที่หอผู้ป่วยประมาณ 6.30 - 7.00 นั่นคือน้องจะตื่นกี่โมงเรื่องของน้อง จะอาบน้ำแปรงฟันหรือเปล่าก็ต้องจัดตารางตัวเอง ข้าวเช้าอยากกินอะไรก็ต้องจัดเวลาเอา ผู้หญิงอยากแต่งหน้าก็ต้องตื่นเช้าขึ้นไปอีก 555 (ข้อได้เปรียบของผู้ชาย 555) น้องต้องไม่ลืมว่าน้องเป็นน้องเล็กสุดของทีมรักษาคนไข้ (ไม่นับปี 4 ปี 5 นะ พวกนั้นไม่ได้เข้ามาในทีมจริงจังเท่าไหร่) ทีมของน้องโดยทั่วไปก็จะมี Extern, Resident 1, Resident 3, staff

จากการที่น้องเป็นน้องเล็กสุด น้อง *ต้อง* มาเช้าที่สุดแล้วเตรียมทุกอย่างให้พร้อม เตรียมประวัติคนไข้ เจาะเลือด สวนปัสสาวะ เช็คระดับน้ำตาลคนไข้ ตามผลเลือดที่เจาะไป และอื่นๆตามแต่ได้รับมอบหมาย น้อง * ต้อง * เริ่มดูคนไข้ไปเลยก่อนที่ Resident 1, Resident 3 จะมา เพื่อวันนึงที่น้องเรียนจบแล้ว น้องไม่มี Resident 1, Resident 3 แล้ว น้องจะได้อยู่คนเดียวได้

7.00+ หลังจากนั้น Resident 1 จะเริ่มมาดูคนไข้ น้อง Extern ก็จะเดินไปพร้อมกัน ช่วงนี้ Resident 1 ก็จะสอนน้องทีละอย่างเกี่ยวกับคนไข้ที่น้องเป็นเจ้าของไข้ เช่น เลือกยายังไง จะเจาะเลือดอีกทีเมื่อไหร่ ก็ค่อยๆเรียนรู้กันไป ถ้าโชคดีเจอ Resident 1 ที่เก่งหน่อยหรือชอบสอน น้องก็จะได้เรียนเยอะครับ

7.30+ หลังจากนั้น Resident 3 ก็จะเริ่มมาดูคนไข้ น้อง Resident 1 + Extern ก็จะเดินไปพร้อมกัน ก็ทยอยสอนกันไป คล้ายๆข้างบน แต่ความรู้จะลึกกว่า ยากกว่าเพราะคนสอนเรียนเฉพาะทางมา 3 ปีแล้ว ถ้า Resident 3 เอาจริง Extern มักจะฟังไม่รู้เรื่อง ดังนั้น Resident 3 มักจะค่อยๆสอนช้าๆ เพื่อให้ Extern น้อยๆ ตามทัน 555

ขั้นเวลาก่อน คืองี้ครับ ในหอผู้ป่วย สมมติว่ามีเตียง 20 เตียง (ก็มีคนไข้ได้มากที่สุด 20 คน ..... แต่ไม่เสมอไป เตียงในโรงพยาบาลงอกได้เสมอถ้าจำเป็น โดยเฉพาะตามโรงพยาบาลต่างจังหวัดที่ไม่ใช่โรงเรียนแพทย์) ก็อาจจะแบ่งเป็น 3 สาย แต่ละสายก็มี Resident 1 1 คนกับ Extern 1 - 2 คน ก็มักจะแบ่งกัน คือ Resident 1 ต้องดูคนไข้ทั้ง 6-7 คนที่อยู่ในสายตัวเองทั้งหมด Extern ก็จะดูคนละ 3-4 เคส ตามแต่ได้รับมอบหมาย (ก็ดูคนไข้ในสายตัวเองร่วมกับ Resident 1 นั่นล่ะครับ) แต่ Resident 3 ต้องดูคนไข้ทั้ง 20 คนในหอผู้ป่วยนั้น ดังนั้น ถึงจะมาช้าที่สุดได้ แต่ความรับผิดชอบเยอะที่สุดนะครับ

หลังจาก Resident 3 ดูคนไข้ครบทั้ง 20 คนแล้ว ก็จะมาสะสางงานในวอร์ดครับ เช่น เขียนสรุปการรักษา เจาะเลือด พ่นยา สวนปัสสาวะ เจาะน้ำตาล เจาะหลัง เจาะข้อ คุยกับญาติ และอื่นๆ ถ้าเสร็จก่อนที่อาจารย์จะมา ก็จะได้พักบ้างครับ บางคนก็จะอาศัยช่วงนี้วิ่งไปกินข้าวเช้า (มักจะเป็นแค่แซนวิซ 555)

ประมาณ 9.00 - 10.00 Staff ก็จะมาดูคนไข้ครับ * หน้าที่ของ Extern * คือ นำเสนอประวัติคนไข้ ผลการตรวจร่างกาย การวินิจฉัย และร่วมวางแผนการรักษา น้องต้องประมวลสิ่งที่น้องได้จากคนไข้ สิ่งที่ Resident 1 + Resident 3 สอนเมื่อเช้า ความรู้ที่น้องไปอ่านหนังสือมา และอื่นๆ เพื่อมาเล่าให้อาจารย์ฟังให้ได้ ถ้าไม่ได้ - ตายสถานเดียวครับ บางคนใจดีหน่อยก็อาจจะว่ากล่าวตักเตือนเบาๆ บางคนดุหน่อยนี่ ด่ากันต่อหน้าคนไข้และญาติเลยนะครับ (Resident 1 +Resident 3 มักจะโดนลูกหลงไปด้วย โทษฐานสอนน้องไม่ดี)

Staff ก็จะไล่ดูคนไข้และสอน Extern + Resident 1 +Resident 3 ไปเรื่อยๆ กว่าจะจบกระบวนการก็จะประมาณ 12.00+ ครับ

555 เพิ่งเที่ยงเองเหรอฟระ เดี๋ยวมาต่อนะครับ

0
จขกท 19 ก.ย. 59 เวลา 11:12 น. 18-2

555 เพิ่งเที่ยงเองเหรอฟระ วันนี้จะตอบครบ 28 ความเห็นมั้ยเนี่ย 555

ช่วงกินข้าวเที่ยงมักจะเป็นช่วงสบายๆครับ * ถ้าไม่มีเหตุการณ์วิกฤตนะครับ ถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นส่วนใหญ่จะผลัดกันมากินครับ ทิ้งคนไว้บางส่วนเพื่อเฝ้าผู้ป่วย

13.00 เข้าช่วงบ่ายแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นในช่วงบ่ายมักไม่ได้มีตารางตายตัวมากนักครับ ส่วนใหญ่จะได้แก่

(1) แน่นอนครับ เขียนสรุปการรักษา เจาะเลือด พ่นยา สวนปัสสาวะ เจาะน้ำตาล เจาะหลัง เจาะข้อ คุยกับญาติ และอื่นๆ คนไข้บางคนบางโรคต้องเจาะหลังวันละ 2-3 ครั้งก็มีนะครับ บางคนก็ต้องสวนปัสสาวะวันละ 4 รอบ ดังนั้น งานพวกนี้มีมาเรื่อยๆครับ และแน่นอน เราไม่ทำใครจะทำครับ

(2) แพทย์เฉพาะทางของเฉพาะทางมาดูคนไข้ (Subspecialty) ทีมนี้เค้าจะประกอบไปด้วย Resident 2 + Fellow 1 + Fellow 2 + young staff + senior staff ครับ ทีมนี้จะไม่ได้มาดูคนไข้ทุกคนนะครับ เค้าจะมาดูเฉพาะที่เกี่ยวกับหน่วยของเค้าเท่านั้น เช่น แพทย์เฉพาะทางด้านโรคปอด ก็จะมาดูคนที่เป็นถุงลมโป่งพองหรือมะเร็งปอด อะไรงี้ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคสมอง ก็จะมาดูคนไข้หลอดเลือดสมองเป็นต้น ถ้าเค้ามาดูคนไข้ในสายเรา เราก็ควรจะต้องไปร่วมวงกับเค้าด้วยครับ เพื่อฟังความเห็นของผู็เชี่ยวชาญ (แต่ส่วนใหญ่ level นี้ Extern จะฟังไม่รู้เรื่อง 555)

(3) รับผู้ป่วยใหม่ครับ ซักประวัติ ตรวจร่่างกาย เจาะเลือด เขียนรายงาน บันทึกเวชระเบียน และอื่นๆ ทำวนไปครับ

(4) บางวันบางสถาบันจะจัดให้มี Extern round เป็นพิเศษ บางทีก็จะมีเล็คเช่อร์ให้ Extern บ้างแต่ก็ไม่ได้มีบ่อยนัก เป็นโอกาสที่ดีที่น้องจะได้ฟังอะไรที่ไม่ยากเกินไปนัก เหมาะสำหรับ Extern ตัวน้อยๆ หัวกลวงๆครับ

(5) อ่านหนังสือสิครับ คำถามที่อาจารย์และพี่ๆถามมาเมื่อเช้า ส่วนใหญ่จะมาเก็บคำตอบกันตอนเย็น แน่นอน ตอบไม่ได้ก็ตายสถานเดียว ตอนนี้ว่างก็รีบอ่านหาคำตอบครับ

(6) ถ้าน้องดวงดีมากพอ น้องจะได้แอบงีบสักครึ่งชั่วโมงครับ แต่นั่นต้องไม่มีงานแล้วนะ อย่าลืมว่าน้องเป็นน้องเล็กสุดของทีมรักษาคนไข้ ห้ามหนีไปนอนโดยที่พี่ๆยังทำงานอยู่

15.00-17.00+ เริ่มการดูคนไข้รอบเย็นครับ - กลับไปอ่านเหตุการณ์ตอน 6.30 - 10.00 อีกรอบ

17.00-18.00 ส่งเวรครับ เพื่อให้แพทย์ที่มาอยู่เวรดูคนไข้ต่อได้ราบรื่น หลังจากส่งเวรเสร็จ ถ้าวันนั้นน้องไม่ได้อยู่เวร น้องก็สามารถกลับไปพักได้ครับ (Extern มักจะอยู่เวรประมาณ 2-3 วันต่อสัปดาห์) ถ้าน้องอยู่เวร ก็เข้าสู่การอยู่เวรครับ

18.00 - 06.00 ของวันใหม่ ดูทุกอย่างและทำทุกอย่างที่เกิดขึ้นในเวร แน่นอนครับ เขียนสรุปการรักษา เจาะเลือด พ่นยา สวนปัสสาวะ เจาะน้ำตาล เจาะหลัง เจาะข้อ คุยกับญาติ และอื่นๆ (Copy and paste มา 555) รับคนไข้ใหม่ อ่านหนังสือ หาเวลาไปกินข้าวเย็นกันเอง สวดมนต์และภาวนาว่าหลังเที่ยงคืนจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้าทุกอย่างสงบเรียบร้อยดี หลังเที่ยงคืนก็จะได้ไปนอนกันครับ แต่ถ้าไม่เรียบร้อย ก็ดูคนไข้กันไปจนกว่าจะเรียบร้อยครับ บางทีจนเช้าก็ไม่ได้นอนครับ

6.00 แล้ว กลับไปอ่านข้างบนอีกรอบจนกว่าจะจบที่การส่งเวร เป็นอันเสร็จกระบวนการของ Extern 1 คน

อื่นๆที่น้องต้องหาเวลาทำเองเช่น อ่านหนังสือเตรียมสอบ (Extern ก็มีการสอบนะครับ) เขียนรายงานส่งอาจารย์ ฝึกการทำหัตถการที่อาจไม่ได้ทำบ่อยนัก เป็นต้น

0
จขกท 19 ก.ย. 59 เวลา 11:13 น. 18-3

อ้อ เวลาทุกอย่างไม่ตายตัวนะครับ เช่นคนไข้ของน้องอาการไม่คงที่ น้องก็เฝ้าไปครับ บางทีกว่าจะได้ส่งเวรทุ่มกว่าก็มีครับ

0
Angkorz 18 ก.ย. 59 เวลา 20:28 น. 19

พี่มีเทคนิคการเตรียมตัวสอบเข้ายังไงบ้างคะ ตอนนี้หนูอยู่ม.4อยากรู้ว่าต้องเตรียมตัวเลยมั้ยคะ เรียนแพทย์กี่ปี ข้อสอบมีวิชาไรบ้าง แล้วแพทย์กับทันตแพทย์เรียนต่างกันมากมั้ย ถ้าอยากต่อแพทย์เฉดาะทางต้องทำยังไงบ้างคะ มีค่าใช้จ่ายเยอะมั้ยคะ

2
จขกท 19 ก.ย. 59 เวลา 11:22 น. 19-1

แพทย์ทุกที่และ (เกือบ) ทุกหลักสูตรเรียน 6 ปีครับ เมื่อก่อนมีส่วนน้อยมากๆที่เรียน 5 ปีจบ (ปัจจุบันไม่แน่ใจว่ายังมีอยู่หรือไม่)

แพทย์กับทันตแพทย์เรียนแทบจะไม่เหมือนกันเลยครับ มีคล้ายกันบ้างแควิชาปี 1 และวิชาปี 2 บางวิชา เราทำหน้าที่แทนกันไม่ได้ครับ

ถ้าอยากเรียนเฉพาะทางต่อ จริงๆจะบอกว่า แทบไม่มีค่าใช้จ่ายเลยครับ เพราะเมื่อน้องเรียนจบ 6 ปีแล้ว น้องก็เป็นหมอเต็มตัวแล้วครับ ตอนน้องมาเรียนต่อ น้องได้เงินเดือนด้วยซ้ำ (แต่อาจจะน้อยหน่อยนะครับ โดยเฉลี่ยประมาณ 20000 บาทต่อเดือน)

ขั้นตอนการเรียนต่อเฉพาะทาง น้องลองอ่านของความเห็นที่ 2-1, 2-2 ที่พี่พิมพ์ไว้ได้เลยครับ

ที่เหลือ Copy & paste ของ 14-1 ที่พี่พิมพ์ไว้มาครับ 555

พี่สอบตอนยังเป็นสมัยเอนทรานซ์อยู่ สมัยนั้นไม่มี กสพท ไม่มีข้อสอบความถนัดแพทย์ ไม่มีอะไรทั้งสิ้น มีให้วัดฝีมือ 2 รอบ จบ รู้ผล (สมัยนั้นสอบแค่ 7 วิชาจ้า) ดังนั้น ตอนนี้พี่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าข้อสอบเข้าคณะแพทย์มีวิชาอะไรบ้าง 555

ดังนั้นพี่จำได้ว่า ข้อสอบเอ็นทรานซ์ 7 วิชา ย้อนหลัง 15 ปี พี่ทำครบทุกชุด จับเวลา เทียบคะแนนกับเพื่อน แบบทดสอบที่ไม่ใช่ข้อสอบมีกี่ชุดพี่ทำครบทั้งหมด บางชุดทำซ้ำจนกว่าจะเข้าใจ

ถ้าน้องสงสัย พี่ใช้เวลาเตรียมตัวก่อนสอบครั้งแรกประมาณ 6 เดือน สมัยนั้นสอบครั้งแรกตอนประมาณตุลาคม พี่เตรียมตัวตั้งแต่ตอนปิดเทอมม.5 ขึ้น ม.6 (แต่ก่อนหน้านั้นผลการเรียนพี่ก็ดีมาตลอดนะ)

แต่เนื่องจากสมัยนี้มีการสอบอะไรก็ไม่รู้เยอะขึ้น สอบตรง สอบ GAT PAT สอบความถนัดแพทย์ สอบห่าสอบเหวอะไรก็ไม่รู้เต็มไปหมด พี่ให้คำแนะนำไม่ถูกละ 555+ แต่ในภาพรวมน่าจะเหมือนกัน ถ้าให้พี่แนะนำนะ

1. Check ก่อนว่า การสอบเข้าแพทย์มีโครงการอะไรบ้าง CPIRD คืออะไร ฯลฯ และเรามีสิทธิสอบในโครงการไหนได้บ้าง ** สอบทุกอันที่สอบได้ เพิ่มโอกาสให้ตัวเองให้มากที่สุด ถ้าไม่ติดก็ถือว่าไปลองสนามสอบก็ยังดี **

2. วางแผนอ่านหนังสือล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน นั่นเป็นเวลาที่พี่ใช้ แต่ขออนุญาตพูดแบบไม่กระดากปากนะ พี่ว่าพี่โชคดีที่เป็นคนอ่านหนังสือเร็วและหัวดีพอสมควร น้องอาจต้องปรับเวลาให้เหมาะกับตัวเองว่าจะเริ่มต้นเมื่อไหร่

3. จับกลุ่มเพื่อน อันนี้สำคัญมาก ช่วยกันอ่านหนังสือ แข่งกันทำข้อสอบ หรือแม้กระทั่งโทรปลุกตอนเช้าพี่ก็ทำมาหมดแล้ว

4. ข้อสอบ ทำเข้าไป แบบฝึกหัด มีกี่ชุดทำให้หมด จับเวลาจริง ข้อไหนทำผิดให้ดูว่าผิดเพราะเราสะเพร่าหรือเราไม่เข้าใจ แล้วแก้ซะ วงปากกาแดงไว้ ครั้งหน้าเอาใหม่ - แนะนำให้ทำ Answer sheet แบบใช้ Excel ง่ายๆก็ได้ครับ เวลามาทำใหม่จะได้ไม่เห็นที่เราทำไว้ก่อนหน้านี้ หนังสือจะได้ไม่เลอะมาก

อื่นๆ พี่ยังนึกไม่ออกตอนนี้ แต่ว่าอย่างไรก็ตาม การสอบมันเปลี่ยนไปเยอะมาก อย่างการสอบเชื่อมโยงอะไรนี่ สมัยพี่ไม่มีนะ 555+ พี่ทำไม่เป็นหรอก

สำคัญสุดก็คือใจ ทำไมถึงอยากเรียนหมอ ท่องไว้

ท้อก็เป็นได้แค่ถ่าน ถ้าผ่านถึงจะเป็นเพชร

0
จขกท 19 ก.ย. 59 เวลา 11:23 น. 19-2

ลืมบอก ไม่นับว่าไปเรียนต่อเฉพาะทางเมืองนอกนะครับ อันนั้นหลายแสน จะถึงหลายล้านก็ไม่แปลกครับ

0
win12 18 ก.ย. 59 เวลา 20:28 น. 20

จากกระทู้ก่อนๆที่บอกว่า สถาบันก็มีส่วนในการเรียนต่อเฉพาะทาง

ถ้าผมได้ม.ทั่วๆไปที่ไม่ใช่3เทพ(เช่นม.แถวสามย่าน เป็นต้น) 
โอกาสที่ผมจะได้เรียนต่อเฉพาะทางนั้นยากมากมั้ยครับ

ปล.1ผมอยากต่อด้านตาครับ
ปล.2ผมกำลังเตรียมสอบเข้าครับ

2
จขกท 19 ก.ย. 59 เวลา 11:41 น. 20-1

สถาบัน 3 เทพ !? เดี๋ยวนี้เค้าเรียกแบบนี้เหรอครับ 5555
เดาว่าเป็นจุฬา รามา ศิริราชใช่มั้ยครับ ใช่มั้ยครับ
เด็กที่จบออกมาก็มีทั้งเก่งกับไม่เก่งปนๆกันครับ ลองอ่านความเห็น 10-2 ที่ผมพิมพ์ไว้ด้านบนดูนะครับ

ตอบคำถามดีกว่า
ถ้าน้องอยากเป็นหมอตา พี่บอกเลยว่า เป็น 1 ในสาขาที่แย่งกันเข้าเยอะพอสมควร Profile ต้องดีในระดับหนึ่ง ถึงจะสามารถแข่งขันในสนามนี้ได้ครับ

ข่าวดีก็คือ สถาบันที่จบออกมาเป็นแค่ส่วนเล็กๆเท่านั้นครับในสนามนี้ เหตุผลเพราะว่า ในการเรียนแพทย์ 6 ปี น้องแต่ละคนจะได้โอกาสผ่านการเรียนโรคตาไม่น่าเกิน 2-3 สัปดาห์ (มากสุดก็เดือนนึง เอ้า - ยกเว้นว่าน้องจะลงเรียนวิชาเลือกเพิ่มเติมเองนะครับ) ไม่เหมือนกับทางอายุรศาสตร์หรือกุมารเวชศาสตร์ที่เค้าต้องผ่านกัน 4-6 เดือนครับ

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้พี่แนะนำว่า โฟกัสไปที่การตอบให้ติดก่อน ช่วงกลางๆปี 5 ค่อยมาตอบคำถามตัวเองอีกทีว่า ยังอยากเป็นหมอตาหรือไม่ ตอนนั้นค่อยวางแผนก็ยังไม่สายครับ

0
win12 19 ก.ย. 59 เวลา 11:53 น. 20-2

ขอบคุณมากครับ ^^

ส่วนสถาบัน3เทพ ตามนั้นเลยครับ55

0