สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com ... ช่วงนี้เราได้ยินข่าวไม่ดีเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางการบินบ๊อยบ่อย แต่จริงๆ แล้ว การโดยสารเครื่องบินนั้นมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุน้อยกว่าการโดยสารรถยนต์ด้วยซ้ำ แต่ที่ดูน่ากลัวก็เพราะว่า หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ก็ดูจะมีโอกาสรอดยากซะเหลือเกิน TT

      สำหรับวันนี้ พี่เป้ มีเรื่องน่าสนใจและน่ารู้เกี่ยวกับ "เครื่องบิน" มาฝากค่ะ เป็นทริกน่ารู้สำหรับการจองตั๋วเครื่องบินและการเลือกที่นั่ง น่าจะมีประโยชน์สำหรับหลายๆ คนที่กำลังมองหาตั๋วเครื่องบินเพื่อไปเที่ยวหรือไปเรียนต่อเมืองนอก



สายการบินโลว์คอสต์คือสายการบินต้นทุนต่ำ แต่ราคาไม่ได้ต่ำเสมอไป
 
 

      เวลาที่สายการบินโลว์คอสต์ออกโปรโมชั่นมาทีไร หลายคนคงกระโจนเข้าเว็บไซต์รีบจองกันหูตาเหลือกเพราะกลัวจะพลาดของดีราคาถูกไป ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ค่ะว่าในบางครั้งราคาก็ถูกมากจริงๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องแลกกับ "การรอคอย" เพราะมักเป็นการจองล่วงหน้าข้ามปีทีเดียว ซึ่งต้องวัดดวงกันอีกทีว่า ณ เวลานั้น เราจะยังว่างที่จะเดินทางหรือไม่

      แต่อย่างไรก็ตาม "อย่าคิดว่าสายการบินโลว์คอสต์ถูกที่สุด" เพราะว่า

      - หากสายการบินทั่วไปที่ไม่ใช่โลว์คอสต์มีโปรโมชั่นตั๋วเครื่องบินราคาพิเศษ บางทีเราอาจจะเสียเงินเพิ่มจากสายการบินโลว์คอสต์เพียงนิดเดียว แต่ได้รับบริการแบบเต็มรูปแบบหรือ Full Service ยกตัวอย่างเช่น สายการบินโลว์คอสต์ยี่ห้อหนึ่ง มีโปรโมชั่นบินไปฮ่องกงด้วยราคาไปกลับประมาณ 4,000 บาท และเมื่อรวมค่าโหลดกระเป๋าด้วยแล้ว ทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 5 พันเศษๆ 

       แต่ในบางช่วง สายการบินทั่วไปที่ไม่ใช่สายการบินโลว์คอสต์ ซึ่งปกติค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับฮ่องกงจะอยู่ที่ 8-9 พันบาท อาจมีจัดโปรโมชั่นราคาอยู่ที่ 6-7 พันบาทเท่านั้น แต่เราสามารถโหลดกระเป๋าได้ฟรี มีเสิร์ฟอาหารหรู ที่นั่งก็สบายกว่า มีจอส่วนตัว แบบนี้คุ้มกว่าเห็นๆ ค่ะ 

 


       - หากจองในระยะเวลากระชั้นชิด สายการบินโลว์คอสต์ก็แพงเหมือนกัน เพราะราคาตั๋วสายการบินโลว์คอส์ตจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานด้วยค่ะ เช่น เที่ยวบินที่กำลังจะบินในอีก 2-3 วันข้างหน้ามักมีราคาแพง (เพราะคนที่ซื้อแบบกระชั้นชิดแบบนี้ แสดงว่ามีความจำเป็นที่จะต้องบินจริงๆ) ดังนั้นราคาตั๋วจึงถีบตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจจะราคาพอๆ กับสายการบินทั่วไปก็ได้ ดังนั้นหากใครจะซื้อตั๋วเครื่องบินในเวลากระชั้นชิด แนะนำให้บินกับสายการบินทั่วไปน่าจะคุ้มกว่าค่ะ





ซื้อตั๋วเครื่องบินแบบแวะพักเครื่อง มักถูกกว่าซื้อตั๋วแบบบินตรง


       บินตรงหรือ Direct Flight คือการบินรวดเดียวแล้วถึงปลายทางเลยค่ะ เช่น กรุงเทพ-ลอนดอน ก็บินรวดเดียว 10 ชั่วโมงถึงเลย ซึ่งสายการบินที่ทำการบินตรงแบบนี้ มักเป็นสายการบินของประเทศต้นทางและปลายทางนั่นเองค่ะ ยกตัวอย่างเช่น สายการบินที่ทำการบินตรงจากกรุงเทพ-ลอนดอน ก็คือ การบินไทย(ของประเทศไทย) และ บริติชแอร์เวย์(ของอังกฤษ) ซึ่งตั๋วเครื่องบินแบบบินตรงนั้นจะค่อนข้างราคาสูงทีเดียว นั่นเป็นเพราะเค้ารวมค่า Hospitality หรือค่าการต้อนรับไปด้วยค่ะ เช่น สายการบินไทย มีลูกเรือไทย อาหารไทย ได้ยินคนพูดภาษาไทย ผู้โดยสารที่เป็นคนไทยพอได้ยินได้รู้สึก ก็ย่อมอุ่นใจกว่าขึ้นสายการบินอื่นเป็นธรรมดา มันคือค่าพวกนี้แหละค่ะ

       แต่ก็มีอีกตัวเลือกสำหรับคนที่อยากได้ตั๋วราคาถูกลงมาหน่อยหรือสำหรับคนที่ไม่ชอบนั่งเครื่องบินนานๆ แต่ก็จะต้องเสียเวลา "ไปเปลี่ยนเครื่องบินที่สนามบินที่อยู่ในประเทศของสายการบินนั้นๆ" เช่น 
 
 

- หากบินกับสายการบิน Emirates จะต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่อาหรับเอมิเรตส์
- หากบินกับสายการบิน Eva Air จะต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่ไต้หวัน
- หากบินกับสายการบิน Korean Air จะต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่เกาหลีใต้
- หากบินกับสายการบิน Malaysia Airlines จะต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่มาเลเซีย
- หากบินกับสายการบิน Cathay Pacific จะต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่ฮ่องกง

       ซึ่งระยะเวลาการรอเปลี่ยนเครื่องก็แล้วแต่เลยค่ะ มีตั้งแต่ชั่วโมงกว่าๆ จนถึงรอข้ามคืนก็มี ข้อดีก็อย่างที่บอกไป คือราคาตั๋วแบบนี้มักถูกกว่าบินตรง เช่น หากบินตรงจากกรุงเทพ-ลอนดอน ค่าตั๋วเครื่องบินส่วนมากแพงกว่า 35,000 บาท แต่หากบินแบบแวะพักเครื่อง อาจโชคดีได้ตั๋วราคาต่ำกว่า 30,000 บาทก็ได้นะเออ 

       แต่ก็มีหลายคนนะคะที่นิยมแบบบินตรงมากกว่า เพราะไม่อยากเสียเวลาเปลี่ยนเครื่อง หรืออาจเป็นผู้สูงอายุที่ไม่อยากลุกขึ้นลุกลงบ่อยๆ เลยยอมจ่ายแพงกว่าและบินตรงทีเดียวถึงเลย





อย่าลืมสะสมไมล์

       เป็นเรื่องที่หลายคนมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย การซื้อตั๋วเครื่องบินก็เหมือนการซื้อของในห้างค่ะ สามารถสมัครสมาชิกและสะสมไมล์หรือคะแนนได้ และหากเรามีไมล์เยอะๆ ในอนาคตก็สามารถนำไมล์นี้มาแลกเป็น "ตั๋วเครื่องบิน" ได้ค่ะ ยกตัวอย่างเช่น สายการบินเอมิเรตส์ หากบินไปกลับในแถบยุโรป 2 ครั้ง จะได้ไมล์ในจำนวนที่สามารถเอาไปแลกได้ "ตั๋วเครื่องบินไปกลับฮ่องกง 1 ใบ" ค่ะ ว้าวววว ฟังดูคุ้มเนาะ

       นอกจากนี้ยังมีหลายๆ สายการบินที่รวมเป็นเครือพันธมิตรด้วยกัน ซึ่งหากเราบินสายการบินใดในเครือพวกนี้ ก็สามารถเก็บสะสมไมล์ไว้ด้วยกันได้ค่ะ เช่น

 

       - เครือ Star Alliance มีทั้งหมด 28 สายการบิน(เยอะมากกก) เช่น สิงคโปร์แอร์ไลน์ การบินไทย แอร์แคนาดา อียิปต์แอร์ แอร์ไชน่า แอร์นิวซีแลนด์ ลูฟต์ฮันซา เป็นต้น

       - เครือ Skyteam มีทั้งหมด 15 สายการบิน เช่น โคเรียนแอร์ แอร์ฟรานซ์ เวียดนามแอร์ไลน์ เดลต้าแอร์ไลน์ เคนย่าแอร์เวย์ เป็นต้น

       - เครือ Oneworld มีทั้งหมด 11 สายการบิน เช่น เจแปนแอร์ไลน์ บริติชแอร์เวย์ ฟินน์แอร์ คาเธ่ย์แปซิฟิค เป็นต้น

       สมมติใครบินการไทยกับสิงคโปร์แอร์ไลน์บ่อยๆ ก็ควรต้องสมัครสมาชิกเครือ Star Alliance ไว้ ไม่งั้นเสียดายแย่เลยนะ





ที่นั่งท้ายเครื่องปลอดภัยกว่าหน้าเครื่อง

       เวลาขึ้นเครื่องบิน คนส่วนมากจะชอบเลือกนั่งแถวหน้าๆ เพราะจะได้ลงจากเครื่องได้ไว แต่จริงๆ แล้ว ที่นั่งที่มีโอกาสรอดมากที่สุดในกรณีเครื่องบินเกิดอุบัติเหตุคือ "ที่นั่งบริเวณท้ายเครื่อง" ค่ะ (ยกเว้นแต่ในกรณีเกิดอุบัติเหตุจากท้ายเครื่องนะ) 

 

       เคยมีเว็บไซต์ชื่อดังของอังกฤษเอาผลสำรวจมาเผยว่า ที่นั่งบริเวณแถวหน้าๆ ที่ทำเป็นสำหรับชั้น First Class และ Business Class นั้นอันตรายที่สุด หากเครื่องบินตกล่ะก็ แทบไม่มีโอกาสรอด แต่คนที่นั่งหลังๆ จะมีโอกาสรอดสูงกว่า ซึ่งจากผลสำรวจนี้ก็ทำเอายอดซื้อตั๋วที่นั่ง First Class และ Business Class ของชาวอังกฤษลดลงไปเป็นชั่วระยะเวลาหนึ่งเลยค่ะ แป่ว (เพราะแม้แต่ตัวพี่เองก็เลือกแต่ที่นั่งท้ายเครื่องตลอดตั้งแต่มีผลสำรวจนี้ออกมา ขอสบายใจไว้ก่อน)

       ผลสรุปคร่าวๆ คือ หากเกิดอุบัติเหตุ ที่นั่งบริเวณท้ายเครื่องจะมีโอกาสรอด 69% ที่นั่งบริเวณปีกเครื่องจะมีโอกาสรอด 56% และที่นั่งบริเวณหน้าเครื่องจะมีโอกาสรอดน้อยที่สุดคือ 49% ค่ะ





ที่นั่งตรงประตูทางออกฉุกเฉินสำคัญ!


 

       ประตูทางออกฉุกเฉินก็ไม่ต่างอะไรจากประตูวิเศษที่สามารถช่วยเราให้รอดชีวิตออกจากเครื่องบินเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นเวลาก่อนจะขึ้นบิน ลูกเรือจะสาธิตอุปกรณ์ในการช่วยชีวิตรวมถึงจะย้ำเกี่ยวกับประตูทางออกฉุกเฉินด้วยว่าอยู่บริเวณใดบ้าง ซึ่งใครเกิดได้ที่นั่งตรงประตูทางออกฉุกเฉินนี่ก็ไม่รู้ว่าโชคดีหรือโชคร้ายนะคะ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ก็จำเป็นต้องคุมสติตัวเองให้ดีกว่าคนอื่นๆ และหากลูกเรือได้รับบาดเจ็บไม่สามารถให้ความช่วยเหลือ คนที่นั่งติดกับทางออกฉุกเฉินนี่แหละค่ะที่จะต้องเป็นคนเปิดประตูนี้ออกและนำคนอื่นๆ ออกจากตัวเครื่อง ดังนั้นหากใครคิดว่าตัวเองนั้น....

- เคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว เชื่องช้า
- มีร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ เช่น สายตาผิดปกติ
- ไม่เข้าใจหรือไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดีพอที่จะรับคำสั่งหรือออกคำสั่งจากผู้อื่น
- หรือคิดว่าตัวเองไม่พร้อมจะทำหน้าที่นี้


        ก็สามารถขอเปลี่ยนไปนั่งตำแหน่งอื่นได้ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและคนอื่นๆ บนเครื่องนั่นเองค่ะ



      

      หลายคนอาจจะมองว่า โอ๊ย อุบัติเหตุบนเครื่องบินนี่โอกาสน้อยมาก คงซักแค่ 1 ในพันเท่าั้ั้นั้น ดังนั้นไม่ต้องใส่ใจก็ได้ แต่เรื่องแบบนี้ต้องปลอดภัยไว้ก่อนค่ะ เพราะจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจและคิดว่า "รู้งี้น่าจะ....ก็ดี"



ภาพประกอบ : telegraph.co.uk , independent.co.uk ,
straitstimes.com , wandotravel.com
พี่เป้
พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

~ Member 19 ก.ย. 56 20:23 น. 7

- แถวกลางเครื่องใกล้ๆปีกนี่ก็ถังน้ำมันดีๆนี่เองครับ เวลาเกิดเพลิงไหม้ก็จะมีโอกาสสูงที่บริเวณนี้จะติดไฟจากเชื้อเพลิงในปีกครับ (ถ้ามีโอกาสโชคดีได้นั่งไฟล์ทที่เทคออฟแล้วต้องบินกลับไปแลนเพราะมีเหตุสุดวิสัย คนนั่งใกล้ปีกอาจจะได้เห็นการ dump fuel ที่แถวๆปลายปีกครับ เพื่อลดน้ำหนักก่อน landing นั่นเอง)

- ถ้าให้พูดกันตามความจริง ความปลอดภัยของการนั่งด้านหน้า กลาง หลัง ขึ้นกับลักษณะของการเกิดอุบัติเหตุในขณะนั้นจริงๆครับ ส่วนใหญ่ที่นั่งด้านหลังปลอดภัยกว่าเพราะเวลาเครื่องบินตกมักจะเอาหัวทิ่มลง เพราะนักบินต้องพยายามควบคุมให้เครื่องไปข้างหน้า ยกเว้นกรณีที่เสียการควบคุมโดยสิ้นเชิง เครื่องอาจเหวี่ยง หมุน แล้วแต่ motion ที่มันจะเกิดได้ในขณะนั้น แต่ถ้าเกิดไฟไหม้ในขณะทำการบินก็มีโอกาสสำลักควันไฟสลบกันหมดก่อนก็ได้เช่นกัน (เครื่องบินกลางอากาศจะเปิดประตูระบายควันก็ไม่ได้ แต่จริงๆแล้ว ณ ความสูงระดับหนึ่งจะสามารถเปิดประตูได้ครับ) 

- คนที่นั่งใกล้ประตูฉุกเฉินควรศึกษาวิธีใช้ประตูจริงๆครับ หลายครั้งเห็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องสาธิตวิธีให้ดูก็ไม่ใส่ใจกันเท่าไหร่

- โอกาสที่จะได้เปิดประตูฉุกเฉินเพื่อหนีออกจากเครื่องได้ก็ต้องรอเครื่องจอดสนิทบนพื้นดินไม่ก็พื้นน้ำก่อนครับ และต้องไม่มีเหตุเกิดภายนอกเครื่องด้วยอย่างเช่นนอกประตูเกิดไฟไหม้อย่างหนัก ประตูใช้งานไม่ได้ หรือแม้กระทั่งเครื่องยนต์ยังไม่สามารถหยุดทำงานได้ ก็เป็นอันตรายเหมือนกันครับ

- การลงจอดฉุกเฉินบนน้ำ(ditching) มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ โอกาสรอดค่อนข้างต่ำ ที่เห็นสำเร็จแล้วมีข่าวดังๆก็มี US Airways ที่จอดบนแม่น้ำฮัดสัน >> https://www.youtube.com/watch?v=2l3BDBziZkw แต่ส่วนใหญ่จะจบลงคล้ายๆกับสายการบิน Ethiopian Airline 961 ที่โดนไฮแจ๊คแล้วต้องจอดบนทะเลเพราะน้ำมันหมด >> https://www.youtube.com/watch?v=IKWzLfbSkYc ดังนั้นโอกาสรอดของเราขึ้นกับความสามารถของนักบินและความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวเครื่องด้วยครับ

- อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาไม่ว่าก่อนหน้าจะบินมา smooth แค่ไหนก็ตาม เพราะมันเป็น Mechanical ซึ่งเราก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่ามันจะ Fail เมื่อไหร่ หรืออากาศขณะบินดีแค่ไหน หลายครั้งสภาพอากาศก็เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุหลายๆครั้ง หรือใกล้ตัวที่สุดก็อาจจะเป็นที่ pilot error ก็มีครับ (ยกตัวอย่าง UA585 ที่ตอนแรกบินมากำลังจะ landing อยู่แล้วแต่เกิด rudder jam จนหมุนคว้างแล้วตกกระแทกพื้น) และนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมายที่จะทำให้เราเสียวไส้เล่น เช่น อากาศแปรปรวน(Turbulence) หรือ น้ำแข็ง (Ice) อย่างเช่นเหตุเครื่องบินตกไม่นานมานี้อย่าง Air France 447 ที่ pitot tube ถูกบล๊อคด้วยน้ำแข็งทำให้อุปกรณ์วัดค่าทำงานผิดพลาด เป็นต้นครับ

- ส่วนใหญ่อุบัติเหตุเกิดตอน landing มากกว่าตอน cruising กับ t/o ครับ (อันนี้ลองไปหาอ่านดูได้ครับ) 

- แต่ปัจจุบันเครื่องบินถือว่าปลอดภัยขึ้นมาก เพราะเรานำเอาสิ่งที่เกิดไปแล้วมาปรับปรุงเพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ เราเรียนรู้จากการสูญเสียเพื่อนำไปพัฒนาความปลอดภัยให้ดีขึ้น (ปัจจุบันเครื่องบินสามารถ landing ลงสู่พื้นโดยอัติโนมัติยังได้เลยครับ ด้วย CATIII แต่ใช้ได้บางสนามบินเท่านั้น 0_0) หวาา

1
กำลังโหลด
บ้านชั้น 14 วรรณสรณ์ Member 19 ก.ย. 56 18:45 น. 6

ตามจริงเรื่องการสะสมไมล์กับกลุ่ม Star Alliance ควรจะสมัครกับสายการบินที่บินบ่อยที่สุดมากกว่า เพราะถ้าสมมติเรามี Royal Orchid Plus แต่ใช้ไปสะสมไมล์กับสิงคโปรแอร์ไลน์ เขาจะหักไมล์ของเราออกไปบางส่วน หรือไม่ได้เลย
ส่วนเรื่องการแลกตั๋วเครื่องบินหรืออัพเกรดที่นั่งก็เหมือนกัน ถ้าแลกของที่ตัวเองเป็นสมาชิกจะได้ใช้ไมล์ที่น้อยกว่า

ปล สายการบินลูกบางแห่งไม่สามารถใช้สิทธิ์บัตร(เบ่ง) ของพรรคดาวได้ เช่น SilkAir( ลูกของสิงคโปร์)
 

0
กำลังโหลด
Ponticus 20 ก.ย. 56 15:23 น. 9
30 วินาทีระหว่างเครื่องขึ้นและลงคือเป็นช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดของการบิน เพราะฉะนั้นไฟลท์ไหนเด้งกันมาตั้งแต่ยังไม่เดสเซนท์ แล้วลงปลอดภัยผู้โดย นั่งปรบมือ เฮกันเป็นแถว 5555+
0
กำลังโหลด
lightwars Member 23 ก.ย. 56 16:12 น. 15

มีอีกข้อค่ะ

คือรู้จักกับผู้ตรวจการเครื่องบิน
เขาบอกว่า

"เครื่องบินต้องลงจอดให้มีแรงกระแทกพอประมาณพอที่ทำให้คนนั่งรู้สึกตัว"

เพราะคนเราส่วนใหญ่คิดว่าแบบ โห กัปตันคนนี้ลงจอดนุ่มจัง อะไรแบบนี้
แต่ความจริง เกณฑ์การประเมินมันมีลงให้รู้สึกตัวด้วย 55 เรื่องแปลกอีกเรื่องไว้ประดับความรู้ค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

28 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
CassaNicha Member 19 ก.ย. 56 15:07 น. 2

นัั่งท้ายเครื่องปลอดภัยกว่าหน้าเครื่อง เพิ่งเคยรู้นะเนี่ย 

ขอบคุณมากๆค่ะ แต่ไม่ชอบนั่งตรงปีกเลยเวียนหัว

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
บ้านชั้น 14 วรรณสรณ์ Member 19 ก.ย. 56 18:45 น. 6

ตามจริงเรื่องการสะสมไมล์กับกลุ่ม Star Alliance ควรจะสมัครกับสายการบินที่บินบ่อยที่สุดมากกว่า เพราะถ้าสมมติเรามี Royal Orchid Plus แต่ใช้ไปสะสมไมล์กับสิงคโปรแอร์ไลน์ เขาจะหักไมล์ของเราออกไปบางส่วน หรือไม่ได้เลย
ส่วนเรื่องการแลกตั๋วเครื่องบินหรืออัพเกรดที่นั่งก็เหมือนกัน ถ้าแลกของที่ตัวเองเป็นสมาชิกจะได้ใช้ไมล์ที่น้อยกว่า

ปล สายการบินลูกบางแห่งไม่สามารถใช้สิทธิ์บัตร(เบ่ง) ของพรรคดาวได้ เช่น SilkAir( ลูกของสิงคโปร์)
 

0
กำลังโหลด
~ Member 19 ก.ย. 56 20:23 น. 7

- แถวกลางเครื่องใกล้ๆปีกนี่ก็ถังน้ำมันดีๆนี่เองครับ เวลาเกิดเพลิงไหม้ก็จะมีโอกาสสูงที่บริเวณนี้จะติดไฟจากเชื้อเพลิงในปีกครับ (ถ้ามีโอกาสโชคดีได้นั่งไฟล์ทที่เทคออฟแล้วต้องบินกลับไปแลนเพราะมีเหตุสุดวิสัย คนนั่งใกล้ปีกอาจจะได้เห็นการ dump fuel ที่แถวๆปลายปีกครับ เพื่อลดน้ำหนักก่อน landing นั่นเอง)

- ถ้าให้พูดกันตามความจริง ความปลอดภัยของการนั่งด้านหน้า กลาง หลัง ขึ้นกับลักษณะของการเกิดอุบัติเหตุในขณะนั้นจริงๆครับ ส่วนใหญ่ที่นั่งด้านหลังปลอดภัยกว่าเพราะเวลาเครื่องบินตกมักจะเอาหัวทิ่มลง เพราะนักบินต้องพยายามควบคุมให้เครื่องไปข้างหน้า ยกเว้นกรณีที่เสียการควบคุมโดยสิ้นเชิง เครื่องอาจเหวี่ยง หมุน แล้วแต่ motion ที่มันจะเกิดได้ในขณะนั้น แต่ถ้าเกิดไฟไหม้ในขณะทำการบินก็มีโอกาสสำลักควันไฟสลบกันหมดก่อนก็ได้เช่นกัน (เครื่องบินกลางอากาศจะเปิดประตูระบายควันก็ไม่ได้ แต่จริงๆแล้ว ณ ความสูงระดับหนึ่งจะสามารถเปิดประตูได้ครับ) 

- คนที่นั่งใกล้ประตูฉุกเฉินควรศึกษาวิธีใช้ประตูจริงๆครับ หลายครั้งเห็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องสาธิตวิธีให้ดูก็ไม่ใส่ใจกันเท่าไหร่

- โอกาสที่จะได้เปิดประตูฉุกเฉินเพื่อหนีออกจากเครื่องได้ก็ต้องรอเครื่องจอดสนิทบนพื้นดินไม่ก็พื้นน้ำก่อนครับ และต้องไม่มีเหตุเกิดภายนอกเครื่องด้วยอย่างเช่นนอกประตูเกิดไฟไหม้อย่างหนัก ประตูใช้งานไม่ได้ หรือแม้กระทั่งเครื่องยนต์ยังไม่สามารถหยุดทำงานได้ ก็เป็นอันตรายเหมือนกันครับ

- การลงจอดฉุกเฉินบนน้ำ(ditching) มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ โอกาสรอดค่อนข้างต่ำ ที่เห็นสำเร็จแล้วมีข่าวดังๆก็มี US Airways ที่จอดบนแม่น้ำฮัดสัน >> https://www.youtube.com/watch?v=2l3BDBziZkw แต่ส่วนใหญ่จะจบลงคล้ายๆกับสายการบิน Ethiopian Airline 961 ที่โดนไฮแจ๊คแล้วต้องจอดบนทะเลเพราะน้ำมันหมด >> https://www.youtube.com/watch?v=IKWzLfbSkYc ดังนั้นโอกาสรอดของเราขึ้นกับความสามารถของนักบินและความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวเครื่องด้วยครับ

- อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาไม่ว่าก่อนหน้าจะบินมา smooth แค่ไหนก็ตาม เพราะมันเป็น Mechanical ซึ่งเราก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่ามันจะ Fail เมื่อไหร่ หรืออากาศขณะบินดีแค่ไหน หลายครั้งสภาพอากาศก็เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุหลายๆครั้ง หรือใกล้ตัวที่สุดก็อาจจะเป็นที่ pilot error ก็มีครับ (ยกตัวอย่าง UA585 ที่ตอนแรกบินมากำลังจะ landing อยู่แล้วแต่เกิด rudder jam จนหมุนคว้างแล้วตกกระแทกพื้น) และนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมายที่จะทำให้เราเสียวไส้เล่น เช่น อากาศแปรปรวน(Turbulence) หรือ น้ำแข็ง (Ice) อย่างเช่นเหตุเครื่องบินตกไม่นานมานี้อย่าง Air France 447 ที่ pitot tube ถูกบล๊อคด้วยน้ำแข็งทำให้อุปกรณ์วัดค่าทำงานผิดพลาด เป็นต้นครับ

- ส่วนใหญ่อุบัติเหตุเกิดตอน landing มากกว่าตอน cruising กับ t/o ครับ (อันนี้ลองไปหาอ่านดูได้ครับ) 

- แต่ปัจจุบันเครื่องบินถือว่าปลอดภัยขึ้นมาก เพราะเรานำเอาสิ่งที่เกิดไปแล้วมาปรับปรุงเพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ เราเรียนรู้จากการสูญเสียเพื่อนำไปพัฒนาความปลอดภัยให้ดีขึ้น (ปัจจุบันเครื่องบินสามารถ landing ลงสู่พื้นโดยอัติโนมัติยังได้เลยครับ ด้วย CATIII แต่ใช้ได้บางสนามบินเท่านั้น 0_0) หวาา

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Ponticus 20 ก.ย. 56 15:23 น. 9
30 วินาทีระหว่างเครื่องขึ้นและลงคือเป็นช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดของการบิน เพราะฉะนั้นไฟลท์ไหนเด้งกันมาตั้งแต่ยังไม่เดสเซนท์ แล้วลงปลอดภัยผู้โดย นั่งปรบมือ เฮกันเป็นแถว 5555+
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
KuNniiE 23 ก.ย. 56 12:05 น. 14
เพิ่งรู้เลยนะคะ ความรู้ที่นั่งตรง emergency exit เนี่ย เคยได้นั่งเหมือนกันค่ะ แต่ไม่เคยรู้เลยว่าต้องมีบทบาทมากขนาดนี้เลยนะเนี่ย ที่นั่งสบายดีจัง ^^ ขอบคุณมากเลยนะคะ
0
กำลังโหลด
lightwars Member 23 ก.ย. 56 16:12 น. 15

มีอีกข้อค่ะ

คือรู้จักกับผู้ตรวจการเครื่องบิน
เขาบอกว่า

"เครื่องบินต้องลงจอดให้มีแรงกระแทกพอประมาณพอที่ทำให้คนนั่งรู้สึกตัว"

เพราะคนเราส่วนใหญ่คิดว่าแบบ โห กัปตันคนนี้ลงจอดนุ่มจัง อะไรแบบนี้
แต่ความจริง เกณฑ์การประเมินมันมีลงให้รู้สึกตัวด้วย 55 เรื่องแปลกอีกเรื่องไว้ประดับความรู้ค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
[Yok]~SuperWorm~[JJC] Member 4 ต.ค. 56 00:28 น. 17

นั่งท้ายเครื่องปลอดภัยกว่าหน้าเครื่อง แต่เหตุการณ์ล่าสุดนี่พี่แกเอาตูดลงนะ 555 ปล. หรือ QC ของ Airbus 380 จะตาบอด

0
กำลังโหลด
น้ำโกโก้อมยิ้ม Member 21 ต.ค. 56 22:00 น. 18

ผมว่า

นั้งไหน ก็เหมือนๆ กันฮ่ะ

ถ้าถึงเวลา จะตาย จิงๆ

เเค่สดุดก้อนหินยังตายเลย #เกี่ยวไหม

เเล้วเเค่เวรเเต่กรรม ถ้ากลัวก็อย่าไปหามัน ผมคนหนึ่งเเหละที่ไม่ไปเเน่นอน

ผมไม่ได้กลัวน่ะ เเค่ ไม่ ถูกโรคกันเฉยๆ 

เขิลจุง

0
กำลังโหลด
Soupcorn Member 27 ต.ค. 56 09:01 น. 19

ขอบคุณค่ะ เข้าใจอะไรหลายๆอย่างมากขึ้น

ส่วนตัวไม่ใช่คนนั่งเครื่องบินบ่อย แต่ก็พอมีโอกาสอยู่บ้าง

ส่วนใหญ่เราเลือกนั่งกลางๆเกือบท้าย ตอนแรกนึกว่าจะปลอดภัย พออ่านคอมเม้นของคุณ ~

เอิ่ม...คงต้องทำบุญเยอะๆแล้วพึ่งดวงเอาสินะ เสียใจ

เรื่องสะสมไมล์พอรู้มากจากคนใกล้ตัวบ้าง มาอ่านตรงนี้แล้วกระจ่างเลยคะ =..=

0
กำลังโหลด
Kurama Shannon Member 31 ต.ค. 56 09:23 น. 20

ไม่เคยนั่งเครื่องบินเลยในชีวิต

แต่เคยฟังคนที่เขานั่งประจำบอกเป็นความรู้ในสองข้อแรก

ต้องขอบคุณที่นำบทความดีๆ มาให้อ่านกันนะคะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด