น้องๆ ชาว Dek-D ทราบหรือไม่ว่า ประเทศเราจะมีการปรับหลักสูตรที่เราเรียนอีกครั้ง คาดว่าจะเริ่มใช้กับโรงเรียนนำร่องประมาณ 3,000 โรงเรียนในปีการศึกษาหน้านี้ ไม่รู้ว่าจะเป็นโรงเรียนไหนบ้างนะ แต่พี่เกียรติขอพาไปทำความรู้จักกับว่าที่หลักสูตรใหม่นี้กันสักหน่อยค่า แต่! ขอบอกว่านี่้ยังเป็นแค่ร่างหลักสูตรนะจ๊ะ ยังไม่ใช่หลักสูตรสมบูรณ์จริงๆ แต่เราในฐานะผู้ที่จะต้องเรียนหลักสูตรนี้ ก็ควรรู้จักเผื่อกันไว้ก่อนจ้า



         สิ่งที่น้องๆ ต้องเข้าใจก่อนเลยก็คือ  หลักสูตรขั้นพื้นฐาน หมายถึงหลักสูตรตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 ค่ะ โดยไม่นับรวมหลักสูตรปฐมวัย (อนุบาล)และหลักสูตรสายอาชีพที่เพิ่งมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรเรียบร้อยไปแล้ว


     เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีการประชุมเรื่องการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ เบื้องต้นทราบว่าหลักสูตรใหม่นี้จะแบ่งการจัดการศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาออกเป็น 6 กลุ่มสาระวิชา ได้แก่ 
  1. กลุ่มภาษาและวรรณกรรม
  2. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
  3. ชีวิตกับโลกของงาน
  4. เทคโนโลยีสารสนเทศ
  5. สังคมและความเป็นมนุษย์ 
  6. โลก ภูมิภาคและอาเซียน




       และจะปรับลดชั่วโมงเรียนในห้องเรียนเหลือ 600 ชั่วโมงต่อปี และเรียนนอกห้องเรียน 400 ชั่วโมงต่อปี จากเดิมที่เรียน 1,000 - 1,200 ชั่วโมงต่อปี โดยจะใช้หลักสูตรใหม่นี้นำร่องในโรงเรียนทุกสังกัด ทั้งโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนเอกชน โรงเรียนส่วนบริหารท้องถิ่น และโรงเรียนสาธิตต่างๆ โดยเริ่มใช้กับนักเรียนชั้น ป.1 ป. 4 ม.1 และม.4 ก่อนที่จะขยายไปสู่โรงเรียนอื่นๆ ต่อไป ตามข่าวคาดว่าหลักสูตรจะเสร็จพร้อมนำร่องใช้ในปีหน้า (2557) นี้ค่ะ
       
        หลักสูตรใหม่จะเน้นเน้นทักษะคณิตศาสตร์ ไทย อังกฤษ เป็นพื้นฐานให้นักเรียน ป.1 - 2 ก่อน ส่วน ป.3 ขึ้นไปจะเน้นเรียนเป็นกลุ่มสาระวิชา และมัธยมปลายเน้นเจาะลึกแต่ละวิชามากขึ้น มีแยกฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และอื่นๆ เพื่อเป็นพื้นฐานต่อมหาวิทยาลัยได้  มีการเรียนการสอนบูรณาการแบบโครงการ ทั้งด้านสังคม ศาสนา และวิทยาศาสตร์ สอนการใช้เทคโนโลยีให้เป็น  เน้นทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นมากขึ้น มีทักษะการงานอาชีพมากขึ้น ม.6 ก็จะใช่ต่อ ปวส.ได้ด้วย  คือเน้นมีวิชาทักษะชีวิตมากขึ้น ไม่เน้นเรียนแต่วิชาการที่โตไปก็ลืมนั่นเอง




   
         อย่างกลุ่มโลก ภูมิภาคและอาเซียน ก็จะมีการวางแผนการเรียนวิชาประวัติศาสตร์กันใหม่  ลดความขัดแย้งระหว่างชาติ ไม่เข้าข้างตัวเอง  นอกจากเรื่องหลักสูตรแล้ว ตำราเรียนต่างๆ ก็จะค่อยๆ ปรับตามอีกด้วย สมัยพี่เกียรติเรียน หนังสือเรียนเล่มใหญ่มากๆ ถือไปเรียนที ต้องเรียกว่า แบกหลังแอ่น แถมเรียนไม่ครบทั้งเล่มด้วย ต่อไปก็น่าจะมีหนังสือเรียนที่ได้ใช้ได้จริง และทันสมัยมากขึ้นด้วยล่ะ


            สรุปได้ว่า หลักสูตรใหม่นี้จะมีแค่ 6 กลุ่มสาระ เวลาเรียนในห้องเรียนลดลง จะได้เรียนแค่ประมาณ 5 - 6 คาบต่อวัน และได้เรียนแบบบูรณาการหลายทักษะในวิชาเดียวมากขึ้น ได้ทำโครงการ/โครงงาน และได้เรียนทักษะการงานอาชีพมากขึ้นด้วย
       

           พี่เกียรติมองว่า
หลักการการจัดกลุ่มวิชาแบบนี้ จะทำให้เกิดวิชาที่สามารถบูรณาการกันมากขึ้น เป็นพื้นฐานในการประยุกต์ใช้ความรู้สู่การประกอบอาชีพได้จริงในอนาคตนะคะ แต่เรื่องที่ว่าจะทำได้จริงและเกิดผลไหม หรือจะมีการชะลอหลักสูตรยังไม่ใช่จริงในปีหน้านี้หรือไม่  พี่เกียรติคิดว่าขึ้นอยู่กับคนจัดทำหลักสูตรด้วยนะ อยากให้ครูที่สอนจริงๆ ในโรงเรียนได้เข้าไปทำหลักสูตรมากกว่า และอยากได้ยินเสียงของนักเรียนจริงๆ (หรืออย่างน้อยก็เพิ่งจบล่ะ) เป็นคนเสนอแนะวิธีการและสิ่งที่อยากเรียนค่ะ 



 




         พี่เกียรติคิดเห็นแบบนี้
แล้วน้องๆ ชาว Dek-D ว่าอย่างไร ชอบการแบ่งวิชาแบบนี้หรือเปล่า ใครที่จะขึ้น ม.1 และม.4 ปีหน้า ก็เตรียมตัวไว้เลยล่ะ! 



หลากหลายให้วัยรุ่นอ่านเพื่อเติมพลังให้สมอง "คอลัมน์พัฒนาสมอง/งานอดิเรก"
เด็กดีดอทคอม :: โหวตเลย เรื่องเพศพูดได้ไหม!
4 ปัจจัยที่ทำให้เด็กชาติอื่นฉลาด อ่านแล้วคิด+
เด็กดีดอทคอม :: โหวตเลย เรื่องเพศพูดได้ไหม!
การสอบที่ให้เด็กอายุ 15 ตัดสินเศรษฐกิจทั้งประเทศ
เด็กดีดอทคอม ::
วิธีง่ายๆ ทำได้ในชีวิตประจำวัน แค่ทำก็สมองปิ๊งเลย! 
เด็กดีดอทคอม :: โปรดเข้าใจ! ในลีลาของวัยรุ่น เมื่อรุ่นใหญ่ปะปะรุ่นเล็ก!
หยุดปัญหาบานปลาย ที่ทำให้เด็กไทยชอบต่อต้าน



เด็กดีดอทคอม :: โปรดเข้าใจ! ในลีลาของวัยรุ่น เมื่อรุ่นใหญ่ปะปะรุ่นเล็ก!
Twitter @kiatkarine


แหล่งข้อมูล, ภาพประกอบ: 
    - kroobannok.com/59274
    - facebook.com/DrPavich
    - facebook.com/photo.php?fbid=548547505186008&set=pb.100000922895895.-2207520000.1373427444
    - dailynews.co.th/education/215556
    - prachachat.net/news_detail.php?newsid=1371438948

พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Superboo Member 11 ก.ค. 56 18:34 น. 11
โหยยยย ! กว่าจะเปลี่ยน เราเรียนป.ตรีเข้าไปล่ะ แต่ก็ยังดี ยินดีกับน้องๆ เด็กไทยจะได้ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ เรียนแบบเจาะลึก เน้นปฏิบัติ มีหลากหลายวิชาให้เลือกมากกว่านี้ (มากกว่า 8 วิชาหลัก) ถ้าจะให้ดีน่าจะเรียนแบบไฮสคูลที่อเมริกา แบบว่ามีหลายวิชาให้เลือกเรียน นักเรียนจะเรียนอะไรก็แล้วแต่ ตามใจคุณ แต่ต้องลงให้ครบตามจำนวนหน่วยกิต ถ้าทำแบบนี้เราคิดว่าเด็กน่าจะอยากไปเรียนมากขึ้น เพราะได้เรียนตามวิชาที่เราชอบ (เราจะไม่พูดถึงเด็กที่ไม่อยากเรียนนะ) แต่หลายคนก็อาจไม่เห็นด้วยกับวิธีของเรา  อันนี้เป็นแค่ข้อคิดเห็นเล็กๆ น้าาาาาา
0
กำลังโหลด
Bantita Kampha Member 11 ก.ค. 56 18:12 น. 10
คิดว่าดีมากเลยนะ เพราะว่าเลิกเรียนแล้วจะได้มีเวลาทำการบ้าน เรียนพิเศษ เล่นกีฬา เล่นดนตรี และก็ทำกิจกรรมอื่นๆอีก 
0
กำลังโหลด
Gotzstar Member 11 ก.ค. 56 20:34 น. 19
ถือว่าเป็นการเปี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการศึกษาไทยนะครับเนี่ย

ผมก็เห็นด้วยนะ ถ้าดำเนินการแล้วอะไรดีขึ้นก็เป็นเรื่องที่ดี 

น่าตื่นเต้น น่าสนใจครับ 
0
กำลังโหลด
ชานมเย็น Member 11 ก.ค. 56 16:03 น. 2
อยากให้มีสายภาษา-วรรณกรรม
อยากเรียนภาษา อยากอ่านหนังสือนิยาย อยากเรียนวัฒนธรรม อยากไปเที่ยวต่างประเทศ 555++ (มันเป็นความฝันในส่วนลึก ๆ น่ะ)
0
กำลังโหลด
New Saranya Member 11 ก.ค. 56 19:09 น. 12

เป็นหลักสูตรที่ดีเลย เน้นปฏิัติ เรียนได้ตามี่ชอบ
จะได้มีกะจิต กะใจที่จะไปเรียน 
////สุดยอดดดดดดด
0
กำลังโหลด

121 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
ชานมเย็น Member 11 ก.ค. 56 16:03 น. 2
อยากให้มีสายภาษา-วรรณกรรม
อยากเรียนภาษา อยากอ่านหนังสือนิยาย อยากเรียนวัฒนธรรม อยากไปเที่ยวต่างประเทศ 555++ (มันเป็นความฝันในส่วนลึก ๆ น่ะ)
0
กำลังโหลด
terrysiansims ผู้กวาดล้างดราม่า Member 11 ก.ค. 56 16:18 น. 3
อยากให้มีสายสื่อมัลติมีเดีย
ร้องเพลง ทอล์คโชว์ วาไรตี้ เกมโชว์ ดีเจ
เป็นวิชาเลือกก็เอา
ปล.โรงเรียนประจำจังหวัดกับประจำอำเภอสงสัยจะโดนก่อน


0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Bantita Kampha Member 11 ก.ค. 56 18:12 น. 10
คิดว่าดีมากเลยนะ เพราะว่าเลิกเรียนแล้วจะได้มีเวลาทำการบ้าน เรียนพิเศษ เล่นกีฬา เล่นดนตรี และก็ทำกิจกรรมอื่นๆอีก 
0
กำลังโหลด
Superboo Member 11 ก.ค. 56 18:34 น. 11
โหยยยย ! กว่าจะเปลี่ยน เราเรียนป.ตรีเข้าไปล่ะ แต่ก็ยังดี ยินดีกับน้องๆ เด็กไทยจะได้ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ เรียนแบบเจาะลึก เน้นปฏิบัติ มีหลากหลายวิชาให้เลือกมากกว่านี้ (มากกว่า 8 วิชาหลัก) ถ้าจะให้ดีน่าจะเรียนแบบไฮสคูลที่อเมริกา แบบว่ามีหลายวิชาให้เลือกเรียน นักเรียนจะเรียนอะไรก็แล้วแต่ ตามใจคุณ แต่ต้องลงให้ครบตามจำนวนหน่วยกิต ถ้าทำแบบนี้เราคิดว่าเด็กน่าจะอยากไปเรียนมากขึ้น เพราะได้เรียนตามวิชาที่เราชอบ (เราจะไม่พูดถึงเด็กที่ไม่อยากเรียนนะ) แต่หลายคนก็อาจไม่เห็นด้วยกับวิธีของเรา  อันนี้เป็นแค่ข้อคิดเห็นเล็กๆ น้าาาาาา
0
กำลังโหลด
New Saranya Member 11 ก.ค. 56 19:09 น. 12

เป็นหลักสูตรที่ดีเลย เน้นปฏิัติ เรียนได้ตามี่ชอบ
จะได้มีกะจิต กะใจที่จะไปเรียน 
////สุดยอดดดดดดด
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Gotzstar Member 11 ก.ค. 56 20:34 น. 19
ถือว่าเป็นการเปี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการศึกษาไทยนะครับเนี่ย

ผมก็เห็นด้วยนะ ถ้าดำเนินการแล้วอะไรดีขึ้นก็เป็นเรื่องที่ดี 

น่าตื่นเต้น น่าสนใจครับ 
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
NNNN" Member 11 ก.ค. 56 22:00 น. 21
ถ้าเอาตามความคิดเห็นมันก้มีทั้งข้อดีข้อเสียนะค่ะ  ทุกวันนี้เรียน8-9คาบยังไม่ค่อยจะพอ  ลดเหลือ 6 คาบนี้คาบละเท่าไร ?  ดูจากตารางมันเรียนยากขึ้นรึเปล่า 555 

คหสต.นะตอนนี้ก้อยุ่ม.5ใช้จริงเราก้ม.6แล้ว คงไม่มีผลกระทบกับเราเท่าไร ยังไงเด็กไทยๆๆสู้ๆๆนะ 
เพราะคนไทยอ่อนภาษาอังกฤษ(ตัวเราด้วย)ยังไงตั้งใจเรียนนะค่ะ ^^
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
FreakyPiglet Member 11 ก.ค. 56 23:39 น. 23
 ถ้าทำได้อย่างที่วางแผนไว้ก็ดีนะ ถึงจะไม่ทันรุ่นเราก็ขอให้รุ่นลูกเราไม่ต้องมาเจอแบบเราก็พอแล้ว

แต่...เราก็กลัวว่าเค้าจะทำไม่ได้ตามนี้น่ะสิ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Defpico2 Member 12 ก.ค. 56 05:14 น. 26
แบบนี้สิครับถึงจะดี XD เฉพาะตรงเลิกเรียนเร็ว เพราะทุกวันนี้บ้านก็ไม่ได้อยู่ใกล้โรงเรียน.... ตื่นที่ต้องตื่นตี 4 แถมกว่าจะถึงบ้านตั้ง 6 โมง แล้วจะเอาเวลาที่ไหนไปอ่านหนังสือ ทำการบ้าน .......... ถ้าเลิกเรียนเร็วขึ้นจริงจะดีมากครับ จะได้มีเวลามากขึ้น
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Destiny♡soshi ' Member 12 ก.ค. 56 16:38 น. 28
ก็ดีนะแล้วครูพละล่ะไปไหน ในนั้นไม่มีพละนะ(หรือเราดูไม่ดี) แต่ว่า5-6คาบยังไงในเมื่อในหมวด2,3,4มันมีหลายวิชารวมกัน
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
นะจ้ะ 12 ก.ค. 56 19:36 น. 31
ควรปรับปรุงผู้สอนด้วยทุกวันนี้ครูมัธยมแทบจะไม่สอนเด็กเลย เด็กกจึงต้องหาความรู้เพิ่มด้วยการเรียนพิเศษ ไม่สอนแต่ออกข้อสอบโคตรยาก เรียนพิเศษมาถึงทำข้อสอบได้ มันต้องวัดคุณภาพของคนสอนด้วย ไม่ใช่ประเมินแต่คนเรียน ถ้าประเมินฝ่ายเดียวเด็กเสียเปรียบตายเลย ครูทำตัวยังไงก็ได้ สอนๆ ไปวันๆ เด็กรู้เรื่องไม่รู้เรื่องช่างมัน เดี๋ยวเด็กก็ไปเรียนพิเศษเอง มันต้องประเมินผู้สอนและผู้เรียนควบคู่่กันไป ถ้าหมดห้องมีเด็กไม่รู้เรื่องเกิน 30% ผู้สอนก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีสอนแล้ว ข้อสอบก็เหมือนกันออกให้มันตรงกับที่สอนด้วย ครูๆไม่สอนแต่เวลาออกข้อสอบเอาแต่เนื้อหาใที่สอนพิเศษมาออก คิดถึงเด็กที่พ่อแม่ไม่มีเงินบ้างจะหาเงินทึ่ไหนมาจ่าย่าเรียนพิเศษ ดังนั้นในปัจจุบันวัดคคุณภาพด้วยคะแนนไม่ได้แสดงว่าเด็กคนั้นเก่งหรือโง่มันขึ้นอยู่กับว่าเค้ามีโอกาสเท่ากันหรือไม่ การทีจะวัดอะไรต้องดูด้วยว่าพื้นฐานและโอกาสเท่ากนไหม ดังนั้นถ้าจะทำให้โอกาสและพื้นฐานเท่าเทียมกันต้องปรับปรุงผู้สอนให้มีคุณธรรม รักเด็กให้เหมือนลูกตัวเอง
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
งุงิ 13 ก.ค. 56 14:10 น. 35
ต่อให้หลักสูตรดีขนาดไหน ถ้าคนถ่ายทอด และ ช่องทางการถ่ายทอดยังเหมือนเดิม กรอบการปฏิบัติของผู้เรียนและผู้สอนยังเหมือนเดิม ก็ไม่ต่างอะไรจากเดิมนอกจากการเปลี่ยนหนังสือเรียน
0
กำลังโหลด
berufausbildung 13 ก.ค. 56 19:02 น. 36
ขอ เเสดงความคิดเห็นนะครับ เมื่อ กลุ่มสาระสายสามัญ เพิ่ม ทักษะวิชาชีพมากขึ้น เเต่ ระดับอาชีวะก็สมควรเพิ่มเติม ความรู้วิทยาศาสตร์ เเละคณิตศาสตร์ลงไปเช่นกันเเต่ไม่ลืมเน้นทักษะด้วยนะครับ สายวิชาชีพ เเบบ ปวช เตรียมวิศวะ เตรียมต่างๆ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ร่วมไปถึง วิชา สังคมศาสตร์ ภาษาที่อังกฤษ กับภาษาที่สาม ลงไปด้วยน่าจะดี ท่าโรงเรียน ปวช ผลิตบุคคลากรที่เปี่ยมเชิงทักษะได้ ก็ต้องเปี่ยมความรู้ทางวิทยาศาตร์เเละวิชาการด้านต่างๆ เเล้ว คนถนัดว่าเลือกเเบบไหน เพื่อเป็นต่อยอดความรู้ขึ้น จากเดิมเน้นเพียงทักษะวิชาชีพผมคิดว่ามันอาจไม่เพียงพอครับ ในใจผมอยากให้อุดมศึกษาเปิดกว้างให้สายอาชีพ สามารถสอบเข้าอุดมศึกษาได้กว้างขึ้น ทุกคณะ อะครับ
0
กำลังโหลด
na na ning Member 13 ก.ค. 56 21:12 น. 37
เห็นด้วยกับ คห.31 แต่เราว่ารู้สึกแปลกๆอ่ะ ปกติเรียน 7-8 คาบพอลดเเล้วคงรู้สึกแบบโล่งๆไม่มีอะไรทำ 555
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
● Vyota_Blabla ● Member 14 ก.ค. 56 15:02 น. 41
ปีหน้าขึ้น ม.1 :D
เราเรียนอยู่ที่ราชวินิต ห้อง english program : ขอบอกว่าการบ้านเยอะมาก !!
แต่แบบนี้ก็ดีนะ จะได้มีเวลาไปทำกิจกรรมมากขึ้น :)
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Faith^___^ Member 15 ก.ค. 56 18:02 น. 43
ทำไมทุกวันนี้เราเรียน 8-9 คาบ ยังเรียนไม่พอไม่ทันเลยอะ เวลาช่วงใกล้สอบอาจารย์ยังมาขอ คาบ 10 เลย มันจะลดเวลาได้จริงหรอ T__T เราว่าทุกวันนี้ไม่ได้เรียนเนื้อหาประยุกต์ไรมากยังแทบกระอักอะ แล้ว พอเอาคณิตกับฟิสิกส์เคมีชีวะ มารวมกันมันไม่ยิ่ง ยากหรอ T_____________T เครียดดดดดดด
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Mocca ^o^/ Member 16 ก.ค. 56 21:45 น. 47
เออ ก็จริงยังต้องรอเรียนพิเศษอยู่ดี T^T
แต่ก็อยากให้มีแบบคาบสันทนาการให้เด็กทำในสิ่งที่อยากทำจัง
(เหมือนต่างประเทศที่เรียนครึ่งวันแล้วทำกิจกรรมอีกครึ่งวันอะ)
0
กำลังโหลด
`tinli Member 16 ก.ค. 56 22:31 น. 48
น่าจะดีก็ได้นะ แต่ก็เจ๋งอ่ะอยากให้ปรับเปลี่ยนไวๆน่ะค่ะ
ชอบตรงภาษาและวัฒนธรรมนิแหละ มีวิชาเลือกด้วยก็โอเคไปอีกแบบ

0
กำลังโหลด
จกฺรณขรราชอาณาจกฺรบตฺิ 17 ก.ค. 56 18:38 น. 49
ปรับแบบนี้แล้วก็โอนะ ตามคอนเซป แต่อยากให้อาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาให้งานเด็กน้อยลงจะดีที่สุด หรือให้งานแบบบูรณาการกับอาจารย์ท่านอื่นด้วย ประมาณว่าส่งทีเดียวได้คะแนนสองวิชาเงี้ย เด็กก็จะยิ่งมีเวลามากขึ้นอีก
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
J.Pass 20 ก.ค. 56 18:18 น. 53
สำหรับผมแล้วแนวคิดนี้ถ้าลองนั่งแยกและวิเคราห์ดีๆแล้ว หลักสูตรนี้เน้นเรื่องการเรียนรู้สังคมสูงมาก(สังเกตุได้จาก 4 ใน 6 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสังคมโดยเฉพาะ) ทำให้บทบาททางด้านอื่นๆดูลดลงไปมากพอสมควร ผมมีแนวคิดว่าการศึกษา ควรเน้นการปรับโครงสร้างหลักสูตรให้พัฒนาทุกๆด้านไปตามวัยและปรับระดับการศึกษาให้เหมาะสมกับประเทศอื่นๆทั่วโลก เพราะความจำเป็นในการเรียนรู้ในสาขาวิชาแขนงต่างๆย่อมขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะและช่วงวัยของผู้เรียนเป็นหลัก หากแยกระดับการศึกษาออกตามช่วงวัยตามกับวุฒิภาวะการเรียนรู้ของและอายุผู้เรียนแล้ว แบ่งคร่าวๆได้ดังนี้

1. อายุ 6-9 ปี (3 ปี) เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับพื้นฐานการเขียน-การอ่านภาษาต่างๆ(ทั้งไทยและเทศ) การเขียน-อ่านตัวเลขและการคำนวนเบื้องต้น(บวกลบเลขอย่างง่ายและอื่นๆที่จำเป็น) การเรียนรู้ทางด้านสังคมแวดล้อม(สภาพสังคมรอบตัวและการปรับตัว) การเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรม-คุณธรรมจริยธรรม(การสอนธรรมะ-ปลูกฝังจิตสำนึก) พัฒนาทักษะต่างๆที่สำคัญเช่น การมีไหวพริบ คิดคำนวนเร็ว ทักษะพรสวรรค์ทางด้านต่างๆ เป็นต้น เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันจะกลายเป็นพื้นฐานที่จำเป็นในอนาคตต่อไป

2. อายุ 9-11 หรือ 12 ปี (3 ปี) เรียนรู้และพัฒนาความรู้ทางด้านภาษาอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางการคำนวนในเรื่องต่างๆรอบด้าน เรียนรู้ทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์(วิทยาศาสตร์ทั่วไป) เรียนรู้ประวัติศาสตร์และสังคมไทย(การเป็นพลเมืองดี และอื่นๆที่จำเป็นทางด้านสังคม)เรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมและจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง ต่อยอดการพัฒนาทักษะต่างๆ เรียนรู้ในการเปิดกว้างทางความคิด และสร้างแนวคิดแบบบูรณาการได้ สร้างจิตสาธารณะ

3. อายุ 11-15 หรือ 16 ปี (4 ปี) ต่อยอดความรู้และทักษะพื้นฐานในทุกๆด้าน(เน้นการแสดงความสามารถ-ความคิดเห็น หรือสิ่งต่างๆ) ขยายขอบข่ายการเรียนรู้จากสังคมภายในสู่สังคมโลก เรียนรู้พัฒนาการทางวัยของตนเอง เรียนความรู้ที่จำเป็นต่อการต่อยอดและพัฒนาเพื่อการตัดสินใจในการเรียนหรือดำรงชีพ

4. อายุ 15-18 หรือ 19 ปี (3 ปี) เรียนรู้ความรู้และทักษะพื้นฐานในระดับสูงที่จำเป็น และผู้เรียนสามารถเลือกเรียนความรู้พื้นฐานทางทักษะวิชาชีพที่ตนถนัดและสนใจ เรียนรู้พัฒนาการทางสังคมเป็นหลัก

5. อายุ 19 ปีขึ้นไป ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรู้ทักษะใดๆที่ตนถนัดและสนใจ เพื่อนำไปใช้สำหรับทางวิชาชีพ

จากข้างต้น จะเห็นได้ว่าหากใช้การเรียนในระบบ 8 กลุ่มสาระ จะเหมาะกับช่วงวัย 6-15 หรือ 16 ปี โดยในแต่ละช่วง ความสำคัญของกลุ่มสาระต่างๆจะแตกต่างกัน แต่พอมาในระดับ 15-18 หรือ 19 ปี ระบบ 8 กลุ่มสาระวิชาจะไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากวิชาเรียนนั้นจะเริ่มเน้นทักษะการประยุกต์มากขึ้น ซึ่งตรงนี้ เหมือนเอา 8 กลุ่มสาระวิชา มาผสมกับระบบอุดมศึกษา(เพราะยังมีวิชาพื้นฐานอยู่บ้าง และมีวิชาเลือกต่างๆเข้ามาเพิ่มเติมโดยผู้เรียนเป็นผูเลือกลงเอง) พอขึ้นสู่ช่วง 19 ปีขึ้นไป แล้ว จะเป็นการเรียนแบบอุดมศึกษาอย่างชัดเจน

ผมว่ามันน่าคิดนะครับ ที่จะจัดระบบการศึกษาตามช่วงวัย ส่วนเรื่องของเวลาเรียนนั้น ผมอยากให้จัดให้เรียนแบบเรียนเป็นกลุ่มสาระวิชา (8 กลุ่มสาระ เท่ากับ 8 วิชาใน 1 สัปดาห์) โดยที่หน่วยกิตไม่ต้องกำหนดด้วยเวลาที่แน่นอน(เนื่องจากรายกลุ่มสาระนั้นมีเนื้อหามากน้อยต่างกัน ไปจำงทำให้การใช้เวลาย่อมต่างกัน) เช่น กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ(อังกฤษ-จีน)12 หน่วยกิต เรียน 6 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ 12 หน่วยกิต 8 ชั่วโมงใน 1 สัปดาห์ เป็นต้น และยังเป็นการบอกถึงการให้ความสำคัญกับเรื่องนั้นๆได้ดีกว่าการดูที่หน่วยกิตอย่างเดียว และการเรียนรู้แบบนี้ ยังผลดีกว่าการเรียนรู้แบบแยกคาบแยกวิชา เพราะมันมีความต่อเนื่องในการเรียนรู้มากกว่า และยังสามารถจัดระบบการสอนได้ดีกว่าอีกด้วย

นี่เป็นเพียงแนวคิดของผมเท่านั้นนะครับ แต่หวังว่าจะมีคนนำไปใช้ได้
0
กำลังโหลด
J.Pass 20 ก.ค. 56 18:18 น. 54
สำหรับผมแล้วแนวคิดนี้ถ้าลองนั่งแยกและวิเคราห์ดีๆแล้ว หลักสูตรนี้เน้นเรื่องการเรียนรู้สังคมสูงมาก(สังเกตุได้จาก 4 ใน 6 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสังคมโดยเฉพาะ) ทำให้บทบาททางด้านอื่นๆดูลดลงไปมากพอสมควร ผมมีแนวคิดว่าการศึกษา ควรเน้นการปรับโครงสร้างหลักสูตรให้พัฒนาทุกๆด้านไปตามวัยและปรับระดับการศึกษาให้เหมาะสมกับประเทศอื่นๆทั่วโลก เพราะความจำเป็นในการเรียนรู้ในสาขาวิชาแขนงต่างๆย่อมขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะและช่วงวัยของผู้เรียนเป็นหลัก หากแยกระดับการศึกษาออกตามช่วงวัยตามกับวุฒิภาวะการเรียนรู้ของและอายุผู้เรียนแล้ว แบ่งคร่าวๆได้ดังนี้

1. อายุ 6-9 ปี (3 ปี) เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับพื้นฐานการเขียน-การอ่านภาษาต่างๆ(ทั้งไทยและเทศ) การเขียน-อ่านตัวเลขและการคำนวนเบื้องต้น(บวกลบเลขอย่างง่ายและอื่นๆที่จำเป็น) การเรียนรู้ทางด้านสังคมแวดล้อม(สภาพสังคมรอบตัวและการปรับตัว) การเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรม-คุณธรรมจริยธรรม(การสอนธรรมะ-ปลูกฝังจิตสำนึก) พัฒนาทักษะต่างๆที่สำคัญเช่น การมีไหวพริบ คิดคำนวนเร็ว ทักษะพรสวรรค์ทางด้านต่างๆ เป็นต้น เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันจะกลายเป็นพื้นฐานที่จำเป็นในอนาคตต่อไป

2. อายุ 9-11 หรือ 12 ปี (3 ปี) เรียนรู้และพัฒนาความรู้ทางด้านภาษาอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางการคำนวนในเรื่องต่างๆรอบด้าน เรียนรู้ทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์(วิทยาศาสตร์ทั่วไป) เรียนรู้ประวัติศาสตร์และสังคมไทย(การเป็นพลเมืองดี และอื่นๆที่จำเป็นทางด้านสังคม)เรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมและจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง ต่อยอดการพัฒนาทักษะต่างๆ เรียนรู้ในการเปิดกว้างทางความคิด และสร้างแนวคิดแบบบูรณาการได้ สร้างจิตสาธารณะ

3. อายุ 11-15 หรือ 16 ปี (4 ปี) ต่อยอดความรู้และทักษะพื้นฐานในทุกๆด้าน(เน้นการแสดงความสามารถ-ความคิดเห็น หรือสิ่งต่างๆ) ขยายขอบข่ายการเรียนรู้จากสังคมภายในสู่สังคมโลก เรียนรู้พัฒนาการทางวัยของตนเอง เรียนความรู้ที่จำเป็นต่อการต่อยอดและพัฒนาเพื่อการตัดสินใจในการเรียนหรือดำรงชีพ

4. อายุ 15-18 หรือ 19 ปี (3 ปี) เรียนรู้ความรู้และทักษะพื้นฐานในระดับสูงที่จำเป็น และผู้เรียนสามารถเลือกเรียนความรู้พื้นฐานทางทักษะวิชาชีพที่ตนถนัดและสนใจ เรียนรู้พัฒนาการทางสังคมเป็นหลัก

5. อายุ 19 ปีขึ้นไป ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรู้ทักษะใดๆที่ตนถนัดและสนใจ เพื่อนำไปใช้สำหรับทางวิชาชีพ

จากข้างต้น จะเห็นได้ว่าหากใช้การเรียนในระบบ 8 กลุ่มสาระ จะเหมาะกับช่วงวัย 6-15 หรือ 16 ปี โดยในแต่ละช่วง ความสำคัญของกลุ่มสาระต่างๆจะแตกต่างกัน แต่พอมาในระดับ 15-18 หรือ 19 ปี ระบบ 8 กลุ่มสาระวิชาจะไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากวิชาเรียนนั้นจะเริ่มเน้นทักษะการประยุกต์มากขึ้น ซึ่งตรงนี้ เหมือนเอา 8 กลุ่มสาระวิชา มาผสมกับระบบอุดมศึกษา(เพราะยังมีวิชาพื้นฐานอยู่บ้าง และมีวิชาเลือกต่างๆเข้ามาเพิ่มเติมโดยผู้เรียนเป็นผูเลือกลงเอง) พอขึ้นสู่ช่วง 19 ปีขึ้นไป แล้ว จะเป็นการเรียนแบบอุดมศึกษาอย่างชัดเจน

ผมว่ามันน่าคิดนะครับ ที่จะจัดระบบการศึกษาตามช่วงวัย ส่วนเรื่องของเวลาเรียนนั้น ผมอยากให้จัดให้เรียนแบบเรียนเป็นกลุ่มสาระวิชา (8 กลุ่มสาระ เท่ากับ 8 วิชาใน 1 สัปดาห์) โดยที่หน่วยกิตไม่ต้องกำหนดด้วยเวลาที่แน่นอน(เนื่องจากรายกลุ่มสาระนั้นมีเนื้อหามากน้อยต่างกัน ไปจำงทำให้การใช้เวลาย่อมต่างกัน) เช่น กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ(อังกฤษ-จีน)12 หน่วยกิต เรียน 6 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ 12 หน่วยกิต 8 ชั่วโมงใน 1 สัปดาห์ เป็นต้น และยังเป็นการบอกถึงการให้ความสำคัญกับเรื่องนั้นๆได้ดีกว่าการดูที่หน่วยกิตอย่างเดียว และการเรียนรู้แบบนี้ ยังผลดีกว่าการเรียนรู้แบบแยกคาบแยกวิชา เพราะมันมีความต่อเนื่องในการเรียนรู้มากกว่า และยังสามารถจัดระบบการสอนได้ดีกว่าอีกด้วย

นี่เป็นเพียงแนวคิดของผมเท่านั้นนะครับ แต่หวังว่าจะมีคนนำไปใช้ได้
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
NEK 24 ก.ค. 56 09:25 น. 56
"เน้นมีวิชาทักษะชีวิตมากขึ้น ไม่เน้นเรียนแต่วิชาการที่โตไปก็ลืมนั่นเอง" <---- ก็ฟังดูดีเหมือนกันนะ..ถ้าเป็นอย่างที่ว่านี้จริง แต่ไม่ใช่กลับกลายเป็นว่าพ่อแม่ต้องไปเสียเงินให้ลูกเรียนพิเศษข้างนอกเพิ่มมากขึ้นล่ะเนอะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Anna Oneil Member 31 ก.ค. 56 20:10 น. 58
เราคิดว่าดีนะ เพราะว่าการที่เรียนแล้วแล้วไม่ลืมจะทำให้การเรียนหนังสือมีประโยชน์มากๆในอนาคต เพราะตอนนี้เราเรียนแล้วก็ลืมตลอดเลยน่ะ 555 
0
กำลังโหลด
Magic Puzzle Member 31 ก.ค. 56 21:26 น. 59
ถ้าได้ใช้ปีหน้าจริงๆก็คงจะดี เหนื่อยกับการเรียนแบบปัจจุบัน แต่พอให้มานึกว่าครูที่โรงเรียนจะสอนได้หรือไม่ ก็คิดว่าไม่น่าจะได้(ค่อนข้างมั่นใจ). อีกย่างคือ ภาษาบางภาษายังไม่มีครูสอน
0
กำลังโหลด
Magic Puzzle Member 31 ก.ค. 56 21:30 น. 60
แล้วก็ ควรเน้นให้เด็กๆ มีความรู้สึกอยากจะเรียนมากกว่าการยัดความรู้ใส่หัว. และแทนที่จะเน้นให้เด็กกลายเป็นเป็ด ก็น่าจะให้ค้นพบสิ่งตนอยากจะทำมากกว่า
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด