Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แชร์ประสบการณ์สอบติดรัฐศาสตร์มธฉบับนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ไม่ซ้ำชั้น

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

บนไว้ว่าถ้าติดรัฐศาสตร์มธ รอบ3 เราจะลองมารีวิววิธีการอ่านหนังสือเรียนพิเศษ+ รีวิวหนังสือและที่เรียนพิเศษในมุมมองของเรา​ ฉบับเด็กไปแลกเปลี่ยนที่กลับมาไม่ซ้ำชั้น


*วิธีการเราคงจะใช้ไม่ได้ผลกับทุกคนนะคะ เพราะแต่ละคนมีลักษณะการอ่านหนังสือที่แตกต่างกับเรา ส่วนตัวเราควรจะรู้นิสัยการอ่านหนังสือและจุดเด่นจุดด้อยของตัวเองให้แน่ๆก่อน [เช่น เราเป็นคนอ่านแล้วจำได้เร็ว แต่ไม่ค่อยมีสมาธิตอนอ่านหนังสือ ชอบทำหลายๆอย่างพร้อมกัน อ่านอยู่บ้านไม่ได้ ต้องออกไปอ่านตามคาเฟ่ข้างนอก]​ ก็ต้องพยายามปรับเปลี่ยนวิธีการอ่านให้ตรงตามนิสัยตัวเองค่ะ​ ความคิดเห็นเราทุกอย่างเป็นความเห็นส่วนตัวเด้อ*


1.เมื่อรู้ตัวเองแล้วว่าจะเข้าอะไรก็ต้องวางแผนและศึกษาระเบียบการรับของคณะที่สนใจให้ดี


อย่างเรารู้ตัวตอนเราอยู่ต่างประเทศตอนนั้นกำลังไปแลกเปลี่ยนอยู่ เราก็เช็คข้อมูลที่นั่น ว่าตอนนี้เราเหลือเวลาอีกกี่เดือน เราอยากเรียนคณะไหน เอกไหน แล้วคณะนั้นเอกนั้น+มหาลัยที่เราต้องการอะ แต่ละรอบเราต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง​ ป.ล.เราลังเลอยู่2มหาลัยคือรัฐศาสตร์มธกับจุฬาค่ะ​ ดังนั้นเราที่โง่แพทภาษาจึงเตรียมโอเน็ตหนักมากเพื่อรัฐศาสตร์จุฬารอบ4และเตรียมสอบวิชาเฉพาะรัฐศาสตร์มธไปพร้อมๆกันค่ะ


2.แพลนการอ่านหนังสือตัวเองคร่าวๆ เพื่อให้มีจุดมุ่งหมายในการอ่านหนังสือ


ตอนนั้นเราเริ่มแพลนคร่าวๆว่ากลับไทยไปจะอ่านอะไรบ้าง เราไม่ซ้ำชั้นค่ะ และเรากลับจากต่างประเทศเดือนกรกฎา ทำให้เวลาอ่านหนังสือแอบกระชั้นชิดนิดนึง ก็ต้องรีบตามงาน+หาซื้อหนังสืออ่านสอบ+ลงเรียนพิเศษ เอาจริงที่แพลนไว้ก็ไม่ได้ทำตามแพลนหรอก แต่ก็ยังแนะนำให้ทุกคนแพลนไว้คร่าวๆนะ เพราะอย่างน้อยก็ทำให้เรามีจุดมุ่งมายในการอ่านหนังสืออะ เราเห็นหลายคนรอบตัวเราเอากระดาษแบบต้องติดมาแปะที่บ้านใกล้โต๊ะอ่านหนังสือหรือตั้งวอลเปเปอร์ในโทรศัพท์ฟิลเลิกเล่นแล้วไปอ่านได้ปล้ว แต่เราไม่เคยเอากระดาษโพสอิทไรงี้มาแปะผนังเลยนะ อันนี้แล้วแต่คน พอดีไม่ชอบให้อะไรมาติดผนังขาวๆเท่าไหร่ หน้าจอโทรศัพท์ก็อยากตั้งเป็นรูปดาราที่ชอบมากกว่า5555555 เคยตั้งแบบเลิกเล่นโทรศัพท์ได้แล้วประมาณอาทิตย์นึงมั๊ง ไม่ส่งผลเลยจ้า ก็ยังเล่นเหมือ​นเดิม คิดถึงหน้าดาราที่ชอบด้วยแง ตอนอ่านหนังสือสอบก็ยอมรับว่าไม่ค่อยได้กระตุ้นตัวเองด้วยวิธีการพวกนี้ ก็แนะนำไว้เผื่อใครอยากทำตาม วิธีการแบบนี้มันปัจเจกอะ ใครทำแล้วช่วยก็ทำไป ใครไม่ทำเพราะทำแล้วมันไม่ช่วยก็เลิกทำ(เช่นเราเป็นต้น)​ เวลาเปิดโทรศัพท์เห็นหน้าดาราที่ชอบแล้วเราชื่นใจกว่า(มินฮยอน คูมแม่รักหนูนะคะT_T)


3.เช็ควิชาถนัด/ไม่ถนัดของตนเอง แล้วก็เริ่มหาที่เรียนพิเศษ


สำหรับบางคนที่การเรียนพิเศษทุกวิชามันสิ้นเปลืองและเวลาไม่พอนะคะ วิชาที่ถนัดแนะนำให้มาอ่าน/ทำใกล้ๆสอบ ส่วนวิชาที่ไม่ถนัดก็ลงเรียนพิเศษเถอะ บางครั้งมันช่วยจริงๆนะ ถ้าเจอครูสอนพิเศษที่คลิกกัน โดยวิชาที่ไม่ถนัดมาก แนะนำให้เรียนส่วนตัว1:1 หรือกลุ่มเล็ก จะมีประสิทธิภาพมากกว่า ยังไงก็ตามไม่ว่าจะเรียนรูปแบบไหน สิ่งที่สำคัญคือต้องกลับไปทบทวนค่ะ อันนี้เราลองลิสต์คร่าวๆนะ ตามความเห็นของเราถึงการเรียนแต่ละแบบเด้อ


เรียนส่วนตัว1:1, ขึ้นอยู่กับหาครูแต่เรตราคาจะประมาณ250++:1ชั่วโมง ถ้าลองไปเรียนแล้วไม่คลิกกับครู แนะนำให้รีบเปลี่ยนนะ อย่าเกรงใจเสียเวลาเรียนทั้งๆที่ไม่เข้าใจเนื้อหา เหมาะกับวิชาที่ไม่ถนัดมากๆ และต้องการคนสอนอย่างละเอียด เวลาเรียนส่วนตัวบางจุดที่เราเข้าใจแล้วก็จะสามารถไปเร็วได้ แต่บางครั้งถ้าคุณไม่มีวินัย ชวนครูคุยไรงี้มันก็จะไม่ได้อะไรอะ เหมือนเสียเวลา2ชั่วโมงหรือมากกว่านั้นไปแบบเปล่าประโยชน์


เรียนกับเพื่อนแบบส่วนตัวกับครูสอนพิเศษ, เพื่อนเราหลายคนเรียนแบบนี้ คือชวนเพื่อนไปเรียนพิเศษกับครูคนเดียวกัน เอาจริงเราก็ว่าดีนะ มีคนรู้จักคอยเรียนด้วย มันก็จะแอบกดดันตัวเองให้ขยันไปด้วยได้ แต่ถ้าแบบพากันเล่นไม่เรียนมันก็จะแย่ และเละคู่


เรียนแบบกลุ่มเล็ก, จัดกลุ่มเป็นกลุ่มเล็กๆ แล้วจ้างครูมาสอน โดยคนในกลุ่มอาจเป็นเพื่อนกันทั้งหมด/ไม่รู้จักกันก็ได้ การสอนแบบนี้เท่าที่เคยเจอตอนม.ต้น มันทำเรากดดันมาก เพราะครูที่สอนจะโคตรจี้ถามทีละคน ตอบไม่ได้ก็ทำให้เครียด เหมาะสำหรับคนที่ทนรับแรงกดดันได้แบบมากๆๆๆๆ เพราะถ้าทนได้ เราว่าการเรียนแบบนี้มีประสิทธิภาพมาก เพราะครูเข้าถึงทุกคนอะ


เรียนแบบกลุ่มใหญ่(ฟิลห้องสดของสถาบันดัง), มันก็ดีสำหรับคนที่ชอบโดดเรียนแบบเรา เพราะถ้าเรียนคอมเราก็ไม่จองเวลาได้ หรือเรียนส่วนตัวเราก็เลื่อนนัดพี่ที่สอนได้ แต่ถ้าเรียนห้องสดทั้งกลุ่มเล็กและใหญ่ การที่เราขาด1ครั้งมันทำให้เราขี้เกียจไปตามชดเชยวิดิโออะ บางสถาบันคือชดเชยยุ่งยากด้วย ฟิกเวลาเละไปหมด แต่ข้อเสียที่เห็นชัดเลยคือถ้าเรียนแบบนานๆ มันก็น่าเบื่อ เทียบกับคอมที่เรากรอx2 ทุกสถาบัน คือครูสอนสดก็แอบพูดช้าไประดับนึงเลยอะ เรียนกลุ่มใหญ่เวลาพักก็ใช้เยอะ เพราะคนเยอะ  แต่ก็รู้ว่าถ้าเปลี่ยนไปเป็นแบบวิดิโอเราก็เอาแต่นั่งเล่นโทรศัพท์ ไม่ตั้งใจเรียน เพื่อนข้างๆตอนเราเรียนสอนสดก็ค่อนข้างแอคทีฟอะ ก็ชวนกันเรียนดีค่ะ


เรียนกับคอมที่สถาบัน, ข้อดีชัดๆคือมันไม่ฟิกเวลาเรา ว่าเราต้องเรียนวันนี้เวลานี้ ดังนั้น ตารางเรียนมันก็จะค่อนข้างยืดหยุ่นกว่า เราก็จะปรับเปลี่ยนแพลนการอ่านได้ง่ายกว่า แต่ก็อย่างที่บอกว่าถ้าคุณมีวินัย การเรียนแบบนี้ก็คือเป็นแบบที่ดือมากๆ แต่ถ้าคุณชอบผลัดวัน​ประกัน​พรุ่ง ก็จะเป็นรูปแบบการเรียนที่ไม่ดือ


เรียนกับคอมที่บ้าน(self@home) สะดวกมาก​ เพราะอากาศแบบนี้คงไม่ค่อยอยากออกไปไหน​ เหมาะสำหรับคนที่มีวินัยมากๆ​ เราเคยซื้อคอร์สเลขโอเน็ตมาเรียนแบบ@homeเหมือนกัน​ สรุปคือเรียนไม่จบ555555555​ ขี้เกียจก่อน​ โชคดีที่ปีเราเลขโอเน็ตค่อนข้างง่าย


4.เรียนพิเศษ​ ต้องตั้งใจเรียนและกลับมาทบทวน​ ทำการบ้าน​ ถึงจะได้รับผลลัพธ์สูงสุด


ตอนเรียนพิเศษห้องสดเราตั้งใจเรียนมาก​ แต่การทบทวนเราทำไม่ได้​ แต่มันเป็นสิ่งที่ต้องทำค่ะ​ เพื่อนเราหลายคนทำ​ และผลลัพธ์ดีมาก


5.ทำสรุปย่อความ


ก็ควรสรุปย่อเนื้อหาที่จะใช้สอบเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย​ พอใกล้ๆสอบจะได้หยิบออกมาอ่านได้อีกที​ เป็นการทบทวนความรู้​ บางคนอาจจะชอบตกแต่งสมุด​ ใช้สีหลากสี​ ซึ่งก็เป็นจิตวิทยาอย่างนึง​ แต่สำหรับคนที่อ่านไม่ทัน​ เช่นเรา​ ก็ดินสอล้วนไม่ก็ปากกาน้ำเงินล้วน​เขียนลงกระดาษเอสี่​


6.อ่านแล้วต้องจำ


ถามว่าทำยังไงให้จำได้​ เราว่าอ่านออกเสียงไม่ก็สอนหนังสือเพื่อนทำให้เราจำได้ที่สุดค่ะ​ ช่วงที่เราขี้เกียจออกไปหาเพื่อน​ เราก็สอนพ่อเราที่บ้าน​ พ่อเราก็ฟังเราพูดจนจำเนื้อหาสอบเราได้แล้ว​ เปลี่ยนบรรยากาศการอ่านบ้าง​ ถ้าหากอ่านที่บ้านแล้วไม่มีสมาธิ​ เราออกไปคาเฟ่บ่อยมาก​ เพราะการอ่านในที่ๆมีเสียงรบกวนเล็กน้อย​ มันทำให้เรามีสมาธิมากกว่า​ ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่คน​ แนะนำให้ช่วงที่ยังพอมีเวลาก็ลองอ่านหลายๆรูปแบบ​ แล้วลองดูว่าวิธีไหนเหมาะกับตัวเอง


7.อ่านทุกเวลาที่ว่าง


ตอนกำลังเดินทางไปไหนมาไหน​ ก็ควรหยิบหนังสือมาอ่านค่ะ​ เราทำสรุปย่อไทยสังคมเราลงสมุดเล่มเล็ก​ พกติดตัวทุกที่​ ช่วงอยู่บนรถไฟฟ้าก็หยิบมาอ่านบ้าง​ ได้อ่านเล็กน้อย​ ดีกว่าไม่ได้อ่านเลย


8.สร้างstudygram  private


เราทำstudygramที่ล็อคแอคไว้ส่วนตัวของเราคนเดียวในไอจี​ คนฟอล0  ฟอลคน0  เอาไว้ลงว่าวันนึงอ่านอะไรหรือเรียนพิเศษเรื่องอะไรไปบ้าง​ มันเรียกว่าstudygramได้ไหมไม่รู้​ เอาเป็นว่ามันเหมือนบันทึกการเรียน​ของเรา​ ที่เราก็ไม่ได้เขียนทุกวัน​น่า การสร้างไว้คนเดียว​ส่วนตัวเราว่าเวิร์กกว่าการสร้างแบบเปิดพับบลิค​ เพราะจุดประสงค์studygramของเราคือกระตุ้นการอ่านหนังสือของตัวเอง​ การเปิดเป็นสาธารณะมันเหมือนเป็นการบีบบังคับทางอ้อมให้ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับแอคเคานท์อื่น​ ซึ่งเรามองว่ามันทำให้เสียสมาธิพอสมควร​ แต่ถ้าคุณมีจุดประสงค์อื่นในการ​ทำstudygram เช่นต้องการหาเพื่อนเรียนไปพร้อมกันหรืออยากให้คำแนะนำรุ่นน้อง​ ก็เปิดพับลิคค่ะ​


9.ถ้ายังอ่านหน้านี้แล้วไม่เข้าใจ​ อย่าพึ่งเปลี่ยนไปหน้าถัดไป


เราเป็นคนไม่ทบทวนเวลาเรียนพิเศษเสร็จในแต่ละครั้ง​ เพราะขี้เกียจ​ แต่เราจะทวนทีเดียวหลังเรียนเสร็จ​ ย้ำนะคะว่าเราเป็นคนที่จำอะไรได้ค่อนข้างเร็​วแต่ความจำสั้นมาก​ วิธีนี้อาจไม่เหมาะกับคนอื่นที่มีสไตล์แตกต่างกับเรา​ วิธีการของเราคือ
       9.1ย่อจากหนังสือที่เรียนพิเศษลงสมุด
       9.2 อ่านที่เราย่อ​ ทีละหน้าไปเรื่อยๆ​ อ่านออกเสียง​ ถ้ายังจำไม่ได้​ ห้ามเปลี่ยนหน้า
       9.3  เมื่ออ่านจบก็เลิกอ่าน​ ทวนอีกทีใกล้สอบ​ แบบก่อนสอบวันสองวัน


10.วันก่อนสอบก็อ่านหนังสือ​ ไม่หยุดพัก


วันก่อนสอบเรานอนเที่ยงคืน​ แต่เราไม่ใช่พึ่งมานอนเที่ยงคืน​ คือช่วงก่อนสอบเดือนนึงเรานอนเที่ยงคืนทุกวัน​ เพื่อทำสรุปวิทย์ไทยสังคมo-net​ ฝึกโจทย์เลขo-netกับgat eng  เราทำวนไปวนมาถึงประมาณ4ทุ่ม​ พอเริ่มง่วง/เบื่อก็เล่นโทรศัพท์ยันเที่ยงคืนค่อยนอน​ เพื่อให้ร่างกายชิน​ เราทำแบบนี้ยันวันสอบ​ แต่เอาเวลาเล่นโทรศัพท์2ชั่วโมงมาแบ่งเป็นเวลาพักสั้นๆแทน​ เราอาจจะคิดต่างกับคนอื่นนะ​แต่เรามีความรู้สึกว่าควรอ่านมากที่สุดเท่าที่ทำได้อะ​ จะได้ไม่มาเสียใจทีหลังว่าทำไมตอนนั้นไม่อ่าน​ คะแนนบางวิชาออกมาเราก็ไม่ได้ดีมากนะ​ แต่เราก็ไม่รู้สึกผิดหวังเพราะแบบเราทำเต็มที่แล้ว​ คือเราติดโทรศัพท์หนักมาก​ ที่เลยมาถึงเดือนนึงก่อนสอบแล้วยังโน้ตย่อลงสมุดไม่เสร็จก็เพราะเอาแต่เล่นโทรศัพท์ไปอ่านหนังสือไป​ ซึ่งมันเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี​ และเราก็แก้มันไม่ได้​ เราก็ได้แต่อ่านให้ได้มากสุดเท่าที่ทำได้​ ผลลัพธ์คือเราโน้ตย่อทัน​ แต่อ่านทวนไม่ทัน​  แต่เราโอเคแล้วกับผลลัพธ์นี้


ตารางเรียนพิเศษ

เรากลับมาจากแลกเปลี่ยนเดือนกรกฎา(เดือน7)​

เดือน7-เดือน9  เคลียร์งานค้าง​ ตามสอบ​ เพราะเรากลับไทยมาช้ากว่าคนอื่น​ โรงเรียนเปิดตั้งแต่พคค่ะ​ 

เดือน10  ปิดเทอมเล็ก​ เรียนดาวองก์ห้องสด, เรียน​คอร์สwriting  รัฐศาสตร์​  มธ

เดือน11​ เรียนo-net​ วิทย์ondemand

เดือน​12​ เรียนpat7.3(ญี่ปุ่น)​ที่zashi

เดือน1  เรียนญี่ปุ่นส่วนตัว(ให้ช่วยเฉลยข้อสอบเก่าแบบละเอียดอะค่ะ)​ เรียนเลขo-net​ pansmartmathproแบบ@home

เดือน2 ดูgat thaiอ.ขลุ่ย+ฝึกทำโจทย์ gat​ engและo-net

เดือน3  ต้นเดือนก่อนสอบรัฐศาสตร์มธ2วัน​ เราลงเรียนคอร์สperfect  proของtriamdome แล้วก็ช่วงเว้นว่างก่อนสอบแต่ละสนามเราก็หยิบหนังสือมาอ่านทวน


รีวิวที่เรียนพิเศษ​ 

เราค่อนข้างตั้งใจเรียนในวิชาที่เป็นคอร์สสดมากๆ​ คือจดตามอาจารย์ตลอด​ แต่พวกคอร์สในคอมก็เละๆเลยอะค่ะ​ ไม่มีคนคอยคุม

1.ไทยสังคม-ดาวองก์​ เราถ่อไปเรียนคอร์สสดที่เยาวราชทั้งๆที่บ้านเราโคตรไกล​ เปลืองพลังงานมาก​ๆ​ บ้านไกลไม่แนะนำให้ทำแบบนี้​  เราเอาแต่ตะลุยกินในเยาวราชช่วงพัก​เลยเข้าเรียนสายบ่อยมาก แอร์ห้องสดมีที่นั่งโซนหนาวที่หนาวมาก​ กับโซนร้อนที่ร้อนมาก​ เก้าอี้นั่งเรียนเป็นเก้าอี้ไม้ยาวไม่มีพนักพิง​ คนปวดหลังง่ายไม่แนะนำ​ ​ เราเรียนแค่คอร์สturboค่ะ​ เรียนเพราะหวังอยากได้ไทยสังคมคะแนนสูงๆ​ เราก็เลยไปเรียนเพิ่มทั้งๆที่เราถนัดสองวิชานี้​ แต่ถ้าย้อนเวลากลับไปได้เราจะอ่านเองค่ะ​ ค้นพบทีหลังว่าพวกหนังสือสังคมปกติก็ดีมากๆ​ แต่เรียนกับอาจารย์ปิง​ก็ดีนะคะ​ และถ้าสะดวกก็แนะนำคอร์สselfดีกว่า​

2. คอร์สwriting​ triamdome เอาจริงมันมีประโยชน์ค่ะ​ แต่ปีเราภาคIA(การระหว่างประเทศ)​ กดคะแนนเรียงความมากก​ เราก็คะแนนไม่สูงมาก​ เลยไม่กล้าแนะนำอะไรเกี่ยวกับพาร์ทนี้เท่าไหร่​ แต่เราชอบพี่วิน​ เตรียมโดมมากๆ​ เขาสอนสนุก​และใส่ใจเด็ก​มาก​​   เดินทางยากนิดนึงต้องนั่งรถเมล์/แท็กซี่ไปปิ่นเกล้า

คอร์ส

3. คอร์สo-net​ วิทย์ondemand​ เรียนself  เรียนไม่จบตัวฟิสิกส์​ เคมีกับชีวะ​ เราค่อนข้างถนัด​ เรียนเลยรู้สึกชอบ​ ดาราศาสตร์เราแอบไม่เก็ตเพราะมีคำนวณประมาณนึง​ โดยรวมเนื้อหาเยอะเกินกว่าที่ใช้สอบo-net  ถ้าไม่มีเวลาเราว่าทำข้อสอบเก่าเอาดีกว่า

4.เรียนpat7.3ญี่ปุ่นที่ zashi​ เราเรียนสองคอร์สคือadmission1แบบ@home ซึ่งเราเรียนไปได้ไม่ถึงครึ่ง​เพราะเยอะมากกเรียนไม่ทัน และfighto patคอร์สสด​ มันดีสำหรับคนมีพื้นและชอบญี่ปุ่น​ เราเกลียดภาษาญี่ปุ่นมาก​ แต่ภาษาที่ใช้สอบแพทได้นอกจากญี่ปุ่นเราก็ไม่มีพื้นแล้ว​ เพราะเราเรียนศิลป์ญี่มาก่อนไปแลกเปลี่ยน​ แต่พอไปแลกเปลี่ยนเราไปประเทศฝั่งยุโรป​ ไม่ได้ใช้ญี่ปุ่น10เดือน​ ลืมทุกอย่างเลยค่ะ​ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้พื้นฐานดี​ คะแนนเลยห่วยมาก

5. เรียนญี่ปุ่นแบบส่วนตัว​ตัวต่อตัว หาในทวิตเอาเลยย​ เราให้พี่เค้ามาช่วยเฉลยข้อสอบเก่าๆให้เราแบบละเอียด​ 

6.เลขo-net​ pansmartmathpro​ แบบ@home​ ตามสไตล์เลยจ้า​ เราเรียนไม่จบอีกแล้ว​ เราเกลียดเลข​ เกลียดมาก​ แต่พี่ปั้นก็สอนดีอะค่ะ​ แต่เราด้วนความที่เกลียดวิชานี้มากเลยเรียนไม่ไหว​ แต่ถ้าไม่ได้เรียนo-netเลขเราก็น่าจะห่วยกว่านี้

7.gat thaiเราเรียนแค่อ.ขลุ่ยฟรีในยูทูป​ ตอนแรกคิดว่าไม่ยาก​ แต่ไปสอบมาไม่ได้เต็มค่ะ55555555​ เพราะเราไม่ฝึกโจทย์เพิ่มเลย​ แต่อ.ขลุ่ยสอนดีค่ะ

8.gat  eng คือพื้นอังกฤษเราค่อนข้างดี​ เราไปลงคอร์สadmissionของenconceptและเรียนตั้งแต่ม.4ก่อนบินไปตปท.​ แต่เรียนไม่จบค่ะ​ หลังจากนั้นก็ไม่เรียนอีกเลย​ แล้วก็ทำโจทย์แกทอิ้งเอาเอง​ ปรินท์ๆมากับหนังสือโจทย์ที่ซื้อมา​ ประกอบกับปีนี้แกทอิ้งง่ายมาก​ คะแนนเลยเป็นที่น่าพึงพอใจค่ะ​ แต่ถ้าคนที่ใช้คะแนน9สามัญอังกฤษ​ เราแนะนำให้เรียนพิเศษนะคะ​ มันเน้นspeed testมาก​ เราทำไม่ทันไปเกือบ20ข้อเพราะไม่ได้ฝึกมาเลย​ เพื่อนเราหลายคนบอกว่าพี่แนทดี

9.perfect pro triamdomeจะเข้ารัฐศาสตร์​ มธก็ไปเรียนเถอะ​ ไม่สะดวกเรียนคอร์สอื่นยังไงแต่ก็เรียนคอร์สนี้เถอะ​ รวมทุกอย่างแล้วทั้งข่าวปจบ.ตะลุยโจทย์ที่ทวนเนื้อหาให้​ และสรุปวิธีเขียนเรียงความสั้นๆให้​  เรียนสองวันแต่เรียนทั้งวัน


รีวิวหนังสือที่ใช้ในการสอบทั้งหมดของเรา

อังกฤษ

1.errorเล่มเขียวขาว​ อ.ศุภวัฒน์​ ดีมาก​ เพราะเราอ่อนerrorสุดๆ​ มีข้อสอบerrorล้วน20ชุด​ ถึงเราจะใช้เวลาทำนานมาก​ เพราะเราอู้แต่มันดีมากๆสำหรับคนไม่ถนัดerror เสียดายอดเอามาขายต่อเพราะโดนอาจารย์ที่โรงเรียนยึดไป

2.gat engของเพจgat community  โจทย์มาตรฐาน​ คือใกล้เคียงข้อสอบจริง​ ศัพท์ดีมากกกกกก​ เล่มนี้ศัพท์ออกเยอะสุดในสนามสอบ​ จากทุกเล่มที่เคยอ่านมา

3.gat engเล่มขาวแดง​ อ.ศุภวัฒน์​+ปรินท์ข้อสอบเก่าgat  engจากเพจgat community  เหมือนกันคือมีแต่โจทย์อังกฤษสอบgat  โจทย์มาตรฐาน​ คือใกล้เคียงข้อสอบจริง

4.หนังสือศัพท์ของenconcept อ่านเพลินๆเวลาขึ้นรถไฟฟ้า​ มันแถมมากับคอร์สเรียน

5.tu-getเล่มแดงกับเล่มเหลือง​ ของสถาบันภาษามธ​ตอนนั้นเราใช้สอบtu-get เลยหยิบเอาพาร์ทerrorกับreadingมาทำอีกที​ readingดีมาก​ ยากกว่าข้อสอบจริง​ แต่มันฝึกให้เราอ่านเร็ว


สังคม

1.หนังสือคอร์สturbo​ ดาวองก์

2.ครูพี่บอลเล่มเขียว​ เราไม่มีเล่มแดง​ ไม่รู้ต่างจากเล่มเขียวมากไหม​ แต่เราว่าเล่มเขียวดีมาก​ คือเราไฮไลท์+เขียนย่อความเพิ่มในเล่มอย่างเยอะ


ไทย

1.หนังสือคอร์สturbo​ ดาวองก์

2.หนังสือแนวข้อสอบไทย11พ.ศ.​เฉลยโดยดาวองก์​ 


เลข

1.หนังสือคอร์สo-net​ pansmartmathpro

2.ข้อสอบเก่าจากrath  center ปรินท์จากเน็ตมา​ โรงเรียนบังคับให้ทำส่งจ้า


วิทย์

1.โอเน็ตวิทย์ออนดีมานด์ในวิชาชีวะและดาราศาสตร์

2.ปรินท์ข้อสอบเก่าเคมีโอเน็ตในเน็ตมาทำ​ เราเคยเรียนพวกเคมีอ.อุ๊ม.ปลายสายวิทย์เล่มแรกๆ​ ซึ่งช่วยมาก​มนเรื่องของพื้นฐาน​ คือเราเรียนศิลป์ภาษาแต่เราชอบเคมีเฉยๆ

3.เพื่อนปรินท์ข้อสอบแยกเรื่องฟิสิกส์มาสอนให้​ ไม่รู้เพื่อนปรินท์มาจากไหน5555555


จิปาถะ

เราอ่านหนังสือจากติวเฉพาะกิจของแบรนด์กับmrtด้วย​ ไม่รู้ช่วยไหม​ แต่เราชอบนะ​ 


จบแล้วจ้า​ ใครมีคำถามอะไรเม้นต์ถามได้เลยเด้อ​ หรือถ้าจะเอาให้รวดเร็วกว่าก็ไดเรคไอจีมาได้ที่​ @_nnamwann (ขายของได้ไหมว่าเรารับสอนพิเศษภาษาอังกฤษกับภาษาอิตาเลียนด้วย55555)​

ฝากทวิตขายหนังสือของเรากับเพื่อนด้วยเด้อ​ @_3000716793  มีทุกสายการเรียน​ เพราะขายกัน4คนในแอคเดียวกันจ้า

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

Sgtd 19 พ.ค. 62 เวลา 09:22 น. 1

เราก็เรียนเตรียมโดม ลงทุกคอร์สเลย สอบติดก็เพราะที่นี่แหละ แนะนำ”เตรียมโดม” ชอบพี่วินสุด ๆ ใจดี กันเอง ที่สำคัญ เราว่าต้องเข้าเรียนเอง เพราะซื้อหนังสือมาอ่านเองต่างกันมาก ไม่เข้าหัว 


แต่พอเข้าเรียนพี่วิน พี่วินจะมุกการจำ ตอนทำข้อสอบนายก เสียงพี่วินลอยมาจริง ๆ มั่นใจมากว่าถูกแน่ ๆ ฟังพี่เค้าสอน ตั้งใจเรียนได้อะไรดีๆกลับมาเยอะ (คิดในใจคิดถูกมาก ตัดสินใจเรียนที่เตรียมโดม)


ยิ่งคอร์สเรียงความ เตรียมโเม ช่วยฝึกการเขียน จากคนที่เขีบนไม่เป็น พี่เขาสอนเป็นระบบ เขีบนง่ายขึ้นเยอะ เป็นที่เรียนดีที่สุดทุกที่เคยเรียนมาเลย


ปล.เราเรียนเตรียมโดม คอร์สสด ซึ่งเดินทางเรียนที่ ปิ่นเกล้า แต่คุ้มค่าจริง ๆ ทั้ง ๆ ของพี่วิน เตรียมโดม มีเรียนกับคอม หรือ ออนไลน์ที่บ้าน เราก็คิดเหมือนกันว่าจะไม่มีวินัย อยากเจอเพื่อนๆรอบสด พี่เขาดูแลทุกอย่างจริง ๆ จนถึงวันสอบ

0