Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

8 ทศวรรษ... นางสาวเชียงใหม่ เอื้องฟ้าแห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

8 ทศวรรษ... นางสาวเชียงใหม่

" Beauty Queen of Orchid "

2477 - 2549

เอื้องฟ้า … เวียงพิงค์

คลื่นดอกงามใส บนแผ่นดินสวย         ถิ่นเหนืองดงามตระการตา ภาพในใจ

แดนถิ่นดอยสูง คือโลกฝันที่ยิ่งใหญ่       งามหมู่มวลดอกไม้และผู้คน

เอื้องดอกงามนี้มีใจเปี่ยมฝัน    สร้างสรรค์โลกงดงามให้ผองชน

เป็นดวงดาวสดใส ส่องพราวฟ้าเบื้องบน    เป็นสายชลที่หยั่งพฤกษ์ให้ยล

ขุนเขาสูง เสียดฟ้า ท้าทาย    ให้เธอนั้นก้าวไปไม่หวั่นเกรง

สุดขอบฟ้าที่ท้าหัวใจเก่ง     ยากเพียงใดตั้งใจ หมายมุ่งตรง

เอื้องดอกพราวสวย ก้าวสู่ทางฝัน   และก็ขอจงฝ่าฟันด้ยใจที่มั่นคง

นางสาวเชียงใหม่คือศักดิ์ศรีสตรีที่สูงส่ง     เอื้องงามที่ยังคงคุณค่าความงาม

นางสาวเชียงใหม่ 70 ปี ศักดิ์ศรีที่สูงส่ง       เอื้องงามที่ยังคงคุณค่าความงาม

                                                                      

เนื้อร้องและทำนองโดย อ.สุพจน์ สุขกลัด

 

การจัดประกวดสาวงาม สู่...นางสาวเชียงใหม่  ยุคที่ 1 ปี 2477-2483

เวทีการประกวดความงามของสาวงามเชียงใหม่นั้นสืบสาวไปได้ราวปี 2473 ในงานรื่นเริงฤดูหนาวของจังหวัดเชียงใหม่ ณ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่ ในขณะนั้น มีการประกวดสาวงามประจำท้องถิ่นโดยใช้ชื่อการประกวดว่า “นางงามประจำร้าน” (พระยาอนุบาลพายัพกิจ. หอจดหมายเหตุจังหวัดเชียงใหม่, หน้า318)  กระทั่งต่อมา ในปี พ.ศ.2475 ประเทศไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก ในยุคนั้น งานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญจะมีบทบาทต่อสังคม ประชาชน อย่างมาก ในพระนครจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองขึ้นในช่วงประมาณวันที่ 8-12 ธันวาคม ของทุก ๆ ปี

ทั้งนี้ในปี พ.ศ.2477 คณะกรรมการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญมีความประสงค์ที่จะสร้างสีสันและดึงดูดความสนใจจากประชาชนให้มาร่วมงานมากขึ้น จึงได้จะการประกวดนางงามขึ้นภายในงานฉลองรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดชื่อของการประกวดว่า “นางงามสยาม” ทั้งนี้ ในปีเดียวกันนี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้จัดงานรื่นเริงเพื่อเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญขี้นบ้าง โดยจัดให้มีการออกร้านของหน่วยงานราชการและเอกชนต่าง ๆ มากมาย พร้อมกันนั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อการประกวดนางงามภายในงาน จากนางงามประจำร้าน เป็นการประกวดนางงามเชียงใหม่ ในปีนั้น มีสาวงามจากอำเภอต่าง ๆ ให้ความสนใจเข้าร่วมประกวดอย่างคึกคัก ในยุคนั้นผู้เข้าประกวดส่วนใหญ่มักจะมีอายุเพียง 16-17 ปี เท่านั้น มีการประกวดเพียงวันเดียว ไม่มีการคัดเลือกเป็นรอบๆ ดังเช่นสมัยนี้ การแต่งกายใส่ผ้าถุงห่มสไบ ไม่มีการแต่งหน้า ทำผม ไม่ใส่รองเท้า ต้องเดินเท้าเปล่า เกณฑ์การตัดสินจะดูหน้าตาและวัด X ส่วนเท่านั้น  
  หลังจากที่ได้รับตำแหน่ง นางงามเชียงใหม่ จะได้รับเงินรางวัล 100 บาท ในปีแรก ๆ รางวัลที่ได้รับจะเป็นเพียงสายสะพายประจำตำแหน่ง และขันน้ำพานรอง เท่านั้น โดยผู้ที่มอบรงวับ คือ ราชบุตร ณ เชียงใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 จึงได้เริ่มมีมงกุฎเป็นรางวัล ในการประกวดนางงามเชียงใหม่ โดยมีลักษณะเป็นแถบผ้ากำมะหยี่สีดำ ปักด้วยดิ้นเวลาสวมก็จะใช้ติดตะขอด้านหลัง มงกุฎนี้จะให้ผู้ดำรงตำแหน่งนางงามเชียงใหม่ครองเพียง 6 เดือน เท่านั้น จากนั้นจะต้องส่งมอบให้กับนางงามเชียงใหม่คนต่อไป ซึ่งมงกุฎปรากฏว่ามีผู้ที่ครอบครองอยู่เพียง 2 ท่านเท่านั้น คือ นางสาวบัวแก้ว  อินทร์สุวรรณ นางงามเชียงใหม่ปี 2483 และนางสาวลมุน   พันธ์มินทร์ นางงามเชียงใหม่ปี 2484 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นจึงต้องงดการประกวดไป

นางสาวเชียงใหม่

ยุคที่ 2 พ.ศ. 2492-2513

หลังจากหยุดการประกวดนางงามเชียงใหม่ไปเกือบ 10 ปี มีการรื้อฟื้นการประกวดขึ้นมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2492 และมีการเปลี่ยนชื่อในการประกวดจากนางงามเชียงใหม่ เป็นนางสาวเชียงใหม่แทน

 
 

โดยมีสางงามจาก อ.สันกำแพง  นางสาวสุมิตรา   กัญชนะ เป็นผู้คว้าตำแหน่งนางสาวเชียงใหม่คนแรกในยุคที่สาองนี้ไปครอง การประกวดในปีนั้นถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก จนต้องขอความร่วมมือจากนางงามและคณะกรรมการว่าให้มีการประกาศผล 2 รอบ เพราะมีผู้ชมบางส่วนไม่สามารถเข้าไปชมในรอบแรก ต้องการจะดูรอบตัดสินอีกครั้ง (พลเมืองเหนือ ฉบับประจำวันที่ 15-21 ก.ย. 2546 หน้า 8-9) การคัดเลือกสาวงามในยุคนี้ ช่วงแรกยังคงจัดขึ้นที่หอประชุมโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย มีการจัดเวทีเป็นรูปตัวที ประธานการดำเนินงาน คือ คุณชาย  บุนนาค  ผู้จัดการธนาคารออมสิน  มีวงดนตรีเล่นเพลงประกอบการเดิน ส่วนมากใช้วงดนตรีของธนาคารออมสิน ซึ่งโด่งดังมากในสมัยนั้น เล่นเพลงนางฟ้าจำแลง ลีลาการเดินนิยมเดินแบบช้า (แบบสโลโมชั่น)

 เพลงที่ใช้ก็ดัดแปลงให้ช้าลง ให้เข้ากับจังหวะการเดิน ผู้เข้าประกวดจะคัดเลิกเป็นรอบ ๆ รอบสุดท้ายเหลือ 3 คน จะมีการซ้อมเดินในตอนกลางวัน จึงต้องมีลูกเสือเดินถือร่มตาม ส่วนชุดที่ให้เดินเป็นชุดว่ายน้ำทั้งหมด โดยในสมัยนั้นจะเรียกว่า “ชุดอาบน้ำ” เป็นลักษณะชุดกระโปรง สั้น รัดรูป ผูกคอ และมีกางเกงอยู่ในข้างในอีกหนึ่งตัว ในปีต่อมา หอประชุมคับแคบลง จึงได้ย้ายการประกวดมาประกวดที่สนามฟุตบอลข้างๆ หอประชุมโรงเรียนยุพราช จัดเวทีเป็นรูปเกือกม้า ปีนั้น คุณทิม   โชตนา นายช่างแขวงการทางเชียงใหม่ เป็นประธานการตัดสิน และพระองค์เจ้าพีรพงศ์   ภานุเดช  เสด็จมาดูการประกวดด้วย นอกจากนี้สิ่งที่สร้างความฮือฮาให้การประกวดนางสาวเชียงใหม่ในปีนั้นเป็นอย่างมาก

 
 

 ก็คือ การที่เวทีสร้างอยู่ใกล้กับต้นงิ้ว แต่นายแพทย์อารี  แสงสว่างวัฒนะ ผอ.โรงพยาบาลสวนปรุงในสมัยนั้น เห็นว่าเวทีอยู่ใต้ต้นงิ้วดูไม่ดี เลยขอแก้อาถรรพ์โดยการทำรูปขวานไปสับต้นงิ้วไว้เป็นสัญลักษณ์ว่าไปทำลายหนามงิ้วแล้ว ทำให้คนที่เข้ามาดูการประกวดสงสัย และเป็นที่ฮือฮาอย่างมาก ในปี พ.ศ. 2494 มีการริเริ่มจัดการประกวดนางสาวถิ่นไทยงาม โดยเปิดโอกาสให้สาวงามจาก 8 จังหวัดภาคเหนือ สามารถเข้ามาสมัครได้ เนื่องจากเวทีการประกวดนางสาวเชียงใหม่นั้นจะเปิดรับสมัครเฉพาะผู้ที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น ทั้งนี้ ผู้เข้าประกวดเวทีนางสาวเชียงใหม่สามารถลงสมัครเวทีนางสาวถิ่นไทยงามได้ แต่ผู้เข้าประกวดนางสาวถิ่นไทยงามจะไม่สามารถเข้าประกวดนางสาวเชียงใหม่ หากขาดคุณสมบัติดังกล่าว


ในปี พ.ศ. 2496 ประธานาธิบดี ซูกาโน่ ของฟิลิปปินส์ เยือนประเทศไทย และได้เดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนั้น นางสาวบัวเขียว   โสมนัส ซึ่งเป็นนางสาวเชียงใหม่ ได้ให้การรับรองสร้างความประทับใจแก่ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ยิ่งนัก ซึ่งต่อมาเวลามีพระราชอาคันตุกะหรือแขกบ้านแขกเมืองที่มาเยือนจังหวัดเชียงใหม่ มักจะให้นางสาวเชียงใหม่เป็นผู้ให้การรับรองจนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติและกลายเป็นภารกิจหนึ่งของนางสาวเชียงใหม่ในยุคต่อมา  จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2498 ทางจังหวัดได้ย้ายการจัดงานรื่นเริงฤดูหนาวจังหวัดเชียงใหม่ ไปยังสนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ จึงได้ย้ายเวทีการประกวดนางสาวเชียงใหม่ไปด้วยในช่วงนั้นการประกวดนางสาวเชียงใหม่ ถือเป็นหัวใจสำคัญของงานฤดูหนาว จนเกิดเป็นเรื่องล้อเลียนว่า หากงานฤดูหนาวปีไหนไม่มีการประกวดนางสาวเชียงใหม่ ปีนั้น ประชาชนจะพากันเรียกงานฤดูหนาวว่าเป็น งานปอยหลวงวัดกู่เต้า (นื่องจากสนามกีฬาเทศบาลอยู่ในบริเวณเดียวกับวัดกู่เต้า)

 
 

ลักษณะของการจัดงานจะให้หน่วยงานรัฐ หรือองค์กรต่าง ๆ เช่น สมาคมชมรม สโมสร เข้ามารับผิดชอบจัดงานเป็นปี ๆ ไป โยจะดูแลครอบคลุมทั้งงาน มิใช่แยกเป็นส่วน ๆ ดังเช่นปัจจุบันในส่วนของการจัดการประกวดนางสาวเชียงใหม่จะมีการล้อมรั้วอีกชั้น แล้วขายบัตรให้คนเข้าไปนั่งดู โดยบัตรมี 2 ราคา คือชั้นริงไซด์ จะมีเครื่องดื่มไว้บริการ และชั้นธรรมดา ประกวดกันประมาณ 5-6 คืน (งานฤดูหนาวสมัยนั้นมี 7 คืน) คืนแรกจะเป็นการเดินโชว์ตัว จากนั้นก็จะประกวดกันเป็นรอบ ๆ ไปจนถึงคืนสุดท้ายเป็นการตัดสิน ในส่วนของสื่อก็จะไห้ความสำคัญการการประกวดนางสาวเชียงใหม่อย่างมาก มิใช่เพียงสื่อท้องถิ่นเท่านั้น หากยังรวมถึงสื่อส่วนกลางจากกรุงเทพมหานครอีกด้วย ก่อนการประกวดจะมีการเผยแพร่รูปนางสาวเชียงใหม่มีการเขียนวิพากษ์วิจารณ์ว่าใครเป็นตัวเก็ง ในช่วงของการประกวดก็จะเอารูปนางงามไปลงนสพ.หน้าหนึ่งมีการติดตามการประกวดทุกวัน

สมัยนั้นงานฤดูหนาวของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานที่หนาวจริงๆ หลังเวทีก็จะมีเตาอั้งโล่ให้นางงาม นั่งผิงไฟคลายหนาว ช่างภาพก็จะพยายามเข้าไปถ่ายรูปด้านหลังเวที เป็นการประกวดที่มีบรรยากาศคึกคัก มีการเชียร์ โดยแต่ละอำเภอก็จะพากันมาเชียร์นางงามของตนเอง ขณะนั้นไม่มีนางงามเดินสาย ผู้เข้าประกวดจะเป็นตัวแทนของแต่ละอำเภอ เป็นงานที่มีความสำคัญมากที่สุดของงานฤดูหนาวในช่วงปี 2514 มีการท้วงติงเกี่ยวกับความเหมาะสมของการแต่งกายของผู้เข้าประกวด ที่ต้องใส่ชุดว่ายน้ำเดินประกวด อย่างไรก็ตาม ปีนั้นยังคงมีการจัดการประกวดขึ้น โดยเลี่ยงไปใช้ชื่อการประกวดว่า “ยอดพธูแผ่นดินทอง” และให้ยกเลิกการใส่ชุดว่ายน้ำ โดยใส่ชุดไทยแทนจากนั้น ได้งดการประกวดลงอีครั้งในช่วงปี 2515-2518 และจัดการประกวดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2519 โดยคุณปวีณา   แสงศิริ  สาวงามจากลำพูน เป็นผู้คว้ามงกุฎไปครอง จากนั้นงดการประกวดลงอีกครั้งจนถึงปี พ.ศ. 2526

 
 

ยุคที่ 3 ปี พ.ศ. 2527-ปัจจุบัน

 

                จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2527 มีการริเริ่มจัดการประกวดนางสาวเชียงใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2529 สมัยผู้ว่าชัยยา  พูนศิริวงศ์ ได้ติดต่อไปทางสโมสรไลออนส์เชียงใหม่ โฮสต์ ให้เข้ามาดำเนินการจัดงานฤดูหนาวและกาชาดจังหวัดเชียงใหม่รวมถึงการประกวดนางสาวเชียงใหม่ด้วย ในปีพ.ศ. 2530 ทางกองประกวดได้พาคณะผู้เข้าประกวดเดินทางไปประชาสัมพันธ์การประกวดนางสาวเชียงใหม่ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งก็ได้รับการต้อนรับจากนสพ.ต่างๆ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะนสพ.ไทยรัฐถึงกับเปิดห้องประชุมที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ต้อนรับคณะผู้เข้าประกวดนางสาวเชียงใหม่เป็นคณะแรกเลยทีเดียว ในช่วงนั้น มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ทั้งนี้ เวทีการประกวดนางสาวเชียงใหม่ในขณะนั่นเป็นเวทีที่ยิ่งใหญ่และได้รับความสนใจอย่างมาก เพราะเป็นรองเพียงแค่เวทีนางสาวไทยเท่านั้น



 คอนเซ็ปต์ของการประกวดที่เป็นที่นิยมในช่วงนั้นก็จะเน้นความเป็นล้านนา เอกลักษณ์ของชาวเหนือ ในส่วนของการจัดกิจกรรมต่างๆ ก็มักจะเกี่ยวข้องกับการส่งเสริม วัฒนธรรมประเพณี ของชาวเหนือ ในปี พ.ศ. 2536 เริ่มมีบริษัทจากส่วนกลาง เข้ามาดำเนินการจักการประกวดคือ บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดีย จำกัด ซึ้งหลังจากเสร็จสิ้นการประกวดแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนางสาวเชียงใหม่ในปีนั้น คือ ประภัสสร  บุญญาภรณ์ ก็ได้ทำสัญญา เป็นนักแสดงกับทางบริษัท เป็นเวลา 1 ปี และหลังจากนั่นก็จะมีหน่วยงาน องค์กร หรือบริษัทในท้องถิ่น สลับกับริษัทจากส่วนกลาง เข้ามาดำเนินงาน สมัยก่อนเวทีนางสาวเชียงใหม่ได้รับการออกแบบอย่างสวยงาม อลังการอย่างมาก

 

ส่วนมากเป็นคอนเซ็ปต์เกี่ยวกับ สถานที่ท่องเที่ยวและวัฒนธรรมประเพณีของชาวเหนือ บางปีก็ถึงกับให้นางงามนั่งสะพานลื่นไหลลงมา หรือใช้ไฮโดรลิกหมุนขึ้นมาเพื่อเปิดตัวเลยทีเดียว ผู้จัดให้ความสำคัญกับการจัดงานอย่างมาก เป็นการจำลองแบบ มาจากร้านค้าจริงๆ ใช้เวลาสร้างร่วมเดือนเลยทำเดียว ในช่วงที่ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยนายองค์กรบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายอุดรพันธ์   จันทรวิโรจน์ เข้ามาดูแลการจัดงานนั้น เป็นปีที่ฮือฮาอย่างมาก เนื่องจากการประกวดนางสาวเชียงใหม่ มีการให้เงินรางวัลสูงสุดเป็นประวัติกาล โดยให้เงินรางวัลแก่ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นนางสาวเชียงใหม่ 300,000 บาทพร้อมรถยนต์เก๋งอีก 1 คัน และในปีนั้นมีการเปิดกว้างรับสมัครผู้เข้าประกวดทั่วประเทศ ทำให้มีสาวงามจากที่ต่าง ๆ เข้ามาร่วมประกวดอย่างคึกคัก และมีการถ่ายทอดสด ทางสถานีโทรทัศน์ทีวีสี ช่อง 3 หลังจากที่มีการสร้างศาลากลางหลังใหม่ที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ได้ประมาณ 2 ปี

  ก็มีการย้ายการจัดงานฤดูหนาวไปจัดภายในบริเวณสนามด้านหลังศาลากลางหลังใหม่ เนื่องจากสถานที่จัดงานเดิมนั้นอยู่ในอำเภอเมือง และการจัดงานแต่ละครั้งทำให้สนามกีฬาเสียหาย ยิ่งในช่วงหลังที่เพิ่มการจัดงานจาก 7 วัน เป็น 10 วัน ทำให้เกิคความเสียหายกับสนามกีฬาเป็นอย่างมาก หลังจากเสร็จงานแล้วก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซ่อมแซมสนามกีฬา สูญเสียงบประมาณไปเป็นอันมาก จึงมีความพยายามผลักดันให้มีการย้ายการจัดงานออกไปยังบริเวณด้านหลังศาลากลางและจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และในปี 2549 นี้ 70 กว่าปี แห่งความทรงจำบทบันทึกความงามของเอื้องเหนือกับการประกวดนางสาวเชียงใหม่ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้แนวคิด 70 ปี นางสาวเชียงใหม่ ดอกเอื้องเวียงพิงค์ สายสัมพันธ์แห่งอารยธรรม ดำเนินงานโดย บริษัท แมค มีเดีย เชียงใหม่ จำกัด รับสมัครสาวเหนือ 8 จังหวัด ทั้งนี้ ความพิเศษของเวทีนางสาวเชียงใหม่ปี 2549 นี้
คือการที่ทูลกระหม่อมหญิง อุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงประทานมงกุฎและถ้วยรางวัล ซึ่งเป็นที่น่าภาคภูมิใจและเป็นเกียรติยศอย่างสูงแก่คณะผู้จัดการประกวด และนางสาวเชียงใหม่ ผู้ดำรงตำแหน่งในปี 2549 นี้ โดยจัดให้มีการถ่ายทองสดไปทั่วประเทศทางสถานีโทรทัศน์ ไอทีวี  

ขอขอบคุณ ...

ภาพและข้อมูลโดยกองประกวดนางสาวเชียงใหม่

บริษัท แมคมีเดีย เชียงใหม่ จำกัด



PS.  ++หญิJรักชาE ชาEรักหญิJ หญิJรักหญิJ ชาEรักชาE ไม่ว่าความรักllUUไหu ต่าJก้oรักด้วEหัวใจlหมืouกัaส์ * ปa : จ๊ะใดๆlกาะllวะไปllอ่วไoดีคulมืoJจิ่มlน้olจ้า สาวน้oEล้าuuายิuดีต้ouฮั๊Ulจ้า++

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

แต้ก๊ะจ้าว 17 ธ.ค. 49 เวลา 15:31 น. 1

Please vote

กรุณาโหวตเข้าคลังกระทู้ดีด้วยนะคะ ประวัติการประกวดนางสาวเชียงใหม่ซึ่งมีมานับ 8 ทศวรรษจะได้ปักหมุดเพื่อเป็นความรู้สำหรับเพื่อนๆชาวเด็กดีต่อไปค่ะ

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

.........สาวล้านนาเจ้า..........


PS.  ++หญิJรักชาE ชาEรักหญิJ หญิJรักหญิJ ชาEรักชาE ไม่ว่าความรักllUUไหu ต่าJก้oรักด้วEหัวใจlหมืouกัaส์ * ปa : จ๊ะใดๆlกาะllวะไปllอ่วไoดีคulมืoJจิ่มlน้olจ้า สาวน้oEล้าuuายิuดีต้ouฮั๊Ulจ้า++
0
YosHi 7 ม.ค. 53 เวลา 02:29 น. 3

ชื่อเพลงนี้ ชื่อเพลงอะไรคับ



ผมอยากได้ เพลงนี้ หาได้จากที่ไหนหรอคับ

ใครรู้ช่วยบอกทีนะคับ


อยากได้จิงๆ อ่ะ

E-Mail.KSR_KM1@hotmail.com


ขอบคุณมาล่วงหน้าค๊าบผม ^^1

0