Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ที่มาของ "การละเล่นของไทย"

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
การละเล่นไทยๆ
ประวัติและที่มา


คำ "การละเล่น" เป็นคำเกิดใหม่ ผู้วชาญภาษาไทยท่านว่าเป็นการปรับเสียงคำ "การเล่น" ให้ออกเสียงง่ายขึ้น ขณะที่กรมศิลปากรให้ความหมายกว้างออกไปถึงการเล่นเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจหลังจากประกอบกิจประจำวัน และการเล่นในเทศกาลท้องถิ่นหรือในงานมงคลบ้าง อวมงคลบ้าง เช่น เพลงพื้นเมือง ละคร ลิเก ลำตัด หุ่น หนังใหญ่ ฯลฯ


การละเล่นของไทยคือการเล่นดั้งเดิมของเด็กและผู้ใหญ่ สืบทอดต่อกันมา เล่นเพื่อความบันเทิงใจ มีทั้งมีกติกาและไม่มีกติกา มีบทร้องหรือไม่มีบทร้อง บ้างมีท่าเต้นท่ารำประกอบเพื่อให้งดงามและสนุกสนานยิ่งขึ้น ผู้เล่นและผู้ชมสนุกร่วมกัน

การละเล่นของไทยพบหลักฐานว่ามีมาแต่กรุงสุโขทัย แต่ที่ชัดเจนปรากฏในบทละครเรื่อง "มโนห์รา" ครั้งกรุงศรีอยุธยา คือ การเล่นว่าว ลิงชิงเสา ปลาลงอวน

การละเล่นไทยแตกต่างไปตามสภาพท้องถิ่น บางอย่างไม่สามารถจะชี้ขาดลงไปได้ว่าเป็นการละเล่นของเด็กหรือของผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม วิธีการเล่นส่วนใหญ่มีคุณค่าในทางเสริมสร้างพลานามัย ประเทืองปัญญา ช่วยให้อารมณ์แจ่มใส ฝึกจิตใจให้งดงาม มีความสามัคคี และสร้างคนดี

การละเล่นไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1.การละเล่นในชีวิตประจำวัน แบ่งเป็น 1.1.การละเล่นของเด็ก ซึ่งจะแยกออกเป็นการเล่นกลางแจ้ง การเล่นในร่ม การเล่นกลางแจ้งและในร่ม การเล่นกลางแจ้งหรือในร่มที่มีบทร้อง การเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่ การเล่นใช้อุปกรณ์ การเล่นของเด็กชาย-หญิงโดยเฉพาะ การเล่นสะท้อนสังคม การเล่นในน้ำ การเล่นปริศนาคำทาย บทร้องเล่น 1.2.การละเล่นของเด็กและผู้ใหญ่ เช่น ชักเย่อ ลูกช่วง งูกินหาง โค้งตีนเกวียน จ้องเตหรือต้องเต ไม้หึ่ง รีรีข้าวสาร มอญซ่อนผ้า สะบ้า แม่ศรี คล้องช้าง ว่าว 1.3.การละเล่นของผู้ใหญ่ มีเพลงเกี่ยวข้าว เพลงร้อยชั่ง เพลงเต้นกำ(รำเคียว) เพลงสงฟาง เพลงสงคอลำพวน เพลงเตะข้าว เพลงชักกระดาน การเล่นตะกร้อ 2.การละเล่นในเทศกาลต่างๆ เพลงแห่ดอกไม้ เพลงพิษฐาน เพลงพวงมาลัย เพลงเหย่อยหรือเพลงพาดผ้า 3.การละเล่นของหลวง ซึ่งมีมาแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ หมายถึงการละเล่นที่แสดงในพระราชพิธีต่างๆ ไม่เพียงแสดงหน้าที่นั่งในเขตพระราชฐาน ข้างนอกก็แสดงได้

เท่าที่ปรากฏในหลักฐานภาษาหนังสือและภาพจิตรกรรมฝาผนัง มีอยู่ 5 อย่าง คือ ระเบ็ง โมงครุ่ม กุลาตีไม้ แทงวิสัย และกระอั้วแทงควาย ผู้เล่นเป็นชายล้วน มีครั้งเดียวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ.2415 โปรดเกล้าฯ ให้ผู้หญิงคือนางเถ้าแก่เล่นระเบ็งแทนชายในงานโสกันต์พระเจ้าน้องยาเธอและพระเจ้าน้องนางเธอ 5 พระองค์ มีปรากฏในพระราชนิพนธ์โคลงดั้นเรื่องโสกันต์ 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

แสดงความคิดเห็น

>

12 ความคิดเห็น

M.M.K.( ̄▽ ̄)ノ 24 ก.ย. 50 เวลา 14:42 น. 1

น่าภูมิใจเนอะ อ่านทีไรก็ปลื้มทุกที ^^ ว่าแต่สมัยนี้เค้ายังเล่นกันอยู่มั้ยเนี่ย? หรือว่าไปลันล้าที่ดรีมเวิลด์กันหมด = =

0
โบว์ 22 พ.ย. 55 เวลา 19:33 น. 8

ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับข้อมูล&nbsp คือหนูเลือกการละเล่นไปทำโครงงานภาษาอังกฤษ&nbsp ส่งครูชาวต่างชาติโดยตรง&nbsp ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์สำหรับหนูมากๆค่ะ&nbsp 

0