Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

"นักเรียนรังแกกันเอง" ไทย ติดอับดับ 2 รองจากญี่ปุ่น...>>>

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่





นักวิชาการชี้ ไทยครองอันดับ 2 มีนักเรียนประถม-มัธยม รังแกกันเพียบ ระบุร้อยละ 40 รองจากญี่ปุ่น พร้อมระบุครูเห็นกลับไม่ห้ามปราม มองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ขณะที่ สพฐ.สุ่มสำรวจความเห็นจากผู้บริหารสถานศึกษาทั่วประเทศ เผยเด็กโดดเรียนครองแชมป์ รองลงมา เป็นปัญหาสูบบุหรี่-ดื่มเหล้า และปัญหานักเรียนทะเลาะวิวาท
       

       โรงแรมเอสดี อเวนิว ปิ่นเกล้า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดประชุมปฏิบัติการพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมนักเรียน โดยเชิญหน่วยงานต่างๆ โดยมีคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เป็นประธาน
       
       ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญญา ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ข้อมูลผลสำรวจพฤติกรรมนักเรียนรังแกกันในโรงเรียนของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ พบว่า ไทยอยู่ในอันดับ 2 ที่มีส่วนนักเรียนถูกรังแกถึงร้อยละ 40 รองจากญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นมีนักเรียนร้อยละ 60 ถูกรังแก ถัดมาเป็น อังกฤษและอเมริกา ประมาณร้อยละ 20-25
       
       ทั้งนี้ ปัญหานักเรียนรังแกกันได้ส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น ปัญหานักเรียนฆ่าตัวตายเพราะทนความกดดันที่ถูกรังแกไม่ไหว ในญี่ปุ่น อังกฤษ มีนักเรียนฆ่าตัวตายจำนวนมาก

       
       สำหรับผลสำรวจปัญหานักเรียนรังแกกันของไทยนั้น เก็บข้อมูลระหว่างเดือน ก.พ.-มี.ค. 2549 จากครู 1,300 คน และนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้น ป.4-ม.2 จำนวน 3,047 คน ในโรงเรียนใน กรุงเทพฯ นนทบุรี ลพบุรี ชลบุรี จันทบุรี ขอนแก่น สงขลา และเชียงใหม่ ผลการสำรวจพบว่าปัญหาการรังแกกันของนักเรียนในโรงเรียนดับ ประถมปลาย และ ม.ต้น อยู่ในอันดับสูงทั่วประเทศ โดยนักเรียนร้อยละ 40 เคยถูกรังแกเดือนละ 2-3 ครั้งหรือบ่อยกว่านั้น ซึ่งจะเกิดมากที่สุดในเด็กชั้น ป.4 และลดตามระดับชั้นที่สูงขึ้น และเกิดขึ้นกับทั้งเด็กชายและหญิงในอัตราที่ใกล้เคียงกัน เว้นในชั้น ป.5 และ ม. 1 ที่เด็กชายจะถูกรังแกมากกว่า
       
       ทั้งนี้ ลักษณะการทำร้ายโดยวาจามากที่สุด เช่น ล้อเลียนให้อับอาย การแสดงความเหยียดหยามดูถูกเชื้อชาติ หรือผิวพรรณ ยกเว้นในภาคตะวันออก รองลงมาคือ การรังแกด้วยการแย่งเงินและของใช้ และการข่มขู่บังคับ ซึ่งนักเรียนชายมากกว่านักเรียนหญิง
       
       ส่วนสถานที่ 5 อันดับ คือ 1.ในห้องเรียนเวลาที่ครูไม่อยู่ 2.เวลานักเรียนอยู่ตามทางเดินหน้าห้องเรียนหรืออยู่บนบันได 3.บริเวณสนามโรงเรียน 4.โรงอาหาร และ 5.ในห้องเรียนต่อหน้าครู
       
       โดยเด็กที่ถูกรังแกจะเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า ขณะที่นักเรียนที่เป็นผู้รังแก จะเคยชินกับการละเมิดกฎและเสี่ยงต่อการเป็นอันธพาลเอาความรุนแรงไปใช้ในครอบครัวกลายเป็นวัฏจักร ทำให้ลูกเคยชินกับความรุนแรงด้วย ที่สำคัญ ครูส่วนใหญ่มองว่าการรังแกกันเป็นเรื่องเล็กน้อยโดยครูร้อยละ 89 เคยเห็นนักเรียนมีพฤติกรรมรังแกเพื่อน และร้อยละ 25 บอกเคยเห็นมากกว่า 10 ครั้ง
       
       เมื่อถามว่า “นักเรียนถูกรังแก ครูประจำชั้นเคยพยายามห้ามหรือหยุดการกระทำเช่นนั้นบ่อยแค่ไหน” ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 41.2 ตอบว่า ช่วยเหลือ “ค่อนข้างน้อย” หรือ “แทบจะไม่เคยทำอะไร” เพื่อหยุดการรังแก ขณะที่ผู้ปกครองเอง จะไม่ค่อยตระหนักหรือสนใจ เพิกเฉย หรือไม่ให้ความช่วยเหลือ
       
       นพ.ประเวศ ตันติพิวัฒนสกุล ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต สธ.ระบุ ระบบดูแลและช่วยเหลือนักเรียนดีแล้ว แต่โรงเรียนยังนำมาใช้ไม่ครอบคลุม และมักทำแบบแยกส่วน ซึ่งถ้าเราแยกส่วนทำจะไม่ได้ผล ไม่ว่าจะเป็นนำเด็กไปเข้าค่ายอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแม้กระทั่งเข้าค่ายทหารพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผล และอาจจะทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่รุนแรงมากขึ้น ในกรณีอยู่ค่ายหทาร รวมทั้งการพาเด็กไปเยี่ยมนักโทษแม้จะดูเป็นเรี่องที่ดีแต่ก็ไม่ได้ผลหากจะให้เด็กปรับพฤติกรรม รวมถึงการให้ครูออกไปเยี่ยมบ้านด้วย ถ้าจะแก้ปัญหาความรุนแรง ให้ได้ผลจะต้องทำพร้อมกันหลายๆ อย่าง ทั้งการพัฒนาทักษะชีวิต หาครอบครัวที่ดีให้เด็กเพราะเด็กที่มีปัญหา เด็กเกเรจะมาจากครอบครัวที่มีปัญหาด้วยต้องเข้าไปเยียวยาครอบครัวของเด็ก จนครอบครัวสามารถที่จะร่วมมือกับโรงเรียนแก้ปัญหานี้
       
       คุณหญิงกษมา กล่าวว่า สพฐ.ต้องการให้ ผอ.สพท.นำผู้บริหารสถานศึกษามาเข้ารับการพัฒนาให้เข้าใจเรื่องจิตวิทยาวัยรุ่นการสร้างวินัยเชิงบวก การเพิ่มคุณค่าให้กับเด็ก เพื่อให้ผู้บริหารเหล่านี้สามารถสร้างแนวทางแก้ปัญหาในสถานศึกษาของตนเองได้ อย่างไรก็ตาม สพฐ.ก็จะพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนต่อ พร้อมประเมินผลเพื่อให้ระบบดังกล่าวเป็นระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจริงๆ
       
       ทั้งนี้ สพฐ.ได้สุ่มสำรวจความเห็นในเรื่องปัญหานักเรียนจากผู้บริหาร สพท.และผู้บริหารสถานศึกษาจาก 4 ภูมิภาค จำนวน 489 ราย กลุ่มผู้บริหารระบุว่าปัญหาหนีเรียนและโดดเรียนของนักเรียนเป็นปัญหาสำคัญและมีความรุนแรง มากที่สุด ร้อยละ 18.2 รองลงมา คือ ปัญหาหารสูบบุหรี่และดื่มของมึนเมาของนักเรียน ร้อยละ 17.9 ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน ร้อยละ 13.6 ปัญหาการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 13.9 และปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวันอันควร ร้อยละ 12.6

ที่มา http://manager.co.th/ 
เครดิต J - Doramanga.com

แสดงความคิดเห็น

>

10 ความคิดเห็น

++* 28 ต.ค. 50 เวลา 11:50 น. 2

ญี่ปุ่นน่ากลัวอ่ะ

พวกยากูซ่าเยอะ&nbsp  แล้วดูเด็กญี่ปุ่นแต่งหน้าทำผมแต่ล่ะคนดิ

น่ากลัวว่ะ

0
อลิส 28 ต.ค. 50 เวลา 11:59 น. 3
เราไปญี่ปุ่นบ่อยนะ คนที่ถูกกรังแกอะ ก้อมีเยอะ โดยเฉพาะพวกที่ไม่สุงสิงกับคนอื่น

ชอบหยุคนเดียวมักจะโดนรังแก เพาะทำไห้เหมือนตัวเองเปนจุดเด่น 

พวกนั้นก้อเลยรังแกกัน ยิ่งตอบโต้จะโดนเปนหมู่เรย

0
123 28 ต.ค. 50 เวลา 12:08 น. 5

เราเรียนอยู่ศิลป์ - ญี่ปุ่นอ่ะ ครูเล่าให้ฟังว่าเด็กญี่ปุ่นเวลาทำร้ายกัน(ตีกัน)นะ โคตรแรงเลยบางครั้งก้อเอามาจานทั้งโรงเรีรยนมั้ง&nbsp ที่แรงที่สุดของเด็กผู้ ช ที่เป็นคู่อริกานก้อคือให้ช่วยตัวเองให้ดูอ่า&nbsp โคตรเลยเอ๊าะ&nbsp แล้วที่ร้ายที่สุดเรยที่เคยเป็นประวัติมาแร้วอ่านะ อานนี้ครูเล่าให้ฟังนะ ก้อคือเด็ก ญ 2 คนอ่าแค้นเรื่องอารายก้อม่ายรู้อ่า&nbsp อยู่ดี ๆ ฝ่ายนึงก้อถือปืนมายิงแล้วก้อลากปายตัดคออ่า แล้วก้อเอาหัวเสียบประจารหน้าโรงเรียนภายหลังมาถูกจับอ่า เขาให้คำสารภาพว่าเก็บกดเนื่องจากถูกด่ามานาน

0
ChoryChangter 28 ต.ค. 50 เวลา 14:51 น. 7

น่ากลัวจิงๆ

รร. เราอยุไกล้ๆกะพวกเทคนิค เทคโน  มัธยม ชายล้วนไรเงี้ยย

เต็มไปหมด

เเล้วแถมอยู่ในละแวกเดียวกันอีก บวก กับดันเปนใจกลางเมือง

กำกำเเละกำ เลยพี่น้อง

ตีกันข้ามโรงเรียน

ไอ รร. เรา หญิงล้วน พลอยซวยไปด้วยเลย

บางทีเดินๆอยู่ สปาต้า จะเจาะกบาลเอา  -* -

น่ากลัวเลย  พี่น้อง

สมัยนี้ต้องระวังง  สังคมมันอันตราย จิงๆ

0