Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

~ * ~ ยังจำได้ไหม ตอนเรียนสมัยเด็กๆ เคยเห็นแบบนี้ป่าว~ * ~

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
นี่คือ แผ่นภาพ ก ไก่ สมัย ปี พ.ศ. ๒๔๙๙


PS.   เรารักในหลวง กระทู้ดีมีสาระ ค้นหาโดย แพทเตอร์

แสดงความคิดเห็น

10 ความคิดเห็น

<<PATTER>> 24 มิ.ย. 49 เวลา 19:28 น. 2

มาอ่านข้อมูลเรื่องพวกนี้สักหน่อยดีกว่า

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ท่านที่อ่านหนังสือ แกะรอย ก ไก่ ซึ่ง เอนก นาวิกมูล เป็นผู้เขียน และสำนักพิมพ์สารคดีเป็นผู้พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ คงจะรู้แล้วว่าตัว ก ข ค ง เริ่มมีคำควบหรือคำกำกับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ หรือราวหลัง พ.ศ. ๒๓๗๘ ที่เริ่มมีการเล่นหวยในเมืองไทย

ทีแรกเป็นการเอาตัว ก ข ไปกำกับตัวหวยก่อน เช่น ก สามหวย ข ง่วยโป๊ ฃ เจียมกวย ค หะตั๋ง
      การกำกับเช่นนี้ หาได้ใช้เพื่อการเรียนการเขียนการสะกดใด ๆ ไม่ เพราะคำข้างหลัง เป็นเพียงชื่อคนในนิทานจีน เช่น สามหวยเป็นชื่ออุปราช ง่วยโป๊ เป็นชื่อทหาร ดังนี้เป็นต้น
      ต่อมาราว พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๒๐ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) คิดคำกำกับพยัญชนะ เฉพาะตัวที่มีเสียงพ้องกัน เช่น ข ขัดข้อง ฃ อังกุษ (อังกุษ หมายถึง ฃอของควาญช้าง ถ้าจะเขียนคำว่า ฃอของควาญช้าง ให้ใช้ ฃ หัวหยัก)
      ค คิด กับ ฅ กัณฐา นี่หมายความว่า ถ้าจะเขียนคำว่า คิด ก็ใช้ ค หัวไม่หยัก ถ้าจะเขียนคำว่า ลำฅอ ให้ใช้ ฅ หัวหยัก
      ตรงนี้ต้องหมายเหตุว่า ใครที่พยายามเอา ฅ หัวหยักมาเขียนคำว่า คน อย่างที่ ตั้งใจ "อนุรักษ์" กันอยู่ในเวลานี้ น่ากลัวจะผิดที่ผิดทางอยู่ เพราะแบบเรียน ก ข แต่ก่อน เขาใช้ ฅ เพื่อเขียนเฉพาะคำว่า ลำฅอ เท่านั้น ถ้าจะเขียนคำว่า คน ก็ใช้ ค หัวธรรมดา (ดูหนังสือ อักขราภิธานศรับท์ ของหมอบรัดเลย์ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ เทียบเคียง) เพิ่งมาผิดเพี้ยนเป็น ฅ ฅน เสียเมื่อครูย้วน ทันนิเทศ แต่งแบบเรียนไว ใน พ.ศ. ๒๔๗๓ นี้เอง
      ครูย้วนเผลอตัดคำว่า ลำฅอ ออก แทนที่ ฅ จะเป็น ฅ ลำฅอคน ลำฅอม้า หรือฅอเสื้อ ก็จึงเหลือแค่ ฅ ฅน ให้เป็นที่ลักลั่น และสงสัยมานับแต่นั้น
      รายละเอียดและคำชี้แจงนอกเหนือจากนี้ ขอให้ดูเพิ่มเติมในข้อเขียนของ สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ วารสารเมืองโบราณ ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๑ สุดแดนอธิบายขยายความเรื่องนี้ได้ดีมาก ผู้เขียนต้องขอชมเชย
      พ.ศ. ๒๔๔๒ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเริ่มคิดคำกำกับพยัญชนะครบทั้ง ๔๔ ตัว ตีพิมพ์ในหนังสือแบบเรียนเร็วที่ทรงแต่ง แต่คำกำกับนั้น ยังไม่คล้องจองเป็นคำกลอน


PS.   เรารักในหลวง กระทู้ดีมีสาระ ค้นหาโดย แพทเตอร์
0
<<PATTER>> 24 มิ.ย. 49 เวลา 19:29 น. 3

ก ไก่ คำกลอน เริ่มมีเมื่อครูย้วน ทันนิเทศ แต่งเผยแพร่ในหนังสือแบบเรียนไว พ.ศ. ๒๔๗๓ (พิมพ์สีเดียวคือสีดำ) ก ไก่ ครูย้วนซึ่งเริ่มต้นด้วยคำว่า ก เอ๋ย ก ไก่ ข ไข่ มาหา ฃ ฃวดน้องชาย ค ควายเข้านา ฅ ฅนขึงขัง ...มีคนท่องจำกันทั่วประเทศ โดยเฉพาะคนที่เกิดในรุ่นนั้น
      จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๐ เมื่อบริษัทประชาช่าง จำกัด พิมพ์ แบบเรียน ก ไก่ ชั้นเตรียม ออกมา ก ไก่ ฉบับครูย้วนก็ค่อย ๆ จางหายไปจากเมืองไทย เพราะ ก ไก่ ของประชาช่างพิมพ์แบบสอดสี มีภาพประกอบสวยกว่า นับแต่นั้นเด็กไทยก็จดจำ ก ไก่ ฉบับประชาช่างเป็นหลักเรื่อยมากระทั่งถึงปัจจุบัน ถึงจะมี ก ไก่ สำนวนอื่นแต่งขึ้นมาแข่ง ก็ดูจะยังสู้ กไก่ ฉบับประชาช่างไม่ได้
      ก ไก่ ฉบับประชาช่างเป็น ก ไก่ ที่ดูคลาสสิก เริ่มแต่รุ่น ๒๔๙๐ ที่ใช้คนวาดภาพประกอบ และพิมพ์สอดสีอย่างง่าย ๆ ผู้ที่วาด ก ไก่ รุ่นนี้ เป็นใครกันแน่ยังไม่อาจระบุได้ เท่าที่ผู้เขียนพยายามสืบค้นเรื่อยมา ก็ยังจับไม่มั่นคั้นไม่ตาย เพราะไม่มีการลงลายเซ็น หรือระบุชื่อทิ้งร่องรอยใด ๆ ไว้เลย
      ต่อเมื่อประชาช่างมายักเยื้องพิมพ์ แบบหัดอ่าน ก. ไก่ สำหรับนักเรียนอนุบาลขึ้นอีกแบบ เมื่อราว ๆ พ.ศ. ๒๕๓๔ จึงปรากฏลายเซ็นของคนวาดขึ้นเป็นครั้งแรก ตรงมุมล่างของรูป ก ข ค ง
      ลายเซ็นนั้นเขียนคล้ายตัว ย กับ ล ผสมกัน ภายหลังเมื่อหนังสือ แกะรอย ก ไก่ พิมพ์ออกไปแล้ว ปรากฏว่าทายาทของผู้วาดได้โทรศัพท์มาหาผู้เขียนบอกว่า เดาถูกแล้ว ย กับ ล คือนายยล มงคลรัตน์ นามเดิมของท่านคือ ยู่เก่ง ล่อเฮง ท่านผู้นี้เคยวาดภาพรามเกียรติ์ ที่ระเบียงวัดพระแก้วด้วย ทว่าน่าเสียดายที่ผู้เขียนไม่มีโอกาสไปพบคุณยล
      ก ไก่ ของประชาช่างพิมพ์ออกมาหลายครั้งมาก เรียกว่าพิมพ์แล้วพิมพ์อีก จนนับครั้งไม่ถ้วน ยุคแรกพิมพ์เป็นลายเส้น สอดสี เริ่มต้นด้วยรูปไก่กำลังก้าวเท้า และกำลังขัน ถ้าจะให้เดา ก็อยากจะเดาว่าวาดโดยคุณยล มงคลรัตน์

ต่อจากนั้นเป็นภาพชุด ฉันรักพ่อ พ่อรักฉัน ฉันรักแม่ แม่รักฉัน ฉันมีพี่ ฉันมีน้อง ภาพช่วงนี้ ดูฝีมือแล้วผู้เขียนอยากเดาว่า เป็นฝีมือของ มนตรี ว.น. ซึ่งก็อีกนั่นแหละ ท่านผู้นี้ยังหาประวัติไม่ได้อีกเช่นกัน แม้ปัจจุบันก็ยังไม่ทราบแม้นามสกุลเต็ม
      สุดท้ายเป็นภาพชุด กาเอ๋ยกา บินมาไวไว มาจับต้นโพ โผมาต้นไทร ลีลาการวาดคล้ายชุด ก ข ข้างหน้า จึงอยากจะเดาว่าคงเป็นฝีมือคุณยล
      ภาพเหล่านี้ ในยุคปัจจุบันถูกตัดออกบ้าง กลายเป็นฝีมือคนอื่นวาดเลียนแบบบ้าง ส่วน ภาพ ก ข ใน แบบเรียน ก. ไก่ ชั้นเตรียม (ยุค ๒๔๙๐) ซึ่งปัจจุบัน (ยุค ๒๕๔๔) ใช้ว่า แบบเรียน ก. ไก่ อนุบาล ถูกปรับเปลี่ยนเป็นภาพถ่ายทั้งหมด
      ภาพ ก ไก่ ที่นำมาเสนอในฉบับนี้เป็นแผ่นภาพ ก ไก่ ฉบับประชาช่าง พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ คุณมณู พีระพันธุ์ นักสะสมหนังสือการ์ตูน ซึ่งชอบพอกัน ไปพบเข้าที่แผงขายหนังสือแห่งหนึ่ง จึงซื้อมาให้ถ่ายก๊อบ X ไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ (ขอขอบคุณคุณมณูไว้ ณ โอกาสนี้) ผู้เขียนขอสารภาพว่าไม่เคยเห็นมาก่อน ให้สังเกตว่าแทนที่จะพิมพ์เป็นหนังสือ กลับพิมพ์ลงกระดาษแข็ง ตัดเป็นแผ่น ๆ บรรจุลงกล่องอย่างดี จำหน่ายกล่องละ ๒๕ บาท
      ที่จริงก็เหมือนกับฉบับพิมพ์เป็นเล่มทุกอย่าง แม้ขนาดก็เท่า ๆ กัน ดังเทียบได้กับฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ ที่ผู้เขียนมีในห้องสมุดส่วนตัว เพียงแต่ทำออกมาในอีกลักษณะหนึ่ง ให้ดูแปลกตาเท่านั้น จะว่าเป็นกลยุทธ์ในการขายที่ชาญฉลาดก็ได้
      แผ่นภาพ ก ไก่ ๒๔๙๙ พิมพ์ซ้ำกี่ครั้ง เลิกและพิมพ์ไปเมื่อใดยังค้นไม่ได้
      ส่วนประวัติผู้แต่งกลอน ก ไก่ ก็ยังสืบไม่ได้เช่นกัน คุณโอภาส นาคบัลลังก์ นักวาดภาพที่ผู้เขียนเคยเขียนถึง ในคอลัมน์บ้านพิพิธภัณฑ์เคยโทรศัพท์จากเชียงใหม่ มาบอกว่า คนแต่งกลอน ก ไก่ ให้ประชาช่าง ชื่อครูชิน จำนามสกุลไม่ได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าท่านผู้ใดเป็นลูกหลานครูชิน หรือทราบเรื่องนี้ขอความกรุณาบอกด้วย ประวัติ ก ไก่ ฉบับประชาช่าง จะได้สมบูรณ์เสียที


PS.   เรารักในหลวง กระทู้ดีมีสาระ ค้นหาโดย แพทเตอร์
0
~*ผู้เสพความตายสาว*~ 24 มิ.ย. 49 เวลา 19:29 น. 4

เราเรียนแบบเรียน ดรุณอารัยซักอย่างแหละ จามไม่ดั้ยอ่า แต่คิดถึงตอนเด็กๆจัง


PS.  เดี๊ยนเป็นไฮซ้อออ ชอบบ้าชอบบอแต่แฮร์รี่ แต่พอมาคิดอีกที ขอชอบพี่ดองวอนเพิ่มอีกคน Harry Potter VS Kangdongwon รักทั้งสองเลย เลือกครัยดีล่ะ
0
++มักเกิ้ลผู้รักสแตน++ 24 มิ.ย. 49 เวลา 21:33 น. 9

เราเคยเรียนนะ เล่มแบบนี้อ่ะ แก่ป่ะเนี่ย ชอบเอามาดม หอมๆกลิ่นความรู้ดี 555+


PS.  รักแฮร์รี่ พอตเตอร์ที่ซู้ดดดดด สแตนน่ารักมากมาย **ไปเยี่ยม My.iD เราบ้างนะคะ เดี๋ยวมันจะร้างซะก่อน
0