Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เด็กไทยควรดู การ์ตูน"ประวัติพระพุทธเจ้า"

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
กลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตทีเดียว สำหรับกรณีที่มีกลุ่มพระและองค์กรต่างๆ ออกมาเรียกร้องให้บัญญัติเอาไว้ในรัฐธรรมนูญว่า “พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย” ทว่า หากย้อนกลับมาที่ตัวคนไทยโดยเฉพาะเยาวชนนั้น คงต้องยอมรับความจริงกันว่า การเข้าถึงรสพระธรรมดูจะยังเป็นเรื่องที่ยากเย็นนัก แม้วิชาพระพุทธศาสนาจะถูกบรรจุไว้เป็นวิชาบังคับเลือกตั้งแต่ชั้นประถมเลยก็ตามที ดังนั้น จึงเป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายต้องหันมาขบคิดกันว่าเพราะเหตุใดคนไทยจึงยังไม่ลึกซึ้งกับศาสนาที่ได้ชื่อว่าเป็นศาสนาประจำชาติเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ามีหลายองค์กรพยายามที่จะคิดค้นวิธีการที่จะปลูกฝังพระพุทธศาสนาให้แก่เด็กรุ่นใหม่ผ่านทางสื่อต่างๆ ซึ่งล่าสุดได้มีการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนที่ให้ชื่อเรื่องว่า “ประวัติพระพุทธเจ้า” โดยมีภาคีร่วมได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และบริษัท มีเดียสแตนดาร์ด จำกัด ดร.วัลลภา พิมพ์ทอง ดร.วัลลภา พิมพ์ทอง ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์การ์ตูน “ประวัติพระพุทธเจ้า” เล่าถึงเหตุผลที่ลงทุนควักงบประมาณจากกระเป๋าส่วนตัวหลายสิบล้านเพื่อทุ่มเทให้กับภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้ว่า เกิดจากความใฝ่ฝันและแรงบันดาลใจหลังจากได้มีโอกาสไปศึกษาต่อที่ประเทศอินเดียด้านปรัชญาและศาสนา ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นสถานที่แห่งพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า จึงเหมือนเป็นการซึมซับเรื่องราวจนกลายเป็นแรงขับเคลื่อนให้อยากทำอะไรสักอย่างเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวพุทธประวัติของพระพุทธองค์ ในฐานะที่ตัวเองเป็นชาวพุทธและเป็นคนไทย ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพยายามที่จะหาวิธีในการเผยแพร่คำสอนของพระพุทธศาสนา แต่ยังไม่มีเวทีใดเปิดกว้างเท่าที่ควร อีกทั้งกลุ่มเป้าหมายที่อยากให้ได้เรียนรู้และปลูกฝังมากที่สุดคือเด็กๆ จึงนึกไปถึงการทำภาพยนตร์การ์ตูน เพราะเชื่อว่าเป็นสื่อที่เข้าถึงเด็กได้ง่าย และคิดว่าจะเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ สำหรับเนื้อเรื่องของภาพยนตร์การ์ตูน “ประวัติพระพุทธเจ้า” นั้น ดร.วัลลภาได้อธิบายว่า เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้านับตั้งแต่ประสูติ เสด็จออกบรรพชาอุปสมบท บำเพ็ญเพียร จนถึงตรัสรู้และเสด็จจาริก ออกแสดงธรรม โปรดสัตว์โลก ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมามีพุทธศาสนิกชนชาติต่างๆ อาทิ จีน ญี่ปุ่น รวมทั้งชาวยุโรป พยายามทำพระประวัติส่วนนี้ออกเผยแพร่ในรูปของการ์ตูนแต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ บางเรื่องบางตอนก็มีเนื้อหาขัดแย้งกับคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาบาลี ซึ่งถือว่าเป็น แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับพระประวัติของพระพุทธเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ดังนั้นในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ น่าจะได้มีการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนเกี่ยวกับพระประวัติของพระพุทธเจ้าที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับพระไตรปิฎกและอรรถกาถาออก เผยแผ่เป็นพุทธบูชา ดร.โสรัชย์ อัศวะประภา “เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2546 โดยในเบื้องต้นได้ปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่หลายฝ่าย จนกระทั่งได้บทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ที่สุดออกมากซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย เพราะพระพุทธศาสนาถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก จะผิดเพี้ยนไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ในส่วนนี้เราจึงต้องค่อนข้างจะรอบคอบกันมากๆ รวมไปถึงกระบวนการถ่ายทำ เราได้ทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกและเคยสร้างภาพยนตร์อยู่ในวงการนี้มากว่า 15 ปี ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีเพราะเป็นคนเก่งของเมืองไทย ดังนั้นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้จึงเป็นฝีมือของคนไทยล้วนๆ” ดร.วัลลภา บอกข่าวดีว่า ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้ถ่ายทำมาได้กว่า 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว และคาดว่าจะพร้อมฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ อีกทั้งเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ ที่ในปี 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ดังนั้น รายได้ทั้งหมดที่ฉายภายในประเทศก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศล “ตอนนี้ลงทุนไปแล้วกว่า 80 ล้านบาท คาดว่ากว่าภาพยนตร์จะแล้วเสร็จก็คงประมาณร้อยกว่าล้านต้องบอกว่า ถามว่า จะได้กำไรหรือคุ้มทุนไหม คงตอบว่า เราไม่ได้มองไปที่เรื่องของผลกำไรแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับเห็นแล้วว่าเรื่องนี้จะต้องขาดทุนแน่นอน แต่ได้กำไรทางใจแทน เพราะวัตถุประสงค์ที่แท้จริงคืออยากให้เด็กๆ ได้ดู ได้ซึมซับพระพุทธศาสนา หันมาสนใจกันมากขึ้นให้เหมือนนี่เป็นบันไดขั้นแรกที่จะทำให้พวกเขาก้าวเข้าไปอยู่ในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ติดตัวเขามาตั้งแต่เกิด” แม้ในแง่การตลาดของภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้ดูเหมือนจะไม่มีใครกล้าคาดหวังผลกำไร แต่ ดร.โสรัชย์ อัศวะประภา ประธานกรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโมโน เจนเนอร์เรชั่น จำกัด ซึ่งได้เสนอตัวเข้ามาทำหน้าที่ด้านการตลาดให้บอกว่า จริงๆ แล้วตลาดภาพยนตร์การ์ตูนนั้น ทางประเทศฝั่งยุโรป และสหรัฐอเมริกา เช่น วอลท์ ดิสนีย์ ตีตลาดไว้ทั่วโลกแล้ว แต่เรื่อง “ประวัติพระพุทธเจ้า” ยังมีจุดขายตรงที่เป็นภาพยนตร์การ์ตูนเกี่ยวกับศาสนาที่ยังไม่มีใครสร้างได้สมบูรณ์แบบเพียงนี้ และสื่อการ์ตูนเป็นสื่อที่มีเสน่ห์ในตัวอยู่แล้ว ดังนั้น แนวทางในการประชาสัมพันธ์คงจะพยายามให้เข้าถึงเด็ก ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการขยายให้เข้าถึงผู้ใหญ่โดยทางอ้อมเพราะผู้ปกครองก็ต้องพาลูกหลานของตัวเองมาดูเมื่อเด็กอยากดู ส่วนในเรื่องของการโฆษณาพยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่ให้เข้าโรงชนกับภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ให้มากที่สุด “หนังเรื่องนี้จะเข้าฉายในเดือนธันวาคมซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่ายินดีเพราะเราได้เช็กรอบหนังดูแล้ว ในเดือนนั้นไม่มีภาพยนตร์เรื่องใดเข้าฉาย ซึ่งเราก็พยายามหลีกเลี่ยงที่จะปะทะเพราะเราไม่ต้องการให้เกิดการแข่งขันตรงนั้น อย่างเรื่องสมเด็จพระนเรศวรก็เลื่อนรอบฉายไปแล้ว และในวันที่ 26-28 พ.ค. นี้ก็จะนำไป “ประวัติพระพุทธเจ้า” ไปฉายที่เทศกาลหนังเมืองคานส์ เพื่อให้เป็นที่รู้จักว่านี่คือฝีมือคนไทย แต่ก็อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าเราไม่ได้คาดหวังเรื่องผลกำไร เป็นเรื่องของความศรัทธามากกว่า ซึ่งผมเองก็นับถือในตัวของ ดร.วัลลภา ที่มีแนวคิดดีๆ แบบนี้จึงอยากเข้ามาช่วยอีกแรง” ดร.โสรัชย์สรุปทิ้งท้าย ที่มาจาก Manager
PS.   Maplestory O๐ps แห่ง Scania

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

sitanom 18 พ.ค. 50 เวลา 17:12 น. 1

อัลเบิร์ต ไอสไตล์ กล่าวถึงพระพุทธศาสนาก่อนเสียชีวิต

......ถึงแม้อัลเบิร์ต ไอสไตล์ ได้จากโลกนี้ไปโดยที่เขายังไม่สามารถค้นพบตำตอบตามที่เขากำลังต้องการก็ตาม แต่ไอสไตล์ได้ทิ้งคำพูดที่เป็นปริศนาที่สำคัญมากให้กับมนุษยชาติ ในช่วงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของเขา อัลเบิร์ตได้เริ่มสงสัยแล้วว่า พระพุทธศาสนา อาจจะเป็นศาสนาที่ให้คำตอบต่อคำถามที่เขากำลังพยายามค้นหา ในช่วง 1 ปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิตนั้น มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ได้ตีพิมพ์งานเขียนชิ้นหนึ่งของเขาชื่อเรื่อง " The Human Side " ซึ่งนักฟิสิกส์ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลผู้นี้ ได้กล่าวทิ้งท้ายให้เป็นปริศนาแห่งโลกอนาคตว่า

The religion of the future will be a cosmic religion. It should transcend personal God and avoid dogma and theology. Covering both the natural and the spiritual, it should be based on a religious sense arising from the experience of all things natural and spiritual as a meaningful unity. Buddhism answers this description. If there is any religion that could cope with modern scientific needs it would be Buddhism. (Albert Einstein)

"ศาสนาในอนาคต จะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา(คือพึ่งเทวดาเป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้น เมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนสามัญสำนึกทางศาสนา ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจอย่างเป็นหน่วยรวมที่มีความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้....ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ปัจจุ บัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา"

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน ผู้เสนอทฤษฏีสัมพันธภาพ

คำพูดของไอสไตล์นั้นมีความนัยที่สำคัญซ่อนอยู่และรอคอยการค้นพบ และทฤษฎีเอกภาพหรือทฤษฎีสรรพสิ่งที่ต้องการค้นหานั้น ที่จริงพระพุทธเจ้าได้ตอบให้เบ็ดเสร็จก่อนหน้านั้น 2500 ปี

http://www.thaipost.com/lawyer2/index.php?action=vthread&forum=2&topic=5127
http://en.wikipedia.org/wiki/Albert_Einstein

Buddhism Answers
"The religion of the future will be a cosmic religion. "Buddhism has the characteristics of what would be expected in a cosmic religion for the future: it transcends a personal God, avoids dogmas and theology; it covers both the natural & spiritual, and it is based on a religious sense aspiring from the experience of all things, natural and spiritual, as a meaningful unity. Buddhism answers this description. If there is any religion that would cope with modern scientific needs, it would be Buddhism."- Albert Einstein
[1954, from Albert Einstein:The Human Side, edited by Helen Dukas and Banesh Hoffman, Princeton University Press]

http://members.shaw.ca/sanuja/buddhismquorts.html

...พระพุทธศาสนา

ศาสนาพุทธ เกิดจากความกลัวแก่ กลัวเจ็บ กลัวตาย ต้องการหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง และต้องการเข้าถึงสุขแท้สุขถาวรที่ไม่ต้องกลับมาทุกข์อีก (1)

...เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุ ๒๙ พรรษาพระองค์เสด็จออกประพาสอุทยาน ขณะที่กำลังเพลิดเพลินอยู่นั้น พระองค์ได้พบกับสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิตนั่นคือ คนแก่ คนเจ็บและคนตาย ทำให้พระองค์ทรงหวั่นวิตกว่า “อีกไม่นานเราเองก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายอย่างนี้เหมือนกัน ทำอย่างไรหนอ เราจะรอดพ้นจากสิ่งเหล่านี้ได้? เมื่อมีร้อนก็มีหนาวแก้ เมื่อมีมืดก็มีสว่างแก้ เมื่อมีความแก่ความเจ็บและความตาย ก็ต้องมีวิธีแก้อย่างแน่นอน เราจะหาวิธีการนั้นให้พบให้จงได้” จากนั้นพระองค์จึงตัดสินพระทัยทิ้งราชสมบัติ ทิ้งกองเงินกองทองออกจากพระราชวังไปนั่งให้ยุงกัดอยู่กลางป่า(2)

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร?
......พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งกฎธรรมชาติว่า สัตว์ทุกชีวิตเคยเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน(3) ผู้ที่ไม่เคยเกิดเป็นพ่อแม่กันมาก่อนหาได้ยาก(4) บางชาติเกิดเป็นเทวดา บางชาติเป็นมนุษย์ บางชาติเป็นสัตว์เดรัจฉาน บางชาติเกิดเป็นเปรต/อสุรกาย บางชาติต้องตกนรก ต้องเวียนว่ายตาย-เกิดอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ตามอำนาจบุญและบาปที่ตนเองได้ทำไว้ เหตุการณ์ทุกอย่างที่เราประสบอยู่ทุกวันนี้ไม่มีคำว่าโชคหรือบังเอิญ ทุกอย่างเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำของเราในอดีตทั้งสิ้น(5)

เมื่อเรายังต้องเกิดอีก สิ่งที่จะตามมาด้วย คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และความทุกข์กายทุกข์ใจ ดั่งพระจาลาภิกษุณีกล่าวว่า “ ความตายย่อมมีแก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว ผู้ที่เกิดมาแล้วย่อมประสบทุกข์ เพราะเหตุนี้แลเราจึงไม่ชอบความ เกิด”(6)
ฉะนั้น วิธีที่จะรอดพ้นจากความแก่ ความเจ็บ ความตาย และความทุกข์ทั้ง ปวงได้ ก็มีอยู่เพียงวิธีเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ“การไม่เกิดอีก” เพราะเมื่อไม่เกิดอีก เราก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย และไม่ต้องทุกข์อีกต่อไป(7)
จุดมุ่งหมายพระพุทธศาสนา
....เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ เจริญวิปัสสนาภาวนาจนบรรลุเข้าสู่ มรรค ผล นิพพาน ตัดกระแสธรรมชาติให้ขาดสะบั้นลงได้อย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง กำจัดสาเหตุที่ก่อให้เกิดการถือกำเนิดในภพใหม่(8) สิ่งที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายต้องเกิดอีกไม่มีที่สิ้นสุดก็คือความต้องการของสรรพสัตว์เองหรือที่เรียกว่า “กิเลสตัณหา”(9)

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า “ อานนท์ กรรมชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่ายางเหนียวในเมล็ดพืช วิญญานดำรงอยู่ได้ เพราะธาตุหยาบของสัตว์ มีความหลงไม่รู้ความจริงเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหา เป็นเชื้อเครื่องผูกเหนี่ยวใจไว้ การเกิดใหม่จึงมีต่อไปอีก(10) ตัณหาทำให้สัตว์ต้องเกิดอีก จิตของสัตว์ย่อมแล่นไป สัตว์ที่ยังต้องเวียนว่ายในสังสารวัฏฏ์ย่อมไม่อาจ หลุดพ้นจากทุกไปได้”(11)

เมื่อมนุษย์เจริญวิปัสสนาจนเกิดมรรคจิตครบ ๔ ครั้ง ก็จะกำจัดกิเลสตัณหา ในจิตของตนเองให้หมดสิ้นไปได้อย่างสิ้นเชิง(12) เขาจะไม่ต้องเกิดใหม่อีกต่อไป เปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์มะม่วงที่มียางเหนียวอยู่ภายใน ถ้านำไปปลูกจะงอกเป็น ต้นมะม่วงได้อีก แต่ถ้านำไปต้มกำจัดยางเหนียวให้หมดไป จากนั้นนำไปปลูกโดย วิธีใดก็ตามจะไม่งอกอีกแล้ว กิเลสตัณหาในดวงจิตของเราก็เช่นกัน
แต่ถ้าหากไม่สามารถทำมรรคจิตให้เกิดครบ ๔ ครั้งได้ แม้เกิดเพียงครั้งเดียวก็จัดว่าเข้าสู่กระแสแล้ว(โสดาบัน) ก็ไม่ต้องตกนรก/ทุกข์ในอบายอีกต่อไป และจะบรรลุอรหันต์ได้เองโดยอัตโนมัติภายในระยะเวลาไม่เกิน ๗ ชาติ(13)

กรรมฐาน
....กรรมฐาน เป็นศาสตร์หนึ่งที่มีอยู่ในจักรวาลเหมือนกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ต่างกันแต่ศาสตร์นี้ต้องศึกษาวิจัยในห้องแลปร์คือจิตล้วน ๆ และ มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ความหลุดพ้นจากทุกทั้งปวง ศาสตร์นี้เป็นกลไกที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่ยากที่มนุษย์จะเข้าถึงได้ สิ่งที่สามารถเข้าถึงและแทงตลอดกฏเกณฑนี้ได้มีเพียงอย่างเดียว นั่นก็คือจิตที่ทรงพลานุภาพ ตามธรรมดาแล้วมนุษย์ล้วนมีจิตกันทุกคน แต่จิตธรรมดาจะกลายเป็นจิตที่ทรง พลานุภาพได้นั้นต้องอาศัยการบ่มเพาะเป็นเวลานาน คัมภีร์อรรถกถาบอกว่า ต้องใช้เวลานานถึง ๔ อสงไขยกับแสนกัปเลยทีเดียว(14) ด้วยเหตุนี้ นาน ๆ จึงจะมีดวงจิตที่ทรงพลานุภาพมาปฏิสนธิสักครั้งหนึ่ง โลกใบนี้อุบัติขึ้นประมาณ ๔,๕๐๐ ล้านปีมาแล้ว ซึ่งเป็นเวลาที่ยาวนานมาก แต่ดวงจิตที่ทรงพลานุภาพมาปฏิสนธิแค่เพียง ๔ ครั้งเท่านั้น(15) ครั้งสุดท้ายมาปฏิสนธิ เมื่อ ๒๖๒๗ ปีก่อนนี้เอง ผู้นั้นเราเรียกกันว่า “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

เรื่องกรรมฐานนี้ มนุษย์ทั่วโลกได้พยายามค้นคว้าและเข้าถึงมานานแล้ว แต่เนื่องด้วยบารมีไม่เพียงพอจึงเข้าถึงได้เพียงครึ่งเดียว คนกลุ่มนั้นก็คือพวก ฤษีและศาสดาต่าง ๆ พวกท่านสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ มีฤทธิ์เดชมากมาย แต่ก็ยังไม่สามารถกำจัดกิเลสในจิตตนเองให้หมดไปได้(16) ยังมีความรัก โลภ โกรธ หลงอยู่ ท่านเหล่านี้เข้าถึงได้เพียงแค่ระดับฌานสมาบัติเท่านั้น ยังไม่สามารถเข้าถึงวิปัสสนาปัญญา บรรลุมรรค ผล นิพพานได้(17)

สมถกรรมฐาน(18) คือ การกำหนดจิตอยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่งที่เหมาะสม เช่น ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นต้น(19) ใส่ใจแต่เฉพาะอาการเข้า อาการออกของลมหายใจเท่านั้น โดยไม่สนใจสิ่งอื่น แม้แต่ความคิดก็ไม่สนใจหายใจเข้า หายใจออกตามปกติธรรมด่า มีสติระลึกรู้อยู่ในขณะปัจจุบัน มีสติระลึกรู้อยู่อย่างนี้นับร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้งจนจิตตั้งมั่น แนบแน่นอยู่ กับลมหายใจนิ่งเป็นสมาธิ แล้วกำหนดรู้อาการนิ่งสงบของจิต จนนิ่งเป็นอุเบกขา เมื่อถึงขั้นนี้จะน้อมจิตไปทำสิ่งใดก็จะสำเร็จได้ดั่งใจหมาย เช่น สามารถ กำหนด รู้ความคิดของคนอื่นได้เป็นต้น(20)

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช พระองค์ได้ไปศึกษาศาสตร์นี้จากสำนักฤษีต่างๆ ที่มีอยู่ในสมัยนั้นจนหมดความรู้อาจารย์ แต่เมื่อออกจากสมาธิ กิเลสตัณหาก็ยังมีอยู่เท่าเดิม ยังมีความกลัวความกังวลอยู่ พระองค์จึงตัดสินพระทัยศึกษาค้นคว้าหาวิธีดับทุกข์ด้วยพระ องค์เอง ด้วยการเจริญวิปัสสนา(21)

เมื่อเกิดวิปัสสนาปัญญญารู้แจ้งอยู่ไปตามลำดับครบ ๑๖ขั้นจะบรรลุ โสดาบัน เที่ยวที่ ๒ บรรลุสกทาคามี เที่ยวที่ ๓ บรรลุอนาคามี เที่ยวที่ ๔บรรลุพระอรหันต์เข้าถึงพระนิพพาน(22) ดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิงไม่ต้องเกิดใหม่อีกต่อไป เมื่อไม่ต้องเกิดอีกก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย และไม่ต้องทุกข์ กายทุกข์ใจอีกต่อไป การตายอีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย จึงเรียกว่าดับขันธปรินิพพาน ดับทั้งกายดับทั้งจิต ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

อ้างอิง..พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(เล่มที่ / หน้าที่)
1ไตรปิฎก.๒๕/๔๗๖,๓๑/๔๐๐
2 ดูรายละเอียดใน ไตรปิฎก.๑๐/๑-๑๐
3 ไตรปิฎก.๑๖/๒๒๓
4 ไตรปิฎก๑๖/๒๒๗
5 ไตรปิฎก๑๔/๓๕๐-๓๖๕
6 ไตรปิฎก๑๕/๒๒๓
7 ไตรปิฎก๑๙/๕๓๔
8ไตรปิฎก.๑๑/๒๒๒ ,อรรถกถาอังคุตตรนิกาย(บาลี)๑/๑๖๔
9 ไตรปิฎก๑๕/๖๘
10 ไตรปิฎก.๒๐/๓๐๑
11 ไตรปิฎก๑๕/๗๐
12 ไตรปิฎก.๓๑/๙๗
13 ไตรปิฎก.๑๙/๕๔๔, ๑๔/๑๘๖, ๒๐/๓๑๕, ๒๕/๑๒
14 วิสุทฺธชนวิลาสินี(บาลี)๑/๑๒๐
15 ไตรปิฎก.๓๓/๗๒๓
16 ไตรปิฎก.๒๐/๓๘๐
17 ไตรปิฎก.๑๓/๓๙๖,อรรถกถามัชฌิมนิกาย(บาลี) ๑/๑๙๙
18 วิสุทฺธิมรรค(บาลี)๑/๑๓๒-๑๔๙
19 ไตรปิฎก.๑๒/๑๐๑
20 ไตรปิฎก.๑๐/๑๔๒, ๒๒/๓๖
21 ไตรปิฎก.๑๙/๔๖๑,อรรถกถาอังคุตตรนิกาย(บาลี)๑/๘๑๓๓
22 ไตรปิฎก.๓๑/๑-๑๖,๒๕/๗๒๐
http://dungtrin.com/
๘.วิปัสสนาคืออะไร? ทำไมต้องปฏิบัติ?
......ตอบ. วิปัสสนา แปลว่า เห็น(รู้อย่างเข้าใจ)แจ่มแจ้งในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อาการที่เคลื่อนไหว ใจที่คิด เป็นต้น เป็นวิธีการปฏิบัติที่จะนำกายและใจของผู้ปฏิบัติให้เข้าถึงสภาวดับ สงบ เย็น(นิพพาน)ได้ ถ้าต้องการสุขแท้ สุขถาวรที่ไม่กลับมาทุกข์อีกก็ต้องดำเนินไปตามหนทางนี้เท่านั้น ไม่มีทางอื่น (เอกายโน เอกมคฺโค)

ความรู้สึกของผู้ปฏิบัติหลายท่าน คิดว่า “การปฏิบัติสมถกรรมฐาน ดีกว่าวิปัสสนากรรมฐาน เพราะสมถฝึกแล้วทำให้เหาะได้ รู้ใจคนอื่นได้ เสกคาถาอาคมได้ ส่วนวิปัสสนาทำไม่ได้” แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานก็ยังเป็นเพียงปุถุชน ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภูมิ หาที่สุดของภพชาติไม่ได้ ยังต้องตกอบายทรมานในนรกอีก ส่วนผู้ปฏิบัติวิปัสสนานั้น ถึงแม้จะเหาะไม่ได้ เสกคาถาไม่ขลัง แต่ก็เหลือภพชาติเพียงแค่ ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง และตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไปก็จะไม่ตกอบายอีกแล้ว ไม่ว่าอตีดจะเคยทำบาปอกุศลไว้มากมายปานใดก็ตาม

๙.ปฏิบัติวิปัสสนาแล้วจะได้รับผลดีอย่างไรบ้าง?
....ตอบ. ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมีมากมายยากที่จะอธิบายให้เห็นจริงได้ จนกว่าผู้นั้นได้ลงมือปฏิบัติจนได้เห็นผลจริงด้วยตนเอง แต่พอกล่าวเป็นตัวอย่างได้ดังนี้
..๑. ทำให้บรรลุโสดาบันได้ภายใน ๓-๔เดือน ทั้งที่มีเวลาพักถึงวันละ ๗ ชั่วโมง
..๒. เมื่อบรรลุโสดาบันแล้ว ถ้าหากต้องการมีฤทธิ์ มีเดช ก็สามารถฝึกสมถกรรมฐานต่อได้เลย จะสำเร็จได้ในระยะเวลาไม่นาน ในขณะที่การปฏิบัติสมถล้วนๆ ต้องใช้เวลาปฏิบัติกันถึง ๒-๓ปี หรือนานกว่านั้น จึงจะได้ผล
..๓. เมื่อปฏิบัติวิปัสสนาถึงสังขารุเปกขาญาณ (ญาณที่ ๑๑) จนแก่กล้าแล้ว ทำให้โรคบางอย่างหายได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ต่อมไทรอย โรคเกี่ยวกับลม เส้นเอ็นและกระดูก (..นี้เป็นตัวอย่างจริงที่พบเห็นจากผู้ร่วมปฏิบัติ ) เป็นต้น
..๔. ถ้ามีเหตุให้ปฏิบัติไม่สำเร็จ ไปติดอยู่เพียงแค่ญาณ ๑๑ ก็ไม่เสียเวลาเปล่า เพราะจะเกิดปัญญาญาณ ที่จะใช้ในการแก้ปัญหาทุกอย่างในโลกได้ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเป็นปัญหาทางโลกหรือทางธรรม โดยเฉพาะปัญหาครอบครัวระหว่างสามี ภรรยา ลูก หลาน ญาติพี่น้อง (คิดค้นวิธีเอายานไวกิ้งลงบนดาวอังคารได้ ก็ด้วยการนั่งสมาธินี่แหละ)
..๕. ล้างอาถรรพ์ มนต์ดำได้ ไม่ว่าจะถูกของ หรือโดนยาพิษ ยาสั่งมา เมื่อปฏิบัติจนถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว อาถรรพ์จะหายไปจนเกลี้ยง ( เรื่องนี้ขอท้าให้พิสูจน์)

๑๐. ปฏิบัติวิปัสสนาทำไมต้องกำหนดท้อง “พองหนอ-ยุบหนอ” พระพุทธเจ้าสอนให้กำหนดลมหายใจเข้าออกมิใช่หรือ?
.....ตอบ. การปฏิบัติวิปัสสนาแบบกำหนดพอง-ยุบ เผยแผ่โดยท่านมหาสีสยาดอ (โสภณะมหาเถระ) ซึ่งเป็นผู้วชาญทั้งปริยัติและปฏิบัติ ในประวัติของท่านเล่าว่า ท่านเป็นผู้วชาญในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกามาก ต่อมาท่านต้องการปฏิบัติวิปัสสนาซึ่งเป็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาที่แท้จริง จึงเที่ยวสืบค้นหาสำนักปฏิบัติวิปัสสนาที่มีหลักการสอดคล้องกับคัมภ์ที่ได้ศึกษามา ในที่สุดท่านได้เลือกปฏิบัติวิปัสสนาแบบกำหนด “พองหนอ ยุบหนอ”กับพระอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบท่านหนึ่ง จนเห็นผลจริงว่า วิปัสสนามิใช่มีอยู่แต่ในตำรา การกำหนดดูอาการท้องพอง ท้องยุบอย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง นี่แหละ เป็นการเจริญวิปัสสนาให้บรรลุถึงมรรคผลได้จริงอีกวิธีหนึ่ง ( ที่สำคัญคือ ปฏิบัติง่าย ได้ผลเร็วในระยะเวลาเพียง ๓-๔เดือนเท่านั้นเอง)

....ความสอดคล้องกันระหว่างการปฏิบัติสติปัฏฐานที่กำหนดดูอาการพอง-ยุบของท้องกับหลักการในพระคัมภีร์ผู้สนใจหาอ่านได้จากหนังสือเรื่อง “วิปัสสนานัย”ซึ่งเขียนโดยตัวท่านเอง อ้างหลักฐานที่มาของแต่ละข้อความไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะเล่มที่แปลเป็นภาษาไทยโดยพระคันธสาราภิวังส์ (วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง)นั้นได้ระบุเชิงอรรถไว้ด้วยว่าข้อความนั้นๆ นำมาจากคัมภีร์ชื่ออะไร เล่มที่เท่าไหร อยู่หน้าไหน? ท่านผู้ใคร่ในการศึกษาและปฏิบัติโปรดพิสูจน์ สอบสวนเอาด้วยตนเองเถิด

๑๑.ทำไมไม่ปฏิบัติวิปัสสนาแบบกำหนดลมหายใจเข้า-ออก(อานาปานสติ)ซึ่งมีผู้ปฏิบัติกันแพร่หลายอยู่แล้ว?
....ตอบ. ยังไม่มีพระอาจารย์ท่านใดกล้ากล่าวว่าตนสามารถสอนวิปัสสนาแบบกำหนดลมหายใจเข้า-ออกให้เห็นมรรค เห็นผลได้ภายในระยะเวลาเพียง ๓-๔ เดือน และสามารถอธิบายสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจริงด้วยทฤษฎีญาณ ๑๖ ได้
(ลมหายใจเข้า-ออก กับอาการท้องพอง-ท้องยุบที่หน้าท้อง เป็นลมอัสสาสะปัสสาสะอันเดียวกัน อาการพองเกิดจากลมหายใจเข้า อาการยุบเกิดจากลมหายใจออก เพียงแค่ย้ายฐานลมจากที่จมูกมาจับกำหนดรู้อาการพอง อาการยุบที่หน้าท้องแทน พร้อมเพิ่มคำบริกรรมเพื่อกำหนดรู้อาการพอง-อาการยุบให้ทันปัจจุบันและตรงตามสภาวะ )

๑๒.ปฏิบัติวิปัสสนาแบบกำหนดพอง-ยุบ กับแบบกำหนดลมหายใจเข้าออกแบบไหนดีกว่ากัน?
....ตอบ. ปฏิบัติแบบกำหนดลมหายใจเข้า-ออกดีกว่า เพราะมีปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกชัดเจนกว่า และเมื่อปฏิบัติสำเร็จแล้วทำให้เกิดคุณวิเศษต่างๆได้เช่น รู้ใจผู้อื่นได้ แสดงปาฏิหาริย์ได้ เป็นต้น แต่ต้องปฏิบัติกันหลายปีจึงจะสำเร็จได้ และสำหรับบางคนปฏิบัติไม่ได้ผลเลย เพราะเป็นวิสัยของผู้มีปัญญาเท่านั้น ส่วนการปฏิบัติแบบกำหนดพอง-ยุบถึงจะให้เกิดคุณวิเศษต่างๆไม่ได้ แต่สามารถ ปฏิบัติได้ทุกคน เห็นผลได้ภายใน ๑ เดือน สำเร็จได้ภายใน ๓-๔ เดือน

๑๓. การปฏิบัติวิปัสสน มีวิธีการอย่างไรบ้าง?
.....ตอบ มีขั้นตอนปฏิบัติเบื้องต้น ดังนี้

............๑) เดินจงกรม เดินกลับไปกลับมา ก้มหน้าเล็กน้อย ส่งจิตกำหนดดูอาการของเท้าแต่ละจังหวะที่เคลื่อนไป อย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง รับรู้ถึงความรู้สึกของเท้าที่ค่อยๆยกขึ้น ค่อยๆย่างลง และความรู้สึกสัมผัสที่ฝ่าเท้า(อ่อน แข็ง เย็น ร้อน ฯลฯ) ส่งจิตดูอาการแต่ละอาการอย่างจรด แนบสนิทอยู่กับอาการนั้น ไม่วอกแวก จนรู้สึกได้ถึงอาการที่เปลี่ยนไป ดับไปของสภาวนั้นๆ เช่น ขณะย่างเท้า ก็รู้สึกถึงอาการลอยไปเบาๆ ของเท้า พอเหยียบลงอาการลอยๆ เบาๆ เมื่อ๒-๓ วินาทีก่อนก็ดับไป มีอาการตึงๆแข็งเข้าแทนที่ พอยกเท้าขึ้นอาการตึงๆแข็งๆด็ดับไป กลับมีอาการลอยเบาๆ โล่งๆเข้าแทนที่ เป็นต้น ยิ่งเคลื่อนไหวช้าๆ ยิ่งเห็นอาการชัด และในขณะที่กำลังเดินอยู่นั้น หากมีความคิดเกิดขึ้นให้หยุดเดินก่อน แล้วส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า “คิดหนอๆๆๆ” จนกว่าความคิดจะเลือนหายไป จึงกลับไปกำหนดเดินต่อ อย่ามองซ้ายมองขวา พยายามให้ใจอยู่กับเท้าที่ค่อยๆเคลื่อนไปเท่านั้น ถ้าเผลอหรือหลุดกำหนดให้เอาใหม่ เผลอเริ่มใหม่ ๆๆๆ ไม่ต้องหงุดหงิด การปฏิบัติเช่นนี้ เรียกว่า “เดินจงกรม” ต้องเดิน ๑ ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย

............๒) นั่งสมาธิ นั่งตัวตรง แต่ไม่ต้องตรงมาก ให้พอเหมาะสมกับสรีระของตนเอง นั่งสงบนิ่ง ไม่ขยับเขยื้อนอวัยวะส่วนใดทั้งสิ้น จนสังเกตได้ว่าอวัยวะที่ยังไหวอยู่มีแต่ท้องเท่านั้น ให้ส่งจิตไปดูอาการไหวๆนั้นอย่างต่อเนื่อง แค่ดูเฉยๆ อย่าไปบังคับท้อง ปล่อยให้ท้องไหวไปเรื่อยๆ ตามธรรมชาติ นั่งกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง ไม่หลุด ไม่เผลอ ถ้ามีเผลอสติบ้างก็ไม่ต้องหงุดหงิด เผลอ..เอาใหม่ ๆจนเห็นอาการพอง อาการยุบค่อยๆชัดขึ้น ขณะเห็นท้องพองกำหนดในใจว่า “พองหนอ” ขณะเห็นท้องยุบกำหนดในใจว่า “ยุบหนอ” บางครั้งท้องนิ่งพอง-ยุบไม่ปรากฏก็ให้กำหนดรู้อาการท้องนิ่งนั่น “รู้หนอๆๆ” หรือ “นิ่งหนอๆๆ” บางครั้งพอง-ยุบเร็วแรงจนกำหนดไม่ทัน ก็ให้กำหนดรู้อาการนั้น “รู้หนอๆๆ” ถ้าขณะนั่งกำหนดอยู่มีความคิดเข้ามาให้หยุดกำหนดพองยุบไว้ก่อน ส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า “คิดหนอๆๆ” แรงๆ เร็วๆ โดยไม่ต้องสนใจว่าคิดเรื่องอะไร พออาการคิดจางไปแล้ว หรือหายไปโดยฉับพลัน ให้กำหนดดูอาการที่หายไป “รู้หนอๆๆ” แล้วรีบกลับไปกำหนดพอง-ยุบต่อทันที อย่าปล่อยให้จิตว่างจากการกำหนดเด็ดขาด ขณะที่กำหนดอยู่นั้น ถ้าเกิดอาการปวดขา หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นมา ให้ทิ้งพอง-ยุบไปเลย แล้วส่งจิตไปดูอาการปวดนั้น บริกรรมในใจว่า “ปวดหนอๆๆ” พยายามกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง แต่อย่าเอาจิตเข้าไปเป็นทุกข์กับอาการปวดนั้น ภายใน ๕ หรือ ๑๐ วันแรกให้กำหนดดูอาการปวดอย่างเดียว ไม่ต้องสนใจอารมณ์อื่นมากนัก จนกว่าอาการปวดจะหาย หรือลดลง วันแรกๆ อาการปวดจะไม่รุนแรงมากนัก นั่งได้ ๑ ชั่วโมงแบบสบายๆ พอเรามีสมาธิมากขึ้น มีญาณปัญญามากขึ้น อาการปวดจะค่อยๆรุนแรงขึ้น จนทนแทบไม่ไหว จากที่เคยนั่งได้ ๑ ชั่วโมง พอวันที่ ๕-๖ เป็นต้นไป นั่ง ๑๐ หรือ ๒๐ นาทีก็ทนแทบไม่ไหวแล้ว ให้พยายามนั่งกำหนดต่อไปจนกว่าจะครบชั่วโมง (เพื่อจะได้เป็นกำลังใจในการกำหนดบัลลังก์ต่อๆไป) ยิ่งปวดมากก็ยิ่งกำหนดถี่ๆเร็วๆ แรงๆ นั่นแสดงว่าสมาธิของเราก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ภายใน๑๐-๒๐ วันเวทนาก็จะหายขาดไปเอง หรืออาจจะมีอยู่บ้างเล็กน้อยช่วงท้ายบัลลังก์ ถึงต้อนนี้วิปัสสนาญาณของคุณก้าวเข้าสู่ขั้นที่ ๔ แล้ว ขั้นต่อไป ไม่ควร/ห้ามปฏิบัติด้วยตนเอง(อย่างเด็ดขาด) ต้องมีพระอาจารย์คอยควบคุมอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นแล้วจะเกิดผลเสียมากว่าผลดี ..ขอเตือน.. ที่อธิบายมานี้เป็นเพียงหลักปฏิบัติเบื้องต้น มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายที่จะต้องเรียนรู้ ผู้ต้องการปฏิบัติให้เห็นมรรคเห็นผลแสวงหาสำนักปฏิบัติที่เห็นว่าเหมาะสมกับตนเอาเองเถิด

๑๓. ปฏิบัติวิปัสสนาแบบพอง-ยุบ ทำไมต้องมีคำบริกรรม ผมชอบปฏิบัติแบบไม่มีคำ
บริกรรม?
......ตอบ. ปฏิบัติแบบไม่มีคำบริกรรมแล้วทำให้บรรลุมรรค ผล ภายใน ๓-๔เดือนได้ไหมละ? คำบริกรรมมีไว้เพื่อช่วยให้สติเจาะจงต่ออารมณ์ที่กำหนดมากขึ้น ทำให้เห็นอาการดับของอารมณ์ต่างๆที่กำหนดได้อย่างชัดเจน ทำให้ปัญญาญาณเกิดขึ้นและก้าวต่อไปอย่างรวดเร็ว จนสามารถบรรลุธรรมได้ภายในระยะเวลาเพียง ๓-๔ เดือนเท่านั้น

จากหัวขัอคำถาม-ตอบทั้งหมด ๑๗ ข้อ โดย พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี

0