Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คิดยังไงกับ ระบบ " แป๊ะเจี๊ยะ "

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 กุมภาพันธ์ 2550 07:59 น.
       “แป๊ะเจี๊ยะ”
       
       คำ คำนี้อยู่เคียงคู่กับการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นต่างๆ มาอย่างยาวนาน กระทั่งฝังรากลึกและยากยิ่งที่จะขจัดให้พ้นไปจากวงการศึกษาไทยได้


       อย่างไรก็ตาม หลังจากการเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ของ “วิจิตร ศรีสอ้าน” ได้มานานนักคือเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2549 ก็ได้มีการประกาศอย่างจริงจังแข็งขันว่าจะจัดการปัญหาแป๊ะเจี๊ยะให้หมดไปให้ได้
       
       “ปัญหาเงินกินเปล่าหรือแป๊ะเจี๊ยะ เด็กฝาก เด็กเส้นที่มักจะมีข่าวร้องเรียนเข้ามาจะยกขึ้นมาพิจารณาเพื่อชำระให้หมดทั้งระบบ เรื่องแป๊ะเจี๊ยะผมก็ทราบว่ามีมาตลอด บางคนก็พูดเกินจริงหรือปฏิเสธความจริงที่เกิดขึ้น ผมว่าเราต้องเอาความจริงมาพูดกันเสียให้ถูกต้อง เพราะผมก็ไม่ขัดข้องเรื่องการรณรงค์เพื่อระดมทรัพยากรต่างๆ โดยชอบธรรมและต้องบอกให้ชัดเจนว่าเอาเงินไปทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาให้เด็ก ไม่ได้เอาเข้าพกเข้าห่อใครและไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้คนเขา”
       
       นั่นคือคำพูดของ รมว.ศธ. ล่าสุด
       
       นับจากวันนั้น หรือราว 3 เดือนผ่านไป ความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น ปรากฏว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ได้ออกประกาศเรื่องการห้ามรับเงินแป๊ะเจี๊ยะเพื่อแลกกับการให้เด็กเข้าเรียนอย่างเด็ดขาด พร้อมทั้งจัดส่งไปให้กับโรงเรียนยอดนิยม โรงเรียนประจำจังหวัด ตลอดจนโรงเรียนที่ผู้ปกครองสนใจให้ลูกเข้าเรียน รวมทั้งสิ้นกว่า 400 แห่งทั่วประเทศเรียบร้อยแล้ว
       
       คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) สรุปเนื้อหาสั้นๆ แต่ได้ใจความเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า เป็นประกาศที่ห้ามรับแป๊ะเจี๊ยะเพื่อแลกกับการให้เด็กเข้าเรียนอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ ถ้าพบว่าผู้บริหาร หรือบุคลากรในโรงเรียนแห่งใดรับเงินดังกล่าว จะถูกลงโทษตามระเบียบราชการ ตั้งแต่ตักเตือน ตัดเงินเดือน ภาคทัณฑ์ ลาออก ไล่ออก ปลดออก
       
       ทว่า ปัญหาดังกล่าวก็ยังคงดำรงอยู่และมีข้อมูลยืนยันว่า มีการเรียกรับเงินแป๊ะเจี๊ยะในการรับนักเรียนเหมือนเดิมทุกประการโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง
       
       วันนี้พ่อแม่ผู้ปกครองหลายรายที่ลูกอยู่ชั้น ป. 6 กำลังจะขึ้นชั้น ม.1 ต่างเดินก้าวเข้าไปในรั้วโรงเรียน บางรายยกหูโทรศัพท์หาผู้บริหาร หรือสมาคมผู้ปกครองนักเรียน เพื่อจ่าย “แป๊ะเจี๊ยะ” จับจองเก้าอี้ให้ลูกกันเรียบร้อยแล้ว
       
       “นารี” ข้าราชการรายหนึ่งเล่าให้ฟังว่า ครอบครัวของเธออยากเห็นลูกเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงย่านสวนหลวง จึงได้ไปติดต่อกับทางโรงเรียนเสียแต่เนิ่นๆ จะได้มั่นใจว่าลูกมีโอกาสเข้าไปเรียน โดยมีการพูดคุยกันในเบื้องต้นว่าจะจ่ายเป็นค่าบำรุงการศึกษาด้วยยอดเงิน 5 หลักผ่านสมาคม ผู้ปกครอง นักเรียน
       
       ที่สำคัญคือ ตัวเลขนี้คือราคากันเอง หากไม่รู้จักใครในโรงเรียนส่วนใหญ่จะต้องจ่ายหนักถึง 6 หลัก

       “ทุกปีมีเด็กอยากเข้าโรงเรียนนี้กันมาก เพราะเด็กที่ผ่านรั้วแห่งนี้กว่าร้อยละ 80 สอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัยแถวหน้าของรัฐได้ ตรงนี้น่าจะเป็นจุดเด่น จุดขายอย่างหนึ่งให้บรรดาพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่มีบ้านพักอาศัยย่านศรีนครินทร์อยากให้ลูกได้เรียนโรงเรียนแห่งนี้ ประกอบกับสังคมและสิ่งแวดล้อมดี ที่พูดกันปากต่อปากโดยเฉพาะเรื่องการดูแลเด็ก อย่างวันนี้เด็กขาดเรียน 1 วันอาจารย์ประจำชั้นเขาจะโทรศัพท์เช็กกับผู้ปกครองทันทีว่าเด็กป่วยรึเปล่า ทำไมถึงไม่มาโรงเรียน หรือถ้าเด็กป่วยระหว่างเรียนทางโรงเรียนจะพาไปหาหมอและให้นอนพักที่ห้องพยาบาลหรือไม่ก็ให้กลับไปพักผ่อนที่บ้าน การดูแลลักษณะดังกล่าวชนะใจผู้ปกครอง ถ้าลูกอยู่ภายใต้การดูแลที่มีความเข้มงวดกวดขันโอกาสเหลวไหลแทบจะไม่มี ประกอบกับครูผู้สอนจะถ่ายทอดความรู้ให้ลูกศิษย์ชนิดที่ว่าเกือบหมดเปลือก ดังนั้นเด็กที่ผ่านรั้วนี้จึงมีอนาคตสดใส”
       
       ขณะที่พนักงานบริษัทรัฐวิสาหกิจรายหนึ่ง บอกว่า อยากให้ลูกเรียน English Program กับโรงเรียนยอดนิยมย่านเกียกกาย จึงได้เข้าไปสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้เรียน ซึ่งลูกอยู่ในเกณฑ์ที่เจ้าหน้าที่บอก จากนั้นก็ลองเปรยๆ ขึ้นมา ถ้าจะให้ลูกเรียนจะต้องทำอย่างไรบ้าง เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าให้ลองเขียนยอดเงินว่าจะบริจาคให้โรงเรียนเท่าไหร่ โดยเขาบอกเป็นนัยๆ ว่าไม่ต่ำกว่า 6 หลักนะ ก็เขียนไป 1 แสนบาท พอเขาเห็นแผ่นกระดาษที่เขียนยื่นส่งให้ เขาบอกว่าน้อยไปนิดนะคุณแม่
       

       “ครอบครัวของเราสามารถบริจาคให้โรงเรียนได้มากกว่านี้ เพียงแต่จะต้องมีหลักประกันว่ามีเก้าอี้ให้นั่งเรียนแบบชัวร์ๆ หลังจากนั้นระยะหนึ่ง เขาก็ต่อสายถึงผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ซึ่งดูเรื่องเด็ก เขาให้ทิ้งสถานที่อยู่ เบอร์มือถือ ไว้ พร้อมกับบอกว่าช่วงที่มีการรับสมัคร ให้นำเลขที่ถ่ายเอกสารทิ้งไว้กับเจ้าหน้าที่คนแรก และให้ซื้อเช็คของขวัญตามจำนวนเงินที่จะตกลงกันอีกครั้งหนึ่งในภายหลัง”
       
       ...สองกรณีข้างต้นที่นำมาบอกเล่าเพื่อจะสะท้อนให้เห็นว่า วัฒนธรรมแป๊ะเจี๊ยะยังมีอยู่ในสังคม และเกิดขึ้นกับโรงเรียนยอดนิยม โรงเรียนประจำจังหวัดจริง ซึ่งนับวันจะขยายวงกว้างมากขึ้น ไม่ได้ล้มหายตายจากอย่างที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศเอาไว้อย่างใด
       
       ซ้ำร้าย ยังมีข้อมูลด้วยว่า ยิ่งเข้าใกล้วันรับสมัคร วันสอบมากขึ้นเท่าใด ระบบการจ่ายเงินใต้โต๊ะเพื่อแลกกับการที่ลูกได้เข้าเรียนต่อในโรงเรียนที่ต้องการจะยิ่งมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนดังๆ ที่เป็นเป้าหมายของพ่อแม่ผู้ปกครอง
       
       ว่ากันว่า ขณะนี้มีการจ่ายเงินมัดจำล่วงหน้าครึ่งหนึ่งกันไปเรียบร้อยแล้ว
       
       ...หากยังจำกันได้ “รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ” อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเอาไว้ว่า....
       
       “ผมยังไม่เคยเห็นการเมืองปฏิเสธการฝากเด็ก ยิ่งฝากหนักกันทุกคน เกือบทุกระดับการศึกษาแล้ว ผมว่า ไปทำเรื่องอื่นๆ ที่ศ.ดร.วิจิตรมีบารมีและมีความรู้พอที่จะแก้ไขได้เพื่อเป็นกลไกและเงื่อนไขแก้คุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้นกว่าจะไปยุ่งเรื่องที่เป็นวัฒนธรรมมืด ช่วงเวลา 1 ปีน่าจะไปทำอย่างอื่นที่มีความสำคัญเร่งด่วนมากกว่าจะมาเสียเวลาแก้ปัญหานี้ เช่นการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้ ทำอย่างไรให้ครูสอนเรื่องศีลธรรมลงไปในวิถีชีวิตของเด็ก รวมทั้งระบบที่จะรองรับการกระจายอำนาจการศึกษา”
       
       อนึ่ง โรงเรียนทั่วประเทศจะเปิดรับนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 ระหว่างวันที่ 16-20 มีนาคมที่จะถึงนี้

ขอขอบคุณ

ข้อมูลที่มีคุณภาพ
จาก หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ


 มาดู Bg น่ารัก & เพลงเพราะ

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

คนจน 7 ก.พ. 50 เวลา 10:41 น. 1

น่าเบื่อระบบพวกนี้ คนจนเลยไม่มีโอกาส

ที่เราเคยถามๆมาตอนก่อนน้องจะเข้า ม.1

อย่าง พวกโรงเรียนพระเกี้ยว เตรียม พัด เตรียม น้อม บดิน1 หอวังใหญ่

ไม่ต่ำ แสน เซ็งเลย

สวน สตรีวิทย์1 แสนห้า ขึ้น

ถ้ากรอกบริจาคน้อย ก็จะให้ไปอยู่โรงเรียนในเครือ ที่ใกล้ๆ กัน ซึ่งมาตรฐานก็ต่ำกว่า

อย่างบดิน 1 ก็ไป บดิน 3&nbsp อย่างเตรียม น้อม ก็ไป นวมินทร์ เตรียม น้อม

ระบบพวกนี้ต้องกำจัดให้สิ้นซาก

0
เราเซงมาก 7 ก.พ. 50 เวลา 23:40 น. 2

ใช่คร่ะถูกเราไม่อยากให้เป็นอย่างนี้เลย&nbsp เพราะเราก็โดนมาแล้วเหมือนกันน้องชายด้วยอีกคน เพราเรียนไม่ค่อยเก่งแต่ดันอยากเข้าอ่ะ&nbsp  แต่เราไม่อยากให้น้องที่ยังต้องเรียนอีก2คนต้องเสียอีกเพราเราว่า&nbsp ต่อๆๆไปข้างหน้าต้องแพงกว่านี้ยิ่งขึ้นไปอีกแน่นอน

0
เราเซงมาก 7 ก.พ. 50 เวลา 23:40 น. 3

ใช่คร่ะถูกเราไม่อยากให้เป็นอย่างนี้เลย&nbsp เพราะเราก็โดนมาแล้วเหมือนกันน้องชายด้วยอีกคน เพราเรียนไม่ค่อยเก่งแต่ดันอยากเข้าอ่ะ&nbsp  แต่เราไม่อยากให้น้องที่ยังต้องเรียนอีก2คนต้องเสียอีกเพราเราว่า&nbsp ต่อๆๆไปข้างหน้าต้องแพงกว่านี้ยิ่งขึ้นไปอีกแน่นอน

0
เราเซงมาก 7 ก.พ. 50 เวลา 23:40 น. 4

ใช่คร่ะถูกเราไม่อยากให้เป็นอย่างนี้เลย&nbsp เพราะเราก็โดนมาแล้วเหมือนกันน้องชายด้วยอีกคน เพราเรียนไม่ค่อยเก่งแต่ดันอยากเข้าอ่ะ&nbsp  แต่เราไม่อยากให้น้องที่ยังต้องเรียนอีก2คนต้องเสียอีกเพราเราว่า&nbsp ต่อๆๆไปข้างหน้าต้องแพงกว่านี้ยิ่งขึ้นไปอีกแน่นอน

0
เราเซงมาก 7 ก.พ. 50 เวลา 23:40 น. 5

ใช่คร่ะถูกเราไม่อยากให้เป็นอย่างนี้เลย&nbsp เพราะเราก็โดนมาแล้วเหมือนกันน้องชายด้วยอีกคน เพราเรียนไม่ค่อยเก่งแต่ดันอยากเข้าอ่ะ&nbsp  แต่เราไม่อยากให้น้องที่ยังต้องเรียนอีก2คนต้องเสียอีกเพราเราว่า&nbsp ต่อๆๆไปข้างหน้าต้องแพงกว่านี้ยิ่งขึ้นไปอีกแน่นอน

0
เราเซงมาก 7 ก.พ. 50 เวลา 23:40 น. 6

ใช่คร่ะถูกเราไม่อยากให้เป็นอย่างนี้เลย&nbsp เพราะเราก็โดนมาแล้วเหมือนกันน้องชายด้วยอีกคน เพราเรียนไม่ค่อยเก่งแต่ดันอยากเข้าอ่ะ&nbsp  แต่เราไม่อยากให้น้องที่ยังต้องเรียนอีก2คนต้องเสียอีกเพราเราว่า&nbsp ต่อๆๆไปข้างหน้าต้องแพงกว่านี้ยิ่งขึ้นไปอีกแน่นอน

0