ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อารยธรรมอินเดีย (Indian Civilization)

    ลำดับตอนที่ #11 : สังคมและวัฒนธรรมของอินเดีย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 9.53K
      9
      9 พ.ย. 52

    ปัจจุบันตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการระบุว่าอินเดียมีประชากรอยู่ราว 1,300 ล้านคน แบ่งเป็นชาวอินโด-อารยันร้อยละ 72 ดราวิเดียนร้อยละ 25 ที่เหลือเป็นพวกมองโกลอยด์ และอื่นๆ ภาษาที่ใช้กันในประเทศอินเดียมีอยู่ประมาณ 325 ภาษา หากแยกเป็นสำเนียงท้องถิ่นจะมีถึง 1,652 ภาษา ด้วยจำนวนภาษาที่มากขนาดนี้ทางการอินเดียจึงกำหนดภาษาราชการไว้ทั้งสิ้น 18 ภาษา ในจำนวนนี้มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ซึ่งทำให้อินเดียเป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษมากที่สุดในโลก ส่วนภาษาที่ใช้รองลงไปคือ "ฮินดี"

    ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูคิดเป็นร้อยละ 81 มุสลิมร้อยละ 13 คริสต์ร้อยละ 2.3 ซิกข์ร้อยละ 1.9 พุทธ เชน และอื่นๆ ร้อยละ 1.8 อัตราการรู้หนังสือเฉลี่ยร้อยละ 60 โดยทั่วไปประชากรต่างศาสนาจะให้ความเคารพ ซึ่งกันและกัน รวมทั้งยังมีการถือวัฒนธรรมร่วม  ซึ่งจัดเป็นวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง และเคร่งครัด อาทิ สตรีนิยมสวมซาหรี หรือ สัลวาร์กามิซ การให้เกียรติสตรี และการเคารพบูชาเทพเจ้า เป็นต้น คนอินเดียมีนิสัยรักสงบ และสุภาพ แต่ค่อนข้างอยากรู้อยากเห็น รวมทั้งจะไม่ทำร้ายสัตว์ทุกชนิด (ยกเว้นงานเทศกาลของบางศาสนา) โดยเฉพาะวัวซึ่งถือเป็นสัตว์เทพเจ้า ซึ่งอาจเห็นอยู่ตามท้องถนนเป็นกิจวัตร ส่วนสัตว์เล็กๆ อย่างกระรอก และนก จะมีให้เห็นอยู่เสมอ แม้จะเป็นเมืองใหญ่ก็ตาม


    วรรณะของชาวอินเดียเรื่อง "วรรณะ" เป็นเรื่องที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจชาวอินเดียมายาวนาน ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้เขียนอยู่ในอินเดีย ได้ออกไปพบชาวอินเดียตามชนบทหลายครั้ง แล้วถูกเขาถามว่าเป็นวรรณะอะไร เมื่อตอบว่าไม่มีวรรณะ เขาจะรู้สึกแปลกใจว่า เป็นไปได้อย่างไรที่เป็นมนุษย์แล้วไม่มีวรรณะ การที่ตอบว่าไม่มีวรรณะ เป็นคำตอบที่เขาคิดว่าเหลวไหล คล้ายกับถามว่า "เป็นลูกใคร" แล้วตอบว่า "ไม่มีพ่อ" เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดมาแล้วไม่มีพ่อ หากไม่รู้ว่าใครเป็นพ่อก็ยังพอฟังได้ แต่คำตอบว่าไม่มีพ่อนั้นเหลวไหลสิ้นดี ความคิด ความเชื่อของชาวอินเดียในชนบทเช่นนี้ ย่อมบอกให้เรารู้ว่า เรื่อง "วรรณะ" เป็นเรื่องใหญ่ของชาวอินเดีย
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×