Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เรื่องน่ารู้ "ประตูพระบรมมหาราชวัง"มีชื่ออะไรบ้าง?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 ช่วงนี้จะเห็นข่าวประชาชนเดินทางมาลงนามถวายความอาลัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ในพระบรมมหาราชวังเป็นจำนวนมาก ทำให้เห็นภาพบรรยากาศโดยรอบพระบรมหาราชวัง แล้วอยากทราบประวัติความเป็นมา อย่างแรกที่สนใจคือเรื่องประตู ซึ่งมีจำนวนมาก และมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจไม่ต่างกัน รวมทั้งชื่อที่ตั้งให้คล้องจอง วันนี้เลยไปหาข้อมูลมาฝากกันค่ะ




     พระบรมมหาราชวัง เป็นพระราชวังหลวงที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา การก่อสร้างพระบรมมหาราชวังเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระนครเมื่อ พ.ศ. 2325 และได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมขยายอาณาเขตและบูรณปฏิสังขรณ์มาในทุกรัชกาล


รูปจาก ThaiTicketMajor

 
ทิศเหนือ ติดกับท้องสนามหลวง
ทิศตะวันออก ติดกับกระทรวงกลาโหม
ทิศใต้ ติดกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
ทิศตะวันตก ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา
 
โดยประตู จะมี 2 ชั้น คือ ประตูชั้นนอก และประตูชั้นใน
 
ประตูชั้นนอก อยู่ตามแนวกำแพงพระบรมมหาราชวัง มี 12 ประตูใหญ่ ตั้งชื่อคล้องจองกัน คือ

 

 รูปจาก google street view
 
1. ประตูวิมานเทเวศร์ อยู่ตรงกันข้ามกับมหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นประตูสำคัญในรัชสมัยนั้น เพราะเป็นทางอัญเชิญพระราชสาสน์จากประเทศต่าง ๆ แห่เข้ามาทางประตูวิมานเทเวศร์ ผ่านหน้าศาลาลูกขุนในเลี้ยวเข้าประตูพิมานไชยศรีไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย 



 รูปจาก google street view
 
2. ประตูวิเศษไชยศรี เป็นประตูสำคัญเพราะเป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระมหามนเทียร ปัจจุบันประตูวิเศษไชยศรีเป็นประตูทางเข้าออกพระบรมมหาราชวังที่สำคัญที่สุด 



 รูปจาก google street view

3. ประตูมณีนพรัตน์  เปิดใช้เมื่อมีการเชิญพระบรมศพออกมาตั้งที่พระเมรุมาศท้องสนามหลวง ใช้เป็นประตูฉนวนให้ฝ่ายในออกไปงานพระเมรุ และรื้อฉนวนออกเมื่อเสร็จงานพร้อมทั้งปิดประตูนี้ด้วย ประตูนี้จึงปิดตลอดเวลา (มีชื่อสามัญว่า ประตูฉนวนวัดพระแก้ว)



 รูปจาก google street view

4. ประตูสวัสดิโสภา  ตรงข้ามกับกระทรวงกลาโหม เป็นประตูเชื่อมไปวัดพระแก้ว (มีชื่อสามัญว่า ประตูทอง )



 รูปจาก google street view

5. ประตูเทวาพิทักษ์  ตรงกับถนนสราญรมย์ 



 รูปจาก google street view
 
6. ประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ ตรงข้ามกับวังสราญรมย์ 

 

 รูปจาก google street view
 
7. ประตูวิจิตรบรรจง  อยู่ตรงข้ามกับวัดพระเชตุพนฯ (มีชื่อสามัญว่า ประตูฉนวนชั้นนอกออกไปวัดโพธิ์) 



 รูปจาก google street view
 
8. ประตูอนงคารักษ์  มีชื่อสามัญว่า ประตูผีชั้นนอก ถัดเข้ามาด้านในเป็น ประตูกัลยาวดี มีชื่อสามัญว่า ประตูผีชั้นใน


 รูปจาก google street view
 
9. ประตูพิทักษ์บวร  อยู่ทางด้านทิศใต้ ตรงกับถนนมหาราช มีชื่อสามัญว่า ประตูแดงท้ายสนม เพราะทาสีแดง ตั้งอยู่ริมตลาดชื่อท้ายสนม
 


 รูปจาก google street view
 
10. ประตูสุนทรทิศา  อยู่ทางด้านทิศเหนือ ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประตูด้านสกัดทางเหนือ
 


 รูปจาก google street view
 
11. ประตูเทวาภิรมย์  อยู่ทางด้านทิศตะวันตก มีชื่อสามัญว่า ประตูท่าขุนนางหน้าโรงทาน

 

 รูปจาก google street view
 
12. ประตูอุดมสุดารักษ์  อยู่ทางด้านทิศตะวันตก เป็นประตูฉนวนออกทางตรงพระที่นั่งที่ท่าราชวรดิษ 

 
และยังมีประตูเล็กคือ ประตูช่องกุด อยู่แถวท่าเตียน เป็นประตูพระบรมมหาราชวังซึ่งราษฎรสามัญใช้เข้า-ออกติดต่อกับคนภายในวัง ประตูช่องกุดเป็นประตูขนาดเล็ก เจาะทะลุกำแพงวังและไม่มีซุ้มประตู
 

ประตูช่องกุด
 

ส่วนประตูชั้นใน   มีหลายประตู บางประตูก็ถูกรื้อถอนไปแล้ว แต่ประตูที่สำคัญคือ ประตูพิมานไชยศรี อยู่ทางด้านทิศเหนือ ตั้งอยู่ตรงกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ปัจจุบันใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินและเส้นทางสัญจรหลักเข้าสู่พระราชฐานชั้นกลาง และเป็นทางเข้าสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวชม

 
ขอขอบคุณข้อมูล : www.teeteawthai.com ,www.royin.go.th,wikipedia
รูปจาก : google street view,ThaiTicketMajor

แสดงความคิดเห็น

4 ความคิดเห็น

ชยกร 20 ต.ค. 59 เวลา 13:24 น. 1

อ่านย้อนกลับก็สัมผัสกันค่ะ เช่น สุดารักษ์อุดม ภิรมย์เทวา ทิศาสุนทร บวรพิทักษ์ เป็นต้น แสดงถึงความสามารถของปราชญ์ในเรื่องอักษรศาสตร์

2
paiyarnyai 20 ต.ค. 59 เวลา 14:17 น. 1-1

โอ้โห ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ ลองไปไล่อ่านแบบกลับหลังดู คล้องจองจริงๆ ด้วยค่ะ
นับถือในความอัจฉริยะด้านภาษาไทยจริงๆ ค่ะ

0
ตามลม เวียนหรดี 20 ต.ค. 59 เวลา 14:19 น. 2

อืมดีครับ...
จริงๆแล้วถ้าใครอยากจะถวามคำนับ แบบใกล้ๆ แค่หยุดที่หน้าประตูวิมาน แล้วหันเข้าไป ตรงหน้าคือพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ที่ตั้งพระบรมศพ แล้วค่อยเดินต่อไป เพื่อไปเข้าคิวเข้าศาลาสหทัยสมาคม
เพิ่มเติม อาจมีคนสงสัยว่าหากมีพระราชพิธีสำคัญอื่น ที่จำเป็นเกี่ยวข้องกับการสืบสันตติวงศ์ จะกระทำได้ไหม หากพระบรมศพยังประดิษฐานอยู่ในพระบรมมหาราชวัง คำตอบคือได้ครับ เพราะปกติพระราชพิธีเกี่ยวข้องกับการสืบสันตติวงศ์จะเป็นคนละส่วน และคนละสถานที่กัน โดยโบราณราชประเพณีในราชวงศ์ปัจจุบัน จะประกอบที่หมู่พระมหามณเฑียรใช้ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ไพศาลทักษิณ และอมรินทรวินิฉัยมไหศูรยพิมานในการประกอบพระราชพิธี

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาไม่เหมาะสม