Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โบราณสถาน-โบราณวัตถุ วัดพะโคะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
โบราณสถาน-โบราณวัตถุที่สำคัญ
ของดีวัดพะโคะ
•  พระสุสรรณสมลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ

สร้างระหว่าง พ.ศ. ๒๐๕๗-๒๑๑๑ ปรากฏว่าพระยาธำรงกษัตริย์ (บางตำรากล่าวว่าพระธรรมรังคัล) เจ้าเมืองพัทลุงเมื่อครั้งตั้งอยู่ที่อำเภอสทิงพระปัจจุบันได้นิมนต์พระมหาอะโนมทัสสี ไปเอาพระบวนพระมหาธาตุจากลังกามาก่อพระเจดีย์ สูง ๑ เส้น บรรจุพระมหาธาตุแล้ว ครั้นอยู่ต่อมาถูกบูรณะมาหลายครั้ง จนถึงสมัยสมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปปรมาจารย์ (หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด)

ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๔๘-๒๑๖๓ ได้บูรณปฏิสังขรณ์อีกยอดเจดีย์ทำด้วยโลหะ ๓ วา ๓ คืบ สูง ๑ เส้น ๕ วา ลูกแก้วที่พญางูคายให้เมื่อท่านยังเป็นทารกได้ไว้บนยอดเจดีย์ด้วยจึงให้ชื่อพระเจดีย์ ว่า พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ระยะกาลต่อมาปรากฏว่าถูกบูรณะมาหลายครั้ง ครันต่อมาระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๔ ถึง ๒๔๖๐ เจ้าอธิการแก้วพุทธมุนี วัดดีหลวง จัดการบูรณปฏิสังขรณ์ ครั้งสุดท้ายยอดทำด้วยโลหะทองแดง ๑ เส้น ๑๐ วา ฐานล่าง บริเวณพระเวียนหรือระเบียงรอบยาวด้านละ ๑๗ เมตร ระเบียงและผนังเจดีย์ทั้ง ๔ ด้านได้บูรณะครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. ๒๕๒๔ สมัย พระครูสุนทรสิทธิการย์ (พระอธิการเขียว ปุญญฺผโล) โดยได้รับบูรณะด้วยเงินจากทางกรมการศาสนาและเงินรายได้ของวัด จำนวน ๓๙๐,๐๐๐ บาท

•  พระพุทธไสยาสน์พระพุทธโคตรมะ ปางปรินิพพาน

สร้างระหว่าง พ.ศ. ๒๐๕๗-๒๑๑๑ พร้อมกับองค์พระเจดีย์ ได้บรรจุพระธาตุไว้ภายใน

(เดิมวัดนี้เรียกว่าวัดพระราชประดิษฐาน เมื่อสร้างพระพุทธโคตรมะ ชาวบ้านเรียกว่าวัดพระโคตรมะ สมันต่อมาเพี้ยนเป็นวัดพะโคะ) ต่อมาถูกบูรณะหลายครั้ง จนถึงสมัยสมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์อีกระหว่างปีพ.ศ. ๒๑๔๙-๒๑๖๓ ระยะการต่อมาพระพุทธไสยาสน์ชำรุดทรุดโทรมยังแต่ทารก ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๔๖๐ เจ้าอธิการแก้ว พุทธมุนี วัดดีหลวงได้บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งองค์และบรรจุพระบรมธาตุไว้ภายในขนาดตั้งแต่ฝ่าพระบาทถึงพระเศียร (ยาว ๑๘ เมตร กว้าง ๒.๕๐ เมตร

วิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระพุทธโคตรมะ) ได้บูรณปฏิสังขรณ์ ครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ สมัยพระอธิการเขียว ปุญฺญผโล (พระครูสุนทรสิทธิการย์เจ้าอาวาสปัจจุบัน) โดยได้รับเงินจากกรมการศาสนาจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท

ขั้นก่อน พ.ศ. ๒๔๘๐ เจ้าอธิการดำ ติสฺสโร เจ้าอาวาสวัดศิลาลอย ได้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระพุทธไสยาสน์ คือพระเศียร พระหัตถ์ทั้งสอง พร้อมด้วยลงรักปิดทองทั้งองค์เป็นครั้งสุดท้าย

  

•  รอยฝ่าพระพุทธบาท

สมัยบูชาพระพุทธบาท ปัจจุบันชาวบ้านเชื่อว่ารอยฝ่าพระบาทสมเด็จเจ้าพะโคะ ได้เหยียบ

ไว้บนแท่นหินใหญ่มีมาก่อนสร้างวัดอีก เขาพะโคะนี้ เดิมเรียกว่าเขาพิพัทธสิงห์บ้าง เขาพระพุทธบาทบ้าง เข้าใจว่าเขานี้เดิมเชื่อเขาพิพัทธสิงห์มาก่อน เมื่อมีฝ่าพระบาทขึ้นก่อน ภายหลังจึงเรียกว่าพระพุทธบาท

ตามคติความเชื่อของชาวพุทธศาสนิกชน เมื่อพระพุทธเจ้าครั้งประสูติเดินได้ ๗ ก้าว หมายถึงพระพุทธเจ้าเผยแพร่ ศาสนาครั้งพุทธกาลได้ ๗ แคว้นหรือเหยียบรอยพระพุทธบาทไว้ ๗ แห่ง เมื่อมาพิจารณาหลักฐานที่ปรากฏรอยพระบาทไว้ ๗ แห่ง แสดงว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประเทศไทยแน่นอน และเสด็จโดยลำดับต่อไปนี้

•  เหยียบรอยพระพุทธบาท ไว้ที่ดอยผาเลือก

•  เหยียบรอยพระพุทธบาท ไว้ที่ตำบลสันทรายหลวง

•  เหยียบรอยพระพุทธบาท ไว้ที่เขาพระพุทธบาทสระบุรี

•  เหยียบรอยพระพุทธบาท ไว้ที่เกาะแก้วพิสดารจังหวัดภูเก็ต

•  เหยียบรายพระพุทธบาท ไว้ที่เขาพิพัทธสิงห์พะโคะ

•  เหยียบรอยพระพุทธบาท ไว้ที่เขาปฐมโกฐ์ ลังกา

•  เหยียบรอยพระพุทธบาท ไว้ที่เนินเขาพรหมโยนีอินเดีย

รอยพระพุทธบาทในประเทศไทย ๕ แห่ง ดังปรากฏในบทสวดลายลักษณ์ ครั้งโบราณ

ดังนี้

“ พระบาท ๕ แห่ง พระบาทสำแดง เหยียบย่างไว้นั้นเป็นที่สันทา นาคาสพสรรพ์ มนุษย์คน

ธรรมพ์ ครุฑ ธิราชอสสุราฯลฯ หญิงชายทั้งหลาย อย่าได้ดูเบาเล่าเรียนเขียนเอา จำไว้ขึ้นใจ ” ... ส่วนขนาดพระพุทธบาทวัดพะโคะจากรอยส้นเท้าพระบาทถึงปลายพระบาท ยาว ๑๖ นิ้ว ปลายทางกว้าง ๙ ๑ / ๒ นิ้ว ส่วนกลางกว้าง ๗ นิ้ว ส่วนเส้นพระบาทกว้าง ๔ ๑ / ๒ นิ้ว รอยพระพุทธบาทแห่งอื่น ๆ ก็ขนาดเดียวกัน ต่อมาชาวบ้านเชื่อว่าเป็นรอยพระพุทธบาทของสมเด็จพะโคะเหตุเพราะด้วยความเคารพนับถือเชื่อในปาฏิหาริย์ ของสมเด็จเจ้าจึงทำให้ชาวบ้านเปลี่ยนทัศนคติเดิมนิยมเชื่อว่ารอยพระบาทของสมเด็จเจ้าพะโคะ

ปรากฏในประวัติวัดพระธาตุจอมแตง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่หน้า ๕-๖ สรุปความว่า “ สมัยพุทธกาลใกล้จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธองค์ ดำริประดิษฐานพระพุทธศาสนาโปรดเวไนยนิกร ตามแคว้นชนบทต่าง ๆ จึงเสด็จพร้อมด้วยเหล่าพระอรหันต์ทั้งหลายมีพระอานนท์เป็นอาทิ เสด็จมาโดยลำดับสู่นิคมน้อยใหญ่จนถึงแคว้นกุมภะมิตนคร สมัยนี้เรียกว่าอำเภอฝาง พระองค์ทรงเทศนาโปรดโสกยักษ์ให้เลื่อมใส ศรัทธารู้บาปบุญคุณโทษ แล้วเสด็จลงมาตามลำน้ำแม่ระมิงค์ ในเขตอำเภอแม่แตง พระองค์ได้อธิษฐานรอยพระบาทไว้และทรงเทศนาโปรดนายบ้านทมิฬชื่ออ้ายเลิง จนเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาแล้วเสด็จลงมาตามลำดับและพระองค์เสด็จมาตามไหล่เขาต่าง ๆ ฯลฯ

นี้เป็นหลักฐานที่พอเชื่อได้ว่าพระพุทธเจ้า เสด็จโปรดเวไนยนิกรเข้ามาในประเทศไทย และเสด็จมาถึงเขาพิพัทธสิงห์ (พะโคะ) ได้อธิษฐานเหยียบรอยพระพุทธบาทไว้ดังปรากฏอยู่ปัจจุบัน ซึ่งมีก่อนตั้งวัดเรียกว่าเขาพุทธบาทบรรพต

•  ลูกแก้วคู่บารมีของสมเด็จพะโคะ

เป็นลูกแก้วลักษณะผิดจากลูกแก้วธรรมดา ปรากฏว่าพญางูคายให้เมื่อครั้งสมเด็จราชมุนี

สามีรามคุณูปรมาจารย์ (หลวงพ่อทอดเหยียบน้ำทะเลจืด) ยังเป็นทารก เมื่อตอนมารดาบิดา เกี่ยวข้าวผูกแปลให้นอนใต้ต้นเหม้ากลางทุ่งนา “ สถานที่นี้เรียกว่านาเปลจนถึงปัจจุบัน ” ครั้นต่อมาเมื่อสมเด็จเจ้าฯ กลับจากกรุงศรีอยุธยามาบูรณปฏิสังขรณ์โบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ท่านได้เอาลูกแก้วคู่บารมีไว้บนยอดเจดีย์ ครั้นต่อมาฟ้าผ่าเจดีย์ ลูกแก้วพลัดตกลงมา เจ้าอาวาสได้เก็บรักษาไว้ที่วัดพะโคะจนถึงปัจจุบัน

(ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตอนนี้ผู้เขียนยังเป็นพระภิกษุ และรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพะโคะ จำได้ในเดือนมีนาคม ๒๔๘๔ มีพระอาคันธุกะ ๒ รูปมาพักอยู่ที่วัดตอนค่ำเวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. พระอาคันธุกะ คือพระลั่น และพระเคียง ขอดูลูกแก้ว ผู้เขียน (พระชัย วิชโย) ได้นำลูกแก้วจากในห้องกุฏิออกมาให้ดูพระเคียงถามถึงประวัติความเป็นมาของลูกแก้ว ผู้เขียนได้เล่ามาพอเป็นสังเขป จนกระทั่งนายจีนคนวิกลจริต เอาก้อนหินใหญ่ตีลูกแก้วแตก (ดูประวัติวัดพะโคะตอนสมัยสมเด็จเจ้าบูรณะโบราณวัตถุ) ตอนนั้นพระเคียงได้จุดธูปเทียนบูชาลูกแก้ว ผู้เขียนบอกว่าจะเอาลูกแก้วไปให้ช่างทางกรุงเทพฯเจียระไนหรือหล่อใหม่ ขณะนั้นพระเคียงร่างกายสั่นเสียงที่พูดเหมือนคนชรา พูดว่าเราคือสมเด็จเจ้าฯ ต้องการมาบอกว่าอย่าเอาลูกแก้วหล่อใหม่คนภายหลังจะไม่มีความเชื่อถือลูกแก้วถึงคราวที่จะแตกเหมือนคนเราเป็นของไม่มีเที่ยงเป็นธรรมดา ขณะนั้นผู้เขียนไม่เชื่อว่า สมเด็จเจ้าฯ ประทับทรงผู้เขียนเลยถามความเป็นมาของลูกแก้ว ผู้ประทับทรงบอกว่าพญางูให้เมื่อเป็นทารก และได้ไว้บนยอดเจดีย์ฟ้าผ่าตกลงมาจึงอยู่ที่วัดนี้ ผู้เขียนได้ถามเหตุการณ์ของประเทศไทยในภาวะสงครามที่ล่วงมาแล้ว และการข้างหน้าหลายเรื่องและเรื่องประวัติของสมเด็จเจ้า ปรากฏว่าถูกต้องตามความเป็นจริงหากนำลงพิมพ์เป็นการน่าศึกษา รุ่งขึ้นพระภิกษุสามเณรในวัดรู้เรื่องสมเด็จเจ้าฯเข้าประทับทรง ตอนค่ำเวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. พระบุตรฯ อาศัยอยู่กุฏิข้างศาลาว่าความจุดธูปเทียนบูชาระลึกถึงสมเด็จฯ หากคืนก่อนสมเด็จฯ เข้าประทับจริงขอให้มาประทับทรงตนเองเพื่อความเชื่อมั่น ขณะนั้นพระบุตรฯ มีร่างกายสั่นมีเสียงดังฮือ ๆ ผู้เขียนได้ยินดังนั้นก็ไปดูและถามเรามาประทับทรงจริงไม่ต้องสงสัยและบอกว่าจะกลับแล้ว ร่างกายและเสียงของพระบุตรฯ ก็ปกติลูกแก้วนี้บางครั้งก็เกิดแสงสว่างขึ้นในห้องที่เก็บรักษาและใช้แช่น้ำทำน้ำมนต์

  

•  รูปจำลองสมเด็จพะโคะ

รูปจำลองหรืออนุสาวรีย์ของสมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ (หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

(๑) ปางนั่งสมาธิ หน้าตักกว้าง ๒๗ นิ้ว สมัยพระอธิการ เขียว ปุญฺญผโล (พระครูสุนทรสิทธิการย์อาวาสปัจจุบัน) ได้จัดสร้างที่วัดปัตตานีนรสโมสน จังหวัดปัตตานี้นำมาไว้ในมณฑปพระพุทธบาท เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๖ (ผู้เขียนเล่าปาฏิหาริย์ริย์รูปจำลองของสมเด็จในตอนนำรูปจำลองจากปัตตานีมาไว้ ณ วัดพะโคะพอเป็นสังเขป)

คือในคืนวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๐๖ ทำพิธีสมโภชรูปจำลองฯ ตอนเช้าเคลื่อนรถขบวนแห่รูปรำลองจากปัตตานีฯ ผู้เขียนอยู่ประจำรถขบวนด้วย และหยุดพักเป็นแห่ง ๆ รุ่งขึ้นวันที่ ๒๘ เมษายน เวลา ๑๓.๐๐ น. เคลื่อนรถขบวนรูปจำลอง ปรากฏว่าภายในเดือน มีนาคม-เมษายน ๒๕๐๖ นั้นในเขตอำเภอนาทวีฝนไม่เคยตกเลย แห้งแล้งทำความเดือดร้อนแก่ราษฎรผู้มีอาชีพเพาะปลูกเป็นอย่างยิ่ง นายซุ่น หรือปลัดชอบ (นามสกุลจำไม่ได้) บ้านนาทวีได้พูดขึ้นว่า (ถ้ารูปจำลองสมเด็จเจ้าศักดิ์สิทธิ์จริงขอให้ฝนตก) เมื่อรถขบวนเคลื่อนออกตอนนั้นปรากฏว่าบนอากาศมือด้วยก้อนเมฆมีประมาณทั่วทั้งอำเภอนาทวี ฝ่าห่าแก้ว (ในลูกเห็บ) ตกลงมาขนาดหนักทั่วทั้งอำเภอนาทวี เมื่อรถขบวนถึงตลาดคลองแงะตอนค่ำได้พักในบริเวณ ร.ร.คลองแงะทำพิธีสมโภช ตอนเช้าวันรุ่งขึ้นนำรถขบวนไปยังอำเภอสะเดาเพื่อให้ประชาชนสักการบูชา ได้มีผู้ขี่รถเครื่องตรงมาแนวทางแห่ใกล้จะถึงรถแฉลบล้มลงออกข้างทาง รถขบวนทั้งรถทั้งคนไม่เป็นอันตราย ตอนกลับจากอำเภอสะเดามีผู้ขี่รถเครื่องตามมาโดยเร็ว และได้วิ่งผ่านหน้ารถขบวนใกล้ รถเครื่องคันนั้นก็แฉลบล้มออกไปแนวรถแห่คนทั้งรถก็ไม่เป็นอันตราย และคนในรถขบวนได้บอกเจ้าของรถเครื่องว่าให้ขอขมาโทษท่านสมเด็จฯ เสีย รถขบวนได้วิ่งไปตามผ่านเข้าถึงเขตเทศบาลเมืองสงขลา รถขบวนได้วิ่งไปตามถนนสายต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชา ขบวนออกจากสงขลาแล้วมาถึงตำบลชุมพลอตอนเย็น และได้พักที่ต้นยางไม้เท้า ๑ คืน วันรุ่งขึ้นทำพิธีสมโภช แล้วมีขบวนแห่รูปจำลองสมเด็จเจ้าฯ ไปสูวัดพะโคะ ปรากฏว่าวันนั้นมีเมฆบาง ๆ กั้นแสงพระอาทิตย์ (ไม่มีแดดจัด) ในอาณาบริเวณอันกว้างทำให้ประชาชนที่ร่วมขบวนแห่ไม่ร้อนไปทั่วกัน ดั่งที่เล่ามานี้แสดงให้เห็นว่าอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ของสมเด็จฯ

•  อนุสาวรีย์สมเด็จพะโคะ

อนุสาววรีย์สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมจารย์ (หลวงพ่อเหยียบน้ำทะเลจืด) ปาง

จาริกธุดงค์ ทางคณะกรรมการสมาชิกสภาจังหวัดสงขลามีหม่อม ทองคำเปลวทองใหญ่ ผู้ว่าราชการเป็นประธาน นายกิตติ วิภาคประธานสภาจังหวัด เป็นผู้ดำเนินการจักสร้างรูปแบบการปฏิปทากิจวัตร ของสมเด็จเจ้าฯ จนท่านมนณภาพ จึงจัดสร้างหล่อด้วยโลหะสูง ๑.๘๐ ณ ที่หน้าศาลากลางจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ และได้นำมาประดิษฐานไว้ในมณฑปใกล้ประตูชัยของวัดพะโคะเพื่อที่จะให้ประชาชนสักการบูชา

•  ปูชนียวัตถุอื่น ๆ

•  พระยืน พระทรงเครื่อง พระนั่งขนาดต่าง ๆ เป็นของโบราณและปัจจุบันหลายสิบองค์

•  โบราณวัตถุ ภาชนะของใช้ต่าง ๆ เช่น ถ้วย โอ่งเป็นต้น มีมากมายเก็บรักษาไว้เป็น

พิพิธภัณฑ์ของวัด มีไว้ เพื่อการศึกษาต่อไป

•  ภาพจิตรกรรม

ที่ฝาผนังศาลาการเปรียญทางทิศใต้มณฑปพระพุทธบาทเรียกว่าภาพปริศนาธรรม มีหลาย

สิบเรื่องเป็นภาพเขียนรุ่นใหม่ ปี ๒๕๑๘-๒๕๑๙ โดยพระปัญญาทีปะวรศักดิ์และพระดำรงซึ่งเป็นศิษย์จากสวนโมกพลาราม ภาพปริศนาธรรมนี้ อาศัยความคิดจากพุทธทาสภิกขุ

•  พระบูชา พระเครื่อง

พระบูชา พระเครื่อง รูปสมเด็จเจ้าพะโคะ (หลวงพ่อทวด) มีขนาด ต่าง ๆ ทำด้วย ว่าน

โลหะ รูปยืน รูปนั่งทั้งองค์ เหรียญ ผ้ายันต์ฝ่าพระบาท ได้เริ่มสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้ทำพิธีพุทธาภิเษกมาหลายครั้ง มีไว้เพื่อให้ผู้เคารพนับถือนำไปสักการบูชา ไว้ประจำบ้านเรือนและยานพาหนะเพื่อเป็นสิริมงคล ความปลอดภัย ซึ่งเคยปรากฏผลมาแล้วแก่ผู้นำไปสักการบูชาและเชื่อมั่นเป็นปูชนียวัตถุที่ประชาชนนิยมทั่วทั้งประเทศและต่างประเทศ

PS.  ฉันเป็นโอทาคุบ้าการ์ตูน บ้าanime อ่านY แต่งคอสเพลย์ ชอบฮารุอิ รักมิคางามิ กิ๊กมินะ คลั่งสาวแว่น ติดฟิกเกอร์มันผิดตรงไหน Y.Y

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น