Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

น้ำส้ม: ประโยชน์ใหม่ที่เพิ่งค้นพบ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


น้ำส้มผลไม้เกลื่อนตลาดอย่างส้มนี่ ใครจะคิด บ้างนะครับว่า ยังมีอะไรดีซุกซ่อนหลงเหลืออยู่ เป็นปริศนาให้ค้นหาคําตอบกันอีก อ่านเรื่องนี้จบแล้ว คุณอาจต้องรีบเดินไปเปิดตู้เย็น แล้ว คว้าน้ำส้มคั้นบรรจุขวดมาดื่มอย่างราวกับไม่มี วันพรุ่งนี้ ทีเดียว หรือถ้าคุณเป็นคนนิยม “ของจริง” ก็คงจะคั้นน้ำส้มเอง กับมือเพื่อดื่มอย่าง ภาคภูมิใจ

ผลไม้ในตระกูลส้ม ไม่ว่าจะเป็นส้มบางมด (ถ้า ยังมีพันธุ์แท้หลงเหลืออยู่) ส้มโอ ส้มเช้ง ส้มแมนดาริน และ ฯลฯ ล้วนเป็นส่วนประกอบสําคัญในอาหารประจําวันของเรา มาแต่ครั้งโบร่ำโบราณ คุณประโยชน์หลักของผลไม้ในกลุ่มนี้ เด็กประถมคงตอบได้สะดวกปาก โดยไม่ต้องหยุดคิดว่าคือ วิตามินซี ทว่า องค์ประกอบ อื่นๆ อาทิ ธาตุโพแทสเซียม กรดโฟลิก สารเพ็กทิน และเส้นใยอาหาร ที่เราได้รับจากการทานส้ม ต่างก็ล้วน เป็นสิ่งสําคัญตอ สุขภาพพลานามัยของเราไม่ยิ่งหย่อน ไปกว่ากัน

ไม่นานมานี้เองนะครับ ที่เราเพิ่งคั้น และค้นพบกันว่า มีสารธรรมชาติพิเศษ อีกกลุ่มหนึ่งในน้ำส้มที่เชื่อกันว่า อาจมีผลดีต่อสุขภาพของเราอย่างมหันต์ สารดังกล่าว มีชื่อว่า ไลมอนอยด์ (limonoids) แอ่น แอ๊น (สเปเชียลเอ็ฟเฟ็กซ์ แฮ่ะ แฮ่ะ)

สารกลุ่มไลมอนอยด์เนี่ย เป็นสารประกอบทางชีววิทยาที่พบเป็นปริมาณมาก ในผลไม้ตระกูลส้ม และมีฤทธิ์นานาประการ รวมทั้งมีผลเป็นสารต่อต้านมะเร็งด้วย ในการทดลองกับเซลล์มะเร็งของมนุษย์ และเซลล์เนื้องอกในสัตว์ทดลองพบว่า สารดังกล่าวนี้มีประสิทธิภาพในการสู้รบ กับมะเร็งในช่องปาก คอ ปอด กระเพาะอาหาร ลําไส้ ผิวหนัง ตับ และเต้านม พูดง่ายๆ ก็คือ ปราบมะเร็งร้ายเกือบทุกชนิดเลยทีเดียว ไลมอนอยด์จัดเป็นสารประกอบในกลุ่มไตรเทอปีนอยด์ซึ่งมีออกซิเจนเกาะ พะรุงพะรังไปหมด โดยพบอยู่เฉพาะในพืชสองตระกูล เท่านั้น คือ พืชตระกูลส้ม และตระกูลมะฮอกกานี ในธรรมชาติ สารดังกล่าวทําหน้าที่ป้องกันพืชจากบรรดาศัตรูที่มุ่งร้าย ตัวอย่างง่ายๆ ที่ชาวไร่ชาวสวน ใช้ประโยชน์กันอยู่แล้ว ก็คือสารประเภทไลมอนอยด์ซึ่ง สกัดจากพืชในกลุ่มสะเดา (Neem) ซึ่งก็เป็นพืชที่อยู่ในตระกูลมะฮอกกานีนะครับ

จากอดีตจนถึงราวปี 2533 การค้นคว้าเรื่องสารไลมอนอยด์ในพืชตระกูลส้ม มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลของสารชนิดนี้กับกลิ่นรสของผลไม้ เนื่องจากผลไม้ ตระกูลส้มบางชนิดมีรสขมจัด หลังจากผ่านกรรมวิธี ต่างๆ หรือผ่านการแช่แข็ง หรือได้รับความบอบช้ำจากการขนส่ง สารไลมอนินซึ่งเป็นไลมอนอยด์ชนิดหนึ่ง เป็นสารสําคัญหรือเป็นสารตัวการก็ว่าได้ที่ทําให้เกิดรสขมที่ว่านี้ ฉะนั้น หลังจากทราบต้นสายปลายเหตุ ของการเกิดสารชนิดนี้แล้ว จึงมีการศึกษากระบวนการ ทางชีวเคมีอันก่อให้เกิดสารดังกล่าวนี้ ไม่นานต่อมา ก็มีการค้นพบอนุพันธ์แบบ ไร้รสขมของสารดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ดี มิใช่ว่าพืชตระกูลส้มทุกชนิดสามารถ ผลิตอนุพันธ์ไร้รสขมได้หมดเสียเมื่อไหร่ พืชหลายชนิด ผลิตได้เชื่องช้าเอาเสียจริง หนําซ้ำพออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่สะดวกสบาย อย่างในสภาพแช่แข็ง ก็พาลหยุดสร้างสารแบบที่ว่าเสียเฉยๆ (จะโทษกันได้ยังไง ล่ะครับ)


โครงสร้างของสารไลมอนิน สารในกลุ่มที่อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งมีอยู่ในน้ำส้ม


ในพืชตระกูลส้มบางชนิด ความเข้มข้นของอนุพันธ์ไร้รสขมของสารไลมอนอยด์ มีมากเป็น 150 เท่า ของสารไลมอนอยด์แบบรสขมเสียอีก น้ำส้มที่วางขาย กันในตลาด (ต่างประเทศ) มีปริมาณไลมอนอยด์แบบไร้รสขม ประมาณ 320 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งเป็นปริมาณที่ไล่เลี่ยกับปริมาณวิตามิน ซี ส่วนไลมอนอยด์แบบรสขมมีแค่ 3 ส่วน ในล้านส่วนเท่านั้น คงไม่ต้อง บอกนะครับว่าปริมาณของสารดังกล่าวในผลไม้สดนั้น สูงกว่านั้นอยู่แล้ว แค่กากที่เหลือจากการคั้นน้ำส้มก็พบว่ามีราว 3,000 ส่วนในล้านส่วน หรือ 0.3 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว แต่ถ้าจะพูดถึงแหล่งของสารไลมอนอยด์ ก็ต้องยกให้เมล็ดแห้ง เพราะปรากฏว่ามีอยู่ประมาณ หนึ่งถึงสองเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และมีอนุพันธ์ ของมันราว 0.6%

แล้วเป็นไงมาไงถึงได้คิดกันตกว่าสารประเภทนี้มีคุณสมบัติต้านทานมะเร็งได้ คําตอบก็คือ โครงสร้างทางเคมีของสารกลุ่มนี้ คล้ายคลึงกับโครงสร้างทางเคมี ของสารอื่นๆ ที่เราพบว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้ ซึ่งโดยมากมีคุณสมบัติในการกระตุ้น ให้ตับสร้างเอ็นไซม์ ชื่อ จีเอสที (GST = Glutathione S-transferase) อันเป็นอาวุธที่ ร่างกายผลิตขึ้นเพื่อต่อสู้กับสารที่ก่อให้เกิด มะเร็ง เมื่อทดลองโดยใช้สารไลมอนอยด์ก็พบว่า สารดังกล่าวกระตุ้นให้มีการสร้างเอ็นไซม์จีเอสทีในตับเพิ่มขึ้นได้จริงๆ แสดงว่า สารดังกล่าวน่าจะมีผลในทางบวกกับการยับยั้งเซลล์มะเร็ง การทดลองครั้งหนึ่งในญี่ปุ่น แสดงให้เห็นว่า สารกลุ่มนี้ป้องกันหนูทดลองจากมะเร็งในลําไส้ได้ นอกจากนี้ ก็มีการทดลองอื่นๆ ที่ชี้ให้เห็นว่าสารดังกล่าวป้องกันมะเร็งในช่องปากและคอของสัตว์ทดลอง ส่วนอนุพันธ์ไร้รสขมก็มีฤทธิ์ทํานองเดียวกันแต่อ่อนกว่าเท่านั้น แล้วยังทดลองพบอีกด้วยว่า ไม่จําเป็นต้องฉีดหรือกินสารไลมอนอยด์และอนุพันธ์ไร้รสขมในรูปยาเม็ดแต่อย่างใด แค่ดื่มน้ำส้มที่มีสารดังกล่าวอยู่ก็ต่อสู้กับเซลล์มะเร็งได้แล้ว ซึ่งก็แสดงว่า หลังจากดื่มเข้าปาก ร่างกายสามารถดูดซึมและขนส่งสารประกอบดังกล่าวนี้ ไปยังแหล่งที่อยู่ของมะเร็งได้ ฉะนั้น คงเป็นไปได้ที่เราจะได้รับประโยชน์จากสารดังกล่าว ด้วยการปอกส้มเข้าปากง่ายๆ นี่แหละ ไม่ต้องไปหา ซื้อยาเม็ดราคาแพงสั่งตรงจากประเทศ มะกันมะเกลือ ที่ไหน

การทดลองกับเซลล์มะเร็งเต้านมของมนุษย์ใน หลอดทดลอง ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สารไลมอนอยด์อาจมีคุณสมบัติในการบําบัดมะเร็งในมนุษย์ได้ และมีผลไม่แพ้ยา แทม็อกซิเฟน (tamoxifen) อันเป็นยาที่มีชื่อ กระฉ่อนในการบําบัดมะเร็งที่ขึ้นกับ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ส่วนผลที่มีต่อมะเร็งซึ่งไม่ขึ้นกับระดับ ฮอร์โมนเอสโตรเจนนั้น กลับดีกว่าแทม็อกซิเฟนเสียอีก กล่าวคือ อนุพันธ์ไร้รสขม มีประสิทธิภาพในการบําบัดดีเป็น 100 เท่า ของแทม็อกซิเฟนทีเดียว

ที่สําคัญยิ่งอีกอย่างก็คือ คงไม่น่าจะเป็นไปได้ ที่สารไลมอนอยด์และอนุพันธ์ จะมีผลกระทบร้ายแรงกับเราหลังจากใช้เพื่อการบําบัดมะเร็งระยะยาว ทั้งนี้ เพราะผลไม้ตระกูลส้มเป็นส่วนหนึ่งในอาหารของ มนุษย์เรามาหลายศตวรรษ เต็มทีแล้ว แต่นักวิจัยเองก็หวั่นนิดๆ กับข้อวิตกนี้เหมือนกัน ทว่าเมื่อให้หนูทดลอง ดื่มน้ำส้มในปริมาณซึ่งเทียบเท่ากับที่เราดื่ม 20 แก้วต่อวัน ก็ไม่เห็นว่า หนูทดลองจะป่วยไข้แต่อย่างใด (ยกเว้นฉี่บ่อยๆ เท่านั้นแหละครับ ตรงนี้ผมคิดเอาเอง ตามประสาเด็กฉลาด)

น้ำส้มผสมอนุพันธ์ไร้รสขมที่มีวางขาย


น้ำส้มที่มีการเติมสารไลมอนอยด์ที่มีวางขายบ้างแล้ว


ถึงแม้สารดังกล่าวจะมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย แต่สําหรับวงการอุตสาหกรรม ผลิตน้ำส้มคั้นแล้ว สารที่ว่ายังเป็นเพียงแค่ผลพลอยได้มูลค่าต่ำไม่คุ้มกับการ ผลิต จําหน่ายอยู่ดี โดยปกติ กากที่ได้จากการคั้นน้ำส้ม จะผ่านขั้นตอนอีกนิดหน่อยเท่านั้น ก่อนนําไปใช้เลี้ยงสัตว์ เมื่อมองดูความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ของส้มกับปริมาณ ของอนุพันธ์ไร้รสขม โดยใช้ส้มแมนดารินเป็นตัวอย่าง จะเห็นว่าส้มชื่อจีนนี้มี อนุพันธ์แบบไร้รสขมอยู่ราว 500 กรัม ต่อส้ม 1,000 กิโลกรัม (ไม่รวมเมล็ด) อย่างไรก็ตามหลังจากผ่านขั้นตอนการคั้นแล้ว หัวน้ำส้มที่ได้มีอนุพันธ์แบบไร้รสขม อยู่ประมาณ 24% เปลือกแห้งมี 36% ส่วนของเหลวข้นที่เป็นผลพลอยได้มี 18%

แต่ความที่หลักฐานจากการวิจัย ชี้ให้เห็นคุณสมบัติต่อต้านมะเร็งอย่าง น่าเลื่อมใส ความสนใจในการนําสารประกอบดังกล่าวมาใช้ในการผลิตยา บําบัดมะเร็ง และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจึงเริ่มก่อตัวมากขึ้นพอสมควร หากมีผู้สนใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็เชื่อแน่ว่าจะ เป็นพลังผลักดันให้ต้นทุนการผลิต ต่ำลง แล้วอีกไม่นานนัก เราอาจเห็นน้ำส้มที่ผู้ผลิตเติมสารไลมอนอยด์เพิ่มเข้าไป วางจําหน่ายในตลาดให้หาซื้อกันได้ จากการศึกษาด้านการตลาดที่ญี่ปุ่น

ผู้ผลิตน้ำส้มคั้นรายหนึ่งเติมอนุพันธ์ไร้รสขมเข้าไปในน้ำส้มแมนดาริน เป็นปริมาณห้าเท่า ของปริมาณที่มีในธรรมชาติ แล้ว พบว่าน้ำส้มนั้นก็ยังมีสี กลิ่น และรสไม่ผิดกับน้ำส้ม ที่ไม่มีการปรุงแต่งแต่อย่างใด หนําซ้ำลูกค้าก็ไม่ติสักนิดเดียว ส่วนในสหรัฐฯ นั้น ผู้ผลิตหลายรายก็แสดงความสนใจที่จะผลิตสารประเภทนี้ในรูปสารเสริมอาหาร และกําลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาด้านกรรมวิธีการสกัดสารดังกล่าวเหมือนกัน

แม้ว่าหลักฐานในด้านการเป็นสารต่อต้านมะเร็งของสารดังกล่าวนั้น น่าทึ่งอยู่ไม่น้อย แต่ก็ยังไม่มีการ ศึกษาเรื่องประโยชน์ของมันที่มีต่อสุขภาพของเราจากการรับประทานผลส้มสด ทั้งนี้เพราะยังไม่มีข้อมูลใดๆ ที่บอกเราว่าร่างกายของเราย่อยสารดังกล่าวในกระบวนการ ทางชีวเคมีอย่างไร

ไม่ว่าผลการศึกษาเพิ่มเติมในด้านนี้จะลงเอยในรูปใด ความที่สารดังกล่าวหาได้ไม่ยากเย็น ฉะนั้น ถึงจะมีผลดีไม่เท่ากับยาที่เราสังเคราะห์ขึ้นมา ก็ยังถือว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพของเราอยู่ดี แต่ในทางตรงกันข้าม หากพบว่าสารชนิดนี้มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งหรือบําบัดมะเร็ง ก็เชื่อขนมป้าปากซอยกินได้เลยว่า ส้มจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจในอีกระดับหนึ่ง และผลพลอยได้จากส้มจะเป็นแหล่งผลิตยาป้องกันมะเร็งที่ดีเยี่ยม อันจะเป็นการเปลี่ยนโฉม ของอุตสาหกรรมผลพลอยได้จากส้ม จากที่เคยเป็นแค่การผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์ มาเป็น เภสัชภัณฑ์สําหรับรักษา หรือป้องกันโรคซึ่งคุกคามเรามานาน อ่านเรื่องนี้จบแล้ว น่าสงสัยนะครับว่า ส้มไทยๆ ของเรามีสารไลมอนอยด์ อยู่ในปริมาณมากเพียงใด

เรียบเรียงจาก Squeezing more from citrus fruits โดย Gary D Manners และ Shin Hasegawa จากวารสาร Chemistry&Industry ฉบับวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 542-546


http://update.se-ed.com/citrus.htm

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น