Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คิดยังไง? ถ้าจะ 'เลิก' ใช้ 'เกรด' ในการวัดผลคะแนนสอบ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่





จากทวิตเตอร์ เข็นเด็กขึ้นภูเขา (@minbanyen) ได้มีการกล่าวถึงบทความในหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 ม.ค. 60 ว่าด้วยหัวข้อเรื่อง "สิงคโปร์เลิกเน้น 'เกรด' หวั่นบดบังความคิดสร้างสรรค์"

ซึ่งเนื้อความได้กล่าวถึงสิงคโปรที่ซึ่งเป็นประเทศติดอันดับโลกด้านคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ แต่รัฐบาลกำลังผลักดันให้เกิดนวัตกรรมจากรากหญ้า จึงทำให้ครูตัดสินใจเลิกให้ความสำคัญกับเกรด

โดยโรงเรียนในสิงคโปร์จะหันมาใช้หลักสูตรที่ไม่วัดผลด้วยคะแนน ซึ่งการสอบเข้ามหาวิทยาลัยจะวัดจากความถนัดมากกว่าเกรด หน่วยงานราชการเองก็จะเลิกใช้ระบบกำหนดคุณสมบัติทางการศึกษา ที่เคยใช้กันมาอย่างยาวนาน

 




บทความเต็มจากหนังสือพิมพ์  กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 ม.ค. 60

___________________


ส่วนตัวเท่าที่อ่านจากเนื้อข่าวแล้ว เราเห็นว่านอกจากการตัดสินด้วยเกรดแล้ว การที่ใช้เรื่องของความถนัดในตัวนักเรียนแต่ละคนมาเป็นเกณฑ์วัดผลด้วยนั้น ค่อนข้างสะท้อนประโยคฮิตของวัยกำลังศึกษาในระบบว่า "เกรดไม่ใช่ทุกอย่าง" หรือประโยคชวนคิดที่ว่า
"เป็นปลาจะให้ไปปีนต้นไม้ก็ไม่ได้ เป็นลิงจะให้ว่ายน้ำก็ไม่ไวเท่า" 

สิ่งที่สิงคโปร์กำลังเริ่มทำนั้น อาจจะช่วยตอบข้อกังขาที่สังคมถกเถียงกันเกี่ยวกับ
การวัดผลการศึกษา รวมถึงข้อกังขาในสิ่งที่ผู้ศึกษาจะได้เรียนรู้จริงๆ จากระบบการศึกษา

ตอนนี้ จขกท เห็นว่าเป็นแนวทางที่น่าสนใจมาก และคิดว่าเราจะต้องลองติดตามผลกันยาวๆ เผื่ออนาคตจะเป็นเรื่องที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาบ้างเราบ้างค่ะ


คิดไงกัน??


 
ที่มา หนังสือพิมพ์  กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 ม.ค. 60
https://twitter.com/minbanyen/status/819134409995526144

แสดงความคิดเห็น

29 ความคิดเห็น

มั ง ก ร ข า ว 12 ม.ค. 60 เวลา 22:45 น. 1
จริงๆ ก็น่าสนอยู่ แต่ถ้าประเทศไทยจะทำตามนโยบายของสิงค์โปร์จริง อย่างน้อยก็ควรพัฒนาระบบการศึกษา กับศักยภาพของเด็กโดยรวมให้เทียบเท่าสิงค์โปร์ก่อน อีกอย่าง ประเทศเขาแค่เลิกเน้นเกรด แต่ไม่ได้เลิกใช้เกรดวัดไปเสียทั้งหมด บางคนอ่านข่าวแล้วอาจเกิดการเข้าใจผิดได้ง่ายๆ เลย

ส่วนตัวคิดว่าสิ่งแรกๆ ที่ประเทศไทยควรจัดการ คือปัญหาที่เด็กไทยจำเป็นต้องไปเรียนกวดวิชาเพื่อผ่านข้อสอบให้ได้ กับการจัดระบบให้การบ้านเด็กในโรงเรียนที่เยอะเกินไป
0
มั้ง 13 ม.ค. 60 เวลา 10:41 น. 4

เกรด สิ่งที่เราวัดได้จากเกรด คือ ความขยันตอนเรียน แต่ชีวิตจริงมันไม่ใช่ ต่างประเทศไม่ต้องการเกรดแต่ต้องการคนที่ทำงานได้และทำงานเป็น ใช้สมองให้ถูกทาง เพราะบางคนอาจเก่งเรื่องงานแต่สมองไม่สั่งการตอนเรียน ก็ได้ ก็เหมือนการวาดรูป กราฟฟิค จบกราฟฟิคแต่วาดรูปและออกแบบไม่สวยด้วยเกรด 4.00 กับ อีกคนที่เกรด 2.00 แต่ออกแบบงามหยด คิดว่า ผู้จ้างจะจ้างคนไหนล่ะ


สรุปคือ กล้าทำในสิ่งที่ใช่ จบไม่ตรงสายไม่ได้หมายความว่า ชีวิตจะจบนะ

0
hardcarryout 13 ม.ค. 60 เวลา 12:01 น. 5

ถ้าประเทสไทยทำได้ก็ดีนะครับ....แต่ต้องให้ระบบการศึกษาไทยอยู่ระดับเดียวกับสิงค์โปรก่อน

3
【 LAGRIMAS 】 13 ม.ค. 60 เวลา 14:01 น. 6

น่าสนใจอยู่ เรื่องเกรดเอาจริงๆ แต่ละโรงเรียนหลักการให้ก็ต่างกันทำให้วัดผลได้ไม่ชัดเจนพอแต่ปัญหาจริงๆ สำหรับประเทศไทยตอนนี้คือระบบ ซึ่งเป็นประเด็นหลักไม่ใช่เรื่องเกรดที่เป็ประเด็นรองลงมา  

สิงคโปร์ไปถึงจุดนั้นได้เพราะเขามีระบบที่ดีกว่าประเทศไทยพอสมควร กว่าไทยจะไปถึงจุดนั้นคงใช้เวลาพอสมควร 

0
ИЄMEŚIS 13 ม.ค. 60 เวลา 16:03 น. 7

เกรดกับความถนัดมันไปคนละเรื่องเลย...
อย่างเช่นว่าเราเก่งค้าขาย เก่งพูด เก่งปฎิบัติงี้ แต่พอถึงตอนสอบจริง สอบข้อเขียน สอบตามหลักแกรมม่า ไม่มีพลิกแพลงลูกเล่นตัวแปรเหมือนในชีวิตจริง เพราะงั้นแล้วมันคนละเรื่องจริงๆนะเออ....

0
`tutsuya` 13 ม.ค. 60 เวลา 18:54 น. 9

นึกถึงคลิปการเเข่งโดต้าครั้งเเรกเลยที่รวมทีมจากทั่วโลกมาเเข่งกันเเล้วก็มีทีมชาวสิงคโปติดตามชีวิตหลีดเดอร์ของทีม-ลูกไปตามความฝันที่บ้านไม่มีใครสนันสนุนเลยจะให้เรียนอย่างเดียวบางทีการเรียนก็ไม่ใช่ทุกอย่างในชีวิตนะ

1
นางฟ้า.천사 13 ม.ค. 60 เวลา 19:10 น. 10

เหตุผลหนึ่งที่สิงคโปร์จะเลิกใช้เกรดเพราะเด็กเขาแข่งขันกันสูง เครียดและฆ่าตัวตายบ่อยนะคะ

เด็กไทยไม่รอดแน่ๆ ค่ะถ้าไม่มีระบบเกรด ระบบการศึกษาเราไม่ได้ดีขนาดนั้น แต่สอบเยอะมากๆ ก็ไม่ได้ช่วยอะไรเด็กเลย

เน้นกิจกรรมและความถนัดของเด็กมันจะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของตัวเอง และนำไปต่อยอดได้หลายๆ อย่าง ซึ่งไทยเราเองก็กำลังพัฒนาค่ะ แต่มาเริ่มพัฒนาช้ากว่าประเทศอื่น ก็ต้องค่อยๆ ไปกันแหละเนอะ

0
โอ้โฮ 13 ม.ค. 60 เวลา 20:36 น. 11

จริงๆการศึเด็กษาไทยควรเป็นแบบนั้นนะ เพราะตอนนี้การศึกษาไทยเน้นเกรดเกินไป แบบที่ว่าเด็กเรียนเอาเกรดอย่างเดียว แต่ผลรับกลับไม่มีเลย ความรู้ความสามารถเด็กก็ไม่มี เพราะความจริงเด็กมีความสามารถที่แตกต่างกันไปอยู่

1
The`Secret 13 ม.ค. 60 เวลา 20:40 น. 12

เอาจริงๆระบบเกรดมันถือเป็นสิ่งเดียวเลยนะที่ทำให้เด็กทุกๆคนยังไปเรียนที่โรงเรียนอยู่ เพราะเนื้อหาการเรียนต่างๆก็ได้จากการกวดวิชาอยู่แล้ว  ทั้งครบและถูกต้องมากกว่าที่สอนๆกันในห้องเรียนเสียอีก
สรุปก็คือไม่ว่าจะใช้ระบบเกรดหรือไม่ก็ตาม  เด็กไทยก็แทบจะไม่สนใจเนื้อหาการเรียนในห้องเรียนอยู่ดี  ดังนั้นสิ่งที่ควรแก้ไขก่อนเลยคือระบบการเรียนการสอนในห้องเรียนต่างหาก อย่างน้อยถ้าการเรียนในห้องเรียนนั้นสามารถทำให้เด็กมั่นใจมากขึ้นว่าเรียนแล้วสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับการสอบวัดผลต่างๆได้  ก็น่าจะถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีของการศึกษาไทยนะครับ

0
มันไม่ดี 13 ม.ค. 60 เวลา 20:59 น. 13

จริงคะ ควรเลิกเอาเกรดมาตัดสินอนาคตมหาลัยอาชีพที่จะทำเสียที ทุกวันนี้เพื่อนในห้องเรายังลอกกันอยู่เลย
ได้เกรดดีๆกันทุกคนซึ่ง มหาลัยไม่มีทางรู้เลยคะว่าเกรดที่ได้มานั้น สุจริตจริงหรือป่าว? แล้วอีกอย่าง
อยากให้วัดกันที่ความรู้จิงๆเสียมากกว่าเกรดในมัธยมคะ ซึ่งบางโรงเเรียนมันกดเกรด อยากให้เกรดเอาไว้แค่บ่งบอก
ว่าเราเรียนอ่อนขนาดนี้ต้องแก้ไขตรงไหนดีกว่าเอาเกรดมาเป็นเส้นชี้ทางในอนาคตคะ

0
มาลิ 13 ม.ค. 60 เวลา 21:04 น. 14

รู้สึกว่าสิงคโปร์ จะเริ่มไปไกลด้านการเรียนแล้ว ตั้งแต่ก่อนเรียนเข้าก็ให้ศึกษาด้านที่เด็กถนัดก่อน เพื่อที่จะให้เด็กมีศักยภาพด้านนั้นจะได้ไปทำงานทางด้านที่ถนัดได้
ไม่เหมือนไทย อยากให้เด็กเก่ง วิทย์ คณิต อังกฤษ เหมือนกำหนดจุดมุ่งหมายให้นักเรียน

ปล.ข้อโทษที่ไม่ถูกหูใคร หรือ ข้อมูลผิดก็ขออภัยนะคะรักเลย

0
อุอุ 13 ม.ค. 60 เวลา 21:07 น. 15

ถ้าไทยไม่เน้นเกรดแล้วคิดว่าเด็กบางส่วนจะสนใจเรียนมั้ย? เพราะขนาดกำหนดเกรด เด็กบางคนก็ไม่สนใจเรียนแล้วอ่ะ อย่าลืมว่านี่คือไทย ไม่ใช่สิงคโปร์ วัฒนธรรมความคิดของเรายังไม่ถึงระดับนั้นเลยด้วยนะ 555555555555555 #กะลา~~~~~~~~~~~~

0
มู มิน .♛ 13 ม.ค. 60 เวลา 21:45 น. 16

จริงๆ คุณครูก็ให้การบ้านเยอะไปจริงๆ แหละ 

และก็มาบ่นว่าเกรดน้อยอย่างนั้นอย่างนี้ และตัดภาพมาดู

สั่งการบ้านแต่ละทีนี่กะจะให้กุนอนตี5เลยเหรอคะ 

บางวันก็ทำถึงเที่ยงคืนน่ะ ...คิดดูก็แล้วกัน แล้วจะเอาเวลาไหนไปทบทวนคะ 

0
Student care 13 ม.ค. 60 เวลา 22:26 น. 17

ถ้าว่าเป็นการปฏิวัติทางการศึกษาที่สำคัญเลยนะเนี่ย
แต่อยากให้ประเทศเราพัฒนาให้ทุกโรงเรียนมีศักยภาพ
ที่เท่าเทียมกัน ซึ่งมันไม่แปลกหรอกที่จะมีโรงเรียนกวดวิชาเกิดขึ้น เนื่องจากแต่ละโรงเรียนมีศักยภาพไม่เท่าเทียมกัน
เด็กบางคนเลยจำเป็นต้องเรียนพิเศษเพิ่มเติมเพื่อให้ทันเพื่อนจากโรงเรียนอื่นที่เค้ามีศักยภาพมากกว่าแล้วอีกอย่างคือข้อสอบที่ใช้วัดในการสอบเข้ามหาลัย บ่อยครั้งไม่มีในหลักสูตรที่เรียนในโรงเรียน เด็กหลายคนเลยจำเป็นต้องหาความรู้เพิ่มเติมโดยการเรียนพิเศษ เพราะประเทศเราน้อยคนที่จะศึกษาด้วยตนเองโดยไม่มีคนคอยสอนหรือป้อนความรู้ให้. จึงไม่ต้องแปลกใจที่ว่าเด็กบางส่วนวิเคราะห์ไม่ค่อยเป็น เพราะเด็กรู้สึกว่าต้องรอรับความรู้จากครู
จึงเกิดปัญหาเด็กเรียนมากเกินไปไม่มีเวลาให้ครอบครัว
หรือใช้ชีวิตในวัยเด็กไม่คุ้ม ยกตัวอย่างเช่น เด็กอนุบาลสมัยนี้บางคนก็เริ่มเรียนพิเศษแล้ว แทนที่เด็กจะเอาเวลาตรงนั้นไปวิ่งเล่น ทำกิจกรรมแบบที่เด็กควรจะทำ กลับต้องไปนั่งเรียนหนังสือ แทบไม่มีเวลาพักผ่อนเป็นของตัวเอง เพราะการแข่งขันภายในสังคมสูง และถูกปลูกฝังค่านิยมด้านการศึกษามาแบบนี้ คุณไม่ต้องแปลกใจหรอกที่การศึกษาเราไม่เท่าเทียมกัน เพราะมีการจัดอันดับโรงเรียนเกิดขึ้นอย่างของมัธยมศึกษาตอนปลายก็จัดโดยดูคะแนนโอเน็ต และดูจำนวนนักเรียนที่สอบติดคณะแพทยศาสตร์ เป็นต้น โรงเรียนไหนติดแพทย์เยอะก็อยู่อันดับต้นๆ แค่ความสำคัญในด้านความสามารถทางวิชาชีพยังไม่เท่าเทียมกัน หลายๆคนเลยให้ความสำคัญอาชีพนี้กันมากกว่าอาชีพอื่นๆ โดยมองว่าคนที่ได้อาชีพนี้ต้องอดทนและเก่งมากพอสมควร อันนี้ยอมรับ แต่ในความเป็นจริงโลกเราไม่ได้ต้องการอาชีพนี้เพียงอาชีพเดียว แต่พวกคุณให้ความสำคัญด้วยการเอามาชี้วัดผลทางการศึกษา ทำให้เด็กๆถูกปลูกฝังค่านิยมว่าต้องเรียนแพทย์ เพราะคนที่ติดแพทย์คือคนเก่ง คือบุคคลที่น่ายกย่องที่สุด เลยเกิดเป็นกระแสสายสุขภาพเบ่งบานขึ้นมา การให้ความสำคัญในด้านของอาชีพเลยไม่เท่าเทียมกันเกิดปัญหาการซิ่วเพราะตัวเองไม่ติด แต่อยากเรียนแพทย์เลยต้องซิ่วมาสอบใหม่ ซึ่งการจัดอันดับก็มีข้อดีคือโรงเรียนจะได้รู้ศักยภาพของตนเองเมื่อเทียบกับโรงเรียนอื่น และพัฒนาให้ดีขึ้น แต่ว่าปัญหาที่สำคัญต่อมาคือการทำงานประเทศจะไม่พัฒนาเลยหากมีระบบอุปถัมภ์อยู่ คนเก่งแพ้คนเส้นนั่นเอง
ทำให้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า มีศักยภาพหลายคนไม่ได้เข้าทำงานด้านนั้นๆซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างมาก ที่บุคคลเหล่านั้นไม่มีโอกาสได้แสดงศักยภาพในการทำงาน
#นี่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนบุคคลเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนา
ทำร้ายใคร หรือพาดพิงถึงบุคคลและสถาบันใดๆ
หากทำให้ท่านไม่พอใจต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

0
Student care 13 ม.ค. 60 เวลา 22:33 น. 18

อ่อ อยากบอกว่าบางทีก็เรียนเยอะเกินความจำเป็นใช้ในชีวิตจริงไม่ได้ การสั่งภาระงานและการบ้านที่มากเกินไปก็ไม่ดีด้วยเช่นกัน เด็กหลายคนไม่ได้พักผ่อนหรือมีเวลาอ่านหนังสือมากเท่าที่ควร และเป็นปัญหาที่ว่า"ทำไมอ่านหนังสือไม่ทัน" ก็เพราะงานเยอะไงล่ะ การบ้านเยอะ ส่วนคนที่อ่านทันคือวางแผนอ่านมาหลายปีตั้งแต่เด็กและต้องบ้าอ่านเกือบทั้งวันทั้งคืน บางคนก็บ้าเรียนพิเศษ เวลาพักผ่อนจริงๆเลยน้อยกว่า 6 ชม./คืน ส่งผลเสียต่อสุขภาพอีกต่างหาก
#ขออภัยด้วย หากทำให้ไม่พอใจ

0
poptrendy 14 ม.ค. 60 เวลา 11:02 น. 20

ส่วนตัวคิดว่าเราน่าจะแก้ปัญหาการเรียนที่ไม่เป็นประโยชน์ก่อนนะ แบบบางอย่างเรียนไปทำไมก็ไม่รู้ พอถามครู ครูก็บอกได้แค่ว่า

 "เรียนเพื่อสอบ(อย่างเดียว)"
0