เห็นกันชัดๆ!! 8 สิ่งที่ "รถไฟญี่ปุ่น" ไม่เหมือนรถไฟไทย!

                         

                       
                       
        สวัสดีครับน้องๆ ชาว Dek-D.com... กลับมาเจอเจอกับ พี่โช และคอลัมน์  PJaPON JaPAN(เจปง เจแปน)อีกแล้ว สำหรับวันนี้ พี่โช นำเรื่องเกี่ยวกับ  รถไฟญี่ปุ่น มาฝาก มาดูกันให้เห็นชัดๆ ว่ารถไฟของประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องความเป๊ะ ความเนี้ยบ และความตรงเวลาอย่างญี่ปุ่นมีอะไรที่น่าสนใจที่รถไฟประเทศเราไม่มี พี่โช ว่าหลายๆ อย่างนับว่าดีมากหากมาประยุกต์ใช้กับรถไฟบ้านเรา เลยเอามาแชร์ให้อ่านและคอมเมนต์กันสนุกๆ ไม่ซีเรียสครับ


 


1. โบกี้สำหรับผู้หญิง (女性専用車)

       ที่ญี่ปุ่น ในรถไฟหนึ่งขบวนจะมีสักหนึ่งโบกี้ที่จัดไว้ให้สำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ ยิ่งช่วงเวลาเร่งด่วน รถไฟญี่ปุ่นเบียดสุดๆ เบียดแบบชนิดที่ว่าพี่โชไม่ไหวแล้ว เอาเป็นว่าถึงขั้นแก้มแนบแก้ม ก้นแนบก้น อกแนบอก (พูดจริงๆ ไม่ได้ทะลึ่ง) รับรู้ได้ถึงชีพจรของแต่ละคนที่ยืนติดกับเราเป็นเสียง ตุ้บ ตุ้บ เลยทีเดียว ยิ่งต้องหายใจร่วมกัน (คือยิ่งกว่าหายใจรดต้นคออีกอะ) แทบพลีชีวิต พูดตรงๆ เลยว่าบางทีรอบตัวมีแต่คุณลุงหน้าตาหื่นๆ อาบน้ำตอนเช้ารึเปล่าไม่รู้ ขนาดพี่โชเป็นผู้ชายยังสยอง ก็ไม่แปลกที่สาวๆ ญี่ปุ่นหลายคนไม่กล้าจะขึ้นไปเบียดด้วยสภาพนั้น 

       ทางการญี่ปุ่นจึงจัดให้รถไฟซักโบกี้นึงเป็นโบกี้เฉพาะสำหรับผู้หญิง โดยเฉพาะเวลาเร่งด่วนที่เบียดๆ สาวๆ ทั้งหลายจะได้ไม่ต้องกลัวโดนลวนลามหรือเบียดกับผู้ชายในตู้ทั่วไป โดยมากตู้สำหรับผู้หญิงจะเป็นช่วงเวลาเช้าและเลิกงานที่คนเยอะจริงๆ ในระหว่างวันตู้นั้นผู้ชายก็สามารถขึ้นได้ตามปกติครับ ใครจะไปญี่ปุ่นโดยเฉพาะโตเกียวลองสังเกตสติกเกอร์สีชมพูๆ แบบนี้ให้ดีนะครับ เป็นประโยชน์แน่นอนเพราะหมายถึงตู้นั้น สำหรับผู้หญิงขึ้นโดยเฉพาะ ตู้แบบนี้มีไว้ก็ไม่เลวเลยใช่มั้ยล่ะ สาวๆ คนไหนใคร่ขึ้น...ขึ้น ใครใคร่ขึ้นขบวนเบียดกับผู้ชาย...เบียด 555

       พี่โชแอบเห็นข่าวว่า รถไฟไทยเริ่มจัดทำตู้สำหรับผู้หญิงแล้วเหมือนกัน พี่โชไม่ได้กลับไทยนาน อยากกลับไปดูมากกว่าเป็นยังไง ยิ่งหลังจากที่มีข่าวความไม่ปลอดภัยบนรถไฟที่เพิ่งผ่านมา นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีครับ



2. โบกี้สำหรับคนขี้หนาว(弱冷房車)
ก่อนอื่นเลย น้องๆ ลองทายกันดูว่าคนญี่ปุ่นเปิดแอร์ทั่วไปกี่องศาครับ
ที่ไทย ส่วนมากก็ 24-25 องศาเซลเซียส บางคนขี้ร้อนอาจเปิด 21-23 ใช่มะๆ ฮ่าๆ
ที่ญี่ปุ่น เปิดกัน 28 จ้าาาา ใครขี้ร้อนหน่อยก็ 26 ...เลิศศศศศศศศศศศศศศศศศ
พูดได้เลยว่า เหงื่อออกจนเยินไม่เป็นชิ้นดี
     
      อย่างที่ทำงานพี่โช เปิดแอร์ 28 องศาตามนโยบายรัฐเป๊ะ พอตกบ่าย ตึกสะสมความร้อน ในห้องนี่แทบจะ 31 องศา ...ถ้าไม่ชินนี่อยู่ไม่ได้จริงๆ นะ 

       ด้วยความขี้หนาวของคนญี่ปุ่นนี้เอง ก็ไม่แปลกที่ญี่ปุ่นจะมีรถไฟบางขบวนที่เปิดแอร์เบาๆ เบาแบบว่าบางทีพ่นลมเฉยๆ ไม่ปรับอุณหภูมิ จริงๆ นะ ไม่ได้หลอก เรียกกันว่าเปิดแบบ 送風 ใครอ่านตัวจีนออกก็จะเข้าใจทันทีว่าแปลว่า พ่นลม/ส่งลม การเปิดแอร์แบบนี้ คนไทยที่เพิ่งมาญี่ปุ่น พี่โชมั่นใจว่าตายยยยยยแน่ๆ 
   
      รถไฟหลายๆ ขบวนที่ญี่ปุ่นมักจะมีรถไฟสำหรับคนขี้หนาวนี้อยู่ นั่นหมายถึง หน้าร้อนจะเปิดแอร์ไม่แรง แต่หน้าหนาวโบกี้นี้ก็จะอุ่นกว่าโบกี้อื่นๆ ถ้าใครมาญี่ปุ่นก็อย่าลืมสังเกตสัญลักษณ์แอร์เบานี้ด้วยนะครับ ไม่งั้นต้องทนร้อนไปตลอดทาง ไอเดียนี้ที่ไทยน่าจะเอาไปประยุกต์เป็นขบวนแอร์แรง พี่โชว่าคนขึ้นกันตรึม



3. แยกแถวต่อสำหรับคนที่จะขึ้นก่อนขึ้นหลัง (先発列車・次発列車)
       อันนี้อาจงงหน่อย แต่เหมาะมากในการสร้างระเบียบในการต่อแถวครับ ยกตัวอย่างเช่น เรากำลังจะกลับบ้านด้วยรถด่วน แต่รถที่มาถึงก่อนเป็นรถแบบจอดทุกสถานี (หวานเย็น) ที่ญี่ปุ่นก็จะมีที่ยืนให้เราต่อแถวรอรถขบวนต่อไปแบบไม่เกะกะคนที่จะขึ้นรถขบวนก่อนเรา โดยเขียนเป็นเส้นที่พื้น ปัดหางแถวสวยงามไม่ขวางทางใคร ป้องกันการแซงแถวและการยืนออกันมั่วๆ ซึ่งอาจสร้างความลำบากแก่คนขึ้นลงขบวนก่อนหน้าเรา
 
       ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงดูเป็นประเทศที่เป็นระเบียบมากเวลาจะขึ้นหรือลงรถไฟ นอกจากจะสวยงามน่าดูชมแล้ว ยังไม่ก่อให้เกิดความเครียดจากการแย่งชิงเพราะไม่ต่อแถวอีกด้วย



4. ไม่ใช้มือถือพูดคุยเด็ดขาด(車内通話禁止)

       อันนี้อาจจะโหดไปหน่อยสำหรับสังคมไทย แต่ที่ญี่ปุ่นเป็นเรื่องปกติมากที่จะไม่พูดโทรศัพท์ในที่สาธารณะ โดยเฉพาะในรถไฟนี่แทบจะเรียกว่าต้องห้ามเลยด้วยซ้ำ ใครหยิบโทรศัพท์ขึ้นมา “ฮัลโหลลลลล” เมื่อไหร่นี่โดนมองตั้งแต่หัวจรดเท้าแน่นอน 
   
       ตอนที่พี่โชมาญี่ปุ่นใหม่ๆ ก็สุดแสนจะอึดอัดที่ไม่สามารถจะคุยโทรศัพท์ด้วยเสียงในรถไฟได้ แต่อยู่ไปนานๆ ก็เริ่มชิน แถมสมัยนี้มี application ให้เล่นได้มากมาย ไม่คุยโทรศัพท์ในรถไฟจึงเป็นเรื่องไม่ยากแล้วเพราะมีอะไรให้ทำแทน
   
        บางคนอาจถามว่าทำว่าทำไมที่ญี่ปุ่นต้องซีเรียสกับการห้ามคุยโทรศัพท์บนรถไฟด้วย เหตุผลแรกๆ เลยคือ มารยาทครับ มีงานสำรวจความเห็นคนญี่ปุ่น สิ่งที่น่ารำคาญที่สุดบนรถไฟคือเสียงโทรศัพท์เรียกเข้าและเสียงการคุยโทรศัพท์ ถ้าใครนึกไม่ออกว่าน่ารำคาญยังไง ให้นึกถึงเสียงริงโทนแสนแซ่บเมกะฮิตซ์แดนซ์กระจายในรถไฟบ้านเรา หรือคนที่นั่งเม้าท์โทรศัพท์ตลอดทาง จนเราซึ่งแอบฟังอยู่แทบจะช่วยนางออกความเห็นตามไปด้วย ฮ่าๆ 
 
        เอาจริงๆ พี่โชจำได้ว่าที่บ้านเราก็มีมารยาทลักษณะนี้เหมือนกัน อาจไม่ใช่บนรถไฟ แต่เป็นรถตู้โดยสารที่ทุกคนเงียบมาก บางทีเราก็เกรงใจที่จะรับโทรศัพท์ 
 ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกที่คนญี่ปุ่นจะขอเลือกที่จะอยู่เงียบๆ ให้หูได้พักผ่อนอย่างสงบๆ บนรถไฟหลังจากที่เหนื่อยมาทั้งวันครับ อันนี้น้องๆ ว่าไงครับ



5. ต้องปิดสัญญาณมือถือในที่นั่งคนชรา หญิงมีครรภ์ ผู้มีปัญหาทางร่างกาย(優先席携帯電話OFF)

        นอกจากจะไม่ค่อยเจอคนคุยด้วยเสียงดังในรถไฟแล้ว ที่ญี่ปุ่นจะมีการแบ่งที่นั่งที่หัวหรือท้ายขบวนให้กับผู้ชรา หญิงมีครรภ์ และคนที่อาจมีปัญหาทางร่างกาย เป็นต้น ที่นั่งนี้จะมีป้ายเขียนประมาณว่า...นอกจากเราจะต้องสละที่นั่งให้พวกเขาเหล่านั้นก่อนแล้ว หากอยากอยู่บริเวณนั้น ก็ต้องปิดสัญญาณสื่อสารให้หมดด้วย พูดง่ายๆ คือปิดมือถือนั่นเอง

        ตอนแรกๆ พี่ก็สงสัยว่าทำไมต้องปิดเครื่อง แค่ปิดเสียงไม่พอหรือไง อะไรเนี่ย งงมาก แต่พอได้รู้เหตุผลก็ถึงกับทึ่งและซึ้งใจ ที่ต้องปิดเครื่องนั้นเป็นเพราะบางคนอาจใช้เครื่องช่วยฟัง เครื่องนับก้าว เครื่องที่เกี่ยวกับผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ใดๆ ที่ผู้ป่วยใส่อยู่ หากมีสัญญาณมือถือรบกวนอาจทำให้เครื่องนั้นทำงานได้ไม่เต็มที่ 

       ลองนึกง่ายๆ ดู ใครเคยเอามือถือไปวางใกล้ลำโพงแล้วพอมีสายเรียกเข้า จะมีเสียงตือดือดึดๆๆ แปลกประหลาดบ้าง นั่นแหละ น่าจะคล้ายกัน ซึ่งผู้ที่ใช้เครื่องมือทางการแพทย์อาจโดนสัญญาณรบกวนแบบนั้นจริงๆ นับถือคนญี่ปุ่นจริงๆ ที่คิดคำนึงถึงคนอื่นแม้แต่เรื่องเล็กๆ ที่ตามองไม่เห็นแบบนี้



6. การขึ้นบันไดเลื่อน(エスカレーターの立ち位置)    
 
       ประเด็นนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ไม่ว่าจะที่ไทยหรือที่ไหนๆ ว่า เวลาขึ้นบันไดเลื่อนต้องชิดซ้ายหรือชิดขวากันแน่?? อย่างที่โตเกียว คนส่วนมากจะชิดซ้าย ส่วนที่โอซาก้า คนจะชิดขวากันหมด เช่นเดียวกับที่เรากำลังรณรงค์กันในรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินที่กรุงเทพฯ

        จริงๆ ที่ญี่ปุ่นมีการชิดด้านใดด้านหนึ่งอย่างเป็นระเบียบนี้มานานมากแล้ว ในขณะที่บ้านเรากำลังเริ่มต้นรณรงค์จริงจัง
 แต่ที่น่าแปลกใจคือ ตอนนี้ที่ญี่ปุ่นกำลังกลับไปสู่จุดเริ่มต้น พยายามให้คนยืนทั้งสองฝั่งของบันไดเลื่อน ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยบ้างล่ะ จะได้ไม่มีคนวิ่งบนบันไดเลื่อน หรือด้วยเหตุผลของการบำรุงรักษา เพราะถ้ายืนออกันด้านเดียวอาจเกิดความไม่สมดุลของบันไดเลื่อน ก็ว่ากันไป (เท่าที่ได้ยินมาเป็นแบบนี้)

       ด้วยเหตุนี้ หลายๆ ที่ในญี่ปุ่นในตอนนี้ แทนที่จะให้ยืนชิดด้านใดด้านหนึ่ง เราจะเห็นป้ายที่เขียนว่าให้ยืนทั้งสองฝั่งแทน เอ๊ะ อะไรยังไง? ที่ไทยรณรงค์แทบตายให้ยืนชิดขวาเป็นระเบียบ ทำไมญี่ปุ่นกลับตรงกันข้ามกันล่ะเนี่ย ต้องติดตามกันต่อไปครับ

        

7. พนักงานช่วยยัดคนลงไปในรถไฟ (満員電車に乗客を押し込む駅員)

        ตอนชั่วโมงเร่งด่วน รถไฟในโตเกียวโดยเฉพาะสายจากชานเมืองเข้ามาตัวเมือง อัดแน่นยิ่งกว่าอะไรในโลกใบนี้ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือนายสถานีที่ต้องทำหน้าที่พิเศษ นั่นคือคอยผลักและยัดผู้โดยสารเข้าไปในรถให้ได้มากที่สุด ไม่ต้องพูดอะไรมากแล้ว เอาคลิปนี้ไปดู ฮ่าๆ หวังว่าที่ไทยยังคงไม่ต้องมีนะ 

Clip




8. ใบแจ้งว่ามาสายเพราะรถไฟ(遅延証明書)
 
       สมมติว่าวันไหนเกิดเหตุที่ทำให้รถไฟมาช้า แล้วทำให้เราไปโรงเรียนหรือที่ทำงานไม่ทัน ที่สถานีรถไฟจะมีกระดาษวางตั้งเอาไว้ให้เราหยิบไปเป็นหลักฐานว่าไม่ใช่ความผิดของเรานะ แต่เป็นเพราะรถไฟช้า หัวหน้าหรืออาจารย์จะได้ไม่สามารถเอาผิดเราได้ บางที่มีให้เลือกหยิบได้ว่าสายไปแล้วกี่นาทีแบบในรูปที่พี่โชหามาให้ดู เขาเขียนเป็นเลขเวลา 10 20 30 นาทีเลยทีเดียว
 แหม อยากให้ที่จ่ายเงินทางด่วนบ้านเรามีใบนี้ให้หยิบบ้างจังเลย 



                       เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่รถไฟญี่ปุ่นมี น้องๆ คนไหน
                       เคยเห็นอะไรแปลกๆ ไม่ว่าจะที่ญี่ปุ่นหรือที่ประเทศอื่นๆ ที่น่าสนใจและเห็นว่าน่า
                       จะเอามาประยุกต์ใช้กับรถไฟประเทศเราบ้างลองโพสต์กันดูนะครับ เผื่อเพื่อนๆ
                       จะได้มาช่วยกันแสดงความเห็นกันเพิ่มเติม ส่วนตอนต่อไป พี่โช จะเอาเรื่องอะไร
                       เกี่ยวกับญี่ปุ่นมาเล่าให้ฟัง ต้องคอยติดตามกันต่อไปครับ
 
บทความนี้ถูกเขียนขึ้นโดยทีมงานเว็บไซต์ Dek-D.com
หากต้องการนำไปเผยแพร่ต่อในเว็บไซต์อื่น กรุณาใส่เครดิตให้ครบถ้วน


5 สุดยอดคุณแม่จากทั่วโลก


ภาพประกอบ : 
http://www.ronworld.net/,http://livedoor.blogimg.jp/,
http://www.asahi.com/,http://livedoor.blogimg.jp/,
http://hajimeoka.c.blog.so-net.ne.jp/


 
พี่โช
พี่โช - Columnist คอลัมนิสต์ฝ่ายเรียนต่อนอก

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

Alin Wu'x Member 11 ก.ย. 57 10:12 น. 6

โบกี้ผู้หญิงเป็นอะไรที่ดีมากๆค่ะ จะเห็นได้ชัดว่าประเทศเค้าเอาใจใส่กับทุกรายละเอียดจริงๆ 

ตั้งใจ

2
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
exchange 11 ก.ย. 57 22:24 น. 28
คือเป๊ะจริงๆ ทุกๆ วันเนี่ยคนเยอะมากๆ เขาจะแบ่งไว้เป็นโซนๆ อันนี้เห็นด้วยฝุดๆ คนแก่ๆก็ได้นั่ง คนท้องก็ได้นั่ง แต่อย่างเราทรมานมาก ต้องเสียสละให้คนอื่นนั่ง 55555 #ที่สำคัญเราชอบเดินแข่งกับคนญี่ปุ่นนะ จนติดนิสัยเดินเร็วอ่ะ ชอบๆๆ XD
1
กำลังโหลด

ยอดถูกใจสูงสุด

noname 12 ก.ย. 57 21:08 น. 33
บันไดเลื่อนอ่ะ ทำไมไม่แบ่งแบบ วันคี่ชิดซ้าย วันคู่ชิดชวา แล้วมีป้ายบอกว่าวันนี้ชิดไหน บันไดเลื่อนจะได้ไม่พังที่ข้างใดข้างนึงเร็วไงล่ะคะ 555
0
กำลังโหลด
ฟิลด์ 16 ก.ย. 57 21:20 น. 45
ที่เขาเริ่มรณรงค์ให้คนยืนเต็มบันไดเลื่อน เพราะว่าช่วงที่ผ่านมามันมีข่าวว่าคนวิ่งขึีนบันไดเลื่อนแล้วชนใครสักคนตกบันไดเลื่อน ลงมาบาดเจ็บบ้าง ตายบ้าง มีรายงานเรื่อยๆ จนเขาทำสถิติออกมา เลยรณรงค์ให้คนนืนเต็มบันไดเลื่อน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ถ้าใครรีบก็วิ่งขึ้นบันไดแทน!! ยิ่งบันไดเลื่อนตรงชินากาว่ายาววววมาก ถึงลงมาคอหักตายได้นะเออ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
love_reborn_ 1,10 Member 12 ก.ย. 57 10:15 น. 30

อัดกันขนาดนั้น ตายกันพอดี =0=  แต่ใบเวลานี่ ไทยน่าจะมีนะ ขอของรถเมย์ก็ได้ มันติดก้เข้าใจกันบ้างงงงงง!โกรธ

0
กำลังโหลด

81 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Alin Wu'x Member 11 ก.ย. 57 10:12 น. 6

โบกี้ผู้หญิงเป็นอะไรที่ดีมากๆค่ะ จะเห็นได้ชัดว่าประเทศเค้าเอาใจใส่กับทุกรายละเอียดจริงๆ 

ตั้งใจ

2
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
song 11 ก.ย. 57 10:52 น. 10
ขอบคุณพี่โชมากที่นำสิ่งดีๆมาแบ่งปัน คำอธิบายของพี่สร้างความเข้าใจและนึกภาพได้ในทุกคำ ลักษณะการเขียนพี่ดีมากและข้อมูลแบบแน่นมาก อยากรู้จังพี่ไปอยู่ที่ญี่ปุ่นกี่ปีแล้ว อาจจะนอกเรื่องไปหน่อยแต่ด้วยข้อมูลนี้มันทำให้รู้สึกว่า พี่เก็บข้อมูลด้วยตนเองหรือไปอ่านมาจากที่อื่น แต่โดยรวมแล้วญี่ปุ่นถือว่าเป็นประเทศที่มีระเบียบจริงๆ จากการอ่านโพสนี้ของพี่ทำให้รู้สึกอย่างนั้น หนูไม่มีความรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่นเลย แต่โพสนี้ของพี่โชให้อะไรกับหนูเยอะมาก ขอบคุณจริงๆน้ะค้ะที่แชร์ประสบการณ์ที่มีประโยชน์ต่อคนอื่นมาก การอ่านโพสนี้ทำให้หนูอยากไปญี่ปุ่นจังเลย อยากไปสัมผัสในสิ่งที่ได้รู้จากพี่มา เกือบทุกข้อที่เกี่ยวกับญี่ปุ่นถ้าไทยนำปรับมาใช้อาจทำให้ไทยมีระเบียบมากขึ้น และมันก็คงเปลี่ยนแปลงประเทศไทยในทางที่ดีมากๆ หนูเชื่ออย่างนั้น แต่ข้อ 4 ที่ไทยอาจจะขออย่าเพิ่งทำหนูรับไม่ได้ 55 ข้อ 7 นี่ อย่าได้มีเลย หนูรับไม่ได้สุดๆ มันอึดอัดและอันตรายเกินไป อาจจะส่งผลกระทบในทางที่ไม่ดีก็เป็นได้
1
SHOSHOSHO Member 11 ก.ย. 57 11:41 น. 10-1
ขอบคุณมากๆ ครับผม ดีใจ 嬉しいです。。พี่เขียนเรื่องจากสิ่งที่เห็นรอบตัวเวลาอยู่ที่ญี่ปุ่นครับ เก็บข้อมูลมาจัดเป็นหัวข้อเองครับ ตัวเนื้อหาก็มีได้แรงบันดาลใจจากแหล่งอื่นๆ ในญี่ปุ่นบ้าง เอามาเรียบเรียงขึ้นมาให้ดูง่ายๆ ดูท่าจะชอบญี่ปุ่นนะเรา ฮ่าๆ วันหลังลองมาเที่ยวญี่ปุ่นดูนะครับ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Chanyanuch Member 11 ก.ย. 57 15:58 น. 15

ตอนเด็กๆเคยขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่  

ลมโกรกมากทั้งขาไปและขากลับ

แต่สมัยนั้นยังไม่มีโทรศัพท์มือถือแพร่หลายเหมือนกับสมัยนี้

ต่อให้ใช้โทรศัพท์มือถือ  ยังไงก็ไม่ได้ยินเสียงปลายสายอยู่ดี

0
กำลังโหลด
rosala Member 11 ก.ย. 57 15:59 น. 16

สุดยอดมากค่ะเรื่องความเป็นระเบียบ

และการใส่ใจรายระเอียดปลีกย่อย

โดยเฉพาะสัญญาณมือถือที่เข้าไปใกล้ผู้ป่วย

ที่ต้องพกอุปกรณ์ต่างๆอันนี้นี่สุดยอดจริงๆ

ปล.เคยอ่านในการ์ตูนจะเห็นฉากที่รถไฟแน่นมากๆ
ไม่คิดว่าจะเป็นขนาดนั้นจริงๆนะเนี่ยมีคนเป็นลมบ้างไหมเนี่ยหวาา
 

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ฺBlak Member 11 ก.ย. 57 18:25 น. 20

เป็นระเบียบเรียบร้อยดีนะเราว่า เยี่ยม 

ลองมารถไฟบ้านเราสิ ! มารยาทหรอ ? ไม่ต้องไปพูดถึง !! แซงกันเป็นว่าเล่น ชิ โกรธ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด