Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ทำไมหิ่งห้อยถึงต้องอยู่ที่ต้นลำพูล่ะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
อยากรู้มากค่ะ - -"



หาในกูเกิลมันไม่เจออ่ะ TToTT



เจอแต่พวกตำนานว่า มีผู้ชายผู้หญิง... รักกันเทือกๆนั้นอ่ะ แต่ว่าที่มันดเป็นวิทยาศาสตร์ไม่มี -_-



ใครช่วยตอบหน่อยได้ไหมคะ

แสดงความคิดเห็น

>

8 ความคิดเห็น

alexzandra 20 ก.ค. 49 เวลา 21:52 น. 1

ความจริงเราว่าหิ่งห้อยมันก็อยู่ได้ทุกที่นั่นแหละนะ แต่บ้านของอังสุมาลิน(คิดว่าที่ถาม คงหมายถึงเรื่องนี้ใช่มั้ย)ดันมีต้นลำพูอยู่ใกล้ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศอันโรแมนติก ก็เลยเขียนให้ X เจ้าหิ่งห้อยเนี่ยเป็นตัวประกอบด้วย555555+ ไม่รู้นะว่าที่อุตส่าห์พิมพ์ม่ซะยาวเหยียดเนี่ยจะจริงรึเปล่า แต่นี่เป็นแค่ความคิดเห็นของเราเท่านั้น

0
numaleeko 20 ก.ค. 49 เวลา 21:53 น. 2

- -" อันนี้ก็ไม่ทราบค่ะ ขอโทษทีเรานึกว่าจะบอกว่าทำไม แฮะๆ เราว่าคงเป็นแหล่งอาหาร หรือมีสารอะไรซักอย่างนึงแหละค่ะ(ไปแนวทางวิทยาศาสตร์)


PS.  รักในหลวงค่ะ "ทำความดีเทิดไท้องค์ราชัน" กันนะคะ
0
จอมนางรอมแพง 20 ก.ค. 49 เวลา 22:34 น. 3

ชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่า Firefly และมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น แมงแสง แมงคาเรือง แมงทิ้งถ่วง และ แมงหิ่งห้อย เป็นต้น หิ่งห้อยจัดเป็นแมลงจำพวกด้วงที่ลำตัวอ่อนและปีกอ่อน มีอวัยวะที่ทำให้เกิดแสง สามารถกระพริบแสงระยิบระยับ สร้างความสวยงามให้กับธรรมชาติในยามค่ำคืน และยังเป็นแมลงที่มีประโยชน์ในด้านชีวภาพและระบบนิเวศด้วย โดยหิ่งห้อยในระยะที่เป็นตัวหนอนจะกินหอยเล็กๆ เป็นอาหาร ซึ่งหอยเหล่านั้นหลายชนิดเป็นพาหะนำโรคมาสู่คนและสัตว์ได้ เช่น โรคพยาธิใบไม้ลำไส้ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้ความหลากหลายของหิ่งห้อยยังเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมได้ด้วย กล่าวคือแหล่งที่มีหิ่งห้อยอาศัยอยู่แสดงว่าบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์ ปราศจากมลภาวะต่างๆ

หิ่งห้อยทั่วโลกนั้นคาดว่ามีอยู่ประมาณ 2,000 ชนิด แพร่กระจายอยู่ทั่วทุกทวีป แต่พบมากในบริเวณเขตร้อนชื้น ยกเว้นในเขตทะเลทรายซึ่งไม่พบว่ามีหิ่งห้อยอาศัยอยู่ สำหรับประเทศไทยการศึกษาเกี่ยวกับหิ่งห้อยยังมีอยู่น้อยมาก ทั้งที่หิ่งห้อยเป็นแมลงที่คนไทยทั่วไปรู้จักกันดี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 เป็นครั้งแรกที่มีการจับหิ่งห้อยมาจำแนกชนิด โดยหิ่งห้อยตัวแรกที่พบและมีหลักฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์แมลง กองกีฏและสัตว์วิทยา กรมวิชาการเกษตร มีชื่อว่า Luciola substriata Gorham ซึ่งผู้วิจัยเป็นชาวอังกฤษที่เข้ามารับราชการในกระทรวงเกษตราธิการในสมัยนั้น ประเทศไทยยังไม่เคยมีการสำรวจอย่างจริงจังถึงความหลากหลายของชนิดพันธุ์และนิเวศวิทยาของหิ่งห้อย ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2539 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเปิด สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และมีพระราชเสาวนีย์ ความว่า “หิ่งห้อย เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของป่าและธรรมชาติ ให้สวนพฤกษศาสตร์ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของพรรณไม้ป่ากับหิ่งห้อยให้ทราบครบวงจรชีวิต” และสมเด็จฯ ทรงให้ทางสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์เป็นผู้ประสานงานรวบรวมผู้ X วชาญสาขากีฏวิทยาในเมืองไทยจากหลายสถาบัน เพื่อดำเนินงานสำรวจและศึกษาวิจัยให้ได้ผลสนองตามพระราชประสงค์ ภายใต้โครงการรวมที่ชื่อว่า “โครงการศึกษาความหลากหลายและนิเวศวิทยาของหิ่งห้อยในประเทศไทยในพระราชดำริ” ซึ่ง ผศ.ดร.ยุพา หาญบุญทรง จากภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหนึ่งในคณะกรรมการของโครงการฯ และเป็นหัวหน้าโครงการ การศึกษาความหลากหลายและนิเวศวิทยาของหิ่งห้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในพระราชดำริ ซึ่งได้เริ่มศึกษาเรื่องหิ่งห้อยมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของชนิด และแหล่งที่อยู่อาศัยของหิ่งห้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนการศึกษาความสัมพันธ์ของหิ่งห้อยกับระบบนิเวศ รวมทั้งปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการขยายพันธุ์ การเจริญเติบโต วงจรชีวิตของหิ่งห้อย เพื่อเป็นแนวทางในการเพาะเลี้ยงหิ่งห้อยสำหรับการขยายพันธุ์และการอนุรักษ์หิ่งห้อยต่อไป จากการสำรวจและรวบรวมชนิดของหิ่งห้อยจากพื้นที่ต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบหิ่งห้อยทั้งชนิดตัวเต็มวัยและหนอนจำนวน 21 ชนิด จาก 7 สกุล โดยสามารถจำแนกหิ่งห้อยตามแหล่งอาศัยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหิ่งห้อยที่อาศัยใกล้แหล่งน้ำ โดยมีวงจรชีวิตช่วงหนึ่งในระยะตัวหนอนอาศัยอยู่ในน้ำ มักพบในบริเวณแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ไม่ถูกรบกวน สภาพบริเวณร่มรื่น และอีกกลุ่มเป็นหิ่งห้อยชนิดที่อาศัยตามพื้นดินที่แห้ง มีใบไม้และต้นไม้ระดับล่างที่เป็นพุ่มเป็นจำนวนมาก

ผลการศึกษาอาหารของหิ่งห้อย พบว่า หิ่งห้อยตัวเต็มวัยไม่กินอาหารเพียงแต่กินน้ำหรือน้ำค้างที่เกาะอยู่ตามใบไม้ ส่วนตัวหนอนเป็นตัวห้ำ (Predator) กินสัตว์เล็กๆ เป็นอาหาร แตกต่างกันไปในหิ่งห้อยแต่ละชนิด ได้แก่ หอยต่างๆ กิ้งกือ ไส้เดือน และแมลงตัวเล็กๆ บนดิน เช่น หิ่งห้อยสกุล Rhagohthalmus ตัวเมียมีลักษณะเป็นตัวหนอนกัดกินกิ้งกือเป็นอาหาร ส่วนหิ่งห้อยสกุล Stenolecadius ตัวหนอนกินไส้เดือนดินเป็นอาหาร อย่างไรก็ตามอาหารส่วนใหญ่ของหิ่งห้อยนั้น เป็นพวกหอยชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำและตามดินที่ชุ่มชื้น เช่น พวกหอยคัน หอยเชอรี่ เป็นต้น ส่วนการศึกษาความสัมพันธ์ของพืชอาศัยและชนิดของหิ่งห้อยนั้น พบว่า หิ่งห้อยไม่มีความเฉพาะเจาะจงที่เกาะอาศัยต่อพืชชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น ในเวลากลางวันหิ่งห้อยหลบซ่อนตัวอยู่ตามพงหญ้าหรือวัชพืชในที่ชื้นแฉะหรือหลบตามกาบไม้ ซอกไม้ต่างๆ ในเวลากลางคืนจึงบินออกมาจับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่ พืชอาศัยที่พบหิ่งห้อยแบ่งเป็นสามประเภท ได้แก่ พืชน้ำ เช่น สาหร่ายต่างๆ สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายพุงชะโด ธูปฤาษี แหนเป็ด เป็นต้น ไม้ยืนต้นหรือพืชที่สามารถให้ร่มเงาต่างๆ เช่น กระถินเทศ ต้นไผ่ พุทรา ลำพู เป็นต้น และวัชพืชต่างๆ ที่ขึ้นอยู่บริเวณแหล่งน้ำ เช่น หญ้าคา ผักบุ้ง ไมยราบ สาบเสือ หญ้างวงช้าง และหญ้าชันอากาศ เป็นต้น

วงจรชีวิตของหิ่งห้อยมี 4 ระยะด้วยกันคือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน ระยะดักแด้ และตัวเต็มวัย เมื่อหิ่งห้อยตัวเต็มวัยผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่บริเวณโคนต้นพืชหรือหญ้าบนบกหรือในน้ำ ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ของหิ่งห้อย ไข่ของหิ่งห้อยทั่วๆ ไปมีสีเหลือง ลักษณะกลมรี วางไข่เป็นฟองเดี่ยวหรือกลุ่มตั้งแต่ 5-130 ฟอง ระยะเวลาในการเจริญเติบโตจากระยะไข่ถึงระยะตัวเต็มวัย ใช้เวลาตั้งแต่ 3-4 เดือนจนถึง 1 ปี แตกต่างกันไปตามชนิดของหิ่งห้อย

การศึกษาความหลากหลายทางชนิดพันธุ์และนิเวศวิทยาของหิ่งห้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในภาพรวมทั้งประเทศไทยได้ทำการศึกษามาแล้ว 4 ปี นับว่า มีความก้าวหน้าไปมาก ทำให้ได้ทราบองค์ความรู้ใหม่ๆ มากมาย เกี่ยวกับหิ่งห้อยในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการวิจัยเพาะเลี้ยง ซึ่งจะนำไปสู่การขยายพันธุ์ในห้องปฏิบัติการแล้วนำกลับสู่สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่ออนุรักษ์ชนิดพันธุ์ต่างๆ ของหิ่งห้อยให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติต่อไป นอกจากนี้องค์ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศของหิ่งห้อยนั้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปัจจุบันมีหลายสถานที่ในภาคกลาง ที่ชาวชุมชนพื้นที่นั้นๆ จัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศล่องเรือดูความสวยงามของหิ่งห้อยในยามราตรี เช่น อำเภอโพธาราม จังหวัดสมุทรสงคราม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ทางคณะผู้วิจัยคาดว่าในอนาคตจะสามารถจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์เพื่อชื่นชมความสวยงามของแสงหิ่งห้อยยามค่ำคืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



แหล่งที่มา วารสารโลกสีเขียว ฉบับเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2540

0
faery 20 ก.ค. 49 เวลา 22:52 น. 4

มิน่าล่ะบ้านเราหิงห้อยบินกันให้ว่อนเลย ก็มีทุกอย่างที่มันชอบนี่เล่า


PS.  .....สิ่งที่ดูเหมือนจริง.....บางครั้งอาจไม่ใช่ความจริง...
0
Robin 21 ก.ค. 49 เวลา 22:02 น. 6

ถ้าเป็นตามตำนาน หิ่งห้อยคือวิญญาณของชายหาปลา นางลำพูเมียของเขาตกน้ำตายไป ชายหาปลาจึงจุดโคมเที่ยวตามหาวิญญาณของนางลำพู หิ่งห้อยจึงมาเกาะที่ต้นลำพูครับ



ซาบซึ้งใจดีนะ

0
เกือบลำบากแว้ว 12 ต.ค. 51 เวลา 20:11 น. 7

ขอบคุนความคิดเห็นที่ 3 มากคะ เมื่อกี้เพิ่งจับหิ่งห้อยได้ คิดว่าจะเลี้ยงดีมั้ย เลยมาหาข้อมูลในเนต หลังอ่านความคิดเหนที่ 3 แล้ว สรุปว่าเอามันไปปล่อยดีกว่า เฮ้อ ท่าทางยุ่งยากมาก การเลี้ยงอ่า

0