Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ทำไงให้ภาษาในการแต่งนิยายลละสลวยครับ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ตามหัวข้อเลยครับ ไม่ทราบว่า ต้องทำยังไง ถึงจะแต่งนิยายบทหนึ่งออกมา ให้ภาษานั้นสวยงาม โดยที่ไม่เวินเว่อ และเปลืองบรรทัด โดยที่ยังอ่านรู้เรื่อง พอดีผมเป็นคนที่ แต่งออกมาแล้วรู้สึกว่า นิยายตัวเองคำมันไม่ค่อยน่าดึงดูดคนอ่าน แถมมักจะใช้แต่คำเดิม ๆ 


ขอบคุณฮับ..!!:x

แสดงความคิดเห็น

24 ความคิดเห็น

FUFSS 17 ธ.ค. 60 เวลา 01:08 น. 1-1

มากกว่าแซะคนอื่นไปทั่ว คือการตอบคำถามให้เป็นประโยชน์นะ

0
ELVHA 17 ธ.ค. 60 เวลา 01:25 น. 2

เอาแบบง่าย ๆ ก็คงบอกสั้น ๆ แค่ว่า


1. ไปอ่านหนังสือให้มากมายหลากหลาย แต่ให้เว้นพวกที่ใช้ภาษาวัยรุ่น


2. ไปศึกษาภาษาไทยเพิ่มเติม โดยเฉพาะพวกคำศัพท์




อันที่จริงหาคนดูงานเขียนเป็นจริง ๆ จัง ๆ ให้ช่วยดูเรื่องของเราให้ด้วยก็จะดีครับ



0
SilverPlus 17 ธ.ค. 60 เวลา 01:31 น. 3

ผมก็จะมาตอบว่า "อ่านเยอะ ๆ" อยู่ดีครับ


อ่าน นิยายที่ชื่อดัง

อ่าน นิยายที่เราชอบสำนวน

อ่าน บทความที่เราเห็นว่าคนเขียน เขียนได้น่าอ่าน


ไม่ใช่แค่อ่านให้อักษรผ่านตา แต่ต้องวิเคราะห์ด้วย ว่าเขาเขียนยังไง เล่าแบบไหน เล่าอดีตยังไง เหตุการณ์ดำเนินไปเร็วหรือช้า เขียนด้วยคำง่าย ๆ หรือเล่นคำสวย ๆ และการเขียนอีกมากมายที่ต้องสำรวจดู --- หาสาเหตุว่าทำไมมันจึงอ่านได้ลื่นขนาดนี้ เมื่อได้ผลวิเคราะห์แล้วก็ทำตาม ทำตามตอนแรกไม่เหมือน ก็ทำตามต่อไป ตราบใดที่เขียนแล้วคนยังอ่านรู้เรื่อง ไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใดครับ


ปรับวิธีการเขียนเล่าเรื่องให้ใช้ได้ก่อน ส่วนเรื่องสำนวนให้เป็นเรื่องของอนาคต


คำสลวยไม่ต้องเป็นห่วง มันจะมาเองตามประสบการณ์


และสิ่งที่ดึงดูดคนอ่านดีที่สุด คือพล็อตเรื่อง ส่วนเรื่องการเขียนเป็นแค่เรื่องรองเท่านั้น


นอกจากนิยายรัก ที่ต้องอาศัยทักษะการเขียนมากหน่อย เพราะพล็อตมีความคล้ายคลึงกันมาก คนเขียนจะต้องดึงอารมณ์คนอ่านโดยทักษะการเขียนที่ยอดเยี่ยม


มีเรื่องให้พูดอีกเยอะ เกี่ยวกับการพัฒนาการเขียน แต่ขอแค่นี้แหละ ขี้เกียจ


ส่วนตัวผม ศึกษาการเขียนจากแฮร์รี่พ็อตเตอร์ครับ เขาเล่าเรื่องยังไง พยายามเล่าเรื่องให้ได้เหมือนเขา

1
Yuzuru409 6 ม.ค. 63 เวลา 03:26 น. 3-1

ประสบการณ์อะไร? เขียนมา4ปียังเขียนคำสวยๆไม่เป็นสักคำ

0
พิมพ์เพลิดเพลิน 17 ธ.ค. 60 เวลา 01:37 น. 4

ตัวเราก็เป็นคนหนึ่งที่รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหาเรื่องภาษาเวิ่นเว้อ (สังเกตที่เราจะพิมพ์นะ มีความเวิ่นเว้ออยู่อย่างเห็นได้ชัด555) ย้อนกลับไปอ่านช่วงแรก ๆ ของนิยายตัวเองนี่ถึงขั้นกุมขมับ555 ปัจจุบัน(น่าจะ)ดีขึ้นแล้ว และอันนี้เป็นวิธีของเราค่ะ แยกจัดการทีละจุดเลยนะคะ


1.คำเวิ่นเว้อ และเปลืองบรรทัด

เขียนไปเลยค่ะ อะไรก็ได้ที่นึกออก อยากบรรยายอะไรบรรยายไปเลย พอเขียนจบตอนแล้ว (เน้น ต้องจบตอนนะคะ) ค่อยย้อนกลับมาอ่านแล้วตัดคำที่เวิ่นเว้อออกค่ะ แล้วคำไหนล่ะคือคำที่เวิ่นเว้อ? สังเกตง่าย ๆ เลยค่ะ คำไหนที่ไม่จำเป็นต้องมีแล้วยังอ่านรู้เรื่อง สื่อความหมายได้ครบ ก็คำนั้นแหละค่ะ ที่ต้องจบตอนก่อนก็เพราะ ถ้าไรต์เขียนไปได้ย่อหน้านึงแล้วย้อนไปอ่านทวนที เห็นทีจะไม่จบตอนแน่ค่ะ555 แก้มันอยู่นั่นแหละ เราเป็นมาแล้ว


2.นิยายคำไม่น่าดึงดูด ใช้แต่คำเดิม ๆ

เราคิดว่า ใช้วิธีเดียวกับวิธีแรกได้ค่ะ เขียนไปก่อน แล้วมาอ่านทวนทีหลัง สำหรับตัวเรา จำกัดไว้ที่ว่า ในหนึ่งย่อหน้าห้ามใช้คำซ้ำ แต่อย่างคำสรรพนามก็พอหยวนกันได้ ถ้าย่อหน้านั้นยาวมาก หากไรต์เขียนด้วยPOV3 ก็เปลี่ยนสรรพนามแทนตัวละครได้เรื่อย ๆ ยกตัวอย่างกรณีพระเอก ชื่อตัวละคร เขา ร่างสูง ชายหนุ่ม อาชีพ(หนุ่ม) เช่น อาจารย์หนุ่ม วิศวะหนุ่ม ปีศาจหนุ่ม บลา ๆ ได้เยอะแยะ ใช้สลับกันในหนึ่งย่อหน้า

พวกคำเชื่อมก็เยอะแยะค่ะ หาคำกลุ่มเดียวกันใช้แทนกันไป เช่น (ถ้า,หาก) (ถึง,แม้) (แต่,ทว่า) (ยกตัวอย่าง สมมติ) (ราวกับ,เหมือนกับ,คล้ายกับ) (และ,กับ) (ที่,ซึ่ง) โอ้ย เยอะแยะค่ะ ที่สำคัญอย่าใช้คู่กันเป็นพอค่ะ มันเปลือง มันเวิ่นเว้อ

ยกตัวอย่างประโยคนี้

'ถ้าหากว่าเธอไม่ไปกับเขาล่ะก็ เขาก็คิดจะบังคับพาไป ถึงแม้ว่าการทำอย่างนั้นจะทำให้เธอจะเกลียดเขาก็ตาม แต่ทว่าเขาก็ไม่อาจปล่อยให้เธอไปกับเจ้าคนไม่น่าไว้ใจนั่นได้'

เป็นไงคะ โคตรคำซ้ำ เวิ่นเว้อมากอ่ะ 555

งั้นลองเปลี่ยนเป็น

'หากหญิงสาวไม่ไปกับเขาก็ไม่เป็นไร ถึงอย่างไรชายหนุ่มก็คิดจะบังคับเธออยู่ดี แม้การทำเช่นนั้นอาจทำให้ถูกเกลียด แต่เขาก็ไม่สามารถปล่อยเธอไปกับคนไม่น่าไว้ใจนั่นได้' (อื้ม...ก็ยังมีสรรพนามใช้ซ้ำนะคะ แต่ก็สวยขึ้นล่ะ) ประมาณนี้ค่ะ

ส่วนเรื่องคำทั่วไป อย่างเช่นไรต์จะบรรยายถึงเหล้า แล้วย่อหน้านั้นมีการกล่าวถึงเหล้าหลายครั้ง อย่างที่บอกรอบแรกก็เขียนไป ตอนมาอ่านทวนก็พยายามหาคำที่ความหมายเดียวกันให้ได้มากที่สุด เช่น เหล้า สุรา น้ำเมา ของเหลวผสมแอลกอฮอล์ ก็ว่าไป แต่ทางที่ดีอย่าไปกล่าวถึงบ่อย เพราะบางคำก็ไม่ได้หลากหลายแบบนี้ ต้องใช้ร่วมกับข้อแรก ตัดได้ก็ตัดค่ะ

แล้วทำไงถึงจะหาคำมาบรรยายได้เยอะ ๆ อันนี้คงแนะนำอะไรไม่ได้นอกจากไรต์ต้องอ่านเยอะ ๆ ค่ะ เพื่ออะไร? เพื่อเก็บคำศัพท์ใหม่เข้าคลังสมองค่ะ


สุดท้ายเกือบลืมไปค่ะ เรื่องความสวยงามของภาษา อันนี้เรามองว่า ไม่ต้องไปซีเรียสมากค่ะ เราตรวจทานคำผิด จัดย่อหน้าให้สวยงาม ตัดคำซ้ำ ความเวิ่นเว้อออก แค่นี้ก็น่าอ่านแล้วค่ะ


สู้ ๆ นะคะ

5
เฉย ๆ .. 17 ธ.ค. 60 เวลา 05:27 น. 4-1

เหรอ?? ถ้างั้นควรแก้ไขประโยคเหล่านี้อย่างไรดีครับ??


สุดสายนัยนาที่แมจะตามไปเล็งแล

สุดโสตแล้วที่แม่จะซับทราบฟํงสำเนียง

สุดสุรเสียงที่แม่จะร่ำเรียกพิไรร้อง

สุดฝีเท้าที่แม่จะเยื้องย่องยกย่างลงเหยียบดิน

เป็นสุดสิ้นสุดปัญญาสุดหาสุดค้นเห็นสุดคิด


คนจะงาม งามที่ใจ ใช่ใบหน้า

คนจะสวย สวยจรรยา ใช่ตาหวาน

คนจะแก่ แก่ความรู้ ใช่อยู่นาน

คนจะรวย รวยศิลทาน ใช่บ้านโต


คนจะงามงามที่ใจใช่ใบหน้า

งามวาจางามความคิดงามนิสัย

งามมรยาทงามกิริยางามน้ำใจ

เช่นนี้ไซร้จึงจะเป็นคนเต็มคน..


55555555..อย่าซีเรียสครับหยอกเย้ากันเล่นเฉย ๆ ..

0
อัจฉราโสภิต 17 ธ.ค. 60 เวลา 06:15 น. 4-2

ถามเอาเล่น หรืออยากได้คำตอบจริงๆครับ เพราะมันตอบจริงๆได้นะว่ามันคือบทกวีบทร้อยกรอง เจตนาใช้คำซ้ำ และจัดเรียงคำซ้ำลงในตำแหน่งที่เหมาะสม จึงอ่านแล้วไม่รู้สึกติดขัด กลับกันยิ่งเน้นคำซ้ำและใจความให้เด่นขึ้น

0
เฉยเฉย.. 17 ธ.ค. 60 เวลา 08:00 น. 4-3

55555555..หลอกเย้าจริง ๆ อิงด้วยความปรารถนาให้ทราบว่า คำซ้ำ ๆ ไม่ใช้เป็นเพียงคำซ้ำซาก

ที่ไร้ประโยชน์หากรู้วิธีใช้เฉย ๆ ครับ..


0
พิมพ์เพลิดเพลิน 17 ธ.ค. 60 เวลา 11:08 น. 4-4

แบบนี้มันเป็นการเจตนาใช้คำซ้ำอย่างที่คุณอัจฉราฯบอกค่ะ ที่เราแนะนำให้เจ้าของกระทู้ตัดคำซ้ำออก เพราะคิดว่า กรณีของเขาที่มีปัญหาเรื่องคำเวิ่นเว้อ ควรแก้ไขด้วยวิธีนี้ค่ะ น่าจะช่วยได้ในระดับนึง

แต่ถ้าเจ้าของกระทู้จะมีการแทรกบทกวีร้อยกรองเข้าไปในนิยาย ก็ใข้คำซ้ำแบบที่คุณว่ามาได้เลยค่ะ แต่คงต้องอาศัยฝีมือหน่อย มันยากกว่าจะทำยังไงให้คำไม่ซ้ำกันซะอีก

0
เฉยเฉย.. 17 ธ.ค. 60 เวลา 18:52 น. 4-5

ทุกความคิดเห็นที่เสนอมาเพราะอยากช่วยจขกท แก้ปัญหา ผมเข้าใจทั้งรู้สึกชื่นชมครับ และ

ด้ยเหตุนี้ประจวบกับมาสดุดประโยคที่ว่า คำไหนที่ไม่จำเป็นต้องมีแล้วยังอ่านรู้เรื่อง สื่อความ

หมายได้ครบคำนั้นคือคำเวิ่นเว้อตัดออกได้ ทว่าตัวผมกลับคิดว่ามีหลายๆสิ่งเช่น บรรยากาศ

สภาพแวดล้อม สถาปัตยกรรม อาหารและเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น สิ่งเหล่านี้แม้จะไม่มีส่วนเกี่ยว

ข้องกับการกระทำ ที่ตัวละครกระทำต่อกันโดยตรง แต่หากแต่งแต้มได้อย่างลงตัวเหมาะสม

ก็น่าจะช่วยเพิ่มพูนสีสัน และอรรถรสแก่นวนิยายได้บ้างไม่มากก็น้อย.


จึงคอมเม้นท์มาบอกถึงความคิดที่แตกต่าง ด้วยข้อความหยอกเย้าโดยไร้การยั้งคิด เพราะ

นวนิยายในความรู้สึกผม ควรมีสิ่งอื่นๆ สอดประสานเฉกเช่นชีวิตคนตามยุคสมัย และแวดวง

ที่ผู้เขียนเป็นคนำหนดเป็นปัจจัยประกอบนวนิยาย ก็ควรเสริมแต่งมันให้สมบูรณ์สมจริงด้วย

ไม่ใช่เน้นเพียงบทบาทที่ตัวละครกระทำต่อตัวละครด้วยกันเองเท่านั้น และขอยืนยันว่าสิ่งที่

สื่อมาคือสิ่งที่ใจคิด ไม่มีเจตนาร้ายใดๆ ทั้งสิ้น ทว่าเมื่อทำให้ผู้รับอารมณ์เสีย ผมก็ขฮโทษ

ครับขอโทษด้วยใจจริง..


0
libbyScorpion 17 ธ.ค. 60 เวลา 01:39 น. 5

อ่านเยอะๆค่ะ.....เอ๊ะ? เหมือนจะมีคนเล่นมุกนี้ไปแล้วสินะ 55555

.

การอ่านให้มากช่วยได้...จริงแค่50% นะเราว่า

การเลือกอ่านของดีต่างหากที่จะทำให้คลังคำและทักษะรูปประโยคเราเพิ่มมากขึ้น

ถ้าเลือกอ่านในเด็กดีก็ได้เหมือนกัน แต่เพราะอายุคนในนี้ใกล้เคียงกัน

นักเขียนส่วนใหญ่ที่นี่คลังคำก็มีปริมาณพอๆกับเรา บางทีก็เจอคำผิดเยอะไปอี๊ก~~

เพราะการกรองคำผิดนิยายเว็บมันไม่เป๊ะเท่ากับงานของสนพ.

.

ที่แน่นอนคือหางานของนักเขียนชั้นครูหลายๆท่าน ย้ำว่ารุ่นเก่าๆเก๋าๆเลยค่ะ

จะพบกับคำขยายความที่ปังมากเต็มเพียบ ประโยคสวยๆคมๆแทบไม่เว้นหน้า 

และทั้งที่ประโยคสวยเบอร์นั้นแต่ว่าใจความกระชับ ตรงเป้า เข้าใจง่ายอีกต่างหาก

...อืม...แต่เราเข้าใจนะว่างานเก่าอาจไม่ถูกจริตเด็กรุ่นเราๆ

คืออย่างบางคนเขียนวาย เขียนไซไฟ เขียนออนไลน์ เขียนต่างโลก

มักจะคิดว่าไปอ่านงานเก่าแบบนั้นมันไม่ตรงสาย น่าเบื่อ

.

บางคนไม่อ่านเพราะเปิดปุ๊บแล้วเจอศัพท์ที่เราไม่รู้จักก็เสียอารมณ์อ่าน

ถ้าใครมีอาการเป็นอย่างนั้นแสดงว่าคลังคำมีปัญหาละ แบบนั้นยิ่งต้องอัดศัพท์เข้าหัว

.

เราใช้วิธีเปลี่ยนงานอดิเรกในแต่ละวันเป็นการอ่านงานเก่าและเปิดพจนานุกรมค่ะ

สะสมคำไปเรื่อยๆ จนสามารถใช้คำที่น่าสนใจประเภท เอกอุ สรตะ จังก้า เข้ามาในงานเราได้

จนคนอ่านบ่นว่า "ใช้ศัพท์ยากจัง ไม่รู้จักเลย" นั่นละแปลว่าสกิลนักเขียนเราเลเวลอัพแล้ว 555

ถ้าโดนบ่นแบบนั้นอย่าตกใจ อย่าหยุดสะสมคำ อย่าหยุดใช้ศัพท์สวยๆ อย่าล่ก

นักเขียนมีหน้าที่เพิ่มคลังคำให้กับคนอ่านเพื่อให้พัฒนาไปด้วยกันค่ะ

0
K.W.E. 17 ธ.ค. 60 เวลา 02:07 น. 6

อืม... ผมว่าคำถามนี้มันเป็น 2 ประเด็นน่ะนะครับ


ประเด็นแรก เรื่องภาษาสวย อันนี้ยังไงก็ต้องเน้นอ่านเข้าว่าก่อนเลย โดยเฉพาะเรื่องที่กระแสผู้อ่าน นักวิจารณ์ให้การยอมรับ ก็เอามาเป็นหลักก่อนว่า เขาแต่งในลักษณะไหน เรื่องใช้คำแบบใด มีการเขียนโวหารแบบไหน


ซึ่งความสวยก็ไม่ได้มีแค่การเลือกใช้คำบรรยายเท่านั้น แต่บางทีมันก็อาจรวมถึงบทพูดของตัวละครด้วยครับ ที่คำพูดต้องลงตัวกับนิสัย ยุคสมัย มีจังหวะจะโคน ไม่ใช่นึกได้ก็ร่ายยาวแบบผู้อ่านไม่ได้มีจังหวะเบรคสายตาเลย




ประเด็นสอง เรื่องความ เวิ่นเว้อ เปลืองบรรทัด อ่านไม่รู้เรื่อง ... อันนี้ผมว่าเป็นเบสิคที่ควรทำให้ได้ก่อนนะ แล้วค่อยไปมองเรื่องประเด็นภาษาสวย ส่วนนี้แนะนำว่าให้เขียนเยอะๆ และอ่าน (ของตัวเอง) เยอะๆ ครับ


ก็อารมณ์เดียวที่ว่าคนเขียนต้องสนุกก่อน ผู้อ่านถึงจะสนุกตามได้ ถ้าคนเขียนเขียนแล้วยังรู้สึกว่าไม่สนุก ก็เป็นไปได้สูงที่ผู้อ่านจะไม่สนุกตาม


เช่นกันครับว่า ผู้เขียนคนเป็นคนแรกเลยที่อ่านเรื่องนี้ก่อน และต้องอ่านรู้เรื่องด้วย จากนั้นจึงค่อยโพส

ส่วนนี้ผมไม่แนะนำให้อิงนิยายคนอื่นเสียทั้งหมดนะ เพราะไม่งั้นคุณจะสร้างสไตล์การเขียนตัวเองไม่ได้ และเขียนไปจะแกว่งไป หาจังหวะตัวเองไม่ได้


ก็อย่างที่ว่าครับ มันคือพื้นฐาน เพราะงั้นแล้วเอาง่ายๆ เลยว่า เราอ่านแล้วรู้เรื่องไหม?

ถ้าอ่านรู้เรื่องก็ผ่านโจทย์แรกไปล่ะ


จากนั้นก็ค่อยมามองโจทย์ต่อไปว่า ถ้ารู้เรื่องแล้ว มันอืดไปไหม หรือหลวมไปไหม ขาดอะไรไปหรือเปล่า

ถ้าอืดไปก็ลบส่วนที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องออกไป แต่ถ้าหลวมไปก็ต้องเพิ่มบทอธิบายเข้ามา


บรรทัดเยอะไม่ใช่ปัญหาครับ ถ้าความยาวนั้นคือเนื้อหา ความสนุก หรือปมประเด็นของเรื่อง

และถ้ารู้สึกว่ายาวเกินก็ไปเช่นเคยว่าลองกลับไปอ่านดูแล้วพิจารณาว่าท่อนนั้นจำเป็นไหม? ผู้อ่านต้องรู้ไหม? ถ้าไม่ก็ตัดออก



ปกติแล้วแต่ละคนจะมีสูตรของตัวเองอยู่ล่ะนะครับ

เอาว่าผมแนะนำให้ลองอ่านแล้วแก้ในมุมมองตัวเองดูก่อนครับ และจะให้ดีค่ือ เว้นช่วงหลังแต่งเสร็จไปสักระยะก่อนนะครับ เพื่อให้สมองได้ผ่อนคลาย ได้ปล่อยวาง ได้คลายอารมณ์ตอนแต่งไป


จากนั้นก็กลับมาอ่านตั้งแต่ต้นจนจบอีกรอบครับ

ถึงจุดนั้นก็เชื่อว่า เราจะเห็นจุดที่ทำให้เรื่องสะดุดแน่ๆ ไม่มากก็น้อย

0
กุยแกตามหาโจโฉ V2 17 ธ.ค. 60 เวลา 02:40 น. 7

แนะนำให้ "อ่านเยอะๆ" ค่ะ ไม่ต้องเชื่อเราก็ได้นะคะ 555+


แต่เลือกนิยายที่อ่านหน่อยนึง ถ้าอยากได้ภาษาสวยงาม หานิยายเก่าสักนิดค่ะ


อีกอย่างที่อยากแนะนำคือ ลองฟังเพลงของสุนทราภรณ์ ภาษาสวยมากค่ะ ^ ^

0
TheWorldGod 17 ธ.ค. 60 เวลา 02:56 น. 8

*อ่านเยอะๆนะครับ* สู้ๆ ลองเขียนให้เสร็จดูสักตอนนึงก่อนครับ เเละลองไล่กลับมาอ่านของตัวเองอีกรอบนึง ถ้าเห็นตรงประโยคอันไหนมันดูเเปลกๆ อ่านไม่คล่อง ก็ลองเปลี่ยนใช้คำดูครับ ฝึกเรื่อยๆ เดี้ยวก็เมพเเน่นอน

0
Seesor [COS] 17 ธ.ค. 60 เวลา 04:17 น. 9

เรื่องอ่าน เราเห็นต่างกับบางท่านนิดหน่อย เรามองว่าจะอ่านอะไรก็อ่านไปเถอะค่ะ ปลูกฝังความเป็นนักอ่านให้ตัวเอง เมื่ออ่านมาก ๆ เข้า คุณจะสามารถแยกได้เองว่าสำหรับคุณแล้ว สำนวนภาษาแบบไหนดี แบบไหนเข้าตา แบบไหนที่คุณคิดว่าสละสลวย 


เมื่อคุณกลั่นกรองได้ระดับหนึ่ง คุณก็จะเริ่มรู้ว่าคุณควรเลือกเขียนอย่างไร และอะไรที่คุณจะไม่ใส่ลงไปในงานเขียน


เรื่องภาษาสวย/สละสลวย/ลื่นไหล เราว่าคำนี้ค่อนข้างกว้างนะคะ หลายคนมองว่าสละสลวยสำหรับเขาคือมีศัพท์ชั้นสูง แต่หลายคนมองว่าแค่อ่านง่าย เข้าใจง่ายก็เพียงพอแล้ว อันนี้ก็ต้องพิจารณาอีกที


นอกจากอ่านแล้ว สิ่งที่ควรต้องฝึกควบคู่ไปด้วยคือการเขียน จากที่สังเกต บางคนอ่านมาก รู้คำ รู้สิ่งต่าง ๆ มากก็จริง แต่แทบไม่ได้พัฒนาทักษะการเขียนเลยก็มี


ดังนั้นการฝึกฝนก็คงเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ


การเขียนเวิ่นเว้อ ถ้าอธิบายแบบวิชาการก็อยากให้ลองศึกษาเรื่องคำฟุ่มเฟือยดูค่ะ มันจะมีบางคำที่ไม่จำเป็นต้องใส่ลงไปในงานเขียน แต่ก็ยังทำให้เนื้อความสื่อความหมายได้


ฝึกทักษะการอ่านจับใจความเราว่าก็มีส่วน รู้ว่าเนื้อความนี้สื่อถึงอะไร มีประเด็นสำคัญอะไร ถ้าจับใจความสำคัญได้ ก็น่าจะพัฒนาไปยังงานเขียนที่มีความเวิ่นเว้อน้อยลงได้


แต่ทั้งนี้ เวิ่นเว้อบ้างเราว่าก็มีสีสันดีออกค่ะ เนื้อความพุ่งเข้าเป้าทุกประเด็นมันก็จะดูไม่ค่อยมีรสชาติหน่อย ๆ นะ


ส่วนเรื่องการหลากคำ/ทำให้ภาษาไม่น่าเบื่อ นอกจากจะมีเรื่องของการอ่านสะสมคำศัพท์แล้ว เราว่าพวกโวหารและภาพพจน์ต่าง ๆ ก็ทำให้งานเขียนไม่น่าเบื่อ เช่น อุปมา สัญลักษณ์ บุคลาธิษฐาน อติพจน์ ฯลฯ

0
อัจฉราโสภิต 17 ธ.ค. 60 เวลา 06:12 น. 10

ส่วนตัวผม คิดว่าก่อนอื่นคุณต้องตั้งความหมายของคำว่า “สละสลวย” ที่คุณอยากได้ก่อนครับ เพราะคำนี้สำหรับแต่ละคนต่างกัน บางทีต่างกันสุดขั้ว เช่นถ้าคุณใช้ภาษาสูงๆ มีสัมผัส บทสนทนาเป็นเหมือนบทกวี ลึกซึ้งมีปรัชญา เหมือนพวกแฟนตาซีย้อนยุคหรือนิยาย “ชั้นครู” คนอ่านบางคนเข้ามาอาจจะบอกเออ ใช้คำดี ภาษาสวย อ่านแล้วลื่นไหล แต่บางคน (รวมทั้งผม) อาจจะบอกว่าเยิ่นเย้อ ช้า ภาษาเก่า บทสนทนาไม่สมจริง ในทางกลับกัน ถ้าใช้ภาษาปัจจุบัน กระชับ บทสนทนาเสมือนจริง คนอ่านบางคนอาจจะบอกว่าดี แต่บางคนบอกมันคืออะไรก็ไม่รู้ ภาษาไม่สวย แย่


ดังนั้นตั้งความหมายที่คุณอยากได้ก่อนครับ ใช้ให้เหมาะกับเนื้อเรื่อง เหมาะกับสถานการณ์ และสม่ำเสมอ หนึ่งเรื่องมีหลายสำนวนได้ เช่นอาจจะเขียนภาษาปัจจุบัน แต่เวลาบรรยายอะไรที่จงใจอยากให้มันเว่อร์มากๆ เพื่อความตลกหรือประชดก็สลับไปใช้ภาษาสูง แค่อย่าให้มันมั่ว เช่นย่อหน้าหนึ่งภาษาสูง ท้องนภา ท้องสมุทร หมู่พฤกษชาตินานาพรรณ โบกโบยล้อเล่นกับสายลมยามคิมหันต์ ย่อหน้าต่อมากลายเป็นภาษาวัยรุ่นเสียอย่างนั้น


ส่วนเรื่องคำซ้ำซ้อน ก็คงต้องตอบสวนทางกับคนฉลาดครับ ว่า “อ่านเยอะๆ” แต่คุณต้องอ่านเพื่อเอาไปใช้นะครับ ไม่ใช่แค่อ่านแล้วผ่านไป มันเหมือนบอกว่าเล่นเกมเยอะๆ แล้วจะฝึกภาษาอังกฤษได้ แต่คนเล่นต้องเล่นเพื่อฝึกด้วย ต้องสังเกตและเรียนรู้ ไม่ใช่เล่นเอามันแล้วไม่สังเกตอะไรเลย คงได้ภาษาอังกฤษอยู่หรอก


อ่านเพื่อสังเกตการใช้คำ วิธีใช้คำ หรือจำคำศัพท์แปลกๆ หรือคำที่มีความหมายคล้ายกันทั้งหลาย ซึ่งทักาะการอ่านเพื่อเอาไปใช้นี่จะพัฒนาได้ ก็ต้องฝึก การฝึกก็คือการ “อ่านเยอะๆ” นั่นแหละครับ อ่านให้เยอะเข้าไว้ก่อน พอได้ทักษะมาแล้ว คลังคำในหัวเยอะแล้ว คุณจะอ่านน้อยลงหรือไม่อ่านเลยก็แล้วแต่คุณ

1
Miran/Licht 17 ธ.ค. 60 เวลา 08:03 น. 11

ตอบตามที่ตัวเองทำแล้วกันนะคะ


คือเราง่อยเรื่องโคลงฉันท์ กาพย์ กลอน มากค่ะ ไม่ได้ง่อยเรื่องถอดความแต่ง่อยในการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ เจอข้อสอบให้แต่งกลอนนี่จะทิ้งไว้ทำท้ายสุดเลยเพราะเอาเวลาที่เหลือทั้งหมดมาเขียน


แต่เราชอบอ่านนะ บทกวีก็ชอบอ่านโดยเฉพาะของคาริล ยิบราลและรพินทร์นาถ ฐากูร แล้วผู้แปลก็แปลได้ดีงามมากๆ ด้วยค่ะ จึงเป็นอิทธิพลกับเราพอควรว่า อยากเขียนออกมาให้มีภาษาราวบทกวี


คงไม่บอกให้อ่านเยอะๆ เพราะตัวเราก็ไม่ได้อ่านมามากเท่าไร เพียงแต่เราก็อาศัยยึดนักเขียนที่เราชอบเป็นไอดอล แรกๆ เราพยายามเขียนตามแบบของเขา (ไม่ได้เผยแพร่สู่สาธารณะ) พยายามเขียนประโยคเดิมบริบทเดิมแบบไม่ซ้ำกันหลายๆ แบบ แรกๆ ที่พยายามเขียนโดยท่องว่าต้องให้สละสลวยผลที่ออกมาคือ ภาษาแข็งไม่เป็นท่ามากเลยค่ะ


ดังนั้น พยายามเขียน ค่อยๆ หัดเขียนไปเรื่อยๆ แล้วมันจะออกมาจากอินเนอร์เองค่ะ ยิ่งฝึกหัดบ่อยๆ มันก็จะซึมซาบไปเองค่ะ


มีนิยายเรื่องหนึ่งที่พอพูดในกลุ่มเพื่อปุ๊ป ทุกคนจะเหมือนยืนขึ้นปรบมือพร้อมกันเลยค่ะ นั่นแหละค่ะ เราอยากเขียนนิยายให้ออกมาเช่นนั้น (เรื่อง โนเวเซนโต้ สนพ.ผีเสื้อ ภาพยนตร์ใช้ชื่อว่า Legend of 1900 )

0
slimebox 17 ธ.ค. 60 เวลา 08:51 น. 12

ไม่รู้ว่ามีใครตอบอ้ะยัง

อ่านเยอะ ๆ ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญล่ะนะ


แต่นอกจากนั้นก็ทำอะไรได้อีกเยอะ

เช่นทำอ้างอิงของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ (เล่มนี้ชอบนะ ภาษาดีนะ เวลาจะเขียนก็เปิด ๆ มายืมคำสองคำ) เก็บเป็นไฟล์รวมคำศัพท์ หรือประโยคดี ๆ เอาไว้ ไม่ทีเวลาอ่านหนังสือก็ บทความ ข่าว หรือเรื่องสั้นบางทีก็ช่วยได้ อย่างที่เราเคยทำอะ อาจจะดูกาก ๆ แต่ก็ กูเกิลนั่นแหละจ้า อยากจะเขียนอะไร เสิร์ชโลด หรืออยากได้คำขยายอะไร เสิร์ชเอาเลย 555 บางทีคำซ้ำเยอะ ก็เสิร์ชหาไวพจน์ อะไรแบบนี้ค่ะ เป็นคนมักง่าย และความจำไม่ดี จำศัพท์จากนิยายไม่ค่อยได้ อ่านแล้วไม่ซึมซับ เลยเลือกอ่านเยอะ ๆ ไม่ได้อะ ต้องหาวิธีที่สะดวกกว่า....


อ่า ไม่รู้มีใครเขาทำกันไหม -×-


ส่วนเรื่องเวินเว้อ เราไม่แน่ใจ แต่คาดว่า ประโยคหนึ่งยาว ๆ หรือเปล่า ลองแบ่งเป็นสอง เป็นสามดูไม่ต้องขยายมากก็ได้นะคะ หรือไม่ก็อย่าอธิบายอะไรวน ๆ ใช้คำที่มีความหมายในตัวหลายอย่าง ก็จะสั้นลง นะ

1
Miran/Licht 17 ธ.ค. 60 เวลา 09:16 น. 12-1

ทำค่ะ


มีหนังสือคลังคำอีกเล่มด้วย ที่รวบรวมคำไวพจน์ทั้งหมดเอาไว้ด้วยค่ะ


แต่จะเปิดจากคลังคำอย่างเดียวไม่ได้เราจะมีดึงศัพท์ที่ชอบมารวบรวมต่างหาก

เวลาเจอประโยคหรือคำที่ถูกใจก็อบไว้ จดไว้ แคบหน้าจอหือเซฟไว้ค่ะ มีเยอะมากด้วย และพยายามพิมพ์ใส่เวิร์ดไว้เพื่อง่ายต่อการค้นหาค่ะ

0
white cane 17 ธ.ค. 60 เวลา 10:16 น. 13

ผมขออนุญาตตอบเหมือนก็อปปี้นะครับ

อ่านนิยายเยอะๆ โดยเฉพาะคนที่ใช้ภาษาที่คิดว่าสวยงาม อ่านแล้วรู้สึกไหลลื่น ไปหาซื้ออ่านเยอะๆ เพื่อเอามาศึกษา และอย่าลืมฝึกเขียนบ่อยๆ ด้วย

แต่หากเป็นไปได้ ผมว่าเราใช้ภาษาที่เราถนัดจะดีกว่านะครับ นอกจากมันจะทำให้เราเป็นตัวของเราเองแล้ว การเขียนนิยายจะง่ายขึ้น ไม่ต้องมัวคิดให้ซับซ้อน

หากเราเปลี่ยนวิธีการเขียนให้เป็นคนอื่น ผมเคยเจอมากับตัวเองแล้ว มันทำให้ผมรู้สึกกดดันมาก รู้สึกอึดอัดอย่างบอกไม่ถูก สุดท้ายผมก็ย้อนกลับมาเป็นของตัวเองดีกว่า เพราะมันไม่สามารถทำให้นิยายก้าวไปไหนได้เลย

0
PangPhai 17 ธ.ค. 60 เวลา 10:32 น. 14

ฝึกเองเลยค่ะ เอาที่ตัวเองชอบ ง่ายๆเลย เริ่มจากการดูพวกหนัง พวกเอ็มวี ใช้วิธีจำแล้วเอามาบรรยาย กลับไปดูใหม่อีกครั้ง เทียบกันว่าเหมือนที่เราเขียนหรือเปล่า ถ้ารู้สึกว่าโอเคแล้ว ให้คนรอบข้างลองอ่านและทายดูว่าอยู่ในเรื่องไหน เพลงไหน ถ้าทายทูกก็คอมพรีสค่ะ (ไม่รู้ว่าจขกท.เขียนแนวไหน แต่เราใช้วิธีนี้ เน้นให้คนอ่านอินไปกับคำแต่งจินตนาการ ถึงจะเวิ่น ภาษาไทยก็มีคำอีกหลายคำให้ใช้ไม่ซ้ำ ขึ้นอยู่กับรูปการณ์และเทคนิคของแต่ละนักเขียนค่ะ)

0
JK-goldenrabbit 17 ธ.ค. 60 เวลา 11:41 น. 15

ต้องหาอ่านจากหลายๆที่ที่ดังๆค่ะ แล้วก็ต้องรู้คำศัพท์ความหมายของคำอะไรแบบนี้ให้เยอะๆค่ะ เวลาเขียนต้องมีการเปรียบเปรย/เปรียบเทียบให้ผู้อ่านได้จินตนาการเยอะๆ ส่วนตัวเราคิดว่าเรายังไม่เก่งขนาดนั้นอ่ะ แต่เรารู้สึกว่ามันมาครึ่งทางแหละ 555 แล้วก็ไม่ต้องคิดมากนะคะ เพิ่งเริ่มแต่งอาจจะมีบ้าง แต่งไปนานๆเดี๋ยวคำมันก็จะดีขึ้นค่ะ สังเกตุจากการแต่งของตัวเองบ่อยๆถ้าเราแต่งลื่นขึ้น คิดคำบรรยายได้ไวขึ้นนั้นก็คือเริ่มได้แล้วค่ะ แล้วก็ใช้ภาษาวิบัติให้น้อยนิดนึง พิมพ์พยายามพิมพ์ให้ถูก หรือถ้าไม่รู้ก็ใช้อากู๋ได้นะ(เราทำแบบนี้บ่อย555)



ส่วนที่บอกว่าคำซ้ำๆนั้น ลองเปลี่ยนดูนิดนึง เช่น คุณแม่พูดอย่างนั้น-->หญิงสาวสวยของฉันว่าอย่างนั้น ก็ได้นะคะ คือเราอธิบายไม่ค่อยถูกแหะ คือเอาง่ายๆเลยคือ คุณต้องให้บทบรรยายของตัวละคร กับบทบรรยายปกติ(ที่ไม่ใช่ตัวละครคิด)สลับกันบ้าง อย่าเอาตัวละครนั้นตลอดตอน หรือบรรยายเฉยๆตลอด สลับไปๆมาๆบ้าง แต่ต้องระวังคือแต่งให้ดีๆเดี๋ยวคนอ่านจะงง555



เราเองก็ไม่ได้แต่งเก่งอะไรมากหรอกค่ะ แค่นี้แหละค่ะ สู้ๆนะ ไฟท์ติ้ง!!



อย่าคอมเม้นท์ว่าเรามีแค่ดาวเดียวแล้วมาสอนคนอื่นนะคะ จริงๆเรามีสองดาว(แต่นั้นคืออีกแอคเคาท์ค่ะ เราแค่เปิดใหม่ค่ะ)



รักมากมายทุกคนเลยยยย


https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/yy-big-06.png

0
แฟรงค์ ไฟลอย 17 ธ.ค. 60 เวลา 16:09 น. 17

อ่านเยอะๆครับ

ยืนยัน

เพราะเราจะได้สำนวน รูปแบบภาษา การวรรค การวางประโยค การต่อประโยค

และไอเดีย ทีพอนึกแล้ว อ๋อ ต้องเขียนแบบนี้ หรือใช้คำแบบนี้


คุณจะเขียนนิยายยังไง ถ้าคุณไม่มีต้นทุนทางภาษา


สำคัญมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกก


ความเห็นหนึ่งของหนอนหนังสือครับ

0
ซีร่า 17 ธ.ค. 60 เวลา 16:44 น. 18

เท่าที่ดู เห็นว่า คนอื่นตอบไว้ดีแล้วเหมือนกันนะคะ ส่วนตัวเราขอมาตอบเพิ่มละกันค่ะ เรื่องภาษาสละสลวยที่พูดกันยากเหมือนกัน เพราะภาษาสละสลวยนั้นมีหลากหลายแบบ และจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ล้วนๆ ทั้งประสบการณ์ในการอ่าน เเละประสบการณ์ในการฝึกปรือ


นอกเหนือจากการอ่านนวนิยายแล้ว ความรู้ด้านภาษาเป็นสิ่งจำเป็นค่ะ การจะใช้คำให้สื่อความหมายกว้าง สละสลวย ไม่เยิ่นเย้อ เห็นภาพชัดเจน เราจำเป็นต้องมีคลังคำศัพท์ที่เยอะ เเล้วรู้ความหมายของคำนั้น ทั้งความหมายตรง ตลอดจนความหมายเเฝง เพราะคำที่มีความหมายเดียวกัน อาจจะให้อารมณ์ ความรู้สึก เเละสื่อถึงนัยยะแตกต่างกัน คำแนะนำจากอาจารย์ชมัยภร เเสงกระจ่าง ก็คือ การลองเอาคำกริยามาเชื่อมในการบรรยายประโยคต่างๆ ดูค่ะ เช่น การแสดงอาการร้องไห้ก็บรรยายได้ทั้ง น้ำตาไหล น้ำตาหยด น้ำตาริน อัสสุชลร่วงพรู ต้องดูด้วยว่า นิยายที่แต่งเป็นนิยายแนวไหน การจะใช้คำ ใช้ภาษา ตลอดจนวิธีการเล่า ต้องเอาเเนวเรื่อง เเละพล็อตเรื่องเป็นที่ตั้ง


ถัดจากอารมณ์ สิ่งที่จำเป็นคือ ความรู้สึกค่ะ การแต่งนิยายต้องใช้อารมณ์ ครั้งไหนที่เราแต่งนิยายด้วยความรู้สึกอันเข้มข้ม เกิดจากประสบการณ์จริง เเละความรู้สึกร่วมจริงๆ โดยไม่ต้องบิ้วท์ของเรา เราจะพบเลยค่ะว่า งานที่เขียนลงไปแทบไม่ต้องแก้เพิ่มเลย ไม่มีจุดไหนที่รู้สึกแปร่งๆ ซึ่งอาจจะต้องผ่านการสั่งสมประสบการณ์การอ่านมาระดับหนึ่งก่อน


นอกจากพยายามอ่านงานหลากหลาย ก็ลองฝึกเขียนไดอารี่ดูก็ดีนะคะ การเขียนจากประสบการณ์จริงๆ ของเรา ลองดูว่า จะเล่าเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันยังไงให้น่าสนใจ ใช้กลวิธีการเล่ายังไง เล่าจากตรงไหน ตลอดจนการได้บรรยายภาพจากประสบการณ์จริง จะทำให้เราฝึกวิธีการเขียนที่สมจริง เเละรู้ว่า จะใช้คำยังไงในการบรรยายฉากเหล่านี้ให้เห็นภาพค่ะ


ทางที่ดี นอกจากประสบการณ์การอ่านแล้ว ก็ควรลองพบปะพูดคุยกับคนอื่นดูนะคะ สังเกตการใช้คำ ใช้ภาษา ของเเต่ละคน ก็จะทำให้งานเขียนหลากหลายน่าดึงดูดมากขึ้น เพราะเเต่ละคนจะมีวิธีการพูด วิธีการเล่าเรื่องไม่เหมือนกัน


ป.ล. ไม่รู้ว่า พิมพ์รู้เรื่องไหมนะคะ ช่วงนี้เพิ่งสอบเสร็จอาจเบลอๆ หน่อย เเต่โดยรวมที่เราเเนะนำก็มีประมาณนี้ค่ะ ก็ลองเอาไปปรับใช้ดูได้นะคะ

0
Wordslinger 17 ธ.ค. 60 เวลา 16:46 น. 19

จากที่เจ้าของกระทู้บอกไว้ว่า "ให้ภาษานั้นสวย โดยที่ไม่เวิ่นเว้อ" ดังนั้นดิฉันคิดว่าภาษาสวยของคุณน่าจะเป็นแนวใช้คำกระชับ ประโยคไม่ยาวเยิ่นเย้อ เขียนอธิบายตรงจุด และประโยคทรงพลังถึงขนาดดึงดูดผู้อ่านได้


ถ้าถามความเห็น ดิฉันอยากจะแนะนำว่าลองหางานของคุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติ มาอ่านดูไหมคะ หนังสือรวมเรื่องเหมืองแร่ ก็ได้ค่ะ ท่านเขียนได้กระชับและอ่านง่าย ตรงจุด และทำให้ผู้อ่านอินกับเนื้อเรื่องมากๆ เลยค่ะ ส่วนตัวดิฉันว่าภาษาของท่านสวยนะคะ ลองหามาศึกษาดูค่า การเขียนก็เหมือนกับการฝึกทักษะอื่นๆ คือต้องลองผิดลองถูก และฝึกปรือสิ่งนั้นๆ ให้ได้บ่อยที่สุด เพื่อจะได้มีความชำนาญ


ส่วนการอ่านเยอะๆ อย่างที่ท่านอื่นๆ แนะนำมาก็จะช่วยได้ในแง่ของคลังคำ และวิธีการเลือกใช้คำให้ถูกบริบท นอกจากนี้ยังจะได้วิธีการลำดับความในเนื้อเรื่อง การมีลูกล่อลูกชนในวิธีการนำเสนอต่างๆ ดิฉันว่าอ่านเยอะๆ ก็มีประโยชน์นะคะ


ขอให้โชคดีค่า

0
ปากกาเรืองแสง 17 ธ.ค. 60 เวลา 17:25 น. 20

ลองอ่านหนังสือหรือนิยาย "คลังคำศัพท์" ดูนะคะ ในนั้นจะมีคำอยู่เยอะมากกกกกก(ก.ล้านตัว)เลย เป็นคำสละสลวยที่เอาไว้ใช้แต่งนิยาย และคำพรรณาบรรยายบริบทก็มี


หรืออีกอย่างที่อยากแนะนำคืออ่านเยอะๆอย่างที่เม้นบนๆเขาแนะนำกันไปแล้วเหมือนกันอีกเสียง การอ่านเหมือนการสั่งสมประสบการณ์นั่นแหละค่ะ ยิ่งคุณอ่านมากคุณก็ยิ่งเขียนได้เก่งมากขึ้นตามนั้น ขยันอ่าน ขยันฝึกไปเรื่อยๆ อย่างเราตอนที่เริ่มเขียนนิยายแรกๆเมื่อหลายปีก่อนก็ภาษาไม่ค่อยลื่นเหมือนกัน พล็อตที่วางก็ยังมีช่องโหว่อยู่เยอะ แต่พอเขียนและฝึกมาเรื่อยๆเหมือนมันเริ่มจับทางของตัวเองได้ เริ่มมีสไตล์การเขียน ขอเพียง"อย่าท้อ"เป็นพอค่าาา


อีกอย่างที่อยากบอกคือการแต่งนิยายแต่ละตอนๆไม่จำเป็นต้องภาษาสละสลวยงดงามทุกคำก็ได้ค่ะ อย่างเราเคยเปิดอ่านนิยายในเด็กดีหลายๆเรื่องค่อนข้างใช้คำฟุ่มเฟือยและยืดเยื้อจนเกินควร นั่นเป็นเพราะผู้เขียนยึดติดกับคำว่า "ภาษาการพรรณาต้องสละสลวย" มากจนเกินเหตุ ทำให้การบรรยายของพวกเขาบางส่วนบางตอนมัน"เกินจำเป็น"


สู้ๆนั้ลลล เป็นกำลังใจให้ https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/jj-11.png

0