Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รัฐธรรมนูญ คืออะไร.....

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

                   

       ความหมาย

       รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ
๑๐ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕

       ความเป็นมา

       การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทยเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ใช้กันมาเป็นเวลา ๗๐๐ ปีเศษ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

       สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง


       1. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย 

       2. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ 

       3. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน 

       4. รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

       จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

        วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ 

       ๑. พระมหากษัตริย์

       ๒. สภาผู้แทนราษฎร

       ๓. คณะกรรมการราษฎร

       ๔. ศาล

       ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

       กระทั่งถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน

       แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้

       หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

       รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

      
ขอขอบคุณข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

แสดงความคิดเห็น

>

17 ความคิดเห็น

นากามูระ ชิเอกิ 10 ธ.ค. 50 เวลา 11:09 น. 1


ฮี่ฮี่ ภูมิใจ เข้ามาเป็นคนแรกเล้ย


PS.  เวลาจะรักใครทำไมต้องโดนเพื่อนสนิทแย่งไปทุกที เจ็บใจจริงจริง จำไว้ถ้าแย่งคืนได้ชั้นก็จาแย่ง
0
amelia moedoerex 10 ธ.ค. 50 เวลา 16:16 น. 2

ประชาธิปไตยจอมปลอม     เมื่อไหร่จะหมดสมัย?     ต่อให้แก้รัฐธรรมนูญไปมากเท่าไหร่แต่ประชาธิปไตยยังไม่ใช่ประชาธิปไตยของคนไทยอย่างแท้จริง    แล้วจะมีอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญไปทำไม


PS.  สิงสถิตอยู่เด็กดีเป็นเวลา 1 ปีแล้วครับ
0
..ไฟ 10 ธ.ค. 50 เวลา 20:17 น. 4

รู้ค่ะ คือ วันเกิด ปะป๋า เราเอง happy birthday น่ะค่ะ มีฟามสุกมากๆ อยู่กับลูกๆไปนานๆ ขอพระเจ้าประทานความสันติสุข แล้วก็คุ้มครอง ด้วยน่ะค่ะ อามีนนน

0
chavas Social Media Marketing 11 ธ.ค. 50 เวลา 00:24 น. 6

อ๋อย พยายามตั้งใจอ่าน แต่อ่านไม่รู้เรื่อง 555+

พอสรุปได้ว่า 

เป็นวันที่มี รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกได้ใช้ และถือว่าเป็นฉบับภาวร

รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุด

ซึ่งตอนนี้เป็นฉบับที่เท่าไหร่แล้วก้ไม่รู้ ประมาณ 26




โดยที่ประเทศ อังกฤษ มีรัฐธรรมนูญ ฉบับ แรก และ ฉบับเดียว ใช้ถึงตอนนี้


PS.  กำ = =" เด็กใกล้ Admission อีกไม่ถึง 100 วัน T_T~~D.S.122
0
apheraphon 17 ม.ค. 53 เวลา 09:35 น. 8

ชัวงนี้เหนามักมาก
อากาสก็เปลียนแปลงตลอด
จนกระทั้งรางกายปรับตัวไม่ทั่น
ปัญหาการปรับตัวไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง
รักษาดูแลเอาใจใสสุขภาพจิตสุขภาพใจสุขภาพรางกายทุกท่านด้วยนะ

ด้วยความรักและหัวงใหญ่จากใจจริง

0
ปัญญาชน 6 มิ.ย. 55 เวลา 10:35 น. 13

รัฐ&nbsp หมายถึง&nbsp อนาเขต&nbsp ดินแดน&nbsp หรือ พื้นที่&nbsp ทีมีการปกครอง&nbsp แบบเดียวกัน&nbsp  เป็นอันหนึ่งเดียวกัน&nbsp แบ่งแยกมิได้
&nbsp รัฐที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุด&nbsp คือ&nbsp ประเทศ&nbsp &nbsp &nbsp 
ดังนั้น&nbsp รัฐธรรมนูญ&nbsp จึงหมายถึง&nbsp  แนวทางปฏิบัติสูงสุด&nbsp ของประชาชน&nbsp ในอณาเขต&nbsp ดินแดน&nbsp 
หรือ&nbsp ในพื้นที่&nbsp ของรัฐ&nbsp ในแต่ละ&nbsp รัฐ&nbsp 


องค์ประกอบ&nbsp ของรัฐธรรมนูญ&nbsp ประกอบด้วย

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 1&nbsp กฎ(หมาย) สูงสุด
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 2&nbsp การใช้อำนาจสูงสุด (อธิปไตย)
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 3&nbsp การปกครองสูงสุด (ประชาธิปไตย)
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 4&nbsp ความยุติธรรมสูงสุด(ธรรมนูญ)

0
ปัญญาชน 28 ส.ค. 56 เวลา 00:51 น. 14

เสนอความคิดเห็น เรื่องรัฐธรรมนูญ

คำว่า “ รัฐ ” หมายถึง อาณาเขต ดินแดน หรือ พื้นที่ ที่มีการปกครองแบบเดียวกัน และ เป็นอันหนึ่งเดียวกัน แบ่งแยกมิได้ รัฐที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุด ก็คือ ประเทศ ดังนั้น รัฐธรรมนูญ จึงหมายถึง แนวทางปฏิบัติสูงสุดของประชาชน ในอาณาเขต ดินแดน หรือ พื้นที่ ของรัฐ ในแต่ละรัฐ

รัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย
(1 ) กฎ (หมาย ) สูงสุด ( มีความถูกต้องสูงสุด หรือ ที่สุด )
( 2 ) การใช้อำนาจสูงสุด ( อธิปไตย )
(3 ) การปกครองสูงสุด ( ประชาธิปไตย )
(4 ) ความยุติธรรมสูงสุด ( ธรรมนูญ )

ตามหลักกฎ ( หมาย ) เราใช้กฎ ( หมาย ) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา อธิบายปัญหา และ ตอบปัญหา ได้ถูกต้องที่สุด

ตามหลักอำนาจ (อธิปไตย) ผู้มีหน้าที่ หรือ เจ้าหน้าที่ ใช้อำนาจอธิปไตย อันเป็นสิทธิ และ หน้าที่ เพื่อแก้ไขปัญหา ควบคุมปัญหา และ ป้องกันปัญหา ให้ดีที่สุด โดยใช้ข้อบังคับ เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ( มิใช่กฎหมาย )

ตามหลักการปกครอง (ประชา + ธิปไตย) ประชาชนร่วมกันใช้ อำนาจธิปไตย เพื่อ บังคับ ควบคุม ผู้มีหน้าที่ หรือ เจ้าหน้าที่ให้ทำงาน อย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และ มีประสิทธิผลสูงสุด โดยใช้ข้อบังคับ เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ( มิใช่กฎหมาย )

เมื่อผ่านหลักทั้ง 3 หลัก นี้แล้วปัญหา และ ความขัดแย้งทั้งหลาย ต้องหมดสิ้นไป หรือเหลือน้อยที่สุด แต่ทำไมปัญหา และ ความขัดแย้งทั้งหลาย ยังอยู่ ไม่ลดลง แต่กลับเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้หลักที่4 มาแก้ปัญหา นั่นคือ ใช้หลักความยุติธรรม เข้ามาประมวลผล เพื่อหาข้อยุติของปัญหา และ ตรวจสอบค้นหาความผิดพลาด ของกฎ ( หมาย ) การใช้อำนาจ ( อธิปไตย ) และ การปกครอง ( ประชาธิปไตย ) ทั้งในส่วนทฤษฏี และ ปฏิบัติ

ตามหลักกฎหมาย กฎหมาย คือ กฎ ( หมาย ) กฎหมายมิใช่การปกครอง กฎหมายมิใช่การใช้อำนาจ ( อธิปไตย ) และ กฎหมายมิใช่ความยุติธรรม ดังนั้น ความยุติธรรมก็มิใช่กฎหมายเช่นกัน แล้วความยุติธรรม คืออะไร ?

ความยุติธรรม คือ การยุติปัญหา ยุติความขัดแย้ง มิใช่ยุติที่กฎหมาย แต่เป็นการ นำการปกครอง นำกฎหมาย และ นำอำนาจ(อธิปไตย) อันเป็นสิทธิ และ หน้าที่ เข้ามาประมวลผล เพื่อหาข้อยุติของปัญหา ยุติความขัดแย้ง และ ให้ความเป็นธรรม
คือ สมดุล ในผลของประโยชน์ และ ผลของโทษ เช่นการลงโทษผู้กระทำความผิด ให้สมดุลกับมูลค่า ของการกระทำความเสียหาย ที่ได้กระทำไว้ ต่อชีวิต และ ทรัพย์สินของผู้อื่น ประดุจดั่ง ตาชั่งคาน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของความยุติธรรม ตาชั่งต้องหยุดนิ่ง ไม่แกว่ง ( ปัญหายุติแล้ว ) และ ต้องสมดุล ไม่เอียงข้าง ( ความเป็นธรรม )

0